title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
45.8M
source
stringclasses
5 values
__index_level_0__
int64
0
197k
คณิตตรรกศาสตร์
คณิตตรรกศาสตร์ (mathematical logic) คือสาขาหนึ่งในคณิตศาสตร์ที่ศึกษาระบบรูปนัย บทพิสูจน์ในระบบรูปนัย ตลอดจนความสามารถในการพิสูจน์ของระบบรูปนัย อาจถือได้ว่าคณิตตรรกศาสตร์ศึกษาวิธีการให้เหตุผลของนักคณิตศาสตร์ คณิตตรรกศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับรากฐานของคณิตศาสตร์ == ประวัติ == ทฤษฎีของตรรกศาสตร์ปรากฏขึ้นในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก เช่นในอินเดีย จีน กรีกโบราณและโลกอิสลาม ตรรกศาสตร์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมกรีก โดยเฉพาะตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติลแบบที่ปรากฏในงาน Organon ถูกใช้แพร่หลายในโลกตะวันตก ในช่วงศตวรรษที่ 18 นักคณิตศาสตร์ที่สนในปรัชญา เช่นไลบ์นิซ และแลมเบิร์ต มีความพยายามศึกษาตรรกศาสตร์ให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์ หรือในเชิงพีชคณิต แต่งานที่พวกเขาทำนั้นไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก จนกระทั่งจอร์จ บูลและตามด้วยออกัสตัส เดอ มอร์แกน ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้นำเสนอตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติลผ่านรูปแบบเชิงพีชคณิต จุดนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือ ที่สามารถใช้เพื่อศึกษามโนทัศน์พื้นฐานของคณิตศาสตร์ได้ คงจะไม่ถูกนักถ้าจะกล่าวว่าการโต้แย้งเชิงรากฐานที่มีขึ้นในช่วง ค.ศ. 1900 - 1925 ได้พบกับคำตอบที่น่าพอใจแล้ว แต่อย่างไรก็ตามตรรกศาสตร์ 'แนวใหม่' นี้ก็ได้ช่วยให้ความกระจ่างในด้านของปรัชญาคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่พัฒนาการตามแนวทางดั่งเดิมของตรรกศาสตร์ (ดูรายการบทความด้านตรรกศาสตร์) นั้น ให้ความสำคัญอย่างสูงกับ รูปแบบของการให้เหตุผล มุมมองของคณิตตรรกศาสตร์ในปัจจุบันกลับสามารถกล่าวได้ว่าเป็น การศึกษาเชิงการจัดกลุ่มของเนื้อหา (the combinatorial study of content) ซึ่งครอบคลุมถึงส่วนที่เป็น เชิงสังเคราะห์ (เช่น การส่งข้อความจากภาษาเชิงรูปนัยไปยังคอมไพเลอร์เพื่อเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่อง) และส่วนที่เป็น เชิงความหมาย (การสร้างโมเดล หรือเซตของโมเดลทั้งหมดในทฤษฎีโมเดล) ผลงานตีพิมพ์สำคัญคือ Begriffsschrift ของ แฟรเก และ Principia Mathematica ของเบอร์ทรันด์ รัซเซลล์ == หัวข้อในคณิตตรรกศาสตร์ == คณิตตรรกศาสตร์อาจะแบ่งได้เป็น 4 สาขาหลัก ๆ ดังนี้: ทฤษฎีเซต ทฤษฎีโมเดล ทฤษฎีการเวียนเกิด ทฤษฏีการพิสูจน์และคณิตศาสตร์เชิงการสร้าง == ผลงานรากฐาน == == อ้างอิง == คณิตตรรกศาสตร์ ตรรกศาสตร์
thaiwikipedia
1,202
ทอม แคลนซี
ทอม แคลนซี (Tom Clancy) ชื่อเต็มคือ โทมัส ลีโอ แคลนซี จูเนียร์ (Thomas Leo Clancy Jr.; 12 เมษายน พ.ศ. 2490 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนักเขียนนิยายสงครามและการเมืองชาวอเมริกัน นวนิยายสิบเจ็ดเรื่องของเขาติดอันดับหนังสือขายดี ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 100 ล้านเล่มในการจัดพิมพ์ == ชีวิตช่วงต้น == แคลนซีเกิดที่โรงพยาบาลแฟรงกลินสแควร์ (Franklin Square) เมืองบอลทิมอร์ รัฐแมริแลนด์ และเติบโตขึ้นมาในย่านนอร์ทวูด แคลนซีเป็นบุตรคนที่สองในหมู่พี่น้องสามคนร่วมกับโธมัส ผู้ซึ่งทำงานให้แก่การไปรษณีย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และแคเธอรีน == อาชีพนักประพันธ์ == แคลนซีในวัยเด็กอยากจะเป็นทหาร แต่มีปัญหาสายตาสั้น แต่ด้วยความสนใจในนาวิกศาสตร์และการบิน ทำให้บทประพันธ์ของเขาได้รับคำยกย่องว่า เป็นนักประพันธ์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทหารไว้อย่างมาก และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน แคลนซีเริ่มต้นอาชีพนักประพันธ์ด้วยผลงานชิ้นแรก ล่าตุลาแดง ใน พ.ศ. 2528 ซึ่งเขาได้เสนอขายต่อสถาบันข่าวทหารเรือด้วยจำนวนเงิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งได้รับคำชมจากสถาบันแห่งนี้ด้วยเช่นกัน == การเสียชีวิต == แคลนซีเสียชีวิตในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หลังจากเจ็บป่วยไม่นาน ที่โรงพยาบาลจอนส์ฮอปกินส์ ใกล้กับบ้านที่บอลทิมอร์ของเขา รวมอายุได้ 66 ปี และไม่ได้เปิดเผยสาเหตุของการเสียชีวิต เขามีบุตรสี่คนกับภรรยาคนแรก และบุตรสาวอีก 1 คนกับอเล็กซานดรา มารี ลีเวลลีน ภรรยาคนที่สอง == ผลงาน == === เรียงตามลำดับการตีพิมพ์ === ชื่อแปลภาษาไทย แปลโดย สุวิทย์ ขาวปลอด The Hunt for Red October (2527) ล่าตุลาแดง กัปตันมาร์โก ราเมียส ขโมยเรือดำน้ำใหม่ล่าสุดของโซเวียต ชื่อ ตุลาแดง (Red October) และมุ่งสู่สหรัฐอเมริกา เป็นผลงานชิ้นแรกที่ปรากฏตัวละคร แจ็ค ไรอัน Red Storm Rising (2529) เกมถล่มโลก เมื่อโซเวียตสูญเสียคลังน้ำมันจากการก่อการร้าย จึงมีแผนจะครอบครองตะวันออกกลาง โดยบุกยุโรปก่อนให้พันธมิตรเข้าใจผิด (ไม่ใช่ซีรีส์ของไรอัน) Patriot Games (2530) เด็ดหัววีรบุรุษ แจ็ค ไรอันได้ไปขัดขวางการลอบสังหารราชวงศ์อังกฤษโดยบังเอิญ และทำให้มีผู้ตามล่าแจ็ค ไรอันถึงบ้านในสหรัฐอเมริกา The Cardinal of the Kremlin (2531) แผนชิงฟ้า แจ็ค ไรอัน ต้องเข้าไปพัวพันกับการช่วยเหลือแหล่งข่าวระดับสูงของโซเวียต ในชื่อ Cardinal ผู้ส่งข่าวลับมายังรัฐบาลสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลานานให้หนีออกจากโซเวียต โดยมีฉากหลังเป็นการต่อสู้ทั้งทางการเมืองและทางสายลับในเรื่องระบบป้องกันขีปนาวุธของทั้งสองประเทศ Clear and Present Danger (2532) เคลียร์แล้วลุยเจ็บปวด เมื่อเพื่อนรักประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ ถูกสังหารโหด โดยมีส่วนพัวพันกับยาเสพติด จึงสั่งให้ ซีไอเอ ปฏิบัติภารกิจลับชื่อ ทาร์พัน โดยส่งหน่วยจู่โจมขนาดเล็ก นำโดย จอห์น คลาร์ก เข้าไปจัดการพ่อค้ายาโคลัมเบีย เมื่อพ่อค้ายารู้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามยึดเงินของกลาง ทำให้หน่วยรบถูกลอยแพในโคลัมเบีย แจ๊ค ไรอัน รักษาการ รอง ผอ. ซีไอเอ จึงต้องเข้าไปช่วยเหลือหน่วยทหารออกมา The Sum of All Fears (2534) นักรบเกมโลกันต์ Without Remorse (2536) ลบรอยแค้น Debt of Honor (2537) หักปีกอินทรี เรื่องนี้เป็นที่กล่าวขานกันมาก เพราะเขียนไว้ก่อนเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยในเรื่องมีฉากนักบินผู้มีความแค้นต่อสหรัฐอเมริกา ขับเครื่องบินโดยสารเปลี่ยนเส้นทางไปชนรัฐสภาสหรัฐฯ Executive Orders (2539) ขย้ำพยัคฆราช แจ็ค ไรอัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแทนตำแหน่งที่ว่างลงอย่างกะทันหัน เขาต้องนำพาประเทศให้พ้นจากวิกฤตทางการเมืองและการก่อการร้าย ในเรื่องนี้ จอห์น คลาร์ก เข้ามามีบทบาทอยู่ด้วยในช่วงสั้น ๆ SSN (2539) Rainbow Six (2541) อุดมการณ์เฉียดนรก The Bear and the Dragon (2543) รุกฆาต Red Rabbit (2545) กระต่ายแดงแรงฤทธิ์ The Teeth of the Tiger (2546) Lock on ล็อกเป้าสังหาร Dead or Alive คมเพชฆาต Mirror Image ศัตรูคู่ขนาน Against all Enemies ชนแหลก Threat Vector มังกรผยอง Command Authority อินทรีประจัญบาน Support and Defend หนีสุดขีดล่าสุดแค้น Full Force and Effect อหังการเหยียบฟ้า Underfire หักเหลี่ยมรัฐประหาร Commander in Chief ประธานาธิบดีประจัญบาน True Faith and Allegiance ไฟล์เปิดนรก === เรียงตามลำดับเวลาในเรื่อง === นับเฉพาะเรื่องในชุดของตัวเอก แจ็ค ไรอัน และจอห์น คลาร์ก Without Remorse Patriot Games Red Rabbit The Hunt for Red October The Cardinal of the Kremlin Clear and Present Danger The Sum of All Fears Debt of Honor Executive Orders Rainbow Six The Bear and the Dragon The Teeth of the Tiger === ผลงานที่ได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ === The Hunt for Red October (ปฏิบัติการล่าตุลาแดง) (2533) นำแสดงโดย อเล็ก บอลด์วิน (ไรอัน) และ ฌอน คอนเนอรี (ราเมียส) Patriot Games (เกมอำมหิตข้ามโลก) (2535) แฮร์ริสัน ฟอร์ด แสดงเป็น แจ็ค ไรอัน Clear and Present Danger (แผนอันตรายข้ามโลก) (2537) แฮร์ริสัน ฟอร์ด แสดงเป็น แจ็ค ไรอัน และ วิลเลียม เดโฟ แสดงเป็นจอห์น คลาร์ก The Sum of All Fears (วิกฤตนิวเคลียร์ถล่มโลก) (2545) เบ็น เอฟเฟลค เป็นแจ็ค ไรอัน มอร์แกน ฟรีแมน แสดงเป็นผู้อำนวยการ ซีไอเอ มีการจัดเรียงลำดับเวลาแตกต่างจากในหนังสือ Tom Clancy's Without Remorse (2021) Michael B. Jordan is John Kelly === วิดีโอเกม === ผลงานของทอม แคลนซี ได้นำไปสร้างเป็นวิดีโอเกมแนวสงคราม จารกรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย ดังนี้ Tom Clancy's Rainbow Six siege นำมาจากหนังสือชื่อเดียวกัน Tom Clancy's Ghost Recon Tom Clancy's Splinter Cell Tom Clancy's Endwar Tom Clancy's Hawx Tom Clancy's Splinter Cell:Blacklist ภาคต่อของ Tom Clancy's Splinter Cell Tom Clancy's The Division (ทอม แคลนซีส์ เดอะดิวิชัน) (2559) Tom Clancy's Ghost Recon® Wildlands == รางวัลที่ได้รับ == แคลนซีเป็นหนึ่งในสามนักประพันธ์ที่มียอดจำหน่ายสองล้านเล่มในการตีพิมพ์ครั้งแรกของช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 (อีกสองคนได้แก่จอห์น กริแชม และเจ. เค. โรว์ลิง) นวนิยาย พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เรื่องClear and Present Danger ของแคลนซีทำยอดจำหน่ายฉบับปกแข็งได้ 1,625,544 เล่ม ส่งผลให้เป็นนวนิยายขายดีอันดับ 1 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แคลนซีได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาอักษรศาสตร์ และเข้าร่วมพิธีรับปริญญาที่สถาบันโพลิเทคนิคเรนส์ซเลียร์ใน พ.ศ. 2535 และหลังจากนั้นทางโรงเรียนได้รับการอ้างถึงในผลงานหลักของเขาเป็นจำนวนมาก == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Official Tom Clancy website Tom Clancy — The Master of The Modern-Day Thriller Transcript of interview with Deborah Norville on the War in Iraq — April 2004 Tom Clancy at the Internet Book Database of Fiction Appearances on C-SPAN The Page of Tom Clancy's Primary Publisher Booknotes interview with Clancy and Gen. Fred Franks on Into the Storm: A Study in Command, July 13, 1997. In Depth interview with Clancy, February 3, 2002 Datacide Critical Article about Tom Clancys Vision of Entertainment === บทวิจารณ์วรรณกรรม === "Something for the Boys" โดย Christopher Hitchens, The New York Review of Books, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539. "A review of Clancy's Marine: A Guided Tour of a Marine Expeditionary Unit." นักเขียนชาวอเมริกัน บุคคลจากบอลทิมอร์ ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
thaiwikipedia
1,203
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507) ชื่อเล่น มาร์ค เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 27 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 9 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์เกิดที่ประเทศอังกฤษ เข้าวิทยาลัยอีตัน และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2535 ขณะอายุได้ 27 ปี และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังพรรคแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ในวัย 44 ปี หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแกนนำพรรคจัดตั้งรัฐบาลกระทันหันในเวลานั้นก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่ากองทัพมีส่วนจัดตั้ง อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีในห้วงวิกฤตการณ์การเงินโลก และความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะดำรงตำแหน่ง เขาเสนอ "วาระประชาชน" ซึ่งมุ่งสนใจนโยบายซึ่งมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของพลเมืองชนบทและผู้ใช้แรงงานของไทยเป็นหลัก เขาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสองประการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามปีมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการให้เงินอุดหนุนและแจกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยุคอภิสิทธิ์มีการปิดเว็บไซต์และสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจับกุมและปิดปากบุคลากรสื่อ ผู้ต่อต้านและหัวหน้าแรงงานจำนวนมาก โดยอ้างความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย จากรายงาน พ.ศ. 2553 ฮิวแมนไรตส์วอตช์เรียกยุคอภิสิทธิ์ว่า "มีเซ็นเซอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยล่าสุด" และ ฟรีดอมเฮาส์ ลดระดับอันดับเสรีภาพสื่อของไทยลงเหลือ "ไม่เสรี" อภิสิทธิ์ยังสนับสนุนมาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่รัฐมนตรีหลายคนกลับมีเรื่องอื้อฉาวทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายส่วนถูกวิจารณ์ว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญการประท้วงใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ดำเนินโครงการปรองดองเพื่อสืบสวนเหตุสลายการชุมนุม แต่การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกลับถูกทหารและหน่วยงานของรัฐขัดขวาง กองทัพไทยปะทะกับกัมพูชาหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2552−2553 ซึ่งเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ เหตุความไม่สงบในชายแดนภาคใต้บานปลายขึ้นระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ และรายงานการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ลาออกทั้งหมด ในเดือนเดียวกัน เขาถูกตั้งข้อกล่าวหาฆ่าคนจากการสลายการชุมนุมเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 90 คน หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาชนะการหยั่งเสียงเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากผลการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค == ประวัติ == อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เขามีเชื้อสายจีนฮั่น จากฮกเกี้ยน บิดาชื่อ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ มารดาชื่อ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ เมื่อยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย อภิสิทธิ์ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และ เศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วยในปี พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และต้นปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2552 ระหว่างเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามสังหาร ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นความพยายามฆ่านายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีซึ่งมีผู้ต้องหาจำนวน 20 ราย วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557 เกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดใส่บ้านพักอภิสิทธิ์ บ้านเลขที่ 32 ซอยสุขุมวิท 31 === ตระกูลเวชชาชีวะ === ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากฮากกา ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับชนชั้นสูงมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแซ่ในภาษาจีนว่า หยวน ในสมัยรัชกาลที่ 6 สกุล "เวชชาชีวะ" (Vejjajiva) เป็นนามสกุลพระราชทานให้กับพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับจิ๊นแสง (บิดา) เป๋ง (ปู่) และก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย อภิสิทธิ์เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนและนักแปล อภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยสุรนันทน์เป็นบุตรของนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายของอรรถสิทธิ์ อภิสิทธิ์เป็นหลาน รองศาสตราจารย์ ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด อดีตรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นลูกพี่ลูกน้องพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรีกับศุภกรณ์ เวชชาชีวะ กรรมการ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ วรกร จาติกวณิช ภริยาของกรณ์ จาติกวณิช หากนับจากญาติฝ่ายมารดา อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับศาสตราจารย์ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ปราง เวชชาชีวะ และ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555โดยบุตรชายของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้เข้าร่วม เป็น สมาชิก ชมรมผู้ปกครองเพื่อเด็กพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับ ทนง พิทยะ === ข้อกล่าวหาการถือสองสัญชาติ === การถือสัญชาติไทยโดยที่ไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ กลายเป็นประเด็นการอภิปรายในรัฐสภาเมื่อต้น พ.ศ. 2554 นำโดย จตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม และที่ปรึกษากฎหมายของกลุ่ม นปช. ได้เดินทางไปยังอังกฤษ เพื่อคัดสำเนาสูติบัตรของอภิสิทธิ์ นำมาแสดงว่าอภิสิทธิ์ยังถือสัญชาติอังกฤษ และ ได้เรียกร้องเพิ่มเติมว่า หากอภิสิทธิ์ยืนยันว่าสละสัญชาติอังกฤษมาถือสัญชาติไทยแล้ว ก็ต้องเอาใบสละสัญชาติมาแสดง มิฉะนั้นจะนำเรื่องไปฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายอังกฤษระบุว่า เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) จะได้รับสัญชาติอังกฤษ เว้นแต่จะเกิดแต่คณะเจ้าหน้าที่และตัวแทนทางทูต ผู้ซึ่งมีความคุ้มกันทางทูต และหากเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) โดยมีบิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็นคนอังกฤษ หรือตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ จะได้รับสัญชาติอังกฤษ ขณะที่กฎหมายไทยระบุว่า ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1)) บิดาและมารดาของอภิสิทธิ์มิได้เป็นคนอังกฤษและมิได้ตั้งรกรากในประเทศอังกฤษ (บิดาและมารดาเพียงแค่ไปศึกษาต่อเท่านั้น) อภิสิทธิ์เคยกล่าวว่า ตนใช้สัญชาติไทยมาตลอด ยังต้องใช้วีซ่าเข้าประเทศอังกฤษ และยังคงต้องรับการตรวจเลือกเกณฑ์ทหารด้วย อย่างไรก็ตาม การถือสัญชาติไทยโดยที่ไม่ได้สละสัญชาติอังกฤษ ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อตำแหน่งทางการเมือง === ข้อกล่าวหาการหนีราชการทหาร === ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. เปิดเผยว่าอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1) โดยอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) คำแถลงของอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร จึงเกิดข้อกังขาว่า หากอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ ซึ่งอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเห็นว่า ในครั้งนั้น อภิสิทธิ์สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมโดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ แต่ยอมรับว่าอภิสิทธิ์เข้ารับราชการทหารแล้ว ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็นจากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้อภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น การโจมตีเรื่องอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร เกิดขึ้นอีกครั้งประมาณปลายปี พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค และอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสจะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยประเด็นเกี่ยวกับการรับราชการทหารของอภิสิทธิ์ได้เป็นหัวข้อหนึ่งที่ฝ่ายค้านใช้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่ออภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่ถึง 3 เดือน ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ได้ตอบกระทู้อภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับการรับราชการทหารว่า มีความเข้าใจผิดว่าตนสมัครเข้ารับราชการทหาร หลังจากไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร แต่ในความเป็นจริง ได้สมัครเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดเกณฑ์ทหารแล้ว การสมัครเข้ารับราชการทหารในขณะนั้นจึงไม่ต้องใช้ สด.๔๓ แต่ใช้ สด.๙ และหนังสือผ่อนผันฯ แทน ซึ่งอภิสิทธิ์ยืนยันว่าขณะที่สมัครเข้า รร.จปร. ตนมีเอกสาร สด.๙ ที่ได้รับประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและกลับมาถึงประเทศไทย และมีรายชื่อได้รับการผ่อนผันฯ เพื่อเรียนต่อปริญญาโท ช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2532 ตามบัญชีของ ก.พ. ที่จัดทำตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2529 การสมัครเข้า รร.จปร. ของตนจึงเป็นการสมัครโดยมีคุณสมบัติครบถ้วน หลังจากสมัครเข้า รร.จปร. ได้ผ่านการฝึกทหารคล้ายการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จนครบตามหลักสูตรจึงได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ในการขอติดยศร้อยตรีนั้นตนได้ทำเอกสาร สด.๙ หายจึงได้ไปขอออกใบแทน แต่ในการสมัครเข้า รร.จปร. ได้ใช้ สด.๙ ตัวจริงสมัคร แล้วเอกสารมีการสูญหายในภายหลัง ในการอภิปรายครั้งนี้อภิสิทธิ์ได้แสดง สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการยกเว้นผ่อนผันฯ และ สำเนา สด.๙ ฉบับแรกของตน ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย ต่อมา พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1163/2555 เรื่องให้ปลดนายทหารสัญญาบัตรออกจากราชการ ซึ่งศาลฏีกาเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งศาลให้ยกเลิกคำสั่งดัวกล่าว ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เท่ากับเขาได้รับยศ ร้อยตรี ตามเดิม == บทบาททางการเมือง == อภิสิทธิ์ เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลสุจินดา คราประยูร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญ คือการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทยในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแลทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดันให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษาประกาศใช้ ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า อภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวบีบีซี ที่ว่าอภิสิทธิ์ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ว่าผมได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรถึง 7 ครั้ง และมากครั้งกว่าพันตำรวจโททักษิณเสียอีก ผมไม่เคยปฏิเสธการเลือกตั้ง == หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ == อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 และอภิสิทธิ์ได้ลาออกจาตำแหน่งภายหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 แต่ก็ได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลานาน มากกว่า 10 ปี ติดอันดับ 5 จาก อันดับ 7 ของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคนานที่สุด === บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง พ.ศ. 2549 === ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจากนักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ข้อเสนอของอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมีรักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..." และหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ กลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ตั้งฉายาให้กับอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ว่า "มาร์ค ม.7" ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ อภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ขาดความชอบธรรม อภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวต่อต้านแบบกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่าอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย === ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 === พรรคไทยรักไทยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้สินบนกับพรรคเล็กเพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่มีความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมาชิกคณะกรรมการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรรหาข้อเท็จจริง ที่นำโดยรองอัยการสูงสุด ชัยเกษม นิติสิริ มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยและอีก 3 พรรคการเมือง) ขึ้นอยู่กับหลักฐานให้สินบนกับพรรคเล็กต่าง ๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ประชุมกับสายสัมพันธ์ทางการเมืองจาก 20 ประเทศเพื่อที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในกรณีก่อนที่กองทัพแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสาบานตนว่าพวกเขาถูกหลอกให้สมัครเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งเดือนเมษายน พยาน 3 ปากยืนยันว่าเลขาพรรคประชาธิปัตย์ถาวร เสนเนียม, วิรัตน์ กัลยาศิริ และเจือ ราชสีห์ สนับสนุนให้ผู้ประท้วงขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งซ่อม หลังจากการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 อัยการยืนยันว่าพรรคพยายามตัดสิทธิ์ผลการเลือกตั้งและบังคับให้จัดการเลือกตั้งซ่อมต่อไป ข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ถูกต้องซึ่งพยายานกลุ่มเดียวกันนี้ถูกว่าจ้างโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์พ้นความผิด ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีความผิด === นโยบายหาเสียงในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 === วันที่ 29 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสัญญาว่าจะทำให้เป็นแผนงานเพื่อประชาชน ซึ่งเน้นการศึกษาเป็นหลัก โดยที่เขาใช้สโลแกนหาเสียงว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เขายังได้สัญญาว่าจะไม่นำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา เอามาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำมาแล้ว อภิสิทธิให้สัญญาว่า "ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, และโครงการ SML จะไม่ถูกยกเลิก แต่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม" อภิสิทธิ์ออกมากระตุ้นในภายหลังว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นควรจะเข้าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่เสียค่าบริการ อภิสิทธิ์แถลงว่าอนาคตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน และธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด (กฎหมายกำหนดเพียงให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีทุกคนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน) อภิสิทธิ์รวบรวมเงินจำนวน 200 ล้านบาทในงานเลี้ยงอาหารเย็นเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ภายในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขาสรุปนโยบายด้านพลังงาน รวมถึงเพิ่มจำนวนการจ่ายเงินปันผลจากปตท. และการใช้กองทุนชดใช้หนี้ให้แก่กองทุนน้ำมัน และอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับราคาเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น เขาสรุปแผนทีหลังว่าจะลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินโดยลดภาษี 2.50 บาท/ลิตรออกไปจากที่เคยใช้ปรับปรุงกองทุนน้ำมันของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แผนของเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นการบิดเบือนตลาดการค้าและขัดขวางไม่ให้ลดการบริโภคน้ำมัน วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์สัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำปัญหานี้ให้อยู่ในระเบียบวาระของสังคมของจังหวัดภาคใต้ อีกทั้งสัญญาจะใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่างรวมถึงนโยบายเรียนฟรี, ตำราเรียน, นมและอาหารเสริมสำหรับโรงเรียนอนุบาล และการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ === สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 === อภิสิทธิ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พิจาณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เหมือนกับที่เคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ปรับปรุงพร้อมกับจุดบกพร่อง "ถ้าเราขอร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันจะเป็นสิ่งที่ชี้นำไปยัง (คมช.) เราเสนอจุดยืนตรงนี้ เพราะว่าเราเป็นห่วงเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียของชาติ และต้องการประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว" เขากล่าวอย่างนั้น การรับทราบถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อภิสิทธิ์ได้เสนอพร้อมกับเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่เขามีอำนาจ === เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 === การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียง 163 เสียง ซึ่งน้อยกว่าสมัครที่ได้ 310 เสียง === การดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร === วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 7 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2548 และมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรี และได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 ให้กับสมัคร สุนทรเวช และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เป็นผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการยุบพรรคพลังประชาชน และเป็นเหตุให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเสียงในสภามากกว่า จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นหน้าที่ของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งไปชั่วคราว จนกระทั่งอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และพ้นจากตำแหน่งไป จากนั้นไม่นาน เขาก็ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย สมัยที่ 3 ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 และได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ ตอนนี้ ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน === ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี === หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สมัคร สุนทรเวชพ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของ (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง และศาลยังตัดสินให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ร่วมในคณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 ถูกสื่อมวลชนรายงานว่าเขาเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือบีบบังคับให้ ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามแปรพักตร์มาอยู่ฝ่ายอภิสิทธิ์ ส.ส.เหล่านั้นมาจากพรรคเพื่อไทย (พรรคสืบทอดจากพรรคพลังประชาชน) สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา (พรรคสืบทอดจากพรรคชาติไทย) นำโดยพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่ม "เพื่อนเนวิน" อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทำให้ให้พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงข้างมากในสภา สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และชนะการโหวตการเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเป็นคู่แข่ง ทางด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาและแนวร่วม พธม. กล่าวถึงการที่อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "เป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ ที่แท้จริง" และ "รัฐประหารสไตล์อนุพงษ์" โอกาสที่อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกครั้งนี้ได้รับความเห็นชนชั้นกลาง == การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี == แม้อภิสิทธิ์จะดำเนินมาตรการตอบโต้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอย่างเข้มข้น แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า มีท่าทีสนองช้าเกินไป การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก อภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. กษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนด้านเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา ภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง == หลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี == ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขานำพรรคคว่ำบาตรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ยังปรากฏภาพเขาเข้าร่วมการชุมนุมของ กปปส. ด้วย ในปี 2560 สมาชิก กปปส. บางส่วนมีท่าทีสนับสนุนอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558 อภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ฟ้องให้ขับยิ่งลักษณ์ ชินวัตรออกจากตำแหน่งว่า ทุกอย่างเป็นไปตามหลักฐานข้อเท็จจริง ส่วนที่ยิ่งลักษณ์ไม่ยอมรับผลการตัดสิน และว่าเป็นขบวนการทำลายล้างการเมืองนั้น เป็นปกติที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย จะแสดงความเห็นแนวทางนี้ ขณะเดียวกันปฏิเสธแสดงความเห็นต่อกระแสข่าวพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งให้ สนช. วิ่งเต้นถอดถอนยิ่งลักษณ์ เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง และเห็นว่าการถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรีได้ยังไม่ใช่บรรทัดฐานการเมืองในอนาคต แต่เป็นเพราะการเมืองอยู่ในสถานการณ์พิเศษ “แต่ถ้าวิเคราะห์จากการที่คะแนนถอดถอนท่วมท้น จากที่มีการประเมินในตอนแรก น่าจะเป็นเพราะคุณยิ่งลักษณ์ไม่ไปตอบคำถามและข้อมูลหลักฐานที่ประจักษ์ต่อสังคม” ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาเคยเสนอที่จะเลิกทำงานทางด้านการเมืองเพื่อให้บุคคลในพรรคเพื่อไทยสบายใจแลกกับการปฏิรูปราชอาณาจักรไทยข้อเสนอดังกล่าวถูกบุคคลในพรรคเพื่อไทยตอบโต้ว่านายอภิสิทธิ์ถูกกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการ ทำให้ขาดคุณสมบัติการลงสมัคร ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (6) ถือเป็นลักษณะต้องห้าม ขณะที่ศาลปกครองยังไม่สั่งเพิกถอนคำสั่งปลดออก เท่ากับว่าคำสั่งยังมีผล แต่ศาลฏีกาให้นายอภิสิทธิ์ ชนะคดีดังกล่าว ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เท่ากับว่าเขายังคงทำงานเกี่ยวกับงานทางการเมืองได้ ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เขากล่าวว่าเขาจำเป็นต้องรับผิดชอบถ้าหากพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำขององค์กรต้องรับผิดชอบหากประสบความล้มเหลว และเขาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นานถึง 10 ปี นักสื่อสารมวลชน วิเคราะห์ว่าคำกล่าวดังกล่าวเป็นท่าทีที่แบ่งรับแบ่งสู้ว่าเขาอาจไม่ทำงานทางการเมืองอีก ระหว่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาประกาศจะไม่สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จึงตอบโต้ว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ระบุว่า อภิสิทธิ์น่าจะแพ้เลือกตั้ง เพราะไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่ง 24 มีนาคม 2562 เขาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะได้ที่นั่งต่ำกว่า 100 ที่นั่ง ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. หลังจากพรรคประชาธิปัตย์มีมติร่วมรัฐบาลและสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ใน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเสวนาในงานครบรอบ 100 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีน == ความสนใจ == === กีฬา === อภิสิทธิ์สนใจกีฬาฟุตบอลตั้งแต่เด็ก เขาคิดว่าเป็นกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นพิเศษ เวลาที่ดูเขาจะเชียร์เต็มที่ เขาบอกว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต แต่คงไม่ถึงขั้นกับว่า มากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน สโมสรฟุตบอลที่เขาชื่นชอบคือ นิวคาสเซิล อภิสิทธิ์เคยให้สัมภาษณ์ประมาณว่ารักทีมนี้สุดจิตสุดใจและยังเคยกล่าวด้วยว่า "ผมไม่ค่อยจะเครียดเรื่องอะไรมาก จะมีเรื่องเดียวคือเวลานิวคาสเซิ่ลแพ้ ซึ่งก็บ่อยซะด้วย" เขายังบอกด้วยว่าสาเหตุที่ฟุตบอลไทยไม่เคยพัฒนาได้ถึงบอลโลก ก็เพราะว่า "ประเทศไทยขาดการพัฒนาการแข่งขันมาจากรากฐานของท้องถิ่น ลีกที่ดีๆต้องมีคนเชียร์เป็นเรื่องเป็นราว มีความผูกพันอยู่กับทีมสร้างทีมขึ้นมา ของไทยเราไม่ใช่ ของเรามาจากส่วนกลาง ถ้าเทียบลีกในยุโรปช่วงที่มีแข่งทุกวันเสาร์ เขาจะไปเชียร์มันเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตเลย เด็กที่โตในเมืองนั้นก็จะโตมากับความฝันที่จะได้เล่นในทีม เป็นฮีโร่ของทีม ของไทยเราไม่ได้กระจายแบบนั้น" และมีความคิดที่จะส่งเสริมค่านิยมในการดูฟุตบอลที่ถูกต้อง และมีทัศนคติว่า การที่เล่นกีฬาเป็นประจำมันก็สอนเราเกี่ยวกับเรื่องการทำงานกับคนอื่น เกี่ยวกับเรื่องการแพ้การชนะแต่ละคน === ดนตรี === อภิสิทธิ์เริ่มฟังดนตรีตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก หากไม่ฟังประชุมสภาก็จะฟังเพลง อภิสิทธิ์ชอบพกพาวิทยุ เครื่องเล่นเทป ติดตัวไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำ อภิสิทธิ์เริ่มจากการฟังเพลงป็อป เช่น แอ็บบ้า ต่อมาเป็นดิ อีเกิลส์ เฮฟวีเมทัล แต่แนวก็จะเป็นเพลงร็อกและแนวเพลงร่วมสมัย เพราะชอบจังหวะ ชอบความหนักแน่นของมัน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง เนื้อเพลง ที่บ่งบอกความร่วมสมัย ตั้งแต่ผ่านยุคทศวรรษ 80 ผ่านยุคกรันจ์ ผ่านยุคผสมกับอีเลกโทรนิกแร็ป เป็นต้นมา จะมีเรื่องของภาพลักษณ์ตามมาด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของมิวสิกวิดีโอและจะเริ่มนึกถึงเสื้อผ้า นึกถึงทรงผมได้เหมือนกัน วงดนตรีที่ชื่นชอบคือ อาร์.อี.เอ็ม. กรีนเดย์ และโอเอซิส == ผลงานหนังสือ == มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9 การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8 เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5 ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4 อภิสิทธิ์ You Are The Hero. พ.ศ. 2553, ISBN 9786165260633 == เครื่องราชอิสริยาภรณ์ == อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังนี้ === เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย === == อ้างอิง == == หนังสืออ่านเพิ่มเติม == วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. QUESTION MARK. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-6230-4 ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรุงเทพฯ : กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547. ISBN 978-974-92093-3-2 สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม "อภิสิทธิ์" ?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-0492-2 สาทิตย์ วงศ์หนองเตย. ๒ ปี กับรัฐมนตรี... อภิสิทธิ์. กรุงเทพฯ : 2543. === หนังสือเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ === สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม อภิสิทธิ์ กานธนิกา ชุณหะวัต, เฉลิมชน คงประวัติ. อภิสิทธิ์ คนเหนือดวง สุเมธ จึงเลิศสถิตพงศ์. ผ่าทางตัน อภิสิทธิ์สู่บัลลังก์นายกฯ ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้รายวัน. ระบอบอภิสิทธิ์ พิชัยยุทธ์ สยามพันธกิจ. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ... นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์. คำให้การอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (คดีพรรคประชาธิปัตย์) ส. สะเลเต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ == แหล่งข้อมูลอื่น == abhisit.org เว็บไซต์ส่วนตัวของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประวัติของอภิสิทธิ์ บน เว็บไซต์ ปชป. เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com เรื่องเล็ก ๆ แต่น่ารู้ ของนายกฯ คนที่ 27 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ abhisitvejjajiva.hi5.com Hi5 ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บุคคลจากนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ บุคคลจากกรุงเทพมหานคร ชาวไทยเชื้อสายจีน สกุลเวชชาชีวะ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ทหารบกชาวไทย นักการเมืองไทย นายกรัฐมนตรีไทย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส. พรรคประชาธิปัตย์ บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
thaiwikipedia
1,204
แคลคูลัสเชิงประพจน์
แคลคูลัสเชิงประพจน์ (อังกฤษ: propositional calculus) คือระบบรูปนัยสำหรับการใช้เหตุผลแบบนิรนัย ที่มีหน่วยพื้นฐานคือตัวแปรเชิงประพจน์ (ซึ่งจะแตกต่างจากตรรกศาสตร์ภาคแสดงที่อาจมีการใช้ ตัวบ่งปริมาณ และมีหน่วยพื้นฐานคือฟังก์ชันเชิงประพจน์ และตรรกศาสตร์อัญรูปที่หน่วยพื้นฐานอาจไม่ใช่ประโยคระบุความจริง) ในที่นี้ แคลคูลัส คือระบบทางตรรกศาสตร์ที่ใช้สำหรับพิสูจน์ทั้งสูตร (นั่นคือทฤษฎีบทที่ได้จากระบบนั้น) และการอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผล แคลคูลัสคือเซตของสัจพจน์ (ที่อาจเป็นเซตว่างหรืออาจเป็นเซตอนันต์นับได้) และกฎการอนุมานสำหรับการสร้างการอนุมานที่สมเหตุสมผล ไวยากรณ์รูปนัย (หรือ วากยสัมพันธ์) จะนิยามนิพจน์และสูตรที่จัดดีแล้ว (well-formed formular หรือ wff) ของภาษาแบบเวียนเกิด นอกจากนี้จะต้องมีการระบุความหมาย (อรรถศาสตร์) ที่นิยามความจริงและค่าต่าง ๆ (หรือการตีความ) ทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถตัดสินได้ว่าสูตรที่จัดดีแล้วสูตรใดสมเหตุสมผล ในแคลคูลัสเชิงประพจน์นั้น ภาษาจะประกอบด้วยตัวแปรเชิงประพจน์ และตัวดำเนินการเชิงประโยค (หรือ ตัวเชื่อม) สูตรที่จัดดีแล้ว คือสูตรที่เป็นหน่วยพื้นฐาน หรือสูตรที่สร้างโดยใช้ตัวดำเนินการเชิงประโยค ต่อไปเราจะได้แสดงรูปแบบมาตรฐานของแคลคูลัสเชิงประพจน์อย่างคร่าว ๆ รูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากนี้ก็ยังมีใช้อยู่ ข้อแตกต่างที่พบจะมีในส่วนของ (1) ภาษา (ตัวดำเนินการและตัวแปรใดบ้างที่จัดว่าเป็นส่วนของภาษา) (2) สัจพจน์ใดที่ใช้ และ (3) กฎการอนุมานที่ใช้ == ไวยากรณ์ == ภาษาของแคลคูลัสเชิงประพจน์ประกอบด้วย: ตัวอักษรที่ใช้แทนตัวแปรเชิงประพจน์ ตัวอักษรเหล่านี้คือสูตรพื้นฐาน เรานิยมใช้ภาษาอังกฤษตัวใหญ่ เครื่องหมายที่ใช้แทนตัวเชื่อมต่าง ๆ: ¬, ∧, ∨, →, ↔. (เราสามารถลดจำนวนตัวดำเนินการลงจากนี้ได้ เนื่องจากนิพจน์ที่ใช้ตัวดำเนินการบางตัวสมมูลกับนิพจน์ที่ใช้ตัวดำเนินการอื่น ๆ เช่น P → Q สมมูลกับ ¬ P ∨ Q.) เครื่องหมายวงเล็บเปิด และวงเล็บปิด: (, ) เซตของ wff ถูกนิยามแบบเวียนเกิด (เรียกซ้ำ) ด้วยกฎต่อไปนี้ กรณีฐาน: ตัวอักษร (เช่น A, B, ฯลฯ) เป็น wff อนุพากย์อุปนัยที่ 1: ถ้า φ เป็น wff, แล้ว ¬ φ เป็น wff อนุพากย์อุปนัยที่ 2: ถ้า φ และ ψ ต่างเป็น wff, แล้ว (φ ∧ ψ) , (φ ∨ ψ) , (φ → ψ) , และ (φ ↔ ψ) ล้วนเป็น wff อนุพากย์แสดงการปิด: ไม่มีสิ่งอื่นที่เป็น wff การใช้กฎเหล่านี้ทำให้เราสร้าง wff ที่ซับซ้อนได้ เช่น โดยกฎที่ 1, A เป็น wff โดยกฎที่ 2, ¬ A เป็น wff โดยกฎที่ 1, B เป็น wff โดยกฎที่ 3, ( ¬ A ∨ B ) เป็น wff == แคลคูลัส == === สัจพจน์ === === กฎการอนุมาน === === ตัวอย่าง === == ความถูกต้องและความบริบูรณ์ของกฎ == == แคลคูลัสอื่น ๆ == == ตัวอย่างบทพิสูจน์ == == แคลคูลัสเชิงตรรกศาสตร์อื่น ๆ == == ดูเพิ่ม == ตรรกศาสตร์แบบบูล ตรรกศาสตร์ พีชคณิตแบบบูล
thaiwikipedia
1,205
พีชคณิตแบบบูล
ในคณิตศาสตร์และคณิตตรรกศาสตร์ พีชคณิตแบบบูล (หรือเรียกชื่ออื่นว่า พีชคณิตบูลเลียน หรือ แลตทิซแบบบูล) (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้ พีชคณิตบูลีนเป็นสาขาของพีชคณิตซึ่งค่าของตัวแปรคือค่าความจริง จริงและเท็จ โดยปกติจะแสดงเป็น 1 และ 0 ตามลำดับ แต่ต่างจากพีชคณิตขั้นพื้นฐาน ที่ค่าของตัวแปรเป็นตัวเลขและการดำเนินการเฉพาะคือการบวกและการคูณ การดำเนินการหลักของพีชคณิตบูลีน (ตัวดำเนินการตรรกะ) คือ การรวม (และ) แสดงเป็น ∧ การไม่แยก (หรือ) แสดงเป็น ∨ และการปฏิเสธ (ไม่) แสดงเป็น ¬ เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์สำหรับอธิบายการดำเนินการเชิงตรรกะ ในลักษณะเดียวกับที่พีชคณิตขั้นพื้นฐานที่ใช้อธิบายการดำเนินการเชิงตัวเลข พีชคณิตแบบบูล คิดค้นขึ้นโดย จอร์จ บูล (George Boole) ในหนังสือเล่มแรกของเขาเรื่อง The Mathematical Analysis of Logic (ค.ศ.1847) และมีเนื้อหาครบถ้วนมากขึ้นใน An Investigation of the Laws of Thought (ค.ศ.1854) พีชคณิตบูลีนเป็นหลักคณิตศาสตร์พื้นฐานในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล และ ใช้ประยุกต์ในการเขียนภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการใช้พีชคณิตแบบบูลในทฤษฎีเซตและสถิติศาสตร์ == ประวัติ == จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรเน็ตเวิร์กที่ทำงานต่อกันหลาย ๆ ภาค เช่น วงจรของโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อมีการพัฒนาวงจร คอมพิวเตอร์ขึ้นก็ได้มีการนำเอาพีชคณิตบูลีนมาใช้ในการคำนวณ ออกแบบ และอธิบายสภาวะการทำงานของสถานะวงจรภายในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพีชคณิตบูลีนเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบวงจรตรรกของระบบดิจิตอล == นิยาม == พีชคณิตแบบบูล คือ เซต A ที่ประกอบด้วยการดำเนินการทวิภาค คือ \land (AND) กับ \lor (OR) , การดำเนินการเอกภาค คือ \lnot / ~ (NOT) และสมาชิกคือ 0 (FALSE) กับ 1 (TRUE) ซึ่งสำหรับสมาชิก a, b และ c ของเซต A จะมีคุณสมบัติเป็นไปตามสัจพจน์เหล่านี้ {|class=wikitable !สมบัติของ \lor!!สมบัติของ \land!!ชื่อเรียก |- | a \lor (b \lor c) = (a \lor b) \lor c | a \land (b \land c) = (a \land b) \land c | การเปลี่ยนหมู่ |- | a \lor b = b \lor a | a \land b = b \land a | การสลับที่ |- | a \lor (a \land b) = a | a \land (a \lor b) = a | absorption |- | a \lor (b \land c) = (a \lor b) \land (a \lor c) | a \land (b \lor c) = (a \land b) \lor (a \land c) | การแจกแจง |- | a \lor \lnot a = 1 | a \land \lnot a = 0 | ส่วนเติมเต็ม |} สำหรับสมาชิก a และ b ใน A มันจะมีเอกลักษณ์ดังต่อไปนี้ {|class=wikitable !สมบัติของ \lor!!สมบัติของ \land!!ชื่อเรียก |- | a \lor a = a | a \land a = a | นิจพล (idempotency) |- | a \lor 0 = a | a \land 1 = a | rowspan = 2 | มีขอบเขต (boundedness) |- | a \lor 1 = 1 | a \land 0 = 0 |- | \lnot 0 = 1 | \lnot 1 = 0 | 0 และ 1 เป็นส่วนเติมเต็มกัน |- | \lnot (a \lor b) = \lnot a \land \lnot b | \lnot (a \land b) = \lnot a \lor \lnot b | กฎเดอมอร์แกน (de Morgan's laws) |- | \lnot \lnot a = a | | อวัตนาการ (involution) |} == ตัวดำเนินการของบูลในรูปแบบต่างๆ == {|class=wikitable !ตรรกศาสตร์!!ทฤษฏีเซต!!วงจรดิจิตอล |- | true | U (เอกภพสัมพัทธ์) | 1 |- | false | \emptyset (เซตว่าง) | 0 |- | \lor | \cup | + |- | \land | \cap | \cdot |} == การนำไปใช้ == เรานำพีชคณิตแบบบูลไปใช้ในตรรกศาสตร์ได้ โดยตีความให้ 0 หมายถึง เท็จ, 1 หมายถึง จริง, ∧ แทนคำว่า และ, ∨ แทนคำว่า หรือ, และ ¬ แทนคำว่า ไม่ พีชคณิตแบบบูลที่มีสมาชิก 2 ตัวนั้น นำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบวงจรไฟฟ้าในงานวิศวกรรมไฟฟ้าได้ โดย 0 และ 1 แทนสถานะที่แตกต่างกันของบิตในวงจรดิจิทัล นั่นก็คือสถานะศักย์ไฟฟ้าสูงและต่ำ == อ้างอิง == ทฤษฎีอันดับ วงจรดิจิทัล
thaiwikipedia
1,206
ประเทศจอร์เจีย
จอร์เจีย (Georgia; საქართველო, , ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคอเคซัส ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตก จอร์เจียมีพรมแดนทางทิศตะวันตกติดกับทะเลดำ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับตุรกี ทางทิศใต้ติดกับอาร์เมเนีย และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจียครอบคลุมพื้นที่กว่า และมีประชากรราว 3.7 ล้านคน (ไม่นับรวมดินแดนจอร์เจียที่ถูกรัสเซียยึดครอง) จอร์เจียเป็นประเทศประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐรัฐเดี่ยวในระบอบรัฐสภา โดยมีทบิลีซีเป็นเมืองหลวง และยังเป็นที่ตั้งของประชากรจอร์เจียประมาณหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด == ภูมิศาสตร์ == ที่ตั้ง ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์มีเนีย และตุรกี ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ พื้นที่ 69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คนต่อตารางไมล์ == การแบ่งเขตการปกครอง == จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้ 350px {| | หมายเลข || เขตการปกครอง || เมืองหลวง |----- | 1 || สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia)|| ซูฮูมี (Sukhumi) |----- | 2 || ซาเมเกรลอ-เซมอสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti)|| ซุกดีดี (Zugdidi) |----- | 3 || กูเรีย (Guria)|| โอซูร์เกตี (Ozurgeti) |----- | 4 || สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดจารา (Adjara) || บาตูมี (Batumi) |----- | 5 || ราชา-เลชคูมีและคเวมอสวาเนตี || อัมบรอลาอูรี (Ambrolauri) |----- | || (Racha-Lechkhumi and Kvemo Svaneti) |----- | 6 || อีเมเรตี (Imereti)|| คูไตซี (Kutaisi) |----- | 7 || ซัมซเค-จาวาเคตี (Samtskhe-Javakheti)|| อะคัลต์ซีเค (Akhaltsikhe) |----- | 8 || ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli)|| กอรี (Gori) |----- | 9 || มซเคตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti)|| มซเคตา (Mtskheta) |----- | 10 || คเวมอคาร์ตลี (Kvemo Kartli)|| รุสตาวี (Rustavi) |----- | 11 || คาเคตี (Kakheti)|| เตลาวี (Telavi) |----- | 12 || ทบิลิซี* (Tbilisi)|| |----- |} == ประวัติศาสตร์ == ประวัติศาสตร์ของจอร์เจียมียาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษาเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่ กรุงทบิลิซี (เมืองหลวง) ซึ่งมีอายุกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขาที่งดงามซึ่งถูกแบ่งโดยแม่น้ำ Mtkvari พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 ซึ่งเป็นเวลา 11 ศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้ ในระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 12 จอร์เจียได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่งในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 (พ.ศ. 2344) อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียเมื่อระบบกษัตริย์ (Tsarist) ของรัสเซียถูกโค่นลง สาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) กองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียตก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สภาสูงสุดของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต จอร์เจียประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนพลัดถิ่นภายใน (internally displaced persons--IDPs) กว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งในดินแดนอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับเซาท์ออสซีเชียมีความคืบหน้าพอสมควร ในขณะที่การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับอับฮาเซียยังคงหาผลสรุปไม่ได้ รัฐบาลจอร์เจียยึดมั่นในแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ IMF และ World Bank และให้ความสำคัญกับการบูรณะเส้นทางสายไหม ในฐานะที่เป็น Eurasian corridor โดยจะใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจอร์เจียเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย == การเมือง == จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว === นโยบายต่างประเทศ === แม้ว่าจอร์เจียจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส แต่ในบริบทของการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ อาทิ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป จอร์เจียมีบทบาทสำคัญด้วยที่ตั้งที่ใกล้กับอิรัก อิหร่าน และตุรกี และยังตั้งอยู่บนเส้นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภายในจอร์เจีย (ดินแดง Abkhazia, South Ossetia และ Adjara) ยังทำให้จอร์เจียสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้ == ความสัมพันธ์ == === จอร์เจีย - ไทย === ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก (รัสเซีย)รับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจียในช่วงแรก ต่อมา รัฐบาลไทยได้ปรับเปลี่ยนโดยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา (ตุรกี) ดูแลความสัมพันธ์ไทย-จอร์เจียมาจนปัจจุบัน ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตจอร์เจีย ณ กรุงนิวเดลี (อินเดีย) ดูแลความสัมพันธ์จอร์เจีย-ไทย และได้แต่งตั้งนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2003 ต่อมา ได้เปลี่ยนกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเป็น นายวิกร ศรีวิกรม์ ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ008 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์ ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ908 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์ === จอร์เจีย - รัสเซีย === จอร์เจียมีความขัดแย้งกับรัสเซียสืบเนื่องมาจากปัญหาแบ่งแยกดินแดนในจอร์เจีย โดยจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่าเข้าไปแทรกแซงในปัญหาเหล่านี้ ทั้งในทางลับและโดยการส่งกองกำลังเข้าไป และยังกังวลว่ารัสเซียพยายามที่จะผนวกดินแดนจอร์เจียเข้าไปในดินแดนของตน ในขณะที่รัสเซียเห็นว่าดินแดนชายแดนของจอร์เจียบางแห่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายเชชเนีย และเห็นว่ารัฐบาลจอร์เจียไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างกลุ่มกองโจรเชชเนียเหล่านี้ในดินแดนของตน เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก South Ossetia ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ South Ossetia เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย อย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ === จอร์เจีย - สหรัฐอเมริกา === จอร์เจียมีความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) กับสหรัฐ ฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยสหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่จอร์เจีย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด === กองทัพ === === กองทัพบก === === กองทัพอากาศ === === กองทัพเรือ === === กองกำลังกึ่งทหาร === == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจจอร์เจียมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นในระยะหลังมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Saakashvili ในปี 2546 เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่แน่วแน่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายและเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ การปฏิรูปภาษี (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548) ที่ลดอัตราภาษีลงเพื่อให้ประชาชนลดการหลบเลี่ยงภาษี กระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่ม และยังพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในหมู่นักลงทุนต่างชาตินอกจากนี้ รัฐบาลยังประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และในระยะหลังยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการท่อขนส่งน้ำมัน Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งจะทำให้จอร์เจียเป็นเส้นทางผ่านสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป อย่างไรก็ดี ความยากจน ธุรกิจผิดกฎหมาย ตลาดมืด และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจอร์เจีย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Shevardnadze ทั้งนี้ มีการประเมินว่า มีการดำเนินธุรกิจโดยมิได้ผ่านการลงทะเบียนของรัฐในจอร์เจียอยู่ถึงร้อยละ 30-50 == ประชากร == == ศาสนา == นับถือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14% == การศึกษา == ระบบการศึกษาของจอร์เจียอยู่ในช่วงทำให้ทันสมัยตั้งแต่ ค.ศ. 2004 แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งก็ตาม โดยเป็นเรื่องบังคับสำหรับเด็กทุกคนที่มีอายุ 6–14 ปี ระบบโรงเรียนแบ่งออกเป็น ชั้นปฐม (6 ปี; อายุระดับ 6–12 ปี), พื้นฐาน (3 ปี; อายุระดับ 12–15 ปี) และมัธยม (3 ปี; อายุระดับ 15–18 ปี) หรืออาชีวศึกษา (2 ปี) นักเรียนที่มีปริญญาโรงเรียนมัธยมสามารถเข้าเรียนการศึกษาขั้นสูงได้ เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบระดับชาติแบบครบวงจรเท่านั้นที่จะเรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าที่ได้รับการรับรองจากรัฐได้ โดยตรวจวัดจากคะแนนแบบข้อสอบ == กีฬา == กีฬาที่นิยมในจอร์เจีย เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ มวยปล้ำ ยูโด และ ยกน้ำหนักในอดีต จอร์เจียมีชื่อเสียงทางกีฬาทางกายภาพ == ดูเพิ่ม == กากรา สงครามเซาท์ออสซีเชีย พ.ศ. 2551 == อ้างอิง == ประเทศจอร์เจีย จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ == ข้อมูล == Asmus, Ronald. A Little War that Shook the World : Georgia, Russia, and the Future of the West. NYU (2010). Gvosdev, Nikolas K.: Imperial policies and perspectives towards Georgia: 1760–1819, Macmillan, Basingstoke 2000, Goltz, Thomas. Georgia Diary : A Chronicle of War and Political Chaos in the Post-Soviet Caucasus. Thomas Dunne Books (2003). Jones, Stephen. Georgia: A Political History Since Independence (I.B. Tauris, distributed by Palgrave Macmillan; 2012) 376 pages; Lang, David M.: The last years of the Georgian Monarchy: 1658–1832, Columbia University Press, New York 1957 == แหล่งข้อมูลอื่น == === รัฐบาล === President of Georgia Government of Georgia Ministry of Foreign Affairs of Georgia Department of Tourism and Resorts American Chamber of Commerce in Georgia Chief of State and Cabinet Members === ข้อมูลทั่วไป === Georgia at UCB Libraries GovPubs Georgia profile from the BBC News Association of Modern Scientific Investigation – (AMSI) === สื่อข่าว === Civil Georgia, daily news about Georgia จ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2461 รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 รัฐในอดีตสหภาพโซเวียต จ
thaiwikipedia
1,207
ทัชชกร ยีรัมย์
ทัชชกร ยีรัมย์(เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น จา หรือที่รู้จักกันในชื่อ จา พนม เป็นอดีตนักกีฬาเริ่มเข้าสู่วงการแสดง พ.ศ. 2535 โดยเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงภาพยนตร์สังกัดค่ายสหมงคลฟิล์มเมื่อ พ.ศ. 2546 แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกสัญญาแล้วเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจ โดยใช้และเป็นต้นแบบคติในการแสดง คือ แสดงจริง, ไม่ใช้สตันท์แมน และไม่ใช้เทคนิคพิเศษในการแสดงคิวต่อสู้ เขาใช้ชื่อในการแสดงเฉพาะในประเทศไทยว่า "จา พนม" และใช้ชื่อในการแสดงระดับสากลว่า โทนี่ จา (Tony Jaa) เขาเป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ็คชัน ผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก ชำนาญในศิลปะการต่อสู้, การใช้อาวุธ, กีฬา และการออกกำลังกายหลากหลายศาสตร์ ภาพยนตร์เรื่องสำคัญเรื่องแรกที่เขาแสดงนำคือ องค์บาก ซึ่งได้รับการชื่นชมและสนใจจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวงการศิลปะการต่อสู้และภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและระดับโลกอย่างมาก นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของเขาที่ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์แอ็คชันระดับโลก ซึ่งต่อมาภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง ก็ได้ประสบความสำเร็จในระดับโลกสูง และได้รับการตอบรับจากทั่วโลกเช่นเดียวกับองค์บาก ทำให้เขาได้รับรางวัลจากภาพยนตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้มากมาย ต่อมาได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไอยราฟิล์ม บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์และได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์แนวแอ็คชันหลายเรื่อง ปัจจุบันสมรสกับ ปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ ซึ่งเป็นบุตรสาวเจ้าของธุรกิจโรงแรมที่จังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. 2554 และมีบุตรด้วยกัน 2 คน == ประวัติ == === ครอบครัว === ทัชชกร ยีรัมย์ มีบิดาชื่อ ทองดี ยีรัมย์ มารดาชื่อ รินทร์ ทรายเพชร โดยมารดาเป็นชาวอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ย้ายถิ่นฐานมากับครอบครัวโดย สงค์ ทรายเพชร ในยุคบุกเบิกนิคม มาอยู่ติดชายแดนเขมร คือ อำเภอพนมดงรักปัจจุบัน และวันหนึ่ง ทองดี ยีรัมย์ เดิมเป็นชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหัวหน้าทีมค้าขายไม้ ได้พาคณะช้างเดินทางขนไม้ จากฝั่งเขมรข้ามมายังไทย ฝ่ายหมู่บ้านโคกสูง จึงพบกับ รินทร์ ทรายเพชร ทั้งคู่ได้รักกัน แล้วแต่งงานกันโดยลงหลักปักฐานที่บ้านโคกสูง จังหวัดสุรินทร์ และมีลูกด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นชายสองคนและหญิงสองคน ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นบุตรคนที่สามในบรรดาพี่น้องสี่คน มีชื่อพี่น้อง ดังนี้ ทวีศักดิ์ ยีรัมย์ (ชาย) หัทยา ยีรัมย์ (หญิง) ทัชชกร ยีรัมย์ (ชาย) ชรินทร์ทิพย์ ยีรัมย์ (หญิง) ระยะหลังได้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนายทัชชกรกับพี่น้องคนอื่น ๆ จนถึงขั้นพี่น้องประกาศตัดพี่ตัดน้องกับนายทัชชกร === การศึกษา === ประถมศึกษา - โรงเรียนบ้านอำปีล จังหวัดสุรินทร์ มัธยมศึกษาตอนต้น - โรงเรียนโคกกลางวิทยา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพนมดงรักวิทยา) จังหวัดสุรินทร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย - โรงเรียนประสาทวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ อุดมศึกษา - สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม) จังหวัดมหาสารคาม === ชีวิตวัยเด็ก === ทัชชกร ยีรัมย์ เกิดมาในครอบครัวชนบทที่ยากจน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวกูยโบราณ ชนเผ่าซึ่งเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ครอบครัวประกอบอาชีพหลายอย่างทั้งทำนา เลี้ยงช้าง, ปลูกผัก ตามวัฒนธรรมของชาวกูย เขามีพรสวรรค์ทางด้าน กระโดดสูง, กระโดดไกล และการสปริงข้อเท้ามาตั้งแต่เกิด ในวัยเด็กเขาชอบดูภาพยนตร์กลางแปลง มีความชื่นชอบการแสดงของเฉินหลง, เจ็ท ลี และพันนา ฤทธิไกร ทัชชกรมีความใฝ่ฝันที่จะได้แสดงภาพยนตร์แอ็คชัน รักในการสร้างภาพยนตร์และพากย์ภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็ก เขาได้เริ่มฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดยชอบและสังเกตศิลปะการต่อสู้ของเจ็ทลี เฉินหลง และบรูซ ลี และนำมาปฏิบัติตาม ในวัยเด็กนั้นทัชชกรก็เช่นเดียวกับเด็กผู้ชายชนบททั่วไป ที่มีความซุกซน เขาชอบเล่นศิลปะการต่อสู้กับเพื่อน ๆ และชอบที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่ม จนทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ตั้งสมญานามให้เขาว่า "จ่า" ซึ่งแปลว่าหัวหน้าทีมและคนเลี้ยงช้าง และเรียกแทนชื่อจริงของเขาเสมอ ซึ่งต่อมาจากคำว่าจ่าก็เพี้ยนมากลายเป็น "จา" นับตั้งแต่วันนั้นเขาจึงได้ชื่อเล่นว่า จา จนทุกวันนี้ เด็กชายทัชชกรมีความสนใจในศิลปะการต่อสู้อย่างมากและมักจะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ตามป่า กลางทุ่ง ลำธาร เขาชื่นชอบที่จะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้เวลากลางคืน หากคืนไหนเป็นคืนเดือนเพ็ญเขาจะชอบฝึกเป็นพิเศษ และด้วยเหตุที่วรวิทย์เกิดในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้คนมีอาชีพเลี้ยงช้างเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเขาจึงมีความรัก ความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่เกิด เขาจึงชอบฝึกศิลปะการต่อสู้บนหลังช้าง บางครั้งเขาก็ฝึกหนักจนลืมทานข้าวและไม่กลับบ้าน และด้วยความที่เขามีพรสวรรค์ทางด้านสปริงข้อเท้า จึงทำให้เขาสนใจที่จะฝึกฝนทักษะและเล่นกรีฑาและกีฬาหลากหลายประเภท === ชีวิตในกองถ่ายภาพยนตร์ === เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขาได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง เกิดมาลุย ที่แสดงโดยพันนา ฤทธิไกร (ครูสอนศิลปะการต่อสู้, นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์) เขาได้ขอร้องให้พ่อพาไปหาพันนาที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อจะขอให้พันนารับเขาไว้เป็นนักแสดงแอ็กชั่น ขณะนั้นพันนากำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ปีนเกลียว ภาค 1 ครั้งแรกที่พันนาเห็นเขา คิดว่าทัชชกรนั้นยังอายุน้อยเกินไปที่จะเรียนศิลปะการต่อสู้อย่างจริงจัง จึงขอให้ทัชชกรกลับไปศึกษาให้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อน แต่ยังอนุญาตให้ทัชชกรมาฝึกประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ได้ช่วงปิดภาคเรียน เมื่อถึงช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียนหรือช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ทัชชกรมักเดินทางมาขอนแก่นเพื่อฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ สตันท์ กับสตันท์แมนในกองถ่ายภาพยนตร์ แต่วรวิทย์กลับไม่ได้รับความคาดหวังจากพันนามากนัก และบางครั้งเมื่อมีโอกาสดีที่พอจะได้พบกับพันนาเป็นเวลานาน ๆ ทัชชกรก็มักฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้กับพันนาเสมอ ซึ่งพันนาก็ได้ยอมรับในความสามารถของเขา และได้ดูแลเปลี่ยนบุคลิกใหม่ให้เขาดูดีขึ้น ดังนั้นเขาจึงให้ความนับถือพันนาและปฏิบัติตามทุกอย่างที่พันนากล่าวหรือขอร้องให้เขาปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ต่อมาเขาได้เริ่มเข้าวงการครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี โดยเป็นคนเสิร์ฟน้ำ, ตัวประกอบ, ยกของ, ทำอาหาร ฯลฯ ในกองถ่ายภาพยนตร์พร้อม ๆ กับฝึกฝนศิลปะการต่อสู้กับสตันท์แมน และในเวลาต่อมาเขาได้เรียนวิชามวยไทยโบราณและมวยกังฟูหวิงชุนของจีนจากรัฐพล ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกของทัชชกร จากจังหวัดสุรินทร์ และได้ร่วมงานกับพันนา ฤทธิไกร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้คนสำคัญของเขา === การเปลี่ยนผันทางบทบาทการแสดง === พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาต้องพักการเรียนและเริ่มทำแนวคิดภาพยนตร์เรื่อง คนสารพัดพิษ ร่วมกับพันนา เพื่อนำเสนอขอทุนจากปรัชญา ปิ่นแก้ว โดยทัชชกรรับบทบาทเป็นนักแสดงนำ ซึ่งเขาได้ฝึกฝนจากการจดจำศิลปะการต่อสู้ของนักแสดงภาพยนตร์ที่เขาชื่นชอบมาใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ รวมถึงฝึกฝนเพิ่มเติมจากอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้หลายคน และร่วมกันระดมทุนและนักแสดงรอบข้างมาเป็นส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เมื่อถ่ายทำเสร็จฟิล์มภาพยนตร์กลับเสียหายทั้งหมด ทั้งคู่จึงต้องร่วมระดมทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องเดิมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จึงประสบความสำเร็จ ทั้งคู่จึงนำแนวคิดภาพยนตร์ดังกล่าวเสนอต่อปรัชญา ปิ่นแก้ว และได้ถูกถ่ายทำออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่ององค์บากในที่สุด === ประสบความสำเร็จในอาชีพ === พ.ศ. 2546 ผลงานเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จคือภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก ซึ่งทำรายได้เฉพาะในประเทศไทย 200 ล้านบาท ติดบ็อกซ์ออฟฟิซ อันดับ 1 หลายประเทศในทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกา, และทวีปยุโรป รวมถึงบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด ทำให้เขาได้รับความสนใจจากบริษัทโกลเด้นฮาร์เวสท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างให้บรูซ ลีมีชื่อเสียง ได้ทาบทามให้มาร่วมงานด้วย ส่งผลให้เขากลายเป็นนักแสดงไทยที่ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล และมีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ในวงการแสดงระดับโลก พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ก็สามารถติดบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด อันดับ 4 ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงถึง 1,000 ล้านบาท === ชีวิตส่วนตัว === พ.ศ. 2553 ทัชชกรสมรสกับ ปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม ชื่อ ดาร์กอน ในจังหวัดระยอง ที่โรงแรมของฝ่ายหญิง หลังจากคบดูใจกันมา 3 ปี ต่อมา พ.ศ. 2555 ทั้งคู่ได้จัดงานฉลองมงคลสมรสที่หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย โดยมี สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ประธานบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด เป็นประธานในพิธี และมีลูกด้วยกัน 2 คน คือน้องจอมขวัญ หทัยปวีต์ ยีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2555 และน้องเรือนแก้ว นริทรรัฐ ยีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 == กีฬา == ด้วยความที่ทัชชกรมีกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีกว่าคนปกติมาตั้งแต่กำเนิดสทำให้เขามีความสนใจด้านกีฬาและกรีฑา หลากหลายชนิด เมื่อสมัยยังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เขาก็ได้เป็นนักกีฬาและกรีฑา ที่มีความสามารถเล่นได้หลากหลายประเภท และมีผลงานโดดเด่นเสมอมา จนได้รับการแต่งตั้งเป็นนักกีฬาดีเด่นของโรงเรียนและเป็นประธานชมรมกระบี่กระบองในขณะเดียวกัน ความสามารถด้านกรีฑา เช่น กระโดดสูง, กระโดดไกล, ยิมนาสติก ฯลฯ ด้านกีฬาประเภทอาวุธ เช่น กระบี่กระบอง และกีฬาประเภททีมเช่นตะกร้อด้วย ซึ่งได้รับเหรียญทองทั้งกรีฑาและกีฬาทุกประเภททุกปีที่ลงแข่งขัน จนได้โควตาไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเขาได้เข้าเรียนต่อด้านกีฬาที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ตามคำแนะนำของพันนา ฤทธิไกร และได้เป็นนักกีฬาจังหวัดสุรินทร์และถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมกระบี่กระบองอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ได้รู้จักกับ ชูพงษ์ ช่างปรุง นักศึกษาที่เรียนอยู่ชมรมเดียวกัน โดยทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งทีมสตันท์รับงานตามสถานที่ต่าง ๆ ผลงานระหว่างที่เป็นประธานชมรมกระบี่กระบอง นักกีฬาเหรียญทอง จังหวัดสุรินทร์ ประเภท กรีฑา นักกีฬาเหรียญทองทุกปี จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปะป้องกันตัว ที่โรงเรียนมัธยมต่าง ๆ ในประเทศไทย ตัวแทนสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปการต่อสู้ของไทย ในภาคอีสาน ตัวแทนสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ (กระบี่กระบอง) ที่ประเทศจีน === ส่วนร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา === พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 โดยทัชชกรรับบทเป็น "หนุมานยินดี" (ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เทพกึ่งสัตว์ประจำการแข่งขันฯ) จุดคบเพลิงในพิธีเปิดแบบพื้นฐาน โดยเขาได้แสดงศิลปะการต่อสู้แบบหนุมานและแสดงศิลปะการควงกระบองไฟ ถวายต่อพระพักตร์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พ.ศ. 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิด เมืองช้างเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่จังหวัดสุรินทร์ โดยแสดงเป็นองค์อัมรินทร์ (พระอินทร์) ประทับช้างเอราวัณ มีผู้แสดงเป็นเทพธิดา 95 องค์ และเทวดา 9 องค์เสด็จตาม พ.ศ. 2555 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยแสดงเป็นนักโยนไฟที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี == ตัวแสดงแทน == ระหว่างที่เขาศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน พนมได้เข้าไปประกอบอาชีพเสริมและหาประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ และได้เริ่มแสดงเป็นตัวประกอบและตัวแสดงแทนในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ : สิงห์สยาม - ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เขาได้แสดงครั้งแรกในชีวิตโดยแสดงเป็นตัวประกอบ ซึ่งเป็นฉากที่ต้องตีลังกาผ่านฉากอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้เห็นใบหน้า กวนโอ๊ย - ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เช่นกัน โดยแสดงเป็นตัวประกอบในฉากที่ต้องกระโดดตีลังกายิมนาสติกซิกแซก โดยแสดงร่วมกับหม่ำ จ๊กมก, พันนา ฤทธิไกร และ ธงชัย ประสงค์สันติ ซึ่งขณะนั้นได้ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเดียวกัน หลังจากนั้นก็มีภาพยนตร์ต่าง ๆ ติดต่อเข้ามาให้ไปเป็นตัวแสดงแทนอยู่เป็นประจำ Mortal Kombat 2 : Annihilation - ขณะที่เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงปิดภาคเรียน เขาก็ได้ออกไปหาประสบการณ์ หารายได้ในกองถ่ายภาพยนตร์เช่นเคย ช่วงนั้นได้มีภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องหนึ่ง เข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทย คือเรื่อง Mortal Kombat 2 : Annihilation พันนาจึงได้พาเขาไปคัดตัวให้เป็นตัวแสดงแทน Robin Shou ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีผู้มาสมัครเป็นตัวแสดงแทน 100 คน เขาได้แสดงท่าเตะให้ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ชม จึงได้ถูกเลือกให้มาเป็นตัวแสดงแทน โรบิน ชู ในที่สุด อินทรีแดง – ต่อมาในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา เขาก็ได้แสดงเป็นตัวแสดงแทนเจมส์ เรืองศักดิ์ โดยแสดงเป็นอินทรีแดง แสดงในฉากตีลังกาต่าง ๆ ด้วยความที่เขาต้องทำงานในกองถ่าย แสดงภาพยนตร์ เป็นตัวแสดงแทน ฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขามีปัญหาด้านการเรียนและต้องหยุดเรียนบ่อยขึ้น ทั้งยังเห็นว่า วิชาด้านกีฬาที่เขากำลังศึกษาอยู่ไม่ตรงกับอาชีพของตนเองในอนาคต เขาจึงตัดสินใจลาออกจากวิทยาลัยขณะที่กำลังศึกษาปีที่ 3 หลังจากที่เขาลาออกจากวิทยาลัย เขากับพันนาจึงได้เริ่มดำเนินตามแผนงานที่วางเอาไว้ คือสร้างภาพยนตร์เรื่ององค์บาก อย่างจริงจัง ซึ่งทัชชกรได้รวบรวมหนังของเจ็ทลี, บรูซ ลี และเฉินหลงทุกเรื่องมาดู โดยยึดนักแสดงทั้ง 3 คน เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการฝึก และจึงฝึกตาม ซึ่งเขาได้นำเอกลักษณ์ในการต่อสู้ของทั้ง 3 คนมาผสมรวมกัน และผสมผสานเอกลักษณ์ของตนลงไป เขาต้องเข้าฝึกซ้อมทุกวัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ปี == ศิลปะการต่อสู้ == ทัชชกร ยีรัมย์ มีทักษะทางศิลปะการต่อสู้และการใช้อาวุธหลายประเภท ดังนี้ ประเภทศิลปะการต่อสู้ มวยไทย-คาดเชือก, มวยคชสาร, เทควันโด, วิชาหมัดเมา (ทั้งแบบไทย, แบบจีน และแบบผสม), กังฟู (ทั้งแบบเส้าหลิน และแบบหวิงชุน), ไอคิโด้ , ยูโด, คาราเต้ ,คาโปเอร่า, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม (MMA), BJJ อาวุธ กระบองสามท่อน, กระบองสองท่อน, โซ่, ดาบซามูไร, ดาบไทย, เชือกลูกดอก, กระบี่จีน, กระบี่-กระบอง, พลอง, ไม้ศอก === รูปแบบศิลปะการต่อสู้ === พนม ยีรัมย์ มีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย สำหรับรูปแบบในการต่อสู้ของเขาโดยภาพรวมมี 4 รูปแบบ ดังนี้ แบบต่อสู้ตามต้นฉบับของศิลปะการต่อสู้ชนิดต่าง ๆ แบบผสมผสานดึงเอาจากศาสตร์หนึ่งมาผสมกับอีกศาสตร์หนึ่ง เช่น นำศิลปะการต่อสู้แบบวิชาหมัดเมาของจีนมาผสมกับมวยไทย แบบประยุกต์ คือนำต้นฉบับมาดัดแปลงอีกครั้งหนึ่ง เช่น ประยุกต์รูปแบบ Free running และ Parkour มาเป็นศิลปะการต่อสู้, นำทักษะจากกีฬาตะกร้อมาประยุกต์เป็นท่าเตะในเรื่องต้มยำกุ้ง แบบคิดค้นขึ้นเองทั้งหมด เช่น คิดค้นนาฏยุทธ์ ถึงเขาจะมีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย แต่เขาก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกจากการเป็นนักแสดงแอ็กชั่นที่มีความสามารถสูงในศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย === ศิลปะการต่อสู้ที่คิดค้นขึ้น === ด้วยความที่พนมมีความสามารถประยุกต์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ มาผสานเป็นศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขาเป็นผู้ให้กำเนิดศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ ขึ้นมากมาย แต่มีเพียงศิลปะการต่อสู้รูปแบบเดียวเท่านั้นที่เขาใช้เป็นศิลปะการต่อสู้เอกลักษณ์ของเขา ด้วยความที่เขาชื่นชอบวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาคิดค้นศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ขึ้น จากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2 เขาได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า นาฎยุทธ์ รูปแบบการต่อสู้ที่ถูกคิดค้นและผสมผสานจากนาฏศิลป์ไทย ลีลาแห่งศิลปะชั้นสูงอย่างโขน เช่น ตัวยักษ์, ลิง,(ตัวละครที่เขาชอบมากที่สุดคือ หนุมาน) พระ ฯลฯ มาผนวกรวมเข้ากับศิลปะการเต้นเบรกแดนซ์ และศิลปะการต่อสู้รูปแบบต่างๆ จนเกิดเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่เชื่อว่ายังไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน
thaiwikipedia
1,208
1
1 (หนึ่ง) คือจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพที่แทนจำนวนนั้น หนึ่งแทนสิ่งสิ่งเดียว หน่วยในการนับหรือการวัด ตัวอย่างเช่น ส่วนของเส้นตรงของ "ความยาวหนึ่งหน่วย" คือส่วนของเส้นตรงของความยาวเท่ากับ 1 == คำเติมนำหน้า == ภาษากรีก - mono- ภาษาละติน - uni- ภาษาไทย - เอก- == ในฐานะตัวเลข == หนึ่ง เป็นจำนวนเต็มที่มาก่อนเลขสองและมาหลังเลขศูนย์ หนึ่งเป็นจำนวนแรกที่ไม่ใช่ศูนย์และเป็นเลขคี่ในจำนวนธรรมชาติ จำนวนใด ๆ ที่คูณกับหนึ่งจะได้จำนวนนั้น เนื่องจากหนึ่งเป็นสมาชิกเอกลักษณ์ของการคูณ ด้วยเหตุนี้ หนึ่งจึงเป็นแฟกทอเรียลของตัวเอง เป็นกำลังสองของตัวเอง และกำลังสามของตัวเอง เป็นต้น หนึ่งเป็นผลคูณว่าง เนื่องจากจำนวนใด ๆ ที่คูณหนึ่งจะได้ตัวเอง หนึ่งยังเป็นจำนวนธรรมชาติจำนวนเดียวที่ไม่ได้เป็นจำนวนประกอบและจำนวนเฉพาะ แต่ถือว่าเป็นหน่วยในทฤษฎีริงหน่วยหนึ่ง == เชิงคณิตศาสตร์ == เชิงคณิตศาสตร์ 1 เป็น: : จำนวนธรรมชาติที่ถัดจาก 0 และมาก่อน 2 และเป็นสมาชิกเอกลักษณ์การคูณของจำนวนเต็ม จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน ในวิชาเลขคณิต (พีชคณิต) และแคลคูลัส : เอกลักษณ์การคูณ (หนึ่งหน่วย) ของริงในพีชคณิตนามธรรม ลอการิทึมฐาน 1 ไม่นิยาม เนื่องจากฟังก์ชัน 1x เท่ากับ 1 เสมอ และไม่มีตัวผกผันที่แท้จริง ในระบบจำนวนจริง 1 สามารถเขียนแทนได้สองอย่าง ในรูปทศนิยมซ้ำ ได้แก่ 1.000... และ 0.999... เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์การคูณ ถ้า f(x) เป็นฟังก์ชันการคูณ แล้ว f(1) ต้องเท่ากับ 1 หนึ่งเป็นจำนวนเชิงรูปของทุกอย่าง เช่น จำนวนสามเหลี่ยม จำนวนห้าเหลี่ยม และจำนวนหกเหลี่ยมด้านเท่า เป็นต้น หนึ่งเป็นจำนวนคี่จำนวนเดียวที่อยู่ในช่วงของฟังก์ชันทอเทียนต์ของออยเลอร์ φ(x) เมื่อ x = 1 และ x = 2 โดยนิยามแล้ว 1 เป็นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกือบแน่ใจได้ว่าจะเกิดขึ้น ฟังก์ชันก่อกำเนิดที่มีสัมประสิทธิ์ทุกตัวเป็น 1 ดังสมการ \frac{1}{1-x} = 1 + x + x^2 + x^3 + \cdots. อนุกรมยกกำลังนี้ลู่เข้า และมีค่าจำกัด ก็ต่อเมื่อ | x | ===ตารางการคำนวณพื้นฐาน=== {|class="wikitable" style="text-align: center; background: white" |- ! style="width:105px;"|การคูณ !1 !2 !3 !4 !5 !6 !7 !8 !9 !10 ! style="width:5px;"| !11 !12 !13 !14 !15 !16 !17 !18 !19 !20 ! style="width:5px;"| !21 !22 !23 !24 !25 ! style="width:5px;"| !50 !100 !1000 |- |1 \times x |1 |2 |3 |4 |5 |6 |7 |8 |9 |10 ! |11 |12 |13 |14 |15 |16 |17 |18 |19 |20 ! |21 |22 |23 |24 |25 ! |50 |100 |1000 |} {|class="wikitable" style="text-align: center; background: white" |- ! style="width:105px;"|การหาร !1 !2 !3 !4 !5 !6 !7 !8 !9 !10 ! style="width:5px;"| !11 !12 !13 !14 !15 |- |1 \div x |1 |0.5 |0. |0.25 |0.2 |0.1 |0. |0.125 |0. |0.1 ! |0. |0.08 |0. |0.0 |0.0 |- |x \div 1 |1 |2 |3 |4 |5 |6 |7 |8 |9 |10 ! |11 |12 |13 |14 |15 |} {|class="wikitable" style="text-align: center; background: white" |- ! style="width:105px;"|การยกกำลัง !1 !2 !3 !4 !5 !6 !7 !8 !9 !10 ! style="width:5px;"| !11 !12 !13 !14 !15 !16 !17 !18 !19 !20 |- |1 ^ x\, |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 ! |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |1 |- |x ^ 1\, |1 |2 |3 |4 |5 |6 |7 |8 |9 |10 ! |11 |12 |13 |14 |15 |16 |17 |18 |19 |20 |} == เชิงเทคโนโลยี == เป็นรหัสระบุชนิดของเรซินใช้ในการรีไซเคิลเพื่อระบุว่าเป็นพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ใช้เป็นรหัสเลขฐานสอง คู่กับเลข 0 == เชิงวิทยาศาสตร์ == 1 เป็นเลขอะตอมของธาตุ ไฮโดรเจน == ในวรรณกรรม == นัมเบอร์วัน (Number One) เป็นตัวละครในนิยายชุด Lorien Legacies โดย Pittacus Lore == ดูเพิ่ม == -1 == อ้างอิง == จำนวนเต็ม
thaiwikipedia
1,209
เคน วิลเบอร์
เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber ชื่อเต็ม Kenneth Earl Wilber Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ที่เมืองโอคลาโฮมาซิตี สหรัฐอเมริกา เป็น นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักทฤษฎีคนสำคัญของโลก เขาพัฒนาทฤษฎีที่มีชื่อว่า ทฤษฎีบูรณาการ โดยวางอยู่บนกระบวนทัศน์แม่บท (meta-paradigm) คือ "ทุกคนถูกต้อง" เขาเขียนหนังสือเล่มแรกตั้งแต่อายุ 23 ปี ชื่อ The Spectrum of Consciousness หนังสือเล่มสำคัญเล่มอื่น ๆ ของเขาได้แก่ Sex, Ecology, Spirituality และ A Brief History of Everything == All Quadrant All Level == All Quadrant All Level (AQAL) - โดยทั่วไปกระบวนการรับข่าวสารข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม (Environmental scanning) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการมองอนาคต จะคำนึงถึงห้าด้านด้วยกันคือ Social, Technology, Environment, Economics และ Politics หรือเรียกอีกอย่างว่า STEEP analysis แต่ว่ากระบวนการนี้มักจะถูกกรองโดยพื้นฐานความคิดของคนผู้นั้น หรือเรียกอีกอย่างว่า เรามักจะเห็นในสิ่งที่เราอยากเห็น และได้ยินในสิ่งที่เราอยากได้ยินเท่านั้น AQAL model ได้ถูกเสนอขึ้นโดย Ken Wilber ด้วยการจัดกลุ่มข่าวสารข้อมูลเป็นสี่เสี้ยว หลักๆคือ : interior-individual (เจตนา) , exterior-individual (พฤติกรรม) , interior-collective (วัฒนธรรม) และ exterior-collective (สังคม). ในที่นี้ STEEP analysis ได้ถูกรวมอยู่ในเรื่องสังคมแล้ว โมเดลนี้ยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมโดยการแบ่งเรื่องทั้งสี่หัวข้อออกเป็นหลายชั้นเช่น “matter to body to mind to soul to spirit”. จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่เราพิจารณาจะมีขอบเขตที่กว้างกว่าเดิมมาก วิธีนี้ช่วยขยายกรอบความคิดพื้นฐานของเรารวมไปถึงการมองโลกในมุมมองที่กว้างขึ้นและเปิดโอกาสให้เห็นสัญญาณอ่อนๆจากอนาคต == อ้างอิง == Lew Howard, Introducing Ken Wilber, May 2005, ISBN 1-4208-2986-6 Raphael Meriden, Entfaltung des Bewusstseins: Ken Wilbers Vision der Evolution, 2002, ISBN 88-87198-05-5 Brad Reynolds, Embracing Reality: The Integral Vision of Ken Wilber: A Historical Survey and Chapter-By-Chapter Review of Wilber's Major Works, 2004, ISBN 1-58542-317-3 นักปรัชญาชาวอเมริกัน นักจิตวิทยา บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
thaiwikipedia
1,210
นักสืบหุ่นยนต์ (ชุดหนังสือ)
นักสืบหุ่นยนต์ เป็นชุดนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วย นวนิยาย 4 เล่ม กับเรื่องสั้นอีกหนึ่งเรื่อง ประพันธ์โดย ไอแซค อสิมอฟ นับเป็นรหัสคดีแนววิทยาศาสตร์ชุดแรก ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ โดย อสิมอฟ ได้วางเรื่องชุดนี้ให้อยู่ในช่วงที่มนุษย์ระลอกแรกได้ก่อตั้งรกรากในอวกาศ โดยมีลักษณะสังคมที่แตกต่างและการเมืองที่ซับซ้อนระหว่างโลกที่เป็นภพกำเนิดที่เป็นสังคมซึ่งปฏิเสธการอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ (ชาวโลก) และภพรอบนอก ซึ่งมนุษย์มีหุ่นยนต์จำนวนมากคอยรับใช้และบริการ (ชาวอวกาศ) เรื่องชุดนี้นับเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากชุด "ข้าคือหุ่นยนต์" และเป็นเรื่องราวก่อนชุดจักรวรรดิ และชุดสถาบันสถาปนา ในบางตอนยังกล่าวถึงตัวละครในชุดข้าคือหุ่นยนต์ และตัวละครในชุดนี้ก็ยังปรากฏอยู่ในบางตอนของชุดสถาบันสถาปนา ด้วย == เรื่องในชุด == นครโลหะ (The Cave of Steel) นครสุริยะ (The Naked Sun) นครอรุณรุ่ง (The Robot of Dawn) นครหุ่นยนต์ (Robot and Empire) คดีชิงผลงานคณิตศาสตร์ (Mirror Image) - เรื่องสั้นรหัสคดีเรื่องเดียวในชุด == โลกและภพรอบนอก == โลก พิภพออโรร่า พิภพเนกซอน พิภพโซลาเรีย == ตัวละครสำคัญ == อีไลจาห์ แบลี่ย์ ดานีล โอลิวาล์ว จิสการ์ด เรเวนดอล์ฟ ฮาน ฟาสโตล์ฟ แกลเดีย เดลแมร์ เคลเดน อมานิโร == ดูเพิ่ม == รายชื่อนิยายวิทยาศาสตร์ไทย งานเขียนของไอแซก อสิมอฟ
thaiwikipedia
1,211
4 เมษายน
วันที่ 4 เมษายน เป็นวันที่ 94 ของปี (วันที่ 95 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 271 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 733 (ค.ศ. 190) - ตั๋งโต๊ะให้กองทหารของเขาอพยพพระเจ้าเหี้ยนเต้, พระราชวงศ์, ขุนนางและผู้คนออกจากเมืองหลวงลั่วหยางและย้ายไปที่ฉางอัน ก่อนที่จะเผาลั่วหยาง พ.ศ. 2124 (ค.ศ. 1581) - ฟรานซิส เดรก ประสบความสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) - ตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนราชินี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - กำลังทหารจากอุบลราชธานีมีพันตรีหลวงสุรกิจพิศาลเป็นผู้นำไปปราบผีบุญองค์มั่นที่บ้านสะพือใหญ่ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - รวมเมืองระยอง จันทบุรี ขลุง เป็นมณฑลจันทบุรี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - 12 ประเทศลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ทำให้เกิดองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง ถูกลอบสังหาร พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เขมรแดงจับกุมและบังคับให้เจ้านโรดม สีหนุ ลงจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ == วันเกิด == พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) - สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 แห่งโปรตุเกส (สวรรคต 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396) พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - เฟลิเป กัลเดรอน นักกฎหมายและนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ (ถึงแก่กรรม 6 มิถุนายน พ.ศ. 2451) พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - แฟแร็นซ์ นีแมธ (นักปัญจกีฬาสมัยใหม่) นักนักปัญจกีฬาสมัยใหม่และแชมป์โอลิมปิกชาวฮังการี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจไทย พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - * ฮิวโก วีฟวิง นักแสดงชายชาวออสเตรเลีย * หลิว เหว่ยเฉียง (แอนดริว เลา) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกง พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - รอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ นักแสดงชายชาวอเมริกัน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - เจนนิเฟอร์ คิ้ม นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - * วิลลี่ แมคอินทอช นักแสดงชายชาวไทย * ไซยิดดา อาฮัด บินต์ อับดุลลาห์ อัลบูไซดิยาห์ พรอัครมเหสีใน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัยษัม บิน ฏอริก อัสซะอีด พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ฮีธ เลดเจอร์ นักแสดงชายชาวออสเตรเลีย พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - กง ฮโยจิน นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * อึนฮย็อก นักร้อง * เอเดน มักกีดี นักฟุตบอลอาชีพชาวไอริช-สกอตแลนด์ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - * ซามี เคดีรา นักฟุตบอลชาวเยอรมัน * แดนนี ซิมป์สัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - มานาบุ ซาอิโตะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - เชลซี กรีน นักมวยปล้ำอาชีพ, สตั๊นท์หญิง และโมเดลชาวแคนาดา พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - * เจนภพ โพธิ์ขี นักฟุตบอลชาวไทย * ออสติน มาโฮน ศิลปินชาวอเมริกัน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - * มานาบุ ซาอิโตะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น * บุรันช์รัตน์ หอมบุตร นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2003) - ฮาวี เอลเลียต นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ฮาเลีย บีมเมอร์ นักร้องชาวอเมริกัน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 940 (ค.ศ. 397) - แอมโบรสแห่งมิลาน บาทหลวงชาวโรมัน (เกิดราว พ.ศ. 880 - พ.ศ. 883) พ.ศ. 1179 (ค.ศ. 606) - อิซิโดโรแห่งเซบิยา บาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน (เกิด พ.ศ. 1099) พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 606) - พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) นักพฤกษศาสตร์ไทย (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2422) พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เกี่ยวกับการเหยียดสีผิว (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2472) พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - คำพูน บุญทวี นักเขียนรางวัลซีไรต์ประจำปีพ.ศ. 2522 และศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2544 (เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - อภิเดช ศิษย์หิรัญ นักมวยไทยชาวไทย (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2484) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - แก้วสายใจ ไซยะสอน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศลาว (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2501) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == International Day for Mine Awareness and Assistance in Mine Action เซเนกัล: วันชาติ วันภาพยนตร์แห่งชาติ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: February 2 มเมษายน 04 เมษายน
thaiwikipedia
1,212
ประเทศเอธิโอเปีย
เอธิโอเปีย (Ethiopia; ኢትዮጵያ) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; የኢትዮጵያ ፌዴራላዊ ዲሞክራሲያዊ ሪፐብሊክ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีใน พ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487 == ประวัติศาสตร์ == === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === เอธิโอเปียเป็นดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และกรีกตั้งแต่สมัยเก่า === ประวัติศาสตร์ === === ยุคกลาง === === สุลต่านอัซซา === === จักรวรรดิ === ราชอาณาจักรอิตาลีโจมตีเอธิโอเปียเมื่อ พ.ศ. 2479 และเข้าครอบครองได้สำเร็จใน พ.ศ. 2484 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งระบบรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. 2474 === คอมมิวนิสต์ === ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เกิดความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องจนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จักรพรรดิเซลาสซีสละราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2518 นอกจากนั้นยังเกิดสงครามภายในระหว่างกลุ่มการเมืองและเผ่าต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากซูดานและโซมาเลีย พ.ศ. 2521 เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตจนรบชนะทหารโซมาเลีย และมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกันเมื่อ พ.ศ. 2531 === สาธารณรัฐประชาธิปไตย === == การเมือง == เอธิโอเปียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบ่งการปกครองเป็น 9 รัฐ และ 2 เขตเป็นการปกครองพิเศษ ได้แก่ อาดดิสอาบาบา และเขตปกครองพิเศษไดร์ดาวา แม้เดิมเอธิโอเปียระบอบกษัตริย์ ในปี 2517 มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล และโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปีต่อมา จากนั้นได้ปกครองประเทศด้วยสังคมนิยม และเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2534 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่เสมอ โดยรัฐบาลถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าทุจริตการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารได้แก่ ประธานาธิบดี เป็นประมุขประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฏร มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ สภาแห่งสหพันธรัฐมีลักษณะเดียวกับวุฒิสภา มี 112 ที่นั่ง สภาผู้แทนราษฏร มี 547 ที่นั่ง == การแบ่งเขตการปกครอง == ประเทศเอธิโอเปียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เขตบริหาร (administrative countries-kililoch) แบ่งย่อยออกมาเป็น 68 เขต และ 2 นครอิสระ (chartered cities-astedader akababiwoch) ได้แก่ อาดดิสอาบาบา เขตอะฟาร์ เขตอามารา เขตเบนิสฮันกุล-ฮามุซ ไดร์ดาวา เขตกัมเบลา เขตฮารารี เขตโอโรเมีย เขตโซมาลี เขตเซาเทิร์นเนชันเนทิแนลลิทีแอนด์พีเพิลส์ เขตทิเกรย์ == ภูมิศาสตร์ == มีสภาพเป็นหุบเขาสูงชันและที่ราบสูง ที่ตั้ง อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณที่เรียกว่า จะงอยแอฟริกา (Horn of Africa) ทิศเหนือ ติดกับเอริเทรีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจิบูตี ทิศตะวันออก ติดกับโซมาเลีย ทิศใต้ ติดกับเคนยา ทิศตะวันตก ติดกับซูดาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของประเทศไทย) == เศรษฐกิจ == เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่ ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย == ประชากร == === กลุ่มชาติพันธุ์ === โอโรโม ร้อยละ 34.49 อามารา ร้อยละ 26.89 โซมาลี ร้อยละ 6.20 ตีเกรย์ ร้อยละ 6.07 ซีดามา ร้อยละ 4.01 กูราจ ร้อยละ 2.53 โวเลย์ตา ร้อยละ 2.31 ฮาดียา ร้อยละ 1.74 อาฟาร์ ร้อยละ 1.73 กาโม ร้อยละ 1.50 เคฟฟีโช ร้อยละ 1.18 และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกร้อยละ 11 === ศาสนา === จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2550 พบว่าชาวเอธิโอเปียร้อยละ 62.8 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นผู้นับถือนิกายเอธิโอเปียนคอปติกออร์ทอดอกซ์ร้อยละ 43.5 และนิกายอื่น ๆ ร้อยละ 19.3), ร้อยละ 33.9 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 2.6 นับถือความเชื่อดั้งเดิม และร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาอื่น ๆ == วัฒนธรรม == ในวันที่เป็นชนเผ่าจะมีความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งดูได้จากหลังคาที่นำมาทำขอหมู่บ้านต่าง ๆ เอธิโอเปียเป็นแหล่งกำเนิดมนุษย์ยุคแรก แต่ไม่ใช่อาณาจักรแรก เพราะยังคงไม่มีความเจริญทางปัญญา แต่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในโลก การตั้งชื่อคนแบบเอธิโอเปียนำมาใช้เช่นเดียวกับในประเทศพม่าคือ ใช้ชื่อพ่อหรือปู่แทนนามสกุล (ในเอธิโอเปียไม่มีการล้อชื่อพ่อ แม่จึงใช้แทนนามสกุลได้) การนับวันในเอธิโอเปียใช้ปฏิทินแบบเอธิเปีย ภาษาประจำชาติของเอธิโอเปียคือภาษาอามาราซึ่งเป็นภาษาแรก ๆ ที่มีระบบการเขียนในแอฟริกา == อ้างอิง == === ข้อมูลทั่วไป=== ==อ่านเพิ่ม== Deguefé, Taffara (2006). Minutes of an Ethiopian Century, Shama Books, Addis Ababa, . Hugues Fontaine, Un Train en Afrique. African Train, Centre Français des Études Éthiopiennes / Shama Books. Édition bilingue français / anglais. Traduction : Yves-Marie Stranger. Postface : Jean-Christophe Belliard. Avec des photographies de Matthieu Germain Lambert et Pierre Javelot. Addis Abeba, 2012, . English and French. UN TRAIN EN AFRIQUE Reprint, Trenton, NJ: Red Sea, 1995. . Mauri, Arnaldo (2010). Monetary developments and decolonization in Ethiopia, Acta Universitatis Danubius Œconomica, VI, n. 1/2010, pp. 5–16. Monetary Developments and Decolonization in Ethiopia and WP Monetary developments and decolonization in Ethiopia Reprint, New York: Olive Branch, 2003. . Murphy, Dervla (1968). In Ethiopia with a Mule. London: Century, 1984, cop. 1968. N.B.: An account of the author's travels in Ethiopia. 280 p., ill. with a b&w map. Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2003). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 1: A–C. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2005). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 2: D–Ha. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. Siegbert Uhlig, et al. (eds.) (2007). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 3: He–N. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. Siegbert Uhlig & Alessandro Bausi, et al. (eds.) (2010). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 4: O–X. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. Alessandro Bausi & S. Uhlig, et al. (eds.) (2014). Encyclopaedia aethiopica, Vol. 5: Y–Z and addenda, corrigenda, overview tables, maps and general index. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. ==แหล่งข้อมูลอื่น== Ethiopia. The World Factbook. Central Intelligence Agency. BBC Ethiopia Profile World Bank Ethiopia Summary Trade Statistics Key Development Forecasts for Ethiopia from International Futures. Ethiopia pages – U.S. Dept. of State (which includes current State Dept. press releases and reports on Ethiopia) อ อ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 อดีตอาณานิคมของอิตาลี อ
thaiwikipedia
1,213
ตัวดำเนินการตรรกะ
ในแคลคูลัสเชิงประพจน์, ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ หรือ ตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์ ใช้เพื่อเชื่อมอะไรก็ได้ให้เป็นอะไรก็ได้ที่ซับซ้อนขึ้น พิจารณาตัวอย่างของประโยคที่ว่า "ฝนตก" และ "ฉันอยู่ในบ้าน" เราสามารถเชื่อมประโยคทั้งคู่ได้เป็น "ฝนตก และ ฉันอยู่ในบ้าน", หรือ "ฝน ไม่ ตก", หรือ "ถ้า ฝนตก, แล้ว ฉันอยู่ในบ้าน" ประโยคใหม่ที่ได้จากการเชื่อมประโยคเรียกว่า ประโยคเชิงซ้อน หรือ ประพจน์เชิงซ้อน ตัวดำเนินการพื้นฐานมี: "นิเสธ" (¬ หรือ ~), "และ" (∧ หรือ &), "หรือ" (∨), "เงื่อนไข" (→), และ "เงื่อนไขสองทาง" (↔). "นิเสธ" เป็นตัวดำเนินการเอกภาพ ที่ใช้กับเทอมเดี่ยว ที่เหลือคือตัวดำเนินการทวิภาค ที่เชื่อมเทอมสองเทอมเข้าด้วยกัน เช่น P ∧ Q, P ∨ Q, P → Q, และ P ↔ Q เรามักเรียกตัวดำเนินการเงื่อนไขว่า "ถ้า-แล้ว" ส่วนตัวดำเนินการเงื่อนไขสองทางเราเรียกว่า "ก็ต่อเมื่อ" สังเกตความคล้ายคลึงกันของเครื่องหมายสำหรับ "และ" (\land) และ "อินเตอร์เซกชัน" (∩) และในทำนองเดียวกัน เครื่องหมายสำหรับ "หรือ" (∨) และ "ยูเนียน (∪) นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทั้งนี้เนื่องจากนิยามของอินเตอร์เซกชันใช้ "และ" ส่วนนิยามของยูเนียนใช้ "หรือ" ตารางค่าความจริง ของตัวเชื่อมเหล่านี้: เพื่อจะลดจำนวนวงเล็บ เราจะเพิ่มลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการต่างๆ ดังนี้: ¬ มีความสำคัญมากกว่า ∧, ∧ มากกว่า ∨, และ ∨ มากกว่า → ตัวอย่างเช่น P ∨ Q ∧ ¬ R → S คือการเขียนอย่างย่อของ (P ∨ (Q ∧ (¬ R))) → S อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่เราจะต้องใช้ตัวดำเนินการทุกตัวในนี้ สำหรับการใช้งานในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ที่สมบูรณ์ ประโยคเชิงซ้อนนั้นหลายครั้งก็สมมูลกัน ตัวอย่างเช่น ¬ P ∨ Q นั้นสมมูลทางตรรกศาสตร์กับ P → Q; ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องมีตัวดำเนินงานเงื่อนไข "→" ถ้าเรามี "¬" (นิเสธ) และ "∨" (หรือ) เพื่อความกะทัดรัด เฉพาะ 5 ตัวดำเนินการที่ใช้บ่อยเท่านั้น ที่เราได้แสดงในหัวข้อนี้ ยังมีตัวเชื่อมอื่นๆ อีก เช่น แนน (nand, not-and), เอกซ์-ออร์ และ นอร์ (nor, not-or). == ดูเพิ่ม == กฎของตรรกศาสตร์ เอกซ์-ออร์ หรือ และ เอกซ์-นอร์ รายการหัวข้อทางพีชคณิตแบบบูล การดำเนินการทางบิต ขีดคั่นของเชฟเฟอร์ พีชคณิตแบบบูล
thaiwikipedia
1,214
ทฤษฎีบูรณาการ
ทฤษฎีบูรณาการ เป็นทฤษฎีที่พยายามบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาอย่างรอบด้าน แต่ไม่ใช่การนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มากองรวมกัน หรือทึกทักเหมารวมเอาไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ นักปรัชญาคนสำคัญที่สนใจพัฒนาทฤษฎีบูรณาการได้แก่ เคน วิลเบอร์, ออโรบินโด (Aurobindo) , จีน เกบเซอร์ (Jean Gebser) ดอน เบ็ค (Don Beck) และอีกหลายคน ที่ตอนนี้อยู่ที่สถาบันบูรณาการ (Integral Institute) == แหล่งข้อมูลอื่น == Integral Institute Integral Naked Integral World Integral Thinking ขบวนการทางปรัชญา ปรัชญา
thaiwikipedia
1,215
ชีวสารสนเทศศาสตร์
ชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (Bioinformatics หรือ Computational Biology) เป็นสาขาที่ใช้ความรู้จากคณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาทางชีววิทยา. การศึกษาชีวสารสนเทศศาสตร์ จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลทางพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยา เช่น ข้อมูลรหัสพันธุกรรม, ข้อมูลลำดับรหัสโปรตีน, ปริมาณชีวโมเลกุล (ระดับการแสดงออกของยีนต่าง ๆ) แต่ละชนิด (mRNA และโปรตีน), และข้อมูลหมายเหตุ (annotation data). โดยผู้ศึกษาวิจัย จะนำข้อมูลเหล่านี้ ไปใช้ในงานอย่าง การจัดเรียงลำดับรหัสโปรตีน การจัดโครงสร้างโปรตีน การทำนายโครงสร้างโปรตีน การค้นหายีน หรือ การสร้างหุ่นจำลองของวิวัฒนาการ. เนื่องจากข้อมูลที่ใช้นั้นมีจำนวนมาก ทำให้ใช้พื้นที่จัดเก็บมากตาม และบ่อยครั้งที่ข้อมูลมีความซับซ้อน ทำให้ต้องใช้การประมวลผลมากขึ้นเช่นกัน การศึกษาด้านชีวสารสนเทศศาสตร์ จึงค้นหาเทคนิควิธีที่จะทำให้การจัดเก็บ สืบค้น และประมวลผลเหล่านั้น เป็นไปได้โดยสะดวก และมีประสิทธิภาพ Bioinformatics เป็นคำย่อจากคำเต็มว่า Molecular Bioinformatics ซึ่งหมายถึงสหการของ อณูชีววิทยา (Molecular Biology) กับ สารสนเทศศาสตร์ (Informatics), ในวงวิชาการไทยมักเรียกชื่อทับศัพท์ว่า ไบโออินฟอร์เมติกส์. == แหล่งข้อมูลอื่น == Linux ressources for biology วิศวกรรมชีวภาพ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา ชีวสถิติ ชีวสารสนเทศศาสตร์
thaiwikipedia
1,216
อณูชีววิทยา
อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร == ความสัมพันธ์ของอณูชีววิทยากับวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาอื่นๆ == นักวิจัยทางด้านอณูชีววิทยาใช้ความรู้และเทคนิคจากหลายสาขาในงานวิจัย เช่น ชีวเคมี พันธุศาสตร์ ชีววิทยาเชิงฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์ รวมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ในอณูชีววิทยา ชีวเคมี เป็นการศึกษาสารเคมีและปฏิกิริยาเคมีที่จำเป็นในสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ เป็นการศึกษาการถ่ายทอดและผลของความแตกต่างของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต อณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ == เทคนิคที่ใช้ในงานวิจัยทางด้านอณูชีววิทยา == === Polymerase chain reaction(PCR) === Polymerase chain reaction (PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งเลียนแบบการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์คือ Karry Mullis โดยส่วนมากรู้จักเทคนิคนี้ในเรื่องของการเพิ่มปริมาณของสารพันธุกรรม หรือ DNA โดยใช้เครื่อง PCR machine หรือ Thermal cycler นั่นเอง ขั้นตอนของ PCR นี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. Denaturing แยก Double Helical DNA (Native DNA) ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนกลายเป็น Single Stranded DNA (Denatured DNA) อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 90-95oc 2. Annealing ลดอุณหภูมิลงอย่างช้าๆและใส่ไพร์เมอร์ (Primer, short dna)ลงไปในระบบ เพื่อให้เกิด การเข้าคู่กันของเบส(Complementary base pair)ระหว่าง Primer กับ Template DNA อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 37-60oc 3. Extension ใส่ DNA polymerase ลงไปในระบบ เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์ DNA สายใหม่ อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในช่วง 72-75oc === อิเล็กโทรโฟรีซิส (Gel electrophoresis) === เป็นเทคนิคทางชีวเคมีอีกเทคนิคหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อการแยกชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตในสนามไฟฟ้า (Run จากขั้วลบของ power supply ไปยังขั้วบวก) เทคนิดนี้แบ่งออกได้หลายแบบตามชนิดของเจลและรูปแบบของการใช้งาน เช่น Agarose gel electrophoresis ใช้แยก DNA Sodium Dodecyl Sulfate Polyacrylamide gel electrophoresis ใช้แยก Protein เป็นต้น === ซัทเธิร์น บล็อททิง และ นอร์เธิร์นบล็อททิง (Southern blotting and Northern blotting) === === เวสเทิร์น บล็อททิง (Western blotting) === == ดูเพิ่ม == ชีวเคมี พันธุศาสตร์ == อ้างอิง == http://www.school.net.th/library/snet4/genetics/pcr.htm http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/veterin/vet69/Biochemistry%20Web%20Job/electrophoresis/gel%20electrophoresis.htm
thaiwikipedia
1,217
พันธุศาสตร์
พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรกอร์ เม็นเดิล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น ==ยีน== ในปัจจุบัน นิยามของยีนหรือหน่วยพันธุกรรม คือส่วนหนึ่ง (หรือ ลำดับ) ของ DNA ที่สามารถถูกถอดรหัสออกมาเป็นชุดของกระบวนการหรือคำสั่งการทำงานของเซลล์ได้ (เช่น กระบวนการเพื่อ "สร้างโมเลกุลเมลานิน" เป็นต้น) อาจสามารถเปรียบ "ยีน" หนึ่ง ๆ ได้กับ "คำ" หนึ่ง ๆ ในภาษา โดยนิวคลีโอไทด์แต่ละตัวที่ประกอบขึ้นมาเป็นยีน เปรียบได้กับ "ตัวอักษร" ที่ประกอบขึ้นมาเป็น "คำ" == ประวัติศาสตร์ == แม้ความรู้ทางพันธุศาสตร์จะมีที่มาจากการประยุกต์ทฤษฎีของเกรกอร์ เม็นเดิลในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ทฤษฎีว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นมีมาก่อนยุคของเม็นเดิล ทฤษฎีที่เป็นที่นิยมก่อนยุคของเม็นเดิลคือแนวคิดการถ่ายทอดลักษณะแบบผสม ที่เชื่อว่าลักษณะของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นการผสมกันระหว่างลักษณะของพ่อและแม่ แต่งานของเม็นเดิลพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ไม่เป็นจริง โดยแสดงให้เห็นว่าการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดจากการประกอบกันของยีนที่แยกกันมากกว่าจะเป็นการหลอมรวมกัน อีกทฤษฎีหนึ่งที่มีผู้สนับสนุนพอสมควรคือทฤษฎีการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ผ่านการฝึกฝนขึ้นในรุ่นพ่อแม่ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าทฤษฎีนี้ (ซึ่งมักมีผู้นำไปใช้ร่วมกับทฤษฎีวิวัฒนาการของลามาร์ค) ผิด ประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้จากการฝึกฝนของสิ่งมีชีวิตรุ่นหนึ่งไม่ส่งผลต่อยีนและไม่มีการถ่ายทอดไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อีกทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีตัวกำเนิดมีทั่วทุกส่วนของชาร์ลส์ ดาร์วิน (ซึ่งเป็นการผสมแนวคิดการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่นและการได้รับลักษณะขึ้นมาใหม่) และทฤษฎีฉบับปรับปรุงของฟรานซิส กาลตันทั้งในแง่ของอนุภาคเจมมูล (gemmule) และการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต === พันธุศาสตร์เม็นเดิลและพันธุศาสตร์คลาสสิก === พันธุศาสตร์ยุคใหม่มีที่มาจากงานของเกรกอร์ โยฮัน เม็นเดิล บาทหลวงออกัสตินและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน-เช็ค บทความงานวิจัยของเขา "Versuche über Pflanzenhybriden" ("การทดลองในพืชพันธุ์ผสม") ซึ่งนำเสนอต่อ Naturforschender Verein (สมาคมงานวิจัยธรรมชาติ) ที่เบอร์โนใน ค.ศ. 1865 ได้ติดตามการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างในต้นถั่วและอธิบายการถ่ายทอดนี้ในเชิงคณิตศาสตร์ แม้งานของเม็นเดิลจะพบแบบแผนการถ่ายทอดในลักษณะเพียงอย่างของต้นถั่วเท่านั้นก็ตาม แต่ก็บ่งชี้ว่าลักษณะต่าง ๆ นั้นมีการส่งต่อจริงและไม่ได้เกิดขึ้นมาใหม่ และแบบแผนของการถ่ายทอดของลักษณะหลาย ๆ อย่างก็สามารถอธิบายได้ด้วยกฎและสัดส่วนง่าย ๆ งานของเม็นเดิลไม่ได้รับความสนใจมากนักกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1890 หลังเม็นเดิลเสียชีวิตไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นได้ศึกษาเรื่องเดียวกันและได้ค้นพบสิ่งที่เม็นเดิลเคยค้นพบมาก่อนแล้ว วิลเลียม เบทสันเป็นผู้เสนองานของเม็นเดิลและได้เสนอคำว่า genetics ขึ้นใน ค.ศ. 1905 (ส่วนคำคุณศัพท์ genetic ซึ่งมาจากคำกรีกว่า genesis—γένεσις, หมายถึง "จุดกำเนิด" นั้นมีใช้ก่อน genetics ซึ่งเป็นคำนาม และมีการนำมาใช้ในแวดวงชีววิทยาตั้งแต่ ค.ศ. 1860) และได้นำคำนี้ไปใช้ในความหมายว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตในบทเสนอต่อที่ประชุม Third International Conference on Plant Hybridization (การประชุมนานาชาติว่าด้วยการผสมพันธุ์พืชครั้งที่ 3) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1906 หลังจากการค้นพบซ้ำงานของเม็นเดิล นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้พยายามค้นหาว่าโมเลกุลใดในเซลล์ที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้ ใน ค.ศ. 1910 โธมัส ฮันท์ มอร์แกนเสนอว่ายีนนั้นอยู่บนโครโมโซม ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาการกลายพันธุ์ของลักษณะตาสีขาวซึ่งมีการถ่ายทอดแบบสัมพันธ์กับเพศในแมลงวันผลไม้ ต่อมา ค.ศ. 1913 อัลเฟรด สตูร์เทแวนท์ซึ่งเป็นนักเรียนของมอร์แกนได้อาศัยปรากฏการณ์ความเชื่อมโยงของพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่ายีนเรียงตัวกันเป็นเส้นบนโครโมโซม === อณูพันธุศาสตร์ === แม้จะทราบแล้วว่ายีนอยู่บนโครโมโซม แต่โครโมโซมก็ประกอบจากโปรตีนและดีเอ็นเอ นักวิทยาศาสตร์จึงยังไม่ทราบว่าส่วนประกอบใดกันแน่บนโครโมโซมที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดลักษณะ จน ค.ศ. 1928 เฟรเดอริค กริฟฟิธจึงพบปรากฏการณ์การแปลงพันธุ์ซึ่งแบคทีเรียที่ตายแล้วสามารถส่งสารพันธุกรรมเพื่อแปลงพันธุ์แบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ จากนั้น ค.ศ. 1944 ออสวอลด์ ธีโอดอร์ เอเวอรี, โคลิน แมคลีออด และแมคลิน แมคคาร์ที พบว่าโมเลกุลที่ทำให้เกิดการแปลงพันธุ์คือดีเอ็นเอ การทดลองเฮอร์ชีย์-เชสใน ค.ศ. 1952 ก็แสดงให้เห็นว่าดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมของไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในแบคทีเรีย เป็นหลักฐานอีกอย่างที่สนับสนุนว่าดีเอ็นเอเป็นโมเลกุลที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดลักษณะ เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก ค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอใน ค.ศ. 1953 โดยใช้งานเอกซเรย์ผลิกศาสตร์ของโรซาลินด์ แฟรงคลินและมอริซ วิลคินส์ซึ่งบ่งชี้ว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นเกลียว ทั้งสองเสนอว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นเกลียวคู่ มีสายดีเอ็นเอสองสาย นิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายชี้เข้าหากัน และตรงกันกับนิวคลีโอไทด์ที่เป็นคู่กันบนอีกสายหนึ่ง ทำให้มีลักษณะคล้ายบันไดที่บิดเป็นเกลียว โครงสร้างนี้แสดงให้เห็นว่ามีข้อมูลพันธุกรรมอยู่ในรูปของลำดับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเอแต่ละสาย และยังบ่งชี้ว่าดีเอ็นเอน่าจะมีวิธีจำลองตัวเองที่เรียบง่าย คือหากแต่ละสายแยกออกจากกัน ก็สามารถสร้างสายคู่กันได้ใหม่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บนสายนั้น ๆ เอง แม้โครงสร้างของดีเอ็นเอจะทำให้รู้ถึงกลไกการถ่ายทอดลักษณะ แต่วิธีที่ดีเอ็นเอส่งผลต่อการทำงานของเซลล์นั้นก็ยังไม่เป็นที่ทราบ หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์พยายามทำความเข้าใจว่าดีเอ็นเอควบคุมการผลิตโปรตีนได้อย่างไร ต่อมาจึงค้นพบว่าเซลล์ใช้ดีเอ็นเอเป็นแบบพิมพ์สำหรับสร้างเมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ (โมเลกุลที่ประกอบจากนิวคลีโอไทด์ คล้ายดีเอ็นเอ) ที่ตรงกัน จากนั้นลำดับนิวคลีโอไทด์บนอาร์เอ็นเอจะถูกใช้สร้างลำดับกรดอะมิโน ซึ่งจะประกอบเป็นโปรตีน ลักษณะการแปลรหัสระหว่างนิวคลีโอไทด์ไปเป็นกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม การมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางโมเลกุลของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมทำให้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดได้อีกเป็นจำนวนมาก การค้นพบที่สำคัญครั้งหนึ่งคือการพบวิธีการหาลำดับดีเอ็นเอด้วยการใช้ลำดับหยุดของสายดีเอ็นเอโดยเฟรเดอริก แซงเกอร์เมื่อ ค.ศ. 1977 ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์บนโมเลกุลดีเอ็นเอได้ จากนั้น ค.ศ. 1983 แครี แบงคส์ มุลลิส ได้พัฒนาปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสทำให้สามารถแยกและเพิ่มจำนวนบริเวณหนึ่ง ๆ ของดีเอ็นเอจากสารผสมได้ เทคนิคเหล่านี้รวมถึงเทคนิคอื่น ๆ ถูกพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นโครงการจีโนมมนุษย์และโครงการเอกชนของเซเลราจีโนมิกส์ทำให้สามารถหาลำดับจีโนมมนุษย์ทั้งหมดได้สำเร็จใน ค.ศ. 2003 == รูปแบบของการถ่ายทอดลักษณะ == === การถ่ายทอดแบบแยกส่วนและกฎของเม็นเดิล === ในระดับพื้นฐานนั้นการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตเกิดจากลักษณะซึ่งมีการแยกเป็นส่วนชัดเจน เรียกว่ายีน เกรกอร์ เม็นเดิลที่ศึกษาการแบ่งแยกลักษณะต่าง ๆ ของต้นถั่ว เป็นผู้คนพบลักษณะซึ่งมีการถ่ายทอดนี้เป็นคนแรก เช่นในการศึกษาลักษณะการถ่ายทอดสีของดอกถั่ว เม็นเดิลสังเกตว่าดอกของถั่วแต่ละต้นมีสีขาวหรือม่วง แต่ไม่มีดอกที่มีสีที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองสีนี้ ลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนของยีนเดียวกันนี้เรียกว่าอัลลีล ในกรณีต้นถั่วซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมสองชุด แต่ละยีนของต้นถั่วจะมีสองอัลลีล ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากต้นถั่วพ่อแม่ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดรวมทั้งมนุษย์ก็มีแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะในรูปแบบนี้เช่นกัน สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมสองชุด ซึ่งทั้งสองอัลลีลในยีนเดียวกันนั้นเหมือนกันเรียกว่าเป็นฮอโมไซกัสหรือเป็นพันธุ์แท้ที่โลคัสของยีนนั้น ในขณะที่สิ่งมีชีวิตที่ในยีนเดียวกันมีอัลลีลสองแบบไม่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกัสหรือเป็นพันธุ์ทาง อัลลีลที่สิ่งมีชีวิตได้รับมานั้นเรียกว่าจีโนไทป์หรือรูปแบบพันธุกรรม ส่วนลักษณะที่สังเกตได้นั้นเรียกว่าฟีโนไทป์หรือรูปแบบปรากฏ เมื่อสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ มีความเป็นเฮเทอโรไซกัสในยีนหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วอัลลีลอันหนึ่งในนั้นจะเป็นลักษณะเด่นซึ่งจะแสดงออกมาเป็นฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ในขณะที่อีกอัลลีลหนึ่งจะเป็นลักษณะด้อยซึ่งถูกบดบังไว้ไม่แสดงออก บางอัลลีลมีลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ โดยจะแสดงออกเป็นฟีโนไทป์ที่มีลักษณะผสมกัน หรือมีความเป็นลักษณะเด่นร่วมกันโดยทั้งสองอัลลีลสามารถแสดงออกพร้อมกันได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ลูกจะได้รับอัลลีลจากพ่อและแม่ต้น/ตัวละหนึ่งอัลลีลแบบสุ่ม ลักษณะการถ่ายทอดและการแยกเป็นส่วนชัดของอัลลีลเช่นนี้รวมเรียกว่ากฎข้อแรกของเม็นเดิลหรือกฎการแยกเป็นส่วนชัด === สัญลักษณ์และการบันทึกข้อมูล === นักพันธุศาสตร์ใช้สัญลักษณ์และแผนผังต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะ ยีนต่าง ๆ มักถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรไม่กี่ตัว และมักใช้เครื่องหมาย "+" ในการแสดงว่ายีนนั้น ๆ เป็นยีนปกติตามธรรมชาติซึ่งไม่มีการกลายพันธุ์ เรียกว่าเป็นพันธุ์ป่า ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์และการสืบทอดเผ่าพันธุ์ (โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับกฎของเม็นเดิล) มักเรียกรุ่นพ่อแม่ว่าเป็นรุ่น "P" (parent) และรุ่นลูกเรียกว่ารุ่น "F1" (first filial) เมื่อรุ่น F1 มีลูกอีกก็จะเรียกว่ารุ่น "F2" (second filial) แผนผังในการทำนายผลที่เกิดจากการผสมพันธุ์ที่ใช้บ่อยชนิดหนึ่งคือตารางพันเน็ต นอกจากนี้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ นักพันธุศาสตร์มักใช้แผนภาพเพ็ดดีกรีในการอธิบายการถ่ายทอดลักษณะที่เป็นโรคนั้น ๆ โดยแสดงให้เห็นการถ่ายทอดลักษณะของความเป็นโรคในครอบครัว === ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีน === สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ มียีนหลายพันยีน และสำหรับสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้น ยีนเหล่านี้สามารถมีการจัดเรียงโดยไม่ขึ้นต่อกันได้ หมายความว่าการถ่ายทอดอัลลีลลักษณะสีเขียวหรือสีเหลืองของเมล็ดถั่วจะไม่สัมพันธ์กันกับการถ่ายทอดลักษณะสีม่วงหรือสีขาวของดอกถั่ว ปรากฏการณ์นี้เรียกว่ากฎข้อที่สองของเม็นเดิลหรือกฎการจัดเรียงอย่างอิสระ นั่นคือแต่ละอัลลีลของแต่ละยีนสามารถเกิดมีการสับเปลี่ยนระหว่างพ่อแม่ได้เพื่อให้มีทายาทที่มีส่วนผสมของลักษณะหลาย ๆ แบบ (แต่บางยีนก็ไม่ได้มีการจัดเรียงอย่างอิสระ เนื่องจากมีการเชื่อมโยงทางพันธุกรรม ซึ่งจะกล่าวต่อไป) บางครั้งลักษณะหนึ่ง ๆ อาจมียีนที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะนั้น ๆ หลายตัว เช่นที่พบในดอกบลูอายแมรี่ (Omphalodes verna) ซึ่งมียีนที่มีอัลลีลซึ่งกำหนดสีของดอกเป็นสีฟ้าหรือสีม่วง กับอีกยีนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่กำหนดว่าดอกจะมีสีหรือเป็นสีขาว หากพืชต้นหนึ่งมีอัลลีลซึ่งกำหนดให้มีสีขาวอยู่สองอัลลีล ดอกไม้ก็จะมีสีขาว ไม่ว่าจะมีการถ่ายทอดการกำหนดสีมาเป็นสีม่วงหรือสีฟ้าก็ตาม ปฏิกิริยาระหว่างยีนเช่นนี้เรียกว่าการข่มข้ามคู่ ซึ่งยีนที่สองนั้นมีการข่มยีนแรกแบบข้ามคู่ ลักษณะถ่ายทอดหลายอย่างไม่ได้มีลักษณะแยกกันชัดเจนเหมือนการมีดอกสีขาวหรือม่วง แต่มีความผสมกลมกลืนต่อเนื่องกันไปเช่นความสูงหรือสีผิวของมนุษย์ ลักษณะถ่ายทอดเช่นนี้เรียกว่าลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ เป็นผลที่เกิดจากการควบคุมของยีนหลายตัว ผลของยีนเหล่านี้ปรับเปลี่ยนไปมากหรือน้อยด้วยปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ระดับที่ผลของยีนมีต่อการเกิดเป็นลักษณะนั้นเรียกว่า[name=griffiths2000sect4009> ซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์ โดยในสภาพที่สิ่งแวดล้อมมีความหลากหลายมาก ยีนก็จะมีความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะน้อยลงไป ตัวอย่างเช่นความสูงของมนุษย์มีความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะอยู่ที่ 89% สำหรับในสหรัฐอเมริกา แต่ในไนจีเรียซึ่งประชากรมีการเข้าถึง
thaiwikipedia
1,218
เซลล์พันธุศาสตร์
เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) เป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ ศึกษารูปร่าง ลักษณะ และจำนวน ของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม รวมถึงการศึกษาการแบ่งเซลล์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ชีววิทยา พันธุศาสตร์ เซลล์พันธุศาสตร์
thaiwikipedia
1,219
สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)
สัณฐานวิทยา (morphology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยาเกี่ยวกับการศึกษารูปพรรณสัณฐานภายนอกและคุณสมบัติเฉพาะของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เช่น สี โครงสร้าง ขนาด รูปร่าง รูปแบบ ตัวอย่างเช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ ชีววิทยา
thaiwikipedia
1,220
อนุกรมวิธาน
อนุกรมวิธานวิทยา (taxonomy) ซึ่งมีรากศัพท์จากคำในภาษากรีกโบราณว่า τάξις, taxis (การจัดเรียง) และ νόμος, nomos (กฎ, ธรรมเนียม) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ :# การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (classification) ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ :# การกำหนดชื่อสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (nomenclature) :# การตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (identification) ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาร์ล ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน == ประวัติ == จุดเริ่มต้นของการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอนุกรมวิธาน เกิดขึ้นจากการศึกษาของนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ คาร์ล ลินเนียส และได้แก้ไขใหม่โดยการตรวจสอบและเรียบเรียงใหม่โดยนักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ คาร์ล ริชาร์ด โวส (Carl Richard Woese) ในปี ค.ศ. 1990 โดยเพิ่มโดเมนหรือเขต (domain) เหนืออาณาจักร (kingdom) == การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต == การจัดสิ่งมีชีวิตให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับจากใหญ่ไปหาเล็กหรือจากเล็กไปหาใหญ่ ในที่นี้ขอแสดงตัวอย่างจากใหญ่ไปหาเล็ก เริ่มต้นจาก โดเมน (domain, empire, superregnum) เช่น มนุษย์ อยู่ในโดเมน Eukaryota อาณาจักร (kingdom, regnum) เช่น อาณาจักรสัตว์ (Animalia) และอาณาจักรพืช (Plantae) ไฟลัม (phylum) เช่น มนุษย์ อยู่ในไฟลัม Chordata ไฟลัมย่อย (subphylum) เช่น มนุษย์ ไฟลัมย่อยคือ Vertebrata ชั้น (class) เช่น มนุษย์ ชั้น Mammalia ชั้นย่อย (subclass) เช่น มนุษย์ ชั้นย่อย Theria อันดับ (order) เช่น มนุษย์ อันดับ Primates และยังสามารถจัดแบ่งออกเป็น อันดับใหญ่ (superorder) อันดับย่อย (suborder) วงศ์ (family) ในสัตว์จะลงท้ายด้วย -idae เช่น มนุษย์ วงศ์ Hominidae และในพืชจะลงท้ายด้วย -aceae เช่น อันดับ Poales มีวงศ์ทั้งหมด 14 วงศ์ เช่น วงศ์ Bromeliaceae, Cyperaceae วงศ์ย่อย (subfamily) โดยในพืช จะลงท้ายด้วย -ideae เช่น วงศ์ Arecaceae มีทั้งหมด 5 วงศ์ย่อย คือ Arecoideae, Calamoideae, Ceroxyloideae, Coryphoideae, Nypoideae เผ่า (tribe) โดยในพืช จะลงท้ายด้วย -ae เช่น วงศ์ย่อย Arecoideae มีทั้งหมด 14 เผ่า เช่น Areceae, Chamaedoreeae, Cocoseae, Euterpeae, Geonomateae เผ่าย่อย (subtribe) สกุล (genus) เช่น สกุล Aechmea สกุลย่อย (subgenus) ในพืช 1 สกุล อาจมีสกุลย่อยเพียง 1 สกุลย่อย แต่พืชบางชนิดใน 1 สกุล อาจมีสกุลย่อยมากกว่า 1 สกุลย่อย สปีชีส์หรือชนิด (species) สายพันธุ์หรือพันธุ์ (variety) วิธีใช้ คือ เคาะวรรค หลัง สปีชีส์ var. แต่ละอาณาจักร จะแบ่งออกได้เป็นหลายไฟลัมในสัตว์ และหมวดหรือส่วนในพืช แต่ละไฟลัม (ในสัตว์) หรือแต่ละหมวด (ในพืช) สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายชั้น แต่ละชั้น สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายอันดับ แต่ละอันดับ สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายวงศ์ แต่ละวงศ์ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น หลายวงศ์ย่อย, หลายสกุล แต่ละสกุล สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายสปีชีส์หรือชนิด การจัดหมวดหมู่เริ่มตั้งแต่การแบ่งแบบคร่าว ๆ ในระดับอาณาจักร ซึ่งในระดับนี้จะแบ่งสิ่งมีชีวิตในโลกออกเป็น 5 อาณาจักร คือ # อาณาจักรสัตว์ # อาณาจักรพืช ได้แก่ พืชทุกชนิด # อาณาจักรโปรติสตา (กึ่งพืชกึ่งสัตว์) ได้แก่ สาหร่ายต่าง ๆ ราเมือก และโปรโตซัว # อาณาจักรเห็ดรา ได้แก่ เห็ด รา และยีสต์ # อาณาจักรโมเนอรา ได้แก่ แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในความเป็นจริงแล้ว การแบ่งสิ่งมีชีวิตในโลกนั้น หนังสือบางเล่มบอกว่ามีมากกว่า 5 อาณาจักร เช่น มีอาณาจักรไวรอยส์ (ไวรัส ไวรอยด์ และสิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นเซลล์) แต่อาณาจักรอื่น ๆ หรือการแบ่งอาณาจักรแบบอื่น ๆ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากวงการชีววิทยาเท่าที่ควร ในตำราเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ จึงยังใช้การแบ่งแบบ 5 อาณาจักรอยู่ การแบ่งในระดับอาณาจักร จะแบ่งสิ่งมีชีวิตได้เพียง 5 ประเภท แต่เมื่อแบ่งในระดับที่ละเอียดขึ้น ก็จะแบ่งได้หลายประเภทมากขึ้น ซึ่งเมื่อแบ่งละเอียดถึงระดับสปีชีส์ แล้ว สิ่งมีชีวิตในโลกจะแบ่งได้เป็นล้าน ๆ ประเภท การเรียกสิ่งมีชีวิตโดยใช้หลักอนุกรมวิธาน จะเรียกโดยเริ่มจากอาณาจักร ไปไฟลัม ไปชั้น ไปอันดับ ไปวงศ์ ไปสกุล ไปสปีชีส์ เช่น การจะเรียกมนุษย์สายพันธุ์ปัจจุบันโดยใช้หลักอนุกรมวิธาน จะเรียกได้ดังนี้ Domain Eukaryota :Kingdom Animalia (อาณาจักรสัตว์) ::Phylum Chordata :::Subphylum Vertebrata ::::Class Mammalia :::::Subclass Theria ::::::Infraclass Eutheria :::::::Order Primates ::::::::Family Hominidae :::::::::Genus Homo ::::::::::Species Homo sapiens ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ต่าง ๆ นั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า การเรียกแบบอนุกรมวิธานนั้นจะแตกต่างในระดับใด เพราะถ้าหากสิ่งมีชีวิตสองชนิด มีความแตกต่างกันที่ระดับหนึ่ง ๆ แล้ว ระดับที่อยู่ต่ำลงไปก็จะแตกต่างไปด้วยเสมอ เช่น นำสิ่งมีชีวิตสองชนิดเปรียบเทียบกัน พบว่า ตั้งแต่อาณาจักรถึงวงศ์เหมือนกัน แต่สกุลไม่เหมือนกัน ก็จะพลอยทำให้สปีชีส์ไม่เหมือนกันไปด้วย เช่นนี้เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ จะผสมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตที่มีชื่ออนุกรมวิธานเหมือนกันทั้ง 7 ระดับเท่านั้น การผสมข้ามสายพันธุ์จะถูกขัดขวางโดยกระบวนการธรรมชาติ เช่น ฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่ตรงกัน, ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน, การอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ต่างกัน ฯลฯ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีบางกรณีที่สิ่งมีชีวิตเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งธรรมชาติก็จะหาทางให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ เช่น ให้อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย หากได้รับเชื้อจากเพศผู้ที่ต่างสปีชีส์กัน จะหลั่งสารยับยั้งและฆ่าเชื้อจากตัวผู้ตัวนั้น หรือถ้าสิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่มีสารเหล่านี้ จนเชื้อของเพศผู้สามารถเข้าไปได้ ก็จะไม่เกิดการถ่ายทอดยีน เพราะยีนของสิ่งมีชีวิตข้ามสายพันธุ์ไม่เหมือนกัน แต่ในบางกรณีที่เกิดการปฏิสนธิและออกลูกมาได้จริง ๆ จะเรียกว่า ลูกผสม ซึ่งลูกผสมจะมีชะตากรรมอย่างในอย่างหนึ่งใน 3 กรณีต่อไปนี้ อายุสั้น เป็นหมัน (เช่น ตัวล่อ ที่เกิดจากม้า+ลา) ออกลูกได้อีกเป็นลูกผสมรุ่นที่ 2 แต่ลูกผสมรุ่นที่ 2 นี้ จะเป็นหมันแน่ จริง ๆ แล้ว ยังมีการแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นซับสปีชีส์หรือชนิดย่อยได้อีก แต่ส่วนใหญ่จะพูดถึงกันแค่ระดับสปีชีส์ เพราะซับสปีชีส์คือการแบ่งประเภทของสปีชีส์ต่ออีกรอบ แต่ก็ยังอยู่ใน สปีชีส์เดียวกัน สิ่งมีชีวิตสามารถผสมข้ามซับสปีชีส์ได้ตามปกติโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ความแตกต่างระหว่างซับสปีชีส์น้อยมาก ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงพูดถึงกันละเอียดที่สุดที่ระดับสปีชีส์ == หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อในทางวิทยาศาสตร์ == ใช้ชื่อภาษาละตินเสมอ เพราะภาษาละตินเป็นภาษาที่ไม่มีการใช้เป็นภาษาพูดแล้ว โอกาสที่ความหมายจะเพี้ยนไปเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ จึงมีน้อย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์จะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์แต่ละหมวดหมู่จะมีชื่อที่ถูกต้องที่สุดเพียงชื่อเดียว ชื่อหมวดหมู่ในลำดับขั้นวงศ์ลงไป ต้องมีตัวอย่างต้นแบบของสิ่งมีชีวิตนั้นประกอบการพิจารณา เช่น ชื่อวงศ์ในพืช จะลงท้ายด้วย -aceae แต่ในสัตว์ จะลงท้ายด้วย -idae ชื่อในลำดับขั้นสกุลจะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่นำหน้า และตามด้วยอักษรตัวเล็ก ชื่อในลำดับขั้นสปีชีส์จะประกอบด้วย 2 คำ โดยคำแรกจะดึงเอาชื่อสกุลมา แล้วคำที่สองจึงเป็นคำระบุชนิด (specific epithet) ซึ่งจะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ชื่อในลำดับขั้นสปีชีส์จะเขียนตัวเอน หรือ ขีดเส้นใต้เสมอ == ตัวอย่างชื่อเรียกอนุกรมวิธาน == === บรรพบุรุษของมนุษย์ === เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่จัดเป็นมนุษย์ แต่ว่าได้เริ่มแยกเผ่าพันธุ์ออกมาจากบรรพบุรุษร่วมระหว่างลิงและมนุษย์แล้ว สามารถเดินสองขาได้ ใช้ชีวิตทั้งบนพื้นดินและบนต้นไม้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีชีวิตในช่วง 3,900,000 - :2,900,000 ปีก่อน มีชื่อเรียกแบบอนุกรมวิธานดังนี้ โดเมน (Domain): Eukarya :อาณาจักร (Kingdom): Animalia (อาณาจักรสัตว์) ::ไฟลัม (Phylum): Chordata :::ชั้น (Class): Mammalia ::::อันดับ (Order): Primates :::::วงศ์ (Family): Hominidae ::::::สกุล (Genus) : Australopithecus :::::::สปีชีส์ (Species): Australopithecus afarensis จะสังเกตว่า ตั้งแต่ระดับอาณาจักรจนถึงระดับวงศ์รวม 5 ระดับ เหมือนมนุษย์ปัจจุบัน แต่สกุลต่าง ดังนั้นสปีชีส์จึงต่างไปด้วย ==การศึกษาการอนุกรมวิธานในประเทศไทย== อาจจะถือได้ว่าในการศึกษาอนุกรมวิธานในประเทศไทย ปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อ สัตวาภิธาน แต่งโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นคำโคลง เกี่ยวกับการจำแนกสัตว์ที่มีขาหลากหลาย (พหุบาท) ได้แก่ แมลง, แมง และครัสเตเชียน ==อ้างอิง== == ดูเพิ่ม == การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต อนุกรมวิธาน (ชีววิทยา)
thaiwikipedia
1,221
คัพภวิทยา
คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula) แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหมด ชั้นในสุด หรือ เอนโดเดิร์ม (endoderm) เจริญไปเป็นอวัยวะในทางเดินอาหาร ปอด และกระเพาะปัสสาวะ ชั้นกลาง หรือ เมโซเดิร์ม (mesoderm) เจริญไปเป็นกล้ามเนื้อ โครงกระดูก และระบบเลือด ชั้นนอกสุด หรือ เอ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เจริญไปเป็นระบบประสาทและผิวหนัง สำหรับในมนุษย์ เอ็มบริโอหมายถึงกลุ่มเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวรูปทรงกลมจากระยะที่ไซโกตฝังตัวอยู่ในผนังมดลูกจนกระทั่งถึงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 หลังจากตั้งครรภ์ หลังจากสัปดาห์ที่ 8 จะเรียกตัวอ่อนของมนุษย์ว่าทารกในครรภ์ (fetus) เอ็มบริโอของสัตว์หลายชนิดจะมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในระยะการเจริญช่วงแรกๆ เหตุผลที่มีความคล้ายคลึงกันนั้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวในสิ่งแวดล้อมของการตั้งครรภ์ ความคล้ายคลึงกันในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดเรียกว่า โครงสร้างกำเนิดต่างกัน (analogous structures) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่หรือกลไกเหมือนกันแต่วิวัฒนาการมาจากคนละส่วนกัน == อ้างอิง == UNSW Embryology Large resource of information and media Definition of embryo according to Webster Scott F. Gilbert. Developmental Biology. Sinauer, 2003. ISBN 0-87893-258-5. Lewis Wolpert. Principles of Development. Oxford University Press, 2006. ISBN 0-19-927536-X. == แหล่งข้อมูลอื่น == Embryo Research UK philosophy and ethics website discussing the ethics of embryology Human embryo research Canadian website covering the ethics of human embryo research University of Indiana's Human Embryology Animations The Developing Human (Keith L.Moore) http://www.youtube.com/watch?v=Rb0uZefwQnc คัพภวิทยา
thaiwikipedia
1,222
สัตววิทยา
สัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน นีมาโทดา กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการสืบพันธุ์กัน ดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหลาย == สาขาแขนงของสัตววิทยา == กีฏวิทยา บรรพชีวินวิทยา มีนวิทยา ปักษีวิทยา ชีววิทยาทางทะเล วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก วานรวิทยา สังขวิทยา == ดูเพิ่ม == พฤกษศาสตร์ สัตว์ลึกลับวิทยา == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == http://www.ezathai.org/history02.html สาขาของชีววิทยา ชีววิทยา
thaiwikipedia
1,223
มีนวิทยา
มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาและนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้เดินทางสู่ประเทศไทย ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 จนถึงต้นรัชกาลที่ 7 เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคแถบนี้ และได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อปี ค.ศ. 1926 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายมาเป็นกรมประมงในปัจจุบัน มีนักศึกษาชาวไทยหลายคนที่ได้ร่ำเรียนกับ ดร.สมิธ อาทิ โชติ สุวัตถิ, จินดา เทียมเมศ, บุญ อินทรัมพรรย์ จนได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 อันเป็นสถาบันหลักในทางการศึกษาทางด้านมีนวิทยาจนถึงปัจจุบันนี้ ในปัจจุบัน มีนวิทยาจะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพร้อมกับวิชาการทางด้านประมงและสัตววิทยา หรือชีววิทยาทางทะเล มีสถาบันอุดมศึกษาที่ทำการสอนหลายแห่งในประเทศไทย นอกจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ยังมี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,คณะสหวิทยาการ สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น และมีนักมีนวิทยาชาวไทยที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ ชวลิต วิทยานนท์, ทศพร วงศ์รัตน์, สืบสิน สนธิรัตน, สุภาพ มงคลประสิทธิ์, สุรินทร์ มัจฉาชีพใครอีกคน เป็นต้น ==ดูเพิ่ม== การประมง กรมประมง คณะประมงในประเทศไทย ==อ้างอิง== สัตววิทยา
thaiwikipedia
1,224
สังขวิทยา
สังขวิทยา (malacology) เป็นการศึกษาเรื่องหอย สาขานี้มีความสำคัญเนื่องจากพบว่า หอยน้ำจืดหลายชนิดเป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิหลายชนิด ซึ่งก่อปัญหาทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีการระบาดของพยาธิในประชาชนเป็นจำนวนมาก ชีววิทยา สัตววิทยา
thaiwikipedia
1,225
ปรสิตวิทยา
ปรสิตวิทยา (Parasitology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรสิตและการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตสองชนิดในภาวะปรสิต (parasitism) มีผู้ให้นิยามไว้ว่าปรสิตวิทยาคือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรสิต (parasite) และ โฮสต์ (host), ปรสิตหมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในกายหรือบนผิวหนังของโฮสต์ ปรสิตขึ้นอยู่กับโฮสต์ จึงมีการปรับตัวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมเพื่อยังชีพและสืบพันธุ์ในโฮสต์ ปรสิตวิทยา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะปรสิตในประชากรธรรมชาติให้เพียงพอเพื่อควบคุมและกำจัดปรสิตจากประชากรที่ไม่ปกติ, ทั้งในมนุษย์และสัตว์ซึ่งมนุษย์พึ่งพา วิชาปรสิตวิทยาโดยทั่วไป จะมีความหมายจำกัดเฉพาะปรสิตที่เป็นสัตว์ (animal parasites) เท่านั้น การแพทย์เฉพาะทาง ชีววิทยา
thaiwikipedia
1,226
กีฏวิทยา
กีฏวิทยา (Entomology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง แมลงมีความสัมพันธ์มากมายหลายทางต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สาขาวิชานี้จึงมีความสำคัญในการศึกษาชีววิทยา == การศึกษากีฏวิทยา == ในประเทศไทยได้มีการศึกษากีฏวิทยา โดยเปิดจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้คณะเกษตร ในบางมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อาจจัดการเรียนการสอนในคณะอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการเกษตร เช่น ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอนทางด้านกีฏวิทยาโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำ ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แนวทางคือ กีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม และกีฏวิทยาชุมชน โดยกีฏวิทยาสิ่งแวดล้อมจะเปิดสอนในสาขากีฏวิทยาการเกษตร กีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม กีฏวิทยาอุตสาหกรรม แมลงผสมเกษร และ ไรวิทยา ส่วนกีฏวิทยาชุมชนจะเปิดสอนในสาขานิติเวชกีฏวิทยา กีฏวิทยาชุมชน กีฏวิทยาการแพทย์ และกีฏวิทยาการ == กีฏวิทยาประยุกต์ == นักกีฏวิทยาจำนวนมากได้ศึกษาแมลงซึ่งมีประโยชน์หรือโทษโดยตรงต่อมนุษย์ การศึกษาแมลงที่มีประโยชน์อย่าง เช่น ผึ้งและตัวไหม จะเน้นสนใจในด้านนิเวศวิทยาและพฤติกรรม เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการเพาะเลี้ยงและเพิ่มผลผลิต ในทางกลับกัน การศึกษาแมลงที่มีโทษมักจะเน้นสนใจในด้านสรีรวิทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อหาวิธีควบคุมแมลงที่ได้ผลดีและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น สารฆ่าแมลงหลายชนิดถูกผลิตให้มีผลเฉพาะภายในร่างกายของแมลง โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ชนิดอื่น แต่ก็ทำให้แมลงที่มีประโยชน์ต้องตายไปด้วย จึงได้มีการค้นคว้าเพื่อหาวิธีการควบคุมทางชีววิทยา อย่างเช่นการใช้ปรสิตและโรคเฉพาะแมลงแต่ละชนิด รวมทั้งการควบคุมทางพันธุกรรม อย่างเช่นการปล่อยแมลงที่ทำหมันแล้วเข้าไปปะปนในประชากรของแมลง นิติเวชกีฏวิทยาเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับแมลงที่กินซากศพ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของแมลงเหล่านี้มีประโยชน์ในการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม อย่างเช่นเวลาการตายโดยประมาณ โดยอาศัยการสังเกตวงจรชีวิตของแมลงว่าอยู่ในช่วงใด == นักกีฏวิทยา == นักกีฏวิทยา (ภาษาอังกฤษ : Entomologist) นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางแมลง ผู้ศึกษาค้นคว้าวิจัยแมลง == ดูเพิ่ม == แมลง == อ้างอิง == กีฏวิทยา
thaiwikipedia
1,227
ยูเนสโก
องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่าง ๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ สมาชิกสมทบอีก 11 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49) โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน การดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุก ๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ == กิจกรรม/โครงการ == ยูเนสโกกำหนดและดำเนินการกิจกรรมภายใต้ 5 หัวข้อ คือ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมและมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม และการสื่อสารและข้อมูล ยูเนสโกสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาเปรียบเทียบ (comparative education) โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญและส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านการศึกษาระดับชาติและศักยภาพของประเทศต่าง ๆ ในการนำเสนอการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน โดยไม่จัดว่าเป็นการอุดมศึกษา อาทิ * UNESCO Chairs * Convention against Discrimination in Education * UNESCO ASPNet ยูเนสโกออกแถลงการณ์ Seville Statement on Violence กำหนดโครงการและสถานที่ ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ อาทิ: * เครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network) * เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (World Network of Biosphere Reserves) ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 * เมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature) * โครงการภาษาใกล้สูญและความหลากหลายทางภาษา (Endangered languages and linguistic diversity projects) * ผลงานชิ้นเอกด้านมุขปาฐะและมรดกที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติ (Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) * ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 * การจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้โครงการอุทกวิทยานานาชาติ (International Hydrological Programme: IHP), * แหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) * หอสมุดดิจิทัลแห่งโลก (World Digital Library) ส่งเสริม "การไหลของความคิดอย่างอิสระด้วยภาพและคำพูด" โดยวิธี: * ส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งเสรีภาพสื่อและกฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ผ่านแผนกเสรีภาพในการแสดงออกและการพัฒนาสื่อ (Division of Freedom of Expression and Media Development) รวมถึงโครงการระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการสื่อสาร (International Programme for the Development of Communication) * ส่งเสริมความปลอดภัยของสื่อและต่อสู้กับการไม่ต้องรับโทษสำหรับผู้ที่โจมตีพวกเขา ผ่านการประสานงานตาม "แผนปฏิบัติการสหประชาชาติว่าด้วยความปลอดภัยของนักข่าวและประเด็นการไม่ต้องรับโทษ" (the UN Plan of Action on the Safety of Journalists and the Issue of Impunity) * ส่งเสริมการเข้าถึงและการเก็บรักษาข้อมูลอย่างทั่วถึง และการแก้ปัญหาแบบเปิดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านแผนกสมาคมความรู้ (Knowledge Societies Division) รวมถึงโครงการความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World Programme) และโครงการสารสนเทศเพื่อปวงชน (Information for All Programme) * ส่งเสริมพหุนิยมทางการเมือง ความเท่าเทียมทางเพศ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสื่อ * ส่งเสริมความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตและหลักการของอินเทอร์เน็ต ว่าอินเทอร์เน็ตควรตั้งอยู่บนพื้นฐาน (I) สิทธิมนุษยชน (ii) เปิดกว้าง (iii) เข้าถึงได้ทุกคน และ (iv) หล่อเลี้ยงโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย (สรุปเป็นคำย่อ R.O.A.M.) * การสร้างความรู้ผ่านสิ่งพิมพ์ เช่น World Trends in Freedom of Expression and Media Development, the UNESCO Series on Internet Freedom, and the Media Development Indicators, ตลอดจนการศึกษาตามตัวบ่งชี้อื่น ๆ สนับสนุนกิจกรรม อาทิ: * ทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก (International Decade for the Promotion of a Culture of Peace and Non-Violence for the Children of the World) ระหว่าง ค.ศ. 2001–2010 * วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ในทุกวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อ ในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมที่มีสุขภาพดี เป็นประชาธิปไตยและเสรี * วันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) * ปีสากลเพื่อวัฒนธรรมเชิงสันติ (International Year for the Culture of Peace) ก่อตั้งแต่ให้ทุกสนับสนุนโครงการ อาทิ: * โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การย้ายถิ่น (Migration Museums Initiative) * สำนักข่าวแห่งเอเชียและแปซิฟิก (OANA) * สภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Council of Science) * ทูตสันถวไมตรียูเนสโก (UNESCO Goodwill Ambassador) * UNESCO Collection of Representative Works เพื่อแปลผลงานวรรณกรรมโลกให้เป็นหลายภาษาระหว่างปี 1948 ถึง 2005 * GoUNESCO นอกจากนี้ มีการเสนอให้จัดตั้งโครงการใหม่โดยรัฐสมาชิก ได้แก่ โครงการที่มุ่งเน้นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (movable cultural heritage) อาทิ สิ่งประดิษฐ์ ภาพวาด และ biofact ตัวอย่างวัตถุทางวัฒนธรรม เช่น ภาพวาดโมนาลิซา ประติมากรรมดาวิด ทองสัมฤทธิ์เบนิน และมงกฎแห่งแพ็กเจ เป็นต้น และโครงการที่มุ่งเน้นสิ่งชีวิต เช่น มังกรโกโมโด แพนด้ายักษ์ อินทรีหัวขาว อาย-อาย เป็นต้น == ผู้อำนวยการ == รายชื่อผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ดังนี้ == สำนักงาน == == อ้างอิง == องค์การยูเนสโก สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ == ดูเพิ่ม == แหล่งมรดกโลก มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ความทรงจำแห่งโลก ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ทูตสันถวไมตรียูเนสโก == แหล่งข้อมูลอื่น == UNESCO เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ UNESCO Bangkok เว็บไซต์สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ Thai National Commission for UNESCO องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 สังคมสารสนเทศ ปารีส
thaiwikipedia
1,228
องค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน ค.ศ. 1948 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีสำนักงานส่วนภูมิภาคตั้งอยู่อีกใน 6 เมือง ได้แก่บราซาวีล, วอชิงตัน ดี.ซี., ไคโร, โคเปนเฮเกน, นิวเดลี และ มะนิลา ตราสารจัดตั้งองค์การอนามัยโลกได้รับการลงนามโดย 61 ประเทศเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 และได้จัดการประชุมสมัชชาอนามัยโลกขึ้นสมัยแรก เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 ==ดูเพิ่ม== อธิบดีองค์การอนามัยโลก ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == องค์การอนามัยโลก Weekly Epidemiological Record (WER) อนามัยโลก สาธารณสุข องค์การแพทย์และสุขภาพ องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2491 องค์การอนามัยโลก สุขภาพโลก เจนีวา
thaiwikipedia
1,229
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (mechatronics engineering) เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เทคโนโลยี ก้าวหน้าขึ้น, สาขาย่อยของ วิศวกรรม ก็ขยายและพัฒนาขึ้น จุดประสงค์ของเมคคาทรอนิกส์จึงเป็นกระบวนการออกแบบที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสาขาย่อยเหล่านี้ แต่เดิม เมคคาทรอนิกส์ได้รวมแค่เมคคานิกส์และอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ดังนั้นคำว่าเมคคาทรอนิกส์จึงเป็นคำผสมของ แมคคา และ ทรอนิกส์; อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบด้านเทคนิคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ คำ ๆ นี้จึงถูกขยายความให้รวมถึงพื้นที่ทางเทคนิคมากยิ่งขึ้น คำว่า "เมคคาทรอนิกส์" มีจุดเริ่มต้นในภาษา Japanese-English และถูกริเริ่มโดยนาย Tetsuro Mori, วิศวกรจากบริษัท Yaskawa Electric Corporation คำนี้ถูกลงทะเบียนเป็น เครื่องหมายการค้า โดยบริษัทในญี่ปุ่นด้วยทะเบียนหมายเลข "46-32714" ในปี 1971 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นบริษัทได้สละสิทธ์การใช้ในสาธารณะ คำนี้จึงขยายออกไปทั่วโลก ในปัจจุบันคำนี้ถูกแปลเป็นภาษาอื่นและได้รับการพิจารณาว่าเป็นคำสำคัญในอุตสาหกรรม มาตรฐานของฝรั่งเศส NF E 01-010 ให้คำนิยามต่อไปนี้: “ดำเนินการในจุดประสงค์เพื่อบูรณาการอย่างเสริมประสานกันของทฤษฎีกลไก, อิเล็กทรอนิกส์, ควบคุม, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ภายในการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์, เพื่อที่จะปรับปรุงและ/หรือให้ประโยชน์สูงสุดของหน้าที่การทำงานของมัน" คนจำนวนมากปฏิบัติต่อ "เมคคาทรอนิกส์" เหมือนกับเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ทันสมัยที่พ้องกับคำว่า "วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกล" ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย และอาคารอัจฉริยะ เป็นต้น == โครงสร้างหลักสูตร == นักศึกษาแมคคาทรอนิกส์จะต้องผ่านหลักสูตรในหลายสาขา เช่น วิศวกรรมเครื่องกล และ วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟ์ตแวร์) วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมระบบและควบคุม วิศวกรรมอ็อพติก == การประยุกต์ใช้งาน == Machine vision ระบบอัตโนมัติ and หุ่นยนต์ Servo-mechanics ตัวรับรู้ และ ระบบควบคุม วิศวกรรมยานพาหนะ, อุปกรณ์ยานพาหนะในการออกแบบระบบย่อยเช่น ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก การควบคุมเครื่องจักรด้วยคอมพิวเตอร์ เช่นเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยคอมพิวเตอร์เหมือน computer numerical control (CNC), milling machines ระบบชำนาญการ สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องอุปโภคบริโภค ระบบแมคคาทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์ทางการแพทย์, ระบบสร้างภาพทางการแพทย์ ระบบพลศาสตร์โครงสร้าง ระบบยานพาหนะและการขนส่ง แมคคาทรอนิกส์เป็นภาษาใหม่ของยานพาหนะ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยและการการผลิตแบบบูรณาการ คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ ระบบการผลิตและวิศวกรรม การบรรจุหีบห่อ Microcontrollers/PLCs Mobile apps วิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้า == หลักสูตรในประเทศไทย == สำหรับในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้เปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ระดับปริญญาตรีเป็นแห่งแรก ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็เปิดสอนเช่นกัน เช่น มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, มหาวิทยาลัยมหาสารคารม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธศูนย์สามพร้าว, วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี (เปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ต่อเนื่อง 5 ปี ตามมาตรฐาน KOSEN) == ดูเพิ่ม == อาซิโม คิวริโอ นาโอะ วิทยาการหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ โรโบคัพ การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ เอบียูโรบอตคอนเทสต์ อาซิโม ทฤษฎีระบบควบคุม หุ่นยนต์ดินสอ == อ้างอิง == เมคคาทรอนิกส์คืออะไร? สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เมคคาทรอนิกส์คืออะไร? สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมคคาทรอนิกส์คืออะไร? สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บล็อกเมคคาทรอนิกส์ รวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสาขาเมคคาทรอนิกส์ สาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ระบบฝังตัว
thaiwikipedia
1,230
5 เมษายน
วันที่ 5 เมษายน เป็นวันที่ 95 ของปี (วันที่ 96 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 270 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1866 (ค.ศ. 823) - โลแธร์ที่ 1 ได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 1 พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) - จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เสด็จเข้าสู่กรุงโรม เพื่อประกาศชัยชนะของโรมันอีกครั้ง พ.ศ. 2157 (ค.ศ. 1614) - โพคาฮอนทัส ชนพื้นเมืองอเมริกัน แต่งงานกับจอห์น รอล์ฟ นักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ พ.ศ. 2164 (ค.ศ. 1621) - เรือเมย์ฟลาวเวอร์ออกเดินทางจากเมืองพลีมัธ รัฐแมสซาชูเซตส์ เพื่อเดินทางกลับประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) - ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันของสหรัฐอเมริกาใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้อำนาจนี้ในสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) - ประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวกาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - สำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์นำเครื่องบินรบมิก 1 ลำแรกขึ้นสู่อากาศ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - โจซิป โบรซ ติโตยอมให้ทหารโซเวียต เข้าสู่ดินแดนยูโกสลาเวียชั่วคราว พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - วินสตัน เชอร์ชิลล์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ชาวลิเบียวางระเบิดดิสโกเธคในกรุงเบอร์ลิน เยอรมันตะวันตก ทำให้ทหารสหรัฐเสียชีวิต 2 นาย เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐทิ้งระเบิดประเทศลิเบีย == วันเกิด == พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - สเปนเซอร์ เทรซี นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510) พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - สัญญา ธรรมศักดิ์ ข้าราชการและนายกรัฐมนตรีไทย (ถึงแก่กรรม 6 มกราคม พ.ศ. 2545) พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - เบตตี เดวิส นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 6 ตุลาคม พ.ศ. 2532) พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) - เกรกอรี เพก นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546) พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีไทย (ถึงแก่อสัญกรรม 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - ธานินทร์ กรัยวิเชียร ข้าราชการและนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - ไฟติ้ง ฮาราด้า นักมวยชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - เดนนิส มอร์ติเมอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - อะกิระ โทะริยะมะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - พอลลา โคล นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ โปรดิวเซอร์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักธุรกิจชาวอเมริกัน พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - ไชยา มิตรชัย นักแสดงและนักร้องชาวไทย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - * ซีโมเน อินซากี ผู้จัดการทีมฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลชาวอิตาลี * สเตอร์ลิง เค. บราวน์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - โยริส มาไตเซิน นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - * โทมัส ฮิทเซิลส์แพร์เกอร์ ผู้บริหารทีมฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลชาวเยอรมัน * เฮย์ลีย์ แอตเวลล์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - นาแทเนียล ไคลน์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - นัทธวัชร์ แก้วบัวสาย นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เซ มูโรยะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) * ดอมินิก มิสเตริโอ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน * บอร์ฆา มาโยรัล นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - นวบดินทร์ สัณหวัณภัคดี นักแสดงชายชาวไทย == วันถึงแก่กรรม== พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน (ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374) พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน (พระราชสมภพ 28 มีนาคม พ.ศ. 2444) พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา “ยาขอบ” (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450) พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ดักลาส แมกอาเธอร์ พลเอกชาวอเมริกัน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - เจียงไคเช็ค ผู้นำจีน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - แคล้ว ธนิกุล อดีตนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2477) พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เคิร์ต โคเบน นักดนตรีชาวอเมริกัน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - อัครพล ธนะวิทวิลาศ นักจัดรายการวิทยุและผู้ดำเนินรายการชาวไทย (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: April 5 == อ้างอิง == เมษายน 05 เมษายน
thaiwikipedia
1,231
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2
สมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา ( ในภาษาโปแลนด์) ประสูติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม == วัยเด็ก == ในวัยหนุ่ม การอลทุ่มเทพลังทั้งหมดให้กับการเล่นกีฬา ทั้งฟุตบอลและสกี หลงใหลกับการนั่งชมการแสดงในโรงละคร เคยเป็นทั้งนักเขียนบทและนักแสดงมาแล้ว และครั้งหนึ่งฝันว่าจะเป็นนักแสดง โดยการอลเริ่มต้นเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในเมืองกรากุฟ เมื่อปี ค.ศ. 1938 ในด้านวรรณกรรมและภาษาโปแลนด์ เนื่องจากท่านชื่นชอบการแสดง เพื่อน ๆ หลายคนก็คิดว่าท่านคงจะยึดอาชีพนักแสดงตามโรงละคร มากกว่าเข้าเซมินารีเพื่อบวชเป็นบาทหลวง จากนั้น ในปี ค.ศ. 1939 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างที่โปแลนด์ถูกกองทัพนาซีได้บุกยึดครอบครองอยู่นั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถูกสั่งปิด การอลต้องแอบเรียนส่วนตัว และทำงานในโรงงานตัดหิน มีหน้าที่ดูแลระบบส่งน้ำของโรงงาน เมื่อบิดาจากไปแล้วและท่านเองก็ประสบอุบัติเหตุที่เกือบเอาชีวิตไม่รอด == ฐานันดรในศาสนจักร == ในที่สุดท่านได้เบนเข็มชีวิตมาที่การบวชเป็นบาทหลวง ด้วยการเริ่มให้ความสนใจในการศึกษาด้านเทววิทยา โดยเข้ารับการศึกษาที่เซมินารีซึ่งเปิดสอนลับ ๆ แบบทำงานใต้ดิน เมื่อสงครามยุติลงในปี ค.ศ. 1945 ท่านก็ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยต่อจนจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1946 จนในที่สุดก็ได้ตัดสินใจรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงคาทอลิกในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้นเอง เมื่อบวชแล้วก็ฝึกงานตามโบสถ์คริสต์ต่าง ๆ จน ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ทางผู้ใหญ่ในมุขมณฑลก็ส่งท่านไปเรียนที่กรุงโรม เพื่อทำปริญญาเอกทางเทววิทยา และเมื่อจบการศึกษาจากโรมแล้ว ก็เดินทางกลับโปแลนด์ ทำหน้าที่บาทหลวงประจำโบสถ์อยู่สามปี จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาปริญญาเอกทางด้านปรัชญาที่โรมอีกครั้ง กระทั่งในปี ค.ศ. 1956 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาจริยศาสตร์ที่ลูบลิน ขณะเดียวกันท่านก็ไม่ได้ทิ้งการกีฬาที่ท่านรัก ไม่ว่าจะเป็นการเดินภูเขา การแข่งเรือบด หรือเล่นสกี ในปี ค.ศ. 1958 ท่านก็ต้องแปลกใจที่ตนเองได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งมุขนายกผู้ช่วยแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ และในอีก 5 ปีต่อมา (ค.ศ. 1963) สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ได้ทรงประกาศแต่งตั้งให้ท่านเป็นอาร์ชบิชอปแห่งกรากุฟ จากนั้นในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลขณะอายุเพียง 47 ปี เท่านั้น นับว่าเป็นพระคาร์ดินัลที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาพระคาร์ดินัลทั่วโลก และยังเป็นการเลื่อนสมณศักดิ์ที่เร็วมากอีกด้วย เมื่อเป็นพระคาร์ดินัลแล้ว ท่านได้ร่วมกับพระคาร์ดินัลอาวุโสต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังคุกคามยุโรปในเวลานั้นอย่างแข็งขัน จนในปี ค.ศ. 1976 ท่านได้รับเกียรติให้ไปเทศน์ให้พระสันตะปาปาในช่วงเทศกาลมหาพรต จากนั้นชื่อเสียงของท่านก็ค่อย ๆ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็นต้นในบรรดาพระคาร์ดินัลทั้งหลาย == พระสันตะปาปา == เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1 สิ้นพระชนม์อย่างปัจจุบันทันด่วน บรรดาพระคาร์ดินัลต่างก็ถูกเรียกตัวกลับโรมอีกครั้งหลังจากที่เพิ่งเสร็จสิ้นการเลือกตั้งพระสันตะปาปา ผ่านไปเพียงเดือนเดียว ในที่สุดท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปา สืบต่อจากพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1 ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 โดยใช้พระนามว่า "พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2" นับเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยของพระสันตะปาปาชาวอิตาลีที่ครอบครองตำแหน่งนี้ตลอด 456 ปี นับจากสมัยปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ซึ่งเป็นชาวดัทซ์ (ค.ศ.1522-1523) สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศจุดยืนของพระองค์ ทันทีหลังจากที่ได้รับตำแหน่งแล้วว่า "จะทรงรับใช้พระศาสนจักรสากล กล่าวคือ รับใช้โลกทั้งมวล พระองค์จะทรงรับใช้ความจริง ยุติธรรม สันติ และความสมานสามัคคี" ด้วยความตั้งใจเด็ดเดี่ยวเช่นนี้เองที่ทำให้พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 กลายเป็นพระสันตะปาปาที่เดินทางไปแพร่ธรรมและอภิบาลสัตบุรุษมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใดในอดีต การเยี่ยมเยียนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในหลายแง่มุม แต่ละที่ที่พระองค์เสด็จไปนั้น ประชาชนจะพากันมาร่วมพิธีมิสซา และต้อนรับพระองค์กันเนืองแน่น เช่น ที่มานิลา ผู้คนประมาณ 5 ล้านคนมาร่วมพิธีมิสซา หรือที่ฝรั่งเศส เมื่อมีการชุมนุมเยาวชนโลก ก็มีหนุ่มสาวจากทั่วโลกได้เดินทางไปร่วมพิธี สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงเป็นผู้มีบทบาทในการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน และลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศรัสเซีย พระองค์ได้ปฏิรูประบบบริหารคูเรียใหม่ บางคนมองว่าพระองค์เป็นคนตรง และไม่ผ่อนปรนในเรื่องความเชื่อ กระนั้นก็ตามพระองค์ก็ส่งเสริมการเสวนาเพื่อความปรองดองระหว่างศาสนา และลัทธิความเชื่อต่าง ๆ เพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก พระองค์ได้ออกสมณสาสน์ต่าง ๆ มากมาย เพื่อสอนความเชื่อแท้ของคาทอลิก เช่น Laborem Exercens (ค.ศ.1981), Centesimus Annus (ค.ศ.1991), Veritatis Splendor (ค.ศ.1993), Ut Unum Sint (ค.ศ.1995) และ Evangelium Vitae (ค.ศ.1995) == พระกรณียกิจระหว่างดำรงตำแหน่ง == เสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ เป็นระยะทางรวมกันกว่า 1,247,613 กิโลเมตร หรือคิดเป็นระยะทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ 3.24 เท่า เสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ นอกอิตาลี 104 ครั้ง เสด็จไปเยือนประเทศและอาณานิคมดินแดนต่างๆ 129 ครั้ง เสด็จเยี่ยมมุขมณฑลต่าง ๆ ในกรุงโรม และกัสแตล กันดอลโฟ 748 ครั้ง (ในจำนวนนี้รวมถึงโบสถ์ต่าง ๆ ในโรม 301 แห่ง จาก 333 แห่ง) ทรงใช้เวลา 822 วัน หรือกว่า 2 ปี 3 เดือน ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ นอกกรุงโรม ทรงกล่าวสุนทรพจน์กว่า 20,000 ครั้ง หรือกว่า 100,000 หน้า ทรงสถาปนาบุญราศี 1,340 องค์ (147 ครั้ง) ทรงประกาศแต่งตั้งนักบุญ 483 องค์ (51 ครั้ง) ซึ่งมากกว่าที่พระสันตะปาปาก่อนหน้าพระองค์ในรอบ 400 ปี ทั้งหมดรวมกันได้เคยปฏิบัติ ทรงเรียกประชุมคณะพระคาร์ดินัล (Consistory) เพื่อแต่งตั้งพระคาร์ดินัล 9 ครั้ง และสถาปนาพระคาร์ดินัล 231 องค์ กับอีก 1 องค์ที่ทรงสงวนชื่อเป็นความลับ เป็นพระสันตะปาปาที่มีผู้แสวงบุญมาเฝ้ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้แสวงบุญมาเฝ้า ณ จตุรัสนักบุญเปโตร ในทุกวันพุธ เป็นจำนวนมากกว่า 17.8 ล้านคน โดยนับเป็นจำนวนครั้งได้ 1,161 ครั้ง ทรงเข้าประชุมร่วมกับผู้นำทางการเมืองกว่า 1,600 ครั้ง รวมไปถึงการเข้าพบกับประมุขของรัฐ 776 คน และนายกรัฐมนตรีอีก 246 คน พระองค์ทรงเดินทางไปพบคริสต์ศาสนิกชนในทั่วโลกเสมอ ๆ เสด็จเยือนไปมากกว่า 100 ประเทศ หากนับการเดินทางของพระองค์ ประเมินว่าพระองค์ได้เดินทางรอบโลกแล้ว 27 รอบ อย่างไรก็ตาม ความประสงค์ของพระองค์ในการใกล้ชิดกับประชาชน ทำให้พระองค์เกือบถึงแก่ชีวิต โดยเมื่อปี ค.ศ. 1981 ขณะที่พระองค์กำลังออกทักทายประชาชน ในจตุรัสนักบุญเปโตร สแควร์ มะห์หมัด อาลี อักจา มุสลิมชาวตุรกีได้ยิงปืนหมายปลงพระชนม์พระองค์ แม้จะทรงรอดชีวิต แต่ก็บาดเจ็บสาหัส ทั้งนี้มีข้อสันนิษฐานที่ไม่ยืนยันว่าสหภาพโซเวียตเป็นผู้บงการ หลังจากทรงพักรักษาพระองค์ที่ใช้เวลายาวนาน 2 ปี ในวันคริสต์มาสของปี ค.ศ. 1983 พระองค์ก็ได้เดินทางไปพบกับมือลอบสังหารถึงในคุก ซึ่งไม่มีการเปิดเผยว่าพระองค์ได้ตรัสอะไรกับเขาบ้าง แม้ว่าพระองค์จะทำให้ศาสนจักรก้าวหน้าไปมาก แต่ทัศนะของพระองค์ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ถกเถียงไม่จบไม่สิ้นอย่างการหย่าร้าง การคุมกำเนิด และการทำแท้ง การประชุมของวาติกันเมื่อปี ค.ศ.2001 พระองค์ประกาศต่อต้านการอนุญาตให้หย่าร้าง การทำแท้ง การอยู่ด้วยกันของคนรักร่วมเพศ รวมทั้งสิทธิของผู้ที่ไม่ได้สมรสกัน ผู้วิจารณ์ทั้งภายในและภายนอกศาสนจักรระบุว่า ทัศนะของพระองค์เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่ชาวคาทอลิก และวาติกันก็อยู่ไกลเกินเอื้อมของคนในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้ ไม่นานมานี้ พระองค์มีอาการประชวรและอ่อนแอลงมาก ในปี ค.ศ. 1992 พระองค์ทรงเข้าผ่าตัดเอาเนื้องอกในปลายลำไส้ใหญ่ออก ปี ค.ศ. 1993 ทรงมีอาการไหล่หลุด ปี ค.ศ. 1994 ต้นขาหักปี ค.ศ. 1996 ทรงเข้าผ่าตัดไส้ติ่ง และในปี ค.ศ. 2001 มีการยืนยันว่าพระองค์ทรงมีอาการของโรคพาร์กินสัน หลังจากสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคนี้มาได้ระยะหนึ่งแล้ว เดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 จตุรัสนักบุญเปโตร เนืองแน่นด้วยด้วยผู้แสวงบุญจากทั่วโลก ซึ่งพากันมาร่วมฉลองการขึ้นเป็นพระสันตะปาปาครบรอบ 25 ปี ของพระองค์ ซึ่งในอีก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็กลายเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 3 ที่ครองตำแหน่งนานที่สุด และในเดือนพฤษภาคมปีถัดมา ก็มีการเฉลิมฉลองวันประสูติครบ 84 พรรษา ทั้งนี้แม้พระพลานามัยจะไม่สมบูรณ์นัก พระองค์ก็ทรงปฏิเสธที่จะงดพระกรณียกิจ และการเดินทางเยือนต่างประเทศ โดยปกติแล้วสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 จะทรงออกมาพบกับประชาชนทุกวันพุธ จนกระทั่งการประชวรเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้พระองค์ต้องงดเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2003 == สิ้นพระชนม์ == เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2005 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อเวลา 21.37 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลา 02.37 น. ของวันอาทิตย์ (ที่ 3) ตามเวลาในประเทศไทย หลังจากที่คืนวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม ทรงมีไข้สูง อันเป็นผลจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หลังจากนั้นทรงช็อค และมีอาการพระหทัยล้มเหลว จากนั้นพระอาการของพระองค์ก็ทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนสิ้นพระชนม์อย่างสงบในที่สุดในห้องส่วนพระองค์ หลังจากองค์พระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์อย่างเป็นทางการแล้ว คณะพระคาร์ดินัลก็จะทำลายสัญลักษณ์ตำแหน่งของพระสันตะปาปา นั่นคือ "เพสคาโตริโอ" หรือวงแหวนแห่งชาวประมง (Ring of the Fisherman) สั่งลดธงประจำสำนักวาติกันลงครึ่งเสา และสุดท้ายปิดประตูสำริดของพระมหาวิหาร ที่จตุรัสเซนต์ ปีเตอร์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีประกาศการสิ้นพระชนม์ พิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 จัดขึ้นอย่างสง่า พระศพของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ในหีบศพจากต้นสนไซเปรสอันเรียบง่ายถูกเคลื่อนออกจากโบสถ์บาซิลิกา ในนครรัฐวาติกัน เพื่อประกอบพิธีฝัง โดยมีบรรดาผู้นำโลกและผู้นำศาสนากว่า 200 คน มาร่วมไว้อาลัย เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 ขณะที่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลกร่วมรำลึกถึงประมุขแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นครั้งสุดท้ายผ่านจอโทรทัศน์ คณะนักบวชแห่งสำนักวาติกันเริ่มเคลื่อนพระศพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ออกจากมหาวิหารนักบุญเปโตร เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (หรือเวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ท่ามกลางแขกคนสำคัญและผู้ศรัทธาจากทั่วโลกมาร่วมพิธี ณ จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ เมื่อเสียงระฆังดังขึ้น หีบไม้ภายในบรรจุพระศพถูกเคลื่อนออกมาจากโบสถ์บาซิลิกา โดยเจ้าหน้าที่ของวาติกัน 12 คนซึ่งได้ตั้งหีบศพลงบนพรมหน้าแท่นบูชาที่คลุมด้วยผ้าสีดำและทอง จากนั้นพระคาร์ดินัลโยเซฟ รัตซิงเงอร์ (สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16) ก็เริ่มทำพิธีมิสซา ขณะที่ฝูงชนเริ่มคร่ำครวญด้วยความสลด บ้างก็เริ่มสวดมนต์ ท่ามกลางบรรยากาศที่โศกเศร้า ตามขนบธรรมเนียมของวาติกัน ภายหลังพิธีมิสซาสิ้นสุดลง หีบพระศพของพระสันตะปาปาจะถูกนำไปใส่หีบเคลือบสังกะสี ก่อนจะบรรจุลงในหีบไม้โอ๊คและนำไปฝังลงภายใต้แท่นหินอ่อนภายในสุสานใต้ดินในมหาวิหารนักบุญเปโตร บุคคลสำคัญจากทั่วโลกกว่า 200 คน ทั้งกษัตริย์ ผู้นำทางการเมืองและทางศาสนา อาทิ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนและสมเด็จพระราชินีโซเฟีย ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ฌัก ชีรัก ประธานาธิบดีฝรั่งเศส รวมทั้งโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และเหล่าผู้นำชาติอาหรับเดินทางมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง โดยรวมกันอยู่ในที่นั่งด้านซ้ายของปะรำพิธี ตรงข้ามกับที่นั่งของบรรดาพระคาร์ดินัลแห่งวาติกัน ขณะที่ผู้แสวงบุญคาดว่ามีนับ 2 ล้านคนเบียดเสียดกันอยู่ในลานของจตุรัสนักบุญเปโตร ทั้งนี้ คาดว่ามีผู้ศรัทธาอีกหลายล้านในทั่วโลกกำลังเฝ้าชมพิธีดังกล่าวผ่านการถ่ายทอดสดจากจอโทรทัศน์ อนึ่ง สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงปกครองศาสนจักรรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 26 ปี 15 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ตามประวัติศาสตร์ของศาสนจักรโรมันคาทอลิกอันยาวนานนับ 2,000 ปี โดยเชื่อว่านักบุญเปโตรทรงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปายาวนานที่สุด คือ 37 ปี == กระบวนการประกาศเป็นนักบุญ == สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงลงพระนามแต่งตั้งสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นบุญราศี ซึ่งได้มีการจัดการให้เร็วขึ้นเป็นพิเศษ โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงอนุมัติให้เริ่มกระบวนการพิจารณาสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นนักบุญได้ทันที เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปีหลังมรณกรรม (ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปของศาสนจักร) ในที่สุดโดยสรุปแล้วกระบวนการพิจารณาสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เป็นบุญราศี ใช้เวลาเพียง 6 ปี เท่านั้น (ค.ศ. 2005 - ค.ศ. 2011) ด้วยระยะเวลาอันสั้นดังกล่าว ทำให้สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เป็นบุญราศีที่พระศาสนจักรคาทอลิกใช้เวลาพิจารณาแต่งตั้งสั้นที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกในรอบ 1,000 ปีที่พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน ได้ถวายมิสซาสถาปนาพระสันตะปาปาองค์ก่อนหน้า เป็นบุญราศีในสมณสมัยของตน สำหรับพิธีมิสซาสถาปนาบุญราศีได้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงเป็นประธานถวายมิสซาด้วยพระองค์เอง ซึ่งสาเหตุที่เลือกวันที่ 1 พฤษภาคม นั้นเป็นเพราะวันดังกล่าวตรงกับวันอาทิตย์ฉลองพระเมตตาของพระเยซู (อาทิตย์หลังวันสมโภชปัสคา) ซึ่งวันฉลองดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 นั่นเอง สำหรับขั้นตอนพิธีมิสซาการประกาศเป็นบุญราศีนั้น เริ่มจากพระคาร์ดินัลวัลลินีอ่านรายงานเพื่อเสนอให้สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสถาปนาสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นบุญราศี เมื่ออ่านจบแล้วสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงประกาศแต่งตั้ง "สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2" เป็น "บุญราศี" แล้วผ้าที่ปิดพระรูปของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ถูกเปิดออกเพื่อการประกาศเป็นบุญราศีอย่างเป็นทางการ จากนั้นได้มีการนำ “เรลิก” (ซึ่งในพิธีมิสซาสถาปนาบุญราศียอห์น ปอล ที่ 2 จะเป็น “เลือดของบุญราศียอห์น ปอล ที่ 2 ซึ่งอยู่ในขวดแก้ว” โดยเลือดดังกล่าว คุณหมอเรนาโต้ บุซโซเน็ตติ ได้เก็บจากพระวรกายของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เพื่อเป็นเลือดสำรองในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนพระองค์จะสิ้นพระชนม์ สาเหตุที่ต้องเก็บเลือดนี้ไว้ เพราะใช้ในการป้องกันเลือดของพระสันตะปาปาแข็งตัวเป็นลิ่ม นอกจากนี้ยังใช้ในการถ่ายเลือดกรณีฉุกเฉิน) มาถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จากนั้นในช่วงเทศน์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ตรัสว่า "วันนี้เป็นวันแห่งพระหรรษทาน และพระหรรษทานนี้ก็ปรากฏออกมาในตัวของบุญราศียอห์น ปอล ที่ 2 ... เวลานี้ พระประสงค์ของพระเจ้าคือการให้สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นบุญราศี ... ขอให้เรามองไปที่รูปของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แล้วบอกกับพระองค์ว่าพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 โปรดภาวนาเพื่อเราด้วย" นอกจากนี้หลังพิธีมิสซา สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้เสด็จเข้าไปคุกเข่าภาวนาหน้าพระศพบุญราศียอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย ทั้งนี้วาติกันได้ประกาศวันฉลอง “บุญราศียอห์น ปอลที่ 2” ออกมาแล้ว ปรากฏว่ามุขมณฑลโรมและมุขมณฑลทุกแห่งในโปแลนด์ จะฉลองศาสนนามนี้ในวันที่ 22 ตุลาคมของทุกปี เนื่องจากวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1978 เป็นวันที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงถวายมิสซาเริ่มสมณสมัยปกครองของพระองค์อย่างเป็นทางการ ณ ลานหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร วันนี้มีความหมายกับมุขมณฑลโรม เพราะนอกจากจะเป็นวันเข้ารับตำแหน่งพระสันตะปาปา ยังเป็นวันที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เข้ารับตำแหน่งบิชอปแห่งโรมอีกด้วย ในส่วนของโปแลนด์ นี่คือการส่งมอบคริสตังชาวโปแลนด์ให้ไปปฏิบัติหน้าที่พระสันตะปาปา (ส่งมอบจากศาสนจักรท้องถิ่นสู่ศาสนจักรสากล) หลังจากการรอคอยอันยาวนาน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก ทรงเปิดเผยว่าจะมีการประกาศแต่งตั้งให้สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 และสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 เป็นนักบุญองค์ใหม่แห่งศาสนจักรในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 การประกาศแต่งตั้งนักบุญครั้งนี้ เป็นไปตามขั้นตอน หลังจากเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงประกาศรับรองปาฏิหารย์ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ทำให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงมีคุณสมบัติครบตามกฎของศาสนจักรในการรับรองนักบุญองค์ใหม่ ในที่สุด บุญราศียอห์น ปอลที่ 2 ก็ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == {| cellpadding="10" |- style="vertical-align:top;" | The Holy See - The Holy Father - John Paul II A tribute to John Paul II in the occasion of his beatification 'Lolek, The Boy Who Became Pope John Paul II' Link to collected tributes, writings and commentary on John Paul II Electing a new Pope: The Conclave and all that John Paul II Karol Wojtyła Papiez z Polski Pope John Paul II to achieve sainthood John Paul II's Visit to Detroit, Michigan || Pope John Paul II, Time Magazine, 30 October 1978 John Paul II: text, concordances and frequency list John Paul II's Multilingual Opera Omnia Tomb of John Paul II Pope John Paul II Karol Wojtyła and Benedict XVI Pope is joyous about beatifying John Paul II Cause for the Beatification and Canonisation of John Paul II |} เสียชีวิตจากโรคทางประสาทวิทยา พระสันตะปาปาชาวโปแลนด์ พระสันตะปาปานักบุญ นักบุญชาวโปแลนด์ นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้นำในสงครามเย็น บุคคลจากกรากุฟ ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร มหาราช
thaiwikipedia
1,232
วิทยาไวรัส
ไวรัสวิทยา (Virology) เป็นการศึกษาทางชีววิทยาเกี่ยวกับไวรัส ในด้านของโครงสร้าง การจัดจำแนกหมวดหมู่ พยาธิสภาพ กลไกการก่อโรคในสิ่งมีชีวิต การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การเพิ่มจำนวน การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อเกิดการติดเชื้อ วัคซีน การแพร่กระจาย การควบคุม และความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสกับสิ่งมีชีวิตอื่น ไวรัสวิทยาเป็นสาขาย่อยของจุลชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาไวรัส เรียกว่า นักไวรัสวิทยา === การจัดจำแนกไวรัส [https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7120296/] === ไวรัสสามารถจัดจำแนกได้ตามคุณสมบัติต่าง ๆ ลักษณะของโฮสต์หรือเจ้าบ้าน เช่น ไวรัสในสัตว์ รวมถึงมนุษย์ (Animal viruses), ไวรัสในพืช (Plant viruses), ไวรัสในรา (Fungal viruses), ไวรัสในแบคทีเรีย (Bacterial viruses มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Bacteriophage) โครงสร้างสัณฐานวิทยา รูปร่างและรูปทรง เช่น Helical symmetry, Icosahedral symmetry, Complex structure ลักษณะกรดนิวคลีอิคและสารพันธุกรรม เช่น DNA viruses และ RNA viruses ==อ้างอิง== ชีววิทยา
thaiwikipedia
1,233
ภูมิคุ้มกันวิทยา
redirect วิทยาภูมิคุ้มกัน
thaiwikipedia
1,234
ปฏิทินสุริยคติ
ปฏิทินสุริยคติ (solar calendar) คือปฏิทินที่วันที่ระบุฤดูกาลหรือสิ่งที่เท่าเทียมกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เกี่ยวข้องกับดวงดาว โดยปฏิทินกริกอเรียนเป็นหนึ่งในตัวอย่างปฏิทินสุริยคติ ส่วนปฏิทินอีกรูปแบบคือปฏิทินจันทรคติที่เดือนเป็นไปตามวัฏจักรข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ เดือนบนปฏิทินกริกอเรียนไม่ตรงกับดิถีจันทร์ ชาวอียิปต์น่าจะเป็นชนกลุ่มแรกที่พัฒนาปฏิทินสุริยคติ โดยระบุจุดที่ดวงอาทิตย์ที่ดาวหมา (ดาวซิริอุสหรือโซธิส) ที่ท้องฟ้าฝั่งตะวันออก ซึ่งประจวบกับช่วงที่แม่น้ำไนล์เกิดน้ำท่วมประจำปี พวกเขาสร้างปฏิทินที่มี 365 วัน ประกอบด้วย 12 เดือน แต่ละเดือนมี 30 วัน โดยเพิ่มอีก 5 วันในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ชาวอียิปต์ไม่ได้คำนึงถึงเศษเสี้ยวของวันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปฏิทินของพวกเขาคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ == ตัวอย่าง == ปฏิทินสุริยคติ ได้แก่ ปฏิทินกริกอเรียน ปฏิทินจูเลียน ปฏิทินคอปต์ (ไอยคุปต์) ปฏิทินญะลาลีย์อิหร่าน ปฏิทินสุริยคติไทย ปฏิทินเหล่านี้มี 365 วัน ในหนึ่งปี และเพิ่มวันหนึ่งวันในปีอธิกสุรทิน ปฏิทินสุริยคติที่แสดงดิถีจันทร์ด้วย เรียกว่า ปฏิทินสุริยจันทรคติ ได้แก่ ปฏิทินฮิบรู ปฏิทินจีน ปฏิทินจันทรคติไทย นอกเหนือจากนี้ ยังมีปฏิทินที่ไม่ใช่ปฏิทินสุริยคติ เช่น ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ อันเป็น ปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม, ปฏิทินที่สอดคล้องกับคาบซินอดิกของดาวศุกร์ และปฏิทินที่สอดคล้องกับการขึ้นของดาวฤกษ์ในท้องฟ้า == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Correspondence between Hebrew and Islamic calendars, months and holidays (pdf) สุริยคติ
thaiwikipedia
1,235
ปีอธิกสุรทิน
ปีอธิกสุรทิน [อะ-ทิก-กะ-สุ-ระ-ทิน] (อธิก (เกิน) + สุร (พระอาทิตย์) + ทิน (วัน); จากภาษาบาลี อธิกสูรทิน (อธิก + สูร + ทิน), รัสสะ "สระอู" ให้สั้นลงเป็น "สระอุ") (leap year) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year) ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรียน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป == ปฏิทินเกรโกเรียน == ในปฏิทินเกรโกเรียน ปฏิทินมาตรฐานปัจจุบันในส่วนใหญ่ของโลก ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวเป็นส่วนมาก ในปีอธิกสุรทินแต่ละปีนั้น เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วัน การเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทินทุกสี่ปีเพื่อชดเชยตามข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลา 365 วันนั้นสั้นกว่าปีสุริยคติเกือบ วัน หรือ 6 ชั่วโมง ข้อยกเว้นบางประการต่อกฎนี้มีว่า เนื่องจากระยะเวลาของปีสุริยคติน้อยกว่า 365.25 วันเล็กน้อย จึงกำหนดให้ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวมิใช่ปีอธิกสุรทิน แต่ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 1600 และ 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน แต่ ค.ศ. 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ ดังนั้น ในระยะเวลาสองสหัสวรรษ จะมีปีอธิกสุรทิน 485 ปี โดยกฎนี้ จำนวนวันเฉลี่ยของแต่ละปีจะเท่ากับ 365 + − + = 365.2425 หรือเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 12 วินาที ปฏิทินเกรโกเรียนถูกออกแบบมาเพื่อรักษาวสันตวิษุวัตให้ตรงหรือใกล้เคียงกับวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ (ซึ่งเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์หลังคืนจันทร์เพ็ญซึ่งตรงกับหรือหลังวันที่ 21 มีนาคม) ปีวสันตวิษุวัตนั้นมีประมาณ 365.242374 วัน (และกำลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย) === อธิกวาร === วันที่ 29 กุมภาพันธ์เป็นวันที่ซึ่งปกติมีทุกสี่ปี และเรียกว่า อธิกวาร (leap day) วันนี้เพิ่มเข้าไปในปฏิทินในปีอธิกสุรทินเพื่อเป็นมาตรการแก้ไขวันที่ให้ถูกต้อง เพราะโลกไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วันพอดี == ปฏิทินจูเลียน == ปฏิทินจูเลียนเพิ่มวันพิเศษเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ในปีซึ่งหารด้วย 4 ลงตัว == ปฏิทินจูเลียนปรับปรุง == ในปฏิทินจูเลียนปรับปรุง (Revised Julian calendar) เพิ่มวันพิเศษเข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์ในปีที่หารด้วย 4 ลงตัว ยกเว้นปีที่หารด้วย 100 ลงตัวและหารด้วย 900 แล้วไม่เหลือเศษเป็น 200 หรือ 600 กฎนี้ตกลงกันด้วยกฎสำหรับปฏิทินเกรโกเรียนจนถึง ค.ศ. 2799 ปีแรกที่วันที่ในปฏิทินจูเลียนปรับปรุงไม่ตรงกับวันที่ในปฏิทินเกรโกเรียนจะเป็น ค.ศ. 2800 เพราะจะเป็นปีอธิกสุรทินในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ไม่เป็นในปฏิทินจูเลียนปรับปรุง กฎนี้ทำให้หนึ่งปีเฉลี่ยมี 365.242222 วัน ซึ่งเป็นการประมาณที่ดีมากสำหรับปีสุริยคติโดยเฉลี่ย แต่เนื่องจากปีวสันตวิษุวัตยาวกว่าเล็กน้อย ปฏิทินจูเลียนปรับปรุงจึงไม่ดีเท่ากับปฏิทินเกรโกเรียนในการรักษาวสันตวิษุวัตให้ตรงหรือใกล้เคียงกับวันที่ 21 มีนาคม == อ้างอิง == ปฏิทิน หน่วยเวลา
thaiwikipedia
1,236
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก. – KU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ แรกเริ่มเป็น โรงเรียนช่างไหม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่และโรงเรียนกรมคลองเป็น โรงเรียนเกษตราธิการ และถูกยุบรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรีอนฯ ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมาได้รับการก่อตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2460 ในนาม โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม และได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถัดจากนั้นมา รัฐบาลได้ปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกษตรกลาง บางเขน กับโรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ และสถาปนาเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 ระยะแรก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ บริหารธุรกิจ และงานบริการ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การประเมินของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช (Pest Management) จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร อีกทั้งยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี 3 วิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ทั้งยังมีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีอีกหนึ่งแห่งด้วย เปิดการสอน 29 คณะ 2 วิทยาลัย และสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง มีหลักสูตร 583 หลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ 42 หลักสูตร นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ หลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ == ประวัติ == ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ ทรงได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า (Dr. Kametaro Toyoma) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น รวมทั้งสอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ทรงจัดตั้ง "โรงเรียนช่างไหม" ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 ณ ท้องที่ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมเป็น "โรงเรียนวิชาการเพาะปลูก" ในปี พ.ศ. 2449 เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆ เข้ามาประกอบ ต่อมา โรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ณ วังประทุมวัน โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452 ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการตรงกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของการจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกระทรวงธรรมการ โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ จึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456 โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ โดยทั้ง 2 ท่านได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนด้านการเกษตรโดยสังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาอีกครั้ง ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ตั้งอยู่ที่ตำบลหอวัง ในปี พ.ศ. 2460 ภายหลังจึงได้มีการย้ายการเรียนการสอนไปที่ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2461 ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร อธิบดีกรมตรวจกสิกรรมในกระทรวงเกษตราธิการและเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมกันขยายการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้งานวิจัยการเกษตรดำเนินควบคู่ไปกับการให้การศึกษาในสาขาเกษตรศาสตร์ โดยภาคกลางอยู่ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ภาคอีสานตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภาคเหนือตั้งอยู่ที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และภาคใต้ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อย่างไรก็ตาม โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ปิดตัวลงตามข้อบังคับของการปรับเปลี่ยนระบบราชการในปี พ.ศ. 2478 จึงได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ พระช่วงเกษตรศิลปการ และหลวงอิงคศรีกสิการ สามบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเสนอให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมไว้ที่แม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะของโรงเรียนก่อตั้งเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" มีฐานะเป็นกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในกรมเกษตรและประมง และมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้มีดำริให้พระยาฤทธิอัคเนย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ดังนั้น จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่อำเภอบางเขนในปี พ.ศ. 2482 โดยมีนายอินทรี จันทรสถิตย์ ดำเนินการจัดซื้อที่ดินย่านบางเขนและมีหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัย และเปิดสอนหลักสูตร 3 ปี ในระดับ อนุปริญญา โดยมี 3 แผนก คือแผนกเกษตรศาสตร์ แผนกวนศาสตร์ และแผนกสหกรณ์ โดยแผนกเกษตรศาสตร์และแผนกสหกรณ์เรียนที่บางเขน ยกเว้นนักศึกษาแผนกสหกรณ์ ชั้นปีที่ 3 จะเรียนที่กรมสหกรณ์ ท่าเตียน เพื่อสะดวกในการอบรมวิชาภาคปฏิบัติ ส่วนแผนกวนศาสตร์เปิดสอนที่โรงเรียนวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่อำเภอบางเขนต่อไป ในปี พ.ศ. 2486 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยกฐานะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ และให้แต่งตั้งข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก โดยมีการเปิดสอนใน 4 คณะ ได้แก่ คณะกสิกรรมและสัตวบาล คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง ในปี พ.ศ. 2509 หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนคับแคบ ไม่สามารถจะได้ จึงได้ดำริที่จะหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่มีดินดีเหมาะต่อการเกษตรและมีโครงการชลประทานผ่านเตรียมไว้แต่เนิ่น ๆ ก่อนราคาที่ดินจะมีราคาแพง ซึ่งต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 รัฐบาลในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดตั้งวิทยาเขตกำแพงแสน โดยทางมหาวิทยาลัยได้ทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิมและก่อสร้างอาคารเรียน ที่พัก และอาคารสำนักงานซึ่งสามารถเสร็จสิ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2521 และเริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแนวคิดที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยจึงได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาเขตลพบุรี ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชาในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2542 และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครในปี พ.ศ. 2543 ส่วนวิทยาเขตสุพรรณบุรี ปัจจุบันยังอยู่ในสถานะภาพของการเป็นโครงการจัดตั้ง ส่วนวิทยาเขตกระบี่และวิทยาเขตลพบุรีนั้นเนื่องจากมีปัญหาในด้านงบประมาณในการดำเนินงานจึงทำให้สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติยกเลิกการจัดตั้งทั้ง 2 วิทยาเขต จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยการเปิดคณะและสาขาวิชาเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีที่เปิดทำการสอนแล้วทั้งหมด 29 คณะ 2 วิทยาลัยและสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง มีจำนวนหลักสูตรทั้งหมด 583 หลักสูตร และเป็นหลักสูตรนานาชาติ 42 หลักสูตร เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุผลเพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีความเป็นอิสระและเป็นเลิศทางวิชาการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 == สัญลักษณ์ == === ชื่อและความหมาย === มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้คำว่า "เกษตรศาสตร์" เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้อักษรโรมันว่า "Kasetsart" "เกษตรศาสตร์" มาจากคำว่า เกษตร (เขต หรือ แผ่นดิน) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับเขตและแผ่นดิน หรือ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Agriculture แปลว่า การเพาะปลูกแบบรูปธรรม มีรากคำมาจากภาษาละตินคือคำว่า agrīcultūra: agrī หมายความถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และคำว่า cultūra หมายความถึง วัฒนธรรม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือ การเพาะปลูก คำว่า "เกษตร" อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนั้น มีที่มาจากกระทรวงเกษตราธิการต้องการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชาการเกษตรอันเนื่องด้วยวิชาการผลิตและการค้าเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ ของกระทรวงเป็นการเฉพาะ ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีความพยายามในการเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดข้อวิพากษ์จำนวนมากต่อกรณีดังกล่าว และมีการแถลงข่าวเพื่อโต้ข้อพิพาทระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำรัสถึงความหมายของคำว่าเกษตรศาสตร์ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ว่า คำ "เกษตรศาสตร์" ที่เป็นวิสามานยนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อ่านว่า "กะ-เสด-สาด" แต่ในกรณีที่หมายถึงวิชาว่าด้วยการเกษตร คำนี้อ่านว่า "กะ-เสด-ตฺระ-สาด" === ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย === ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 (ฉบับที่ 247) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 98 ง โดยตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่ ภาคภาษาไทย ตรามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นรูปวงกลม มีรูปพระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงาย และมีข้อความ "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๖" ล้อมรอบเป็นชั้นนอกสุด สีตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ สีเขียวใบไม้ ภาคภาษาอังกฤษ มีองค์ประกอบเหมือนกับภาคภาษาไทย แต่เปลี่ยนจากอักษรภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อความ "KASETSART UNIVERSITY 1943" === อาคารประจำมหาวิทยาลัย === หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ อาคารจั่วสามมุข ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2497 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย อาคารจั่วสามมุขเป็นอาคารออกแบบด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ตามลักษณะของสถาปัตยกรรมคณะราษฎร มีเอกลักษณ์เป็นหน้าจั่วที่แบ่งมุขออกเป็น 3 ยอดและกรอบหน้าต่างจำนวน 6 ช่อง อันสะท้อนหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ภายหลังจึงกลายเป็นต้นแบบของอัตลักษณ์ทางปรัชญาเกษตรศาสตร์ มี 3 ลักษณะทางจิตวิญญาณเกษตรศาสตร์ประกอบกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ จั่วสามมุข เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งหน้าจั่วนี้มีลักษณะของความโดดเด่นตรงที่มีความกว้างของส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดที่เท่าเทียมกัน หมายความถึงการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนแห่งสยามประเทศ ภายในจำลักลาย บัว 3 ดอก เป็นดอกบัวที่ขึ้นพ้นเหนือน้ำ อันมีเต่าและปลาเป็นตัวแทนของสัตว์ร้ายต่าง ๆ แหวกว่ายอยู่ หมายถึงบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับคือบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ที่ผ่านอุปสรรคต่าง ๆ นานัปการตามหลักที่ปรากฏในพุทธโอวาท และมีการประกอบสัญลักษณ์ พระอุณาโลม อันมีลักษณะพ้องกับเลข ๙ เป็นเครื่องหมายอันเป็นนิมิตหมายที่ดี หมายถึง ความรู้และความสว่างแก่โลก ทั้งนี้สัญลักษณ์จั่วสามมุขยังปรากฏเป็นศิลปกรรมตามสถานที่ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารหอประชุมใหญ่ อาคารสารนิเทศ 50 ปี อาคารวชิรานุสรณ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๔ รอบพระชันษาจุฬาภรณ์ (ศูนย์เรียนรวม 4) อาคารคณะบริหารธุรกิจ อาคารประจำวิทยาเขตต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบริเวณขอบรั้วโดยรอบมหาวิทยาลัยก็ถอดแบบให้มีลักษณะเป็น "จั่วสามมุข" ด้วยเช่นกัน === เพลงประจำมหาวิทยาลัย === เพลงพระราชนิพนธ์ เกษตรศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แต่งคำร้องถวาย === สีประจำมหาวิทยาลัย === สีประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ สีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 === ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย === ต้นนนทรี เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เพราะต้นนนทรีเป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานในทุกสภาพอากาศของเมืองไทย ดังนั้นที่ประชุมสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 จึงได้เลือกให้ต้นนนทรีเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศาสตราจารย์พิเศษ อินทรี จันทรสถิตย์ อธิการบดีในขณะนั้นได้นำข้อสรุปของที่ประชุมกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 และมีพระราชดำรัสถึงบุคลากรและนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในคราวนั้นว่า == การบริหารงาน == === นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ === มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนายกสภามหาวิทยาลัยดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้ === อธิการบดี === นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีอธิการบดีมาแล้ว 15 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้ == หน่วยงาน == ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีพื้นที่จัดการเรียนการสอนใน 5 พื้นที่ ได้แก่ บางเขน กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนทางด้านโครงการจัดตั้งวิทยาเขตลพบุรี ได้มีมติสภามหาวิทยาลัยให้ตั้งเป็น สถานีวิจัยในสังกัดสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ภายในจังหวัดลพบุรี และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตกระบี่ ให้ตั้งเป็นศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่ เพื่อให้บริการในลักษณะการต่อยอดด้านวิชาการต่าง ๆ === บางเขน === บางเขน หรือ เกษตรกลาง เป็นวิทยาเขตแรกและวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เดิมคือสถานีเกษตรกลางซึ่งจัดตั้งโดยกระทรวงเกษตราธิการในปี พ.ศ. 2481 ก่อนจะมีการจะย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้มาบางเขน และสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 ปัจจุบัน เกษตรกลาง บางเขน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 17 คณะ 2 วิทยาลัย และ 1 โครงการจัดตั้ง โดยมีคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะล่าสุดของมหาวิทยาลัยและวิทยาเขต สำหรับวิทยาเขตบางเขนมีรายละเอียดหน่วยงานระดับคณะเปิดทำการเรียนการสอนประกอบด้วย ดังนี้ คณะเกษตร คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะบริหารธุรกิจ คณะประมง คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม คณะอุตสาหกรรมเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ (โครงการจัดตั้ง) === วิทยาเขตกำแพงแสน === วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งอยู่ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดตั้งขึ้นเป็นวิทยาเขตลำดับที่ 2 ตามดำริของหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนที่ 5 หลังจากที่ได้พิจารณาว่าพื้นที่เกษตรกลาง บางเขน คับแคบและไม่สามารถรองรับการขยายงานด้านการศึกษาทางเกษตรให้กว้างขวางเพื่อรับกับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติได้ โดยวิทยาเขตกำแพงแสนได้เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 6 คณะ คือ คณะเกษตร กำแพงแสน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมบริการ และ 3 คณะ และ 1 วิทยาลัยที่เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัย อันมีที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขตบางเขน ที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 2 วิทยาเขต ประกอบด้วย คณะประมง (โดยนำหลักสูตรมาเปิดในวิทยาเขตกำแพงแสน เริ่มปีการศึกษา 2554) คณะสิ่งแวดล้อม คณะสัตวแพทยศาสตร์ (นิสิตศึกษาที่เกษตรกลาง บางเขน ปี 1-3 และวิทยาเขตกำแพงแสน ปี 4-6) บัณฑิตวิทยาลัย === วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร === วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จัดตั้งเป็นวิทยาเขตลำดับที่ 3 เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 แรกเริ่มได้ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสกลนคร (ภูพานกาญจนาภิเษก)" ต่อมาจึงได้รับพระราชทานนามใหม่จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น "วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร" โดยการจัดตั้งวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการขยายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูลและให้บริการวิชาการต่าง ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการศิลปาชีพ ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 4 คณะ คือ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ === วิทยาเขตศรีราชา === วิทยาเขตศรีราชา ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับพื้นที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์เชิงเขาน้ำซับจากกระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็นสถานีวิจัยศรีราชาเพื่อใช้พื้นที่วิจัยและฝึกงานของนิสิตคณะเกษตรในปี พ.ศ. 2498 โดยสถาบันวิจัยศรีราชาได้ปรับเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยชุมชนศรีราชาในปี พ.ศ. 2535 และวิทยาเขตศรีราชาในปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากความต้องการในการขยายโอกาสทางการศึกษาและรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก โดยได้รับนิสิตเข้าศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2539 ประกอบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ 989 ไร่ ในอำเภอบ่อทองเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์นวัตกรรมการเกษตรบ่อทองเพื่อเติมให้วิทยาเขตศรีราชาด้วย ปัจจุบัน วิทยาเขตศรีราชามีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 5 คณะ ประกอบด้วย คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา === โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี === โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อการขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังพื้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศ โดยเริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ซึ่งทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดหาที่สาธารณประโยชน์ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรีและอำเภอบางปลาม้าเพื่อรองรับโครงการจัดตั้งวิทยาเขต ในปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดตั้งคณะอย่างเป็นทางการในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มอบหมายให้คณะในบางเขนและวิทยาเขตกำแพงแสนรับผิดชอบ ปัจจุบันได้มีการเปิดสอนในบางหลักสูตรแล้ว คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (4 ปี) (ภาคพิเศษ) อยู่ในความดูแลของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (ภาคพิเศษ) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) อยู่ในความดูแลของคณะสังคมศาสตร์ === สถาบันสมทบ === วิทยาลัยการชลประทาน == การวิจัย == มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทางด้านการวิจัยมากที่สุดและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยได้วางนโยบาย มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยอย่างสมบูรณ์ โดยปรับปรุงกลไกเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยในภาพรวมให้เข้มแข็ง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรของทางมหาวิทยาลัย ผลงานวิจัยของนักศึกษา ไปต่อยอดเทคโนโลยีที่ตอบสนองตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีโครงการวิจัยที่ได้รับเงินอุดหนุนวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีการคัดเลือกผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแบ่งตามประเภทของหลักเกณฑ์ต่าง ๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เงินอุดหนุนวิจัยทั่วไป ได้แก่ โครงการวิจัย 3 สาขา คือ โครงการวิจัยสาขาเกษตร โครงการวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรม และกลุ่มที่ 2 คือ เงินอุดหนุนวิจัยเฉพาะกิจ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการคัดเลือกให้เป็น มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้จัดตั้งสถาบันวิทยาการขั้นสูงขึ้น 4 ศูนย์ คือ ศูนย์วิทยาการขั้นสูงเพื่อเกษตรและอาหาร ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อน ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมเคมีอาหารและการเกษตร และศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อันเป็นการวางโครงสร้างขนาดใหญ่เพื่อรองรับการสร้างผลงานวิจัย สร้างบุคลากรนักวิจัย และผลิตนวัตกรรมต่าง ๆ และเป็นการระดมสมองและบูรณาการความรู้จากบุคลากรทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการและแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยไปสู่เวทีระดับนานาชาติ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารการประสานงานด้านวิจัย และพัฒนาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่ประสานและบริหารงานวิจัย รวมถึงบริการวิชาการและงานวิจัยให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย อันนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่สมบูรณ์แบบ == อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย == === การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย === ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 8 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาการจัดการศัตรูพืช (Pest Management) จากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร === อันดับมหาวิทยาลัย === นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ QS World University Rankings มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับไว้ที่ 751-760 ของโลกและอันดับที่ 150 ของเอเชียในภาพรวมประจำปี ค.ศ. 2024 ซึ่งเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย ส่วนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยได้รับการจัดอันดับไว้ทั้งหมด 4 กลุ่มสาขาวิชากับอีก 11 สาขาวิชา โดยในปี ค.ศ. 2023 มี 10 สาขาวิชาที่ติดอันดับโลก ได้แก่ สาขาวิชา Agriculture & Forestry สาขาวิชา Biological Sciences สาขาวิชา Chemistry สาขาวิชา Engineering - Chemical สาขา Electrical and Electronic Engineering สาขาวิชา Engineering - Mechanical, Aeronautical & Manufacturing สาขาวิชา Environmental Sciences กลุ่มสาขาวิชา Life Sciences & Medicine สาขาวิชา Business & Management Studies และสาขา Linguistics โดยสาขาวิชา Agriculture & Forestry มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 57 ของโลกและติดอันดับที่ 29 ของโลกในปี ค.ศ. 2017 ในส่วนของสาขาวิชาอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยติดอันดับโลก ได้แก่ ปี ค.ศ. 2017 กลุ่มสาขาวิชา Engineering & Technology อันดับที่ 451-500 ของโลก ปี ค.ศ. 2022 สาขาวิชา Computer Science & Information System อันดับที่ 651-670 ของโลก นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้รับการจัดอันดับในด้าน Graduate Employability ไว้อันดับที่ 301-500 ของโลกในปี ค.ศ. 2022 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ The Times Higher Education World University Rankings ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ที่ 1001+ ของโลกและอับดับที่ 251-300 ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economies) ประจำปี ค.ศ. 2020 นอกจากนี้ สาขาวิชา Computer Science สาขาวิชา Life Sciences สาขาวิชา Business & Economics สาขาวิชา Social Sciences สาขาวิชา Engineering & Technology และสาขาวิชา Physical Sciences ยังได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาในปี ค.ศ. 2020 โดยสาขาวิชา Computer Science มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Best Global Universities Ranking ที่จัดทำโดย U.S. News & World Report ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เป็นอันดับที่ 1187 ของโลก อันดับที่ 341 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศไทยในภาพรวมประจำปี ค.ศ. 2022 โดยสาขาวิชา Agricultural Sciences ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 174 ของโลก เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย สาขาวิชา Plant & Animal Science เป็นอันดับที่ 228 ของโลกเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย สาขาวิชา Chemistry ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 879 ของโลก เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และสาขา Food Science and Technology เป็นอันดับที่ 166 ของโลกเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Round University Ranking (RUR) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เป็นอันดับที่ 624 ของโลกและเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศไทยในภาพรวมประจำปี ค.ศ. 2020 โดยได้รับการจัดอันดับที่ 708 ของโลกในด้านการสอน (Teaching) อันดับที่ 529 ของโลกในด้านการวิจัย (Research) อันดับที่ 510 ของโลกในด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) อันดับที่ 615 ของโลกในด้านความยั่งยืนทางการคลัง (Financial Sustainability) อันดับที่ 393 ของโลกในด้านชื่อเสียง (Reputation) และเป็นอันดับที่ 530 ของโลกในด้านวิชาการ (Academic) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Center for World University Rankings (CWUR) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เป็นอับดับที่ 1243 ของโลกและเป็นอับดับที่ 6 ของประเทศไทยประจำปี ค.ศ. 2020-21 โดยได้รับการจัดอันดับที่ 1505 ในด้าน Alumni Employment และอันดับที่ 1180 ในด้าน Research Performance การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาของ Academic Ranking of World Universities หรือ Shanghai Ranking ประจำปี ค.ศ. 2020 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกอยู่ 4 สาขาวิชา ได้แก่ อันดับที่ 101-150 ของโลกในสาขาวิชา Veterinary Sciences เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 201-300 ของโลกในสาขาวิชา Food Science & Technology เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยรองจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 401-500 ของโลกในสาขาวิชา Agricultural Sciences เป็นอันดับที่ 2-3 ของประเทศไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอันดับที่ 401-500 ของโลกในสาขาวิชา Chemical Engineering เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยรองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดอันดับสถาบันวิจัยโลกของ SCImago Institutions Rankings ซึ่งจัดอันดับสถาบันวิจัยโดยอาศัยดัชนีข้อมูลบทความวารสารวิชาการและจำนวนการอ้างอิงจากฐานข้อมูล โดยรวบรวมสถาบันวิจัยและแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา (University) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (Government) กลุ่มหน่วยงานสาธารณสุข (Health) กลุ่มหน่วยงานภาคเอกชน (Company) และกลุ่มองค์การไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit) ในปี ค.ศ. 2022 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 628 ของโลกและเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศไทยในภาพรวมจากทุกกลุ่ม รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการจัดอันดับที่ 382 ของโลก อันดับที่ 5 ของประเทศไทยในด้านการวิจัย (Research) อันดับที่ 404 ของโลก อันดับที่ 15 ของประเทศไทยในด้านนวัตกรรม (Innovation) และอันดับที่ 225 ของโลก อันดับที่ 4 ของไทยในด้านสังคม (Societal) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกอยู่ 17 สาขาวิชา อาทิ อันดับที่ 385 ของโลก อันดับที่ 3 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Agricultural and Biological Sciences อันดับที่ 599 อันดับที่ 4 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Economics, Econometrics and Finance อันดับที่ 488 อันดับที่ 13 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Environmental Science อันดับที่ 709 ของโลก อันดับที่ 5 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Medicine อันดับที่ 605 ของโลก อันดับที่ 4 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Pharmacology, Toxiology and Pharmaceutics อันดับที่ 655 ของโลก อันดับที่ 10 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Physics and Astronomy อันดับที่ 678 ของโลก อันดับที่ 4 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Social Sciences และอันดับที่ 87 ของโลก อันดับที่ 2 ของประเทศไทยในสาขาวิชา Veterinary การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของ UI Green Metric World University Ranking ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ส่งข้อมูลเข้าร่วมการจัดอันดับรวมทั้งหมด 956 แห่งในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งมีผลการประเมินจาก 6 ด้าน ได้แก่ สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค (Setting & Infrastructure) การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Energy & Climate Change) การจัดการขยะ (Waste) การใช้น้ำ (Water) การจัดการระบบขนส่ง (Transportation) และการศึกษาวิจัย (Education & Research) โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 45 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดที่มหาวิทยาลัยไทยเคยได้รับการจัดอันดับ และเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย โดยได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ใน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ == พื้นที่ == === วิทยาเขต === ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดการเรียนการสอนใน 5 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน, วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยมีแหล่งที่ตั้งและจำนวนพื้นที่ของแต่ละวิทยาเขต ดังนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 846 ไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เลขที่ 1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พื้นที่ 7,951.75 ไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เลขที่ 199 หมู่ 6 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 199 ไร่ และพื้นที่ศูนย์นวัตกรรมการเกษตรบ่อทอง จำนวน 989 ไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พื้นที่ 4,000 ไร่ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี เลขที่ 98 หมู่ 11 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ 761 ไร่ === ศูนย์สถานีวิจัย === นอกเหนือจากพื้นที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีพื้นที่ในศูนย์สถานีวิจัยที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ใช้สำหรับเพื่อจัดการศึกษาค้นคว้าวิจัยและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตคณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ และคณะเกษตร กำแพงแสน โดยศูนย์สถานีวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถแบ่งตามคณะที่รับผิดชอบได้ ดังนี้ คณะเกษตร สถานีวิจัยปากช่อง ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สถานีวิจัยทับกวาง ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี สถานีวิจัยลพบุรี (โคกเจริญ) ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี สถานีวิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร (เพนียด) ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี สถานีวิจัยเขาหินซ้อน ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ สถานีวิจัยดอยปุย ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คณะประมง สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สถานีวิจัยประมงศรีราชา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง คณะวนศาสตร์ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์ดอยปุย ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์ห้วยทาก ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกร ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สถานีวิจัยวนศาสตร์พังงา ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด คณะเกษตร กำแพงแสน ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สถานีวิจัยกาญจนบุรี ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สถานีวิจัยสิทธิพร กฤดากร ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ === โรงพยาบาลสัตว์ === โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในความดูแลของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ก่อสร้างขึ้นเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนิสิตตามหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นหน่วยงานให้บริการทางสัตวแพทย์ หน่วยชันสูตรโรคสัตว์ และฟาร์มสัตว์เพื่อการเรียนการสอน ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาลสัตว์ 5 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ทิพย์พิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา == มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ == มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-University) ที่สมบูรณ์แบบ จึงได้วางเครือข่ายโครงสร้างและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกหน่วยงานและทุกวิทยาเขตให้มีความพร้อมรองรับการเป็น e-University การดำเนินงานเพื่อพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการไปแล้วคือ การวางโครงสร้างเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในวิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตต่าง ๆ โดยได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ. 2546 รวม 34.5 ล้านบาท และมหาวิทยาลัยได้เตรียมงบประมาณรองรับการวางโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้แล้วรวมกว่า 192 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยได้วางระบบเครือข่ายสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) และเริ่มใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติในหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ดำเนินการบริหารการประชุมโดยเริ่มระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ในการประชุมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อลดปริมาณการใช้เอกสาร ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพื่อความสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการวางระบบโครงสร้างเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking System) ในคณะ สำนัก สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น Wireless Campus ซึ่งได้ดำเนินการแล้วหลายหน่วยงาน เช่น สำนักบริการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานอธิการบดี และ สำนักหอสมุด โดยมีโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการไปแล้วประกอบด้วย โครงการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) โครงการระบบสำนักงานอัตโนมัติ (e-Office) โครงการระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) โครงการข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (e-News) โครงการไวร์เลสแคมปัส (Wireless Campus) โครงการบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) โครงการจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัย (e-Publication) โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานบริหารของมหาวิทยาลัย (e-MIS) โครงการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมด้านไอที (e-Personal) โครงการปรับปรุงและขยายเครือข่ายของมหาวิทยาลัย (e-Campus) และมีแผนที่จะดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้ ดำเนินการโครงการ e-MIS ให้ครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย พัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อก้าวสู่การใช้ e-Learning ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการก้าวสู่การเป็น e-University ที่สมบูรณ์แบบต่อไปดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลอัจฉริยะทางการเกษตร (Intelligent Agriculture System - e-Ag) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การให้บริการข้อมูลทางการเกษตรโดยระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems) และการสื่อสารโดยผ่านทางสถานีวิทยุของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการให้บริการถามตอบข้อมูลผ่านทาง Agriculture Call Center ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ == การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ == === ระดับปริญญาตรี === มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ สอบคัดเลือกโดยรับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ เทียบเท่าผ่านระบบแอดมิชชั่น โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสอบคัดเลือกหรือรับเข้าโดยตรง ตามโครงการต่าง ๆ ดังนี้ * สอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามโครงการส่งเสริมโอกาสศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ * สำหรับนักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในท้องถิ่น (โควตาพิเศษ) โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัด นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ และในเขตการศึกษาต่าง ๆ คือ ** เขตการศึกษา 1 ได้แก่จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ** เขตการศึกษา 5 ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี ** เขตการศึกษา 6 ได้แก่จังหวัด ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ** เขตการศึกษา 12 ได้แก่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด โดยจะประกาศรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือตามที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้โรงเรียนที่อยู่ในโครงการทราบโดยตรง * สอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามโครงการผู้ที่มีความสามารถทางกีฬาดีเด่น ประกาศรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม * สอบคัดเลือกตามโครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาคพิเศษและอุตสาหกรรมเกษตรภาคพิเศษ ประกาศรับในช่วงเดือนมีนาคม และวิทยาลัยชุมชนศรีราชาประกาศรับช่วงเดือนเมษายน * รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโครงการเร่งรัดผลิตครูทางคณิตศาสตร์ * รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในโครงการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และจากผู้มีความสามารถทางการวิจัยดีเด่น เข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ * รับจากข้าราชการตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องซึ่งหน่วยงาน ต้นสังกัดระดับกรม เป็นผู้เสนอชื่อขอเข้าศึกษา * รับจากผู้จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย * รับจากผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากต่างจังหวัด เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ ซึ่งคณะวนศาสตร์จะแจ้งให้โรงเรียนทราบโดยตรง === ระดับปริญญาโท === การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ดังนี้ * ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ * ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยในวิชาเอกที่จะสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท (ไม่น้อยกว่า 5 รายวิชา) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือ * ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือผู้บังคับบัญชา (เงื่อนไขการทำงาน 3 ปี นับจากวันที่ทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี สำหรับผู้สมัครในภาคต้น และวันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับผู้สมัครในภาคปลาย) === ระดับปริญญาเอก === การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และเคยผ่านงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์มาแล้ว แต่ถ้าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ไม่ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ จะต้องมีผลงานวิจัย หรือมีประสบการณ์วิจัยในสายงานที่จะเข้าศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสาขานั้น นอกจากนี้การรับเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะรับสมัครโดยโครงการต่าง ๆ ที่แต่ละคณะได้เปิดโครงการ ก็จะมีการรับสมัครโดยหน่วยงานของโครงการโดยตรง == ชีวิตในมหาวิทยาลัย == ระยะเวลาในการเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในระดับปริญญาตรีนั้นโดยหลักสูตรปกติจะเป็นหลักสูตร 4 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชาที่ต้องมีการเรียนการสอนที่มากกว่า 4 ปีส่วนปริญญาโทและเอกนั้นเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีนั้นนอกจากจะต้องเรียนตามที่หลักสูตรกำหนดแล้วระเบียบการศึกษาและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้นจะต้องทำกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ให้ครบหน่วยชั่วโมงกิจกรรม โดยกิจกรรมแต่ละประเภทจะเป็นการพัฒนานิสิตในด้านจริยธรรมและคุณธรรม วิชาการและทักษะวิชาชีพ สุขภาพ โดยเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการทำประโยชน์แก่สังคมอีกด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้บัญญัติข้อบังคับสำหรับการดำเนินกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและกิจกรรมมีประสิทธิภาพ สภามหาวิทยาลัยจึงมีประกาศสภามหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อบังคับว่าด้วยธรรมนูญนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2549 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าการดำเนินกิจกรรมนิสิตของมหาวิทยาลัยจะกระทำได้โดยองค์กรกิจกรรมนิสิต ดังต่อไปนี้ องค์การนิสิต มีหน้าที่กำกับดูแลกิจกรรมนิสิตในภาครวมทั้ง 4 วิทยาเขต โดยมี คณะกรรมการองค์การนิสิต เป็นคณะบุคคลที่กำกับดูแล ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารและประธานสภาผู้แทนนิสิต จากทั้ง 4 วิทยาเขตรวมกัน โดยจะเลือกตัวแทนขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการองค์การนิสิต เป็นผู้นำสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี สภาผู้แทนนิสิต องค์การนิสิต (สภ.ก.) มีหน้าที่ออกข้อบังคับหรือกฎระเบียบในการดำเนินกิจกรรมนิสิต และตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมขององค์การบริหาร เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามนโยบายและธรรมนูญนิสิต โดยสภาผู้แทนนิสิตจะมีอยู่ทั้ง 4 วิทยาเขต องค์การบริหาร องค์การนิสิต (อบ.ก.) มีหน้าที่บริหารงานเกี่ยวกับกิจกรรมนิสิตและเป็นตัวแทนนิสิตทั้งปวงของแต่ละวิทยาเขต สามารถดำเนินการหรือเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกับหน่วยงานนิสิต-นักศึกษา สถาบันการศึกษา หรือองค์กรอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยก็ได้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของนิสิตเป็นที่ตั้ง ซึ่งองค์การบริหารฯ จะตั้งอยู่ในทั้ง 4 วิทยาเขต ทั้งนี้ องค์การบริหารฯ มี คณะกรรมการบริหารองค์การบริหาร ทำหน้าที่บริหารงานให้เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญนิสิตฯ ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากนิสิตทั้งปวงของแต่ละวิทยาเขต สโมสรนิสิต ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมให้กับนิสิตของแต่ละคณะ ในแต่ละวิทยาเขต ชุมนุมนิสิต เป็นองค์กรกิจกรรมนิสิตที่ย่อยจากสโมสรนิสิต ที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมเฉพาะด้าน เช่น ชุมนุมนิสิตภาควิชากีฏวิทยา สโมสรนิสิตคณะเกษตร กำแพงแสน ชุมนุมนิสิตสานฝันคนรักม้า สโมสรนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ ชุมนุมนิสิตวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชุมนุมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะสังคมศาสตร์ เป็นต้น ชมรมนิสิต เป็นหน่วยงานนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของชมรมต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งชมรมนิสิตได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านกีฬา มีตัวอย่างชมรมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น ชมรมดนตรีสากลฯ ชมรมขับร้องประสานเสียงฯ ชมรมวงดนตรีรวมดาวกระจุย ชมรมอคูสติก ชมรมเคยู แดนซ์ คลับ ชมรมเชียร์และแปรอักษร ชมรมส่งเสริมศิลปะการพูด ชมรมส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ชมรมพุทธศาสน์ ชมรมดาราศาสตร์ ชมรมผู้ประกอบการนิสิต ชมรมพัฒนาชนบท ชมรมรักษ์ช้างไทย ชมรมเห็ด ชมรมกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น กิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นสามารถที่จะแบ่งได้ออกเป็นหลายลักษณะดังต่อไปนี้ กิจกรรมวิชาการ คือกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่นิสิต อาทิ กิจกรรมก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่ เป็นกิจกรรมแรกที่นิสิตชั้นปีที่ 1 จะต้องเข้าร่วมเป็นงานที่อธิบายประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย วิทยาเขตต่าง ๆ งานเกษตรแห่งชาติ เป็นงานวิชาการด้านการเกษตรที่จัดร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจัดในส่วนกลางที่วิทยาเขตบางเขน สลับกับในส่วนของภูมิภาคที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 โดยใช้ชื่องานว่า "งานประจำปีเกษตรกลางบางเขน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดงานอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี งานเกษตรแฟร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดแสดงงานวิชาการประจำปีซึ่งมีทุกวิทยาเขต โดยจะมีการจัดในสัปดาห์ในวันก่อตั้งของแต่ละวิทยาเขต สำหรับวิทยาเขตบางเขนจะมีการจัดงานปีเว้นปีโดยสลับกับงานเกษตรแห่งชาติ สำหรับวิทยาเขตกำแพงแสนจะใช้ชื่อเรียกว่า "งานเกษตรกำแพงแสน" กิจกรรมศิลปวัฒนธรรม อาทิ กิจกรรมคอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตร่วมของ 3 สถาบันที่ได้รับพระราชทานเพลงจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กิจกรรมลอยกระทง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีโดยองค์การบริหารองค์การนิสิตกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและรักษาประเพณีอันดีงามของไทย พร้อมกิจกรรมการแสดงบนเวที การประกวดนางนพมาศ และงานธิดาเกษตร งานประกวดบุคคลที่มีความงามที่มีความรู้ด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร ซึ่งก็คือการออกค่ายอาสา ซึ่งการออกค่ายอาสาสมัครของนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีหลายองค์กรนิสิต เช่น ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ชมรมโรตาแรคท์ ชมรมค่ายอาสาพัฒนา ชมรมค่ายอาสาพัฒนานนทรีทักษิณ ชมรมคนสร้างป่า ชมรมธารความรู้นนทรี ชมรมมหาลัย-ชาวบ้าน เป็นต้น == กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย == ===การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย=== การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรวม 3 ครั้ง และแผนอีก 1 ครั้ง ในครั้งที่ 49 โดยจะใช้พื้นที่ของวิทยาเขตกำแพงแสนเป็นสถานที่จัดการแข่งขันหลัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 ณ วิทยาเขตบางเขน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 ณ วิทยาเขตกำแพงแสน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 ณ วิทยาเขตกำแพงแสน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 ณ วิทยาเขตกำแพงแสน == พิธีพระราชทานปริญญาบัตร == มีหลักฐานจากสูจิบัตรวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในคราวนั้นคือ ห้องโถงชั้นบนตึกสัตวบาล ซึ่งเป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2495 (อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน) ต่อมาพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษา ได้ใช้อาคารห้องสมุดกลางในขณะนั้นในระหว่างปี พ.ศ. 2496 ถึง 2499 และหลังจากหอประชุมใหญ่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 จึงได้ใช้อาคารหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการย้ายสถานที่ในการพระราชทานปริญญาบัตรจากหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปเป็น อาคารใหม่ สวนอัมพร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปทรงประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2519 - 2520 โดยอาคารใหม่ สวนอัมพร นี้ เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2528 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี พ.ศ. 2529 ได้กลับมาจัดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกครั้ง แต่เปลี่ยนสถานที่จากหอประชุมเป็นอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ซึ่งมีขนาดกว้างขวางกว่าและจุผู้เข้าร่วมพิธีได้มากกว่า โดยในวาระนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงประกอบพิธีเปิดอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ซึ่งตั้งชื่อตามพระนามพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และใช้เป็นสถานพระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จวบจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2542 - 2543 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2541 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากทุกวิทยาเขต โดยมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนเวลาการเปิดการสอนภาคต้นจากเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนสิงหาคมจึงได้เลื่อนกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นช่วงเดือนตุลาคม == วันสำคัญ == วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยถือเอาการมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฉบับแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดพิธีรำลึกและวางพวงมาลาคารวะสามบูรพาจารย์ผู้บุกเบิกมหาวิทยาลัยและพิธีรดน้ำบูรพาจารย์อาวุโส เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบทุกปี ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน วันรำลึกถึงรัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลาง บางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร เหตุการณ์ในวันนั้นจึงนับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเกษตรของไทยและของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตลอดไป วันหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นวันรำลึกซึ่งหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ทรงได้รับรางวัลแมกไซไซด้านบริการสาธารณะ และที่สำคัญทรงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดพิธีรำลึกในวันที่ 22 มิถุนายน ของทุกปี ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันสระสุวรรณชาดพระราชทาน เป็นวันครบรอบสระสุวรรณชาดซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัดให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกและระบบประสาท โดยเป็นเงินพระราชทานจากรายได้การจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง พร้อมทั้งพระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า สระสุวรรณชาด เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดสระสุวรรณชาด ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในครั้งนี้ด้วย วันสืบ นาคะเสถียร เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของสืบ นาคะเสถียร นิสิตเก่าคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย ผู้ซึ่งพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับคณะวนศาสตร์และสโมสรนิสิตคณะวนศาสตร์ได้จัดพิธีประกาศสดุดีรำลึกถึงสืบ นาคะเสถียร พิธีวางพวงมาลา และจัดกิจกรรมนิทรรศการให้ความรู้เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ ให้นิสิตเห็นคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกปี วันนนทรีทรงปลูก ดนตรีทรงโปรด วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จฯ มาทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน 9 ต้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพระราชทานต้นนนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยตามคำกราบบังคมทูลของทางมหาวิทยาลัย และหลังจากทรงปลูกต้นนนทรีแล้ว ได้ทรงดนตรีที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก โดยล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จเข้าสู่หอประชุม เพื่อทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งมี อาจารย์ นิสิต และนิสิตเก่าแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รวมอยู่ด้วย ได้แก่ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ว่าที่ร้อยตรี อวบ เหมะรัชตะ เป็นต้น เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นเหตุการณ์ที่นำมาสู่การเสด็จ "เยี่ยมต้นนนทรี" และ "ทรงดนตรี" อีก 9 ครั้งในปีต่อ ๆ มา == บุคคลสำคัญ == ไฟล์:Princess Chulabhorn 2010-12-7 cropped2.jpg|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไฟล์:Chakrapanpensiri-young.jpg|พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ไฟล์:Sithiporn Kridakara.jpg|หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ไฟล์:Suvarnavachakakasikij.jpg|หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ไฟล์:พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ).jpg|พระช่วงเกษตรศิลปการ ไฟล์:Ingasrikasikan.jpg|ศาสตราจารย์พิเศษ อินทรี จันทรสถิตย์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์บรรยายพิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2518-2522 ศาสตราจารย์พิเศษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ผู้ทรงได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ ปี พ.ศ. 2510 และทรงได้รับการยกย่องเป็น "พระบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่" หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ อดีตอธิบดีกรมเกษตรและกรมประมง บูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.หลวงสมานวนกิจ อดีตคณบดีคณะเกษตรและอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ พระช่วงเกษตรศิลปการ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษ อินทรี จันทรสถิตย์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ บูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ โชติ สุวัตถิ อดีตคณบดีคณะประมง นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในด้านสัตว์น้ำและพรรณพืชของประเทศไทย หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยการชลประทาน และอดีตอธิบดีกรมชลประทาน ผู้บุกเบิกการก่อสร้างชลประทานสมัยใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.ทวี ญาณสุคนธ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ผู้วางรากฐานการศึกษาจุลชีววิทยาทางการเกษตรในประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต ใกล้รุ่ง ในดวงใจนิรันดร์ แว่ว และเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้วางรากฐานทางสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและการจัดการฟาร์ม ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล ศาสตราจารย์ สง่า สรรพศรี อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ สุจินต์ จินายน นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์ ดร.เกษม จันทร์แก้ว องคมนตรี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ อดีตคณบดีคณะวนศาสตร์ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชาวไทย สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == ศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร == แหล่งข้อมูลอื่น == มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายการหมายเลขโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข่าวการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ข่าวชุมชน มก. KU city เกษตรศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เกษตรศาสตร์
thaiwikipedia
1,237
กลุ่มดาวสารถี
กลุ่มดาวสารถี เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าเหนือที่มีทางช้างเผือกพาดผ่าน เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวคะเพลลา เกี่ยวข้องกับแพะเพศเมีย ชื่อ อมาลเทีย เรียกดาว 3 ดวง คือ เอปไซลอนสารถี ซีตาสารถี และอีตาสารถี ว่า Haedi (ลูกแพะ) มีดาวที่ใช้ร่วมกับกลุ่มดาววัว1ดวง คือ เอลแน็ท (เบต้า ทอรี่) โชติมาตรปรากฏ 1.62 กลุ่มดาว กลุ่มดาวสารถี
thaiwikipedia
1,238
กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ชื่อในภาษาละตินมีรากศัพท์จากอียิปต์ เข้าใจว่าหมายถึงคนเลี้ยงหมี เพราะดูเหมือนหันมองไปยังกลุ่มดาวหมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีเล็ก มีดาวดวงแก้วเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับ 4ในท้องฟ้ากลางคืน กลุ่มดาว กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
thaiwikipedia
1,239
กลุ่มดาวหมาใหญ่
กลุ่มดาวหมาใหญ่ เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เข้าใจว่าเป็นตัวแทนสุนัขของนายพรานโอไรออน (ดู กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวหมาเล็ก และกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ) กลุ่มดาวหมาใหญ่มีดาวซีริอัส เป็นสมาชิกดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว == รายชื่อดาวและความส่องสว่างปรากฏ == α CMa ความส่องสว่างปรากฏ -1.46 β CMa ความส่องสว่างปรากฏ 1.98 γ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.11 δ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 1.83 ε CMa ความส่องสว่างปรากฏ 1.50 ζ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 3.02 η CMa ความส่องสว่างปรากฏ 2.45 θ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.08 ι CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.36 κ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 3.50 λ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.47 π CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.66 σ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 3.41 τ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.37 ω CMa ความส่องสว่างปรากฏ 4.01 VY CMa ความส่องสว่างปรากฏ 7.96 (แปรแสงได้ระหว่าง 6.5-9.6) EZ CMa ความส่องสว่างปรากฏ 6.71-6.95 กลุ่มดาว กลุ่มดาวหมาใหญ่
thaiwikipedia
1,240
กรีนพีซ
กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ (NGO) นานาชาติ ที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ ก่อตั้งในประเทศแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2514 กรีนพีซเป็นสมาชิกริเริ่มของกฎบัตรความรับผิดชอบขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ และมีสถานะที่ปรึกษาทั่วไปของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ กรีนพีซสนใจการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ และการล่าปลาวาฬในทะเลเปิด ในปัจจุบันกรีนพีซสากลได้งานรณรงค์ต่าง ๆ ได้แก่ การปกป้องมหาสมุทร เช่น การใช้อวนลากที่พื้นทะเล การจับปลาผิดกฎหมาย การจับปลามากเกินไป เป็นต้น การต่อต้านการดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ การหยุดยั้งสารพิษ การยุติแห่งพลังงานนิวเคลียร์ และ การปกป้องป่าโบราณ และการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) ปัจจุบัน กรีนพีซมีสำนักงานประจำประเทศและภูมิภาค อยู่ใน 41 ประเทศทั่วโลก โดยทุกสำนักงานจะทำงานร่วมกับ กรีนพีซสากล (Greenpeace International) ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชื่อที่ใช้ดำเนินการในประเทศไทยคือ มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรีนพีชเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสำนักงานอยู่ 3 ประเทศคือ ประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ ประเทศฟิลิปปินส์ และ ประเทศอินโดนีเซีย องค์การมีรายได้จากเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนทางการเงินรายบุคคลทั่วไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ล้านรายทั่วโลก รวมทั้งเงินอุดหนุนจากองค์กรการกุศลต่าง ๆ แต่ไม่รับเงินช่วยเหลือจากธุรกิจหรือรัฐบาลใด ยานพาหนะที่กลุ่มกรีนพีซใช้เดินทางไปทั่วโลก คือเรือแอมโซลิฟิโกพาลิม เรือที่กรีนพีซเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรอยู่ 3 ลำ แต่ลำที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ เรนโบว์ วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior เรือนักรบสายรุ้ง) ลำที่ใช้ในปัจจุบันเป็นลำที่สอง กรีนพีซขึ้นชื่อสำหรับการปฏิบัติโดยตรง (direct action) และมีการอธิบายว่าเป็นองค์การสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดที่สุดในโลก กรีนพีซยังเป็นที่มาของกรณีพิพาท แรงจูงใจและวิธีการขององค์การได้รับเสียงวิจารณ์ และการปฏิบัติโดยตรงขององค์การทำให้เกิดการฟ้องดำเนินคดีต่อนักเคลื่อนไหวกรีนพีซ เช่น การปรับและคำพิพากษารอการลงโทษจากการทำลายแปลงทดลองข้าวสาลีจีเอ็มโอ == บทวิจารณ์ == นักนิเวศวิทยาชาวแคนาดา แพทริค มัวร์ (Patrick Moore) สมาชิกสมัยแรกๆ ของกรีนพีซ ลาออกจากองค์กรในพ.ศ. 2529 เมื่อองค์กรตัดสินใจที่จะสั่งห้ามใช้คลอรีนในน้ำดื่ม มัวร์อ้างว่ากรีนพีซในทุกวันนี้ได้รับแรงจูงใจจากการเมืองมากกว่าวิทยาศาสตร์ และไม่มีกรรมการคนไหนได้เรียนวิทยาศาสตร์ บรูซ ค็อกซ์ กรรมการของกรีนพีซประเทศแคนาดา ตอบโต้ว่ากรีนพีซไม่เคยต้องการสั่งห้ามใช้คลอรีนและกรีนพีซไม่ห้ามการใช้คลอรีนในน้ำดื่ม หรือในการใช้ทางเภสัชกรรม และยังกล่าวอีกว่า "คุณมัวร์อยู่คนเดียวความทรงจำเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อคลอรีน และ/หรือ การใช้วิทยาศาสตร์เป็นข้ออ้างเพื่ออกจากกรีนพีซ" พอล วัตสัน (Paul Watson) สมาชิกคนแรกๆ ของกรีนพีซกล่าวว่ามัวร์ "ใช้สถานะที่เรียกว่าผู้ร่วมก่อตั้งของกรีนพีซเพื่อให้ข้อกล่าวหาของเขาน่าเชื่อถือ ฉันเองก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้งของกรีนพีซ และฉันรู้จักแพทริค มัวร์มาถึง 35 ปี .[...] ข้อกล่าวหาของมัวร์นั้นไม่มีมูลความจริง" เมื่อไม่นานมานี้ มัวร์ร่วมจับผิดทัศนคติของกรีนพีซเกี่ยวกับข้าวทอง ประเด็นซึ่งมัวร์ได้รับการสนับสนุนจากนักธรรมชาติวิทยา เช่น มาร์ค ไลนาส (Mark Lynas) และอ้างว่ากรีนพีซได้ "สร้างการรณรงค์ด้วยข้อมูลผิดๆ โจมตีนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเพื่อนำข้าวทองสู่คนที่ต้องการ และสนับสนุนการทำลายข้าวทองโดยใช้กำลัง" แพทริค มัวร์ยังกลับตำแหน่งจากที่ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นสนับสนุนในพ.ศ. 2519 ในหนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย เดอะเอจ (The Age) เขาเขียนว่า "กรีนพีซนั้นผิดพวก พวกเราควรคำนึงถึงพลังงานนิวเคลียร์" เขากล่าวอีกว่าทุกแผนการที่เป็นไปได้เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) หรือ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) ล้วนต้องเพิ่มการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ฟิล แรดฟอร์ด (Phil Radford) ผู้อำนวยการบริหารของกรีนพีซสหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการบอกว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความเสี่ยงสูงเกินไป ใช้เวลานานเพื่อสร้างและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอ้างว่าประเทศส่วนใหญ่ รวมไปถึงสหรัฐอเมริกาสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน (renewable energy) ได้เกือบ 100% ขณะลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์จนหมดไปภายในพ.ศ. 2593 นักข่าวชาวฝรั่งเศสภายใต้นามปากกา ออลีวีเย เวอร์มอนท์ (Olivier Vermon) เขียนในหนังสือของเขา La Face cachée de Greenpeace (หน้าที่ซ่อนอยู่ของกรีนพีซ) ว่าเขาได้เข้าร่วมกรีนพีซประเทศฝรังเศสและทำงานเป็นเลขา เวอร์มอนท์อ้างว่าเขาพบการประพฤติผิดๆ และยังคงเจออยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่อัมสเตอร์ดัมจนถึงหน่วยงานนานาชาติ เวอร์มอนท์กล่าวว่าเขาเจอเอกสารลับ ซึ่งระบุว่ากว่าครึ่งของรายได้องค์กรที่มีมูลค่ากว่า 180 ล้านยูโร (7,268 ล้านบาท) ถูกใช้ไปกับเงินเดือนและโครงสร้างขององค์กร เขายังกล่าวหากรีนพีซว่ามีข้อตกลงที่ไม่เป็นทางการกับบริษัทที่สร้างมลพิษซึ่งจ่ายเงินให้กรีนพีซเพื่อไม่ให้โจมตีภาพลักษณ์ของบริษัท นิตยสารเกี่ยวกับการปกป้องสัตว์ที่ชื่อว่า แอนิมอลพีเพิล (Animal People) รายงานว่าในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 กรีนพีซประเทศฝรั่งเศสและกรีนพีซสากลทำการฟ้องออลีวีเย เวอร์มอนท์ และสำนักพิมพ์ของเขา Albin Michel ในข้อหาตีพิมพ์ "ข้อความหมิ่นประมาท ไม่เป็นความจริง บิดเบือนข้อเท็จจริง และกล่าวหาอย่างไม่มีมูล" นักข่าว Wilson da Silva เขียนในนิตยสาร คอสมอส (Cosmos) เกี่ยวกับการที่กรีนพีซทำลายข้าวสาลีในกินนินเดอร์ร่า (Ginninderra) เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าองค์กร "สูญเสียพันธกิจแบบเดิม" และกลายเป็นเพียง "กลุ่มคนผู้กระตือรือร้น หัวรั้น ในการต่อต้านวิทยาศาสตร์ ที่น่าเศร้า ซึ่งไม่สนใจหลักฐาน แต่ทำเพื่อชื่อเสียง" === แท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์ === งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์บนวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ เนเจอร์กล่าวหาว่ากรีนพีซไม่สนใจความจริง ขณะวิจารณ์การทิ้งของแท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์ (Brent Spar tanker) และกล่าวหาว่ากลุ่มกรีนพีซกล่าวถึงปริมาณของน้ำมันในแท่นเยอะเกินความจริง กรีนพีซอ้างว่าเรือบรรทุกน้ำมันดิบถึง 5,500 ตัน ทั้งที่ในความจริงมีน้อยกว่านั้นมาก บริษัทเชลล์สหราชอาณาจักรใช้เวลา 3 ปีเพื่อประเมินทางเลือกในการกำจัด และสรุปว่าการกำจัดแท่นน้ำมันในทะเลลึกเป็น "ตัวเลือกที่สามารถปฏิบัติได้ซึ่งดีต่อธรรมชาติที่สุด" (Best Practicable Environmental Option - BPEO) อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ได้รับการสนับสนุนบ้างจากสังคมวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อยมากจนสามารถมองข้ามได้ รัฐบาลอังกฤษ และ คณะกรรมการออสโล-ปารีส (Oslo and Paris Commissions - OSPAR) ยอมรับวิธีแก้ปัญหานี้ ผลของการรณรงค์ต่อต้านข้อเสนอของเชลล์ (รวมไปถึงความรุนแรงและการคว่ำบาตรในเยอรมัน) ทำให้บริษัทยกเลิกการดำเนินการและประกาศว่าบริษัทล้มเหลวในการประชาสัมพันธ์แผนการสู่ประชาชน และยอมรับว่าพวกเขามองข้ามพลังของความคิดเห็นประชาชน ในพ.ศ. 2542 แท่นน้ำมันเบรนท์สปาร์ปลดประจำการ และขาของโครงสร้างถูกพบว่ามีหินปะการังน้ำเย็น (Ophelia pertusa) ดังนั้นจึงมีการยื่นขอเสนอเพื่อเก็บขาของแท่นไว้ในก้นทะเล เพื่อเป็นถิ่นที่อยู่ กรีนพีซต่อต้านข้อเสนอ และอ้างว่าแนวหินโสโครกที่เกิดจากปะการังที่เป็นอันตราย ไม่ใช่หินปะการังเอง และการเคลื่อนย้ายจะไม่ช่วยให้แนวหินโสโครกพัฒนา แต่จะทำให้หินปะการังได้รับผลกระทบจากสารพิษในน้ำมัน == อ้างอิง == == อ่านเพิ่ม == Hunter, Robert and McTaggart, David (1978) Greenpeace III: Journey into the Bomb (Collins). Hunter, Robert (1979) Warriors of the Rainbow: A Chronicle of the Greenpeace Movement (Holt, Rinehart and Winston). King, Michael (1986) Death of the Rainbow Warrior (Penguin Books). McCormick, John (1995) The Global Environmental Movement (John Wiley) Robie, David (1987) Eyes of Fire: The Last Voyage of the Rainbow Warrior (New Society Press). Brown, Michael; May, John (1989) The Greenpeace Story (Dorling Kindersley, 1991). Weyler, Rex (2004), Greenpeace: How a Group of Ecologists, Journalists and Visionaries Changed the World, Rodale Mulvaney, Kieran; Warford, Mark (1996): Witness: Twenty-Five Years on the Environmental Front Line, Andre Deutsch. Zelko, Frank (2013): Make it a Green Peace. The Rise of Countercultural Environmentalism (Oxford University Press, 2013) , book review: == แหล่งข้อมูลอื่น == กรีนพีซ ประเทศไทย FBI file on Greenpeace องค์การนอกภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ แวนคูเวอร์ อัมสเตอร์ดัม
thaiwikipedia
1,241
กลุ่มดาวหมาเล็ก
กลุ่มดาวหมาเล็ก เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เข้าใจว่าเป็นตัวแทนสุนัขของนายพรานโอไรออน (ดู กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวหมาใหญ่ และกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ) กลุ่มดาวหมาเล็กมีดาวโพรซิออน ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในท้องฟ้ากลางคืนเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว == รายชื่อดาวและความส่องสว่างปรากฏ == α CMi ความส่องสว่างปรากฏ 0.34, β CMi ความส่องสว่างปรากฏ 2.89, γ CMi ความส่องสว่างปรากฏ 4.33 กลุ่มดาว กลุ่มดาวหมาเล็ก
thaiwikipedia
1,242
กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ เช่นเดียวกับดาวเหนือในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปียเป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปี แต่ในทางกลับกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวบนทรงกลมท้องฟ้าซีกเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มาก ๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบน ทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แทนราชินี แคสซิโอเปีย ในตำนานเทพปกรณัมกรีก ราชินีแคสซิโอเปียเป็นพระชนนีของเจ้าหญิงแอนดรอมีดา ดูหมิ่นเทพ ทำให้เจ้าหญิงถูกจับสังเวย อสูรวาฬ แต่วีรบุรุษเพอร์ซิอุส มาช่วยไว้ทัน == ลักษณะสำคัญ == ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ 5-6 ดวง เรียงเป็นรูปตัว μ (ในรูป มองกลับหัวเป็น W) คนไทยจึงเรียกว่า ดาวค้างคาว กำลังบิน กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หา ดาวเหนือ ได้ โดยแบ่งครึ่งมุม α ลากเส้นแบ่งมุมลงไป (ในรูปคือขึ้นไป) ประมาณ 5-7 ช่วง นอกจากกลุ่มดาวแคสซิโอเปียแล้ว ยังมีอีกกลุ่มที่ใช้หาดาวเหนือได้คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือดาวจระเข้ และดาวนายพราน กลุ่มดาว กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
thaiwikipedia
1,243
จังหวัดสงขลา
สงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากนครศรีธรรมราช) และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช) มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา สตูล และยังมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐไทรบุรีและรัฐปะลิสของประเทศมาเลเซีย == ที่มาของชื่อ == สงขลามีตำนานและเรื่องเล่าหลายเรื่องทั้งที่เป็นบันทึกและจากคำบอกเล่าถึงชื่อของเมืองสงขลาหลายประการด้วยกัน ซึ่งพอจะแจกแจงตามเอกสารที่มาได้ดังนี้ ชื่อเมืองสงขลาได้ปรากฏชื่อในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจำนวน 16 หัวเมือง และในเอกสารที่บันทึกโดยคนไทยอีกหลายฉบับที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเมืองสงขลาได้บันทึกประวัติของชื่อเมืองสงขลาว่า มาจากบันทึกของพ่อค้า และนักเดินเรือชาวอาหรับเปอร์เซีย ระหว่างปี พ.ศ. 1993-2093 ในนามของเมือง "ซิงกูร์" หรือ "ซิงกอรา" แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์เและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามของนายนิโกลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลาว่า "เมืองสิงขร" โดยได้สันนิษฐานว่าคำว่าสงขลาในปัจจุบันน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "สิงหลา" หรือ "สิงขร" แปลว่าเมืองสิงห์ เนื่องมาจากการที่พ่อค้าชาวเปอร์เซียอินเดีย ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แล่นเรือผ่านมาค้าขายและแลเห็นเกาะหนู-เกาะแมว ซึ่งเมื่อมองจากทะเลเข้าหาฝั่งในระยะไกล ๆ จะเห็นปรากฏเป็นภาพคล้ายสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองสงขลาในสมัยนั้นว่า "เมืองสิงหลา" ส่วนคนไทยเรียกว่า "เมืองสทิง" เมื่อแขกมลายูเข้ามาค้าขายกับเมืองสิงหลา ก็จะออกเสียงเพี้ยนเป็น "เซ็งคอรา" เมื่อฝรั่งเข้ามาค้าขายก็เรียกตามมลายูแต่เสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ "ซิงกอรา" (Singora) จากนั้นคนไทยพื้นถิ่นเองก็ได้เรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเพี้ยนเป็นคำว่า "สงขลา" ดังปัจจุบัน นอกเหนือจากนี้ เอกสารชิ้นนี้ยังอธิบายต่อถึงความเป็นไปได้อีกสาเหตุหนึ่งว่า คำว่าสงขลาน่าจะเป็นการเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "สิงขร" ที่แปลว่าภูเขา เนื่องจากเมืองสงขลาในยุคดั้งเดิมตั้งอยู่เชิงเขา และเจ้าเมืองคนแรกยังได้รับพระราชทานนามว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งสอดคล้องกับเมืองที่อยู่แถบภูเขา สอดคล้องกับสุภาวดี เชื้อพราหมณ์ ที่ได้บันทึกว่าสงขลาเพี้ยนมาจากภาษาสันสกฤตหรือภาษาบาลี เนื่องจากชาวอินเดียล่องเรืออ้อมแหลมมลายูมาสู่ฝั่งตะวันออก เมื่อมองจากทะเลเข้าสู่ฝั่งสงขลาแลเห็นภูเขาเป็นปราการธรรมชาติ จึงเรียกว่า สิงขระ หรือ สิงขร ซึ่งคำไทยสิงขร หมายถึง ภูเขา ต่อมาชาวตะวันตกจึงเรียกตาม และเพี้ยนเป็นคำว่า ซิงโกรา หรือ ซิงกอรา เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น เหตุผลสุดท้ายที่เอกสารในเอกสารการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (สิง-หะ-นะ-คอน) แต่แขกชาวมลายูพูดเร็วและออกเสียงเพี้ยนกลายเป็น สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา ในส่วนเอกสารของชาวตะวันตกที่กล่าวถึงสงขลาในช่วงเวลาต้น ๆ ซึ่งสามารถค้นย้อนหลังไปได้ถึงสามร้อยปีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยปรากฏชื่อเมืองสงขลาในแผนที่ของประเทศสยามที่ทำโดยนายเชอวาลีเย เดอ โชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่เข้ามาเมืองไทยระหว่าง พ.ศ. 2228 นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5-6 การปรากฏตัวของเมืองท่า และแหล่งโบราณคดีที่แสดงว่า มีผู้คนจากต่างแดนเข้ามาปะทะสัมพันธ์ น่าจะมีเหตุผลจาก การแสวงหาโชคลาภและโภคทรัพย์ของผู้คนทางตะวันตกดั่งเช่น กรีซและโรมัน จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาของการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ คู่ขนานและเชื่อมโครงข่ายกับเส้นทางการค้าทางบก ต่อมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 ได้เกิดอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และความปลอดภัย ในการใช้เส้นทางบกระหว่างดินแดนทางตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะพวกโรมันและรัฐในกลุ่มเอเชียกลาง จึงหันมาใช้เส้นทางทะเลแทน เพื่อใช้ค้าขายติดต่อกับอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างสองทวีปในระยะแรก ๆ นี้ ไม่ใช่เป็นการเดินทางแบบรวดเดียวถึงกันตลอด แต่ต้องมีจุดหยุดพักเป็นระยะ ๆ โดยอาศัยเมืองท่า และสถานีพักสินค้า เพื่อถ่ายสินค้า เพิ่มเติมน้ำจืดและอาหาร รวมไปถึงการซ่อมแซมเรือจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ทั้งนี้หากย้อนกลับมาพิจารณาจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้ของประเทศไทย ที่เป็นคาบสมุทรตั้งอยู่ระหว่างประเทศที่เป็นอู่อารยะธรรม คือ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศแถบอาหรับเปอร์เซีย และประเทศแถบชวา-มลายู จะพบว่า ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นดินแดนที่อยู่ในตำแหน่งเส้นทางการค้าขายทางทะเล รวมถึงเป็นดินแดนที่พ่อค้าชาวแขกมัวร์ ใช้เส้นทางนี้เดินทางค้าขายทางเรือ โดยอาศัยลมสินค้าในสมัยโบราณที่จำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการต่อเรือ รวมถึงการเดินเรือซึ่งในสมัยนั้น ต้องอาศัยทิศทางและกำลังลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเดินทางจากอินเดียไปยังจีน และอาศัยลมมรสุมจากตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเดินทางจากจีนไปยังอินเดีย และบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรไปถึงเส้นห้าองศาเหนือ เป็นพื้นที่อันตรายเพราะเป็นเขตจุดเริ่มต้นของลมสินค้า ลมจะสงบนิ่ง (ไร้กระแสลม เรียกว่าโดลดรัม Doldrums) เมื่อลมเบาบางจนทำให้เรือสินค้าเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่เรียกว่า "ตกโลก" ก็เป็นการบังคับให้พ่อค้าต้องแวะตามเมืองท่าชายฝั่งภาคใต้ของไทย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตรเพื่อจอดซ่อมแซมเรือ เติมน้ำจืดและอาหาร รวมถึงขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรกลางทางในรอบปี โดยการขนถ่าย แลกเปลี่ยนสินค้านี่เอง ทำให้เมืองท่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรทางภาคใต้ของไทยในสมัยที่มีการเดินเรือทะเล มีความเจริญรุดหน้า จากการค้าขายเป็นอันมาก นอกจากนั้น สินค้าที่สำคัญที่ผลักดันให้ชาวตะวันตกต้องแสวงหาและเดินทางมายังเมืองท่าในคาบสมุทรมลายูคือ เครื่องเทศ เช่น ว่าน กระวาน ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พริกไทย กานพลู อบเชย ดีปลี จันทน์เทศ ทำให้เส้นทางการเดินเรือดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางเครื่องเทศ == ประวัติศาสตร์ == ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 โดยมีศูนย์กลางการปกครอง หรือขยาย สถานที่ตั้งเมือง 3 แห่งโดยสามารถลำดับจากพัฒนาการ ได้แก่ ปกครองทันสมัย2569 เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23) เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง === สมัยเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง === เป็นยุคที่น่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 โดยพิจารณาจากเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่กำหนดอายุได้ไม่น้อยกว่า พุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏชื่อในเอกสารต่าง ๆ ของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า Singora บ้าง Singor บ้าง น่าจะมีชื่อเมือง สิงขร สิงคะ แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และภาษาไทยว่า "สิงขร" เป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลา โดยช่วงเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของ เจ้าเมืองและ ปฐมพลเมืองชาวมุสลิม ซึ่งได้อพยพและนำพลพรรคชาวแขกชวา หนีภัยจากโจรสลัดที่คุกคามอย่างหนัก ในแถบหมู่เกาะชวาล่องเรือมาขึ้นฝั่งบริเวณฝั่งหัวเขาแดง โดยปรากฏในเอกสารชาวต่างชาติที่มาค้าขาย เป็นต้นว่าในสำเนาจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาท์แมน จากอยุธยา มีไปจนถึงนายเฮนดริก แจนเซน นายพานิชย์คนที่ 1 ชาวดัตช์ ที่ปัตตานีในปี พ.ศ. 2156 ออกชื่อเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า "โมกุล" แต่ในบันทึกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้กล่าวถึงเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2165 เรียกชื่อเจ้าเมืองว่า "ดาโต๊ะโกมอลล์" จึงพอสรุปได้ว่า ผู้สร้างเมืองฝั่งหัวเขาแดงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นมุสลิมที่ชาวอังกฤษในสมัยอยุทธยาเรียกว่า "โมกุล" และ ชาวดัตช์ เรียกว่า "โมกอล" โดย ดาโต๊ะโมกุล ได้ตั้งเมืองสงขลาบริเวณหัวเขาแดง เขาค่ายม่วงและ เขาน้อย ซึ่งน่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2153 - 2154 ซึ่งตรงกับสมัยพระเอกาทศรถ สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ซึ่งเป็นเชื้อสายโดยตรงของสุลต่านสุไลมาน ได้เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. 2145 +2026ดาโต๊ะโมกอลซึ่งเคยปกครองเมืองสาเลย์ ที่เป็นเมืองลูก ของจาการ์ตา บนเกาะชวา (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) ได้อพยพครอบครัว และบริวารหนีภัย การล่าเมืองขึ้น (ซึ่งใช้ปืนใหญ่จากเรือปืนยิงขึ้นฝั่งที่เรียกว่า Gunship policy) ลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลปกครองบ้านเมืองมาก่อน เมื่อเจอทำเลเหมาะสมหัวเขาแดง ท่านดะโต๊ะ โมกอล ก็ได้นำบริวารขึ้นบก แล้วช่วยกันสร้างบ้านแปลงเมือง และ ดัดแปลงบริเวณปากทางเข้าทะเลสาบสงขลาให้เป็นท่าจอดเรือขนาดใหญ่ ที่สามารถรับเรือสำเภา หรือ เรือกำปั่นที่ประกอบธุรกิจการค้าทางทะเล แวะเข้าจอดเทียบท่าได้ จนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนั้น กลายเป็นเมืองท่าเรือระหว่างประเทศไป กิติศัพย์นี้โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 - 2153)+2026) จึงได้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งให้ดะโต๊ะ โมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้ากรุงสยาม ประจำเมืองพัทลุงอยู่ที่หัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา 2365 สุลต่านผู้ครองเมืองสงขลาได้ปกครองเมืองแบบรัฐสุลต่าน ของราชวงศ์ ออโตมาน ซึ่งการปกครองแบบนี้แพร่หลายเข้ามายังเกาะสุมาตรา เกาะชวา และรัฐสุลต่านต่าง ๆ ทางปลายแหลมมาลายู โดยสุลต่านผู้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนี่ จึงดำรงค์ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่วนบุตรชาย สามคนคือ มุสตาฟา ฮุสเซน และ ฮัสซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงทาง กองทัพเรือ ผู้บัญชาการป้อม และ ตำแหน่งการปกครองอื่น ๆ ในระบอบการปกครองแบบสุลต่าน ทายาทผู้สืบเชื้อสายสุลต่าลสุลัยมานมีอยู่ด้วยกันหลายสกุล โดยมี "ณ พัทลุง" เป็นมหาสาขาใหญ่ ==== การค้าแรกเริ่มกับฮอลันดา ==== ในระยะแรกของการตั้งเมืองสงขลา เจ้าเมืองได้ยอมรับในการตกเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา โดยสุรต่านผู้ครองเมือง ได้จัดส่งเครื่องราชบรรณาการซึ่งประกอบด้วยดอกไม้เงิน และดอกไม้ทอง แก่กรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าเมืองสงขลาได้กำหนดทิศทางของการพัฒนาเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นลักษณะเมืองท่า ทำกิจการในแลกเปลี่ยนสินค้าในระดับนานาชาติ โดยเมืองท่านี้ได้ทำการค้าขายกับ ฮอลันดา โปรตุเกตุ อังกฤษ จีน อินเดีย และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศคู่ค้าประเทศแรก ๆ ที่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีต่อ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และสามารถขยายความสัมพันธ์ทางการค้า มายังสงขลาคือ ฮอลันดา โดยเฉพาะระหว่างปี พ.ศ. 2171 - 2201 เป็นสมัยที่ฮอลันดา มีความมั่งคั่งจาก การผูกขาดเครื่องเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยฮอลันดาสามารถกำจัดคู่แข่งทางการค้าอื่น ๆ เช่น โปรตุเกตุ อังกฤษ และ พ่อค้ามุสลิม ให้ห่างจากเส้นทางการค้า มีผลทำให้ให้ฮอลันดามีความมั่งคั่ง และ มีอำนาจขึ้นในยุโรป และ ตะวันออกไกล ครั้นถึงปี พ.ศ. 2184 ชาวดัตช์สามารถยึดเมืองมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญได้จากโปรตุเกส จึงใช้มะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับจีน และญี่ปุ่นโดยตรง โดยมีบันทึกหลาย ๆ ฉบับ ได้กล่าวถึงการค้าขายบริเวณเมืองท่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ดังนี้ * จดหมายของนายคอร์เนลิส ฟอน นิวรุท จากห้างดัตช์ ที่กรุงศรีอยุทธยา ไปถึงหอการค้าเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. 2160 กล่าวถึงเมืองสงขลาไว้ว่า "ขณะนี้พ่อค้าสำคัญ ๆ ได้สัญญาว่าจะแวะเมืองสิงขระ (สงขลาฝั่งหัวเขาแดง)" * จดหมายของ จูร์แคง ชาวอังกฤษได้รายงานไปที่ห้างอังกฤษ บนเกาะชวาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2164 ได้กล่าวถึงการค้าขายที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงไว้ว่า "พวกดัชใช้เรือขนาดเล็กที่เรียกว่า แวงเกอร์ โดยมีเรือขนาดเล็กนี้มีอยู่ประมาณ 4-5 ลำ ประจำที่สิงขระ เพื่อกว้านซื้อพริกไทยจากพ่อค้าชาวพื้นเมืองที่เข้ามาขายให้" * บันทึกของ โยเกสต์ สเกาเตน ผู้จัดการห้างฮอลันดา ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง หนังสือแต่งเมื่อ พ.ศ. 2179 ดังคำแปลในประชุมพงศาวดาร ภาค 76 กล่าวว่า "พวกเราชาวฮอลันดาได้เข้ามาอยู่ในอาณาจักรสยามได้ 30 ปีแล้ว และได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระมหากัตริย์ตลอดมา การค้าขายของเราถึงจะไม่ได้รับกำไรมากมายจนเกินไป แต่กระนั้นพวกเรายังได้รับไมตรีจิต มิตรภาพจากพระมหากษัตริย์ มากกว่าชนชาติยุโรปอื่นได้รับ" ซึ่งสอดคล้องกับการพบสุสานของชาวฮอลันดาอยู่ ณ บริเวณสุสานวิลันดา ในบริเวณพื้นที่เมืองเก่าสงขลาฝั่งหัวเขาแดง เนื่องจากการที่เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงเป็นเมืองคู่ค้าที่สำคัญ กับฮอลันดา ทำให้เมืองสงขลาได้รับการคุ้มครอง และการสนับสุนด้านต่าง ๆ จากฮอลันดาเป็นอย่างมาก จนกระทั่งทำให้เมืองสงขลา โดย สุลต่านสุไลมาน ฉวยโอกาส แข็งเมืองในช่วงกบฏกรุงศรีอยุธยาใน รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งผลจากการแข็งเมืองนี้เองทำให้ สุลต่านสุไลมานประกาศตัวเป็น พระเจ้าสงขลาที่ 1 และ ดำเนินการค้าโดยตรงกับนานาประเทศโดยเฉพาะ ประเทศฮอลันดา ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ฮอลันดาได้ทำการค้าเพื่อเอาใจ และสัมพันธ์ด้านประโยชน์ทางการค้า ทั้งกรุงศรีอยุธยาและสงขลา ไปในคราเดียวกัน ดั่งปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าปราสาททอง แห่งอยุธยาได้เคย ขอให้ฮอลันดาช่วยปราบกบฏเมืองสงขลา แต่ฮอลันดากลับไม่ได้ตั้งใจช่วยอย่างจริงจังตามที่ได้แสดงเจตนาไว้ ซ้ำยังให้ความช่วยเหลือเมืองสงขลาด้วยในคราเดียวกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง กับฮอลันดา ยิ่งทวีความแน่นแฟ้นขึ้นตามลำดับ โดยไม่มีบทบาทของกรุงศรีอยุธยามาแทรกแซง จนฮอลันดาสนใจจะเปิดสถานีการค้ากับเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ตามบันทึกของ ซามูเอล พอทท์ส ซึ่งไปสำรวจภาวะตลาดในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2221 ได้บรรยายว่าเจ้าเมืองสงขลาต้อนรับเป็นอย่างดีที่วังของเมือง แสดงความเป็นกันเอง พร้อมทั้งตั้งข้อเสนอหลายอย่างที่เป็นการจูงใจให้เข้าไปค้าขาย เช่น จะไม่เก็บอากรบ้าน จะหาบ้านและที่อยู่ให้ โดยปรากฏหลักฐานสนับสนุนเรื่องนี้จากจากแผนที่ซึ่งทำโดยชาวฝรั่งเศส ได้ระบุว่า มีหมู่บ้านของชาวฮอลันดาปรากฏอยู่ในแผนที่ นอกเหนือจากการปรากฏหลักฐานของสุสานชาวดัตช์ อยู่ใก้ลที่ฝังศพ สุลต่านสุไลมานซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง โดยมีหลุมศพเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ประมาณ 22 หลุม ซึ่งชาวบ้านได้เรียกที่ฝังศพนี้ว่า "วิลันดา" ซึ่ง หนึ่งในยี่สิบสอง หลุมนี้อาจเป็นตัว ซามูเอล พอทท์ส หรือ พรรคพวกเองก็เป็นได้ ==== ความสัมพันธ์ทางการค้ากับอังกฤษที่นำมาสู่เมืองแห่ง 20 ป้อมปืน ==== ความเป็นคู่แข่งทางการค้าระหว่างฮอลันดา กับอังกฤษได้นำมาสู่การคานอำนาจของหัวเมืองต่าง ๆ ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา เช่น ขณะที่สงขลามีปฏิสัมพันธ์ทางการค้าและการเมืองที่ดีต่อฮอลันดา นั้นอังกฤษก็ได้เริ่มมุ่งความสนใจทางการค้ากับเมืองปัตตานีที่เป็นเมืองท่าอยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และพยายามที่จะขยับขยายการค้ามาสู่สงขลา ดังบันทึกฉบับหนึ่งที่เขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษ กล่าวถึงการค้าที่เมืองสิงขระว่า "จะไม่เป็นการผิดหวัง หากคิดจะสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่ สิงขระ (Singora) ข้าพเจ้าคิดว่าเรา อาจจะใช้สิงขระ เป็นที่สำหรับตระเวณหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดส่งให้แก่ห้างของเราที่กรุงสยาม โคชินไชน่า (พื้นที่ทางตอนใต้ของเวียดนาม) บอเนียว และญี่ปุ่นได้อย่างดี" โดยจากการค้าขายกับต่างชาตินี่เองทำให้เมืองสิงขระที่นำโดย "ดาโต๊ะโมกอล" ได้พัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการค้าขายระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความปลอดภัย และรักษาเมืองจากการปล้นสะดมจากโจรสลัดซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากในขณะนั้น การพัฒนาเมืองจึงได้รวมไปถึงการสร้างป้อมปืนใหญ่บริเวณบนเขา และที่ราบในชัยภูมิต่าง ๆ ถึง 20 ป้อมปืน รวมไปถึงการสร้างประตูเมืองและคูดินรอบเมือง โดยได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีและอาวุธจากพ่อค้าชาวอังกฤษ แลกกับการที่อังกฤษมาตั้งห้างที่สงขลา ทั้งนี้ตรงกับหลักฐานตามที่นาย ลามาร์ ชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกแผนผังเมืองไว้เมื่อ พ.ศ. 2230 ประกอบด้วยประตูเมืองและป้อมปืน 17 ป้อม จากการที่สงขลาแข็งเมือง ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษเห็นช่องทางในการลดค่าภาษีที่จะต้องส่งให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ให้ของกำนัล แก่เจ้าเมือง สิงขระ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำการค้าขายในแถบนี้ได้แล้วดังบันทึกอันหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพ่อค้าชาวอังกฤษว่า "การตั้งคลังสินค้าขึ้นที่นี่ยังจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับห้างอีกด้วย เพราะที่นี่ไม่เก็บอากรขนอนเลย เพียงแต่เสียของกำนัลให้แก่ดาโต๊ะโมกอลล์ (เจ้าเมืองสงขลา) ก็อาจนำเงินสินค้าผ่านไปได้" โดยผลจากการประกาศแข็งเมือง และ ตั้งตนเป็นพระเจ้าสงขลาที่ 1 ของสุลต่านสุไลมัน (บุตรของดาโต๊ะโมกอล) จึงเสมือนการเปิดโอกาสให้เมืองสงขลาในระยะนี้เจริญถึงจุดสูงสุด ถึงขั้นมีการผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง โดยมี คำว่า "สงขลา" เป็นภาษาไทยบนเหรียญ ภาษายาวีสองคำ อ่านว่า นะครี-ซิงเกอร์ แปลว่านครสงขลา และมีภาษาจีนอีก ห้าคำ เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานในช่วงเวลาการผลิตเหรียญแต่สันนิษฐานจากภาษา แขก ที่ปรากฏบนเหรียญ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่เจ้าเมืองแขกปกครองสงขลาอยู่เกือบ 40 ปี ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงสภาพเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของเมืองสงขลาในขณะนั้นได้ ดังนั้นหลังจากปี พ.ศ. 2185 สุลต่านสุไลมานก็ตั้งตนเป็นเอกราช สถาปนาตนเองเป็นเจ้าเมืองสงขลา ดำเนินการค้ากับ ฮอลันดา อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ โดยตรงไม่ผ่านการส่งอากรสู่อยุธยาทำให้ พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์ของอยุธยาในขณะนั้น ต้องส่งกองทหารมาปราบหลายครั้งตลอดรัชการของพระองค์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสงขลาแห่งนี้ ได้ตั้งเมืองอยู่ในชัยภูมิที่ดี และมีการก่อสร้างกำแพงเมือง คันคู ตลอดจนป้อมปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันเมืองทั้งทางน้ำและทางบกมากกว่ายี่สิบป้อม (บางเล่มก็ระบุว่า 17 ป้อม) ดังหลักฐานจากข้อเขียนของ วัน วลิต (Van Vliet) ผู้แทนบริษัท Dutch East India CO, Ltd. ประจำกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนเมืองสุลต่านที่หัวเขาแดง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2185 ได้เขียนรายงานไว้ว่า พระเจ้าปราสาททอง ได้เคยส่งกองเรือจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสงขลา) ทำการโจมตีเมืองสงขลาถึงสองครั้งในช่วงเวลาเพียงสองปี แต่ต้องประสพความพ่ายแพ้ไปทั้งสองครั้ง ต่อมา เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงได้ถูกกองทัพ ทั้งทางบก และ ทางทะเล ตีแตกในปี พ.ศ. 2223 ถัดมาในรัชการสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออ เวเรต์ ชาวฝรั่งเศสที่มาค้าขายในอยุธยาใน พ.ศ. 2230 ว่า "พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งกองทัพเรือซึ่งมีเรือรบมาเป็นอันมาก ให้มาตีเมืองสงขลาเป็นอย่างมาก และ ได้ใช้แผนล่อลวงผู้รักษาป้อมแห่งหนึ่งให้มีใจออกห่างจากนายตน จากนั้นทหารกรุงศรีอยุธยาจึงได้ลอบเข้าไปทางประตูดังกล่าวเปิดประตูให้ทหารเข้ามาทำลาย และ เผาเมือง โดยเพลิงได้ลุกลามจนไหม้ เมืองตลอดจนวังของเจ้าพระยาสงขลาหมดสิ้นอีกทั้ง ทหารกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพเข้าไปในเมืองทำลาย ป้อม ประตู หอรบ และบ้านเมืองจนเหลือแต่แผ่นดิน เพราะเกรงว่าจะมีคนคิดกบฏขึ้นมาอีก" ส่วนอีกบันทึกหนึ่งได้เล่าไว้ว่า กองเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ร่วมกับกองทัพจากนครศรีธรรมราช ได้ยกทัพเรือมาดอบล้อมเมืองสุลต่านที่หัวเขาแดง โดยมีพระยารามเดโช เป็นแม่ทัพใหญ่ ครั้นแล้วกองทัพทั้งสอง ฝ่ายก็ได้เริ่มทำยุธนาการกันทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีลูกเรือชาวดัตช์ที่มารักษาการณ์ อยู่ที่สถานีการค้าของบริษัท Dutch East India Co.Ltd. ที่หัวเขาแดง เข้าช่วยฝ่ายสุลต่านเมืองเขาแดง เข้ารบกับกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏที่ฝังศพของทหารอาสาชาวดัตช์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกุโบร์ที่ฝังศพของสุลต่านสุลัยมาน โดยในบันทึกได้บรรยายรายละเอียดว่าในคืนวันหนึ่งขณะที่ปืนใหญ่จากเรือรบของนครศรีธรรมราช กำลังกระหน่ำยิงเมืองหัวเขาแดงทหารซึ่งอยู่ที่ป้อมเมืองสงขลาของสุลต่านมุสตาฟา (บุตร สุลต่านสุไลมาน) จำนวนสองคนได้ทรยศจุดคบไฟโยนลงจากบนภูเขาใส่บ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ซึ่งส่วนมากจะมุงด้วยหลังคาใบจาก จึงเกิดไฟไหม้ขึ้น ทำให้เกิดโกลาหลอลม่านกันขึ้น จนกระทั่งกองทัพกรุงศรีอยุธยา และ เมืองนครศรีธรรมราชสามารถยกพลขึ้นบกได้หลายจุด เช้าวันรุ่งขึ้น มุสตาฟา ฮุสเซน และฮัสซัน น้องชาย เข้าพบและยอมจำนนแก่แม่ทัพใหญ่ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ผลที่สุดจึงปรากฏว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระบรมราชโองการ ให้ยุบเลิกเมือง สุลต่าน ที่หัวเขาแดง ล้วกวาดต้อนกองกำลัง และ บริวารทั้งหมดออกจากพื้นที่ แล้วลงเรืออพยพแบ่งเป็นสองพวกคือ คนที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป ให้อพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ที่หมู่บ้านสงขลา เมืองไชยา (ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากสงขลาห้าร้อยกิโลเมตรทางตอนเหนือ) ส่วนคนหนุ่มคนสาว รวมทั้งลูกเจ้าเมืองทั้งสาม ของสุรต่านสุไลมาน ให้อพยพเข้าไปอยู่ในกรุงศรีอยุธยา หลังจากเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงถูกทำลายแล้วทางกรุงศรีอยุธยามีนโยบายจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ ดังหลักฐานจากหนังสือสัญญาที่ฟอนคอนทำไว้ที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ระบุไว้ว่า "สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยกเมืองสงขลา และ เมืองขึ้นของสงขลา พระราชทานให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และ พระราชทานพระราชานุญาตให้พระจ้ากรุงฝรั่งเศสสร้างป้อม หรือจัดทำอะไรในเมืองสงขลาได้แล้วแต่พระทัย" แต่ข้อนี้ทางฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิเศษข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากเมืองสงขลาในขณะนั้นอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนักเพราะถูกทำลายจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงก็ยังมีการสร้างกำแพงหรือขอบเขตของเมืองด้วยไม้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก้ได้โยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่ทางฟากเขาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งชุมชนนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ) === สมัยเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน === ภายหลัง เมื่อเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาทำลายจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. 2223 ประชาชนชาวสงขลาฝั่งหัวเขาแดงที่เหลืออยู่ ได้ย้ายชุมชนไปสร้างเมืองใหม่ ณ เมืองสงขลาแห่งที่สองนี้ ที่รู้จักกันในชื่อว่าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน โดยเมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่ได้รับการวางแผนในการสร้างเมืองตั้งแต่ต้น ประกอบกับเป็นเมืองที่ถูกสร้างเนื่องจากการย้ายเมืองภายหลังจากสงคราม ดังนั้นลักษณะของเมืองจึงเป็นเมืองที่ถูกสร้างกันอย่างง่าย ๆ บนพื้นที่เชิงเขาติดทะเล ถัดจากตำแหน่งเมืองสงขลาเดิมที่ถูกทำลายลงไปอีกด้านหนึ่งของฝากเขา เนื่องจากเป็นที่ตั้งเมืองที่อยู่บนเชิงเขา ทำให้เมืองสงขลาแห่งที่สองนี้ในภายหลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดอุปโภค และปัญหาการมีพื้นที่ในทางราบไม่เพียงพอกับการขยายและเติบโตของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการย้ายเมืองในเวลาต่อมา ลักษณะการสร้างบ้านเรือนของสงขลาฝั่งแหลมสน ส่วนใหญ่บ้านเรือนจะทำด้วยวัสดุไม่ถาวร เช่น ไม้ และใบจาก ในลักษณะเรือนเครื่องสับ จึงทำให้หลงเหลือร่องรอย และหลักฐานไม่มากนัก เนื่องจากประชากรในการสร้างเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านธรรมดาสามัญชน ประกอบกับขนาด และอาณาเขต รวมไปถึงอำนาจการปกครองของเมืองสงขลาได้ลดฐานะเป็นแค่เมืองเล็ก ๆ ของเมืองบริวาร ของเมืองพัทลุง ดังนั้นเจ้าเมืองสงขลาคนแรกจึงถูกแต่งตั้งโดยพระยาจักรี และพระยาพิชัยราชา เป็นเพียงแค่การคัดเลือกชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ "โยม" มาดำรงตำแหน่งเป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน และ ในคราวเดียวกันนั่นเอง ยังมีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ "นายเหยี่ยง แซ่เฮา" ซึ่งอพยพ มาจาก เมือง เจียงจิ้งหู มลฑลฟูเจี้ยน ได้เสนอบัญชีทรัพย์สินและบริวารของตน เพื่อแลกกับสัมปทานผูกขาดธุรกิจรังนกบนเกาะสี่เกาะห้า ในทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยาทั้งสองจึงพิจารณาแต่งตั้งให้ นายเหยี่ยง แซ่เฮา เป็นหลวงอินทคีรีสมบัติ นายอากรรังนกเกาะสี่เกาะห้า พระสงขลาได้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ดำริว่า พระสงขลา (โยม) หย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติราชการ จึงให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยียง แซ่เฮา) ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เกาะสี่เกาะห้า เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ เจ้าเมืองสงขลา คนถัดมาซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งต่อมาได้ปกครองเมืองสงขลา มาถึง 8 รุ่น ในการปกครองสงขลาในช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาของการทำหน้าที่ปกป้องอาณาเขต และรับใช้ราชการปกครองแทนเมืองหลวง ซึ่งตรงกับกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 ปัญหาหลักของการปกครองสงขลาคือการส่งกำลังไปร่วมกำกับและควบคุมหัวเมืองแขกต่าง ๆ ให้อยู่ในความสงบ โดยมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรบหลายครั้ง ทำให้เจ้าเมืองสงขลาในรุ่นต่าง ๆ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ และ ความภัคดีทางการรบ โดยในสมัยสงขลา ครั้งนี้มีเมือง แขก ปัตตานี ได้ถูกแยกออกเป็น เจ็ดหัวเมืองย่อย ได้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสงขลา ซึ่งต่อมาชื่อเมืองต่าง ๆ ได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อถนน ในครั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ฝั่งบ่อยาง เมืองทั้งเจ็ดมีรายชื่อดังนี้ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามันห์ เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ และ เมืองสุดท้ายที่เข้ามาอยู่ใต้การกำกับดูแลของสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2379 คือเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 และตรงกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน เนื่องจากเมืองสงขลาฝั่งแหลมสนเป็นเมืองที่ถูกสร้างอย่างง่าย ๆ เพื่อรองรับการหนีภัยในช่วงเมืองแตก ทำให้เกิดปัญหาและข้อขัดข้องในการพัฒนาเมืองหลายประการตามมา ส่งผลต่อการพิจารณาย้ายเมืองในเวลาต่อมาไม่นานนัก เจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ดังนี้ : ลำดับที่ 1. พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง แซ่เฮา) พ.ศ. 2318 - 2327 : ลำดับที่ 2. เจ้าพระยาอินทคีรีศรีสมุทรสงครามรามภักดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ (บุญหุ้ย) พ.ศ. 2327 - 2355 : ลำดับที่ 3. พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) พ.ศ. 2355 - 2360 === สมัยเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง === จากการขยายตัวของเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่บริเวณสงขลาฝั่งแหลมสน เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเมืองรวมถึง อาจเป็นอุปสรรคของการขยายตัวเป็นเมืองท่าในอนาคต ซึ่งจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ น่าจะเป็นข้อได้เปรียบ แต่เนื่องจากมีพื้นที่ในแนวราบไม่เพียงพอ จึงทำให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง (สถานที่ปัจจุบัน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ซึ่งเมืองใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ยังคงรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง พระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว 1200 เมตร และ ประตูเมือง สิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 หลังจากนั้นจึงได้วางหลักเมือง (ไม้ชัยพฤษ์พระราชทาน) และสมโภชน์หลักเมืองในปี พ.ศ. 2385 และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" ก่อนที่พระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง) จะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408 ถัดจากนั้น พระยาคีรี ลำดับต่อมา ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาต่อ และ ได้ดำเนินการพัฒนาสงขลาในลักษณะเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชน โดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งมี นายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล รวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลา บ่อยาง ดังนี้ : ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360 – 2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง : ลำดับที่ 2. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ. 2390 – 2408 : ลำดับที่ 3. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ. 2408 – 2427 : ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา) พ.ศ. 2427 – 2431 : ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431 – 2439 ในสมัยที่เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) เป็นเจ้าเมืองสงขลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมืองสงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์ บนยอดเขาตังกวน ระหว่างปี พ.ศ. 2437-2439 เมืองสงขลาได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยตั้งมลฑลนครศีธรรมราช ประกอบด้วยนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองแขกอีกเจ็ดเมือง โดยมี พระวิจิตร (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาบ่อยาง และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่าแปดรุ่น ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับสงขลาขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย == รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา == {|class="wikitable sortable" |+ ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด |- ! style="width:9%;" scope="col" | ลำดับ ! style="width:100px;" class="unsortable" scope="col" | ภาพ ! class="unsortable" scope="col" | รายชื่อ !เริ่มต้น !สิ้นสุด |- ! colspan="5" |อาณาจักรศรีวิชัย>>อาณาจักรสทิงปุระ |- |1 | | | | |- ! colspan="3" |อาณาจักรซิงกอร่า - รัฐสุลตานสงขลา (เมืองสงขลา-หัวเขาแดง) ! ! |- |2 | |พระเจ้าสงขลา ที่ 1 (ดาโต๊ะ โมกอล) | | |- |3 | |พระเจ้าสงขลา ที่ 2 (สุลต่านสุลัยมาน ชาห์) (ขึ้นต่ออยุธยา) | | |- |4 | |สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสงขลา ที่ 1 (สุลต่านสุลัยมาน ชาห์) (ตั้งตนเป็นอิสระ) |พ.ศ. 2173 |พ.ศ. 2211 |- |5 | |สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสงขลา ที่ 2 (สุลต่านมุสตอฟา) | | |- ! colspan="5" |เมืองสงขลา - แหลมสน |- |6 | |พระสงขลา (วิเถียน) | | |- |7 | |พระสงขลา (โยม) | | |- |8 | |พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง แซ่เฮา 吳讓) หรือ อู๋หยาง (吳陽) |2318 |2327 |- |9 | |เจ้าพระยาอินทคีรีศรีสมุทรสงครามรามภักดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ (บุญหุ้ย 吳文輝) |2327 |2355 |- |10 | |พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง 吳志從) |2355 |2360 |- ! colspan="5" |เมืองสงขลา - บ่อยาง |- |11 | |พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง 吳志生) |2360 |2390 |- |12 | |เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง 吳志仁) |2390 |2408 |- |13 | |เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น 吳錦) |2408 |2427 |- |14 | |พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม 吳寵) |2427 |2431 |- |15 | |พระยาวิเชียรคีรี (ชม 吳登箴) (เจ้าเมืองสงขลาคนสุดท้าย) |2431 |2444 |- ! colspan="5" |เมืองสงขลา - จังหวัดสงขลา(ผู้ว่าราชการจังหวัด) |- |16 | |พระยาวิเชียรคีรี (ชม 吳登箴) (ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาคนแรก) | | |- |17 | | | | |- |18 | | | | |- |19 | | | | |- |20 | | | | |} == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้งและอาณาเขต === จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้ ด้านเหนือ ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง ด้านใต้ ติดกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาห์ และรัฐปะลิสของประเทศมาเลเซีย ด้านตะวันออก ติดกับอ่าวไทย ด้านตะวันตก ติดกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล == ตราและสัญลักษณ์ประจำจังหวัด == ต้นไม้ประจำจังหวัด: สะเดาเทียม (Azadirachta excelsa) ดอกไม้ประจำจังหวัด: สะเดาเทียม === คำขวัญ === คำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสงขลาในปัจจุบันคือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้" ซึ่งเปลี่ยนมาจากคำขวัญเมื่อจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย ร่ำรวยธุรกิจแดนใต้" และคำขวัญท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญ Visit Thailand คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้" == การปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === แบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 127 ตำบล 987 หมู่บ้าน ได้แก่ {|class="wikitable sortable" |- style= ! ที่ !! ชื่ออำเภอ !! อักษรโรมัน !! จำนวนตำบล!!จำนวนประชากร |- style="background: #ffffff;" ||1.||เมืองสงขลา||Mueang Songkhla||6||162,894 |-style="background: #ffffff;" ||2.||กระแสสินธุ์|| Krasae Sin||4||14,934 |-style="background: #ffffff;" ||3.||ควนเนียง|| Khuan Niang||4||34,427 |-style="background: #ffffff;" ||4.||คลองหอยโข่ง||Khlong Hoi Khong||4||27,073 |-style="background: #ffffff;" ||5.||จะนะ||Chana||14||108,245 |-style="background: #ffffff;" ||6.||เทพา||Thepha||7||78,782 |-style="background: #ffffff;" ||7.||นาทวี||Na Thawi||10||69,546 |-style="background: #ffffff;" ||8.||นาหม่อม||Na Mom||4||22,973 |-style="background: #ffffff;" ||9.||บางกล่ำ||Bang Klam||4||32,646 |-style="background: #ffffff;" ||10.||ระโนด||Ranot||12||63,961 |-style="background: #ffffff;" ||11.||รัตภูมิ||Rattaphum||5||75,709 |-style="background: #ffffff;" ||12.||สทิงพระ|| Sathing Phra||11||47,758 |-style="background: #ffffff;" ||13.||สะเดา|| Sadao||9||124,115 |-style="background: #ffffff;" ||14.||สะบ้าย้อย||Saba Yoi||9||80,365 |-style="background: #ffffff;" ||15.||สิงหนคร||Singhanakhon||11||84,104 |-style="background: #ffffff;" ||16.||หาดใหญ่||Hat Yai||13||404,004 |-style="background: #ffffff;" |} === การปกครองส่วนท้องถิ่น === จังหวัดสงขลา มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ ==== เทศบาลนคร ==== มีเทศบาลนคร 2 แห่ง คือ เทศบาลนครสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ ==== เทศบาลเมือง ==== มีเทศบาลเมือง 11 แห่ง คือ เทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลเมืองคลองแห เทศบาลเมืองควนลัง เทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เทศบาลเมืองสิงหนคร เทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง เทศบาลเมืองกำแพงเพชร เทศบาลเมืองม่วงงาม ==== เทศบาลตำบล ==== มีเทศบาลตำบล 32 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลพะวง เทศบาลตำบลเกาะแต้ว เทศบาลตำบลสทิงพระ เทศบาลตำบลจะนะ เทศบาลตำบลบ้านนา เทศบาลตำบลนาทวี เทศบาลตำบลเทพา เทศบาลตำบลลำไพล เทศบาลตำบลสะบ้าย้อย เทศบาลตำบลบ่อตรุ เทศบาลตำบลระโนด เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ เทศบาลตำบลเชิงแส เทศบาลตำบลกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนาสีทอง เทศบาลตำบลปากแตระ เทศบาลตำบลปริก เทศบาลตำบลคลองแงะ เทศบาลตำบลสำนักขาม เทศบาลตำบลพะตง เทศบาลตำบลบ้านไร่ เทศบาลตำบลน้ำน้อย เทศบาลตำบลคูเต่า เทศบาลตำบลควนเนียง เทศบาลตำบลบางเหรียง เทศบาลตำบลท่าช้าง เทศบาลตำบลนาทวีนอก เทศบาลตำบลบ้านหาร เทศบาลตำบลชะแล้ เทศบาลตำบลทุ่งลาน เทศบาลตำบลโคกม่วง เทศบาลตำบลท่าพระยา == โครงสร้างพื้นฐาน == === การขนส่ง === ==== ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ ==== อำเภอสิงหนคร 21 กิโลเมตร อำเภอนาหม่อม 31 กิโลเมตร อำเภอหาดใหญ่ 32 กิโลเมตร อำเภอจะนะ 37 กิโลเมตร อำเภอบางกล่ำ 38 กิโลเมตร อำเภอคลองหอยโข่ง 48 กิโลเมตร อำเภอสทิงพระ 50 กิโลเมตร อำเภอควนเนียง 50 กิโลเมตร อำเภอนาทวี 57 กิโลเมตร อำเภอรัตภูมิ 60 กิโลเมตร อำเภอสะเดา 70 กิโลเมตร อำเภอเทพา 71 กิโลเมตร อำเภอกระแสสินธุ์ 76 กิโลเมตร อำเภอระโนด 90 กิโลเมตร อำเภอสะบ้าย้อย 95 กิโลเมตร === การศึกษา === ==== โรงเรียน ==== โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร จังหวัดสงขลา โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา (ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา (ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ จังหวัดสงขลา (ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร) (เดิม: โรงเรียนมัธยม จักรีวัชร) โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ โรงเรียนแสงทองวิทยา โรงเรียนธิดานุเคราะห์ โรงเรียนม. วิทยานุสรณ์ โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์" โรงเรียนนาทวีวิทยาคม โรงเรียนอนุบาลสงขลา โรงเรียนวิเชียรชม โรงเรียนแสงทองวิทยา โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ โรงเรียนแจ้งวิทยา โรงเรียนมหาวชิราวุธ ==== สถาบันอุดมศึกษา ==== อำเภอเมืองสงขลา * มหาวิทยาลัยทักษิณ ** สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ** วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ** วิทยาลัยการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยทักษิณ ** วิทยาลัยดนตรีวิทยาชีพ มหาวิทยาลัยทักษิณ * มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา * มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย * มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาสงขลา * วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา อำเภอหาดใหญ่ * มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ * มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดสงขลา * มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ** วิทยาลัยนานาชาติดิษยะศริน * วิทยาลัยเทคโนโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์ * มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา * วิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ อำเภอรัตภูมิ * มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตรัตภูมิ * วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สงขลา อำเภอเทพา * วิทยาลัยชุมชนสงขลา อำเภอสะเดา * วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ === สาธารณสุข === โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ โรงพยาบาลสงขลา (โรงพยาบาลศูนย์) (ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์) โรงพยาบาลหาดใหญ่ (โรงพยาบาลศูนย์) โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ โรงพยาบาลเมืองสงขลา โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี โรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) == สถานที่ท่องเที่ยว == === แหลมสมิหลา === แหลมสมิหลาอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาดและทิวต้นสนที่ร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาด === แหลมสนอ่อน === แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อนเป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบ ๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร บริเวณพื้นที่แหลมสนอ่อน มีชุมชนตั้งอยู่ เรียกว่า ชุมชนแหลมสนอ่อน === เขาตังกวน === อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต) บนยอดเขามีเจดีย์และตำหนักซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้ === เก้าเส้ง === อยู่ทางทิศใต้ของหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนไทรบุรี ตรงสามแยกสำโรง (โรงพยาบาลประสาท) เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของสงขลา มีโขดหินเกะกะอยู่ริมทะเล และมีอยู่ก้อนหนึ่งตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า "หัวนายแรง" เมืองว่า "หัวนายแรง" ว่า "ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนด บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราช ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า "เขาเก้าแสน" เรียกเพี้ยนไปเป็น "เก้าเส้ง" ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า "หัวนายแรง" ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญาน ของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้" === เกาะหนู-เกาะแมว === เกาะหนู-เกาะแมวเป็นเกาะใกล้ชายฝั่งขนาดเล็ก อยู่นอกแหลมสมิหลา มีหินเหมาะสำหรับตกปลา มีรูปปั้นหนูและแมวด้วย === ทะเลสาบสงขลา === ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน === สวนสัตว์สงขลา === เป็นสวนสัตว์เปิดริมถนนสงขลา-นาทวี ตำบลเขารูปช้าง มีเนื้อที่ 911 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าของไทยคืนสู่ธรรมชาติ พื้นที่เป็นภูเขาเล็ก ๆ หลายลูก มีถนนลาดยางโดยรอบและแยกชนิดสัตว์ไว้เป็นหมวดหมู่ มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ เช่น อูฐ นกชนิดต่าง ๆ วัวแดง เสือ จระเข้ ฯลฯ นอกเหนือจากสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ อันควรค่าแก่การศึกษา สวนสัตว์สงขลายังมีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ต้องพลาดคือ จุดชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสงขลาได้ และบริเวณนั้นมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว === วัดมัชฌิมาวาส === วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (วัดกลางหรือวัดยายศรีจันทร์) อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา มีอายุมากกว่า 400 ปี สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ กล่าวกันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมามีผู้สร้างวัดเลียบทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า "วัดกลาง" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมัชฌิมาวาส" โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสคราวเสด็จเมืองสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2431 ต่อวันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี มีชื่อทางราชการว่า "วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร" ในวัดมีโบราณสถานที่ที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถ สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขาแดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก ซุ้มประตู เป็นศิลปะจีนกับยุโรป และมีพิพิธภัณฑ์ "ภัทรศิลป" เป็นที่เก็บพระพุทธรูป วัตถุโบราณ ซึ่งรวบรวมมาจากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษา === พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา === พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี เดิมเป็นบ้านพักส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชและเป็นศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. 2496 ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารนี้เป็นโบราณสถานและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง อาทิ บานประตูไม้เดิมของจวน เป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสีและประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครู แสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงามยังความสมบูรณ์อยู่มาก โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียงและกาญจนบุรี === เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุวัดชัยมงคล === อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟสงขลา มีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งได้มาจากศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 2435 ปัจจุบันเป็นวัดหลวง มีอุโบสถและศาลาการเปรียญที่สวยงาม === พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง === ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะ ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งบ้านพักเดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา จากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา "พะทำมะรง" เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฏหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป === บ้านศรัทธา === เป็นบ้านที่ชาวสงขลาพร้อมใจกันสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญทางประวัติศาสตร์มอบให้กับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ต่อมาท่านได้มอบบ้านศรัทธานี้คืนให้กับชาวสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2539 พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสงขลาได้จัดสร้างอาคารหอสมุดกาญจนาภิเษกขึ้น ตรงเชิงเขาใกล้กับบ้านศรัทธาและเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้า บ้านศรัทธาตั้งอยู่บนเนินเขา ใกล้กับบ้านศรัทธา และเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้าและท่องเที่ยว บ้านศรัทธานี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงศรัทธาที่ชาวสงขลามีต่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ === พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา-สถาบันทักษิณคดีศึกษา === ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา บริเวณใกล้เชิงสะพานติณฯ ตอนเหนือ และอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4146 มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ 1 งาน 39.9 ตารางวา พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่บริเวณเชิงเขา และอีกส่วนหนึ่งอยู่บนยอดเขา และเมื่อขึ้นไปอยู่บนสุดของพื้นที่ จะสามารถมองเห็นทะเลสาบส่วนที่ล้อมเกาะทั้ง 3 ด้าน เป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก สถาบันแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ และมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้เป็นที่น่าสนใจ เช่น ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจิตรกรรมฝาผนัง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ตลอดจนผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่าง ๆ สถาบันทักษิณคดีศึกษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา อุทยานวัฒนธรรม ศูนย์วิทยบริการด้านวัฒนธรรม งานส่งเสริมและเผยแพร่ และหมู่บ้านวัฒนธรรมสาธิต === เกาะยอ === เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะรับประทานสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย === สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ === สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสงขลา ตั้งอยู่บริเวณ ปลายแหลมสนอ่อน เป็นโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศทางน้ำและพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิด มีเนื้อที่รวม ประมาณ 7.5 ไร่ ตัวอาคารมีเนื้อที่ 2 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนน้ำจืด เป็นการจำลองน้ำตกที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และการแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด ส่วนน้ำกร่อย เป็นการจำลองระบบนิเวศของน้ำ เช่น ป่าชายเลน พืช และสัตว์ที่อาศัยบริเวณป่าชายเลน ส่วนทะเล มีสัตว์ทะเลและพันธุ์ปลาหลากหลายชนิด === ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ === เป็นโครงการที่เทศบาลนครสงขลาสรรค์สร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายหาดสมิหลาให้เป็นสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยวและชาวสงขลา โดยนำเอาคติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า พญานาค ป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือพญานาคเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นับเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของชาวสงขลา ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดสงขลา มีลักษณะแบบลอยตัว สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เนื้อวัตถุเป็นโลหะทองเหลืองรมสนิมเขียว ออกแบบโดยอาจารย์มนตรี สังข์มุสิกานนท์ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณคนปัจจุบัน) มีการสร้างขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง หัวพญานาค ตั้งอยู่บริเวณสวนสองทะเล ปลายแหลมสนอ่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความสูงจากฐานลำตัวจนถึงปลายยอดสุดประมาณ 9 เมตร พ่นน้ำลงสู่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ส่วนที่สอง สะดือพญานาค ตั้งอยู่บริเวณลานชมดาวสนามสระบัว แหลมสมิหลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความยาว 5.00 เมตร ความสูง 2.50 เมตร ลักษณะลำตัวโค้งครึ่งวงกลม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลอดใต้สะดือพญานาคให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนที่สาม หางพญานาค ตั้งอยู่บริเวณชายหาดสมิหลา ริมถนนสะเดา (หลังสนามกอล์ฟ) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร ความยาว 4.00 เมตร ความสูง 4.50 เมตร ปัจจุบันประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยือนจังหวัดสงขลา === สะพานติณสูลานนท์ === สะพานติณสูลานนท์ (สะพานติณหรือสะพานป๋า) ตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงที่เชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 สายสงขลา-ระโนด โดยสะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมืองสงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจายกับเกาะยอตอนใต้ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งทั้งสิ้น 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2529 สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องเดินทางแวะชมควบคู่ไปกับการมาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารที่เกาะยอ == สถานที่สำคัญในจังหวัดสงขลา == วัดพะโคะ วัดบ่อยาง ต.บ่อยาง เมืองสงขลา วัดมัชฌิมาวาส วัดเกาะถ้ำ วัดตีนเมรุศรีสุดาราม วัดชัยมงคล พระอารามหลวง วัดโคกสมานคุณ วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน) วัดหงส์ประดิษฐาราม วัดถ้ำเขารูปช้าง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ศาลเจ้าส่ำเล่งเตียนกวนแตกุ้น (ศาลเจ้าพ่อกวนอู) วัดฉื่อฉาง แหลมสมิหลา หาดชลาทัศน์ สวนสองทะเล เขาตังกวน อุทยานนกน้ำคูขุด ถ้ำคูหา ศานสถานที่เก่าแก่ที่สุดในสงขลา ตำหนักเขาน้อย เขาเก้าเส้ง (หัวนายแรง) สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ สุสานสุลต่านสุไลมาน เจดีย์องค์ขาว-องค์ดำ บนยอดเขาแดง ป้อมปืนปากน้ำแหลมทราย กำแพง-คูเมือง เมืองเก่าสิงขระนคร ป้อมปืนเมืองสิงขระนคร น้ำตกโตนงาช้าง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ศาสเจ้าพ่อคอหงส์ อนุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบธ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) มอ. อนุสาวรีย์ ร.5 อนุสาวรีย์หลวงเสนาณรงค์ ตัวเมืองหาดใหญ่ สวนสาธารณะพรุค้างคาว สนามกีฬาหลักเมืองภาคใต้ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ มอ.หาดใหญ่ สวนน้ำสงขลา ตลาดกิมหยง อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ถ้ำนางพญาเลือดขาว ไทย-รัฐเคดาห์(ไทรบุรี)) ไทย)-ปาดังเบซาร์(เปอร์ลิส(ปะลิศ)) ย่านการค้าชายแดนสะเดา พุทธอุทยานเขาเล่ ไทย-เคดาห์) == ชาวจังหวัดสงขลาที่มีชื่อเสียง == สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร รูปปัจจุบัน พระราชศีลสังวร (ช่วง อตฺถเวทีเถร) หรือท่านเจ้าคุณภัทร อดีตเจ้าคณะจังหวัดสงขลา-สตูล อดีตเจ้าอาวาส วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (จังหวัดสงขลา) พระธรรมวิโรจนเถร (พลับ ฐิติโก) อดีตประธานคณะกรรมการจังหวัดสงขลา อดีตเจ้าอาวาส วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (จังหวัดสงขลา) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก วิปัสนาธุระ รูปแรกภาคใต้ พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 และประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) อดีตประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานองคมนตรี ประธานคนแรกของบริษัทไทยประกันชีวิต และเป็นเจ้าพระยาคนสุดท้ายของประเทศไทย พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาองค์สุดท้าย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 16 ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษคนแรกของประเทศไทยต่อจากรัฐบุรุษอาวุโส คือ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หลวงสิทธิปราการ (ปลอด เกษตรสุนทร) นายอำเภอสทิงพระ กรมการเมืองสงขลา พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) นายอำเภอเหนือคนสุดท้าย และนายอำเภอหาดใหญ่คนแรก ขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี) ต้นตระกูลจิระนคร คหบดีผู้ดึงทางรถไฟเข้ามาหาดใหญ่ กิมหยง แซ่ชี คหบดีชาวจีนผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ โรงเรียนจีนที่มีชื่อเสียงในพื้นที่และบริจาคที่ดินตามสถานที่ต่าง ๆ ในหาดใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของ ตลาดซีกิมหยงและ ตลาดกิมหยง ตลาดสินค้าหาดใหญ่ ในปัจจุบัน ขุนคลองรีนรากร (หนู เกษตรสุนทร) คหบดีผู้ดูแลการค้าข้าวลุ่มน้ำสทิงพระ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม นักการเมือง นักกฎหมาย รองนายกรัฐมนตรี อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต เครืองาม อดีตอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรไฟฟ้า คณะวิศวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ศาสตราจารย์ ดร.พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการยกย่องผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายของพืชในวงศ์ขิงข่าของโลก ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติสำหรับค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลเปราะต้น วงศ์ขิงข่า "Caulokaempferia sirirugsae Ngamriab" ชื่อภาษาไทยว่า "เปราะต้นศิริรักษ์" ศาตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2558 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พล.ต.ต.ไพโรจน์ เกษตรสุนทร อดีตผู้บัญชาการตำรวจทางหลวง อนุกรรมาธิการกิจการตำรวจ คู่สมรส ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร สมาชิกวุฒิสภา อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มกุฏ อรฤดี นักเขียน กวีซีไรต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและเรื่องสั้น) ปี 2555 บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ กั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ฉิ้น อรมุต ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติและราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ยก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง โนรา สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สุทธิชัย หยุ่น ผู้ประกาศข่าว วีระกานต์ มุสิกพงศ์ นักการเมือง เทพชัย หย่อง กรรมการบริหารเครือเนชั่น ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ประกาศข่าว จิรธิติกานต์ เหมสุวรรณ์ (ชิ) นักทรอมโบม (Trombone) ชื่อดังระดับเอเชีย แชมป์ทรอมโบทแจ็สระดับโลก และแชมป์ประเทศไทย 3 สมัย โปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลง สนธยา ชิตมณี เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 1 มนตรี ศรียงค์ (กวีหมี่เป็ดแดง) นักประพันธ์ไทยได้รับรางวัลซีไรต์ ธรรศภาคย์ ชี (บี้ เคพีเอ็น)นักร้อง นักแสดง นายแบบ เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต นักมวย นภาพล พยัคฆ์อนันต์ นักมวย ขรรค์ชัย กัมพลานนท์ นายอำเภอ ถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย บัณฑิต อึ้งรังษี วาทยกร จงกล มิสา ผู้ประกาศข่าว วรัทยา ว่องชยาภรณ์ นักแสดง เบญทราย หุ่นน้อย นักแสดง พิธีกร นักร้อง และนางแบบ เพชรดา เทียมเพ็ชร นักแสดง ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ นักแสดง โอสถี ซุ่นมงคล นักร้อง ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล นักแสดง ชนะพล สัตยา นักแสดง วิทิต แลต นักแสดง พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา ตำรวจ แสง ธรรมดา ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต วินทร์ เลียววาริณ นักเขียน คฑาวุธ ทองไทย นักร้อง วรนันท์ จันทรัศมี นักแสดง เจ้าของธุรกิจ สุธีวัน ทวีสิน (ใบเตย อาร์สยาม) นักร้อง นักแสดง กมลวรรณ ศตรัตพะยูน รองมิสทีนไทยแลนด์อันดับ 1 ปี 2011 ธชย ประทุมวรรณ นักร้อง ภัทรวดี ปิ่นทอง นักแสดงตลก นุ้ย สุวีณา อาร์ สยาม นักร้องเพลงลูกทุ่ง สุริยา สิงห์มุ้ย นักฟุตบอล ทีมชาติไทย วัชระ สุขชุม สมิหลา เจ (เจนนี่ ปาหนัน) ดารานักแสดงและหรือพิธีกร บรรณรักษ์ อินทศร (อู๋ พันทาง อาร์สยาม) นักร้อง นักแต่งเพลง วรพล จินตโกศล (บลิว) นักแสดง - ได้รับรางวัลชนะเลิศ Smart Boy 2015 ในการประกวด Thai Super Model Contest 2015 ศศิ สินทวี (ศศิ) นางงาม - มิสเอิร์ธไทยแลนด์ 2014 และผู้ชนะมิสอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2015 รติยาภรณ์ ชูแก้ว (ลูกปัด) นางงาม - มิสอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2017 ณัฐธีร์ พีระชัยรมย์ (พสิษฐ์ ศักดิ์ธนินท์, วาริท อาเช่อร์) - ผู้ต้องหาคดีแชร์ลูกโซ่ Forex-3D เฌอปราง อารีย์กุล - หัวหน้ากลุ่มไอดอลหญิง วง BNK48 ปฏิภาณ ติระพันธ์อำไพ (เจมส์) นายแบบ - มิสเตอร์ทัวรึซึ่มเวิลด์ไทยแลนด์ 2017 และ Top8 Mister Tourism World 2017 บุษยา รังสี นักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ เคียง บุญเพิ่ม อดีตรองประธานศาลฎีกา อดิศร จอมสุริยะ (เดล) นักกีฬายูโดประจำจังหวัดสงขลา นายแบบ ธนชัย อุชชิน หรือ ป๊อด โมเดิร์นด็อก นักร้อง อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี หรือ จ๋าย ไททศมิตร นักร้องวงไททศมิตร ปุญญาดา ผาณิตพจมาน (มี่) เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว 2022 พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == หาดใหญ่ ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา สุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์ พงศาวดารเมืองสงขลา ฉบับพระยาสุนทรานุรักษ์ (ชม) สโมสรฟุตบอลสงขลา รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสงขลา ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย
thaiwikipedia
1,244
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (College of Innovation, Thammasat University : CITU) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 มีสถานภาพเทียบเท่าคณะ สำนัก หรือ สถาบัน ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531 ลำดับที่ 23 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ == ที่มาของวิทยาลัย == วิทยาลัยนวัตกรรม เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2538 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า "ศูนย์นวัตกรรมอุดมศึกษา" ต่อมา เพื่อต้องการให้เป็นรูปแบบใหม่ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ปรับเปลี่ยนจากการจัดตั้งคณะหรือภาควิชามาเป็น วิทยาลัย (College) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ต่อมา สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้แก้ไขชื่อ "วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา" เป็น "วิทยาลัยนวัตกรรม" ใน ปี พ.ศ. 2550 และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิทยาลัยจาก "ผู้อำนวยการ" เป็น "คณบดี" เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551 วิทยาลัยนวัตกรรม มุ่งเน้นจัดการเรียนการสอนในลักษณะสหสาขาวิชาซึ่งมีการผสมผสานศาสตร์ จากหลากหลายองค์ความรู้เข้าด้วยกัน โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการเรียนรู้ และเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานการเรียน การสอนและมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ภายใต้ปณิธาน รวมพลังจากความหลากหลาย (Synergy from Diversity) ก้าวไกลด้วยคุณธรรม (Excellence with Ethics) เรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม (Educator of Innovation) และพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม (Develop Holistically) ปัจจุบัน วิทยาลัยนวัตกรรม จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร และระดับปริญญา โท 4 หลักสูตร และจัดการเรียนการสอนที่ ท่าพระจันทร์ และ ศูนย์พัทยา == สีประจำคณะ == สีเงิน == หลักสูตรที่เปิดสอน == === ระดับปริญญาตรี === หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ (นานาชาติ) (BSI) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (DX) === ระดับปริญญาโท === หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี (MTT) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารดิจิทัล (CIO) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (MCI) == บุคคลสำคัญจากวิทยาลัยนวัตกรรม == รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัย รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัย ผศ.ดร.นพดล อินนา อดีตรักษาการผู้อำนวยการ ผศ.ดร.ประวิทย์ เขมะสุนันท์ อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม ผศ.ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย อ.ดร.กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อ.ดร.พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร รองคณบดีฝ่ายบริหาร ศูนย์พัทยา อ.ดร.รัชนีกร แซ่วัง รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา สทาศัย พงศ์หิรัญ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณรงค์ อนุรักษ์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์พิเศษสาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตรีเพชร อ่ำเมือง (ศิษย์เก่า) ผู้ช่วยคณะผู้บริหารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บุญสืบ ขลิบเพ็ง (ศิษย์เก่า) นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานศิลปวัฒธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ชิตสุภางค์ อังสวานนท์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กษิด์เดช เนื่องจำนงค์ (ศิษย์เก่า) อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำเภอพระประแดง อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ (ศิษย์ปัจจุบัน) นางสาวไทย พ.ศ. 2557 รมิดา ธีรพัฒน์ (ศิษย์เก่า) ดารานักแสดงสังกัดช่อง 7 เอกลักษณ์ คงวุฒิ (ศิษย์เก่า) เน็ตไอดอลชื่อดัง == อ้างอิง == วิทยาลัยนวัตกรรม นวัตกรรมอุดมศึกษา
thaiwikipedia
1,245
การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง
การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง (discrete cosine transform - DCT) เป็นการแปลงออทอโกนัล ที่เป็นจำนวนจริง และมีฟังก์ชันโคไซน์ เป็นฐาน มีทั้งหมด 8 ชนิด คือ DCT-1 ถึง DCT-4 ความยาวคู่ (หรือ DCT-IE ถึง DCT-IVE) และ DCT-5 ถึง DCT-8 ความยาวคี่ (หรือ DCT-IO ถึง DCT-IVO) การแปลงโคไซน์ ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ DCT ชนิดที่สองความยาวคู่ ซึ่งมักจะเรียกสั้นๆว่า "การแปลง DCT" และ เรียกการแปลงกลับ ซึ่งเท่ากับการแปลง DCT-III ว่า "การแปลงกลับ DCT" หรือ "IDCT (Inverse DCT)" == การประยุกต์ใช้งาน == DCT และ การแปลงที่สัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันคือ การแปลงไซน์ไม่ต่อเนื่อง(DST) นั้นมีการประยุกต์ใช้งานที่รู้จักกันดีใน การประมวลผลสัญญาณ และ การประมวลผลภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้ารหัสแบบแปลง(transform coding) เพื่อการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสีย ทั้งตามมาตรฐานการบีบอัดภาพนิ่ง JPEG และ มาตรฐานการบีบอัดภาพเคลื่อนไหว MPEG ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณสมบัติของ DCT ที่เรียกว่า energy compaction ที่ดี คือ สามารถอัดพลังงานส่วนใหญ่ของสัญญาณ โดยเฉพาะภาพ ไปไว้ในสัมประสิทธิ์ย่านความถี่ต่ำในโดเมนของการแปลง และ การคำนวณการแปลงในทางปฏิบัติสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการอธิบายด้วยเหตุผลข้างต้นแล้ว สาเหตุที่ การใช้ DCT เป็นที่นิยมในการบีบอัดข้อมูลสารสนเทศกว่าการใช้ DFT นั้น เป็นเพราะว่า เมื่อตัดสัมประสิทธิ์ของการแปลงที่มีค่าใกล้ศูนย์ออกไปเป็นจำนวนเท่าๆกัน ผลของการทำผกผันหรือ IDCT จะให้ข้อมูลสารสนเทศมีความใกล้เคียงกับข้อมูลต้นแบบ (orignal sequence) มากกว่า การตัดสัมประสิทธิ์จากการแปลง DFT สำหรับ DCT-4 นั้นมักจะนิยมนำมาใช้เพื่อคำนวณ การแปลงที่มีความสัมพันธ์กันกับ DCT-4 เช่น Malvar Wavelet และ MDCT ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการบีบอัดข้อมูลเสียง และด้วยเหตุที่ DCT-4 นั้นสามารถเป็น การแปลงผกผันได้โดยตรง (ไม่จำเป็นต้องคูณด้วยค่าชดเชยในบางรูปแบบของ DCT-1) จึงทำให้ลดความซับซอนในการออกแบบกระบวนการในทางปฏิบัติ == คำจำกัดความมาตรฐาน == การแปลงในรูปเมทริกซ์ : \mathbf{X}^{DCT}= [C]\mathbf{x} หมายเหตุ : ความยาวคี่(คู่) ของการแปลงในที่นี้หมายถึงส่วนความยาวของข้อมูล รวมกับส่วนขยายเสมือน ไม่ใช่ความยาวของตัวข้อมูลเอง ซึ่งในที่นี้ความยาวของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้งคู่ และคี่ ขึ้นกับ N === การแปลงความยาวคู่ === การแปลงโคไซน์มาตรฐาน ความยาวคู่ ในรูปเมทริกซ์ ให้ m,n = 0,\ldots,N-1 ==== DCT-1 ==== \left[ C^{IE}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N-1}} \left[ k_{m}k_{n} \cos \left( mn \frac{\pi}{N-1} \right) \right] โดยที่ k_i = \left \{ \begin{matrix} 1/ \sqrt{2}, & \mbox{if }i=0\mbox{ or }N-1 \\ 1, & \mbox{otherwise } \end{matrix} \right. ==== DCT-2 ==== \left[ C^{IIE}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N}} \left[ k_{m} \cos \left( m( n+\frac{1}{2}) \frac{\pi}{N} \right) \right] ==== DCT-3 ==== \left[ C^{IIIE}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N}} \left[ k_{n} \cos \left( (m+\frac{1}{2})n \frac{\pi}{N} \right) \right] โดยที่ k_i = \left \{ \begin{matrix} 1/ \sqrt{2}, & \mbox{if }i=0 \\ 1, & \mbox{otherwise } \end{matrix} \right. สำหรับกรณี DCT-2, DCT-3 ==== DCT-4 ==== \left[ C^{IVE}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N}} \left[ \cos \left( (m+\frac{1}{2})(n+ \frac{1}{2}) \frac{\pi}{N} \right) \right] === การแปลงความยาวคี่ === การแปลงโคไซน์มาตรฐาน ความยาวคู่ ในรูปเมทริกซ์ ให้ m,n = 0,\ldots,N-1 ==== DCT-5 ==== \left[ C^{I0}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N-1/2}} \left[ k_{m}k_{n} \cos \left( mn \frac{\pi}{N-1/2} \right) \right] ==== DCT-6 ==== \left[ C^{II0}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N-1/2}} \left[ k_{m}l_{n} \cos \left( m( n+\frac{1}{2}) \frac{\pi}{N-1/2} \right) \right] ==== DCT-7 ==== \left[ C^{III0}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N-1/2}} \left[ l_{m}k_{n} \cos \left( (m+\frac{1}{2})n \frac{\pi}{N-1/2} \right) \right] โดยที่ k_i = \left \{ \begin{matrix} 1/ \sqrt{2}, & \mbox{if }i=0 \\ 1, & \mbox{otherwise } \end{matrix} \right. และ l_i = \left \{ \begin{matrix} 1/ \sqrt{2}, & \mbox{if }i=N-1 \\ 1, & \mbox{otherwise } \end{matrix} \right. สำหรับกรณี DCT-5, DCT-6 และ DCT-7 ==== DCT-8 ==== \left[ C^{IV0}_{N} \right]_{mn} = \sqrt{\frac{2}{N+1/2}} \left[ \cos \left( (m+\frac{1}{2})(n+ \frac{1}{2}) \frac{\pi}{N+1/2} \right) \right] === การแปลงกลับ === การแปลงกลับ DCT หรือ IDCT นั้น สามารถหาได้จาก ทรานสโพส ของการแปลง เนื่องมาจากคุณสมบัติ unitary ของเมทริกซ์การแปลง DCT ซึ่งการแปลงทั้งความยาวคู่ และ คี่ นั้นมีคุณสมบัติดังกล่าว เมทริกซ์การแปลงด้านล่างจึงใช้หมายถึงทั้งความยาวคู่ และ คี่ {|align = "center" |- | \left[ C^{I}_{N} \right]^{-1} | =\left[ C^{I}_{N} \right]^{T} | =\left[ C^{I}_{N} \right] |- | \left[ C^{II}_{N} \right]^{-1} | =\left[ C^{II}_{N} \right]^{T} | =\left[ C^{III}_{N} \right] |- | \left[ C^{III}_{N} \right]^{-1} | =\left[ C^{III}_{N} \right]^{T} | =\left[ C^{II}_{N} \right] |- | \left[ C^{IV}_{N} \right]^{-1} | =\left[ C^{IV}_{N} \right]^{T} | =\left[ C^{IV}_{N} \right] |} == รายละเอียดอื่นๆ == การแปลงโคไซน์ ไม่ต่อเนื่องนั้นถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 [1] โดยเวกเตอร์ฐาน DCT-2 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการประมาณไอเก้นเวกเตอร์ ของเมทริกซ์โทปลิทซ์ (Toeplitz) โดยฐาน DCT นี้ จะมีค่าเข้าใกล้(asymptotically) ไอเก้นเวกเตอร์จริง(หรือ เวกเตอร์ฐาน Karhunen-Loève) ของเมทริกซ์โควาเรียนซ์ (covariance matrix) ของ first-order stationary Markov process เมื่อค่าสัมประสิทธิ์โครีเลชัน(correlation coefficient) มีค่าเข้าใกล้ 1 ดังนั้น ฐาน DCT นี้จึงเหมาะที่จะใช้แทนไอเก้นเวกเตอร์ซึ่งเป็นฐานที่ดีที่สุดในการบีบอัดสัญญาณประเภทนี้ === ความสัมพันธ์ของ DCT ทั้ง 8 ชนิด === เช่นเดียวกับการแปลงฟูริเยร์ไม่ต่อเนื่อง(DFT) DCT นี้ก็เป็นการวิเคราะห์ฮาร์โมนิก เพียงแต่ฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเป็นจำนวนจริง [2]ได้แสดงถึงชุดที่สมบูรณ์ทั้ง 8 ของ DCT และ DST โดยการวิเคราห์ฮาร์โมนิกที่เป็นจำนวนเต็ม(integer harmonics) และ ครึ่งจำนวนเต็ม(half integer harmonics)ของสัญญาณ ในลักษณะเดียวกับที่ เมทริกซ์เซอร์คิวแลนท์(circulant matrix) ซึ่งมี เมทริกซ์ DFT เป็นไอเก้น เมทริกซ์ที่มีเมตริกซ์ DCT เป็นไอเก้นนั้นจะอยู่ในรูปของ เมทริกซ์โทปลิทซ์(Toeplitz matrix)+เมทริกซ์เฮงเคิล(Hankel matrix)(หรือ ใกล้เคียง)และคูณด้วยค่าสเกล ซึ่งแทนการกระทำ คอนโวลูชันแบบสมมาตร(symmetric convolution) จาก การคอนโวลูชัน และ เงื่อนไขความสมมาตรที่ขอบ (ในลักษณะเดียวกับ เซอร์คิวแลนท์เมทริกซ์ แทนการกระทำคอนโวลูชันเป็นวงรอบ(circular convolution)) ค่าสเกลนั้นใช้ในการจัดเมทริกซ์ให้อยู่ในรูปสมมาตร เพื่อจะได้ไอเก้นเวกเตอร์ ที่ออทอโกนัล :ดูเพิ่ม [4] ภาพด้านล่างเป็นการแสดงสัญญาณเสมือน(ซึ่งเป็นการต่อสัญญาณดั้งเดิมออกไป เป็นสัญญาณคาบที่มีความยาวไม่จำกัด) ของสัญญาณดั้งเดิมซึ่งมีความยาวจำกัด N(จาก 0 ถึง N-1) และเป็นไปตามเงื่อนไขขอบ ที่ จุด (midpoint) หรือ กึ่งกลางระหว่างจุด (meshpoint) โดยเงื่อนไขขอบด้านซ้าย หรือ จุดต้น นั้นจะเป็นเงื่อนไขความสมมาตร และ เงื่อนไขขอบด้านขวา หรือ จุดปลาย นั้นจะเงื่อนไขเพื่อสร้างสัญญาณคาบ(เป็นได้ทั้ง สมมาตร(symmetry) และ สมมาตรกลับ(antisymmetry)) ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 รูปแบบดังแสดงในรูป {| border="1" cellpadding="5" cellspacing="0" align = "center" |+ สัญญาณเสมือน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข ขอบซ้าย(สมมาตร) และ ขอบขวา(คาบ)-ดัดแปลงจาก ภาพ2ใน[3] |- ! style="background:#efefef;" | ชนิด ! style="background:#efefef;" | ความยาวคาบคู่ ! style="background:#efefef;" | ชนิด ! style="background:#efefef;" | ความยาวคาบคี่ |- | DCT-I | 300px | DCT-V | 300px |- | DCT-II | 300px | DCT-VI | 300px |- | DCT-III | 300px | DCT-VII | 300px |- | DCT-IV | 300px | DCT-VIII | 300px |- |} == อ้างอิง == N.Ahmed, T. Natarajan, K. R. Rao, "Discrete cosine transform," IEEE Trans. Comput., C-23(1974), pp. 90-93. Z. Wang and B. Hunt, "The discrete W-transform," Appl. Math. Comput., 16 (1985), pp. 19-48. S. A. Martucci, "Symmetric convolution and the discrete sine and cosine transforms," IEEE Trans. Sig. Processing, SP-42, 1038-1051 (1994). G. Strang, "The Discrete Cosine Transform," Siam Review, vol. 41, no.1, pp. 135-147. == แหล่งข้อมูลเถื่อน == discrete cosine transform ที่ PlanetMath การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล คณิตศาสตร์ การแปลง เอช.26x
thaiwikipedia
1,246
มังงะ
มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะ ละครโทรทัศน์ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น == ประวัติ == คำว่า มังงะ แปลตรงตัวว่า "ภาพตามอารมณ์" ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกหลังจากจิตรกรอุคิโยเอะชื่อโฮคุไซตีพิมพ์หนังสือชื่อโฮคุไซมังงะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเห็นว่ามังงะอาจมีประวัติยาวนานกว่านั้น โดยมีหลักฐานคือภาพจิกะ (แปลตรงตัวว่า "ภาพตลก") ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกับมังงะในปัจจุบัน อาทิ การเน้นเนื้อเรื่อง และการใช้เส้นที่เรียบง่ายแต่สละสลวย เป็นต้น มังงะพัฒนามาจากการผสมผสานศิลปะการวาดภาพแบบอุคิโยเอะกับจิตรกรรมตะวันตก ความพยายามของญี่ปุ่นที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันกับมหาอำนาจตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒนธรรมตะวันตกหลาย ๆ รูปแบบ รวมทั้งการจ้างศิลปินตะวันตกมาสอนศิลปินญี่ปุ่นเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ เช่น เส้น รูปทรง และสี ซึ่งการวาดภาพแบบอุคิโยเอะไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากคิดว่าความรู้สึกโดยรวมของภาพสำคัญกว่า อย่างไรก็ดี มังงะที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ในศตวรรษที่ 21 คำว่ามังงะเปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถึงหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ดีคนญี่ปุ่นมักใช้คำนี้เรียกหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก ส่วนหนังสือการ์ตูนทั่วไปใช้คำว่า コミックス (คอมิกส์) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ของ comics ในภาษาอังกฤษ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ มังงะ (manga) ถูกใช้เรียกหนังสือการ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยการใช้คำว่ามังงะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก มังงะมีความสำคัญวัฒนธรรมญี่ปุ่นและได้รับการยอมรับจากคนญี่ปุ่นว่าเป็นวิจิตรศิลป์และวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง มังงะในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษนิยมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศอย่างกว้างขวางว่ามีความรุนแรงและเนื้อหาทางเพศปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่มีกฎหมายจัดระเบียบมังงะ เว้นแต่กฎหมายคลุมเครือฉบับหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "ห้ามผู้ใดจัดจำหน่ายสื่อที่ขัดต่อความดีงามของสังคมจนเกินไป" เท่านั้น นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นจีงมีเสรีภาพที่จะเขียนมังงะที่มีเนื้อหาทุกแนวสำหรับผู้อ่านทุกกลุ่ม == ลักษณะเฉพาะตัวของมังงะ == รูปในมังงะส่วนใหญ่จะเน้นเส้นมากกว่ารูปทรงและการให้แสงเงา การจัดช่องภาพจะไม่ตายตัวเหมือนการ์ตูนสี่ช่องหรือการ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์ การอ่านมังงะจะอ่านจากขวาไปซ้ายตามวิธีเขียนหนังสือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าตัวละครในมังงะมักจะดูเหมือนคนตะวันตกหรือไม่ก็มีนัยน์ตาขนาดใหญ่ ความใหญ่ของตากลายมาเป็นลักษณะเด่นของมังงะและอนิเมะตั้งแต่ยุคปี 1960 เมื่อเทะซึกะ โอะซะมุ ผู้เขียนเรื่องแอสโตรบอยซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของมังงะในปัจจุบัน เริ่มวาดตาของตัวละครแบบนั้น โดยเอาแบบมาจากตัวการ์ตูนของดิสนีย์ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่านักเขียนการ์ตูนทุกคนจะวาดตัวละครให้มีตาใหญ่เสมอไป มังงะนั้นจะถูกแยกจาก comic อย่างเด่นชัดเพราะเป็นการเขียนเทคนิกการถ่ายทำภาพยนตร์ (cinematic style) โดยผู้เขียนจะทำการเขียนภาพระยะไกลระยะใกล้ระยะประชิด เปลี่ยนมุมมองและตัดต่อเนื้อหาเรื่องราวอย่างฉับไวโดยใช้เส้น speed เพิ่มความเร็ว == การตีพิมพ์มังงะ == หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ในญี่ปุ่นจะตีพิมพ์มังงะหลาย ๆ เรื่องพร้อมกัน โดยแต่ละเรื่องจะมีประมาณ 10 ถึง 40 หน้าต่อฉบับ หนังสือเหล่านี้มักจะตีพิมพ์โดยใช้กระดาษคุณภาพต่ำและมีจำนวนหน้าตั้งแต่ 200 ถึง 850 หน้า นอกจากนี้บางครั้งยังตีพิมพ์การ์ตูนจบในตอนและการ์ตูนสี่ช่อง มังงะเรื่องหนึ่ง ๆ อาจจะถูกตีพิมพ์อยู่หลายปีถ้าหากได้รับความนิยมสูง นักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเขียนการ์ตูนจบในตอนก่อนเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง ซึ่งถ้าได้รับความนิยมก็จะได้เขียนมังงะเรื่องยาวต่อไป หลังจากที่มังงะเรื่องหนึ่ง ๆ ถูกตีพิมพ์ไปได้ระยะหนึ่ง สำนักพิมพ์ก็จะรวบรวมมาตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม (ญี่ปุ่น: ทังโคบง) โดยใช้กระดาษคุณภาพสูง เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการไล่ตามมังงะเรื่องที่กำลังตีพิมพ์อยู่หรือผู้ที่ไม่สะดวกกับการซื้อหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ มังงะที่มีชื่อเสียงอาจจะถูกรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน "ฉบับพิเศษ" ซึ่งอาจมีปกแข็ง พิมพ์ด้วยหมึกสามสี หรือมีจำนวนตอนมากกว่าหนังสือการ์ตูนรวมเล่มทั่วไป โดยมีนักสะสมเป็นกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้มังงะเก่า ๆ ยังถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่ด้วยกระดาษคุณภาพต่ำลงและจำหน่ายในราคาเล่มละประมาณ 100 เยนเพื่อแข่งกับมังงะมือสอง มังงะโดยหลักแล้วจะแบ่งออกเป็นประเภทตามเพศและอายุของกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชาย (โชเน็น) และสำหรับเด็กผู้หญิง (โชโจะ) จะมีรูปหน้าปกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่วางขายบนชั้นหนังสือเดียวกัน นักเขียนการ์ตูนบางคนจะเพิ่มหน้าพิเศษเรียกว่า โอมาเกะ (แปลตรงตัวว่า "ของแถม") ลงในหนังสือการ์ตูนรวมเล่ม โอมาเกะมักจะเล่าการออกแบบตัวละครและฉาก มีภาพร่างมังงะ หรือไม่ก็เป็นมังงะหรือข้อเขียนอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับมังงะในเล่มเลย โดจินชิคือมังงะที่ตีพิมพ์อย่างไม่เป็นทางการโดยผู้ติดตามมังงะ โดจินชิส่วนมากจะเขียนขึ้นโดยนำตัวละครและเนื้อเรื่องจากมังงะที่วางขายอยู่ในตลาดมาแต่งเติม หรือไม่ก็เขียนเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่แต่ยังใช้ตัวละครเดิมอยู่ ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีบริษัทรวบรวมโดจินชิของมังงะ อนิเมะ หรือเกมที่มีชื่อเสียงมาตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน และมีร้านการ์ตูนจำนวนหนึ่งที่ขายแต่โดจินชิ คอมิเก็ตเป็นเทศกาลขายตรงโดจินชิขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นปีละสองครั้ง โดยมีศิลปินเข้าร่วมงานถึงกว่า 10,000 กลุ่มและมีผู้เข้าชมงานแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 400,000 คน == มังงะนอกประเทศญี่ปุ่น == มังงะหลายเรื่องถูกแปลและจำหน่ายในประเทศหลาย ๆ ประเทศ อาทิ เกาหลี จีน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ฯลฯ ในประเทศไทย ธุรกิจมังงะเพิ่งจะมาเติบโตเมื่อสิบปีที่แล้ว โดยก่อนปี พ.ศ. 2536-2538 มังงะในไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่นและคุณภาพก็ไม่สู้จะดีนัก หลังจากนั้นจึงเริ่มมีบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกกฎหมายและตีพิมพ์มังงะอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ปัจจุบันมังงะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ตลาดมีขนาดใหญ่และมีบริษัทแข่งขันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีบริษัทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิบูลย์กิจ, สยามอินเตอร์คอมิกส์, เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์, รักพิมพ์, อนิแมกคอมมิค, เด๊กซ์เพรส, เซนชู, บงกช และฟีนิกซ์ และมีหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ซีคิดส์, บูม และเคซีวีคลีย์ ซึ่งทั้งหมดตีพิมพ์มังงะแนวโชเน็น เป็นที่น่าสังเกตว่ามังงะในไทยราคาถูกกว่ามังงะในต่างประเทศมาก เนื่องจากมังงะในประเทศญี่ปุ่นเขียนจากขวาไปซ้าย เวลาที่มังงะถูกแปลเป็นภาษาอื่น รูปภาพจะถูกกลับให้อ่านได้จากซ้ายไปขวา อย่างไรก็ดีนักเขียนการ์ตูนหลายคนไม่พอใจกับการกลับภาพและขอให้สำนักพิมพ์ในต่างประเทศตีพิมพ์มังงะให้อ่านจากขวาไปซ้ายเหมือนต้นฉบับ ในปัจจุบัน สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตีพิมพ์มังงะให้อ่านจากขวาไปซ้ายมากขึ้น เนื่องจากต้องการแสดงความเคารพต่อศิลปิน ผนวกกับเสียงเรียกร้องจากนักอ่านมังงะ หรือไม่ก็เป็นเพราะไม่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่จากสำนักพิมพ์ หมายถึง สำนักพิมพ์อาจไม่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัทต้นสังกัดให้กลับด้านการ์ตูนให้เป็นซ้ายไปขวาได้ ในสหรัฐอเมริกา ธุรกิจมังงะยังมีขนาดเล็ก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับธุรกิจอนิเมะซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง บริษัทตีพิมพ์มังงะที่มีชื่อเสียงในอเมริกาบริษัทหนึ่งคือ วิซมีเดีย (Viz Media) ซึ่งตีพิมพ์มังงะของโชงะกุกังและชูเอฉะ เช่น อีวานเกเลียน ดราก้อนบอล เทนจิกับเพิ่อนต่างดาว ซามุไรพเนจร คนเก่งทะลุโลก เกมกลคนอัจฉริยะ และผลงานของ รุมิโกะ ทากาฮาชิ หลาย ๆ เรื่อง อีกบริษัทหนึ่งคือ โตเกียวป๊อป (TOKYOPOP) ซึ่งใช้การพิมพ์มังงะโดยคงวิธีการอ่านแบบญี่ปุ่นไว้เป็นจุดขาย และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างความนิยมมังงะในอเมริกา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่นหญิง อย่างไรก็ดียังมีนักวิจารณ์บางกลุ่มกล่าวว่าทางบริษัทเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ แปลได้ใจความไม่ตรงกับต้นฉบับ และภาษาที่ใช้ (หลังจากการแปลแล้ว) ค่อนข้างหยาบคาย ฝรั่งเศสมีตลาดมังงะที่แข็งแรงและมีความหลากหลาย มังงะหลายเรื่องที่ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอยู่ในแนวที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนอกประเทศญี่ปุ่นนัก เช่น ดราม่าสำหรับผู้ใหญ่ หรือมังงะแนวทดลองต่าง ๆ นักเขียนการ์ตูนอย่าง จิโระ ทานิกุชิ ซึ่งแทบไม่มีคนรู้จักในประเทศอื่น มีชื่อเสียงอย่างมากในฝรั่งเศส สาเหตุหนึ่งที่มังงะได้รับความนิยมอย่างสูงในฝรั่งเศสคือความที่ฝรั่งเศสมีตลาดการ์ตูนเชื้อชาติฝรั่งเศสอยู่ก่อนแล้ว สำนักพิมพ์ชวงยีตีพิมพ์มังงะเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีนในสิงคโปร์ และส่งออกหนังสือการ์ตูนภาษาอังกฤษส่วนหนึ่งไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในอินโดนีเซีย มังงะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ทำให้อินโดนีเซียเป็นตลาดมังงะขนาดใหญ่ที่สุดนอกญี่ปุ่น สำนักพิมพ์ในอินโดนีเชียที่มีชื่อเสียงได้แก่ อีเล็กซ์มีเดียคอมพุทินโด (Elex Media Komputindo) อะโคไลท์ (Acolyte) และกรามีเดีย (Gramedia) นอกจากนี้มังงะยังเป็นตัวจุดประกายการ์ตูนเชื้อสายอินโดนีเซียอีกด้วย ในออสเตรเลีย มังงะชื่อดังหลายเรื่องถูกจัดจำหน่ายโดยบริษัท แม้ดแมน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (Madman Entertainment) มังงะสามารถพบได้ทั่วไปบนแผงหนังสือในประเทศเกาหลี อย่างไรก็ดีนักอ่านส่วนใหญ่นิยมอ่านมังงะทางอินเทอร์เน็ตเนื่องจากราคาถูกกว่า บริษัทตีพิมพ์มังงะที่มีชื่อในเกาหลี ได้แก่ ไดวอน (Daiwon) และโซลมังฮวาซา (Seol Munhwasa) สแกนเลชันเป็นการเผยแพร่มังงะทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วผู้ติดตามมังงะจำนวนหนึ่งจะรวมตัวกันสแกนมังงะที่ยังไม่ถูกซื้อลิขสิทธิ์ในประเทศของตน แปล เปลี่ยนข้อความให้เป็นภาษาใหม่ และเปิดให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านทางไออาร์ซีหรือบิททอร์เรนท์ กลุ่มสแกนเลชันส่วนใหญ่ขอให้ผู้อ่านหยุดแจกจ่ายมังงะของตนและซื้อหนังสือการ์ตูนที่ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ดียังเป็นที่วิตกกันว่าการแจกจ่ายมังงะที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์แล้วจะไม่จบลงง่าย ๆ == ประเภทของมังงะ == ประเภทของมังงะที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถนำไปใช้กับอนิเมะ, ละครโทรทัศน์และเกมได้ด้วย === ตามกลุ่มเป้าหมาย === เด็ก โชโจะ เด็กวัยรุ่นหญิง โชเน็น เด็กวัยรุ่นชาย โจะเซ (หรือ เรดิโคมิ) ผู้หญิง เซเน็น ผู้ชาย === ตามเนื้อหา === === ตามรูปแบบ === โชเน็นไอ ยะโอะอิ โชโจะไอ ยุริ โลลิคอน == มังงะที่มีชื่อเสียง == === โชเน็น === ดราก้อนบอล เซนต์เซย่า ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน สแลมดังก์ ซามูไรพเนจร วันพีซ ราชันย์แห่งภูต เทพอสูรจิ้งจอกเงิน นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ แขนกล คนแปรธาตุ เทพมรณะ เดธโน้ต จีทีโอ กินทามะ === โชโจะ === นานะ รหัสลับ เซเลอร์วี เซเลอร์มูน มาร์มาเลดบอย สาวแกร่งแรงเกินร้อย (ฮานะโยริดังโงะ) ปริศนาพิทักษ์โลก (พลีสเซฟมายเอิร์ธ) อูเทนะ พลิกฟ้าตามหารัก (เรฟโวลูชันนารีเกิร์ลอุเทน่า) AYA ตำนานนางฟ้า (อายาชิ โนะ เซเรส) เรื่องธรรมดาของเธอกับฉัน (คาเรชิ คาโนโจะ โน จิโจ) เสน่ห์สาวข้าวปั้น สับขั้วมาลุ้นรัก (ฮานะซาคาริ โนะ คิมิทาจิ เอะ) X พลังล้างโลก === เซเน็น === 3x3 Eyes อากิร่า ไม่เหมือนคน เบอร์เซิร์ก เบลดออกดือิมมอร์ทอล โกสอินเดอะเชล โคซุเระโอกามิ มอนสเตอร์ เฮลซิง == ดูเพิ่ม == การ์ตูนญี่ปุ่น อนิเมะ เกมคอมพิวเตอร์ โดจินชิ คอสเพลย์ คอมิกส์ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == * การ์ตูนญี่ปุ่น ศัพท์ในการ์ตูนญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น นิทัศน์
thaiwikipedia
1,247
ประเทศฮังการี
ฮังการี (Hungary, Magyarország มอดยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อจยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อจยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลตา เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือบูดาเปสต์ เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ แดแบร็ตแซ็น แซแก็ด มิชโกลส์ เปช และ เยอร์ ดินแดนของฮังการีในปัจจุบันมีผู้เข้ามาอาศัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายศตวรรษ รวมถึงชาวเคลต์, โรมัน, เจอร์แมนิก, ฮัน, สลาฟตะวันตก และอาวาร์ รากฐานของรัฐฮังการีได้รับการสถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยอาร์ปาด เจ้าชายหัวหน้าเผ่าฮังการี หลังจากการพิชิตที่ราบพันโนเนีย พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 เหลนของเขาได้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1000 พระองค์เปลี่ยนอาณาจักรของพระองค์เป็นอาณาจักรคริสเตียน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ฮังการีกลายเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค และเข้าสู่ยุครุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากยุทธการที่โมฮัชจ์ใน ค.ศ. 1526 บางส่วนของฮังการีถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1541–1699) ต่อมาก็อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต่อมาได้ร่วมกับออสเตรียก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นมหาอำนาจของยุโรป จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสนธิสัญญาทรียานงได้กำหนดเขตแดนของฮังการีตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้สูญเสียดินแดนร้อยละ 71, ประชากรร้อยละ 58 และกลุ่มชาติพันธุ์ฮังการีร้อยละ 32 หลังจากสมัยระหว่างสงครามที่วุ่นวาย ฮังการีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับความเสียหายมีผู้ล้มตายจำนวนมาก ฮังการีกลายเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมซึ่งดำรงอยู่ถึงสี่ทศวรรษ (ค.ศ. 1949–1989) ประเทศนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับสากลอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติใน ค.ศ. 1956 และการเปิดพรมแดนด้านที่ติดกับออสเตรียใน ค.ศ. 1989 ซึ่งเร่งการล่มสลายของกลุ่มตะวันออก และในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1989 ฮังการีได้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ฮังการีเป็นประเทศอำนาจปานกลาง และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับ 57 จากการจัดอันดับราคาตลาดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อเป็นอันดับที่ 58 จาก 191 ประเทศ ซึ่งวัดโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ดำเนินการที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ฮังการีเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 35 และผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 34 ฮังการีเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงพร้อมกับมาตรฐานการครองชีพที่สูงมาก มีระบบหลักประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ฮังการีมีผลการดำเนินงานที่ดีในระดับสากล โดยติดอันดับที่ 20 ในด้านคุณภาพชีวิต, อันดับที่ 24 ในดัชนีประเทศที่ดี, อันดับที่ 28 ของดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งปรับตัวเลขความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแล้ว, อันดับที่ 32 ในดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม, อันดับที่ 33 ในดัชนีนวัตกรรมระดับโลก และติดอันดับประเทศที่ปลอดภัยที่สุดเป็นอันดับที่ 15 ของโลก ประเทศฮังการีเข้าร่วมสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 2004 และเป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเกนตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ฮังการีเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ องค์การการค้าโลก ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย สภายุโรป กลุ่มวิแชกราด และอื่น ๆ ฮังการีเป็นที่รู้จักกันดีจากประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรมอันยาวนาน โดยมีส่วนสำคัญในด้านศิลปะ ดนตรี วรรณคดี กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ฮังการีเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวในยุโรป โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 24.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2019 และฮังการียังเป็นที่ตั้งของระบบถ้ำบ่อน้ำร้อนที่ใหญ่ที่สุดและทะเลสาบน้ำร้อนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปกลาง และทุ่งหญ้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป == นิรุกติศาสตร์ == ในภาษาไทย คำว่า "ฮังการี" มีที่มาจากภาษาอังกฤษ (Hungary) ซึ่งมีที่มาจากภาษาละตินว่า "ฮุงการเรีย" Hungaria อักษร "ฮ" ในชื่อของประเทศฮังการี (Hungary) คาดว่าเกิดจากการชื่อเรียก ชาวฮัน ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในแถบที่ราบพันโนเนียช่วงก่อนการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ก่อนการรุกรานของเผ่าอาวาร์ ส่วนที่เหลือของคำ มาจาคำภาษากรีกของจักรวรรดิโรมันตะวันออกว่า Oungroi (Οὔγγροι) ชื่อภาษากรีกถูกยืมมาจากคำภาษาบัลแกเรียโบราณคำว่า  ągrinŭ ซึ่งยืมมาจากคำภาษาภาษาโอกูร์ (Oghur) (ในกลุ่มภาษาเตอร์กิก) คำว่า Onogur (10 เผ่าโอกูร์) Onogur เป็นชื่อเรียกรวมของชนเผ่าที่เข้าร่วมกับสมาพันธ์ชนเผ่าบัลแกเรีย ซึ่งปกครองส่วนตะวันออกของที่ราบพันโนเนีย หลังจากการรุกรานของเผ่าอาวาร์ คำว่า "ประเทศฮังการี" ในภาษาฮังการี เรียกว่า Magyarország (อ่านว่า ม็อดยอโรร์สาก) ประกอบด้วย "ม็อจยอร์" (magyar: ชาวม็อจยอร์ หรือ ชาวฮังการี) และ "โอรสาก" (ország: ประเทศ/แผ่นดิน) ชื่อ "ม็อจยอร์" ซึ่งหมายถึงผู้คนในประเทศนั้น คำว่า magyar นำมาจากชื่อของหนึ่งในเจ็ดชนเผ่าฮังการีกึ่งเร่ร่อนที่สำคัญ คือ เผ่าม็อดแยริ (magyeri) ซึ่ง คำว่า "magy" น่าจะมาจากคำภาษาโปรโตอูกริก ว่า "mäńć" แปลว่า "คน" ซึ่งคำนี้สามารถพบได้ในชื่อเรียกตนเองของชาวแมนซี (mansi: mäńćī, mańśi, måńś) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษากลุ่มฟินโน-อูกริกในแถบเทือกเขาอูรัลของประเทศรัสเซีย (ถิ่นอาศัยเดิมของบรรพบุรุษชาวฮังการี) องค์ประกอบที่สอง  "eri " แปลว่า ผู้ชาย หรือ เชื้อสาย ซึ่งคำนี้ยังมีหลงเหลืออยู่ในภาษาฮังการีปัจจุบัน คือคำว่า 'สามี' férj ชาวฮังการี และเหลือในคำภาษามาริ (Mari) คำว่า erge 'ลูกชาย' และคำภาษาฟินแลนด์โบราณ yrkä 'ชายหนุ่ม' == ประวัติศาสตร์ == === แคว้นพันโนเนีย ก่อนปี ค.ศ. 895 === ก่อนการพิชิตที่ราบพันโนเนียของชาวฮังการี จักรวรรดิโรมันได้ทำการพิชิตดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำดานูบ ระหว่าง 35 ถึง 9 ปีก่อนคริสตกาล โดยตั้งแต่ 9 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงปลายศตวรรษที่ 4 แคว้นพันโนเนีย (Pannonia) ทางตะวันตกของที่ราบพันโนเนีย มีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน โดยมีการตั้งเมืองขึ้นในที่ราบพันโนเนียหลายเมือง เช่น เมืองซาวาเรีย (Savaria ปัจจุบันคือ เมืองโซมบ็อตแฮลย์ Szombathely ทางตะวันตกของฮังการี) และเมืองอาควินคุม (Aquincum ปัจจุบันคือ เมืองโอบูดอ Óbuda ฝั่งตะวันตกตอนเหนือในอาณาเขตของกรุงบูดาเปสต์) หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกจากปัญหาภายในและการรุกรานของอนารยชน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 มีชนเผ่าจากยุโรปตะวันออกจำนวนมากเข้ามาในยุโรปกลางโดยเริ่มต้นด้วยกลุ่มชาวฮัน ได้ทำการโจมตียึดครองยุโรปตะวันออก ตั้งเป็นอาณาจักรฮันนิก ผู้ปกครองที่มีอำนาจที่สุดของอาณาจักรฮันนิก คือ อัตติลาเดอะฮัน (ค.ศ. 434–453) ซึ่งต่อมาได้มีการสลายตัวไป หลังจากการสลายตัวของอาณาจักรฮันนิก ชาวเกปิดส์ (Gepids) ซึ่งเป็นชนเผ่าเยอรมันดั้งเดิมทางตะวันออกซึ่งถูกพวกฮันส์ยึดครองได้ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นในที่ราบพันโนเนีย กลุ่มอื่น ๆ ที่มาถึงแอ่งคาร์เพเทียนในช่วงการอพยพ ได้แก่ ชาวก็อธ แวนดัล ลอมบาร์ด และ ชาวสลาฟ ในช่วงทศวรรษที่ 560 ชาวอาวาร์ได้ก่อตั้งจักรวรรดิข่านอาวาร์ ซึ่งเป็นรัฐที่รักษาอำนาจสูงสุดในภูมิภาคนี้มานานกว่าสองศตวรรษ ชาวแฟรงค์ภายใต้กษัตริย์ชาร์เลอมาญเอาชนะเผ่าอาวาร์ลงได้ในสมรภูมิรบ ช่วงทศวรรษที่ 790 ทำให้เผ่าอาวาร์ถอนตัวออกจากยุโรปกลาง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 9 อาณาเขตของทะเลสาบบอลอโตนได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็น  อาณาจักรชายแดนพันโนเนียของอาณาจักรแฟรงค์ (Frankish March of Pannonia) ส่วนด้านตะวันออกของแม่น้ำดานูบถูกยึดครองโดยจักรวรรดิบัลแกเรียแห่งแรก โดยพวกบัลแกเรียเข้ายึดการปกครองของชนเผ่าสลาฟในท้องถิ่นและเผ่าอาวาร์ที่หลงเหลืออยู่ === การบุกทวีปยุโรป และการพิชิตที่ราบพันโนเนียของชาวฮังการี ค.ศ. 895 - ค.ศ. 972 === ชาวฮังการี หรือ ชาวม็อจยอร์ ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้การนำของหัวหน้าเผ่า นามว่า อาร์พาด (Árpád) ผู้สืบเชื้อสายตามประเพณีของอัตติลาเดอะฮัน (Attila) ได้ทำการพิชิตที่ราบพันโนเนีย (Honfoglalás ฮงโฟ้กลอลาช) ตั้งรกรากอยู่ในที่ราบพันโนเนีย เริ่มตั้งแต่ปี 895 ในรูปแบบสหพันธ์ชนเผ่าที่เป็นปึกแผ่น (Törzsszövetség) ตามทฤษฎี Finno-Ugrian เผ่าฮังการีมีต้นกำเนิดมาจากประชากรที่พูดภาษาฟินโน-อูราลิก (Finnugor nyelv)โบราณซึ่งเดิมเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าระหว่างแม่น้ำโวลก้าและเทือกเขาอูราลตอนใต้ ในแถบไซบีเรีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศรัสเซีย) โดยในปี ค.ศ. 830 ชาวม็อจยอร์ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบตอนเหนือของทะเลดำ ก่อนชาวม็อจยอร์จะอพยพเข้ามาในในยุโรปตะวันออก ชาวม็อจยอร์มีวิถีชีวิตคล้ายกับชนเร่ร่อนในที่ราบยูเรเชียเช่นกลุ่มชนเตอร์กิกและชาวฮันที่เคยพิชิตที่ราบพันโนเนีย ทำให้ชาวมอจยอร์และชนยุโรปร่วมสมัยเข้าใจผิดว่าชาวม็อจยอร์สืบเชี้ยสายมาจากชาวฮัน ซึ่งช่วยเพิ่มความหวาดกลัวต่อกลุ่มคนเร่ร่อนในหมู่ประเทศที่ชาวม็อจยอร์กำลังบุกโจมตี ในพื้นที่รอบๆที่ราบพันโนเนียในยุโรป ความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวฮันและชาวม็อจยอร์ได้อยู่มานานหลายศตวรรต โดยมีหลักฐานปรากฏว่าชาวม็อจยอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าราชวงศ์อารปาด ซึ่งปกครองฮังการีในฐานะเจ้าชาย (Grand Prince of the Hungarians, Nagyfejedelem) และต่อมาในฐานะกษัตริย์ (King of the Hungarians, Kiraly) สืบเชื้อสายโดยตรงมาจากอัตติลาเดอะฮัน (Attila) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรตที่ 13 (Gesta Hungarorum, c. 1200) จนถึงศตวรรตที่ 19 (Himnusz) และในปัจจุบัน ชื่อผู้ชาย "Atilla" (อ็อตติลลอ ในภาษาฮังกาเรียน) ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชาวฮังกาเรียน ราชรัฐฮังการี (Principality of Hungary, Magyar Nagyfejedelemség) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 895 ประมาณ 50 ปีหลังจากการแบ่งจักรวรรดิแคโรลิงเกียนตามสนธิสัญญาแวร์ดุนในปี ค.ศ. 843 ก่อนการรวมอาณาจักรแองโกล - แซกซอน ในขั้นต้นราชรัฐฮังการี (หรือที่เรียกว่า "Western Tourkia" ในแหล่งข้อมูลกรีกยุคกลาง) เป็นรัฐที่สร้างขึ้นโดยเผ่าเร่ร่อน มีการปกครองที่มีประสิทธิภาพและมีอำนาจทางทหารที่สูง ทำให้ชาวฮังการีประสบความสำเร็จในการรบอย่างดุเดือดโดยชาวฮังการีทำการบุกเมืองในยุโรปตั้งแต่กรุงคอนสแตนติโนเปิลทางตะวันออก ไปจนถึง แถบคาบสมุทรสเปนในปัจจุบัน ชาวฮังการีเอาชนะกองทัพจักรวรรดิแฟรงกิชตะวันออกที่สำคัญไม่น้อยกว่าสามกองทัพ ระหว่างปี ค.ศ. 907 ถึง 910 แต่ก็ได้หยุดการรุกรานเกือบทั้งหมด หลังความพ่ายแพ้ของกองทัพฮังการีในสมรภูมิเลชเฟลด์ในปี ค.ศ. 955 และทำการตั้งถิ่นฐานในที่ราบพันโนเนีย ล้อมรอบไปด้วยภูเขาคาร์เพเทียในแอ่งคาร์เพเทียน === ยุคของราชวงศ์อาร์พาด ค.ศ. 972-ค.ศ. 1308 === พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการี หรือ กษัตริย์เซนต์สตีเฟน (I. István király) กษัตริย์องค์แรกของฮังการี เปลี่ยนให้เผ่าฮังการีมานับถือศาสนาคริสต์ และ สถานปนาตนเองเป็นกษัตร์ย์ (király) ของฮังการี ปี ค.ศ. 972 เป็นปีที่แกรนด์พรินซ์ (ฮังการี: fejedelem) เกซอ (Géza fejedelem) แห่งราชวงศ์อาร์พาด เริ่มเปลี่ยนศาสนาของเผ่าฮังการีให้เข้ากับยุโรปตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์ เซนต์สตีเฟน (พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการี) บุตรชายคนแรกของเขากลายเป็นกษัตริย์องค์แรกของฮังการี หลังเอาชนะหัวหน้าเผ่าโคปปาญ (Koppány vezér) ลุงของอิชน์วานผู้นับถือลัทธิเพเกิน (Pogány) ฮังการีซึ่งอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ด้วย ภายใต้พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการี ประเทศฮังการีได้รับการยอมรับว่าเป็นอาณาจักรคริสเตียน หลังเข้าพบกับสมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการีได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์คนแรกของชาวม็อจยอร์ในปี ค.ศ. 1000 โดยพระสันตะปาปา ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะของรัฐม็อจยอร์ จากราชรัฐที่ปกครองโดยเจ้าชาย เป็นราชอาณาจักรคาทอลิคที่มีกษัตริย์ และนอกจากการสถาปนากษัตริย์แล้ว ชาวม็อจยอร์ยังได้รับมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง (ซึ่งอาจรวมถึง มงกุฎเซนต์สตีเฟน ซึ่งปัจจุบันเก็บไว้ในรัฐสภาฮังการี) จากพระสันตะปาปา ใน ค.ศ. 1006 พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 แห่งฮังการีได้รวมอำนาจและเริ่มการปฏิรูปอย่างกว้างขวางเพื่อเปลี่ยนฮังการีให้เป็นรัฐศักดินาแบบตะวันตก ประเทศฮังการีเปลี่ยนมาใช้ภาษาละติน และ จนถึงปลายปี ค.ศ. 1844 ภาษาละตินยังคงเป็นภาษาราชการของฮังการี ในช่วงเวลานี้ฮังการีเริ่มกลายเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจในยุโรปตะวันออก ลาสโล่ที่ 1 (I. László király) ขยายพรมแดนของฮังการีไปจนสุดเขตทรานซิลเวเนียและบุกโครเอเชียในปี ค.ศ. 1091 การบุกโครเอเชียสิ้นสุดลงในสมรภูมิภูเขากะวอซด์ (Battle of Gvozd Mountain) ในปี ค.ศ. 1097 และเป็นสหภาพส่วนบุคคลของโครเอเชียและฮังการีในปี 1102 ซึ่งปกครองโดย กษัตริย์คาลมานแห่งฮังการี (หรือ คาลมานผู้รักการอ่าน "Könyves Kálmán") กษัตริย์ที่ทรงอำนาจและมั่งคั่งที่สุดของราชวงศ์อาร์พาด คือ เบลอที่ 3 (III. Béla király) ซึ่งใช้จ่ายด้วยแร่เงินบริสุทธิ์ 23 ตันต่อปี ซึ่งมากกว่าการใช้จ่ายของกษัตริย์ฝรั่งเศส (ประมาณ 17 ตัน) และเป็นสองเท่าของรายวงศ์อังกฤษ กษัตริย์แอนดรูที่ 2 (II. András király) ได้ออกตราสาร Diploma Andreanum ซึ่งรับรองสิทธิพิเศษของเขตอยู่อาศัยของนิคมชาวเยอรมันแซ็กซันในเขตทรานซิลเวเนีย ถือเป็นกฎหมายเอกราชฉบับแรกของโลก และเป็นผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่ห้าไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1217 โดยตั้งกองทัพหลวงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามครูเสด ตราสารกระทิงทอง ปี ค.ศ. 1222 ของเขาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในภาคพื้นทวีปยุโรป ซึ่งทำให้เหล่าขุนนางเริ่มแสดงความคับข้องใจแก่แอนดรูว์ที่ 2 ซึ่งเป็นรากฐานที่นำไปสู่สถาบันรัฐสภา (parlamentum publicum) ในปีค. ศ. 1241–1242 อาณาจักรได้รับความเสียหายครั้งใหญ่จากการรุกรานของชาวมองโกล (โกลเดนฮอร์ด) มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากร 2 ล้านคนในฮังการีในขณะนั้นเสียชีวิตจากการรุกราน กษัตริย์เบลอที่ 4 (IV. Béla király) ปล่อยให้ชาวคูมัน (Cuman) และชาวยาสสิก (Jassic) เข้ามาในประเทศซึ่งกำลังหลบหนีชาวมองโกล และต่อมาชนชาติเหล่านี้ก็ได้ถูกกลืนเข้าไปเป็นประชากรฮังการี โดยหลังจากมองโกลล่าถอย กษัตริย์เบลอได้สั่งให้สร้างปราสาทหินและป้อมปราการหลายร้อยแห่งเพื่อป้องกันการรุกรานของชาวมองโกลครั้งที่สองที่อาจเกิดขึ้นได้ ชาวมองโกลกลับมาที่ฮังการีในปี ค.ศ. 1285 แต่ระบบปราสาทหินที่สร้างขึ้นใหม่และยุทธวิธีใหม่ (โดยใช้อัศวินติดอาวุธในสัดส่วนที่สูงกว่า) หยุดยั้งพวกมองโกลไว้ได้ ทำให้กองทัพมองโกลที่รุกรานพ่ายแพ้ ใกล้กับเมืองแป็ชต์ (ปัจจุบันคือบูดาเปสต์ฝั่งขวา) โดยกองทัพของลาสโล่ที่ 4 แห่งฮังการี (IV. László király) การรุกรานในภายหลังทัพมองโกลถูกขับไล่อย่างรวดเร็ว ชาวมองโกลสูญเสียกำลังรุกรานไปมาก และไม่สามารถผนวกฮังการีไว้ในดินแดนของจักรวรรดิมองโกล หลังจากชาวคูมันเข้ามาลี้ภัยในฮังการี ชาวคูมันได้ช่วยฮังการีรบกับมองโกล และได้รับดินแดนทางตอนใต้ของฮังการีเป็นการตอบแทน พื้นที่เหล่านี้แบ่งได้เป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ Cumania (Kunság), Greater Cumania (Nagykunság), และ Little Cumania (Kiskunság) ดินแดนเหล่านี้ยังคงทิ้งชื่อไว้ในชื่อสถานที่ในประเทศฮังการีปัจจุบัน เช่นจังหวัด Bács-Kiskun และ Kiskunhalas ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น Little Cumania (Kiskunság) ถึงแม้ความสัมพันธ์คูมัน-ม็อจยอร์จะไม่ได้ราบรื่นตลอดหลังจากการให้ดินแดน แต่ชาวคูมันถูกมองว่าเป็นกองกำลังสำคัญสำหรับฮังการีในการต่อต้านมองโกล ในยามที่ไร้สงคราม การเข้ามาตั้งรกรากของชาวคูมัน ทำให้ชนชั้นสูงและประชาชนชาวม็อจยอร์ไม่พอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังพระเจ้าลาซโลว์ที่ 4 แห่งฮังการี (Ladislaus IV) ซึ่งเป็นลูกครึ่งคูมันทางมารดา ได้มีปัญหากับคริสตจักร และโดนคว่ำบาทโดยฟิลิป บิชอปแห่งเฟอร์โม เนื่องจากไม่สามารถหยุดวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนและการประกอบพิธีศาสนาแพเกินของชาวคูมันในฮังการีได้ หลังจากถูกคว่ำบาตร พระเจ้าลาซโลว์ที่ 4 เริ่มสูญสิ้นอำนาจ ทำให้ในช่วงสุดท้ายของชีวิตต้องเร่ร่อนไปทั่วราชอาณาจักร และสุดท้ายก็โดนปลงพระชนม์โดยชาวคูมัน 3 คน ณ เมือง Körösszeg (ปัจจุบันคือ Toboliu ประเทศโรมาเนีย) ในที่สุด เมืองหลวงหลักของราชวงศ์อาร์พาดมีอยู่ 2 แห่ง คือ แอสแตร์โกม (Esztergom) และ เซแก็ชแฟเฮร์วาร์ (Székesfehérvár) ราชวงศ์อาร์พาด (Árpád-ház) หมดสิ้นทายาทฝ่ายชายในปี ค.ศ. 1301 ทำให้กษัตริย์ชาร์ลส์ โรแบร์ต (Károly Róbert) ทายาทสายเลือดอาร์พาดทางฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นลูกของกษัตริย์เมืองนาโปลี แห่งคาบสมุทรอิตาลี (ราชวงศ์อ็องฌู) ขึ้นเป็นกษัตริย์ฮังการีแทนในปีนั้นเอง === ยุคของราชวงศ์อ็องฌูและฮุนยอดิ ค.ศ. 1308-ค.ศ. 1526 === หลังจากผู้ปกครองคนสุดท้ายของราชวงศ์อาร์พาดเสียชีวิตในปี 1301 การต่อสู้แย่งชิงอำนาจทำให้ประเทศอ่อนแอลงเป็นหลายปี ในที่สุดราชวงศ์อ็องฌู (Anjou-ház) ซึ่งเป็นญาติของราชวงศ์อาร์พาดก็ได้รับอำนาจตลอดทั้งศตวรรษที่ 14 กษัตริย์ชาร์ลส์ โรแบรต์ (Charles Robert) กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์อ็องฌู ได้รวมศูนย์อำนาจ ในรัชสมัยลูกชายของเขา หลุยส์ที่ 1 แห่งฮังการีประเทศฮังการีมีเขตแดนที่กว้างที่ใหญ่ที่สุด เลยไปถึงเขตประเทศโปแลนด์ ตะวันออกของประเทศออสเตรีย และบางส่วนของแคว้นโบฮีเมียในปัจจุบัน มีรัฐบริวารหลายร้อยรัฐอยู่ใต้ราชอำนาจของประเทศฮังการี หนึ่งในเมืองศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดของกษัตริย์ราชวงศ์อ็องฌู (ถัดจากเมืองเซแก็ชแฟเฮร์วาร์และเมืองบูดา) คือเมืองวิแชกราด (Visegrád) ในศตวรรษที่ 15 ราชอาณาจักรฮังการีเป็นมหาอำนาจที่สำคัญในยุโรป ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิซีกิสมุนท์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Luxemburgi Zsigmond) ในตอนต้นของศตวรรษที่ 15 เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรวรรดิออตโตมันโดยสุลต่านตุรกี จึงมีการต่อสู้เกิดขึ้นบ่อยขึ้นที่ทางภาคใต้ของฮังการี ในปี ค.ศ. 1456 แม่ทัพยาโนช ฮุนยอดิ (Hunyadi János) แห่งตระกูลฮุนยอดิ (แคว้นฮุนยอด, ปัจจุบันคือ เทศมณฑลฮุนเนโดรา ประเทศโรมาเนีย) กลายเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารที่เก่งที่สุดในยุโรปที่ยุทธการการปิดล้อมเมืองนานโดร์แฟเฮร์วาร์ (Nándorfehérvár ปัจจุบันคือ กรุงเบลเกรด, ประเทศเซอร์เบีย) และ หยุดการพยายามพิชิตฮังการีของชาวตุรกีเป็นเวลา 100 ปี (ทุกวันนี้คริสตจักรหลายแห่งในโลก ใช้ระฆังด้านทิศใต้ในการระลึกถึงการสู้รบของชาวยุโรปที่เมืองนานโดร์แฟเฮร์วาร์) มาทยาช ฮุนยอดิ (Hunyadi Mátyás หรือ มัทธีอัส คอร์วินุส Matthias Corvinus) ลูกชายคนเล็กของยาโนช ฮุนยอดิ ได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1458 และปกครองจนถึงปี ค.ศ. 1490 ทำให้หลังจากการสูญพันธุ์ของราชวงศ์อาร์พาด มาทยาช ฮุนยอดิ เป็นกษัตริย์ของฮังการีองค์แรก รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นหนึ่งในยุครุ่งโรจน์ที่สุดของชาวฮังการี ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและเฉลียวฉลาด ในรัชสมัยของกษัตริย์มาทยาช ฮุนยอดิ ประเทศฮังการีได้มีพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่เจริญที่สุด ศูนย์กลางหลักของประเทศกลายเป็นเมืองบูดา พร้อมด้วยราชสำนักยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีชื่อเสียงของกษัตริย์แมเธียส ฮังการีเป็นประเทศแรกที่ได้รับวัฒนธรรมเรเนซองส์นอกประเทศอิตาลีในยุคนี้ ยุคนี้ฮังการีส่งออกโลหะมีค่า เช่น ทองแดง เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีตำนานพื้นบ้านที่บอกไว้ว่า กษัตริย์มาทยาชปลอมตัวเป็นคนธรรมดาเพื่อไปดูความเป็นอยู่ของประชาชน และ ดูแลคนยากจน กษัตริย์แมทเธียส คอร์วินุสได้ปกป้องพรมแดนด้านตะวันออกจากจักรวรรดิออตโตมัน และได้โจมตีดินแตนทางด้านตะวันตก ด้วยกองทัพของพระองค์ที่มีชื่อว่า "กองทัพดำ (Fekete Sereg)" ไกลจนถึงแคว้นโบฮีเมีย และ กรุงเวียนนา รวมถึงป้องกันการรุกรานจากพวกออตโตมันในทางตะวันออกได้ (ยุคนี้คือยุคเดียวกันกับวลาด ดรากูลา ซึ่งเป็นหนึ่งในด่านหน้าในการป้องกันการรุกรานของออตโตมันในวาลาเคียและทรานซิลเวเนียของฮังการี) กษัตริย์มาทยาช สวรรคตโดยไร้ซึ่งทายาทผู้ชอบธรรม และเกิดศึกการแย่งชิงบัลลังก์โดยลูกชายนอกสมรสของมาทยาช ชื่อว่า ยาโนช ฮุนยอดิ (János Hunyadi) และกษัตริย์โปแลนด์ที่เคยทำสงครามกับมาชยาชที่โบฮีเมีย ชื่อว่า อูลาสโล่ที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงครามชิงบัลลังก์ บัลลังก์แห่งฮังการีได้รับการสืบทอดโดย พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 2 ยากีลโลแห่งโปแลนด์ หรือ อูลาสโล่ที่ 2 (II. Úlászló király) กษัตริย์แห่งราชวงศ์ยากีลโล (ค.ศ. 1490-1516) ซึ่งทำให้ราชสำนักฮังการีเกิดความอ่อนแอ และ เกิดความสั่นคลอนทางอำนาจภายในราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1514 ภายใต้การนำทัพของ โดจอ เจิร์จย์ (Dózsa György) ขุนนางทรานซิลเวเนียผู้สูงศักดิ์ ได้รวมเหล่าไพร่จากทรานซิลเวเนียประมาณ 40,000 คน และอื่น ๆ จากทั่วประเทศ บุกเข้ายึดเมืองต่าง ๆ เพื่อยุติการกดขี่ของเหล่าขุนนางของกษัตริย์อูลาสโล่ที่ 2 จากทรานซิลเวเนีย การจลาจลถูกยับยั้งอย่างไร้ความปราณีโดยขุนนาง และ โดจอ เจิร์จย์ถูกประหารชีวิตโดยการนั่งบนบัลลังก์ร้อนและสวมมงกุฎร้อน เพื่อเย้ยหยันความพยายามที่จะตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ และ บังคับให้ผู้สมรู้ร่วมคิดกินเนื้อร้อนของโดจอ เจิร์จย์ เหตุการณ์ในครั้งนี้เรียกว่า "สงครามไพร่ฮังการี (magyar parasztháború)" และทำให้ฮังการีที่เสถียรภาพต่ำอยู่แล้ว เกิดการแบ่งฝักฝ่าย และ เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวฮังการีไม่สามารถรวมกันต่อสู้ออตโตมันได้เหมือนสมัยกษัตริย์มาทยาช ท้ายที่สุด ประเทศฮังการีเกือบทั้งหมดได้ตกไปอยู่ในการครอบครองของจักรวรรดิออตโตมัน หลังจากสงครามออตโตมัน ที่ฮังการีกับออตโตมันได้ทำการรบมานานกว่า 150 ปี ในยุคนี้ เมืองหลวงของราชอาณาจักรฮังการี คือ บูดอ แตแมชวาร์ วิแชกราด และ เวียนนา (ภายใต้การยึดครองของกษัตริย์แมทเธียส คอร์วินุสเป็นระยะเวลาชั่วคราว) === ยุคสงครามออตโตมัน ค.ศ. 1526 - 1699 === ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1520 จักรวรรดิออตโตมานได้โจมตีป้อมปราการชายแดนฮังการีทางตอนใต้อย่างต่อเนื่อง หลังจากสงครามกับชาวฮังการีและรัฐอื่น ๆ ราว 150 ปี การล่มสลายของเมืองนานโดร์แฟเฮร์วาร์ (Nándorfehérvár) (หรือ กรุงเบลเกรด ประเทศเซอร์เบียในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นประตูสำคัญทางใต้ของอาณาจักรฮังการีในยุคกลาง เป็นปัจจัยใหญ่ที่ทำให้ทัพจักรวรรดิออตโตมันเคลื่อนทัพสู่ที่ราบพันโนเนียได้ การโจมตีเมืองนานโดร์แฟเฮร์วาร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1521 ตามมาด้วยการโจมตีพื้นที่ด้านในของประเทศ จักรวรรดิออตโตมันได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพฮังการีในยุทธการที่โมฮาช ในปี ค.ศ. 1526 ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี สิ้นพระชนม์ขณะหลบหนี ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายทางการเมืองนั้น ขุนนางฮังการีที่แตกแยกได้เลือกกษัตริย์สองพระองค์ให้ปกครองราชอาณาจักรฮังการีพร้อมกัน คือ พระเจ้ายาโนชที่ 1 แห่งฮังการี (John Zápolya) และ จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Ferdinand I) แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ทัพของจักรวรรดิออตโตมันทำการโจมตีจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธ์อย่างต่อเนื่อง โดยทำการปิดล้อมกรุงเวียนนาในปี ค.ศ. 1529 แต่ไม่สามารถยึดได้สำเร็จ หลังการยึดครองกรุงบูดาโดยชาวเติร์กในปี ค.ศ. 1541 ฮังการีได้ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนและยังคงอยู่จนถึงสิ้นศตวรรษที่ 17 ทางตะวันตกเฉียงเหนือถูกผนวกโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ซึ่งปกครองในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี เรียกส่วนนี้ว่า ราชอาณาจักรฮังการี (Magyar királyság) เมืองหลวงอยู่ที่เมืองโปโจญ (Pozsony ปัจจุบันคือ กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย) แผ่นดินส่วนตะวันออกของราชอาณาจักรกลายเป็นเอกราชในฐานะราชรัฐทรานซิลเวเนีย (Erdélyi fejedelemség) ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาโปยอ (Zápolya) และกษัตริย์องค์อื่น ๆ จากการเลือกสรร รวมไปถึงโดยจักรวรรดิออตโตมัน และต่อมาโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค พื้นที่ศูนย์กลางที่เหลืออยู่รวมถึงเมืองหลวงบูดาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปาชาลิกแห่งบูดา (Pashalik of Buda) เป็นพื้นที่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน (Törög hódoltság) ทหารออตโตมัน 17,000-19,000 คน ประจำการอยู่ในป้อมปราการออตโตมันในดินแดนของฮังการี โดยเป็นชาวเติร์กออร์โธดอกซ์และชาวมุสลิมบอลข่านสลาฟ มากกว่าชาวตุรกี นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่จากกลุ่มชนสลาฟออร์ธอด็อกซ์ใต้ที่ทำหน้าที่เป็น ทหารราบอาคินยิ (akinji) และกองกำลังอื่น ๆ ที่มีไว้สำหรับการปล้นสะดมในดินแดนของฮังการีในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1686 กองทัพของโฮลีลีก (Holy League) ซึ่งมีทหารกว่า 74,000 คนจากชาติต่าง ๆ ได้ยึดคืนกรุงบูดาจากออตโตมันเติร์ก หลังจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของออตโตมานในอีกไม่กี่ปีต่อมา ราชอาณาจักรฮังการีทั้งหมดก็ถูกปลดออกจากการปกครองของออตโตมันในปี ค.ศ. 1718 การบุกเข้าไปในฮังการีครั้งสุดท้ายโดยข้าราชบริพารชาวเติร์กตาตาร์จากไครเมียเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1717 หลังพ้นจากการครอบครองของจักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออสเตรียของราชวงศ์ฮาร์พบวร์ก ได้ทำการยึดครอง และ ปกครองอาณาเขตทั้งหมดของราชอาณาจักรฮังการี ราชวงศ์ฮาร์พบวร์กได้ทำการปฏิรูปศาสนาและการปกครองในอาณาเขตราชอาณาจักรฮังการี ในศตวรรษที่ 17 ทำให้อาณาจักรส่วนใหญ่หันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แทนที่นิกายโปรแตสแตนท์ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของฮังการีได้รับการเปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐานอันเป็นผลมาจากสงครามที่ยืดเยื้อกับจักรวรรดิออตโตมัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความเสียหาย การเติบโตของประชากรถูกทำให้ชงัก และเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก ถูกทำลายราบคาบ รัฐบาลออสเตรียภายใต้จักรวรรดิออสเตรีย ได้ทำการตั้งถิ่นฐานชาวเซิร์บและชาวสลาฟอื่น ๆ ไว้ทางตอนใต้ที่ประชากรถูกกำจัดเกือบหมด และ ตั้งรกรากชาวเยอรมัน (เรียกว่า ดานูบสวาเบียน) ในหลายพื้นที่ แต่ชาวฮังการีไม่ได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานหรือตั้งถิ่นฐานใหม่ทางตอนใต้ของที่ราบฮังการีใหญ่ คงไว้เฉพาะตอนกลางและตอนเหนือเท่านั้น === ฮังการีภายใต้จักรวรรดิออสเตรีย ค.ศ. 1669 - ค.ศ. 1867 === ==== สงครามอิสรภาพของราโกตซี ค.ศ. 1703 - 1711 ==== ระหว่างปี 1703 ถึงปี 1711 ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย มีการลุกฮือครั้งใหญ่ที่นำโดยเจ้าชายราโกตซี แฟแร็นตส์ที่ 2 ซึ่งหลังจากการอ่อนกำลังลงของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ก จากการต่อสู้ภายใน (สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน) ทำให้ในปี ค.ศ. 1707 ณ สภาไดเอตแห่งโอโน็ต (Diet of Ónod) ราโกตซีได้เข้ามามีอำนาจชั่วคราวในฐานะเจ้าชายปกครองฮังการีในช่วงสงคราม แต่ปฏิเสธการขึ้นเป็นกษัตริย์ฮังการี และกลายเป็นสงครามเพื่อปลดแอกจากราชวงศ์ฮาร์พบวร์ก เรียกว่า สงครามอิสรภาพของราโกตซี โดยมีการรวมตัวเป็นกองทัพต่อต้านราชวงศ์ฮาพส์บวร์กโดยชาวฮังการี เรียกว่า กองทัพคุรุตซ์ (Kuruc) แม้ว่ากองทัพคุรุตซ์จะเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ แต่แพ้การสู้รบหลักที่แทร็นเชน (Trencsén) (ปัจจุบันคือเมือนเตรนซีน ประเทศสโลวาเกีย) ซึ่งส่งผลให้ใน ค.ศ. 1708 มา กองกำลังคุรุตซ์ ได้ทำการจำนน เนื่องจากการความพ่ายแพ้ต่อออสเตรียและขวัญกำลังใจที่ตกต่ำ ในทางกฎหมาย สงครามอิสรภาพจบลงในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1711 ด้วยสนธิสัญญาซ็อตมาร์ (Treaty of Szatmár) ในช่วงระหว่างและหลังจากสงครามนโปเลียน สภาไดเอ็ทของฮังการีไม่ได้มีการจัดประชุมกันมาหลายทศวรรษ ในช่วงทศวรรษที่ 1820 จักรพรรดิแห่งออสเตรียถูกบังคับให้จัดประชุมสภาไดเอ็ท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคปฏิรูป (1825–1848, ฮังการี: reformkor) เคานต์ อิชต์วาน เซแช็นยี (Count István Széchenyi) หนึ่งในรัฐบุรุษที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฮังการี ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงฮังการีให้ทันสมัย การรณรงค์ของเขานั้นทำให้เกิดการบูรณะรัฐสภาฮังการีขี้นใหม่ในปี ค.ศ. 1825 และการริ่เริ่มสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น สะพานโซ่ (Lánchíd) และการทำให้แม่น้ำดานูบสามารถใช้เรือผ่านได้ หรือ การก่อตั้งสถาบันวิทยาศาตร์ฮังการี ในช่วงเวลานี้ได้มีการกำเนิดพรรคเสรีนิยมเกิดขึ้นและมุ่งเน้นไปที่นโยบายเพื่อชนชั้นล่าง ลอโย็ช โค็ชชูต (Kossuth Lajos) นักเขียนข่าวที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น กลายเป็นผู้นำของสภาล่างในรัฐสภา การเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นไปที่ความทันสมัย แม้ว่าราชวงศ์ฮาพส์บวร์กจะทำการขัดขวางกฎหมายเสรีนิยมที่สำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมือง การเมือง และ การปฏิรูปเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีการคุมขังนักปฏิรูปหลายคน เช่น ลอโย็ช โค็ชชูต (Kossuth Lajos) และ มิฮาย ตานชิช (Táncsics Mihály) โดยทางการ เนื่องจากการพยายามปฏิรูประบอบการเมืองการปกครองใหม่ ==== การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848 - 1849 ==== การปฏิวัติในปี 1848 คือการปฏิวัติที่ปะทุขึ้นในจักรวรรดิออสเตรีย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1848 การปฏิวัติปะทุขึ้นในเมือง Pest ภายใต้การนำของคนหนุ่มสาวในเดือนมีนาคม (รวมทั้ง Sándor Petőfi และ Mór Jókai) ข้อเรียกร้องที่สำคัญที่สุดของประเทศถูกกำหนดไว้ใน Tizenkét pont ซึ่งพิมพ์และเผยแพร่โดยหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ของรัฐออสเตรีย (หนังสือ หนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ทั้งหมดสามารถตีพิมพ์ได้ในเวลานี้ต้องได้รับอนุญาตจากทางการ) ภายใต้แรงกดดันของการปฏิวัติ รัฐบาลฮังการีที่รับผิดชอบกลุ่มแรก ได้รับการแต่งตั้งภายใต้การนำของเคานต์ลอโยช บอททยานี (Gróf Battyány Lajos) ระบบทาสติดที่ดินถูกยกเลิก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1848 ศาลเวียนนาได้เปิดฉากโจมตีรัฐบาลฮังการีด้วยอาวุธ นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอิสรภาพ ประชาชนถูกระดมกำลังภายใต้การนำของลอโย็ช โค็ชชูต โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศก็มีส่วนร่วมในการต่อสู้โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของพวกเขา เช่น ชาวโครเอเชีย ชาวโรมาเนีย และชนชาติอื่น ๆ ด้วย โดยผู้นำกองทัพเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ภายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1849 ฮังการีได้รับอิสรภาพจากการกดขี่ของออสเตรีย ด้วยความสำเร็จทางทหาร รัฐสภาจึงประกาศเอกราช และการถอดถอนราชวงศ์ฮับส์บวร์กออกจากการเป็นผู้ปกครองฮังการี จักรพรรดิออสเตรียจึงขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1849 ทหารรัสเซีย 200,000 นายเดินทัพเข้าฮังการี เอาชนะกองทหารฮังการีที่สู้รบสามครั้ง ความต่อเนื่องของสงครามอิสรภาพกลายเป็นความสิ้นหวัง ดังนั้น นายพลออร์ตูร์ เกอร์แกย์ (Görgey Artúr) ผู้ชนะการต่อสู้หลายครั้ง จึงวางอาวุธของเขาอย่างไม่มีเงื่อนไขที่วิลากอส (Világos, Romania) เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดต่อไป หลังจากวางอาวุธ การตอบโต้อย่างนองเลือดก็เริ่มต้นขึ้น นักโทษหลายพันคนถูกคุมขังโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จำนวนการประหารชีวิตประมาณร้อยราย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1849 ณ เมืองออร็อด (Arad ปัจจุบันอยู่ในประเทศโรมาเนีย) นายพล 13 นายถูกประหารชีวิตพร้อมกัน เพื่อเป็นการเตือนและให้การ: ชาวฮังการี, เซิร์บ, เยอรมัน และชาติอื่น ๆ ที่ร่วมกันสู้เพื่ออิสรภาพ ในวันเดียวกันนั้น นายกรัฐมนตรีลอโยช บอททยานี (Batthyány Lajos) ถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่เมือง Pest ราชวงศ์ฮับส์บูร์กรวมประเทศฮังการีเข้ากับกับออสเตรีย และตั้งแต่นั้นมาจากประเทศราชของออสเตรีย ฮังการีก็กลายเป็นจังหวัดของจักรวรรดิออสเตรีย และถูกปกครองโดยกองกำลังทหารออสเตรีย (แต่เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบพลเรือนเมื่อเวลาผ่านไป) และ ภาษาราชการมีเพียงภาษาเยอรมันภาษาเดียว === จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1867-ค.ศ. 1914) === ==== การประนีประนอม ค.ศ. 1867 ==== หลังจากการล่มสลายของสงครามอิสรภาพ ชาวออสเตรียได้จัดการสงบเรียบร้อยในฮังการีผ่านการจัดกองทหารรักษาการณ์และการบริหารดินแดนแบบใหม่ ภาษาในการศึกษาและการบริหารกลายเป็นภาษาเยอรมัน ประชาชนไม่ได้มีส่วนในกิจการของรัฐ ไม่เข้ารับตำแหน่ง แต่หลังจากกองทัพออสเตรียพ่ายแพ้ในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866 ทำให้จักรวรรดิออสเตรียเสียอำนาจที่มีเหมือนแต่เดิม ทั้งด้านกำลังทหาร และ การเงิน ราชวงศ์ฮับส์บวร์กจึงสนใจที่จะคืนดีกับชาวฮังการี การเจรจาประนีประนอมมีแกนนำสำคัญคือ แฟแร็นซ์ แดอาค (Deák Ferenc) ฝ่ายฮังการี และ จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ฝ่ายจักรวรรดิออสเตรีย ให้มั่นใจและรับรองต่อระบอบการปกครองของพระองค์ ในที่สุด ชาวฮังการีก็ยอมรับพระองค์เป็นประมุขในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี โดยฮังการีได้ก่อตั้งรัฐสภาเป็นของตนเอง ณ กรุงบูดาเปสต์ การประนีประนอมของออสเตรียและฮังการี ในปี ค.ศ. 1867 (kiegyezés) ทำให้มีการก่อตั้งราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการี (Osztrák-Magyar Monarchia) ผู้ปกครองของรัฐใหม่คือ ราชวงศ์ฮับส์บวร์ก และกิจการของรัฐบางส่วน (การต่างประเทศ การทหาร และการเงินบางส่วน) ได้รับการจัดการร่วมกันโดยประเทศสมาชิกทั้งสอง ฮังการีถูกบังคับให้มีส่วนสำคัญในการชำระหนี้ต่างประเทศของออสเตรีย การประนีประนอมเป็นประโยชน์ต่อฮังการี แม้ว่าจะถูกบังคับให้เป็นสหพันธรัฐ แต่ก็ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กว่าเป็นรัฐอิสระ เศรษฐกิจฮังการีเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่สงบสุขหลังจากการประนีประนอมของทั้งสองชนชาติ ฮังการีขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเกษตรกรรม และการผลิตเมล็ดพืช ขุนนางเจ้าของที่ดินปรับปรุงฟาร์มของพวกเขาให้ทันสมัย ใช้เครื่องจักร และตั้งฟาร์ม รวมถึงการผลิตก็พัฒนาขึ้นเช่นกัน เป็นผลมาจากนโยบายอุตสาหกรรมของออสเตรีย อุตสาหกรรมการเกษตรส่วนใหญ่ (การสี การกลั่น การผลิตน้ำตาล ฯลฯ) เพิ่มขึ้นอย่างมากในฮังการี การพัฒนาโครงข่ายรถไฟมีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้สามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ฮังการีมีความก้าวหน้าอย่างมากทางอารยธรรม กฎหมายอยู่ในอำนาจของรัฐสภาฮังการี เช่น การจ่ายภาษี อุตสาหกรรม สาธารณะ การบริหาร ฯลฯ มีการแนะนำการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ อย่างไรก็ตามมีเพียงประชากรหนึ่งในสิบที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเกิดขึ้นในระบบเปิด ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองเป็นไปได้ยาก ระบบเมืองมีความทันสมัยและพัฒนา บูดาเปสต์ได้กลายเป็นเมืองหลวงของประเทศ มีการรวมเมืองเปสต์ บูดา และโอบูดาเข้าด้วยกัน ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีสัญญาณความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ในสังคมออสเตรีย-ฮังการีเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในสิ่งเหล่านี้ที่ร้ายแรงที่สุด คือ เรื่องเชื้อชาติ เนื่องจากมีชนชาติจำนวนมากอยู่ในออสเตรีย-ฮังการี เช่น ชาวอิตาลี, โปแลนด์, ยูเครน, สโลวัก ฯลฯ แต่มีเพียงชาวออสเตรีย และ ชาวฮังการีที่มีสิทธิมากที่สุดในจักรวรรดิ และเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 === สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-ค.ศ. 1918) === ในฤดูร้อนปี 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ปะทุขึ้นในยุโรปเนื่องจากการลอบสังหารรัชทายาทออสเตรีย-ฮังการี ผู้ครองบัลลังก์ Ferenc Ferdinand โดยชาวเซอร์เบีย-บอสเนีย ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รัฐในยุโรปและทวีปอื่น ๆ ประเทศต่าง ๆ เข้าสู่สงคราม และกระจายไปทั่วโลก อีกด้านหนึ่ง เราสามารถพบเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี (พันธมิตรสามประเทศ) และรัฐที่สนับสนุนพวกเขา อีกด้านหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายสัมพันธมิตร (Entente) ได้แก่ บริเตนใหญ่ รัสเซีย ฝรั่งเศส และรัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกับพวกเขา ชาวฮังกาเรียนเข้าร่วมในสงครามในฐานะทหารของกองทัพออสเตรียฮังการีร่วม หลายแสนคนเสียชีวิตในการต่อสู้อันทำลายล้างที่เกิดขึ้นมานานหลายปี ในปี ค.ศ. 1917 สหรัฐฯ เข้าสู่สงครามพร้อมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และตัดสินผลลัพธ์ของสงครม สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลงด้วยชัยชนะของความตกลงร่วมกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ราชวงศ์และเยอรมนีก็สรุปการหยุดยิงด้วย การปฏิวัติเกิดขึ้นในฮังการีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งตามคำร้องขอของผู้ประท้วง จักรพรรดิได้แต่งตั้งคาโรยิ มิฮาย (Mihály Károlyi) เป็นนายกรัฐมนตรี และได้เซ็นสัญญาสันติภาพกับฝ่ายพันธมิตร มีการปฏิรูปที่ดิน การลงคะแนนเสียง และเสรีภาพของสื่อมวลชน อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจและสภาวะภายนอกที่ไม่เอื้ออำนวยได้จากสงครามได้ เขาพยายามรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศอย่างสันติในระหว่างการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ใด ๆ ในเดือนพฤศจิกายน สภาแห่งชาติได้ลงมติเกี่ยวกับความเป็นอิสระของประเทศและกลายเป็นสาธารณรัฐฮังการี ปัจจัยชี้ขาดในการพัฒนาสถานการณ์ต่อมาคือฮังการีเป็นประเทศที่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและมีข้อเรียกร้องต่าง ๆ มาจากฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรัฐบาลประชาธิปไตยไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องลาออกได้ ทำให้รัฐบาลสังคมนิยมประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ฮังการีขึ้นสู่อำนาจ และประกาศตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้น ปกครองด้วยเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1919 ซึ่งกินเวลาเพียง 3 เดือน รัฐบาลของสาธารณรัฐโซเวียตได้จัดทำบทบัญญัติเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนประเทศให้เป็นแบบจำลองโซเวียตรัสเซีย ด้วยมาตรการเผด็จการต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน กองทหารของรัฐเชโกสโลวาเกียและโรมาเนียที่เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรได้เข้ามาบุกฮังการี เมื่อสิ้นสุดสงคราม กองทัพสองประเทศได้เข้ายึดครองดินแดนจากฮังการีมากขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลของสาธารณรัฐโซเวียตจัดกลุ่มต่อต้านขึ้น แต่พ้ายแพ้ลงไป และ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศฮังการีเสียดินแดนไปจำนวนมาก จากสนธิสัญญาทรียานง การประชุมสันติภาพปารีสของฝ่ายสัมพันธมิตร ได้สัญญาชาวฮังการีว่าหากการต่อต้านด้วยอาวุธสิ้นสุดลง ทหารโรมาเนียจะอพยพออกจากดินแดนที่ถูกยึดครอง ชาวฮังการีได้หยุดการต่อต้าน แต่การประชุมสันติภาพไม่รักษาสัญญา และกองทัพโรมาเนียได้ทำการยึดครองบูดาเปสต์ต่อ การเจรจาสันติภาพในปารีสเมื่อสิ้นสุดลง มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อฮังการี ตามสนธิสัญญาสันติภาพทรียานง ที่ลงนามเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ฮังการีสูญเสียอาณาเขตสองในสาม โดยถูกผนวกเข้ากับอาณาเขตของประเทศโดยรอบ พื้นที่ที่ถูกตัดไปมีชาวฮังการีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (พื้นที่ดังกล่าว เช่น Szeklerland) รัฐฮังการีมีหน้าที่ชดเชยความสูญเสียทางวัตถุทั้งหมดที่ประเทศรอบข้างสูญเสียไปในช่วงสงคราม กองทัพถูกรื้อถอน และอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ถูกห้ามการใช้งาน หลังจากการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี ฮังการีก็กลายเป็นราชอาณาจักรฮังการี โดยเป็นราชอาณาจักรที่ไม่มีกษัตริย์ ประเทศถูกปกครองโดยผู้ว่าราชการที่ได้รับเลือกจากรัฐสภา ชื่อว่า มิกโลช โฮร์ตี (Horthy Miklós) การปกครองของโฮร์ตีดำเนินไปจนถึงปี ค.ศ. 1944 ==== สนธิสัญญาทรียานง (ค.ศ. 1920) และการเสียดินแดนของราชอาณาจักรฮังการี ==== สนธิสัญญาทรียานง (Traité de Trianon; Trianoni békeszerződés; Treaty of Trianon) เป็นหนึ่งในห้าสนธิสัญญาสันติภาพสำคัญ ที่เตรียมไว้ในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนามในพระราชวังกร็องทรียานง (Grand Trianon Palace) ในเมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ระหว่างชาติฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กับราชอาณาจักรฮังการี หลังเป็นหนึ่งในรัฐผู้สืบทอดของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี หลังการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยมีเนื้อหาในการทำให้อาณาจักรฮังการีกลายเป็นราชอาณาจักรฮังการี และแบ่งแยกดินแดนเดิมของอาณาจักรฮังการีแก่ประเทศเพื่อนบ้าน สนธิสัญญาทรียานงร่างขึ้นจากคำร้องขอสงบศึกของ อดีตจักรพรรดิและรัฐบาลขุนนางจักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรและผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องได้ยอมรับคำขอสงบศึกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้กำหนดให้ฮังการีเป็นรัฐอิสระและกำหนดเขตแดนเสียใหม่ การแบ่งดินแดนทำให้ประเทศฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% จากพื้นที่เดิมของฮังการีเมื่อยังเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) มีประชากร 7.6 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเพียง 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน พื้นที่ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด ส่วนใหญ่ประชากรไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ 31% ของชาวฮังการี (3.3 ล้านคน) ถูกทิ้งไว้นอกเขตแดนของประเทศฮังการี ห้าในสิบเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรก่อนสงครามตกไปอยู่ในการครอบครองของประเทศอื่น ๆ เช่น เมืองโปโจญ (Pozsony: ปัจจุบันคือ กรุงบราติสลาวา, เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย), เมืองโคโลจวาร์ (Kolozsvár: ปัจจุบันคือ เมืองคลูช-นาโปกา, ประเทศโรมาเนีย), เมืองซาเกร็บ (Zágráb: ปัจจุบันคือ กรุงซาเกร็บ, ประเทศโครเอเชีย), เมืองน็อจวาร็อด (Nagyvárad, ปัจจุบันคือ เมืองออราเดีย, ประเทศโรมาเนีย) เป็นต้น สนธิสัญญาทรียานงจำกัดขนาดกองทัพของฮังการีให้มีทหารเพียง 35,000 คน และกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีถูกยุบลงไป ประเทศที่ได้ครองดินแดนของอาณาจักรฮังการีที่เสียไป ประกอบด้วยราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาคือแนวคิด "การตัดสินใจโดยประชาชน" เป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นเอกราชของตนเอง นอกจากนี้ฮังการีจะต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่าการเจรจาร่วมกับชาวฮังการี และชาวฮังการีไม่มีทางเลือกนอกจากต้องยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา คณะผู้แทนชาวฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ที่พระราชวังกร็องทรียานง ในเมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในชุดสนธิสัญญาของสันนิบาตชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1921 อาณาเขตของประเทศสาธารณรัฐฮังการีในปัจจุบันมียังมีขนาดคงเดิมตามสนธิสัญญาทรียานง มีการแก้ไขเล็กน้อยจนถึงปี ค.ศ. 1924 เกี่ยวกับชายแดนฮังการีและออสเตรีย (รัฐบูร์เกนลันด์) รวมไปถึงหมู่บ้านสามแห่งที่กลายเป็นดินแดนของประเทศเชโกสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1947 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สนธิสัญญาทรียานง เป็นเหตุการณ์สูญเสียทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของประเทศฮังการี เป็นสาเหตุที่ทำให้มีชนกลุ่มน้อยฮังการีกระจัดกระจายอยู่ทั่ว 7 ประเทศที่ได้ดินแดนไปในฮังการี วันที่ 4 มิถุนายน ของทุก ๆ ปี คือ วันรวมเป็นหนึ่งแห่งชาติ (A nemzeti összetartózás napja) เพื่อชาวฮังการีที่อยู่ทั่วโลก ให้มารวมกันอีกครั้ง หลังการถูกแยกกันจากสนธิสัญญาทรียานง === ระหว่างสงครามโลก (ค.ศ. 1918-ค.ศ. 1938) === หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วิเตซ มิกโลช โฮร์ตี แห่งน็อจบาญอ (nagybányai Horthy Miklós) พลเรือเอกชาวฮังการี ที่ได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งมิกโลช โฮร์ตี ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการีในสมัยระหว่างสงคราม และเกือบตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1920 ถึง 15 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เขาได้ถูกขนามนามว่า "ฮิสเซอรีนไฮเนส ผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการี"(ฮังการี: Ő Főméltósága a Magyar Királyság Kormányzója) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีในช่วงท้ายปีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับการเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลเรือโทและผู้บัญชาการกองเรือ เมื่อพลเรือเอกก่อนหน้านี้ได้ถูกขับออกจากตำแหน่งโดยจักรพรรดิคาร์ลที่ได้ให้การสนับสนุนการก่อกบฏ ในปี ค.ศ. 1919 ตามมาด้วยส่วนหนึ่งของการปฏิวัติและการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในฮังการี ตั้งแต่โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย โฮร์ตีได้เดินทางกลับบูดาเปสต์พร้อมกับกองทัพแห่งชาติและต่อมาก็ได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการจากรัฐสภาฮังการี โฮร์ตีได้นำรัฐบาลชาติอนุรักษนิยมผลที่น่าเศร้าของการยึดครองของชาวเยอรมันคือการเนรเทศและกำจัดชาวยิวฮังการีไปยังค่ายกักกันจำนวนมาก ชาวเยอรมันต่อสู้ในหลายแนวรบในสงคราม ความสูญเสียของพวกเขาเพิ่มขึ้น และเห็นได้ชัดว่าฝ่ายอักษะกำลังแพ้สงครม รัฐบาลฮังการีประกาศถอนตัวจากสงครามในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 แต่การประกาศดังกล่าวเกินกำหนด ภายใต้แรงกดดันของเยอรมัน เยอรมันเริ่มปล้นสะดมในฮังการีมากขึ้น ในขณะเดียวกันกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต ได้เข้ายึดครองบางส่วนของฮังการี ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1945 นาซีเยอรมันขอจบการสู้รบ และสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และทำให้ฮังการีสูญเสียดินแดนที่ถูกยึดคืนอีกครั้งและ พวกเขาได้รับคำสั่งให้จ่ายเงินชดเชยหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ === คอมมิวนิสต์ฮังการี (ค.ศ. 1945-ค.ศ. 1989) === ==== สมัยของราโกชิ ==== หลังจากความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนี ประเทศฮังการีกลายเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต ผู้นำโซเวียตได้เลือก นายมาตยาช ราโกชิ (Mátyás Rákosi) ให้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนระบบของประเทศฮังการีให้เป็นแบบคอมมิวนิสต์แบบโซเวียต ราโกชิได้ปกครองฮังการีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1956 นโยบายของรัฐบาลในด้านการทหาร, การทำอุตสาหกรรม, การรวมกลุ่ม และ การชดเชยจากสงครามทำให้คุณภาพชีวิตในประเทศฮังการีลดลงอย่างรุนแรง ในการเลียนแบบตำรวจลับ KGB ของโจเซฟ สตาลิน รัฐบาลของราโกชิได้จัดตั้งตำรวจลับ ÁVH เพื่อบังคับใช้ระบอบการปกครองใหม่ โดยได้ทำการกวาดล้างเจ้าหน้าที่และปัญญาชนประมาณ 350,000 คน ซึ่งถูกจำคุกหรือประหารชีวิตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 ถึง 1956 นักคิดอิสระ, นักประชาธิปไตย และ บุคคลสำคัญในสมัยผู้สำเร็จราชการมิกโลช โฮร์ตีหลายคนถูกจับอย่างลับ ๆ และถูกวิสามัญฆาตกรรมในค่ายกักกันแรงงานกูลากทั้งในและต่างประเทศ ชาวฮังการีราว 600,000 คนถูกเนรเทศไปยังค่ายแรงงานโซเวียตซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200,000 คน หลังจากการเสียชีวิตของสตาลินในปี ค.ศ. 1953 สหภาพโซเวียตได้ดำเนินโครงการกดขี่ประชาชนแบบราโคซีหลายแบบ ซึ่งนำไปสู่การปลดมาตยาช ราโกชิ ออกจากตำแหน่ง และนายอิมแร น็อจย์ (Imre Nagy) ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ในช่วงนี้ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้นจากนักศึกษาและปัญญาชน อิมแร น็อจย์สัญญาว่าจะเปิดการค้าเสรีและการเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในขณะที่นายราโกชิคัดค้านทั้งสองอย่างจริงจัง ในที่สุดราโกชิก็สามารถทำลายชื่อเสียงของอิมเร น็อจย์ และแทนที่เขาด้วยนายแอร์เนอ แกเรอ (Ernő Gerő) ที่แข็งกร้าวกว่า ประเทศฮังการีเข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 เนื่องจากความไม่พอใจของสังคมต่อระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่เพิ่มขึ้นในรัฐบริวารของโซเวียตรัสเซีย ==== การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ==== หลังจากการยิงผู้ประท้วงอย่างสันติโดยกองกำลังทหารโซเวียตและตำรวจลับ ได้มีการชุมนุมทั่วประเทศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ผู้ประท้วงพากันรวมตัวทั่วท้องถนนในกรุงบูดาเปสต์และเริ่มการปฏิวัติรัฐบาล เรียกว่า การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 เพื่อที่จะระงับความวุ่นวาย นายอิมแร น็อจย์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี และสัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งโดยเสรีและนำฮังการีออกจากสนธิสัญญาวอร์ซอ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไปในขณะที่กองกำลังปฏิวัติลุกขึ้นต่อสู้กับกองทัพโซเวียตและตำรวจลับ ÁVH กองกำลังประชาชนติดอาวุธประมาณ 3,000 คน ได้ต่อสู้กับรถถังโซเวียตโดยใช้ค็อกเทลโมโลตอฟและปืนพก แม้ว่าโซเวียตจะมีกองกำลังที่แข็งแกร่งกว่ามาก แต่กองทัพโซเวียตก็ประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก และเมื่อถึงวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1956  กองทัพโซเวียตส่วนใหญ่ได้ถอนกำลังจากกรุงบูดาเปสต์ไปรักษาการณ์ในชนบท ในช่วงเวลาหนึ่งผู้นำโซเวียตไม่แน่ใจว่าจะตอบสนองต่อการต่อต้านในฮังการีอย่างไร แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงเพื่อป้องกันไม่ให้อำนาจของสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออกสั่นคลอน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 มีการเสริมกำลังทหารมากกว่า 150,000 นายและรถถัง 2,500 คันเข้าประเทศฮังการีจากสหภาพโซเวียต ชาวฮังการีเกือบ 20,000 คนถูกสังหารในการต่อต้านการแทรกแซง ขณะที่อีก 21,600 คนถูกจำคุกหลังจากนั้นด้วยเหตุผลทางการเมือง ประมาณ 13,000 คนถูกคุมขัง และ 230 คนถูกนำตัวไปประหารชีวิต นายอิมแร น็อจย์ถูกตัดสินทางการเมืองอย่างลับ ๆ โดยถูกตัดสินว่ามีความผิด และถูกตัดสินประหารชีวิต เขาถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1958 เนื่องจากพรมแดนของประเทศฮังการีถูกเปิดออกเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ผู้คนเกือบ 250,000 คนได้หนีออกจากประเทศ ก่อนที่การปฏิวัติของอิมแร น็อจย์จะถูกระงับลง ==== สมัยของกาดาร์ ==== หลังช่วงเวลาแห่งการยึดครองทางทหารของโซเวียตไม่นานนัก นายยาโนช กาดาร์ (János Kádár) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิมแร น็อจย์ ได้รับเลือกจากผู้นำโซเวียตให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลใหม่และเป็นประธานพรรคสังคมนิยมแรงงาน (MSzMP) ที่ปกครองใหม่ กาดาร์ทำให้สถานการณ์เป็นปกติอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1963 รัฐบาลได้ให้นิรโทษกรรมทั่วไปและปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังส่วนใหญ่การลุกฮือใน ค.ศ. 1956 กาดาร์ประกาศแนวนโยบายใหม่ตามที่ประชาชนไม่ถูกบังคับให้แสดงความภักดีต่อพรรคอีกต่อไปหากพวกเขายอมรับระบอบสังคมนิยมโดยปริยายว่าเป็นความจริงของชีวิต ในสุนทรพจน์หลายครั้งเขาอธิบายว่า "คนที่ไม่ต่อต้านเราอยู่กับเรา" ยาโนช กาดาร์นำเสนอลำดับความสำคัญของการวางแผนใหม่ในระบบเศรษฐกิจ เช่น การอนุญาตให้เกษตรกรมีที่ดินส่วนตัวจำนวนมากภายใต้ระบบฟาร์มรวม (háztájigazdálkodás ฮาซตายิกอสดาลโกดาช) มาตรฐานการครองชีพในฮังการีสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคและการผลิตอาหารมีความสำคัญเหนือกว่าการผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหาร ซึ่งมีอัตราลดลงเหลือหนึ่งในสิบเมื่อเทียบกับก่อนการปฏิวัติใน ค.ศ. 1956 ในปี ค.ศ. 1968 กลไกเศรษฐกิจใหม่ (NEM) ได้นำองค์ประกอบของตลาดเสรีเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม จากทศวรรษที่ 1960 ถึงปลายทศวรรษที่ 1980 ประเทศฮังการีมักถูกเรียกว่าเป็น "ค่ายทหารที่มีความสุขที่สุด" ในกลุ่มยุโรปตะวันออก ในช่วงหลังสงครามเย็น GDP ต่อหัวของฮังการีเป็นอันดับสี่รองจากเยอรมนีตะวันออก เชโกสโลวาเกีย และ สหภาพโซเวียต อันเป็นผลมาจากมาตรฐานการครองชีพที่ค่อนข้างสูงนี้ เศรษฐกิจที่เปิดเสรีมากขึ้น การกดขี่จากภาครัฐที่น้อยลง และสิทธิในการเดินทางที่ถูกจำกัดน้อยลง ฮังการีจึงถูกมองว่าเป็นหนึ่งในประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีความเป็นเสรีนิยมที่สุดในช่วงคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษที่ 1980 มาตรฐานการครองชีพลดลงอย่างมากอีกครั้งเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ซึ่งประเทศคอมมิวนิสต์ไม่สามารถที่จะแก้ไขวิกฤตได้ เมื่อกาดาร์เสียชีวิตในปี 1989 สหภาพโซเวียตประสบกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างมาก (ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991) และนักปฏิรูปรุ่นใหม่เห็นว่าการเปิดประเทศให้เสรีจะเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองนี้ จะเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงของประเทศฮังการีเข้าสู่การเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยในที่สุด === หลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 1989-ปัจจุบัน) === ==== การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ. 1990 ==== ใน ปี ค.ศ. 1989 มีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง (ฮังการี: rendszerváltás) เนื่องจากการร่วมสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก โดยมีการก่อตั้งสาธารณรัฐฮังการีที่ 3 (Harmadik Magyar Köztársaság) ขึ้นมา ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1989 แทนที่สาธารณรัฐประชาชนฮังการี ซึ่งมีระบบการปกครองเป็นแบบคอมมิวนิสต์ และในปีถัดมา ค.ศ. 1990 ประเทศฮังการีได้มีการจัดตั้งรัฐสภา, รัฐบาล และ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐขึ้น ถึงแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองดีขึ้นมา หลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันอื่น ๆ ที่สำคัญในประเทศต่อมาในภายหลัง หลังปี ค.ศ. 1990 ในช่วงทศวรรศที่ 1990 ประเทศฮังการีมีความพยายามสร้างร่วมมือกับประเทศยุโรปตะวันตก ประเทศฮังการีกลายเป็นสมาชิกนาโต้ในปี ค.ศ. 1999 และหลังจากการเป็นสมาชิกนาโต้ 2 สัปดาห์ ก็ได้มีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย โดยมีประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรเป็นคู่กรณี ทหารฮังการีมีส่วนร่วมในปฏิบัติการของนาโต้ในอัฟกานิสถานเกือบตั้งแต่แรกเริ่ม โดยเป็นหน่วยงานด้านการแพทย์ หลังจากนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 มีการส่งหน่วยทหารฮังการีเข้าไปรบในประเทศอัฟกานิสถาน โดยงานของกองกำลังฮังการีในอัฟการนิสถานนั้น ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหน่วยงานลาดตระเวนคุ้มกันและหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ ฮังการีเข้าร่วมสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2007 และเป็นสมาชิกพื้นที่เชงเก้นของสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้การควบคุมพรมแดนถาวรที่พรมแดนฮังการี - ออสเตรีย, ฮังการี - สโลวีเนีย และฮังการี - สโลวาเกีย ถูกยกเลิก แต่สกุลเงินอย่างเป็นทางการของประเทศยังคงเป็นเงินสกุลฮังกาเรียนโฟรินต์ ไม่ได้ใช้เงินยูโร ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศเปลี่ยนจากสาธารณรัฐฮังการี เป็นประเทศฮังการี (Magyarország) ตามกฎหมายพื้นฐาน (Alaptörvény) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2012 ==== ฮังการีในวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป ค.ศ. 2015 ==== ประเทศฮังการีได้ประสบกับวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ถึง 2019 แต่มีจุดวิกฤตในปี ค.ศ. 2015 เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการย้านถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจได้ทำการอพยพจำนวนมากจากพื้นที่ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ทวีปแอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก หลั่งไหลสู่สหภาพยุโรปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากประเทศซีเรีย อัฟกานิสถานและเอริเตรีย ซึ่งประเทศฮังการีซึ่งเป็นประเทศหน้าด่านระหว่างสหภาพยุโรปและบอลข่านก็ได้ทำหน้าที่เป็นประเทศแรกที่ทำการรับรองผู้อพยพก่อนเดินทางต่อไปยังประเทศยุโรปตะวันตก อาทิ ประเทศเยอรมนี แต่ฮังการีคือหนึ่งในประเทศที่ไม่ยอมรับการรับผู้อพยพ และเกิดนโยบายกั้นรั้วพรมแดนด้านใต้ของประเทศที่ติดกับประเทศเซอร์เบีย นโยบายที่นำโดยนายวิกโตร์ โอร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการีจากพรรค FIDESZ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2015 รัฐบาลฮังการีได้ประกาศการก่อสร้างรั้วสูง 4 เมตร ยาว 175 กิโลเมตร ตามแนวชายแดนทางใต้ของประเทศเซอร์เบีย โดยได้ทำการสร้างเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่หนึ่งเมื่อปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมฮังการี รั้วประกอบด้วยลวดมีดโกนของนาโต้สามเส้นยาว 175 กิโลเมตร และรั้วอีกชั้นหนึ่งเป็นรั้วลวดหนามสูงประมาณ 4 เมตร โดยรั้วชั้นที่สองได้ทำการสร้างเสร็จในปลายปี ค.ศ. 2015 นายยาโนช ลาซาร์ (János Lázár) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอธิบายว่า "ฮังการีถูกปิดล้อมจากผู้ค้ามนุษย์" และประกาศว่ารัฐบาลจะ "ปกป้องพรมแดนที่ขยาย [ของพวกเขา] นี้ด้วยกำลัง" ประเทศฮังการีได้ทำการจัดกำลังตำรวจ 9,000 นายเพื่อกันผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารจากการเข้าประเทศฮังการี โดยคณะกรรมาธิการยุโรปเตือนสมาชิกประเทศฮังการีเกี่ยวกับขั้นตอนที่ขัดต่อพันธกรณีของสหภาพยุโรปและเรียกร้องให้สมาชิกอย่างฮังการีหาวิธีอื่นในการรับมือกับการอพยพเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2015 นายวิกโตร์ โอร์บานได้ปกป้องการจัดการของประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้อพยพภายใน แม้ว่าจะมีความวุ่นวายเนื่องจากการประท้วงของผู้อพยพโดยการอดอาหาร (hunger strike) หน้าสถานีรถไฟหลักระหว่างประเทศของบูดาเปสต์ (สถานีรถไฟตะวันออก: Keleti pályaudvar) พร้อมกับวิจารณ์การจัดการของประเทศเยอรมนีและสหภาพยุโรปโดยรวมที่ไม่ห้ามผู้อพยพเข้าสู่ยุโรป ในวันเดียวกันนั้นตำรวจฮังการีอนุญาตให้ผู้อพยพขึ้นรถไฟในบูดาเปสต์มุ่งหน้าไปทางตะวันตกก่อนจะหยุดที่เมืองบิชแก (Bicske) โดยตำรวจพยายามขนส่งผู้อพยพไปยังค่ายทะเบียนที่เมืองบิชแก เพื่อลงข้อมูลของผู้อพยพก่อนที่จะเดินทางต่อด้วยรถไฟอีกขบวนหนึ่งไปยังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย แต่ผู้อพยพปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือและประท้วงขัดขืนโดยการอยู่ในรถไฟซึ่งไม่ได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาต่อไป และเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2015 ผู้อพยพประมาณหนึ่งพันคนที่สถานีรถไฟตะวันออก (Keleti Pályaudvar) ออกเดินทางโดยการเดินเท้าไปยังออสเตรียและเยอรมนี ในคืนวันเดียวกันรัฐบาลฮังการีตัดสินใจส่งรถประจำทางเพื่อขนส่งผู้อพยพผิดกฎหมายไปยังเมืองแฮ็จแย็ชฮอโลม (Hegyeshalom) ที่ติดกับชายแดนประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2015 มีรายงานว่าตำรวจฮังการีได้ปิดกั้นเส้นทางจากเซอร์เบียและจัดการจุดเข้าออกประจำที่มีเจ้าหน้าที่ทหารและเฮลิคอปเตอร์อย่างเข้มงวด พวกเขาปิดผนึกพรมแดนด้วยลวดมีดโกนและกักขังผู้อพยพข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมาย ด้วยการขู่ว่าจะถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาทางอาญา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2015 ฮังการีได้ปิดผนึกพรมแดนกับเซอร์เบีย ผู้อพยพหลายร้อยคนพังรั้วกั้นระหว่างฮังการีและเซอร์เบียสองครั้งในวันพุธที่ 16 กันยายน 2015 และโยนเศษคอนกรีตและขวดน้ำข้ามรั้ว ตำรวจฮังการีตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตาและปืนใหญ่น้ำที่จุดผ่านแดนโฮร์โกช 2 (Horgoš 2) โดยรัฐบาลเซอร์เบีย ณ กรุงเบลเกรดประท้วงการกระทำเหล่านี้ของประเทศฮังการี ผู้ลี้ภัยชาวอิรักวัย 20 ปีถูกตัดสินให้เนรเทศและถูกห้ามเข้าประเทศฮังการีเป็นเวลา 1 ปีรวมถึงค่าธรรมเนียมศาล 80 ยูโรตามกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้เมื่อไม่กี่วันก่อน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2015 ประเทศฮังการีเริ่มสร้างรั้วอีกแห่งตามแนวชายแดนกับโครเอเชียซึ่งเป็นชาติสมาชิกสหภาพยุโรป แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเก้น ภายในสองสัปดาห์ผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคนข้ามจากโครเอเชียไปยังฮังการีซึ่งส่วนใหญ่ไปชายแดนออสเตรีย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2015 ฮังการีประกาศว่าจะปิดพรมแดนสีเขียวกับโครเอเชียสำหรับผู้อพยพ และตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นไป ผู้อพยพหลายพันคนเปลี่ยนจุดหมายไปยังประเทศสโลวีเนียแทน และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2016 ฮังการีได้ประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับทั้งประเทศและส่งทหาร 1,500 นายไปยังพรมแดนทางใต้ ในเดือนสิงหาคม 2016 ภาวะฉุกเฉินได้ขยายไปถึงเดือนมีนาคม 2018 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นับตั้งแต่ ปลายปี ค.ศ. 2015 จวบจนปัจจุบัน ประเทศฮังการีไม่ได้ประสบกับปัญหาที่ตามมาจากวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรปอีกเลย ==== ประเทศฮังการีในการระบาดของไวรัสโควิด-19 ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ==== ประเทศฮังการีเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในวิกฤตการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 โดยมีเคสแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2020 และวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2020 ได้มีการตรวจพบไวรัสโควิด-19 ในทุก ๆ เทศมณฑลของประเทศฮังการี จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2022) มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 1,467,129 คน และเสียชีวิต 41,229 คน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสภาพเศรษฐกิจของประเทศฮังการีทั้งประเทศ == วันหยุดประจำชาติ == กฎหมายพื้นฐาน (Alaptörvény) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฮังการี กำหนดให้มีวันหยุดประจำชาติ (Nemzeti ünnep) ด้วยกัน 3 วัน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศฮังการี 1) วันที่ 15 มีนาคม วันรำลึกถึงการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848-49 และสงครามอิสรภาพ 2) วันที่ 20 สิงหาคม วันรำลึกถึงการก่อตั้งรัฐฮังการีและผู้ก่อตั้งพระเจ้าอิชต์วานที่ 1 (Szent István) 3) วันที่ 23 ตุลาคม วันรำลึกถึงการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 และสงครามอิสรภาพ กฎหมายพื้นฐานกำหนดให้วันหยุดราชการประจำรัฐฮังการี (Állami ünnep) คือวันที่ 20 สิงหาคม == ภูมิศาสตร์ == ฮังการีตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ในที่ราบพันโนเนีย (Pannonia Basin) หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แอ่งคาร์เพเทียน (Carpathian Basin) ระหว่างลองจิจูด 16 °ถึง 23 °ของซีกโลกตะวันออก และ ระหว่างละติจูด 45 °ถึง 49 °ของซีกโลกเหนือ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รูปร่างประเทศฮังการีคล้ายรูปไต มีพื้นที่ทั้งหมด 93,030 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเล็กกว่าภาคเหนือของประเทศไทยเล็กน้อย) เป็นประเทศขนาดอันดับที่ 108 ของโลก ฮังการีมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ คือ โรมาเนีย ออสเตรีย สโลวาเกีย ยูเครน เซอร์เบีย โครเอเชีย และสโลวีเนีย ความยาวของพรมแดนประเทศคือ 2215.3 กิโลเมตร ติดกับประเทศสโลวาเกีย 654.7 กิโลเมตร ยูเครน 136.7 กิโลเมตร โรมาเนีย 447.7 กิโลเมตร เซอร์เบีย 174.4 กิโลเมตร โครเอเชีย 344.8 กิโลเมตร สโลวีเนีย 102.0 กิโลเมตร และ ออสเตรีย 355.0 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศฮังการีเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เรียกว่า ที่ราบฮังการีใหญ่ (ฮังการี: Nagyalföld) ตั้งอยู่ทางตะวันออกและตอนกลางของประเทศ ทางตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดกับประเทศสโลวักเกียเป็นแถบที่มีแนวเทือกเขาอยู่ โดยมีแนวเทือกเขาที่สูงที่สุด ชื่อว่า เคแคชแตเตอ (ฮังการี: Kékes-tető) เป็นจุดที่สูงที่สุดในประเทศ อยู่ที่ 1,015 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้านตะวันตกเป็นพื้นที่ราบสูง และ ภูเขา เรียกว่า เทือกเขาทรานส์ดานูเบีย สลับกับที่ราบลุ่ม เรียกว่า ที่ราบฮังการีเล็ก (ฮังการี: Kisalföld) การแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ของประเทศฮังการีคร่าว ๆ นั้น นิยมใช้แม่น้ำขนาดใหญ่สองสายที่ไหลผ่านใจกลางประเทศเป็นตัวแบ่ง คือ แม่น้ำดานูบ และ แม่น้ำติซอ ซึ่งจะสามารถแบ่งแยกประเทศออกได้เป็นสามส่วน ดังนี้ เขตเลยแม่น้ำดานูบ หรือ ทรานส์ดานูเบีย (ฮังการี: Dunántúl, อังกฤษ: Transdanubia) ทางตะวันตกของประเทศฮังการี เป็นที่ตั้งของที่ราบฮังการีเล็ก และ เทือกเขาทรานส์ดานูเบีย เขตระหว่างแม่น้ำดานูบและแม่น้ำติซอ (ฮังการี: Duna-Tisza köze) เขตเลยแม่น้ำติซอ (ฮังการี: Tiszántúl) เป็นที่ตั้งของที่ราบฮังการีใหญ่ ฮังการีมีทะเลสาบหลายแห่ง แต่ทะเลสาบที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton) === ภูมิประเทศ === ดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ที่ระดับความสูงน้อยกว่า 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล แม้ว่าจะมีภูเขาอยู่บ้างบางส่วน แต่ภูเขาที่สูงเกิน 300 เมตรนั้น มีพื้นที่น้อยกว่า 2% ของดินแดนทั้งหมด จุดสูงสุดคือ Kékes tető ที่ระดับความสูง 1,014 เมตรจากระดับน้ำทะเล และจุดต่ำสุดอยู่ทางใต้ของเมืองแซแก็ด ทางฝั่งขวาของแม่น้ำทิสซา เรียกจุดนั้นว่า Gyálarét Lúdvár ที่ระดับความสูง 75.8 เมตรจากระดับน้ำทะเล สมบัติทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดของประเทศ คือ ดิน 70% ของฮังการีเหมาะสำหรับใช้ในการกสิกรรม และภายในสัดส่วนดังกล่าวนี้ 72% เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก ศูนย์กลางของประเทศอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปุสตอว็อช (ฮังการี: Pusztavacs) จุดเหนือสุดอยู่ในหมู่บ้านฟึเซร์ (ฮังการี: Füzér) จุดทางใต้สุดอยู่ในหมู่บ้านแบแรแม็นด์ (ฮังการี: Beremend) จุดทางตะวันออกสุดอยู่ในหมู่บ้านกอร์โบลซ์ (ฮังการี: Garbolc) และจุดทางตะวันตกสุดอยู่ในหมู่บ้านแฟลเชอเซิลเนิค (ฮังการี: Felsőszölnök) ภูมิประเทศของประเทศฮังการีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ มีแม่น้ำสองสาย ไหลผ่านเหนือจรดใต้ ประกอบด้วย แม่น้ำดานูบ และ แม่น้ำติซอ และมี แม่น้ำดราวา เป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างฮังการีกับโครเอเชียทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ตามการแบ่งทางภูมิศาสตร์นั้น สามารถแบ่งประเทศฮังการีได้ออกเป็น 6 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ซึ่งแบ่งได้อีกเป็น 35 พื้นที่ขนาดกลาง และ 227 พื้นที่ขนาดเล็ก ประกอบด้วย เขตที่ราบฮังการีใหญ่ (ภาษาอังกฤษ: Great Hungarian Plain, ภาษาฮังการี: Alföld หรือ Nagyalföld) เป็นที่ราบตอนกลาง และ ตะวันออก ที่แทบจะไม่มีความสูงแตกต่างกันเลย เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือ เมืองแดแบร็ตแซ็น เขตเทือกเขาฮังการีเหนือ (ภาษาอังกฤษ: North Hungarian Mountains, ภาษาฮังการี: Északi-középhegység) ทอดยาวจากเมืองวิแชกราด จนถึงเมืองโบโดร็ก ติดกับพรมแดนประเทศสโลวาเกีย มีภูเขามาตรอ (Mátra) เป็นจุดที่สูงที่สุด โดยจุดที่สูงที่สุดในประเทศฮังการี มีชื่อว่า Kékes tető (เกแกชแตเตอ) มีความสูง 1014 เมตรจากระดับน้ำทะเล เขตเทือกเขาทรานส์ดานูเบีย (ภาษาอังกฤษ: Transdanubian Mountains, ภาษาฮังการี: Dunántúli-középhegység) มีความยาวคู่ขนานไปกับทะเลสาบบอลอโตน มีทิศทางจากตะวันออกเฉียงเหนือไปยังตะวันตกเฉียงใต้ ขนาบข้างกับแม่น้ำดานูบ มีแถบภูเขาบอโคญ (Bakony) แถบดินแดนเหนือทะเลสาบบอลอโตน (พื้นที่ปลูกไวน์ตั้งแต่ยุคโบราณ) เทือกเขาแวแลนแซ (Velencei-hegység) เทือกเขาแวร์เตช (Vertés) และ เทือกเขาดูนอซุก (Dunazug-hegyvidék) เขตเนินเขาทรานส์ดานูเบีย (ภาษาอังกฤษ: Transdanubian Hills, ภาษาฮังการี: Dunántúli-dombság) เป็นเขตเนินเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฮังการี ใต้ทะเลสาบบอลอโตน เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองเปช ในแถบนี้ประกอบไปด้วย เนินเขาซอลอ (Zalai-dombság) เนินเขาโชโม็ดย์ (Somogyi-dombság) เนินเขาโตลนอย (Tolnai-hegyhát) เนินเขาบอรอญอ (Baranyai-dombság) และ 2 เทือกเขา ประกอบด้วย เทือกเขาแมแชค (Mecsek-hegység) มีจุดที่สูงที่สูดเรียกว่า แซงเกอ (Zengő) ณ ความสูงที่สุด 682 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเทือกเขาวิลลาญ (Villányi-hegység) เขตที่ราบฮังการีเล็ก (ภาษาอังกฤษ: Little Hungarian Plain, ภาษาฮังการี: Kisalföld) เป็นที่ราบทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย ที่ราบระหว่างแม่น้ำ Szigetköz Rábaköz และ แอ่งมอร์ตซอล (Marcal-medence) เมืองที่มีประชากรมากที่สุด คือ เมืองจเยอร์ เขตชายแดนฮังการีตะวันตก (ภาษาอังกฤษ: West-Hungarian Borderland, ภาษาฮังการี: Nyugat-magyarországi peremvidék) หรือ เขตตีนเทือกเขาแอลป์ (ภาษาฮังการี: Alpokalja) คือ ส่วนที่ติดกับเทือกเขาแอลป์ ในรัฐบูร์กันแลนด์ ประเทศออสเตรีย เป็นส่วนที่อยู่ด้านตะวันตกที่สุดของประเทศ จุดที่สูงที่สุดอยู่ที่ เทือกเขาเคอแซก (Kőszeg) และ เทือกเขาโชโปรน (Sopron) เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือ โซมบ็อตแฮย์ === แหล่งน้ำ === ที่ราบพันโนเนียเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเกือบทั้งหมดจากแม่น้ำดานูบ นอกจากนี้ประเทศฮังการียังมีแหล่งน้ำร้อนใต้พิภพเป็นจำนวนมาก โดยมีแหล่งน้ำร้อนใต้พิภพมากที่สุดในทวีบยุโรป อุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอาจสูงเกิน 70 °C แกนหลักของทรัพยากรน้ำในประเทศฮังการี คือ แม่น้ำดานูบ ที่มีความยาวจากแหล่งกำเนิดจนถึงปากแม่น้ำถึง 2,850 กิโลเมตร โดยมีความยาวอยู่ที่ 417 กิโลเมตรในพรมแดนประเทศฮังการี อย่างไรก็ดี แม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในประเทศฮังการี คือ แม่น้ำติซอ ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 962 กิโลเมตร โดยมีความยาวในพรมแดนฮังการี 584.9 กิโลเมตร ซึ่งมีแควสาขากระจายออกไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำดราวาทางใต้ติดพรมแดนโครเอเชีย และมีแม่น้ำสายน้อยอีกหลายสาย ประกอบด้วย แม่น้ำตูร์ แม่น้ำซอโมช แม่น้ำครอสนอ แม่น้ำเกอเริช และ แม่น้ำมูเรช ทะเลสายที่ใหญ่ที่สุดในฮังการีและในยุโรปกลาง คือ ทะเลสาบบอลอโตน พื้นที่ 594 ตารางกิโลเมตร ตามมาด้วยทะเลสาบติซอ (ทะเลสาบเทียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฮังการี ขนาด 127 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบนอยซีเดิล ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนประเทศฮังการี และ ประเทศออสเตรีย มีพื้นที่ในพรมแดนฮังการี 75 ตารางกิโลเมตร และทะเลสาบแวแลนแซซึ่งมีพื้นที่ 10.1 ตารางกิโลเมตร พื้นทีส่วนใหญ่ของฮังการี ประมาณ 70%ทำการเกษตร ส่วนพื้นที่เหลือ เป็นป่าทึบ ได้แก่ ป่าโอ๊ก และ ป่าบีช สัตว์ท้องถิ่นที่พบทั่วไป เช่น กระต่ายป่า กวาง หมี นาก สัตว์ป่าหายาก เช่น แมวป่า ค้างคาวทะเล สัตว์พื้นเมืองที่มีมากที่สุด คือ นกชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกน้ำที่ชอบพื้นที่ชื้นแฉะแถบที่ลุ่มตามทะเลสาบ ประเทศฮังการีมีอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า 145 แห่ง และ พื้นที่คุ้มครอง 35 แห่ง === พืชและสัตว์ === พื้นที่ 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ฮังการีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายของสัตว์มากที่สุดในยุโรป เพื่อปกป้องพืชและสัตว์ให้ใช้ชีวิตอยู่ในระบบนิเวศน์แบบดั้งเดิม รัฐบาลฮังการีจึงจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง พื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ 38 แห่ง พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติ 142 แห่ง อนุสรณ์สถานธรรมชาติ และพื้นที่ธรรมชาติ 1125 แห่ง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาลท้องถิ่น นับเป็นพื้นที่ทั้งหมด 8160 ตารางกิโลเมตร คุณค่าทางธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาล ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ แม่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ และ ถ้ำ โดยแหล่งอนุรักษ์ที่สำคัญที่สุดตามภูมิภาค มีดังนี้ กรุงบูดาเปสต์ ประกอบด้วย เกาะมากาเร็ต Gellért Hill Sas Hill และระบบถ้ำ Pál-völgyi ในแถบทรานส์ดานูเบีย ประกอบด้วย ทะเลสาบนอยซีเดิล อันเป็นมรดกโลก ทะเลสาบน้ำร้อน Hévíz ถ้ำ Tapolca-tavas ทะเลสาบ Tata ทะเลสาบ Velence และพื้นที่เดินป่า Tihany Inner Lakes และเส้นทางศึกษาธรณีวิทยาถ้ำ Abaligeti เขตอนุรักษ์ธรรมชาติSzársomlyó อุทยานก่อนประวัติศาสตร์ของเหมืองหิน Villány, เหมือง Fertőrákos, Danube Bend ตลอดจนป่าขนาดใหญ่ในภูมิภาค Pilis, เทือกเขาทรานส์ดานูเบีย (Bakony, Vértes, Visegrád Mountains), เทือกเขา Gemenc, เทือกเขา Gyulaj, เทือกเขา Alpokalja และเทือกเขา Mecsek ทางตอนเหนือของฮังการีมีป่าไม้และคุณค่าทางธรรมชาติอันงดงามของเทือกเขาฮังการีเหนือ ซึ่งมีโอกาสเดินป่ามากมาย อาทิ Börzsöny, ภูเขามาตรอ (Mátra), อุทยานแห่งชาติบีคค์ (Bükki Nemzeti Park) (ระบบถ้ำ Lillafüred),อุทยานแห่งชาติออกแตแล็ค (Aggteleki Nemzeti Park) ในที่ราบฮังการีใหญ่มีอุทยานแห่งชาติฮอร์โตบาจ (Hortobágyi Nemzeti Park) ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลก Bugac  Mártély และ Kunhalmas ในประเทศฮังการีมีสวนรุกขชาติสำหรับแสดงพันธุ์ไม้หลายแห่ง ได้แก่ Vácrátó, Zirc, Badacsonytomaj, Kám, Kőszeg, Kámon, Vép, Szeleste และ Szarvas สถานที่สาธิตสัตว์พิเศษ ได้แก่ สวนเกมSóstóในเมืองนยีแรจฮาซอ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบดั้งเดิมในKardoskút ฟาร์มม้าของรัฐในเมืองแมเซอแฮดแยช (Mezőhegyes) และ บาโบลนอ (Bábolna) เขตอนุรักษ์เดวอวานยอ (Dévaványa) ทะเลสาบติซอ Ecocentre ในเมืองโปโรซโล (Poroszló) และ บ้านหมี ในเมืองแวแรแชดย์ฮาซอ (Veresegyháza) ในประเทศฮังการี สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกทุกชนิดได้รับการคุ้มครอง ยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือ เต่าแก้มแดง === รายชื่ออุทยานแห่งชาติ === อุทยานแห่งชาติในประเทศฮังการีมีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยที่ใหญ่ที่สุดคือ อุทยานแห่งชาติฮอร์โตบาจ (Hortobágyi Nemzeti Park) ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป === ภูมิอากาศ === ประเทศฮังการีอยู่ในเขตอบอุ่น มี 4 ฤดู ประกอบด้วย ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) และ ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ประเทศฮังการจัดอยู่ในเขตภาคพื้นทวีปที่มีฤดูร้อนอบอุ่น โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่น ความชื้นต่ำ มีฝนตกประปราย และ ฤดูหนาวที่ชื้น มีหิมะตกในฤดูหนาว อุณภูมิเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ 9.7 °C อุณหภูมิสูงที่สุดอยู่ที่ 41.9 °C ในฤดูร้อน (ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองคิชคุนฮอลอช) และ ต่ำที่สุด −35 °C ในฤดูหนาว (ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 ณ เมืองมิชโกลซ์ตอโปลซอ) อุณหภูมิในฤดูร้อน อยู่ที่ 23 - 28 °C และ ในฤดูหนาวอยู่ที่ −3 ถึง −7 °C มีฝนตกเฉลี่ย 600 มิลลิเมตร ต่อปี ประเทศฮังการีอยู่ในอันดับที่ 6 ของดัชนีการปกป้องสิ่งแวดล้อมซึ่งจัดอันดับโดย GW/CAN == การท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว == สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดสามแห่งของประเทศฮังการี ที่มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศไปเที่ยวมากที่สุด ประกอบด้วย กรุงบูดาเปสต์ (Budapest) ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton) และ โค้งน้ำดานูบ (Dunakanyar) ใกล้กับเมืองวิเชกราด ในปี ค.ศ. 2009 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 12.7 ล้านคนที่มาเที่ยว ณ ประเทศฮังการี ในมุมมองแบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เราจะสามารถแบ่งเขตประเทศฮังการีได้เป็น 9 เขต: 1. กรุงบูดาเปสต์และแม่น้ำดานูบกลาง (Budapest–Közép-Duna-vidék) 2. เขตทรานส์ดานูเบียกลาง (Közép-Dunántúl) 3. เขตทรานส์ดานูเบียตะวันตก (Nyugat-Dunántúl) 4. ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton) 5. เขตทรานส์ดานูเบียใต้ (Dél-Dunántúl) 6. เขตฮังการีเหนือ (Észak-Magyarország) 7. เขตที่ราบใหญ่เหนือ (Észak-Alföld) 8. เขตที่ราบใหญ่ใต้ (Dél-Alföld) 9. ทะเลสาบติซอ (Tisza-tó) นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวก็นิยมมาเข้าร่วมเทศกาลต่าง ๆ ในประเทศฮังการีที่มีในแต่ละปี ทั้งด้านศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ สนุกสนาน และ การแข่งขันกีฬา เทศกาลที่จัดในกรุงบูดาเปสต์ประกอบด้วย: เทศกาลตอวอซิเฟสติวัล/เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (Tavaszi Fesztivál), บูดาเปสต์พาเรด (Budapest Parádé) และ เทศกาลซิแก็ดเฟสติวัล/เทศกาลเกาะ (Sziget Fesztivál) ส่วนในเขตทะเลสาบบอลอโตน จะมีเทศกาลดนตรีบอลอโตนซาวนด์ (Balaton Sound) ที่มีศิลปินจากทั่วโลกมา และเทศกาลหุบเขาศิลปะ (Művészetek Völgye หรือ เทศกาลมือเวแซแต็กเวิลจแย) ในที่ราบใหญ่ฮังการี มีเทศกาลแข่งม้าเมืองฮอร์โตบาจ (Hortobágyi Lovasnapok és Hídivásár), เทศกาลคาร์นิวัลดอกไม้เมืองแดแบร็ตแซ็น (Debreceni virágkarnevál) และเทศกาลซอบอดเตริยาเตกโก็ก/เทศกาลเพลงกลางแจ้งจตุรัสเสรีภาพเมืองแซแก็ด (Szegedi Szabadtéri Játékok) ในเมืองมิชโกลซ์ทางเหนือของฮังการี มีเทศกาลโอเปร่านานาชาติเมืองมิชโกลซ์ (Miskolci Nemzetközi Operafesztivál) และในเมืองโชโปรน ทางตะวันตกของประเทศ มีเทศกาลโวล์ต (VOLT Fesztivál) ในประเทศฮังการี นอกจากกรุงบูดาเปสต์ (Budapest) แล้ว ยังมีเมืองที่เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ อยู่ในประเทศ ประกอบด้วย เซแก็ชแฟเฮร์วาร์ (Székesfehérvár), แดแบร็ตแซน (Debrecen), โชโปรน (Sopron), เจอร์ (Győr), โซ็มบ็อทแฮย์ (Szombathely), เคอแซ็ก (Kőszeg), เปช (Pécs), คอโป็ชวาร์ (Kaposvár), แอสแตร์โกม (Esztergom), แว็สเปรม (Veszprém), ปาปอ (Pápa), วาร์ปอโลตอ (Várpalota), แอแกร์ (Eger), มิชโกลซ์ (Miskolc), และเมืองแซแก็ด (Szeged) ส่วนเมืองที่มีมรดกโลกอยู่นั้น มีเมืองโตคอย (Tokaj), ฮอร์โตบาจ (Hortobágy), ญีแร็จฮาซอ (Nyíregyháza), ญีร์บาโตร์ (Nyírbátor), ชาโรชปอต็อก (Sárospatak), ปาซโต (Pásztó), แค็ชแคเมต (Kecskemét), คอโลชอ (Kalocsa), แซนแตช (Szentes), โฮดแมเซอวาชาร์แฮย์ (Hódmezővásárhely), บอยอ (Baja) และ แซ็นแต็นแดร (Szentendre) ในประเทศฮังการีมีโบสถ์สมัยยุคกลางจำนวนมาก (Ják, Lébény, Ócsa, tihanyi altemplom, Csaroda เป็นต้น) ปราสาทแสนโรแมนติก (Visegrád, Nagyvázsony, Sümeg, Szigliget, Szigetvár, Siklós, Pécsvárad, Magyaregregy, Sárvár, tatai vár, cseszneki vár, Drégely vára, Hollókő, boldogkői vár, diósgyőri vár, füzéri vár, Sárospatak, Szerencs, Szécsény, Gyula) พิพิธภัณฑ์ในราชวังเก่า (Fertőd, Nagycenk, Keszthely, Gödöllő, Martonvásár, Ráckeve เป็นต้น) สถานที่ท่องเที่ยวมรดกโลกที่นักท่องเที่ยวไปในประเทศฮังการี ประกอบด้วยหมู่บ้านโบราณโฮโล่เคอ (hollókő), ราชวังพันโนฮอลมิแบนเซ็ช (Pannonhalmi Bencés Főapátság), กำแพงป้องกันเมืองโคมาโรม (komáromi erődrendszer), โบราณสถานกอร์ซิวมีในเมืองตาทซ์ (gorsium), แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณเมืองเวร์แต็ซเซอเลอ (vértesszőlősi ősemberleletek), และเขตเมืองเก่าเมืองมอยค์ (majki műemlékegyüttes) === มรดกโลก === องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดให้ 9 สถานที่ในประเทศฮังการีให้เป็นมรดกโลก ดังนี้: กรุงบูดาเปสต์: ทิวทัศน์รอบแม่น้ำดานูบ และเขตหุบเขาปราสาทฝั่งบูดอ (Budai Várnegyed) หมู่บ้านโฮโล่เคอ (Hollókő) หมู่บ้านเก่าที่ยังรักษาสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ฮังการีไว้ (เมืองโฮโล่เคอ) ระบบถ้ำอ็อกก์แตแล็ก-กอร์สต์และสโลวัก-กอร์สต์ (Aggteleki-karszt és a Szlovák-karszt barlangjai) (มรดกโลกร่วมกับประเทศสโลวาเกีย) อารามปอนโนนฮอลมอ (Pannonhalmi Bencés Főapátság) อารามเก่าแก่อายุพันปี และทิวทัศน์รอบอาราม (เมืองปอนโนนฮอลมอ) อุทยานแห่งชาติโฮร์โตบาจย์ (Hortobágyi Nemzeti Park) – ทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปกลาง สุสานคริสเตียนโบราณเมืองเปช (Pécsi ókeresztény sírkamrák) ชนบทรอบทะเลสาบแฟร์เตอ (Fertő-táj) (มรดกโลกร่วมกับประเทศออสเตรีย) เขตชนบทโตกอยิ (Tokaji Történelmi Borvidék) สถานที่ทำไวน์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กรุงบูดาเปสต์: ถนนอ็อนดราชชี (Andrássy út) == การบริหารจัดการภายใน == === การเมือง === ประเทศฮังการี ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสภาเดียว โดยมีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระ แต่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารรัฐบาลที่มีอำนาจอย่างแท้จริงในการบริหาร ปัจจุบัน ประธานาธิบดี คือ คาทาลิน โนวัก (Katalin Novák) และ นายกรัฐมนตรี คือ วิกโตร์ โอร์บาน (Viktor Orbán) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ (köztársaságielnök) ทำหน้าที่เป็นประมุขและได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาทุก ๆ ห้าปี ประธานาธิบดีมีหน้าที่และอำนาจที่เป็นตัวแทน: รับตำแหน่งประมุขต่างประเทศ เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการตามคำแนะนำของรัฐสภา และ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลัง ที่สำคัญประธานาธิบดียังมีอำนาจในการยับยั้ง (วีโต้) ตัวบทกฎหมาย และ อาจส่งต่อร่างกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของกฎหมายซ้ำ ตำแหน่งทางราชการที่สำคัญที่สุดอันดับสามในฮังการี คือประธานรัฐสภา ซึ่งได้รับเลือกจากรัฐสภาและรับผิดชอบดูแลการประชุมประจำวันของสภา นายกรัฐมนตรี (miniszterelnök) ได้รับเลือกจากรัฐสภาโดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลและใช้อำนาจบริหาร ในสถานการณ์ปรกติ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของพรรคที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือกรัฐมนตรีและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการปลดรัฐมนตรี กระนั้นก็มีข้อแม้ว่า ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะรัฐมนตรี จะต้องปรากฏตัวในการพิจารณาอย่างเปิดเผย เพื่อให้คณะกรรมการรัฐสภาลงคะแนนเสียงในรัฐสภา และ ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี ในปี ค.ศ. 2009 ฮังการีประสบปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF เป็นเงินประมาณ 9 พันล้านยูโร อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของฮังการีมีจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2011 ที่ 83% และลดลงตั้งแต่นั้นมา จากข้อมูลของ Eurostat หนี้ขั้นต้นของรัฐบาลฮังการีมีจำนวน 25.119 พันล้าน HUF หรือ 74.1% ของ GDP ในปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 1.9% ของ GDP ในปี ค.ศ. 2015 อันดับเครดิตของฮังการีโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's, Moody's และ Fitch Ratings อยู่ในระดับ Investment Grade BBB โดยมีแนวโน้มที่มั่นคงในปี ค.ศ. 2016 ดัชนีการรับรู้คอร์รัปชันประจำปี ค.ศ. 2019 ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติของฮังการี ได้ลดลงจากคะแนน 51 ในปี ค.ศ. 2015 เป็น 44 ในปี ค.ศ. 2019 ทำให้ประเทศฮังการีเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีการทุจริตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คู่กับโรมาเนีย และ ตามหลังประเทศบัลแกเรีย หลังจากทศวรรษแห่งการปกครองประเทศฮังการีของพรรคฟิแด็ซ-KDNP (Fidesz-KDNP) นำโดย นายวิกโตร์ ออร์บาน (Viktor Orbán) รายงานของ Freedom House in Transit 2020 ได้จัดประเภทฮังการีใหม่จากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบเปลี่ยนผ่านหรือแบบผสม นอกจากนี้ รัฐบาลฮังการี ยังมีการจำกัดและกำกับดูแลของรัฐสภา สื่ออิสระ องค์กรพัฒนาเอกชน และ นักวิชาการ ในขณะที่รวมอำนาจไว้ที่รัฐบาลกลาง โดยทั่วไปมีสองกลุ่มหลักในระบบการเมืองของฮังการี ได้แก่ แนวร่วม Fidesz-KDNP ฝ่ายขวาและฝ่ายกลางจากขวาถึงฝ่ายซ้ายของ United for Hungary ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ ต่อไปนี้: DK, MSZP, Jobbik, Dialogue, LMP-Greens, Momentum นอกจากนี้ยังมีภาคีและขบวนการเช่น ÚVNP, Liberals, New Start, การเคลื่อนไหว MMM, การเคลื่อนไหว 99M นอกจากนี้ยังมีพรรคย่อยบางพรรคที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรทั้งสองนี้ เช่น ขบวนการบ้านเกิดของเรา พรรคขวาจัด และพรรคตลกที่เรียกว่า พรรคสุนัขสองหางฮังการี คริสตจักรฮังการีส่วนใหญ่อยู่ในการเมืองด้วย ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจเ เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่เป็นระบบที่ไม่นำศาสนาเข้ามายุ่งกับการเมือง === การแบ่งเขตการปกครอง === ฮังการีเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งออกเป็น 19 เทศมณฑล และ 1 เมืองหลวง โดยกรุงบูดาเปสต์เป็นเขตปกครองแยกออกไป และแบ่งย่อยได้อีกเป็น 174 เขต (อำเภอ) ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เขตต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกเป็นเมืองและหมู่บ้าน โดยมี 23 เมืองที่กำหนดให้มีสิทธิเขตพิเศษ เป็น "เมืองหลัก" ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางทางอำนาจปกครองในแต่ละมณฑล (คล้ายกับอำเภอเมืองของประเทศไทย) บทบาทขององค์การบริหารส่วนเทศมณฑลโดยพื้นฐานแล้วจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ในขณะที่เทศบาลเมืองจะเน้นการดูแลและพัฒนาโรงเรียนอนุบาล สาธารณูปโภค การกำจัดขยะ และ การดูแลผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2539 มณฑลและเมืองบูดาเปสต์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ภูมิภาคเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติและการพัฒนา ได้แก่ ฮังการีตอนกลาง (Közép-Magyarország), ทรานส์ดานูเบียตอนกลาง (Közép-Dunántúl), ที่ราบใหญ่ทางตอนเหนือ (Észak-Alföld), ฮังการีตอนเหนือ (Észak-Magyaroszág), ทรานส์ดานูเบียตอนใต้ (Dél-Dunántúl), ที่ราบทางตอนใต้ (Dél-Alföld) และ ทรานส์ดานูเบียตะวันตก (Nyugat-Dunántúl) === การรักษาความปลอดภัยในประเทศ และ การทหาร === กองกำลังฮังการี (Magyar Honvédség: MH) ดำเนินการป้องกันทางทหารในฮังการี และการป้องกันประเทศอื่น ๆ ที่เกิดจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (เช่น NATO) มีส่วนช่วยป้องกันภัยพิบัติ และการจัดการช่วยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติ ประธานาธิบดีฮังการีถือเป็นจอมทัพฮังการี กองกำลังฮังการีอยู๋ใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (Benkő Tibor คือ รัฐมนตรีขณะนี้) ฮังการีไม่มีการเกณฑ์ทหาร ฮังการีมีกำลังทหาร 37,650 นาย ที่อยู่ในหน้าที่ ณ ปัจจุบัน มีงบกองกำลังฮังการีที่ 778 พันล้านฮังการีโฟรินต์ คิดเป็น 1.66% ของ GDP ในปี ค.ศ. 2021 ฮังการีเป็นประเทศใน NATO และปัจจุบันมีโครงการ Zrínyi 2026 ที่พยายามจะทำให้กองทัพฮังการีทันสมัยมากขึ้น งานพื้นฐานของตำรวจ คือ การป้องกันอาชญากรรม ปกป้องความปลอดภัยสาธารณะ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตำรวจรักษาชายแดนของรัฐและรักษาความสงบเรียบร้อยที่จุดผ่านแดน งานพื้นฐานของบริการด้านความมั่นคงแห่งชาติ (A nemzetibiztonsági szolgálatok) มีหน้าที่ปกป้องความเป็นอิสระของฮังการีและหลักนิติธรรม และเพื่อบังคับใช้กฎหมายเพื่อมั่นคงของประเทศ กฎระเบียบเกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานของกองทัพบก ตำรวจ และบริการด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นกำหนดไว้ในกฎหมาย มีหน่วยงานของรัฐอีกหลายแห่งในฮังการี ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ตัวอย่างเช่น สำนักงานภาษีและศุลกากรแห่งชาติ (Nemzeti Adó- és Vámhivatal) ดำเนินการกำกับดูแลด้านศุลกากรและการเงิน ดำเนินการควบคุมทางศุลกากรในการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดนศุลกากร รับรองการจัดเก็บภาษีศุลกากร และปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษี (เช่น ยาสูบ สุรา เชื้อเพลิง) หน่วยงานป้องกันภัยพลเรือนและหน่วยดับเพลิง มีหน้าที่ในการป้องกัน จัดการกับผลที่ตามมาของภัยพิบัติ การป้องกันอัคคีภัย และการช่วยเหลือทางเทคนิค เรือนจำรับรองการดำเนินการตามคำพิพากษาและมาตรการของศาล (การกักขังนักโทษที่ต้องรับโทษ ฯลฯ) กิจกรรมขององค์กรเหล่านี้ยังถูกควบคุมโดยกฎหมายพื้นฐาน === นโยบายต่างประเทศ === นโยบายต่างประเทศของฮังการีตั้งอยู่บนพื้นฐานของพันธะสัญญา 4 ประการ ได้แก่ 1.เพื่อความร่วมมือในมหาสมุทรแอตแลนติก 2.เพื่อการรวมยุโรป 3.เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และ 4.เพื่อกฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐกิจของฮังการีค่อนข้างเปิดกว้าง และ การค้าระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเศรษฐกิจของประเทศฮังการี ฮังการีเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2498 และเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป NATO OECD กลุ่มวิแชกราด องค์การการค้าโลก ธนาคารโลก AIIB และ IMF ฮังการีเข้ารับตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเป็นเวลาครึ่งปีในปี พ.ศ. 2554 และครั้งต่อไปจะเป็นปี พ.ศ. 2567 ในปี พ.ศ. 2558 ฮังการีเป็นผู้บริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา OECD Non-DAC รายใหญ่อันดับ 5 ของโลกซึ่งคิดเป็น 0.13% ของรายได้รวมประชาชาติของประเทศฮังการี บูดาเปสต์เมืองหลวงของฮังการีเป็นที่ตั้งของสถานทูตมากกว่า 100 ชาติ ฮังการีเป็นเจ้าภาพที่ตั้งสำนักงานใหญ่หลักและระดับภูมิภาคขององค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งเช่น European Institute of Innovation and Technology, European Police College, สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ, องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ, ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย, สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ, องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, องค์การระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่น, กาชาดระหว่างประเทศ, ศูนย์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคสำหรับยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก, คณะกรรมาธิการดานูบ และอื่น ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียด และการเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยของประเทศฮังการี เป้าหมายด้านนโยบายต่างประเทศอันดับต้น ๆ ของฮังการี คือ การรวมเข้าเป็นองค์กรทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของตะวันตก ฮังการีเข้าร่วมโครงการ Partnership for Peace ในปี พ.ศ. 2538 และได้สนับสนุนภารกิจ IFOR และ SFOR ในบอสเนีย ประเทศฮังการีหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียดได้ปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร โดยการลงนามในสนธิสัญญาพื้นฐานกับโรมาเนีย สโลวาเกีย และ ยูเครน สิ่งเหล่านี้ละทิ้งการอ้างสิทธิเหนือดินแดนที่หายไปจากสนธิสัญญาทรียานงทั้งหมด และ วางรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามปัญหาสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาวฮังการีในโรมาเนีย สโลวาเกีย และ เซอร์เบีย ทำให้ความตึงเครียดระดับทวิภาคีปะทุขึ้นเป็นระยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ความสัมพันธ์กับยูเครนแย่ลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากปัญหาของชนกลุ่มน้อยฮังการีในยูเครน ประเทศฮังการีได้ลงนามในเอกสาร OSCE และดำรงตำแหน่งประธานในสำนักงานของ OSCE ในปี พ.ศ. 2540 == เศรษฐกิจ == ฮังการีเป็นประเทศเศรษฐกิจผสมที่มีรายได้สูงในสหภาพยุโรป และ กลุ่มประเทศ OECD ซึ่งมีดัชนีการพัฒนามนุษย์และกำลังแรงงานที่มีทักษะสูงมาก ฮังการีมีความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นเศรษฐกิจที่ซับซ้อนที่สุดอันดับ 9 ตามดัชนีความซับซ้อนทางเศรษฐกิจ ฮังการีเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 57 ของโลก (จาก 188 ประเทศที่วัดโดย IMF) มีผลผลิตทางเศรษฐกิจ 265.037 พันล้านดอลลาร์ และอยู่ในอันดับที่ 49 ของโลกในแง่ของ GDP ต่อหัววัดโดยความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ ฮังการีเป็นเศรษฐกิจตลาดที่เน้นการส่งออกโดยให้ความสำคัญอย่างมากกับการค้าต่างประเทศ โดยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจการส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 36 ของโลก ประเทศนี้มีการส่งออกมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2558 โดยเกินดุลการค้าสูงถึง 9.003 พันล้านดอลลาร์ โดย 79% ส่งออกภายในสหภาพยุโรปและ 21% เป็นการส่งออกนอกสหภาพยุโรป ฮังการีมีเศรษฐกิจที่เป็นของเอกชนมากกว่า 80% โดยมีการเก็บภาษีโดยรวม 39.1% อันเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเศรษฐกิจสวัสดิการของประเทศ การบริโภคในครัวเรือนนับเป็นองค์ประกอบหลักของ GDP มีสัดส่วนถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของของ GDP การลงทุนของเอกชนอยู่ที่ 22 เปอร์เซ็นต์และรายจ่ายของรัฐบาลที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ฮังการียังคงเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก FDI ภายในประเทศอยู่ที่ 119.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2558 ในขณะที่ฮังการีลงทุนในต่างประเทศมากกว่า 50 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2558 คู่ค้าที่สำคัญของฮังการี ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย ฝรั่งเศส อิตาลี โปแลนด์ และ สาธารณรัฐเช็ก อุตสาหกรรมหลักของประเทศฮังการี ได้แก่ การแปรรูปอาหาร ยายานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เคมีภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และ การท่องเที่ยว (ในปี 2014 ฮังการีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 12.1 ล้านคน) ฮังการีเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก การผลิตและการวิจัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาฮังการีได้เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางหลักด้านเทคโนโลยีมือถือ ความปลอดภัยของข้อมูล และ การวิจัยฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง อัตราการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจอยู่ที่ 68.3% ในปี พ.ศ. 2560 ในด้านโครงสร้างการจ้างงาน 63.2% ของแรงงานที่มีงานทำ ทำงานในภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน 29.7% ในขณะที่เกษตรกรรมมีอยู่ 7.1% โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.1% ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 โดยลดลงจาก 11% ในช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ ฮังการีเป็นส่วนหนึ่งของตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีผู้บริโภคมากกว่า 508 ล้านคน นโยบายการค้าภายในประเทศหลายประการถูกกำหนดโดยข้อตกลงระหว่างสมาชิกสหภาพยุโรป และ ตามกฎหมายของสหภาพยุโรป บริษัทมหาชนในประเทศฮังการี จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์กรุงบูดาเปสต์ หรือ BUX (Budapest Stock Exchange) บริษัทในตลาด BUX อาทิ บริษัท 500 แห่งที่ทำกำไรสูงที่สุด MOL Group OTP Bank, Gedeon Richter Plc., Magyar Telekom, CIG Pannonia, FHB Bank, Zwack Unicum เป็นต้น นอกจากนี้ประเทศฮังการีมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมาก อาทิ บริษัทซับพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์ และ บริษัทสตาร์ทอัพเทคโนโลยีหลายแห่ง กรุงบูดาเปสต์เป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของประเทศฮังการี เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยจัดมีการจัดกรุงบูดาเปสต์เป็นเมืองระดับอัลฟ่าของโลก ในการศึกษาโดยเครือข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และเมืองโลก เป็นเมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองเร็วที่สุดเป็นอันดับสองในยุโรปเนื่องจาก GDP ต่อหัวในเมือง เพิ่มขึ้น 2.4 เปอร์เซ็นต์ และการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2557 ในระดับประเทศบูดาเปสต์เป็นเมืองเอกของฮังการีเกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจคิดเป็น 39% ของรายได้ประชาชาติ เมืองนี้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในเขตเมืองมากกว่า 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2558 ทำให้กรุงบูดาเปสต์เป็นหนึ่งในเศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป บูดาเปสต์ยังเป็นหนึ่งในเมืองที่มี GDP สูงเป็น 100 อันดับแรกของโลกซึ่งวัดโดย PricewaterhouseCoopers และในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของเมืองทั่วโลกโดย EIU บูดาเปสต์มีขีดการแข่งขันอยู่เหนือ กรุงเทลอาวีฟ กรุงลิสบอน กรุงมอสโกว์ และ กรุงโยฮันเนสเบิร์ก นอกจากนี้อัตราภาษีนิติบุคคลของฮังการีมีเพียง 9% ซึ่งค่อนข้างต่ำสำหรับประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้บริษัทมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง ประเทศฮังการีใช้ค่าเงิน โฟรินต์ฮังการี (HUF) แทนการใช้เงินยูโร (EUR) ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าหนี้สาธารณะต่ำพอที่จะเปลี่ยนค่าเงินได้ แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในสหภาพยุโรป ที่ 73.5% ใน ปี พ.ศ. 2558 ในปัจจุบัน ค่าเงินของประเทศฮังการีมีการควบคุมดูแลโดยธนาคารแห่งชาติประเทศฮังการี (Hungarian National Bank) ตั้งใน พ.ศ. 2467 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยมีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี === ธนบัตรโฟรินต์ฮังการี === ธนบัตรทุกฉบับ มีขนาด 154 × 70 มิลลิเมตร (ภาพของธนบัตรในตารางนี้คือฉบับเก่าซึ่งมีรูปแบบแตกต่างจากฉบับใหม่เล็กน้อย) === เกษตรกรรม === ในประเทศฮังการีมีการกสิกรรมยาวนานหลายศตวรรษ สามารถผลิตผลิตผลทางการเกษตรสำหรับการส่งออกและการบริโภคในประเทศได้ สินค้าทางการเกษตรที่สำคัญ ประกอบด้วย วัวเนื้อ ข้าวสาลี ปาปริก้า และ ไวน์ ตลาดส่วนใหญ่คือยุโรปกลาง และ ยุโรปตะวันออก (เป็นตลาดดั้งเดิมนับตั้งแต่ยุคกลาง) แต่หลังการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย ก็มีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง เนื่องจากประเทศโฟกัสที่ภาคการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม มากกว่า 70% ของพื้นที่ประเทศฮังการี มีความเหมาะสมกับการเกษตรกรรม และมีพื้นที่ป่า 22.5% มีดินที่แร่ธาตุสูง มีแสงแดดเกือบตลอดปี (ยกเว้นหน้าหนาวที่มีเมฆมาก) มีแม่น้ำไหลผ่านกลางประเทศ ทำให้ผลิตธัญพืช อาทิ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ได้จำนวนมาก และมีผักผลไม้คุณภาพดี การเกษตรคิดเป็น 3.5% ของ GDP และพลเมืองฮังการี 7% ทำงานในภาคเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2559 === การพัฒนาผลิตภัณฑ์ === === พื้นดิน === === การครอบครองที่ดิน === === อุตสาหกรรม === === ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ === == ระบบขนส่งสาธารณะ == == ระบบการศึกษา == ในฮังการีโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่เป็นของเทศบาล แต่โรงเรียนประถมและมัธยมส่วนใหญ่เป็นของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 แต่ก็ยังมีกลุ่มคริสตจักร กลุ่มชาติพันธุ์ และ เอกชน ที่เป็นเจ้าของโรงเรียนด้วย แม้ว่าการศึกษาสาธารณะของฮังการีจะมีโลกทัศน์ที่เป็นกลาง แต่สถาบันการศึกษาของคริสตจักรมักจะได้รับเงินอุดหนุนหลายครั้งจากรัฐบาล เด็กฮังการีจะต้องเข้าโรงเรียนอนุบาลตั้งแต่อายุสามขวบ โดยเริ่มโรงเรียนประถมศึกษาในปีที่เขาอายุครบหกขวบ ก่อนวันที่ 1 กันยายนของปีนั้น ๆ โรงเรียนประถมฮังการีมักจะใช้เวลาแปดปี หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมสายอาชีพ หรือ โรงเรียนมัธยมสายสามัญเพื่อศึกษาต่อได้ โรงเรียนมัธยมสายอาชีพส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาเรียน 4 ปี แต่โรงเรียนมัธยมสายสามัญมักจะใช้เวลา 6-8 ปี ซึ่งเด็กสามารถเข้าเรียนต่อในระดับมัธยม เมื่อเรียนจบเกรด 4 หรือ 6 ได้ตามลำดับ แล้วแต่ว่าเรียนต่อสายใด ตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 1997/1998 โรงเรียนมัธยมศึกษามักจะเริ่มการสอนตั้งแต่เกรด 5 7 หรือ 9 พระราชบัญญัติการศึกษาสาธารณะกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับในฮังการี เด็กทุกคนต้องเรียนหนังสือ หลังจากสอบสำเร็จการศึกษาแล้วนักเรียนสามารถศึกษาต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยได้ อาทิ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เอิตเวิช โลรานด์ (ELTE), มหาวิทยาลัยแดแบร็ตแซ็น (University of Debrecen), มหาวิทยาลัยแชมแมลไวช์ (Semmelweis University), มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และวิศวกรรมบูดาเปสต์ (BME), มหาวิทยาลัยคอร์วินุส (Corvinus University) ฯลฯ ด้วยการสอบเข้า และ/หรือ ด้วยคะแนนที่คำนวณจากผลการศึกษา ในปัจจุบันรัฐให้ทุนการศึกษาของรัฐหากนักเรียนตกลงที่จะทำงานในฮังการีเป็นระยะเวลา 20 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือ ชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการฝึกอบรมหลังจากนั้น มิฉะนั้นนักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเองเต็มจำนวน ประเทศฮังการีเปลี่ยนมาใช้ระบบการศึกษาแบบโบโลญญาในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งมีการแนะนำหลักสูตรปริญญาตรีและหลักสูตรปริญญาโท โดยมี ปริญญาตรี 3 ปี และ ปริญญาโท 2 ปี อันเป็นผลมาจากกระบวนการโบโลญญาหลังจากได้รับปริญญาตรีแล้วนักเรียนอาจศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขาอื่น หรือ ศึกษาระดับปริญญาโทต่อ จากการสำรวจของ OECD การศึกษาของฮังการีอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลกในแง่ของคุณภาพโดยรวม การใช้จ่ายด้านการศึกษาคิดเป็น 4.85% ของ GDP อัตราส่วนครูต่อนักเรียนคือ 1:11 สัดส่วนของบัณฑิตที่อาศัยอยู่ในประเทศเพิ่มขึ้นสามเท่าระหว่างปี ค.ศ. 1980 ถึง 2010 สัดส่วนของบัณฑิตที่อาศัยอยู่ในฮังการีคือ 19% จากประชากรผู้ใหญ่ ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ในปี ค.ศ. 2020 ตามการเรียงลำดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศฮังการีแล้ว มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศฮังการี คือ มหาวิทยาลัยเอิตเวิช โลรานด์ (Eötvös Loránd Tudományegyetem, ELTE) ตามมาด้วยอันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยแซแก็ด (SZTE), อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์บูดาเปสต์ (BME), อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยคาทอลิกเปแตร์ ปาสมาญ (PPKE), อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยแดแบร็ตแซ็น (DE), อันดับที่ 6 มหาวิทยาลัยแชมเมลไวช์ (SE), อันดับที่ 7 มหาวิทยาลัยเปช, อันดับที่ 8 มหาวิทยาลัยคอร์วินุสบูดาเปสต์ (ฺBCE), อันดับที่ 9 มหาวิทยาลัยพันนอน (PE) และอันดับที่ 10 มีสองมหาวิทยาลัยร่วมกัน คือ มหาวิทยาลัยคริสตจักรปฏิรูปกาโรลิ กาชปาร์ (KRE) และมหาวิทยาลัยการบริการสาธาณะแห่งชาติ (NKE) ตามลำดับ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งของฮังการีมักจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน อาทิ มหาวิทยาลัยเอิตเวิช โลรานด์ เน้นวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยแซแก็ดเน้นการแพทย์และเภสัชกรรม, มหาวิทยาลัยวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์บูดาเปสต์เน้นวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น == ประชากรศาสตร์ == ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศฮังการีมีประชากรจำนวน 9,772,756 คน ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 105.1 คน /ตารางกิโลเมตร การเติบโตของประชากรคือ -0.1% สาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรลดลง คือ อัตราการเสียชีวิตที่สูง มีผู้เสียชีวิต 12.9 ต่อ 1,000 คน (สถิติปี พ.ศ. 2554) ซึ่งเป็นผลมาจากสุขภาพที่ไม่ดีของประชากรและจำนวนการเกิดต่ำ (อัตราการตายของทารกต่ำ 5 ใน 1000) การย้ายถิ่นฐานตามธรรมชาติ ออกจากประเทศ ประมาณ 35,000-40,000 คน / ปี และมีผู้เข้ามาอาศัยเพิ่ม 10,000-15,000 คนต่อปี อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 71.5 ปีสำหรับผู้ชาย และ 79.19 ปีสำหรับผู้หญิง ประชากรฮังการีมีสัดส่วนของคนหนุ่มสาวกำลังลดลงมากขึ้นเรื่อย ๆ และประชากรผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ประชากรอายุ 0-14 ปีคิดเป็น 14.8% ของประเทศ ประชากรอายุ 15-64 ปีคิดเป็น 67.7% และผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคิดเป็น 17.5% ของประชากรทั้งประเทศ การใช้จ่ายด้านสุขภาพคิดเป็น 7.75% ของ GDP === ชาติพันธุ์ === ประเทศฮังการีมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อจยอร์ (หรือ ชาวฮังการี) มากกว่า 80% และมากกว่า 90% ของพลเมืองทั้งหมด สื่อสารโดยใช้ภาษาฮังการี ประเทศฮังการียอมรับชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ 2 กลุ่มซึ่งถูกกำหนดให้เป็น "ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ" เนื่องจากบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ในภูมิภาคของตนมานานหลายศตวรรษในพรมแดนฮังการี ประกอบด้วย ชุมชนชาวเยอรมันประมาณ 130,000 คนที่อาศัยอยู่ทั่วประเทศ และ ชนกลุ่มน้อยชาวยิปซีจำนวนประมาณ 300,000 คนซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทางตอนเหนือของประเทศ การศึกษาบางชิ้นระบุว่าชาวยิปซีในฮังการีมีจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (876,000 คน - ประมาณ 9% ของประชากร) จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2554 ประเทศฮังการี มีชาวฮังการี 8,314,029 (83.7%) ชาวยิปซี 308,957 คน (3.1%) ชาวเยอรมัน 131,951 คน (1.3%) ชาวสโลวัก 29,647 คน (0.3%) ชาวโรมาเนีย 26,345 คน (0.3%) และ ชาวโครเอเชีย 23,561 คน (0.2%) โดยมีอยู่ 1,455,883 คน (14.7% ของประชากรทั้งหมด) ที่ไม่ได้ประกาศชาติพันธุ์ของตน ดังนั้นชาวฮังกาเรียนจึงประกอบด้วยคนมากกว่า 90% ที่ประกาศชาติพันธุ์ของตน ในฮังการีผู้คนสามารถประกาศชาติพันธุ์ได้มากกว่าหนึ่งชาติพันธุ์ดังนั้นจำนวนชาติพันธุ์จึงสูงกว่าจำนวนประชากรทั้งหมด ปัจจุบันมีชาวฮังการีพลัดถิ่น 5 ล้านคนที่อาศัยอยู่นอกประเทศฮังการี โดยเฉพาะในโรมาเนีย และ สโลวาเกีย เนื่องจากสนธิสัญญาทรียานง ซึ่งแบ่งแยกประเทศฮังการีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 === ภาษา === ภาษาฮังการี เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาพูดหลักของประชากร ภาษาฮังการีเป็นภาษาแม่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอันดับที่ 13 ของยุโรป โดยมีเจ้าของภาษาประมาณ 13 ล้านคน และเป็นหนึ่งใน 24 ภาษาทางการและภาษาทำงานของสหภาพยุโรป นอกประเทศฮังการี มีการใช้ภาษานี้ในประเทศเพื่อนบ้านและชุมชนชาวฮังการีพลัดถิ่นทั่วโลก จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 มีประชากร 9,896,333 คน (99.6%) พูดภาษาฮังการีในประเทศโดย 9,827,875 คน (99%) พูดเป็นภาษาแม่ ในขณะที่ประชากร 68,458 คน (0.7%) พูดเป็นภาษาที่สอง ผู้พูดภาษาอังกฤษ 1,589,180 คน (คิดเป็น 16.0%) และผู้พูดภาษาเยอรมัน 1,111,997 คน (คิดเป็น 11.2%) ทั้งสองภาษาเป็นภาษาต่างประเทศที่พูดกันแพร่หลายมากที่สุด และมีผู้พูดภาษาชนกลุ่มน้อยหลายภาษาในฮังการี (ภาษาอาร์มีเนีย, ภาษาบัลแกเรีย, ภาษาโครเอเชีย, ภาษาเยอรมัน, ภาษากรีก, ภาษาโรมาเนีย, ภาษาโรมานี, ภาษารูซึน, ภาษาเซอร์เบีย, ภาษาสโลวัก, ภาษาสโลวีเนีย, และภาษายูเครน) ภาษาฮังการีเป็นสมาชิกของตระกูลภาษายูรัล ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษาใกล้เคียงใด ๆ และมีความเกี่ยวข้องอย่างห่าง ๆ กับภาษาฟินแลนด์ และภาษาเอสโตเนีย โดยภาษาฮังการีมีจำนวนผู้พูดมากที่สุดในตระกูลภาษาและเป็นภาษาเดียวที่พูดในยุโรปกลาง มีประชากรจำนวนมากที่พูดภาษาฮังการีในโรมาเนีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย อดีตยูโกสลาเวีย ยูเครน อิสราเอล และสหรัฐ ยังมีกลุ่มผู้พูดภาษาฮังการีกลุ่มเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในแคนาดา สโลวีเนีย และออสเตรีย รวมถึงในออสเตรเลีย บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก เวเนซุเอลา และชิลี ภาษาฮังการีมาตรฐานยึดภาษาถิ่นบูดาเปสต์เป็นหลัก แม้ว่าจะมีการบังคับใช้ภาษาถิ่นมาตรฐาน แต่ภาษาฮังการีก็มีภาษาถิ่นในเมือง และในชนบทหลายแห่ง === ศาสนา === ในอดีต ศาสนาในฮังการีคือศาสนาคริสต์ตั้งแต่การก่อตั้งรัฐและการเปลี่ยนประเทศจากศาสนาฮังการีโบราณ มาเป็นศาสนาคริสต์โดยพระเจ้าอิชต์วานที่ 1 ในศตวรรษที่ 11 ฮังการี ณ ปัจจุบันไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่รัฐธรรมนูญฮังการียอมรับบทบาทการสร้างชาติของศาสนาคริสต์ และรับประกันเสรีภาพในการนับถือศาสนา ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน จากการสำรวจตัวอย่าง 2% สัมภาษณ์ชาวฮังการี 1,027 คน ใน ค.ศ. 2019 โดย Eurobarometer: 62% ของชาวฮังการีเป็นคาทอลิก, 20% ไม่มีศาสนา 5%, เป็นโปรเตสแตนท์, 8% เป็นคริสเตียนนิกายอื่น, 1% เป็นชาวยิว, 2 % เป็นอย่างอื่น และ 2% ไม่บอก === เขตเมือง === == วัฒนธรรม == === ศิลปะ === ==== วิทยาศาสตร์ ==== สถาบันวิทยาศาสตร์ฮังการี (Magyar Tudományos Akadémia (ตัวย่อ: MTA)) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1825 ณ เมืองโปโจญ (Pozsony เมืองหลวงของราชอาณาจักรฮังการีในยุคนั้น ปัจจุบันเมืองโปโจญคือกรุงบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย) เป็นหนึ่งในสถาบันที่ตั้งขึ้นในยุคปฏิรูปของประเทศฮังการี (Magyar reformkor) โดยโกรฟ อิชต์วาน เซแชนยี (Széchenyi István) รัฐบุรุษฮังการี ได้ให้รายได้ทั้งหมดที่เขาได้รับในหนึ่งปี ในการก่อตั้งสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์ฮังการี (ซึ่งต่อมากลายเป็น MTA) ขึ้นในปีนั้น (Magyar Tudós Társaság) พร้อมกับได้รับเงินช่วยเหลือจากขุนนางคนอื่น ๆ ด้วย จวบจนถึงทุกวันนี้ MTA เป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของรัฐฮังการีอันมีหน้าที่หลักในการปลูกฝังความคิดทางวิทยาศาสตร์ เผยแพร่ผลงานวิทยาศาสตร์ และเป็นตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ฮังการี โดยมีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนเงินทุนและความช่วยเหลือในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รายชื่อนักวิทยาศาสตร์และกวีชาวฮังการีผู้ได้รับรางวัลโนเบล (เรียงจากล่าสุดไปเก่าที่สุด): === สถาปัตยกรรม === ประเทศฮังการีเป็นที่ตั้งของโบสถ์ยิวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1859 ในสไตล์มูริชรีไววอล ซึ่งจุคนได้ถึง 3,000 คน รวมถึงเป็นที่ตั้งของโรงอาบน้ำสปายาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (โรงอาบน้ำเซแชญี) สร้างเสร็จในปี 1913 ในสไตล์โมเดิร์นเรเนซองส์ และตั้งอยู่ในสวนสาธารณะในเมืองบูดาเปสต์ ส่วนอาคารที่ใหญ่ที่สุดในฮังการีมีความยาว 268 เมตร ซึ่งก็คืออาคารรัฐสภาฮังการี (Országház) และประเทศฮังการียังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารแอสแตร์โกม หนึ่งในมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (Esztergomi Bazilika) และอารามศาสนาคริสต์ซึ่งมีขนาดอาณาเขตที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ชื่อว่า อารามปอนโนนฮอลมอ (Pannonhalma Archabbey) และสุสานคริสเตียนยุคแรกที่ใหญ่ที่สุดนอกประเทศอิตาลี ณ เมืองเปช (Pécs) ทางตอนใต้ของประเทศฮังการี รูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในฮังการี ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมรูปแบบฮิสตอริซิสม์ (Historicism) และสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau) อาร์ตนูโวของฮังการีมีพื้นฐานมาจากลักษณะสถาปัตยกรรมประจำชาติ มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกที่ชาวฮังการีอพยพมาเมื่อ 1 พันปีก่อน เออเดิน แลคแนร์ (Ödön Lechner (1845–1914)) ศิลปินที่สำคัญที่สุดในศิลปะแบบอาร์ตนูโวของฮังการี โดยเริ่มแรกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมอินเดียและซีเรีย และต่อมาจากการออกแบบตกแต่งแบบฮังการีดั้งเดิม ด้วยวิธีนี้เขาสร้างการสังเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ด้วยการนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปใช้กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมสามมิติ เขาได้ผลิตอาคารรูปแบบศิลปะอาร์ตนูโวที่มีลักษณะเฉพาะตัวแบบฮังการี กลุ่ม "คนรุ่นใหม่" (Fiatalok) ซึ่งมีสถาปนิกรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่มีชื่อเสียง อาทิ กาโรย โกช (Károly Kós) และ แดเจอ ซรุมแมชกี (Dezsö Zrumeczky) ได้ใช้โครงสร้างลักษณะและรูปแบบของสถาปัตยกรรมฮังการีแบบดั้งเดิม เพื่อการสร้างสถาปัตยกรรมขึ้นในยุคต่อมา (ศตวรรษที่ 20) นอกจากสองรูปแบบหลักแล้ว กรุงบูดาเปสต์เมืองหลวงของประเทศฮังการี มีสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่มีต้นกำเนิดจากประเทศในยุโรปอื่น ๆ เซเซชชัน (Sezession) จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ยุงเงนสติล (Jugendstil) แบบเยอรมนี อาร์ตนูโวจากเบลเยียมและฝรั่งเศส ร่วมกับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมอังกฤษและฟินแลนด์ อิทธิพลทางศิลปะนี้สะท้อนให้เห็นในอาคารที่สร้างขึ้นในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มแรก เบลอ ลอยตอ (Béla Lajta) นำสไตล์ของ Lechner มาใช้ ต่อมาได้รับแรงบันดาลใจจากเทรนด์สถาปัตยกรรมแบบอังกฤษและฟินแลนด์ หลังจากพัฒนาความสนใจในสไตล์อียิปต์ในที่สุดเขาก็มาถึงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ออลอดาร์ อาร์กอย (Aladár Árkay) ใช้เส้นทางเกือบเดียวกัน อิชต์วาน แมดจยอซอย (István Medgyaszay) ได้พัฒนาสไตล์ของตัวเองซึ่งแตกต่างจาก Lechner โดยใช้ลวดลายแบบดั้งเดิมที่มีสไตล์เพื่อสร้างการออกแบบตกแต่งในคอนกรีต ในแวดวงศิลปะประยุกต์ผู้ที่รับผิดชอบส่วนใหญ่ในการส่งเสริมการแพร่กระจายของอาร์ตนูโวคือ โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์มัณฑนศิลป์ ซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 1896 อาคารต่าง ๆ ในย่านใจกลางเมืองบูดาเปสต์เกือบทั้งหมดมีอายุมากกว่าหนึ่งร้อยปี มีกำแพงหนาเพดานสูงและลวดลายที่ผนังด้านหน้า และมีความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม === เพลง === ดนตรีพื้นบ้านของชาวม็อจยอร์ (Magyar Népzene) มีรากฐานมากจากตะวันออก เรารู้จักท่วงทำนองเพลงประมาณสองร้อยเพลงที่ย้อนไปถึงช่วงเวลาที่คนฮังการีอพยพมายังทวีปยุโรป เพลงพื้นบ้านแพร่กระจายโดยการบอกต่อ ๆ กันมานานหลายศตวรรษ โดยเริ่มมีการรวบรวมในช่วงปลายทศวรรษ 1800 เพื่อจดบันทึกเพลงเหล่านั้น นักประพันธ์เพลงยอดเยี่ยมของฮังการี คือ เบลอ บอร์โตก (Bartók Béla) และ โกดาย โซลตาน (Kodály Zoltán) ซึ่งมีท่วงทำนองเกือบหนึ่งหมื่นเพลง (1933) ได้รับการเสริมแต่งเพิ่มเติมโดยนักวิจัยเพลงพื้นบ้าน เสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของสมบัติอันไพเราะขอเพลงฮังการีทำให้เสียงนี้แตกต่างจากดนตรีของชาวยุโรปอื่นๆ รูปแบบดนตรีเต้นรำของฮังการีที่เกิดขึ้นในช่วงที่สามของศตวรรษที่ 18 คือ Verbunkos ดนตรีบรรเลงพร้อมเสียงพิเศษ โดดเด่นด้วยการสลับท่อนช้าและเร็ว Verbunkos ต่อมาก็สไตล์เพลงนี้เข้าสู่ดนตรีคลาสสิกของฮังการีเช่นกัน Verbunkos ถูกใช้ในการสร้างโอเปร่าฮังการี (ดูโอเปร่าของ Erkel Ferenc) Verbunkos ปรากฏในเนื้อหาดนตรีของงานไพเราะไม่เพียง แต่ที่บ้าน แต่ยังในต่างประเทศในเพลงของนักแต่งเพลงคนอื่น (เช่น Hungarian Dance No.5 ของโยฮันเนส บรามส์) ในบรรดานักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชาวฮังการี มีนักดนตรี 4 คนหลัก ๆ ที่มีผลงานไปไกลทั่วโลก ไกลเกินขอบเขตของฮังการี: แฟแร็นซ์ แอร์แคล (Erkel Ferenc 1810-1893) เป็นนักแต่งเพลงและวาทยากร ผู้จัดงานดนตรีชีวิตฮังการี การสร้างสรรค์งานอุปรากรของชาติถือเป็นบุญคุณอันโดดเด่น เขาดึงธีมของโอเปร่าของเขา Hunyadi László และ Bánk bán จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ฮังการี และเป็นผู้แต่งเพลง Himnusz เพลงชาติของฮังการี แฟแร็นซ์ ลิสต์ (Liszt Ferenc 1811-1886) เป็นนักแต่งเพลงโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 19 นักเปียโนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ต้นกำเนิดของครอบครัวฮังการียังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ลิสต์เองเป็นคนฮังการีมาตลอดชีวิตทั้งการพูดและการเขียน เขาได้แต่งบทเพลงสำหรับเล่นเปียโน บทกวีไพเราะ และผลงานที่แต่งขึ้นสำหรับเครื่องออร์แกนของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น ฮังกาเรียนแร็ปโซดีส์ (Magyar rapszódiák) และ เพลงมิซาพิธีราชาภิเษก (Koronázási mise) เบลอ บอร์โตก (Bartók Béla 1881-1945) เป็นนักแต่งเพลง นักเปียโน และนักวิจัยดนตรีพื้นบ้าน งานของเขาในฐานะนักแต่งเพลงได้ฟื้นฟูดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ผลงานของเขามีอยู่ในวงออเคสตราสำคัญๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับละครเพลงของเขาเรื่อง ปราสาทของเจ้าชายเคราน้ำเงิน (The Castle of the Bluebeard: A kékszkállú herceg vára) และ การเต้นของเจ้าชายไม้ (The Dance of the Wood-Carved Prince: A fából faragott királyfi című táncjátéka) บนเวทีของโรงอุปรากร โซลตาน กอดาย (Kodály Zoltán 1882-1967) เป็นนักแต่งเพลงและนักวิจัยด้านดนตรีพื้นบ้าน นอกเหนือจากงานเปียโนและงานดนตรีของเขา (เช่น Psalmus Hungaricus - แปล: สดุดีฮังการี) การเล่นเพลงของเขา (Háry János) วิธีการของเขาในการฟื้นฟูการศึกษาด้านดนตรีตั้งแต่รากเหง้ามีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเรียกและใช้ทั่วโลกในฐานะ "วิธีของ Kodály". การนำเสนอดนตรีและบทเพลงฮังการีจะไม่สมบูรณ์หากไม่กล่าวถึงโอเปร่า (นักร้อง การเต้นแสดงตลก) และนักแต่งเพลงโอเปร่าชื่อดังระดับโลกสองคน แฟแร็นซ์ แลฮาร์ (Lehár Ferenc 1870-1948) และ อิมแร คาลมาน (Kálmán Imre 1882-1953) === วรรณกรรม === ==== วรรณกรรมโบราณ (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10) ==== ชาวฮังการีมีอักษรเขียนก่อนการพิชิตที่ราบพันโนเนีย (การเขียนอักษรรูน: rovásírás) แต่แทบไม่ได้ใช้ในการบันทึกข้อความยาว ๆ รูปแบบของวรรณคดีในเวลานั้นเป็นแบบปากเปล่า และงานกวี (โคลงสั้น: lírikus) และการเล่าเรื่อง (มหากาพย์: epikus) ทำให้กวีนิพนธ์โบราณที่เป็นลายลักษณ์อักษรของฮังการีนั้นไม่เหลืออยู่เลย เรื่องราวของการอพยพหลายศตวรรษและการเผชิญหน้าของชาวม็อจยอร์กับชนชาติอื่นสามารถพบได้ในนวนิยายและตำนานฮังการี ช่วงเวลาแห่งชัยชนะและศาสนาคริสต์ในยุคแรกนั้นถูกเล่าขานโดยศิลปินในยุคต่อมา (เช่น Anonymus: Gesta Hungarorum ต้นทศวรรษ 1200; ใน Krónika, ค.ศ. 1358) ตามตำนานกวางมหัศจรรย์ (Csodaszarvas) ที่เขียนโดย ชิโมน เกซอย (Kézai Simon)i เกี่ยวกับต้นกำเนิดของชาวฮังการี มีกวางมหัศจรรย์ตัวหนึ่ง สีขาวสวยงาม มันล่อใจลูกชายสองคนของหัวหน้าเผ่าเมนโร่ ยักษ์ในตำนาน ลูกชายทั้งสองชื่อว่า ฮุโนร์ และ มอโกร์ พวกชายหนุ่มตามกวางตัวนั้นเป็นเวลาหลายวัน จนกระทั่งมันพาพวกเขาเข้าไปในที่ลุ่ม และที่นั่นกวางตัวนั้นก็หายไปจากสายตาของพวกเขา ชายหนุ่มสองคนพบทะเลสาบ ธิดาที่สวยงามสองคนของกษัตริย์ดูลกำลังอาบน้ำอยู่ในทะเลสาบนั้น ฮุโนร์ตกหลุมรักผู้หญิงคนหนึ่ง ส่วนมอโกร์กลับตกหลุมรักอีกคนหนึ่ง ชนชาติฮันเป็นลูกหลานของฮุโนร์ และ ชนชาติม็อจยอร์ (ฮังการี) เป็นลูกหลานของมอโกร์ ซึ่งทั้งสองชนชาติก็มุ่งหน้าสู่ตะวันตก แรกเริ่มโดยชาวฮัน และ ต่อมาโดยชาวฮังการี ==== วรรณกรรมยุคกลาง (ศตวรรษที่ 10–15) ==== ในช่วงเวลานี้งานเขียนจะเป็นภาษาละติน การตัดสินของพระเจ้าอิชติวานที่ 1 ในการยอมรับศาสนาคริสต์ และการยอมรับการรู้หนังสือในภาษาละตินมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ทำให้ชาวฮังการีกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวของยุโรปยุคกลาง ในยุคนี้การรู้หนังสือแพร่กระจายช้ามาก น้อยคนที่จะรู้วิธีเขียน มีเฉพาะนักบวชชั้นสูงและมีการศึกษาเท่านั้นที่เข้าใจการอ่านเขียนภาษาละติน codices ถูกเขียนด้วยมือ ประดับด้วยรูปภาพขนาดเล็ก (miniatures) ที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างพิถีพิถันและชื่อย่อที่หรูหรา (initials) ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปภาพ วรรณกรรมของยุคกลางตอนต้นมีสีสันหลากหลาย ตำนานเป็นประเภทงานเขียนที่โดดเด่น ตำนานบอกเล่าเรื่องราวชีวิตและการกระทำอันอัศจรรย์ของนักบุญ และเรื่องราวเหล่านี้เป็นอุปมาด้านศีลธรรมสำหรับผู้อ่าน ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ตำนานนักบุญอิชต์วาน นักบุญแกลเลิร์ต นักบุญลาสโล่ และ นักบุญมอร์กิต ==== วรรณกรรมยุคเรเนซ็องส์ (ศตวรรษที่ 15–17) ==== Janus Pannonius (1434-1472) ยานุส พันโนนิอัส ชื่อเดิมของเขาคือ ยาโนช แชสมิตแซย (Csezmicei János) บิชอปแห่งเมืองเปช และนักเขียนแนวมนุษยนิยม เขาเป็นนักเขียนยุคเรเนซ็องส์ฮังการีคนสำคัญที่สุด งานของเขาถือเป็นวรรณกรรมคลาสสิกเรื่องแรกของฮังการี เขาเขียนบทกวีเป็นภาษาละติน ส่วนใหญ่เป็น epigrams และ elegy (Búcsú Váradtól (อำลาจากเมืองวาร็อด ปัจจุบันคือ ออราเดีย ประเทศโรมาเนีย), Midőn beteg volt a táborban (เมื่อเขาป่วยในค่าย), Pannónia dicsérete (สรรเสริญพันโนเนีย)) ภายหลังการตายของยานุส งานของยานุสถูกรวบรวมโดยกษัตริย์มาทยาช และจัดเก็บไว้ในห้องสมุดที่มีชื่อเสียงของพระองค์ ชื่อว่า Bibliotheca Corvina ณ เมืองบูดอ และในต่างประเทศเช่นในนครรัฐวาติกัน Balassi Bálint (1554-1594) บาลินต์ บอลอชชี เป็นนักแต่งกลอนฮังการีที่สำคัญที่สุดในยุคเรเนซ็องส์ และเป็นกวีคนแรกที่ใช้ภาษาฮังการีในการเขียน เขารวบรวมบทกวีนวนิยายที่แต่งขึ้น (Balassa Codex) เขาเขียนบทกวีของเขา เป็นเนื้อร้องให้เข้ากับเพลงสมัยนั้นที่เป็นที่รู้จักกันดี บทกวีสำคัญสามชั้นของเขาคือบทกวีรัก (ซึ่งส่วนใหญ่เขาเขียนถึง Losonczi Anna ซึ่งเขาเรียกว่า Julia ในงานของเขา เช่น Hogy Júliára talála így köszöne neki) เพลงสร้างความฮึกเหิม (เช่น Egy katonaének, Áldott szép Pünkösdnek gyönörű ideje) และบทกวีสรรเสริญพระเจ้า (เช่น Adj már csendességet ) บทละครที่ยังหลงเหลืออยู่ของเขา คือ Szép magyar komédia (คอมเมดีฮังการีที่สวยงาม) ซึ่งเป็นบทละครที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับกวีในยุคหลัง (เช่น Ady Endre) ==== วรรณกรรมยุคบารอก และ ยุคแสงสว่างทางปัญญา (ศตวรรษที่ 17–18) ==== นักเขียนเหล่านี้เป็นกวีที่โดดเด่นที่เขียนวรรณกรรมแบบบารอก ตามยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคการปฏิรูป Zrínyi Miklós (1620-1664) มิโคลส ซรินยี เขาเขียนมหากาพย์ Szigeti veszedelem ซึ่งรำลึกถึงการปิดล้อมเมืองซิแก็ตวาร์ (Szigetvár) ใน ค.ศ. 1566 มหากาพย์เกี่ยวกับปู่ทวดของเขา ผู้ซึ่งปกป้องปราสาทจากกองทัพตุรกีที่ปิดล้อมเมืองอยู่ จนกระทั่งเขาเสียชีวิต นอกจากบทกวีแล้ว เขายังเขียนงานวิทยาศาสตร์ และการทหารอีกด้วย Bessenyei György (1746-1811) เจิร์จย์ แบชแชนแยย เป็นนักเขียนที่มีต้นกำเนิดจากตระกูลสูงศักดิ์ นักวางแผนและผู้นำยุคแสงสว่างทางปัญญาของฮังการี และเป็นองครักษ์ของพระราชินีมาเรีย เทเรซาแห่งฮังการีที่กรุงเวียนนา เราพิจารณาการปฏิรูปภาษา (คำพูดที่โด่งดังของแบชแชนแยย: "ทุกประเทศกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ ในภาษาของตนเอง") และการก่อตั้ง Academia งานของเขา "โศกนาฏกรรมของอากิส (Agis tragédiája) ว่าถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแสงสว่างทางปัญญาของฮังการี งานที่สำคัญอื่น ๆ ของเขาคือ A filozófus (นักปราชญ์ เป็นวรรณกรรมตลก), Tariménes utazása (การเดินทางของตอริเมแนช เป็นนิยายสอนใจ ให้ข้อคิดทางการเมือง), a Bihari remete (ฤๅษีแห่งบิฮอร์) Kazinczy Ferenc (1759-1831) แฟแร็นซ์ คอซินต์ซี เป็นผู้นำวรรณกรรมร่วมสมัย กวีคลาสสิก นักแปล และผู้นำของขบวนการปฏิรูปภาษา เขาเป็นผู้สร้างและบรรณาธิการวารสารภาษาฮังการีฉบับแรก (Magyar Museum, ค.ศ. 1788) คอลเล็กชั่นบทกวีของเขา ชื่อ Tövisek és virágok (หนามและดอกไม้)เป็นผลงานที่เป็นการบูรณะภาษาฮังการีและรสนิยมใหม่ ในการพิจารณาคดีขบวนการล้มล้างกษัตริย์ของอิกนาตซ์ มอร์ติโนวิช (Martinovich Ignác) คอซินต์ซีที่มีส่วนในขบวนการนี้ ถูกตัดสินว่ามีความผิด (ค.ศ. 1795) ในช่วงระยะเวลาหกปีครึ่งที่เขาถูกจำคุก เขาเขียนบันทึกประจำวัน ชื่อว่า "การถูกขังของฉัน (Fogságom)" Csokonai Vitéz Mihály (1773-1805) เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการตรัสรู้ของฮังการี กวีและนักภาษาศาสตร์ที่มีการศึกษา ในบทกวีของเขา คุณจะพบเทรนด์สไตล์ทั้งหมดในยุคนั้น (คลาสสิก, โรโกโก, อารมณ์อ่อนไหว, ความนิยม) บทกวีที่สำคัญของเขา: Konstantinápoly (คอนสแตนติโนเปิล), Az estve (ยามเย็น), A reményhez (สู่ความหวัง), A magánossághoz (สู่ความเหงา), Jövendölés az első oskoláról Somogyban (คำทำนายโรงเรียนแรกแห่งแคว้นโชโมจย์) บทละครของเขา: A méla Tempefői (เมลอ แตมแปเฟิย), Dorottya (โดโรททยอ), Az özvegy Karnyóné és a két szeleburdiak (นางคอร์โตเนแม่หม้าย และสายลมทั้งสอง) ==== วรรณกรรมศตวรรษที่ 19 วรรณกรรมโรแมนติก ==== Katona József (1791-1830) โยแจ็ฟ กอโตนอ Kölcsey Ferenc (1790-1838) แฟแร็นตซ์ เกิลแชย Vörösmarty Mihály (1800-1855) มิฮาย เวอเริชมอร์ตี Petőfi Sándor (1823-1849) ชานโดร์ แปเตอฟิ Arany János (1817-1882) ยาโนช ออร็อญ Jókai Mór (1825-1904) โมร์ โยค็อย Madách Imre (1823-1864) อิมแร มอดาช Mikszáth Kálmán (1847-1910) คาลมาน มิคซาต ==== วรรณกรรมศตวรรษที่ 20 ==== Ady Endre (1877-1919) แอนแดร์ ออดี Móricz Zsigmond (1879-1942) จิกโมนด์ โมริตซ์ József Attila (1905-1937) อ็อตติลอ โยแจ็ฟ Kertész Imre (1929-2016) อิมแร แกร์เตส === อาหาร === ชาวฮังการีทานขนมปังเป็นหลัก รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น ชีส ตูโร ครีมเปรี้ย) แป้งพาสต้า เกี๊ยว หรือ มันฝรั่ง โดยอาหารฮังการีมักมีความข้น มีเครื่องเทศจำพวกพริกไทยและพริกปาปริก้าแดงอยู่จำนวนมาก[240] เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารฮังการี อาหารฮังการีมักผสมชีสและครีมเปรี้ยวลงไป และมักใช้เนื้อสัตว์อย่างเช่น วัว หมู หรือ แกะ และมักไม่ค่อยจะมีผักใบเขียว โดยยกตัวอย่างซุปกูยาช (Gulyás) ที่เป็นอาหารประจำชาติของฮังการีที่ เป็นตัวอย่างเมนูที่ดีที่แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่เด่นชัดในอาหารฮังการี ซุปกูยาชมีการปรุงรสด้วยปาปริก้า (พริกแดงบด) มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ ครีมข้น และ แครอทลงไป และบางครั้งก็มีการใส่ครีมเปรี้ยวแบบฮังการีชนิดข้นที่เรียกว่า แตยเฟิล (Telföl) ลงไป เพื่อทำให้อาหารมีรสชาติเปรี้ยวและทำให้รสชาติอาหารอ่อนลง มีอาหารฮังการีอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงพอ ๆ กับซุปกูยาช ดังนี้ ซุปชาวประมง (Halászlé - ฮอลาสเล) ซึ่งเป็นซุปปลาแม่น้ำอุ่น ๆ ของฮังการีที่มีชื่อเสียง เรียกว่า "ซุปของชาวประมง หรือ ฮอลาซเลมักจะมีส่วนผสมของปลาลวกหลายชนิด ผสมกับเครื่องเทศฮังการีต่าง ๆ [241] สตูว์เนื้อเปอร์เกิลต์ (Pörkölt - เปอร์เกิลต์) สตูว์เนื้อสัตว์คั่วกับเครื่องเทศ มักทานกับพาสต้าโนแคดลิ (nokedli) หรือ ขนมปัง ลางโกช (Lángos) แป้งปาท่องโก๋ขนาดยักษ์ทอดน้ำมัน ใส่ชีส ครีมเปรี้ยว และ น้ำมันกระเทียมเจียว ไก่ราดปาปริก้า (Csirkepaprikás: ชิร์แกะปอปริกาช) ไก่ราดพริกปาปริก้า ราดด้วยครีมปาปริก้าเข้มข้น ทานกับเกี๋ยวแป้งขนาดเล็ก เรียกว่า โนแคดลิ (nokedli) แพนเค้กฮอร์โตบาจ (Hortobágyi palacsinta) เป็นเครปเปรี้ยวสอดไส้เนื้อลูกวัว อาหารฮังการีมีความเป็นมาจากยุโรปกลาง มีองค์ประกอบวัตถุดิบอาหารบางส่วนแบบยุโรปตะวันออก  เช่น การใช้งาดำ และ การใช้ผลิตภัณฑ์จากนมวัวแบบเป็นก้อน (kefir และ quark) อาหารฮังการีปรุงอาหารโดยใช้พริกปาปริก้า เครื่องเทศ และ พริกไทย อาหารฮังกาเรียนทั่วไปมีนม ชีส และเนื้อสัตว์ คล้ายกับอาหารเช็กเกีย โปแลนด์ และ สโลวาเกียที่อยู่ใกล้เคียง โดยส่วนมากใช้เนื้อไก่ เนื้อหมู และเนื้อวัวในการปรุง แต่ก็ใช้เนื้อไก่งวง, เป็ด, เนื้อแกะ, ปลาและเนื้อสัตว์ป่าในโอกาสพิเศษ อาหารฮังการีอื่น ๆ มี ซุป, อาหารตุ๋น ขนมหวาน ขนมอบ และ แพนเค้กแบบยุโรปตะวันออก (palacsinta) อาหารฮังการีมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละภูมิภาคในเมนูเดียวกัน อาทิเช่น ฮอลาซเล (halászlé) ซุปปลาร้อนฮังการี มีการปรุงที่แตกต่างกันระหว่าง2 ริมฝั่งแม่น้ำสายสำคัญของฮังการี ได้แก่ แม่น้ำดานูบและแม่น้ำติซอ palacsinta (แพนเค้กเสิร์ฟพร้อมซอสช็อคโกแลตเข้ม ราดด้วยวอลนัทป่น) และ dobos cake (เค้กฟองน้ำชั้น ราดด้วยช็อคโกแลตบัตเตอร์ครีม และผงคาราเมล) อาหารฮังกาเรียนใช้ชีสหลากหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ túró (เนยแข็งควาร์กชนิดหนึ่ง), ครีมชีส, ชีส picante ewe (juhturó) ชีสฮังการีที่พบมากที่สุดคือ ชีส Karaván, Pannonia, Pálpusztai, Emmentaler และ Edam ชาวฮังการีบริโภคผลิตภัณฑ์หมูรมควันมากมายหลายแบบ เป็นส่วนสำคัญของอาหารฮังการี อาหารหลายเมนูมีรสชาติเอกลักษณ์ของกลิ่นควันของเนื้อหมูรมควัน ชาวฮังการีทานไส้กรอกฮังการีรมควัน, แฮมรมควัน และ มันหมูรมควัน โดยไม่จำเป็นต้องทำการปรุงอาหารเพิ่มเติม ทานกับขนมปังและผักสด เมนูแบบนี้เรียกว่า 'อาหารเย็นแบบเย็น' มักทานเป็นอาหารเช้า หรือ อาหารเย็น แต่บางครั้งก็เป็นอาหารเรียกน้ำย่อยในร้านอาหาร ประเทศฮังการีมีชื่อเสียงในด้านการแปรรูปซาลามี่และไส้กรอกที่คุณภาพสูงและราคาไม่แพง โดยผลิตจากเนื้อหมูเป็นหลัก แต่ก็มีเนื้อสัตว์ปีก เนื้อวัว และ อื่น ๆ เป็นส่วนน้อย ผลิตภัณฑ์ผักดอง มักใช้ปรุงอาหารฮังการี อาทิเช่น กระหล่ำปลีดองเปรี้ยว, พริกหยวกเปรี้ยว, แตงกวาดอง, ดอกกะหล่ำ, มะเขือเทศสีเขียว, แตงโมอ่อน, และผักอื่น ๆ โดยเมนูแบบนี้มักทานในฤดูหนาว และเป็นแหล่งหลักของวิตามินซีตลอดฤดูหนาวที่หนาวเย็น ร้านอาหารฮังการีคลาสสิกมักเสิร์ฟผักดองเป็นเครื่องเคียงเพื่อเพิ่มความสดชื่นสำหรับอาหารจานหนัก อาหารฮังการีใช้เครื่องเทศที่คัดสรรมาอย่างดีเพื่อเพิ่มรสชาติ อาหารฮังการีส่วนใหญ่จะไม่มีพริกเผ็ดร้อนผสมอยู่ แม้ว่าพริกปาปริก้าจะเป็นจุดเด่นของประเทศฮังการีก็ตาม พริกเผ็ดร้อนในปัจจุบันนั้น มักใช้เพื่อปรุงแต่งในอาหารฮังการีแบบดั้งเดิมเท่านั้น หรืออาจให้พริกไว้ข้างจานในเมนูอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความเผ็ดสำหรับแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกับประเทศเขตร้อนอื่น ๆ ที่ปรุงอาหารด้วยพริก เช่น เม็กซิโก และ ไทย ซึ่งใช้พริกเผ็ดร้อนบ่อยกว่าและมักใช้เป็นเครื่องปรุงหลักเพื่อเพิ่มรสชาติ ในประเทศฮังการีพริกปาปริก้าหวาน (พริกหยวก) เป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปมากกว่าพริกเผ็ดร้อน ใช้สร้างสีสันในอาหารส่วนใหญ่ การใช้ซาวครีมข้นที่เรียกว่า แทยเฟิล (tejföl) เป็นที่นิยมอย่างมากในการปรุงอาหารฮังการี นอกเหนือจากพริกหยวกและหัวหอม เครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหารทั่วไปอื่น ๆ ได้แก่ ผักชีลาว ใบกระวาน พริกไทยดำ ยี่หร่า ผักชี อบเชย กระเทียม มะรุม มะนาว มาร์จอแรม มัสตาร์ด ทาร์รากอน ออริกาโน ผักชีฝรั่ง น้ำส้มสายชู เมล็ดงาดำ และ วานิลลา โดยเครื่องเทศที่ใช้น้อย ได้แก่ โป๊ยกั๊ก ใบโหระพา เชอร์วิล กุ้ยช่าย กานพลู จูนิเปอร์เบอร์รี่ โกฐเชียง จันทน์เทศ โรสแมรี่ ซาวอรี่ ไทม์ ไทม์ป่า และ พริกไทยขาว เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ฮังการีก็เป็นอีกสิ่งที่น่าลอง ในฮังการี คนฮังการีดื่มแอลกอฮอลล์แทบทุกชนิด ตั้งแต่เบียร์ ไวน์ ปาลิงกอ (เหล้าผลไม้) เหล้าบรั่นดี วอดก้า และอื่น ๆ โดยเหล้าปาลิงกอ (Pálinka) เป็นเหล้าผลไม้ที่กลั่นจากผลไม้ที่ปลูกในสวนผลไม้ที่ตั้งอยู่บนที่ราบฮังการีใหญ่ (ทางตะวันออกของฮังการี) เป็นสุราที่มีถิ่นกำเนิดในฮังการีและมีหลากหลายรสชาติเช่นแอปริคอท และเชอร์รี่ อย่างไรก็ตาม ปาลิงกอรสพลัม เป็นรสชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เบียร์เข้ากันได้ดีกับอาหารฮังการีแบบดั้งเดิมมากมาย เบียร์ฮังการีห้ายี่ห้อหลัก ได้แก่ Borsodi, Soproni, Arany Ászok, Kõbányaiและ Dreher[243] โดยในฮังการี คนทั่วไปจะไม่ชนแก้วหรือแก้วเมื่อดื่มเบียร์ มีตำนานเมืองในวัฒนธรรมฮังการีกล่าวว่านายพลชาวออสเตรียเคาะแก้วเบียร์เพื่อเฉลิมฉลองการประหารชีวิต 13 ผู้กล้าแห่งเมืองอารัด (13 Martyrs of Arad) ในปี  ค.ศ. 1849 (เหตุการณ์การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848) คนมีอายุหลายคนยังคงปฏิบัติตามประเพณี แต่ว่าคนรุ่นใหม่มักจะไม่ทำตามประเพณีนี้แล้วคนอายุน้อยมักจะปฏิเสธก็ตามโดยอ้างว่าคำปฏิญาณมีไว้เพื่อ 150 ปีที่แล้ว[244] ไวน์ Tokaji (ไวน์โตคอยิ) ที่มีชื่อเสียง ถูกเรียกว่า "Vinum Regum, Rex Vinorum" ("ปีกของราชา ราชาแห่งไวน์") โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ไวน์: ดังที่ ฮิวจ์ จอห์นสัน (Hugh Johnson) กล่าวไว้ใน "The History of Wine" ดินแดนของฮังการีเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำไวน์ และประเทศนี้สามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคไวน์ได้ 6 แห่ง ได้แก่ ทรานส์ดานูเบียเหนือ, ทะเลสาบบอลอโตน, ที่ราบพันโนเนียใต้, ที่ราบใหญ่ฮังการี, ฮังการีตอนบน และ เขตปลูกไวน์โตคอยในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ (Tokaj-Hegyalja)[245] ชาวโรมันนำเถาวัลย์มาสู่แอ่งคาร์เพเทียน และเมื่อถึงศตวรรษที่ 5 ได้มีบันทึกเกี่ยวกับไร่องุ่นที่กว้างขวางในประเทศฮังการี ชาวฮังกาเรียนนำความรู้ด้านการทำไวน์มาจากตะวันออก ตามที่ อิบัน รัสตาห์ ได้เขียนไว้นั้น ชนเผ่าฮังการีคุ้นเคยกับการทำไวน์มานานก่อนที่ฮังการีจะพิชิตแอ่งคาร์เพเทียน[246] แหล่งผลิตไวน์ของฮังการีมีรูปแบบที่หลากหลาย: ผลิตภัณฑ์หลักของประเทศคือ ไวน์ขาวแห้งที่หรูหราและมีความเป็นกรดที่ดีแม้ว่าไวน์ขาวหวาน (Tokaj/โตคอย), ไวน์อลีเกนต์ (Eger/แอแกร์) และและไวน์แดงเข้ม (Villány/วิลลาญ และ Szekszárd/แซ็กซาร์ด). พันธุ์หลัก ได้แก่ : Olaszrizling, Hárslevelű, Furmint, Pinot gris หรือ Szürkebarát, Chardonnay (ขาว), Kékfrankos (หรือ Blaufrankisch ในภาษาเยอรมัน), Kadarka, Portugieser, Zweigelt, Cabernet sauvignon, Cabernet franc และ Merlot โดยไวน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดจากฮังการี ได้แก่ Tokaji Aszú และ Egri Bikavér[247][248] คำว่า Tokaji/โตคอยิ หมายถึง "มาจากเมืองโตคอย" ในภาษาฮังการีใช้ในการติดฉลากไวน์จากภูมิภาคไวน์ "Tokaj-Hegyalja" ไวน์โตคอยิได้รับความนิยมดื่มจากนักเขียนและนักประพันธ์เพลงยอดเยี่ยมมากมายเช่น Beethoven, Liszt, Schubert และ Goethe; ไวน์โปรดของ Joseph Haydn คือ Tokaji [249] พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และเฟรดเดอริคมหาราชพยายามเอาชนะซึ่งกันและกันเมื่อพวกเขาให้ความบันเทิงแก่แขกด้วยไวน์โตคอยิ นโปเลียนที่ 3 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของฝรั่งเศส สั่งซื้อโทคาจิ 30–40 บาร์เรลให้มาส่งที่ราชสำนักฝรั่งเศสทุกปี กุสตาฟที่ 3 กษัตริย์แห่งสวีเดนรักไวน์โตคอยิ[249] ในจักรวรรดิรัสเซีย มีลูกค้ารวมถึงปีเตอร์มหาราชและจักรพรรดินีเอลิซาเบ็ธ ในขณะที่แคทเธอรีนมหาราชก่อตั้งกองทหารรัสเซียในเมืองโตคอยิโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีการส่งไวน์ไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นประจำ[249]เป็นเวลากว่า 150 ปีที่มีการใช้สมุนไพรฮังการีสี่สิบชนิดเพื่อสร้างเหล้าอูนิคุม (Unicum) Unicum เป็นเหล้าที่มีรสขมและมีสีเข้มซึ่งสามารถดื่มหลังอาหารเพื่อช่วยย่อยอาหารได้[250] === การสันทนาการ === === เครื่องลายคราม === === กีฬา === ประเทศฮังการีมีชื่อเสียงด้านฟุตบอล สมาพันธ์ฟุตบอลฮังการี ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1901 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ฮังการีเคยเป็นชาติที่มีประวัติยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลระดับโลก โดยเป็นถึงรองแชมป์โลก 2 ครั้ง ในฟุตบอลโลก 1938 และฟุตบอลโลก 1954 และได้ที่ 3 ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 รวมถึงได้เหรียญทอง, เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ในฟุตบอลชายของโอลิมปิกหลายต่อหลายครั้ง โดยมีแฟแร็นตส์ ปุชกาช เป็นผู้เล่นที่โดดเด่นมีชื่อเสียงมากในระดับโลก อาจถือได้เป็นระดับตำนานคนหนึ่งเทียบเท่ากับเปเล่ นักฟุตบอลชื่อดังจากประเทศบราซิล ปัจจุบัน ฮังการีได้ห่างหายจากการแข่งขันระดับโลกไปนาน รวมถึงนักฟุตบอลของฮังการีเองก็ไม่ปรากฏชื่อเสียงเหมือนเดิม ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ฮังการีได้ผ่านเข้ามาในรอบสุดท้ายได้สำเร็จ นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปี สำหรับการแข่งขันในระดับโลก นับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972 โดยเข้ารอบสุดท้ายได้ด้วยการคัดเลือกเอาชนะนอร์เวย์ไป 2–1 (รวมผล 2 นัด ชนะ 3–1) โดยฮังการีอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับโปรตุเกส, ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ และผลการแข่งขันนัดแรก ฮังการีก็สามารถเอาชนะออสเตรียไปได้ 0–2 == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == Official site of the National Assembly History of Hungary: Primary Documents History of Hungary โดย The Corvinus Library In The Land of Hagar: The Jews of Hungary a virtual exhibition ฮ รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฮ ฮ
thaiwikipedia
1,248
ประวัติศาสตร์ไทย
เชื่อว่ามีมนุษย์อยู่อาศัยอยู่ถาวรในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันมาแล้วประมาณ 40,000 ปี เดิมชาวมอญ เขมรและมลายูปกครองพื้นที่ดังกล่าว โดยมีอาณาจักรใหญ่ เช่น ฟูนาน ทวารวดี หริภุญชัย จักรวรรดิเขมร และตามพรลิงก์ ส่วนบรรพบุรุษไทยสยามปัจจุบันซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชาวไท-ไตเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแถบเดียนเบียนฟูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 8 และเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 รัฐของชาวไทเกิดขึ้นจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประมาณปี 1780 พ่อขุนบางกลางหาวรวบรวมกำลังกบฏต่อเขมร และตั้งอาณาจักรสุโขทัย เหนือขึ้นไป พญามังรายทรงตั้งอาณาจักรล้านนาในปี 1839 มีศูนย์กลางอยู่ที่เชียงใหม่ ทรงรวบรวมแว่นแคว้นขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ส่วนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีการตั้งสหพันธรัฐในบริเวณเพชรบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรีและอยุธยาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักประวัติศาสตร์กระแสหลักมักเลือกนับสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของคนไทย อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1893 ต่อมาเป็นใหญ่แทนจักรวรรดิเขมร และแทรกแซงอาณาจักรสุโขทัยอย่างต่อเนื่องจนสุดท้ายถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดการปกครองโดยแบ่งพลเรือนกับทหารและจตุสดมภ์ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงริเริ่มระบบเจ้าขุนมูลนาย ทำให้ประชากรส่วนใหญ่เป็นไพร่ใช้แรงงานปีละ 6 เดือน กรุงศรีอยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังจากนั้นในปี 2112 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง กรุงศรีอยุธยายังติดต่อกับชาติตะวันตก จนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความขัดแย้งภายในติด ๆ กันหลายรัชกาลในราชวงศ์บ้านพลูหลวง และการสงครามกับราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) จนส่งผลให้เสียกรุงครั้งที่สองเมื่อปี 2310 หลังจากนั้นบ้านเมืองแตกออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เจ้าตากทรงรวบรวมแผ่นดินและขยายอาณาเขต หลังเกิดความขัดแย้งช่วงปลายรัชกาล พระองค์และพระราชโอรสทั้งหลายทรงถูกสำเร็จโทษโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในปี 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาอำนาจปกครองเหนือประเทศลาวและกัมพูชาปัจจุบันและยุติสงครามกับพม่า ต่อมากรุงรัตนโกสินทร์ถูกครอบงำด้วยปัญหาความพยายามแผ่อิทธิพลของชาติตะวันตกโดยมีการบรรลุสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาเบาว์ริง ตามด้วยสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ เป็นการเริ่มต้นการทำให้ประเทศทันสมัยและกลายเป็นตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการรวมศูนย์อำนาจแทนให้เจ้าท้องถิ่นปกครองแบบเดิม เลิกทาสและไพร่ และจัดระเบียบการปกครองแบบกระทรวง มีการยอมแลกดินแดนหลายครั้งเพื่อแลกกับการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศสยามถือฝ่ายสัมพันธมิตร ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ไม่เป็นผล มีส่วนให้เกิดการปฏิวัติในปี 2475 อันนำมาซึ่งการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและทำให้คณะราษฎรมีบทบาททางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยถูกญี่ปุ่นบุกครองและลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น หลังสงครามยุติในปี 2488 ประเทศไทยสามารถบอกเลิกสถานะสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำให้ไม่ตกอยู่ในสภาพผู้แพ้สงคราม ระหว่างสงครามเย็น ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐเต็มตัว และรัฐประหารในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจและมีการรื้อฟื้นพระราชอำนาจ สงครามเวียดนามเร่งให้เกิดการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำในประเทศ ทำให้เกิดการสำนึกทางการเมืองของชนชั้นกลาง "เหตุการณ์ 14 ตุลา" ปี 2516 นำมาซึ่ง "ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน" ช่วงสั้น ๆ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารในปี 2519 การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ยุติในปี 2523 ขณะเดียวกันระบอบการปกครองของไทยสลับกันระหว่างเผด็จการทหารและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอยู่เรื่อย ๆ เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเฉียบพลัน ในพุทธทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยตกอยู่ในวิกฤตการณ์การเมืองระหว่างฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านทักษิณ ชินวัตรเป็นหลัก โดยมีรัฐประหารล่าสุดในปี 2557 == การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย == === การแบ่งยุคสมัย === การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1" ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่ 1) วิชาประวัติศาสตร์มักยึดการเริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ เมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย และ 2) สะดวกในการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน เพราะนักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ทว่า เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ === ปัญหาการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย === สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการประวัติศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยเป็นประวัติศาสตร์ของราชสำนัก ตัดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่าง ๆ ออกไปหมด การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยยังถูกตั้งคำถามว่าเป็นการยัดเยียดให้นักเรียนเกิดความรักชาติ และมีเวลาเรียนถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปีซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งมีการปลูกฝังอคติเกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน == ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย == === หลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ === นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า เดวิด วัยอาจ (David Wyatt) เขียนว่า มีมนุษย์อยู่อาศัยในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันตั้งแต่ 40,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากการเก็บของป่าล่าสัตว์ จนเริ่มมีการกสิกรรมเมื่อ 10,000–20,000 ปีก่อน พบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวอยู่กันกระจัดกระจายตั้งแต่ที่ราบจีนตอนกลางลงไปถึงคาบสมุทรอินโดนีเซีย มีเทคโนโลยีการปลูกข้าวและประดิษฐ์เรือมีกราบกันโคลงทำให้แล่นไปได้ถึงญี่ปุ่นและแอฟริกาตะวันออก มีการหล่อขวานสำริดอายุ 5,000 ปี เหล็กหล่ออายุ 3,000 ปีรวมทั้งเครื่องปั้นดินเผา ทั้งนี้ เชื่อว่าแหล่งโบราณคดีในบ้านเชียงและที่ราบสูงโคราชเป็นหลักฐานการปลูกข้าวและหล่อสำริดที่อาจมีอายุเก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย === รัฐโบราณ === อาณาจักรฟูนานเป็นอาณาจักรแรกสุดและทรงอำนาจที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจริญขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล โดยมีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลางของประเทศไทยและทั้งประเทศกัมพูชาปัจจุบัน โดยมีเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการค้าทางทะเลและเกษตรกรรม มีการติดต่อการค้าอย่างใกล้ชิดกับอินเดียและเป็นฐานสำหรับนักเผยแผ่ศาสนาฮินดู ต่อมา ชาวมอญอาศัยช่วงที่ฟูนานเสื่อมลงตั้งอาณาจักรของตนในคริสต์ศตวรรษที่ 6 อาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน แต่รายละเอียดต่าง ๆ ยังไม่ค่อยทราบกันดีนัก โดยตั้งขึ้นเพื่อการค้าขายทางบกระหว่างอ่าวเมาะตะมะและอ่าวไทยผ่านด่านเจดีย์สามองค์ แต่มีการแผ่ขยายทางทิศตะวันออกไปถึงกัมพูชา ทางเหนือไปถึงเชียงใหม่และทางเหนือของประเทศลาว พอทราบว่ามีกลุ่มเมืองหนึ่งอยู่แถบนครปฐมและสุพรรณบุรี กลุ่มหนึ่งตั้งอยู่ที่ลพบุรี และอีกกลุ่มหนึ่งแถบที่ราบสูงโคราช ซึ่งคนไทในสมัยนั้นก็อาศัยอยู่ตามชายขอบของทวารวดี ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวมอญตั้งอาณาจักรหริภุญไชยที่ลำพูน ซึ่งต่อมาเป็นศูนย์กลางทางศาสนาพุทธและวัฒนธรรม ส่วนชาวเขมรตั้งอาณาจักรใหญ่มีศูนย์กลางอยู่ที่อังกอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 รัฐมอญรับศาสนาพุทธผ่านผู้เผยแผ่ศาสนาจากเกาะลังกา และเผยแผ่ต่อให้จักวรรดิเขมร แม้มอญครอบงำทางวัฒนธรรมในภูมิภาค แต่มักตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าและเขมรอยู่เนือง ๆ ผลทำให้ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 จักรวรรดิเขมรครอบงำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบันทั้งหมด จักรวรรดิเขมรมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แต่การหมกมุ่นกับการก่อสร้างมากเกินไปทำให้เศรษฐกิจของรัฐเสื่อมลง อาณาจักรตามพรลิงก์เป็นรัฐมลายูที่ควบคุมการค้าผ่านช่องแคบมะละกาที่ทรงอำนาจที่สุด เจริญขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตามพรลิงก์รวมเข้ากับอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเป็นสมาพันธรัฐทางทะเลที่มีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 13 ตามพรลิงก์รับศาสนาพุทธ แต่อาณาจักรมลายูที่อยู่ใต้ลงไปรับศาสนาอิสลาม ทำให้เกิดพรมแดนศาสนาระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรมลายู === การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนไท === เดวิด วัยอาจเขียนว่า บรรพชนของคนไท-ไตที่อาศัยอยู่ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า ยูนนานใต้ ไทยและลาวปัจจุบัน คือ กลุ่มไท-ไตที่อยู่แถบเดียนเบียนฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 8 โดยเชื่อว่าเป็นกลุ่มไท-ไตที่เดิมอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแดงที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของจีน และถูกจีนและเวียดนามแผ่แรงกดดันทางทหารและการปกครองเข้ามาจนประชากรกลุ่มหนึ่งเคลื่อนลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พบว่าอาณาจักรน่านเจ้าที่อยู่ทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ ไม่ใช่อาณาจักรของคนไท-ไต แต่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์กลุ่มไท-ไตในแง่ที่ช่วยกั้นอิทธิพลของจีนจากทิศเหนือ และรับศาสนาพุทธและวัฒนธรรมอินเดียทางทิศตะวันตก และช่วยส่งเสริมการขยายตัวของกลุ่มไท-ไต มีการกล่าวถึงชาวไทยสยามครั้งแรกในนครวัดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเรียกว่า "เสียม" หรือคนผิวน้ำตาล พบว่าคนไท-ไตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและตอนกลางของแม่น้ำโขงในลาว ลพบุรีซึ่งเป็นเมืองมอญถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเขมรในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของเสียม (สยำ) หรือเป็นเมืองที่รับผิดชอบการบริหารจัดการชาวเสียม ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 ชาวไท-ไตตั้งรัฐใหม่ ๆ ทางเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ มีคำกล้าวอ้างว่าชาวไท-ไตปล้นสะดมและจับเชลยของเจ้านายไท-ไตหลายพระองค์ ผู้ปกครองที่พ่ายต่อชาวไท-ไตต่างเกรงกลัวยอมส่งเครื่องราชบรรณาการและให้เชื้อพระวงศ์อภิเษกสมรสด้วย ย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวไท-ไตต่าง ๆ ยังอยู่กันเป็นแว่นแคว้นไม่มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในช่วงนี้เมืองของชาวไท-ไตมีขนาดพอ ๆ กันไม่มีเมืองใดใหญ่กว่าเมืองอื่น และตั้งอยู่รอบจักรวรรดิเขมรและอาณาจักรพุกาม ไปจนถึงตอนเหนือของลาว เมื่อจักรวรรดิเขมรและอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน อาณาจักรของชาวไทกินอาณาบริเวณตั้งแต่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียปัจจุบันจนถึงทิศเหนือของลาว และลงไปถึงคาบสมุทรมลายู ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีประชากรชาวไทอาศัยอยู่มั่นคงในอดีตดินแดนแกนกลางของอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรลพบุรี จนถึงดินแดนนครศรีธรรมราช แต่ไม่มีบันทึกรายละเอียดการเข้ามาของชาวไท == อาณาจักรของคนไท == เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คนไท-ไตเริ่มย้ายจากหุบเขามาอยู่ที่ลุ่ม ทำให้เกิดรัฐเล็ก ๆ จำนวนมากที่แย่งชิงอาณาเขตกัน และเริ่มเข้ามาแทนที่สองจักรวรรดิใหญ่ คือ พุกามและพระนคร นครรัฐของไทค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิเขมรที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ครองราชย์ 1792–1822) ทรงสถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อปี 1781 นักประวัติศาสตร์ทราบลำดับเหตุการณ์ในช่วงแรกของอาณาจักรน้อยมาก แต่พอทราบว่าในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีเหตุให้กรุงสุโขทัยรบกับเมืองฉอด ซึ่งขุนรามทรงประกอบวีรกรรมชนช้างชนะข้าศึก พ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ 1822–1841) ทรงเป็นผู้นำชาวไทที่มีความโดดเด่นและทะเยอทะยาน ทรงขยายอาณาเขตโดยใช้การทหารและการทูตผสมกัน ทั้งนี้ อาณาเขตอันกว้างขวางของกรุงสุโขทัยนั้นไม่ได้เกิดจากการเดินทัพไปหักตีเอาเมืองต่าง ๆ แต่เป็นเขตอิทธิพลที่มีผู้นำเข้าสวามิภักดิ์ และเขตอิทธิพลของสุโขทัยทางใต้ก็เกิดจากนครศรีธรรมราชที่เข้าสวามิภักดิ์ด้วย พญาลิไท (ครองราชย์ 1841–1889/90) ทรงสืบราชสมบัติต่อมา แต่หลายเมืองเอาใจออกห่างทันที การที่สุพรรณบุรีแยกตัวออกทำให้กั้นระหว่างกรุงสุโขทัยกับดินแดนสวามิภักดิ์ที่อยู่ใต้ลงไป และนำไปสู่ชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเจริญของกรุงศรีอยุธยา พญามังราย (ครองราชย์ 1802–1860) ทรงสืบราชสมบัติเป็นเจ้าผู้ครองหิรัญนครเงินยางเชียงลาว (เชียงแสน) ทรงพิชิตดินแดนเพื่อนบ้านแล้วขยายอำนาจลงทิศใต้ โดยตั้งเมืองเชียงรายขึ้นในปี 1805 รวมทั้งเข้ายึดครองเชียงของและฝาง ในเวลาต่อมา พระองค์เข้าเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง (ครองราชย์ 1801–1841) แห่งแคว้นพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ด้วยเหตุผลด้านความทะเยอทะยานในการขยายอำนาจและร่วมกันรับมือภัยคุกคามจากมองโกลทางเหนือ ทั้งนี้ ทั้งสามพระองค์ทรงเห็นแก่อัตลักษณ์ร่วมไท-ไต พญามังรายทรงพิชิตหริภุญไชยได้ในปี 1824 นับเป็นเจ้าผู้ครองดินแดนทางเหนือได้ทั้งหมด ระหว่างปี 1835 ถึง 1854 มองโกลกับเชียงรุ่งรบกัน จนสุดท้ายทั้งสองสงบศึกโดยเชียงรุ่งและเชียงใหม่ส่งบรรณาการให้แก่ราชสำนักจีน == อาณาจักรอยุธยา == ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับล้านนาและสุโขทัย ท่ามกลางแว่นแคว้นจำนวนมากในภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกที่กษัตริย์ไทมีความทะเยอทะยานก่อตั้งมากกว่าชุมชนเมืองเล็ก ๆ ศูนย์กลางของอาณาจักรอยุธยาเป็นแคว้นลพบุรีในจักรวรรดิเขมรเดิม แคว้นลพบุรีรอดพ้นจากการพิชิตดินแดนของสุโขทัย โดยยังรักษาอิทธิพลเหนือที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในช่วงเวลานั้นแคว้นสุพรรณบุรีควบคุมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาททางเหนือจนถึงชุมพรทางใต้ พระเจ้าอู่ทอง (ครองราชย์ 1893–1912) ทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี 1893 พระองค์ทรงยกทัพไปตีนครธม เมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร จนสามารถปกครองเมืองได้ช่วงสั้น ๆ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ครองราชย์ 1913–31) ทรงหันไปสนพระทัยกับหัวเมืองเหนือ และทำสงครามกับสุโขทัยตลอดรัชกาล จนบังคับให้สุโขทัยยอมรับอำนาจเหนือของอยุธยาได้ มีวิกฤตการสืบราชสมบัติอยู่เนือง ๆ ระหว่างราชวงศ์สุพรรณบุรีและลพบุรีอยู่หลายชั่วคน จนราชวงศ์สุพรรณบุรีชนะในปี 1952 ในรัชกาลสมเด็จพระอินทราชา (ครองราชย์ 1952–67) กรุงศรีอยุธยาเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในสุโขทัย เริ่มจากลดฐานะเจ้าผู้ครองเป็นเจ้าสวามิภักดิ์ เข้าไปตัดสินปัญหาการสืบราชสมบัติ จนผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในปี 1987 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครองราชย์ 1967–91) นครธมถูกกองทัพอยุธยาตีแตก จนปกครองนครธมในฐานะหัวเมืองประเทศราชช่วงสั้น ๆ ก่อนถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ 1991–2031) ทรงรับช่วงการสงครามกับล้านนาต่อ พระองค์ยังทรงสร้างระบบควบคุมกำลังคนทำให้กรุงศรีอยุธยาได้เปรียบเหนือดินแดนเพื่อนบ้าน โดยมีระบบการควบคุมไพร่ปีละหกเดือนให้สังกัดขุนนางท้องถิ่น ระบบราชการเริ่มใช้ตามรูปแบบของจักรวรรดิเขมร คือ สร้างความห่างเหินระหว่างกษัตริย์กับราษฎร และควบคุมขุนนางด้วยเอกสารลายลักษณ์อักษรแทนการสวามิภักดิ์ พระองค์ยังทรงออกกฎหมายจัดลำดับชั้นและแบ่งแยกหน้าที่ในสังคมที่ซับซ้อน ทรงตั้งจตุสดมภ์และเพิ่มตำแหน่งกลาโหมและมหาดไทย ประมาณปี 2000–2010 ราชอาณาจักรอยุธยาควบคุมคาบสมุทรมลายูและฝั่งทะเลเบงกอล คือ ทวายและตะนาวศรี ทำให้สามารถควบคุมการค้านานาชาติ ทำให้เรือสินค้าไม่ต้องอ้อมแหลมมะละกา การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก โปรตุเกสส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับทั้งจัดหาปืนและอาวุธให้ ในช่วงนี้เองกรุงศรีอยุธยาเริ่มพัฒนาวัฒนธรรมของตนเองโดยมีรูปแบบการแสดงออกทางภาษา วรรณคดีและพิธีกรรม และมีภูมิหลังจากมอญ เขมรและไท-ไตผสมกัน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์นิยามความเป็น "สยาม" ต่างจากไทยวนล้านนาและลาวล้านช้าง ครั้นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ (ครองราชย์ 2074–93) แห่งตองอูพิชิตอาณาจักรมอญโบราณที่หงสาวดีและตีเมืองเชียงกรานซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ 2077–90) ทรงยกทัพไปชิงเมืองคืน สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังทรงกังวลกับล้านนาด้วยจึงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สองครั้งแต่ไม่สามารถยึดเมืองหลวงได้ หลังสิ้นรัชกาลเกิดการชิงราชสมบัติกัน ท้าวศรีสุดาจันทร์ยกขุนวรวงศาธิราชชู้รักของพระนางให้เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ทรงราชย์ได้หกสัปดาห์ ก็ถูกบรรดาขุนนางสมคบกันลอบปลงพระชนม์และยกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ 2091–2108 และ 2110–1) ให้สืบราชสมบัติ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงยกกองทัพเรือนแสนมาล้อมกรุงศรีอยุธยาในปี 2092 แต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ 2094–2124) ทรงยกทัพมาตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง หลังสามารถควบคุมอาณาจักรล้านนาทั้งหมดไว้ได้ ครั้งนี้พระมหาธรรมราชาเป็นผู้สนับสนุนพม่า และสุดท้ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องยอมตามข้อเรียกร้องของพม่าและส่งพระราเมศวร พระราชโอรส เป็นองค์ประกัน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพยายามอภิเษกสมรสทางการเมืองกับล้านช้าง แต่พระมหาธรรมราชาส่งข่าวให้พม่าชิงตัวเจ้าหญิงอภิเษก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิส่งกองทัพไปตีพิษณุโลกเพื่อตอบโต้ แต่ถูกอุบายทำให้ถอนทัพกลับไป ในปี 2111–2 พระเจ้าบุเรงนองส่งกองทัพขนาดใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาอีก กรุงศรีอยุธยารับศึกได้หนึ่งปีแต่สุดท้ายเสียกรุงให้แก่พม่าในวันที่ 8 สิงหาคม 2112 พม่าให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ครองราชย์ 2112–33) ปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะเจ้าประเทศราช อาณาจักรอ่อนแอลงจนถูกกัมพูชาถือโอกาสบุกเข้ามากวาดต้อนผู้คนถึง 6 ครั้งในรอบสองทศวรรษ พระนเรศวรทรงแสดงพระปรีชาสามารถทางทหารในการต่อสู้กับกัมพูชา และเสด็จไปร่วมปราบรัฐฉานกับกองทัพพม่า หลังจากนั้น พระนเรศวรถูกลอบปองร้ายจากราชสำนักพม่าจึงยกทัพกลับบ้านเกิด ทรงรบป้องกันบ้านเมืองจากพม่าและกัมพูชาสามครั้งในช่วงปี 2128–30 ในปี 2135 พระมหาอุปราชาของพม่ายกทัพมาทางกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวร (ครองราชย์ 2133–48) ยกทัพไปรับศึกที่หนองสาหร่ายและชนช้างชนะพระมหาอุปราชา ผลของศึกทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระมั่นคง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรยึดหัวเมืองชายทะเลของพม่าและกัมพูชา และได้ล้านนามาอยู่ในอำนาจแล้ว พระองค์ทรงทำสงครามลึกเข้าไปในแผ่นดินพม่าอีกตลอดรัชกาล และสวรรคตขณะทรงยกทัพไปตีรัฐฉานเพื่อชิงตัดหน้าการรวบรวมอำนาจของพม่าใหม่ หลังจากนั้น การค้าต่างประเทศของกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุเพราะมีความสัมพันธ์อันดีกับโปรตุเกส ฟิลิปปินส์ (ในการปกครองของสเปน) จีน ญี่ปุ่นและรีวกีว และควบคุมเมืองตะนาวศรีและทวายฝั่งอ่าวเบงกอล สมเด็จพระเอกาทศรถ (ครองราชย์ 2148–53) ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ ทรงส่งทูตไปฮอลันดาเป็นคณะแรกในปี 2151 และไปเมืองกัวของโปรตุเกสในอินเดียในปี 2149 สมเด็จพระนารายณ์ (ครองราชย์ 2199–2231) ทรงขึ้นครองราชย์ได้ด้วยความช่วยเหลือของคนต่างด้าว ในรัชกาลของพระองค์ทรงอนุญาตให้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ และมีคณะเยซูอิตมาช่วยเหลือราชสำนักอยุธยาในด้านการช่าง ทรงส่งทูตไปยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในปี 2223 และคอนสแตนติน ฟอลคอนซึ่งมีพื้นเพเป็นนักแสวงโชคชาวกรีก ค่อย ๆ ไต่เต้าตำแหน่งราชการในพระคลัง จนสุดท้ายเป็นสมุหนายกซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนางฝ่ายพลเรือน ในปี 2231 เกิดการปฏิวัติเนื่องจากอิทธิพลของฟอลคอนในราชสำนักและความประพฤติเสื่อมเสียของคนต่างด้าวที่มีอยู่นานแล้ว สุดท้ายสมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ 2231–48) เถลิงราชสมบัติแทน ผลทำให้บาทหลวงคริสต์ถูกจำคุก และชาวคริสต์ถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย แต่ชาติอื่นที่มิใช่ฝรั่งเศสยังอยู่กันปกติ และไม่นานบาทหลวงฝรั่งเศสก็มีอิสระในการเผยแผ่ศาสนาอีกครั้ง ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ 2251–75) ชาวจีนเริ่มมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มขึ้น หลังสิ้นรัชกาล เกิดการแก่งแย่งราชสมบัติซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ 2275–2301) ได้ครองราชบัลลังก์ ทรงพยายามแก้ไขปัญหาดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ กล่าวคือ เพิ่มตำแหน่งเจ้าทรงกรมเพื่อให้มีไพร่ที่บังคับน้อยลง ผลทำให้การควบคุมคนเกิดความแตกแยก คนรุ่นหลังยกให้รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นยุคทอง เพราะทรงทำนุบำรุงศาสนาพุทธ และส่งสมณทูตไปลังกาหลายคณะ และทรงทำให้กรุงศรีอยุธยามีบทบาทในระดับนานาชาติอีกครั้ง ทรงแทรกแซงกัมพูชาจนยกเจ้าที่นิยมอยุธยาเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และรับผู้อพยพชาวมอญหงสาวดี ในทศวรรษสุดท้าย เกิดการแข่งขันชิงอำนาจกันมโหฬารระหว่างตระกูลขุนนางที่ต้องการขยายอำนาจในกิจการการค้าระหว่างประเทศและกำลังคน ในปี 2300 ราชวงศ์โก้นบองของพม่าฟื้นฟูอำนาจหลังตองอูถูกมอญพิชิตไปก่อนหน้านี้ พระเจ้าอลองพญา (ครองราชย์ 2295–2303) ทรงยกทัพมาตีอาณาจักรอยุธยาแต่ล้มเหลวเพราะสวรรคตกลางคัน สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (ทรงราชย์ 2301–10) ทรงสนองต่อการขอความช่วยเหลือจากเชียงใหม่ด้วยการส่งกำลังเล็ก ๆ ไปช่วยเหลือแต่ไปไม่ทัน ในปี 2308 พระเจ้ามังระ (ครองราชย์ 2306–19) ทรงส่งกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาเป็นสองทาง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงใช้ยุทธศาสตร์ตั้งรับในกรุงและรอฤดูน้ำหลากเป็นหลัก แต่พม่าสามารถเตรียมการรับมือได้จึงไม่ได้ล่าถอยไป หลังการล้อมกรุงนานปีกว่า สุดท้ายกรุงศรีอยุธยาจึงเสียเป็นครั้งที่สองเมื่อปี 2310 === ความรุ่งเรืองและเสื่อมของอาณาจักรล้านนา และล้านนาในฐานะประเทศราช === ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 อาณาจักรล้านนามีความขัดแย้งกับดินแดนเพื่อนบ้านหลายแห่ง และอยู่ในภาวะสงครามภายในบ่อยครั้ง ล้านนาใช้ระบบส่งผู้แทนส่วนกลางไปควบคุมเขตกึ่งเอกเทศหลายร้อยเขต ซึ่งเจ้าล้านนาประสบความสำเร็จมากน้อยไม่เท่ากันในการสร้างเอกภาพในอาณาจักร พญากือนา (ครองราชย์ 1910–28) ทรงตั้งศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์และตั้งวัดสวนดอก ซึ่งจะเป็นพลังชี้นำทางปัญญาและวัฒนธรรมในอาณาจักร รวมทั้งพัฒนาความสำนึกเรื่องอัตลักษณ์ของชาวไทยวน ในรัชกาลพญาแสนเมืองมา (ครองราชย์ 1928–44) และพญาสามฝั่งแกน (ครองราชย์ 1944–53) เกิดการแก่งแย่งบัลลังก์กัน และมีการชักศึกภายนอก คือ สุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ในปี 1947–8 ล้านนาสามารถต้านทานกองทัพขนาดใหญ่จากยูนนานได้สำเร็จ พระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ 1985–2030) ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ล้านนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทรงใช้เวลาทศวรรษแรกปราบปรามผู้ชิงบัลลังก์ทั้งหลาย ในปี 1992 พระองค์ยังทรงครองอำนาจเหนือนครน่านหลังเอาใจออกห่างโดยร่วมมือกับแพร่และหลวงพระบาง ระหว่างปี 1985 ถึง 2029 ทรงผลัดกันเป็นฝ่ายบุกและตั้งรับในสงครามกับกรุงศรีอยุธยาโดยต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะอีกฝ่ายได้ หลังรัชกาลพญาเกศเชษฐราช (ครองราชย์ 2069–81 และ 2086–8) อาณาจักรล้านนาเข้าสู่ยุคเสื่อมเพราะการสืบราชสมบัติที่ไม่ราบรื่นและขุนนางมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นมีการแทรกแซงทางการเมืองจากทั้งกรุงศรีอยุธยาและล้านช้าง ขุนนางบางส่วนยกให้สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ล้านช้างขึ้นครองราชย์ช่วงสั้น ๆ ราชวงศ์มังรายสิ้นสุดลงเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าในปี 2101 พม่าเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองล้านนาในฐานะประเทศราช และมีการเกณฑ์ทหารและเสบียงเพื่อทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา หลังพม่าขาดเอกภาพหลังพระเจ้านันทบุเรงเสด็จสวรรคตในปี 2142 เจ้าเชียงใหม่ถูกตัดขาดจากความช่วยเหลือในศึกกับล้านช้าง จึงทรงยอมอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงสั้น ๆ พระเจ้าอะเนาะเพะลูนทรงส่งทัพไปยึดหัวเมืองเหนืออีกครั้งในปี 2156 แต่ปล่อยให้ล้านนาแตกออกเป็นเมืองเล็กน้อย หลังเจ้าพลศึกศรีสองเมือง (ครองราชย์ 2158–74) ประกาศอิสรภาพต่อพม่าไม่สำเร็จ พม่าเริ่มเปลี่ยนมาตั้งเจ้าเมืองเชียงใหม่ขึ้นปกครองโดยตรง ในปี 2204 สมเด็จพระนารายณ์ยกทัพมาตีเชียงใหม่และลำปางได้ แต่ไม่สามารถยึดครองเมืองไว้ได้ หลังจากนั้น พม่าส่งเจ้ามาปกครองเป็นอุปราชเหมือนก่อน บ้านเมืองยากจนและประชากรน้อยลงเพราะถูกขูดรีดภาษีและเกณฑ์คนไปมาก และตกเป็นเหยื่อของดินแดนใกล้เคียง ระหว่างปี 2270 ถึง 2306 แม้ว่าพม่าจะยังควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของล้านนาไว้ได้ แต่กลุ่มผู้นำในเมืองเชียงใหม่แข็งเมืองต่อพม่า == กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น == === การรวมแผ่นดิน === หลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะอนาธิปไตย พม่าที่ติดพันในการสงครามกับจีนจึงเหลือกองทหารเล็ก ๆ ไว้รักษากรุงเก่าเท่านั้น บ้านเมืองแตกออกเป็น 5 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมายที่นครราชสีมา ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองสวางคบุรี (ฝาง) ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และชุมนุมเจ้าตาก เจ้าตากเริ่มสร้างฐานอำนาจที่จันทบุรีแล้วใช้เวลาไม่ถึงปีขยายอำนาจทั่วภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ครองราชย์ 2310–25) หลังปราบดาภิเษกแล้ว ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีซึ่งมีทำเลเหมาะแก่การค้าทางทะเล ทรงใช้เวลาอีกสามปีรวบรวมหัวเมืองที่เคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาเป็นหนึ่งอีกครั้ง พระองค์ยังทรงขยายอิทธิพลไปยังดินแดนใกล้เคียง หัวเมืองมลายูตรังกานูและปัตตานีส่งเครื่องราชบรรณาการให้กรุงธนบุรี ทรงผลักดันเจ้ากัมพูชาให้ขึ้นครองราชย์ และทรงให้ความช่วยเหลือแก่พระเจ้ากรุงเวียงจันในการสงคราม นอกจากนี้ ยังทรงขับทหารพม่าออกจากล้านนาได้ในปี 2319 ทำให้ล้านนาเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรีนับแต่นั้น จากนั้นโปรดให้ยกทัพไปปราบหัวเมืองตะวันออก โดยนครเวียงจันถูกตีแตกในปี 2321 และมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ในช่วงปลายรัชกาล มีบันทึกว่าพระองค์มีพระสติฟั่นเฟือนเพราะบังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้และสั่งลงโทษพระสงฆ์ที่ไม่ยอมตาม อย่างไรก็ดี น่าจะเป็นเรื่องแต่งเติมเพราะพระองค์เป็นคนนอกไม่มีพื้นเพเป็นตระกูลผู้ดีเก่ากรุงศรีอยุธยามากกว่า ปลายปี 2324 กลุ่มชนชั้นนำต่างคิดเห็นว่าควรปลดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสีย ครั้นปี 2325 เกิดกบฏพระยาสรรค์ เจ้าพระยาจักรีที่กำลังยกทัพไปปราบกบฏในกัมพูชาในปีเดียวกันจึงยกทัพกลับมารักษาความสงบในกรุง และสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี === กรุงเทพมหานคร === พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ครองราชย์ 2325–52) ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีการขนย้ายอิฐกำแพงกรุงศรีอยุธยาเดิมมาสร้างเป็นกำแพงพระนครแห่งใหม่ด้วย พระองค์ทรงให้ปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ มีการออกกฎคณะสงฆ์ สังคายนาพระไตรปิฏก ทรงให้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมอย่างกรุงศรีอยุธยาซึ่งถือเป็นยุคทอง โปรดให้จัดทำประมวลกฎหมาย ชื่อ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งใช้กันในกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมาอีกหนึ่งศตวรรษ ในปี 2328 พระเจ้าปดุง (ครองราชย์ 2324–62) แต่งทัพออกเป็น 9 ทัพ ยกมาตีกรุงเทพมหานคร 5 ทิศทาง เรียก สงครามเก้าทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงใช้ยุทธศาสตร์กระจายกำลังไปรับศึกนอกพระนครได้เป็นผลสำเร็จ พม่ายกทัพมาอีกครั้งในปลายปี 2328 และต้นปี 2329 เรียก สงครามท่าดินแดง แต่ก็ถูกตีกลับไปเช่นกัน กรุงเทพมหานครยังส่งทัพไปช่วยล้านนาจากพม่าได้สามครั้ง ทรงให้พระยากาวิละ (ต่อมาเป็นพระเจ้ากาวิละ) ต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เป็นเจ้าครองล้านนาในฐานะประเทศราชของกรุงเทพมหานครสืบต่อไป พระยากาวิละรวบรวมผู้คนเพื่อมาตั้งรกรากในเชียงใหม่ที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้อีกครั้ง และขยายอาณาเขตไปทางทิศเหนือจนตีได้เชียงแสนและหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน นับได้ว่าสามารถฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาโบราณได้สำเร็จ กรุงเทพมหานครยังพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในกัมพูชาและลาว โดยใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง คือ แบ่งล้านช้างออกเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ เพื่อทำให้อ่อนแอจนไม่สามารถแข่งขันกับกรุงเทพมหานครได้ แยกสงขลาออกจากเจ้านครศรีธรรมราชแล้วส่งขุนนางส่วนกลางไปปกครองโดยตรง กับทั้งลดฐานะของเจ้านครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมือง และแบ่งแยกกลันตันและตรังกานู รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ครองราชย์ 2352–67) ถือเป็นยุคทองแห่งศิลปะ และสงบสุขเกือบตลอดรัชกาล กัมพูชากลายเป็นสนามรบระหว่างกรุงเทพมหานครและเวียดนาม สุดท้ายเวียดนามครอบงำกัมพูชาอยู่หลายสิบปีหลังปี 2356 แต่กรุงเทพมหานครเข้าควบคุมพื้นที่กว้างขวางขึ้นในกัมพูชา หลังจากอิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคเพิ่มขึ้นจากการได้มะละกา เกาะหมาก (ปีนัง) และสิงคโปร์ ในปี 2364 ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียส่งจอห์น ครอว์เฟิร์ดเข้ามาเจรจาค้าขาย แต่ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันกลับไป ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2367–94) รัฐบาลอังกฤษในอินเดียส่งเฮนรี เบอร์นีเข้ามาเจรจากับกรุงเทพมหานคร โดยขอให้ส่งเสบียงช่วยเหลือหรือไม่ก็วางตนเป็นกลางในสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (2367–9) อังกฤษกลายมามีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานครหลังยึดดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของพม่าไว้ได้ ราชสำนักยอมตกลงสนธิสัญญาเบอร์นีในปี 2369 หลังมีข่าวว่าอังกฤษชนะพม่า เนื้อหาของสนธิสัญญา อังกฤษยอมรับอำนาจของกรุงเทพมหานครเหนือไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปัตตานี แลกกับที่กรุงเทพมหานครยอมรับอิสรภาพของเปรักและสลังงอร์ และลดการเก็บภาษีจำนวนมากกับวาณิชต่างประเทศเหลือค่าธรรมเนียมปากเรืออย่างเดียว ในปี 2376 สหรัฐส่งทูตเข้ามาทำสนธิสัญญาโรเบิร์ต ซึ่งนับเป็นสนธิสัญญาแรกระหว่างสหรัฐกับชาติเอเชีย ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ (ครองราชย์ 2348–71) แห่งเวียงจันหลังทราบข่าวกรุงเทพมหานครเตรียมรับศึกอังกฤษ ก็หมายฉวยโอกาสโจมตีกรุงเทพมหานครเพื่อกวาดต้อนผู้คนไปไว้ในราชอาณาจักร ในปี 2369 ก่อกบฏโดยยกทัพเข้ามายึดนครราชสีมา ฝ่ายกรุงเทพมหานครหยุดยั้งการบุกเอาไว้ได้ และส่งกองทัพไปตีกรุงเวียงจันได้สำเร็จ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่พอพระทัยที่จับเจ้าอนุวงศ์ไม่ได้ และมีพระราชประสงค์ให้ทำลายเวียงจันให้สิ้นซาก ในปี 2370 มีการส่งกองทัพอีกกองหนึ่งขึ้นไปตีกรุงเวียงจันที่เจ้าอนุวงศ์ตีกลับคืนไปได้อีกครั้ง ครั้งนี้มีการทำลายอาคารบ้านเรือนทั้งหมดจนสิ้นซาก และกวาดต้อนผู้คนมาอยู่ในแถบภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน คณะสำรวจฝรั่งเศสอีกสี่สิบปีถัดมาบันทึกว่าเวียงจันยังเป็นเมืองร้าง หลังจากนั้นอีกหลายสิบปี กรุงเทพมหานครยังกวาดต้อนชาวลาวเข้ามาตั้งรกรากในที่ราบสูงโคราช ผลทำให้หัวเมืองลาวอีสานเพิ่มขึ้นประมาณ 40 เมืองซึ่งเกิดจากชาวลาวที่กวาดต้อนมา ฝ่ายมลายูทางใต้ กรุงเทพมหานครปรับนโยบายเป็นให้เจ้ามลายูปกครองกันเองหลังเกิดกบฏขึ้น 2 ครั้งในปี 2374 และ 2381 จากนั้นในภูมิภาคดังกล่าวก็มีระเบียบและความมั่นคงพอสมควร ฝ่ายทางตะวันออก กรุงเทพมหานครรบกับเวียดนามเพื่อแย่งชิงอิทธิพลเหนือกัมพูชาอีกครั้ง เรียก อานัมสยามยุทธ (2376–90) สุดท้ายทั้งสองตกลงกันโดยให้เจ้ากัมพูชาส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งสองอาณาจักร หลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในจีน (2382–5) ชาติตะวันตกเริ่มก้าวร้าวมากขึ้น และระหว่างปี 2392–3 มีคณะทูตจากอังกฤษและสหรัฐเข้ามาเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครยกเลิกข้อกีดกันทางการค้าและตั้งศาลกงสุลแต่ถูกปัดกลับไป สาเหตุจากประจวบกับช่วงที่กำลังมีความกังวลเรื่องการแก่งแย่งราชสมบัติ อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภัยคุกคามของชาติตะวันตก ดังที่มีกระแสพระราชดำรัสก่อนเสด็จสวรรคตว่า "การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่พวกข้างฝรั่ง" == การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก == === การปฏิรูปและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง === พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2394–2411) ทรงได้รับการยกให้ขึ้นครองราชสมบัติพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเกลี่ยอำนาจของพระอนุชา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความขัดเคืองของทูตอังกฤษที่กลับไปมือเปล่าในช่วงปลายรัชกาลก่อน จึงทรงติดต่อฮ่องกง ต้นปี 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรในกรุงลอนดอนส่งคณะทูตซึ่งมีเซอร์จอห์น เบาว์ริงเป็นหัวหน้าเข้ามาเจรจา มีการบรรลุสนธิสัญญาเบาว์ริง ในเวลาสองสัปดาห์ถัดมา มีเนื้อหาจำกัดพิกัดภาษีขาเข้า ให้คนต่างด้าวพำนักและเป็นเจ้าของที่ดินรอบ ๆ พระนครได้ การให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการยกเลิกการผูกขาดการค้าของราชการ ภายในหนึ่งทศวรรษหลังจากนั้น กรุงเทพมหานครยังลงนามสนธิสัญญาทำนองเดียวกันกับอีก 12 ประเทศ เป็นการริเริ่มความสัมพันธ์แบบพหุภาคีเพื่อหวังให้ชาติเหล่านั้นถ่วงดุลอำนาจกันเอง ปริมาณการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 5.6 ล้านบาทในปี 2393 เป็น 10 ล้านบาทในปี 2411 กรุงเทพมหานครเปลี่ยนโฉมโดยมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและตัดถนนใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มการปฏิรูป ตั้งแต่การพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา ทรงเลิกธรรมเนียมโบราณ ทรงให้ราษฎรถวายฎีกา และให้ผู้หญิงเลือกคู่เองได้ และเริ่มจ้างชาวต่างประเทศในงานพิเศษบางอย่าง ทั้งนี้ พระองค์ทรงตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็นไปอย่างช้า ๆ หากพระองค์จะได้รับความร่วมมือจากขุนนางผู้ใหญ่ที่กุมอำนาจในระบบราชการเป็นเวลาหลายชั่วคนแล้ว หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตกระทันหันด้วยโรคมาลาเรีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2411–53) จึงสืบราชสมบัติทั้งที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยมมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังบรรลุนิติภาวะแล้ว ทรงริเริ่มการปฏิรูปเป็นชุด โดยมีการตั้งศาลพิเศษเพื่อชำระคดีของศาลกรมต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ ทรงรวมศูนย์อำนาจการจัดทำงบประมาณและสัมปทานค้าฝิ่นและบ่อนเบี้ย ทรงตั้งสภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดินและปรีวีเคาน์ซิล ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มหรือคู่แข่งตระกูลบุนนาค ทรงออกกฎหมายค่อย ๆ ลดการมีทาสเพื่อทำลายระบบการควบคุมคนและเศรษฐกิจของชนชั้นขุนนาง ในปี 2417 ความพยายามปฏิรูปทำให้เกิดความขัดแย้งกับอำนาจเก่าอย่างหนัก เกิดความขัดแย้งกับวังหน้าอย่างรุนแรงจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง สุดท้ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสามารถจำกัดอำนาจของวังหน้าได้แต่ทรงยอมยุติการปฏิรูปไปก่อน พระองค์ทรงเริ่มใช้วิธีส่งข้าหลวงต่างพระองค์ไปปกครองหัวเมืองเหนือ หัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือและหัวเมืองใต้เริ่มตั้งแต่ปี 2413 เพื่อพยายามทำให้ดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ในช่วงนี้ฝรั่งเศสมีความพยายามแสวงหาดินแดนใหม่เพิ่มขึ้น เริ่มจากการทำสัญญากับสยามในปี 2410 ให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและเริ่มส่งคณะสำเร็จไปลุ่มแม่น้ำโขง ในปี 2430 มีการปรับคณะรัฐบาลโดยให้ตั้งกรมขึ้นมา 12 กรมที่มีฐานะเท่ากันตามอย่างรัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการยกฐานะเป็นกระทรวงในปี 2432 ช่วงปี 2430–6 ฝรั่งเศสพยายามขยายอิทธิพลเหนือลาว ในปี 2436 เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 คือ มีเหตุการณ์ไล่ตัวแทนฝรั่งเศสออกจากหลวงพระบาง มีการเรียกร้องเอาดินแดนลาวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง และเมื่อกองทัพสยามในพื้นที่ต่อสู้ทหารฝรั่งเศสที่พยายามเข้าควบคุมพื้นที่นั้น รัฐบาลฝรั่งเศสสบช่องจะประกาศสงครามกับสยาม และส่งเรือรบมายังปากแม่น้ำเจ้าพระยา สุดท้ายพระเจ้าอยู่หัวทรงยอมตามคำขาดของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับการจ่ายค่าปรับและการยกบางส่วนของแคว้นน่านและจันทบุรีให้ฝรั่งเศส ในปี 2439 ฝรั่งเศสและบริเตนตกลงให้สยามมีเอกราชและเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่าของบริเตนและอินโดจีนของฝรั่งเศส ในทศวรรษสุดท้ายของการครองราชย์ สยามพยายามให้พิจารณาสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม แต่ผลเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยต้องมีการลงนามสัญญาอีกหลายฉบับในปี 2446–9 เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรีและตราด เช่นเดียวกับการทำสัญญากับบริเตนในปี 2452 เพื่อแลกหัวเมืองประเทศราชมลายูแก่บริเตนกับการเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับบริเตน ในปี 2436 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทยในขณะนั้น ทรงริเริ่มระบบมณฑลเทศาภิบาลที่นครราชสีมาเป็นที่แรก แล้วส่งข้าหลวงจากส่วนกลางไปปกครองโดยตรงแทนผู้ปกครองสืบทอดในหัวเมือง มีการสร้างทางรถไฟไปภาคอีสานและภาคเหนือ การปรับปรุงกฎหมายสยามโดยยึดตามประมวลกฎหมายนโปเลียนของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ในปี 2445 เกิดกบฏขึ้นในราชอาณาจักร 3 ครั้ง เพื่อต่อต้านการโอนอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในปี 2448 มีการปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสามารถแทนที่ระบบการเกณฑ์แรงงานแบบเก่ามาใช้ระบบเงินรัชชูปการและการเกณฑ์ทหารสมัยใหม่แทน ผลของการเลิกระบบไพร่ทำให้ราษฎรทำการเกษตรเพิ่มขึ้น ปริมาณการส่งออกข้าวของสยามเพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 1 ล้านเกวียนในคริสต์ทศวรรษ 1850 เป็นกว่า 11 ล้านเกวียนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี 2441 เริ่มมีการตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านต่าง ๆ โดยใช้ตำราเรียนและหลักสูตรเดียวกันที่ส่วนกลางกำหนดแทนการศึกษาในวัดแบบเดิม นับเป็นการเริ่มหล่อหลอมให้เกิดรัฐชาติที่มีเอกภาพ นอกจากนี้ ชาวจีนยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ด้วย โดยจำนวนชาวจีนเพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนในปี 2368 เป็น 792,000 คนในปี 2453 ชาวจีนเหล่านี้ประสมประสานวัฒนธรรมกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และมีบทบาทในเศรษฐกิจสมัยใหม่ของอาณาจักร === รัฐชาติสมัยใหม่ === การพัฒนาราชอาณาจักรสยามในรัชกาลที่ 5 ไม่ได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ คือ สังคมเข้าสู่สมัยใหม่เร็วช้าไม่เท่ากัน ทำให้เกิดช่องว่างทางสังคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2453–68) ทรงสร้างให้เกิดสำนึกความเป็นชาติอย่างน้อยก็ในหมู่ชนชั้นนำ ในปี 2454 ทรงตั้งกองเสือป่าซึ่งสมาชิกหลุดพ้นจากกรอบราชการและนับถือประมุข ในปีเดียวกัน เกิดเหตุการณ์คณะนายทหารชั้นผู้น้อยคบคิดกันเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีแนวคิดต่อต้านสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ยังไม่ทันวางแผนเสร็จก็ถูกจับได้เสียก่อน พระองค์ทรงตอบโต้ด้วยการแต่งตั้งเสนาบดีซึ่งเป็นข้าราชการที่ได้รับการศึกษาในทวีปยุโรป ทรงตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหางบประมาณขาดดุลและทรงใช้วิธีประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อซึ่งใช้มาจนสิ้นรัชกาล คือ ทรงใช้พระปรีชาทางวรรณศิลป์เผยแพร่พระราชนิพนธ์ทางสื่อต่าง ๆ โดยย้ำแนวคิดสำคัญส่งเสริมวิถีชีวิตแบบตะวันตก ทรงริเริ่มธรรมเนียมอย่างตะวันตก เช่น นามสกุล กีฬาที่เล่นเป็นหมู่คณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟุตบอล ธรรมเนียมผัวเดียวเมียเดียว ทรงส่งเสริมการศึกษาแผนใหม่ โดยสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2459 และทรงให้การศึกษาระดับประถมเป็นภาคบังคับ ทั้งยังทรงเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมทางการเมืองและชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่ประสงค์ให้กำจัดอิทธิพลของชาวจีนในเศรษฐกิจสยาม ทรงพยายามส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักสมาคมกันโดยไม่แบ่งวรรณะ รู้จักตัดสินโดยยึดหลักเสียงข้างมาก และกระตุ้นการอภิปรายสาธารณะในสื่อต่าง ๆ ด้านกิจการทหาร ทรงจัดหาเรือรบที่ทันสมัย และในปี 2460 ราชสำนักเล็งเห็นว่าการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาจก่อให้เกิดประโยชน์ในการเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม จึงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 ผลทำให้ชาติตะวันตกยอมแก้ไขสนธิสัญญาในช่วงปี 2463–9 ให้สยามได้รับอิสระในการจัดเก็บภาษีอากรและยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการปกครองจะทำให้สยามพินาศล่มจมจึงปฏิเสธข้อเสนอแนะให้ใช้ระบอบรัฐธรรมนูญเสียทุกครั้ง ในด้านเศรษฐกิจ รายได้ของรัฐที่ลดลงจากราคาผลผลิตการเกษตรที่ตกต่ำ และรายจ่ายส่วนพระองค์ที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ งบประมาณจึงขาดดุลเช่นนี้ไปจนสิ้นรัชกาล ทำให้ต้องมีการกู้เงินต่างประเทศมาเป็นระยะ ๆ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2468–78) บ้านเมืองเต็มไปด้วยความไม่สงบและปัญหาเศรษฐกิจ ความพยายามลดงบประมาณทำให้เกิดการทะเลาะกันในหมู่ข้าราชการทำให้เกิดภาพไร้ประสิทธิภาพ หนังสือพิมพ์สะท้อนความคิดเห็นของมหาชนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล พระองค์ทรงเร่งสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า พระองค์ยังทรงมีแนวคิดทดลองประชาธิปไตยในสยาม อย่างไรก็ดี ความพยายามให้ทดลองการปกครองตนเองระดับเทศบาลมีผลเล็กน้อยจนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 มีกลุ่มนักเรียนต่างประเทศซึ่งมีแนวคิดต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่โดดเด่นได้แก่ ปรีดี พนมยงค์ และแปลก ขีตตะสังคะ เริ่มพบปะกันอย่างลับ ๆ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 2472 ผลสะเทือนถึงสยามทำให้ราคาข้าวตกลง รัฐเสียรายได้ และเกิดวิกฤตค่าเงินบาท ในปี 2475 รัฐบาลดำเนินมาตรการ เช่น ปลดข้าราชการออกจำนวนมาก ระงับการเลื่อนขั้น และเพิ่มการเก็บภาษี ผลทำให้เกิดชนชั้นกลางได้รับผลกระทบมากเมื่อเทียบกับคนจีน ชนชั้นสูงและเจ้า และเกิดความไม่พอใจ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาความเป็นไปได้ของรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มีการทูลเกล้าฯ ถวายรัฐธรรมนูญฉบับร่างโดยเนื้อหามีใจความว่า จะให้โอนอำนาจบริหารเป็นของนายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้ง มีสภานิติบัญญัติควบคุมตรวจสอบโดยมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งอย่างละกึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ดี เจ้านายในคณะอภิรัฐมนตรีสภาคัดค้านร่างรัฐธรรนนูญดังกล่าว จึงไม่ได้ดำเนินการอย่างไรต่อ == ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ == === การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 และรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา === วันที่ 24 มิถุนายน 2475 กลุ่มบุคคลที่เรียกคณะราษฎรก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ผลทำให้ระหว่างปี 2478–2500 เป็นช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ปกครอง และพระมหากษัตริย์ทรงไม่มีบทบาททางสังคมอีกจนพ้นช่วงดังกล่าว คณะราษฎรเริ่มวางแผนปฏิรูปการเมืองแต่เป็นไปอย่างช้า ๆ หลังจากนั้น คณะราษฎรเกิดขัดแย้งกันเอง โดยฝ่ายพลเรือนมีอำนาจน้อยกว่าฝ่ายทหาร คณะราษฎรแตกกันเป็น 5 ฝ่าย และหลังเกิดวิกฤต 3 ครั้งในปี 2476 สุดท้ายฝ่ายทหารหนุ่มชนะ พระมหากษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมพยายามเอาชนะคณะราษฎรทุกวิถีทาง เกิดเป็นเครือข่ายต่อต้านการปฏิวัติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง เริ่มจากกฎหมายปิดสภาฯ, เดือนตุลาคม 2476 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงนำทหารในต่างจังหวัดกบฏ แต่ก่อการไม่สำเร็จ ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับรัฐบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหลังจากรัฐบาลปฏิเสธการต่อรองเพื่อปรับเปลี่ยนพระราชอำนาจและรูปแบบการปกครอง พระองค์ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม 2477 (นับแบบเก่า) รัฐบาลกราบบังคมทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (ต่อมาเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, ครองราชย์ 2478–89) ขณะยังทรงพระเยาว์และกำลังศึกษาในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์และแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คณะรัฐมนตรีในช่วงแรก ๆ สั่นคลอนแต่อยู่ร่วมกันได้เพราะบุคลิกของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และในปี 2478 รัฐบาลสามารถเจรจาจนสยามมีอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ === จอมพล ป. พิบูลสงครามและสงครามโลกครั้งที่สอง === ในปี 2481 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาจัดการความนิยมของรัฐบาลด้วยการควบคุมสื่อและตรวจพิจารณา มีการจับนักโทษการเมืองและเคลื่อนไหวต่อต้านราชวงศ์ ภายในปีแรก รัฐบาลออกกฎหมายต่อต้านชาวจีนหลายฉบับ และสงวนบางอาชีพให้เฉพาะชาวไทยซึ่งเป็นความคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ออกรัฐนิยม 12 ประการ รวมทั้งการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทย และควบคุมวิถีชีวิตประจำวันต่าง ๆ โดยอ้างว่าเพื่อให้ต่างประเทศมองว่าไทยเป็นประเทศสมัยใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2483 ไทยส่งกำลังรุกเข้าไปในลาวและกัมพูชา ถึงแม้จะแพ้ในยุทธนาวีเกาะช้าง แต่ทางบกสามารถยึดดินแดนได้ จนญี่ปุ่นเข้ามาเป็นตัวกลาง โดยมีการบรรลุอนุสัญญายกดินแดนลาวและกัมพูชาบางส่วนให้ไทย หลังจากนั้นประเทศไทยเตรียมรับศึกญี่ปุ่น แต่ชาติมหาอำนาจอังกฤษและสหรัฐต่างไม่สามารถช่วยรักษาความมั่นคงของไทยได้ วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านประเทศไทย มีการปะทะกับญี่ปุ่นหลายจุด จอมพล ป. เห็นว่าการขัดขืนเปล่าประโยชน์ จึงสั่งหยุดยิง ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทยโดยแลกกับให้ญี่ปุ่นยอมรับเอกราชของไทย ต่อมารัฐบาลเห็นญี่ปุ่นได้ชัยตามสมรภูมิต่าง ๆ ก็เชื่อว่าญี่ปุ่นจะชนะสงคราม จึงเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่อสหรัฐและสหราชอาณาจักร ฝ่ายเสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐในเวลานั้น ปฏิเสธยื่นคำประกาศสงครามไปยังสหรัฐ และก่อตั้งขบวนการเสรีไทย เดือนพฤษภาคม 2485 รัฐบาลนำกำลังเข้ายึดครองรัฐฉาน สถาปนาเป็นสหรัฐไทยเดิม ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังมอบดินแดนมลายูที่ยกให้บริเตนในปี 2452 แก่ไทยด้วย อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นเริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในปี 2487 ไทยประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าจำเป็น การเพิ่มภาษีและเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ทั้งยังเผชิญกับการทิ้งระเบิดทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร เดือนกรกฎาคม 2487 จอมพล ป. พิบูลสงครามแพ้มติในสภาผู้แทนราษฎรจึงลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เหตุผลหนึ่งคือ ส.ส. ต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับฝ่ายสัมพันธมิตรและเห็นว่าจอมพล ป. คือสายสัมพันธ์ในอดีตกับญี่ปุ่น และเลือกควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ช่วงปลายสงคราม รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งที่จะให้รอดพ้นจากข้อเรียกร้องของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยพยายามเสนอขบวนการเสรีไทยในประเทศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และไทยพึ่งความสัมพันธ์กับรัฐบาลสหรัฐ === หลังสงครามโลก === หลังญี่ปุ่นยอมจำนนในเดือนสิงหาคม 2488 ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้เหตุผลว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐและสหราชอาณาจักรไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปฏิเสธข้อตกลงทั้งหมดระหว่างรัฐบาลจอมพล ป. กับญี่ปุ่น ด้านควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะไปมีส่วนกับญี่ปุ่นระหว่างสงคราม รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีข้อเรียกร้องยืดยาวต่อไทย แต่ถูกรัฐบาลสหรัฐใช้อิทธิพลข่มไว้ สุดท้าย มีการตกลงความตกลงสมบูรณ์แบบซึ่งให้ไทยคืนดินแดนที่ได้มาระหว่างสงครามแก่เจ้าของเดิมและการขายข้าวให้สหราชอาณาจักรเพื่อแลกกับการได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเท่านั้น ในปี 2489 ศาลฎีกายุติคดีจอมพล ป. ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม และวันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลต้องพระแสงปืนสวรรคตอย่างมีปริศนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดชสืบราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช (ครองราชย์ 2489–2559) ในช่วงปี 2489–2490 รัฐบาลฝ่ายที่สนับสนุนปรีดีเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว เพราะสังคมมองว่ารัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีได้ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะทหารรัฐประหาร มีการถอนรากถอนโคนฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะผู้สนับสนุนของปรีดี ส่วนหนึ่งอ้างเหตุไขคดีสวรรคตไม่ได้ด้วย รัฐบาลจอมพล ป. หวนคืนสู่อำนาจอีกครั้งในปี 2491 และใช้นโยบายปราบปรามชาวจีน มลายู และนักการเมืองภาคอีสาน เดือนเมษายน 2491 เกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของชาวบ้านดุซงญอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งรัฐบาลใช้กำลังปราบปรามอย่างหนัก ในปี 2492 ปรีดีและพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยทหารเรือและอดีตสมาชิกเสรีไทยพยายามเพื่อยึดอำนาจคืน แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกเรียกว่า กบฏวังหลวง นับแต่นั้นพันธมิตรทางการเมืองของปรีดีก็หมดอำนาจลงอย่างสิ้นเชิง หลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันและกบฏสันติภาพในปี 2494 พลตรี เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และ พลตรี สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ค่อย ๆ มีอำนาจมากขึ้นแทนจอมพล ป. บทบาทของสหรัฐในเวลานั้นมองว่าไทยเป็นรัฐที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อกันการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลีในปี 2497 เป็นประเทศหลักในองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ความช่วยเหลือทางเทคนิค และการปรับปรุงกองทัพและตำรวจจากสหรัฐ ช่วงปี 2498–2500 จอมพล ป. เริ่มผ่อนปรนการควบคุมการเมืองอย่างเข้มงวดและให้จดทะเบียนพรรคการเมืองได้ ในช่วงนั้นจอมพล ป. และ พล.ต.อ. เผ่าซึ่งเป็นพันธมิตรกันเห็นว่าพวกตนกำลังแพ้ให้กับกลุ่มจอมพลสฤษดิ์และกลุ่ม "ศักดินา" จึงพยายามดึงตัวปรีดีกลับประเทศ แต่ถูกรัฐบาลสหรัฐขัดขวาง นอกจากนี้ จอมพล ป. ยังเกิดขัดแย้งกับพระเจ้าอยู่หัวในหลายโอกาส จอมพลสฤษดิ์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเนื่องจากลาออกจากคณะรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2500 จนในวันที่ 13 กันยายน จอมพลสฤษดิ์นำกองทัพรัฐประหาร === ระบอบสฤษดิ์และยุคถนอม-ประภาส === หลังรัฐประหารปี 2500 พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลถูกค้านในสภาผู้แทนราษฎรอย่างหนักจนไม่สามารถทำงานอย่างราบรื่น จอมพลฤษฎดิ์มีความเห็นว่าพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนที่ขาดการควบคุม และข้อพิพาทแรงงานและการประท้วงล้วนบ่อนทำลายประเทศ ในปี 2501 เขายกเลิกรัฐธรรมนูญและออกคำสั่งสภาปฏิวัติ และสั่งจับผู้วิจารณ์รัฐบาลหลายร้อยคน เขาตอกย้ำภาพความสะอาดและความเป็นระเบียบ โดยจัดการปัญหาอาชญากรรมอย่างเฉียบขาด สังคมไทยหลายภาคส่วนยอมรับผู้นำเบ็ดเสร็จแบบดังกล่าว เขายังเปลี่ยนจากความจงรักภักดีต่อรัฐและรัฐธรรมนูญมาเป็นความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งย่อมทำให้รัฐบาลในพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมตามไปด้วย เขาฟื้นฟูบทบาททางสังคมของสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังพยายามสร้างความชอบธรรมตามวิถีประชาธิปไตยด้วยการดำเนินนโยบายพัฒนาชนบท ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและต่างชาติเพื่อยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังขบวนการปะเทดลาวซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ มีอำนาจเพิ่มขึ้นในลาว รัฐบาลยอมรับข้อตกลงของสหรัฐในการคุ้มครองไทย และให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศ หลังจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506 มีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำประเทศเข้าสู่ยุคถนอม-ประภาส ประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามเวียดนามมากขึ้น อย่างไรก็ตาม วัยอาจระบุว่าไม่ใช่ว่าประเทศไทยสละความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระในนโยบายต่างประเทศ แต่ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสหรัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายของตนคือสร้างมิตรกับฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในลาวและกัมพูชา และต่อต้านอิทธิพลของเวียดนามในสองประเทศนี้ เมื่อรัฐบาลไทยและสหรัฐเข้าไปตอบโต้ปฏิบัติการของเวียดนามในลาวและกัมพูชา เวียดนามเหนือและจีนตอบโต้ด้วยการส่งเสริมการต่อต้านรัฐบาลในประเทศไทย ระหว่างปี 2507–11 มีการส่งทหารอเมริกันเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องจนมีเจ้าหน้าที่เกือบ 45,000 คน มีเครื่องบินรบเกือบ 600 ลำ จนถึงปี 2510 ไทยส่งกองทัพครบทั้งสามเหล่าทัพเข้าร่วมปฏิบัติการในเวียดนามใต้ โดยในปี 2512 มีทหารไทยในเวียดนาม 11,000 นายซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14 ของกำลังพลทั้งหมด ผลกระทบของการเข้ามาของทหารอเมริกันนี้ยังเปลี่ยนความสัมพันธ์ของชาวนาในชนบท และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกองทัพกับผู้นำธุรกิจเชื้อสายไทย-จีน คนหนุ่มสาวในชนบทเข้าเมืองเพื่อหางานทำ เร่งโอกาสทางการศึกษาและการเข้าถึงสื่อมวลชน นอกจากนี้ ชาวนาในชนบทยังเกิดสำนึกเรื่องความไม่เสมอภาคทำให้เกิดความไม่พอใจรัฐบาล ปลายปี 2507 เริ่มเกิดการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์เริ่มจากภาคอีสาน แล้วลามไปภาคเหนือและใต้ ในช่วงเดียวกัน จำนวนประชากรไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และเศรษฐกิจของประเทศเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม จำนวนคนหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาดีมีเพิ่มขึ้นนำไปสู่การขยายชนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ชนชั้นกลางเหล่านี้มีอัตลักษณ์ของตนเองโดยมีลักษณะอนุรักษนิยมทางการเมือง พร้อมกับยึดถือค่านิยมที่เน้นเสรีภาพอย่างตะวันตก การที่รัฐบาลเข้าไปมีอำนาจในหมู่บ้านชนบททำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะชาวบ้านถูกทหารและตำรวจข่มเหง หรือถูกข้าราชการฉ้อโกง มีการต่อต้านรัฐบาลควบคู่ไปกับการดำเนินงานของสหภาพชาวนาและกรรมกร ในปี 2511 ท่ามกลางแรงกดดันจากนักศึกษาในประเทศและสหรัฐ จอมพลถนอมจึงประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งคู่กับวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง จอมพลถนอมชนะการเลือกตั้งในปี 2512 และได้ตั้งรัฐบาลอีกสมัย แต่ความขัดแย้งในสภา และกิจกรรมทางการเมืองที่เกิดจากการผ่อนปรนการจำกัดการแสดงออก ทำให้รัฐบาลตื่นภัยว่าอาจเป็นความล่มสลายของความสามัคคีในชาติ เช่นเดียวกับฐานะของจอมพลถนอมและประภาสในกองทัพที่มีอนาคตไม่แน่นอน เดือนพฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอมยุบสภาและยกเลิกพรรคการเมือง นำประเทศกลับสู่ยุคกองทัพครอบงำอีกครั้ง จอมพลถนอมใช้วิธีสร้างผู้นำให้เข้มแข็งที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน แต่ในช่วงนั้นชนชั้นกลางและชาวนาต้องการส่วนแบ่งอำนาจทางการเมืองมากขึ้น เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม 2516 ที่มีการจับกุมนักศึกษาที่แจกใบปลิวต่อต้านรัฐบาล ทำให้มีการเดินขบวนใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมนับแสนคนในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิต 77 คน สุดท้ายจอมพลถนอมและประภาสถูกบีบให้ลาออกจากลี้ภัยออกนอกประเทศ === ประชาธิปไตยลุ่ม ๆ ดอน ๆ === ผลจากเหตุการณ์ 14 ตุลาทำให้เกิด "ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน" หรือ "การทดลองประชาธิปไตย" การแสดงความเห็นต่างที่ถูกเก็บกดมาหลายสิบปีกลับมามีปากเสียง เกิดรัฐบาลพลเรือน และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้ทั้งสมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เกิดองค์การการเมืองและการดำเนินกิจกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เกิดการประท้วงของกรรมกรและชาวนาไปทั่ว การแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะมีอิสระ งานเขียนของปัญญาชนฝ่ายซ้ายได้รับความนิยม สมัยนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชสามารถเจรจาให้สหรัฐถอนฐานทัพออกจากประเทศและเจรจาสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในภูมิภาคขณะนั้นประเทศลาวมีการเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และคอมมิวนิสต์ชนะสงครามเวียดนาม หลังการเลือกตั้งในปี 2519 ได้รัฐบาลผสมอีกสมัยที่มีความเปราะบาง เกิดขัดแย้งในสภาทำให้รัฐบาลแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้น้อย และนักศึกษาฝ่ายซ้ายเริ่มทำให้ผู้สนับสนุนรู้สึกแปลกแยก สถาบันพระมหากษัตริย์ ชนชั้นนำในเมืองและชนชั้นกลางจำนวนมากเริ่มหันมาสนับสนุนกลุ่มฝ่ายขวาต่าง ๆ เช่น นวพล ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง เพราะมองว่านักศึกษาถูกลัทธิคอมมิวนิสต์ชักนำ ในช่วงนี้กลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรง ในปี 2519 จอมพลถนอมที่บวชเป็นสามเณรเดินทางกลับประเทศ โดยมีสมาชิกราชวงศ์เสด็จไปเยี่ยมที่วัด เกิดการประท้วงขึ้นรายวันในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย่างเข้าเดือนตุลาคม 2519 ฝ่ายขวามีปฏิกิริยาต่อการประท้วงโดยการปลุกระดมใส่ร้ายนักศึกษาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนสุดท้ายมีการสังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการต่างประเทศมองว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนส่งเสริมเหตุการณ์จากการสนับสนุนกลุ่มฝ่ายขวาและการเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอม กองทัพเข้ามาครอบงำการเมืองอีกครั้ง และการแสดงออกถูกปิดกั้น หลังรัฐประหารในปี 2519 มีรัฐบาลขวาจัดที่ใช้อำนาจควบคุมอย่างเข้มงวด นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายหนีเข้าป่าและออกนอกประเทศจำนวนมาก รัฐบาลเริ่มเสียการสนับสนุนจากกองทัพ จนมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีในปี 2520 รัฐบาลใหม่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลดความรุนแรงของฝ่ายขวาและพยายามนำผู้หลบหนีออกจากป่า ในช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์เวียดนามบุกกัมพูชา ทำให้ชายแดนตะวันออกของประเทศมีผู้ลี้ภัยเข้ามานับแสนคน และกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่มพยายามโจมตีข้ามชายแดนเข้ามา เมื่อประกอบกับรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ เขาถูกบังคับให้ลาออกก่อนมีรัฐประหารโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2523 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม มีการใช้นโยบายยันกองทัพเวียดนามที่ชายแดนโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ รัฐบาลยังสามารถนำผู้ก่อการเริบกลับเข้าสู่สังคมและจัดการเลือกตั้งทั่วไปได้ในปี 2526 ในทศวรรษนั้นเริ่มเห็นได้ชัดว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาททางการเมือง หลังจากทรงสนับสนุนนักศึกษาในปี 2516 ทรงเปลี่ยนมาสนับสนุนกลุ่มฝ่ายขวาในปี 2519 และรัฐบาลธานินทร์ จนสู่รัฐบาลพลเอกเปรม ปรากฏชัดในครั้งกบฏยังเติร์กในปี 2524 ที่ทรงประกาศสนับสนุนรัฐบาลพลเอกเปรมทำให้กบฏล้มเหลว ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารอีกครั้ง กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในโลก ประเทศเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ชนะการเลือกตั้งในปี 2531 เขาดูแลกองทัพที่เป็นพวกของตน ทำให้กองทัพอีกฝ่ายยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 นำโดยพลเอก สุจินดา คราประยูร ทีแรกเขาให้สัญญาว่าจะไม่รับอำนาจทางการเมืองแต่สุดท้ายเขาตระบัดสัตย์และเข้าเป็นหัวหน้ารัฐบาลใหม่ เหตุการณ์เดินขบวนประท้วงในกรุงเทพมหานครในเดือนพฤษภาคม 2535 ลงเอยด้วยการสั่งปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดาและพลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำผู้ประท้วง เข้าเฝ้าฯ จากนั้นพลเอกสุจินดาลาออกจากตำแหน่ง กลางปี 2540 เกิดเหตุการณ์ฟองสบู่เศรษฐกิจแตก อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทไทยต่อดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างรวดเร็ว วิกฤตนี้ทำให้รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชาและพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ล้ม ชวน หลีกภัยกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง รัฐบาลสามารถเจรจาข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ แม้การกู้เงินดังกล่าวจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย แต่มีเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นกองทุนช่วยเหลือคนรวย มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างใหญ่โต === ยุคทักษิณและวิกฤตการณ์การเมือง === ประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังปี 2544 ถูกครอบงำด้วยความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 3 ปี ชนะการเลือกตั้งทั่วไป นโยบายเศรษฐกิจของเขาที่เรียก ทักษิโณมิกส์ เน้นกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ นโยบายของเขายังรวมการเพิ่มสวัสดิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในชนบท อย่างไรก็ดี การเอื้อพวกพ้องของทักษิณในการเลื่อนยศทหารใกล้ชิดในกองทัพทำให้พลเอกเปรมและพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่พอใจ การเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณครั้งแรกเริ่มจากนโยบายภาคใต้ เริ่มจากการเปลี่ยนองค์การของกองทัพมาให้ตำรวจคุมในปี 2545 และปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปล้นปืนในค่ายทหารจังหวัดนราธิวาสแห่งหนึ่งในปี 2547 ชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครเริ่มไม่พอใจนโยบายประชานิยม การวิจารณ์ในสื่อเพิ่มขึ้น สนธิ ลิ้มทองกุลซึ่งเป็นเจ้าของสื่อคนหนึ่งวิจารณ์ทักษิณทางโทรทัศน์จนรายการของเขาถูกสั่งระงับ จึงหันมาเดินขบวนตามท้องถนนและปลุกเร้าอารมณ์ด้วยการอ้างว่าทักษิณเป็นภัยคุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์ การประท้วงในปี 2548 ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ในปี 2549 หลังมีเหตุการณ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็กโฮลดิงส์ของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษี ทำให้เริ่มมีการชุมนุมโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กองทัพบางส่วนเล็งเห็นโอกาสในการโค่นทักษิณจึงร่วมมือกับ พธม. การชุมนุมเน้นกล่าวหาทักษิณว่ามีแผนเปลี่ยนประเทศเป็นสาธารณรัฐและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทักษิณประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์คว่ำบาตรการเลือกตั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกทักษิณไปเข้าเฝ้าและหลังจากนั้นทักษิณประกาศจะถอยออกจากการเมืองแถวหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำรัสให้ฝ่ายตุลาการมีบทบาทเพิ่มขึ้นใน "การขับเคลื่อนประชาธิปไตย" รัฐประหารในปี 2549 มีผู้นำเป็นกลุ่มนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และอ้างว่ารัฐบาลทักษิณสร้างความแตกแยกและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างไรก็ดี ฝ่ายทหารได้ฉวยประโยชน์จากโอกาสนี้ด้วย โดยมีนายทหารได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและตำแหน่งสำคัญ ๆ งบประมาณของกองทัพเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 ภายในสองปี เป้าหมายหลักของรัฐบาลทหารคือการกำจัดทักษิณ ลดบทบาทของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และคืนอำนาจให้แก่ข้าราชการและกองทัพ กองทัพยังตั้งใจใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อทวงบทบาทควบคุมดูแลการเมืองของประเทศ โดยผ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ลดอำนาจของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ การก่อตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 กองทัพและพวกนิยมเจ้ายกให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางความมั่นคงของชาติ และมีการใช้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างกว้างขวาง บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยชัดเจนขึ้นหลังการมีส่วนและสนับสนุนรัฐประหารครั้งนี้ ความพยายามทั้งหลายนี้ไม่อาจกำจัดเสียงสนับสนุนทักษิณในชนบทได้ หลังมีการรื้อฟื้นการปกครองแบบรัฐสภาในเดือนธันวาคม 2550 พรรคไทยรักไทยที่ถูกสั่งยุบพรรคในปี 2549 ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกในชื่อพรรคพลังประชาชนโดยมีสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้า พรรคพลังประชาชนครองอำนาจอยู่พักหนึ่งก็เกิดการประท้วงของ พธม. ด้านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งถือกำเนิดในเดือนกรกฎาคม 2550 ชุมนุมต่อต้าน พธม. ฝ่าย พธม. อ้างว่าตนกำลังพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ และ นปช. อ้างว่าตนกำลังพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย หลังการชุมนุมดำเนินมาจนสิ้นปี ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน หลังจากนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคใหญ่อันดับสองในสภา เป็นนายกรัฐมนตรี ในครั้งนั้นพลเอกเปรมและพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก อำนวยความสะดวกหรือสั่งการโดยตรงให้มีการซื้อตัวกลุ่มเพื่อนเนวิน นปช. ชุมนุมในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยเข้าขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปี 2552 และในปีต่อมา มีการชุมนุมยืดเยื้อในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 และปิดฉากลงด้วยเหตุการณ์เผาย่านธุรกิจในเขตราชประสงค์ และเผาอาคารราชการ 4 แห่งในต่างจังหวัด เมื่ออภิสิทธิ์ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ในปี 2554 ปรากฏว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวผู้ไม่มีประสบการณ์การเมืองของทักษิณ นำพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ดูเหมือนว่าเธอจะใช้วิธีประนีประนอมกับพระราชวังและให้กองทัพจัดการตนเอง วิธีนี้ดูเหมือนทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ถูกท้าทายอย่างจริงจังในช่วงแรก ปลายปี 2556 อดีต พธม. ร่วมกับกลุ่มต่อต้านทักษิณและนิยมเจ้าอื่น ๆ เข้าพวกกันตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองเมื่อพรรครัฐบาลพยายามเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ทักษิณ แต่แม้ว่ารัฐบาลจะถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกไป กปปส. ยังคงชุมนุมอย่างต่อเนื่องพร้อมกับใช้วาทศิลป์ค้านการเมืองแบบเลือกตั้ง เห็นได้จากการขัดขวางและทำร้ายร่างกายผู้ออกเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้งปี 2557 ฝ่ายตุลาการถอดถอนยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่ง แต่รัฐบาลรักษาการยังดำรงอยู่ จนมีรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะผู้ยึดอำนาจปกครองควบคุมรัฐบาล ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างกว้างขวาง มีการแต่งตั้งสภาหุ่นเชิดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่างรัฐธรรมนูญที่จะกวาดล้างความนิยมของทักษิณได้ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 พยายามก่อรูปร่างของสังคมด้วยค่านิยมตามที่พวกตนกำหนด นอกจากเพื่อต่อต้านทักษิณแล้ว กองทัพยังรู้สึกว่าตนต้องควบคุมการเปลี่ยนรัชกาลที่กำลังมาถึง และมีแผนจัดโครงสร้างทางการเมืองเพื่อสงวนอำนาจของอภิชน ผู้นำรัฐประหารยังเพิ่มบทบาทและอำนาจของกองทัพขณะที่ลดอำนาจของประชาสังคมและการปกครองส่วนท้องถิ่นจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีการวางแผนปฏิรูปประเทศ 20 ปี และให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตในปี 2559 และเข้าสู่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ตั้งแต่ปี 2559) ระเบียบการเมืองเดิมที่ยึดโยงพระมหากษัตริย์ที่มีบารมีหมดไป และกองทัพก้าวเข้ามาเป็นผู้ชี้นำการกระจายอำนาจและผลประโยชน์ในช่วงหลังเปลี่ยนรัชกาลใหม่ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทหารที่เรียก ประชารัฐ ทำให้เกิดทุนนิยมแบบลำดับชั้นที่ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยเชื้อสายจีนเข้าไปเลี้ยงดูและชี้นำธุรกิจในท้องถิ่น มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 20 หลังจากครองอำนาจเกือบห้าปี คสช. ยอมให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ผลทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ โดยได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภา ในปี 2563 เริ่มเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ตามมาด้วยการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 == เชิงอรรถ == == ดูเพิ่ม == สยาม รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย == อ้างอิง == == บทอ่านเพิ่มเติม ==
thaiwikipedia
1,249
6 เมษายน
วันที่ 6 เมษายน เป็นวันที่ 96 ของปี (วันที่ 97 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 269 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 1863 (ค.ศ. 1320) - ชาวสก็อตยืนยันเอกราชของพวกเขาโดยการลงนามในคำประกาศอาร์โบรธ พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) - สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต เริ่มล้อม กรุงคอนสแตนติโนเปิล และกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็เสียแก่ จักรวรรดิออตโตมัน ในวันที่ 29 พฤษภาคม โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น อิสตันบูล พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) - สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษาและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงธนบุรี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) - ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมทำหน้าที่บริหารสาธารณรัฐ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) - สนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิลสถาปนาสาธารณรัฐเซปตินซูลาร์ซึ่งเป็นรัฐกรีกที่ปกครองตนเองเป็นแห่งแรกนับตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (ภายใต้ปฏิทินแบบเก่าที่ยังคงใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน สนธิสัญญาได้ลงนามเมื่อวันที่ 21 มีนาคม) พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) - จอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ ก่อตั้ง American Fur Company ซึ่งในที่สุดเขากลายเป็นเศรษฐีคนแรกของอเมริกา พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) - กองกำลังอังกฤษภายใต้การบังคับบัญชาของดยุกแห่งเวลลิงตันโจมตีป้อมปราการแห่งบาดาโฮซ นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามคาบสมุทรกับกองกำลังฝรั่งเศสที่นำโดยจักรพรรดินโปเลียน พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) - จุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง; จักรพรรดินโปเลียนสละราชบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) - จอห์น ไทเลอร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี 2 วันหลังจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของวิลเลียม เอช. แฮร์ริสัน พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) - พิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรก ณ กรุงเอเธนส์ 1,500 ปีหลังจากการแข่งขันแบบดั้งเดิมถูกสั่งห้ามโดยจักรพรรดิโรมันคือ จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) - สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: สหรัฐประกาศสงครามกับเยอรมนี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: นาซีเยอรมนีรุกรานราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ในปฏิบัติการ 25และกรีซในปฏิบัติการมาริตา พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ซาราเยโวได้รับการปลดปล่อยจากกองกำลังเยอรมนีและโครเอเชียโดยพลพรรคยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - เปิดตัวยานอวกาศไพโอเนียร์ 11 พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สงครามบอสเนียเริ่มต้นขึ้น พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - จาลัล ทาลาบานี ผู้นำชาวเคิร์ดกลายเป็นประธานาธิบดีอิรัก อิบราฮิม อัล-จาฟารี ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - พงษ์ศักดิ์เล็ก กระทิงแดงยิม ทำสถิติป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวทได้มากที่สุด เมื่อป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC ครั้งที่ 17 ชนะน็อค โทโมโนบุ ชิมิสึ ยก 8 พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีผลบังคับใช้ == วันเกิด == พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - ลุยส์ เดล โซล นักฟุตบอลชาวสเปน (เสียชีวิต 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564) พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - ไมเคิล รูกเกอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ฌอน ทูบ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - พอล รัด นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - มูนา กรุดท์ นางงาม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ลอเรน ริดลอฟฟ์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - ลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - โรเบิร์ต เอิร์นชอว์ นักฟุตบอลชาวเวลส์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เทรเวอร์ มิลตัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - ฟาบริซ มูอัมบา อดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - อี ยู-จิน นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - คิม มิน-กยู (นักร้องเซเวนทีน) ศิลปินชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - นาอูเอล โมลินา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา == วันถึงแก่กรรม วันสวรรคต == พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) - สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ไทย (พระราชสมภพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277) พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - อีกอร์ สตราวินสกี คีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย (เกิด 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882) พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนและนักชีวเคมีชาวอเมริกัน (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2463) พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - นิสา วงศ์วัฒน์ นักแสดงหญิงชาวไทย (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันจักรี (วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: April 6 มเมษายน 06 เมษายน
thaiwikipedia
1,250
จังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่ (, เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22,848.421 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีประชากรราว 1.79 ล้านคน มากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาให้คัดเลือกเป็นเมืองแหล่งมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ == ประวัติศาสตร์ == เวียงเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" (150px)) พญามังรายทรงสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน (ตามปฏิทินจูเลียน) หรือ 19 เมษายน (ตามปฏิทินกริกอเรียน) พ.ศ. 1839 ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่าอาณาจักรล้านนา ภายใต้การปกครองของราชวงศ์มังรายยาวนานประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) กระทั่งในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่านานกว่าสองร้อยปี ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) และเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองรัตตนติงสาอภินวปุรี (150px)) หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยากาวิละขึ้นเป็นพระบรมราชาธิบดี ปกครองนครเชียงใหม่และเป็นประมุขแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) และต่อมาเจ้านายซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลพายัพ" ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้ง === จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอำเภอเมือง) ตั้งอยู่ ณ ลองติจูด 18 องศาเหนือ ละติจูด 98 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร === อาณาเขตติดต่อ === ทิศเหนือ โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกล้า ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปางมีร่องน้ำลึกของน้ำแม่กก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร แต่พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ === ภูมิประเทศ === จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 14,022,500 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (อำเภอฝาง) สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว (อำเภอเชียงดาว) สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ (อำเภอเมืองเชียงใหม่) สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ พื้นที่ภูเขา คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของจังหวัด ประกอบด้วยทิวเขาอินทนนท์ (หรือถนนธงชัยตะวันออก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด พาดยาวจากทิศเหนือจรดใต้ ตามแนวรอยต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และทิวเขาขุนตาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พาดผ่านในทิศเหนือ-ใต้ พื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ส่วนบางพื้นที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเขาชาติพันธุ์ต่าง ๆ พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร === ทรัพยากรป่าไม้ === จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 12,222,395 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง วนอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และจังหวัดเชียงใหม่ยังเป็นจังหวัดที่ถือได้ว่ามีพื้นที่เขตเมืองใกล้กับเขตอุทยานแห่งชาติมากที่สุดในประเทศอีกด้วย อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อุทยานแห่งชาติออบหลวง อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติผาแดง อุทยานแห่งชาติแม่โถ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อุทยานแห่งชาติออบขาน อุทยานแห่งชาติแม่วาง นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้นเป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า === ทรัพยากรน้ำ === จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้ ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน และแม่ตื่น ลุ่มน้ำกก มีน้ำแม่กกเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลผ่านเมืองกก เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม. ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่น้ำแม่กก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย === ธรณีวิทยา === จังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วยหินตะกอนและหินแปร อายุแก่สุดคือหินยุคพรีแคมเบรียน ไปจนถึงอายุอ่อนคือชั้นตะกอนร่วนในยุคควอเทอร์นารี หินอัคนีประกอบด้วยหินอัคนีแทรกดันในยุคคาร์บอนิเฟอรัส และยุคไทรแอสซิก ส่วนหินอัคนีพุเป็นหินภูเขาไฟยุคดีโวเนียน-คาร์บอนิเฟอรัส และหินภูเขาไฟ ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก จังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยมีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง 2 แห่งที่พาดผ่านจังหวัด ได้แก่ "รอยเลื่อนแม่จัน" ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด พาดผ่านอำเภอฝางและอำเภอแม่อายในทิศตะวันออก-ตะวันตก และ "รอยเลื่อนแม่ทา" พาดผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดในทิศเหนือ-ใต้ ผ่านอำเภอพร้าว ดอยสะเก็ด แม่ออน เชียงดาว แม่แตง แม่ริม สันทราย เมืองเชียงใหม่ สารภี หางดง สันป่าตอง และแม่วาง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนอื่นของจังหวัดก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 มีจุดเหนือศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอใกล้เคียง === ภูมิอากาศ === จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู == การเมืองการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 25 อำเภอมีดังนี้ === การปกครองส่วนท้องถิ่น === === ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ === === การเลือกตั้ง === ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 10 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 คน == การต่างประเทศ == จังหวัดเชียงใหม่เป็นที่ตั้งของสถานกงสุล ดังนี้ สถานกงสุลใหญ่ ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย และสถานกงสุลใหญ่เมียนม่า ส่วนสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เยอรมนี โปรตุเกส ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา อิตาลี เปรู บังกลาเทศ สวีเดน กรีซ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สวิตเซอร์แลนด์ === เมืองพี่น้อง === จังหวัดเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองพี่น้องกับเมืองดังต่อไปนี้ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน (พ.ศ. 2543) ยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2550) ชิงเต่า ประเทศจีน (พ.ศ. 2551) ฉงชิ่ง ประเทศจีน (พ.ศ. 2551) ฮาร์บิน ประเทศจีน (พ.ศ. 2551) คุนหมิง ประเทศจีน (พ.ศ. 2552) ไฮฟอง ประเทศเวียดนาม (พ.ศ. 2555) บูร์ซา ประเทศตุรกี (พ.ศ. 2556) ฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2556) เชียงตุง ประเทศพม่า (พ.ศ. 2556) == ประชากรศาสตร์ == === ศาสนา === ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.8 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.6 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.41 === กลุ่มชาติพันธุ์ === ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไท โดยเฉพาะ "ชาวไทยวน" หรือ "คนเมือง" ที่เหลือเป็น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน และไทยสยาม นอกจากนี้ยังมีชาวอาข่า ลีซอ ชาวมูเซอ ปกาเกอะญอ คะฉิ่น ลัวะ ม้ง และชาวไทยเชื้อสายจีน เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ และฮ่อ เป็นต้น === สถิติประชากร === == เศรษฐกิจ == ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2555 มีมูลค่ารวมทั้งหมด 163,828 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร (รวมถึงการล่าสัตว์และการป่าไม้) 28,014 ล้านบาท (17.1%) และนอกภาคเกษตร 135,813 ล้านบาท (82.9%) สาขาการผลิตนอกภาคเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ (14.4%) การขายส่งขายปลีก (12.1%) การศึกษา (11%) ตัวกลางทางการเงิน (11%) การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ (7.9%) การก่อสร้าง (7.2%) อุตสาหกรรม (6.9%) และสาขาอื่น ๆ (14.9%) จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 11.7 มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 89,542 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับ 2 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดลำพูน สำหรับรายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ยนั้น อยู่ที่ 59,092.45 บาท/คน/ปี อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อำเภออมก๋อย 29,198.01 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้สูงสุด คือ อำเภอฝาง 110,592.77 บาท/คน/ปี ใน พ.ศ. 2556 จังหวัดเชียงใหม่มีกำลังแรงงาน 976,115 คน (60.45% ของประชากร) มีอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.24% ซึ่งมีจำนวนราว 12,000 คน จังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานต่างด้าว 67,113 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นชาวพม่า (66,995 คน) แรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพในภาคการก่อสร้างมากที่สุด 27,993 คน รองลงมาอยู่ในภาคเกษตรและปศุสัตว์ 16,342 คน === เกษตรกรรม === จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (14.61% ของพื้นที่จังหวัด) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 716,454 ไร่ และพืชสวน 459,254 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขตชลประทาน 642,979 ไร่ (35% ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 134,426 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และส้มเขียวหวาน === อุตสาหกรรม === จังหวัดเชียงใหม่มีโรงงาน 1,395 แห่ง เงินลงทุน 32,180 ล้านบาท แรงงาน 43,306 คน อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ขนส่ง อโลหะ และเครื่องดื่ม ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พ.ศ. 2554 มี 34 โครงการ ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สิงคโปร์ มาเลเซีย เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ === การท่องเที่ยว === ในการสำรวจ World Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2559 ผลปรากฏว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก จาก Condé Nast Traveler ของสหรัฐฯในหมวดเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลก ประเภท Best Small Cities ใน พ.ศ. 2555 จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวราว 6.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ราว 9 แสนคน อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2,192,322 คน (33.4%) สร้างรายได้รวม 53,507 ล้านบาท == วัฒนธรรมและประเพณี == เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันสังขารล่อง มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เป็นวันเน่า ชาวบ้านจะเตียมข้าวของไปวัดและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่วันต่อไป และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก ประเพณีปีใหม่ม้ง (น่อเป๊เจ่า) จัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 หรือขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 (ช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม) ตามปฏิทินจันทรคติ ของทุกปี มีการละเล่น การแข่งขัน และการแสดงมากมาย เช่น การโยนลูกช่วง (ป๋อป๊อ) ของวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ยังโสด การแข่งขันยิงหน้าไม้ การแข่งขันตีลูกข่าง การแข่งรถฟอร์มูล่าม้ง ฯลฯ == โครงสร้างพื้นฐาน == === การศึกษา === จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 140 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 15 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 138,288 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75,804 คน ==== โรงเรียน ==== โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนหอพระ โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด: โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ==== สถาบันอุดมศึกษา ==== ===== สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ===== มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา วิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ===== สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ===== มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น === สาธารณสุข === จังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 48 แห่ง 6,045 เตียง มีบุคลากรแพทย์ 1,065 คน (สัดส่วนต่อประชากรเป็น 1: 1,540) พยาบาล 4,812 คน (1: 341) และทันตแพทย์ 359 คน (1: 13,445) อัตราการเกิด 10.98 ต่อ 1,000 คน อัตราการตาย 8.16 ต่อ 1,000 คน และอัตราการเพิ่มตามธรรมชาติ 2.52 ต่อ 1,000 คน โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ โรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลสันป่าตอง โรงพยาบาลค่ายกาวิละ โรงพยาบาลดารารัศมี โรงพยาบาลกองบิน 41 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 โรงพยาบาลธัญญรักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลแมคคอร์มิค โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม โรงพยาบาลลานนา โรงพยาบาลลานนา 2 โรงพยาบาลลานนา 3 โรงพยาบาลเทพปัญญา โรงพยาบาลเทพปัญญา 2 โรงพยาบาลราชเวชเชียงใหม่ โรงพยาบาลเซนทรัลเชียงใหม่เมมโมเรียล โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ โรงพยาบาลเชียงใหม่ฮอสพิทอล โรงพยาบาลเชียงใหม่เมดิคอลเซนเตอร์ โรงพยาบาลตาเซนต์ปีเตอร์ โรงพยาบาลเอ็ม ที อินเตอร์เมด === การขนส่ง === จังหวัดเชียงใหม่มีระบบขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก ทางรถไฟ และทางอากาศ โดยเชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศและภูมิภาค เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ มีระบบรางเข้าถึงและมีสถานีรถไฟกลาง 1 แห่งคือ สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มีสถานีรถโดยสารประจำทาง 3 แห่ง สำหรับการขนส่งผู้โดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ทางด้านระบบขนส่งมวลชน มี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ แท็กซี่มิเตอร์ ให้บริการในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ และอำเภอใกล้เคียง === สาธารณูปโภคอื่น ๆ === ไฟฟ้า การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตเหนือ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีสถานีควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 5 สถานี จำนวนการไฟฟ้า 32 แห่ง ในปี 2553 จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 567,201 ราย ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในจังหวัด 2,264.45 ล้านหน่วย สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 25 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ประปา การประปาในจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงใหม่ การประปาฮอด การประปาสันกำแพง การประปาฝาง การประปาแม่ริม การประปาแม่แตง มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 54.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณการใช้น้ำ 25.33 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 112,685 ราย โดยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้ใช้น้ำประปามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.04 ของจำนวนผู้ใช้ประปาทั้งหมดของจังหวัด โทรศัพท์ จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ 305,434 เลขหมาย เป็นเลขหมายที่มีผู้เช่า 186,294 เลขหมาย มีชุมสายโทรศัพท์ 247 แห่ง ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ จำนวน 37 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการ 2,467,286 ราย == กีฬา == จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998, ซีเกมส์ 1995 ,ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998, การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2552 และกีฬาโรงเรียนอาเซียน ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนการจัดการแข่งขันกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง เชียงใหม่มีสโมสรฟุตบอลอาชีพสามสโมสร ได้แก่ เชียงใหม่ เอฟซี (เคยเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2562) เชียงใหม่ ยูไนเต็ด หรือชื่อเดิมคือ เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก 3 ฤดูกาล 2561 ปัจจุบันได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 1 ในฤดูกาลปี 2021-2022 แม่โจ้ ยูไนเต็ด ปัจจุบันได้สิทธิ์เล่นในไทยลีก 3 ในฤดูกาลปี 2021-2022 == สถานที่ท่องเที่ยว == === สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ === เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง === สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป === อำเภอเมืองเชียงใหม่ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ สวนสัตว์เชียงใหม่ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อุทยานหลวงราชพฤกษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ถนนคนเดิน - ที่สำคัญมีสองแห่งคือ * ถนนวัวลาย ช่วงระหว่างประตูเชียงใหม่ ถึงประตูหายยา (วันเสาร์) * ถนนราชดำเนิน ช่วงระหว่างประตูท่าแพ ถึงวัดพระสิงห์ (วันอาทิตย์) ถนนนิมมานเหมินท์ เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ อำเภออื่น ๆ หมู่บ้านผลิตร่ม บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง ชุมชนหัตถกรรมแกะสลัก บ้านถวาย อำเภอหางดง เวียงกุมกาม อำเภอสารภี เวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง พระธาตุดอยนก อำเภอสะเมิง ทุ่งข้าวบาร์เล่ย์ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ปี 53 ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเชียงใหม่ , สืบค้นวันที่ 8 ส.ค. 2552 == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ทางการ เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เว็บไซต์สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ เว็บไซต์สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลท่องเที่ยวเชียงใหม่ "ที่นี่ สะเมิง" เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ รถเช่าเชียงใหม่ เชียง อาณาจักรล้านนา
thaiwikipedia
1,251
วิทยุ (แก้ความกำกวม)
วิทยุ อาจหมายถึง: เครื่องรับวิทยุ เครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียงตามเดิม เครื่องส่งวิทยุ เครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ วิทยุสมัครเล่น คลื่นวิทยุ กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้ ถนนวิทยุ ถนนในกรุงเทพมหานคร เชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4
thaiwikipedia
1,252
Plantae
redirect พืช
thaiwikipedia
1,253
จังหวัดชัยภูมิ
ชัยภูมิ (เดิมสะกดว่า ไชยภูมิ์) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย แต่หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ ชัยภูมิจะจัดอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ร่วมกับจังหวัดเลย และนครราชสีมา หากแบ่งตามลักษณะภูมิอากาศจะจัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และแบ่งตามแบบเขตการปกครองจะจัดอยู่ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 == ประวัติศาสตร์ == แต่เดิมเมืองชัยภูมิก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยสันนิษฐานว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยเมืองชัยภูมินั้นถือเป็นเส้นทางการเผยแพร่วัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางเข้าสู่ภาคอีสาน ปรากฏหลักฐานจากใบเสมาบ้านกุดโง้งในอำเภอเมือง และใบเสมานครกาหลงที่อำเภอคอนสวรรค์ และมีกลุ่มประชาชนชาวญัฮกุร ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวมอญโบราณสมัยทวารวดีอาศัยอยู่ทางขอบสันเขาตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ในเวลาต่อมาเมื่ออิทธิพลทวารวดีเสื่อมลง อิทธิพลของขอมก็เข้ามาแทน ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ของอีสานใต้ในเวลานั้น ดังปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทขอม เช่น ปรางค์กู่ในเขตอำเภอเมือง ปรางค์กู่บ้านแท่นในเขตอำเภอบ้านแท่น กู่แดงในอำเภอบ้านเขว้า เป็นต้น ส่วนในสมัยสุโขทัยนั้นสันนิษฐานว่าชัยภูมิน่าจะเป็นเมืองหนึ่งที่สุโขทัยครอบครองอีกด้วย สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าบริเวณจังหวัดชัยภูมิมีประชากรลาวเข้ามาอาศัยอยู่ และมีการสร้างพระธาตุหนองสามหมื่น ซึ่งอยู่บริเวณตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียวปัจจุบัน โดยมีลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง ล้านนา และอยุธยา โดยสร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชผู้ครองเมืองลาวในยุคนั้น ในเวลาต่อมาเมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น ในสมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาปราบก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าก๊ก ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมายและต่อมาได้ ยึดเมืองนครราชสีมาเป็นที่ตั้งมั่น เจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชคุมทัพไปตั้งรับเพื่อตีสกัดทัพพระเจ้าตากสินที่ด่านขุนทดและถูกกองทัพ พระเจ้าตากสินตีจนแตกพ่ายในที่สุดในกรณีศึกครั้งนี้อาจารย์คำผู้นำหมู่บ้านสี่มุมได้นำชาวบ้านเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินและขออาสาเป็น กองกำลังร่วมสู้รบในกองทัพหลวงด้วย พระเจ้าตากสินทรงยินดีรับไว้และให้เป็นกองกำลังเข้าตีด่านจอหอจนแตกพ่ายสามารถยึดเมืองพิมายและเมือง นครราชสีมาคืนมาได้ในครั้งเข้าตีด่านจอหอ กองกำลังของบ้าน สี่มุมโดยการนำของอาจารย์คำได้แสดงความสามารถในการรบอย่างกล้าหาญ เข้มแข็งเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จการศึกสงครามจึงได้ปูนบำเหน็จความชอบให้อาจารย์คำเป็น “พระนรินทร์สงคราม” ยกฐานะบ้านสี่มุมขึ้นเป็น “เมืองสี่มุม” (ในเขตอำเภอจัตุรัส ในจังหวัดชัยภูมิปัจจุบัน) ให้ปกครองเมืองสี่มุมให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 หมื่นอร่ามกำแหง หรือนายภูมีชาวเมืองนครไทยซึ่งเป็นคนเชื้อสายหลวงพระบาง ได้เข้ามาตั้งบ้านแปงเมืองในเขตพื้นที่บริเวณอำเภอคอนสารในปัจจุบัน และขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2352 ในเขตอำเภอภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์ มีชุมชนลาวเวียงจันทน์อพยพ คือหลวงไกรสิงหนาท ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ดังที่มีกล่าวในเรื่องเล่าหรือตำนานของชาวชัยภูมิ และเป็นที่มานามของท่านที่ถูกเรียกว่า เจ้าพ่อพระยาแล ซึ่งมีความเป็นมาจาก ปู่ด้วงผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างมากกับนายแล แม้ประวัติของปู่ด้วงจะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน เป็นเพียงคำบอกเล่าและบันทึกของคนท้องถิ่น (พระครูศรีพิพัฒนคุณ และสุรวิทย์ อาชีวศึกษาคม อ้างในกรมศิลปากร 2542 : 146-147) พบว่า ปู่ด้วงเป็นชาวเขมร เข้ามาอยู่ชัยภูมิก่อนที่พระยาภักดีชุมพล (แล) จะอพยพผู้คนมาตั้งเมือง ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อบางกระแสที่ว่า ปู่ด้วงเป็นชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพราะชาวศรีสะเกษส่วนมากจะพูดภาษาเขมรและภาษาส่วย เป็นภาษาพูดแต่โบราณ นอกจากนี้ ชาวชัยภูมิยังเชื่อว่า ปู่ด้วงได้พาครอบครัวมาตั้งหลักฐานที่บ้านตาดโตน(ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ) ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมและเวทมนตร์ ทำให้นายแลเกิดความเลื่อมใสและขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมให้อยู่ยงคงกระพัน ฟันไม่เข้าและยิงไม่ออก และยังส่งผลให้นายแลมีความกล้าหาญ ไม่กลัวที่จะตาย จนเป็นที่มาของเรื่องเล่าในตอนที่ท่านพลีชีพเพื่อแผ่นดินชัยภูมิในช่วงกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ว่า ศัตรูจะยิงแทงฟันอย่างไรก็ไม่เข้า จึงต้องใช้หลาวแหลมเสียบทวารหนักจนถึงแก่ชีวิต เมื่อปู่ด้วงรู้ข่าวกลัวภัยจะมาถึงตัว จึงรีบอพยพหลบหนีจากบ้านตาดโตนเข้าป่าลึก ในเทือกเขาภูแลนคา อาศัยอยู่ป่าท่าหินโงม ซึ่งจะปรากฏมีวัดปู่ด้วงมาจนบัดนี้ ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร หลังจากกองทัพลาวของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้ต่อทัพสยาม สยามได้จับเจ้าอนุวงศ์ส่งมารับโทษที่กรุงเทพฯ เมื่อกองทัพไทยบุกเข้ายึดเวียงจันทน์ได้สำเร็จ เจ้าอนุวงศ์พยายามหลบหนีไปขอความช่วยเหลือจากญวนเหมือนเมื่อครั้งก่อน แต่ด้วยความร่วมมือของเจ้าน้อยเมืองพวน ไทยจึงสามารถตามจับเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ส่งลงมากรุงเทพฯได้ โดยมีพระอนุรักษโยธา พระโยธาสงคราม หลวงเทเพนทร์ พระนครศรีบริรักษ์เจ้าเมืองขอนแก่น ราชวงศ์เมืองชลบทวิบูลย์หรือชนบท ซึ่ง 2 ท่านสุดท้ายสืบเชื้อสายมาจากเจ้าจารย์แก้ว คู่อริเดิมของเวียงจันทน์ เป็นนายกอง พร้อมไพร่ 300 คน คุมตัวเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์มาส่งถึงเมืองสระบุรี หลังจากนั้นก็ทำกรงขังเจ้าอนุวงศ์ตั้งประจานไว้กลางเรือล่องลงมาจนถึงกรุงเทพฯ แล้วทรงมีรับสั่งให้ทำกรงเหล็กขนาดใหญ่ใส่เจ้าอนุวงศ์ตั้งประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์พร้อมเครื่องทรมานต่าง ๆ ได้แก่ ครก สากสำหรับโขลก เบ็ดสำหรับเกี่ยวแขน กระทะสำหรับต้ม ขวานผ่าอก และเลื่อย ให้เหล่าบรรดาภรรยาน้อยสาว ๆ ของเจ้าอนุวงศ์ที่เจ้าพระยาราชสุภาวดีส่งตามลงมาจากเวียงจันทน์ เข้าไปนั่งปรนนิบัติอยู่ในกรง ตกคํ่าจึงนำตัวเจ้าอนุวงศ์ไปคุมขัง พอเช้าก็นำตัวออกมาใส่กรงประจานเหมือนเดิม ทำอยู่เช่นนี้ 7 – 8 วันเจ้าอนุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นโปรดฯ ให้เอาศพเจ้าอนุวงศ์ไปเสียบประจานไว้ที่สำเหร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรหลานของเจ้าอนุวงศ์บางคนพ้นโทษ (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, ๒๕๐๔, หน้า ๙๑ – ๙๓) ต่อมาเมืองชัยภูมิขึ้นกับเมืองชลบถวิบูลย์(อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ขณะนั้นนับว่าเมืองชนบทเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมีเมืองขึ้นถึง 4 เมือง คือ 1. เมืองเกษตรสมบูรณ์ 2. เมืองชัยภูมิ ( ต่อมาเป็นศูนย์กลางของชัยภูมิจึงได้รับการยกฐานะ เป็นจังหวัด) 3. เมืองสี่มุม ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองจตุรัส ) 4. เมืองโนนลาว ( ต่อมาสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองโนนไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา) ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว ขณะนั้นเมืองชัยภูมิยังขึ้นกับเมืองชนบทซึ่งสังกัดหัวเมืองลาวฝ่ายกลางและมณฑลนครราชสีมา ภายหลังเมืองชนบทถูกลดบทบาทความสำคัญลงและถูกโอนย้ายไปขึ้นกับบริเวณพาชี มณฑลอุดร เมืองชัยภูมิจึงขึ้นมามีความสำคัญแทนที่เมืองชนบท ซึ่งเมืองชัยภูมิมีเมืองขึ้นอยู่ 3 เมือง ซึ่งก็คือเมืองต่างๆภายในจังหวัดชัยภูมิปัจจุบัน หลังจากยุบมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้บริเวณเมืองชัยภูมิจัดตั้งเป็นอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยสามารถสรุปการยุบหัวเมืองต่าง ๆ ได้ดังนี้ เมืองสี่มุมของพระยานรินทรสงคราม ปัจจุบัน คืออำเภอจัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต ซับใหญ่ หนองบัวระเหว เนินสง่า ส่วนเมืองภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์ของพระไกรสิหนาท ปัจจุบันคือ อำเภอภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ บ้านแท่น แก้งคร้อ หนองบัวแดง ภักดีชุมพล ส่วนเมืองคอนสารของหมื่นอร่ามกำแหง ปัจจุบันคืออำเภอคอนสาร ซึ่งเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอภูเขียว และเมืองชัยภูมิของพระยาภักดีชุมพล ปัจจุบันคืออำเภอเมือง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์(แต่ก่อนพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของเมืองชลบทวิบูลย์ ภายหลังถูกโอนมาขึ้นกับเมืองชัยภูมิ) โดยทั้งหมดในปัจจุบันรวมกันเป็นจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิมีเขตติดต่อกับจังหวัดเพื่อนบ้านหลายจังหวัด ได้แก่ ทิศเหนือ ติดกับเพชรบูรณ์และขอนแก่น ทิศตะวันออกติดกับขอนแก่นและนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี และทิศใต้ติดกับจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิในด้านภูมิศาสตร์อยู่ในเขตอีสานตะวันตกร่วมกับเลยและนครราชสีมาในด้านอุตุนิยมวิทยาอยู่ในเขตอีสานตอนบน และในด้านการปกครองอยู่ในเขตอีสานตอนใต้ === รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด === == ภูมิศาสตร์ == === ลักษณะภูมิประเทศ === ชัยภูมิมีพื้นที่ภูเขามากทางด้านตะวันตก อาทิ ภูเขียว ภูพังเหย ภูกระแต โดยมีภูแลนคาทางตอนกลางของจังหวัด ส่วนภูตะเภา ภูผาแดง และภูเม็งอยู่ทางตะวันออก มีภูเขาเตี้ยทอดยาวจากทางใต้ถึงตอนกลางอีกด้วย อำเภอที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ หนองบัวแดง พื้นที่ราบในฝั่งแม่น้ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 180 – 300 เมตร ได้แก่บริเวณพื้นที่ราบเรียบ ความลาดเอียงของพื้นที่อยู่ระหว่างร้อยละ0 - 2 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 13 ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส อำเภอเนินสง่า บริเวณนี้จะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง พื้นที่ลูกคลื่นลอนต่ำ อยู่ตอนกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นแนวยาวตามทิศเหนือ-ใต้ ตามแนวเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงประมาณ 300 – 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางได้แก่ พื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอแก้งคร้อ อำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์และอำเภอบ้านแท่น พื้นที่สูงและภูเขา สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลอนลึกและภูเขา ในเขตเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงตั้งแต่ 500 – มากกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภักดีชุมพล อำเภอซับใหญ่ และพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองชัยภูมิ จุดสูงสุดของจังหวัดชัยภูมิ คือ ภูเขาโป่งทองหลาง มีความสูง 1,336 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง === เขื่อนที่สำคัญ === เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำปะทาว อ่างเก็บน้ำช่อระกา อ่างเก็บน้ำบ้านเพชร อ่างเก็บน้ำลำคันฉู บึงละหาน === แหล่งน้ำที่สำคัญ === แม่น้ำชี ห้วยลำปะทาว ลำน้ำเซิน ลำน้ำพรม ลำปะทาว ลำคันฉู ลำน้ำพองเล็ก == หน่วยการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === การปกครองแบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 124 ตำบล 1617 หมู่บ้าน === การปกครองส่วนท้องถิ่น === แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล และ 106 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้ อำเภอเมืองชัยภูมิ เทศบาลเมืองชัยภูมิ เทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว เทศบาลตำบลลาดใหญ่ เทศบาลตำบลชีลอง เทศบาลตำบลโคกสูง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ เทศบาลตำบลเกษตรสมบูรณ์ เทศบาลตำบลบ้านเป้า เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอแก้งคร้อ เทศบาลตำบลแก้งคร้อ เทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม เทศบาลตำบลหนองสังข์ อำเภอคอนสวรรค์ เทศบาลตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสาร เทศบาลตำบลคอนสาร เทศบาลตำบลห้วยยาง เทศบาลตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอจัตุรัส เทศบาลตำบลจัตุรัส เทศบาลตำบลหนองบัวโคก เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอเทพสถิต เทศบาลตำบลเทพสถิต อำเภอบ้านเขว้า เทศบาลตำบลบ้านเขว้า เทศบาลตำบลทุ่งทอง เทศบาลตำบลตลาดแร้ง เทศบาลตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านแท่น เทศบาลตำบลบ้านแท่น เทศบาลตำบลบ้านเต่า อำเภอบำเหน็จณรงค์ เทศบาลตำบลบ้านเพชร เทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ อำเภอภูเขียว เทศบาลตำบลภูเขียว เทศบาลตำบลบ้านเพชรภูเขียว เทศบาลตำบลบ้านแก้ง เทศบาลตำบลธาตุทอง อำเภอหนองบัวระเหว เทศบาลตำบลหนองบัวระเหว เทศบาลตำบลห้วยแย้ เทศบาลตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวแดง เทศบาลตำบลหนองบัวแดง เทศบาลตำบลหลวงศิริ == เศรษฐกิจ == ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดชัยภูมิมีขนาดเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัด 53,278 ล้านบาท มีผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อคนต่อปี 55,665 ต่อคนต่อปี อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.9 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2559 จังหวัดชัยภูมิจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัด 60,248 ล้านบาท หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อคนต่อปี 63,079 บาทต่อคนต่อปี หรือมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 13.1 (รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 3/2560) การจ้างงานมีจำนวนคนงานทั้งสิ้น 23,623 คน อำเภอที่มีการจ้างงานมากที่สุดคือ อำเภอจัตุรัส 7,801 คน รองลงมาคือ อำเภอเมืองชัยภูมิ 4,269 คน อำเภอแก้งคร้อ 3,704 คน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 2,274 คน อำเภอภูเขียว 1,557 คน ตามลำดับ ประเภทอุตสาหกรรมที่จ้างงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีข้อมูลในทำเนียบโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงงาน มีการจ้างงานทั้งสิ้น 17,917 คน คิดเป็นร้อยละ 75.84 ของแรงงานทั้งหมด สำหรับแหล่งที่ตั้งสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาจากความหนาแน่นของโรงงาน ขนาดเงินลงทุน และจำนวนการจ้างงาน ได้แก่ อำเภอเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นมากเป็นอันดับ 1 และมีจำนวนการจ้างงานสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอจัตุรัส มีจำนวนโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด และมีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ การจ้างแรงงานที่สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดเป็นการจ้างงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ อำเภอแก้งคร้อ เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมถักทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร (น้ำตาลทราย) ผลิตเอทานอล การผลิตกระแสไฟฟ้า และการผลิต PARTICLE BOARD มีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอหนองบัวระเหว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นแหล่งที่ตั้งเหมืองโปแตชของโครงการอาเซียน ส่วนในพื้นที่ของอำเภอที่เหลือ คือ คอนสวรรค์ บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง เทพสถิต บ้านแท่น คอนสาร ภักดีชุมพล เนินสง่า และอำเภอซับใหญ่ แม้สถานภาพปัจจุบันจะบ่งชี้ว่ามีธุรกรรมอุตสาหกรรมตั้งอยู่เบาบาง แต่มีหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เข้มข้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สิ่งถักทอ ในอำเภอคอนสวรรค์ บ้านเขว้า เนินสง่า เทพสถิต == การท่องเที่ยว == จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือนในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 1,505,718 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน 1,418,833 คน รวมทั้งสิ้น 86,885 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2559 จำนวน 1,639.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1,467.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 171.95 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.71 มีจำนวนห้องพัก 2,612 ห้อง จำนวนผู้เข้าพักแรม 744,179 คน มีอัตราการเข้าพักร้อยละ 54.44 === แหล่งท่องเที่ยว === อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง ศาลเจ้าพ่อพระยาแล อำเภอเมือง ศาลเจ้าพ่อพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าเมืองสี่มุม) อำเภอจัตุรัส ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส) อำเภอจัตุรัส พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล (วัดศิริพงษาวาส) อำเภอจัตุรัส วัดสระหงษ์ อำเภอเมือง น้ำตกตาดฟ้า อำเภอเมือง วัดศิลาอาสน์ อำเภอเมือง พระปรางค์กู่ อำเภอเมือง ใบเสมาบ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง น้ำตกผาเอียง ประตูโขลง วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) อำเภอหนองบัวแดง หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม นครชัยบุรินทร์ บ้านส้มป่อย อำเภอจัตุรัส กู่แดง อำเภอบ้านเขว้า วัดภูแฝด อำเภอเมือง มอหินขาว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ถ้ำแก้ว จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย อำเภอเทพสถิต บึงแวง อำเภอคอนสวรรค์ พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี อำเภอคอนสวรรค์ ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อำเภอภูเขียว พระธาตุหนองสามหมื่น อำเภอภูเขียว แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา อำเภอภูเขียว เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร หาดน้ำพรม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง อำเภอคอนสาร สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว น้ำตกเทพพนา น้ำตกเทพประทาน ทุ่งบัวแดง บึงละหาน อำเภอจัตุรัส รอยเท้าและซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ อำเภอหนองบัวแดง ศาลปู่ด้วง-ย่าดี อำเภอหนองบัวแดง เขื่อนลำปะทาว อำเภอแก้งคร้อ วัดชัยสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ พระแท่นบัลลังก์ อำเภอบ้านแท่น พระง้าง อำเภอเนินสง่า สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว อำเภอคอนสาร ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ถ้ำแก้ว พระพุทธบาทเกือกแก้วสี่รอยเขายายหอม พระพุทธบาทเขาแก้วพิสดาร (เขาน้อย) พระพุทธบาทวัดหลักศิลา เขาพระบาท วัดถ้ำฮวงโป อำเภอคอนสาร วัดถ้ำพญาช้างเผือก อำเภอคอนสาร สะพานสวนหมากบ้านนาเขิน อำเภอคอนสาร ปรางค์กู่ อำเภอบ้านแท่น ภูคิ้ง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ พระพุทธบาทสวนป่าโพธิธรรม เมืองพระศรีอาริย์ วัดปราสาทดิน อำเภอภักดีชุมพล ป่าปรงพันปี อำเภอเกษตรสมบูรณ์ แก้งตาดไซ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตาดร้อยรู อำเภอบ้านเขว้า พระธาตุชัยภูมิ อรุณธรรมสถาน อำเภอแก้งคร้อ พระประธาน 700 ปี วัดเจดีย์ พระธาตุงูซวง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ === อุทยาน สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ === ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็น1ใน5จังหวัด (5จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;จังหวัดนครราชสีมา-แม่น้ำมูล-ลำมูลบน-ลำตะคอง,จังหวัดชัยภูมิ-แม่น้ำชี-ลำน้ำพรม-ลำน้ำเซิน,จังหวัดเลย-แม่น้ำเลย-ลำน้ำพอง-แม่น้ำเหือง,จังหวัดอุดรธานี-แม่น้ำสงคราม-แม่น้ำปาว-ลำน้ำห้วยหลวงและจังหวัดสกลนคร-แม่น้ำสงคราม-ลำน้ำพุง-ลำน้ำก่ำ) ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญดังนี้ อุทยานแห่งชาติตาดโตน ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ อุทยานแห่งชาติไทรทอง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอเทพสถิต อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น (ขอนแก่น-ชัยภูมิ) อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ตั้งอยูที่ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ตั้งอยูที่ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ) สวนพฤกษศาสตร์สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว สวนพฤกษศาสตร์สวนรุกชาติ100ปี กรมป่าไม้ (ภูกุ้มข้าว) ชัยภูมิ == วัฒนธรรม == === ชาติพันธุ์และภาษา === จังหวัดชัยภูมิมีประชากรที่สืบเชื้อสายต่าง ๆ อาศัยปะปนกันอยู่ เนื่องจากมีเขตแดนติดต่อระหว่าง 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้จังหวัดชัยภูมิมีภาษาที่ใช้แตกต่างกัน โดยมีส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภาษา ขร้า-ไท โดยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาราชการ โดยสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาของจังหวัดชัยภูมิได้ดังนี้ กลุ่มลาวเวียงจันทน์ ใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ เป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในจังหวัด และภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ถือเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในจังหวัดชัยภูมิ เนื่องจาก ในอดีตบรรพบุรุษของชาวชัยภูมิส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ โดยพบการใช้ภาษาสำเนียงเวียงจันทน์ในทุกอำเภอ ซึ่งปัจจุบันภาษาดังกล่าวมีการปะปนสำเนียงทั้งจากโคราช ภาษาไทย และภาษาล้านนา จึงทำให้มีสำเนียงที่แตกต่างออกไปจากเดิม ลักษณะคล้ายภาษาเหนือแถบจังหวัดน่าน หรือภาษาลาวราชการ เช่น หากจะใช้คำว่า "งู" ภาษาอีสานจะออกเสียง "งู่" ส่วนภาษานี้จะออกเสียง "งู้" อีกทั้งยังมีคำว่า "เมือบ้าน" ที่เป็นภาษาอีสานทั่วไป แต่ภาษานี้จะใช้ว่า "กับบ้าน" ส่วนคำว่าขนมจีน จะใช้คำว่า "ขนมเส่น" ไม่ใช้คำว่า "ข้าวปุ้น" และ "ซกเล็ก"ในที่นี้ หมายถึง ส้มตำใส่ขนมจีน มิได้หมายถึง ลาบเลือด เป็นต้น โดยแถบที่ยังคงรักษาสำเนียงเดิมไว้ได้มากที่สุดอยู่ที่แถบอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และภูเขียว กลุ่มลาวหลวงพระบาง หรือกลุ่มไทเลย ใช้ภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง ซึ่งเป็นภาษาเดียวกันที่ใช้มากในแถบจังหวัดเลย บางส่วนของหนองคาย อุตรดิตถ์ เชียงราย น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ โดยเป็นภาษาหลักของแขวงหลวงพระบาง ทางตอนบนของประเทศลาว ซึ่งภาษานี้เป็นภาษาหลักที่ใช้ในอำเภอคอนสาร และมีปะปนในแถบอำเภอหนองบัวแดง อำเภอภักดีชุมพล อำเภอภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ กลุ่มไทโคราช ใช้ภาษาไทยโคราช ซึ่งมีมากในแถบอำเภอทางตอนล่างของจังหวัด ได้แก่ อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอซับใหญ่ และบางส่วนในแถบอำเภอเมือง เช่น ตำบลบ้านค่าย และในอำเภอคอนสวรรค์ ได้แก่ บ้านโนนพันชาติ ตำบลโนนสะอาด กลุ่มชาติพันธุ์มอญญัฮกุร เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัด ใช้ภาษาญัฮกุร ซึ่งเป็นภาษามอญโบราณ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลมอญ-เขมร คำศัพท์หลายคำใกล้เคียงกับภาษาเขมรและภาษากูย โดยกลุ่มชาวมอญญัฮกุรนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ และเป็นมอญโบราณกลุ่มสุดท้าย ซึ่งหากเทียบกับจังหวัดอื่นที่มีกลุ่มชาติพันธุ์นี้ในประเทศไทย ที่จังหวัดชัยภูมิถือว่ามีชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่มากที่สุด โดยพบได้ที่ บ้านน้ำลาด บ้านสะพานหิน บ้านสะพานยาว อำเภอเทพสถิต นอกจากนี้ยังมีที่บ้านวังกำแพง ในอำเภอบ้านเขว้า ที่บ้านท่าโป่ง บ้านห้วยแย้ ในอำเภอหนองบัวระเหว ชาวลาวอีสาน หรือ ลาวตะวันตก (ลาวร้อยเอ็ด) พบได้บางส่วนที่อำเภอแก้งคร้อ และอำเภอคอนสวรรค์ === ประเพณี === ด้วยประชากรที่หลากหลาย จังหวัดชัยภูมิจึงมีวัฒนธรรมประเพณีที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างชุมชน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด โดยมีประเพณีสามอย่างที่มีเพียงหนึ่งเดียวในไทยและในโลก ดังนี้ ประเพณีการแห่นาคโหด จัดอยู่ที่ วัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นประเพณีที่เป็นบททดสอบความอดทนของบุตรชาย เพื่อทดแทนพระคุณของมารดา ที่ต้องทนอยู่ไฟ และเลี้ยงดูบุตรจนเติบใหญ่ โดยจะจัดงานบวชเป็นหมู่ ในช่วงเดือนหกตามจันทรคติของไทย ซึ่งชาวบ้านจะหามนาคที่นั่งอยู่บนแคร่ไม้ไผ่ พร้อมกับโยน และเขย่าแคร่ไม้ไผ่อย่างรุนแรงเดินรอบหมู่บ้าน กันอย่างสนุกสนาน เพื่อทดสอบความอดทน และความตั้งใจของนาคที่อยู่บนแคร่ เพื่อจะบวชทดแทนคุณบิดามารดา ประเพณีงานบุญกระธูป อำเภอหนองบัวแดง เป็นประเพณีที่จัดในช่วงของวันออกพรรษา ในอดีตแต่ก่อนประเพณีออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปโดยจะตีเกราะเคาะขอลอให้ชาวบ้านออกไปรวมตัว ณ จุดนัดหมาย (อาจเป็นศาลากลางบ้านหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน) หนุ่มสาวตื่นเต้นมากในการไปพันกระธูป ซึ่งกว่าจะเป็นกระธูปจุดได้ต้องผ่านกระบวนการยาวนานพอสมควรเพราะไม่ใช้กระธูปหรือธูปที่วางขายตามท้องตลาด แต่เกิดมาจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาราวผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษหลากสีสัน ก่อนที่จะนำเข้าไปมัดกับดาวก้านตาล (สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้มากๆเสร็จแล้วจึงนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงามก่อนที่จะนำออกมาจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา และในปัจจุบันประเพณีบุญกระธูปได้เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประเพณีการตีคลีไฟ หรือการละเล่นตีคลีไฟ ถือเป็นกีฬาโบราณการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านหนองเขื่อง ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มาช้านานกว่า 100 ปี กีฬานี้สูญหายมาจนถึงช่วงปี 2546 ได้มีกลุ่มคณาจารย์ ผู้ใหญ่บ้าน วัดและได้กลับมาให้ความสนใจภูมิปัญญาของชาวบ้านดั่งเดิมให้กลับมาฟื้นคืนขึ้นอีกครั้ง ได้มีการริเริ่มอนุรักษ์กีฬาโบราณตีคลีไฟมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการละเล่นในช่วงวันออกพรรษา และหน้าหนาวของทุกปี นอกจากนี้ยังมีประเพณีในช่วงเทศกาลที่สำคัญต่างๆ เช่น งานเจ้าพ่อพระยาแล และงานกาชาด งานบุญเดือนหก งานบุญเดือนสี่ประเพณีไทคอนสาร งานส้มโอบ้านแท่น งานพระไกรสิงหนาท งานนมัสการหลวงปู่ต้อน (พระครูพิพัฒน์ศิลิคุณ) ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีงานเทศกาลที่เกิดขึ้นจากบทเพลงรำวงของวงสุนทราภรณ์ ชื่อว่า "สาวบ้านแต้" เมื่อ 60 ปีก่อน คือ งานสืบสานตำนานสาวบ้านแต้ จัดที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งในบทเพลงกล่าวถึงสาวบ้านแต้ขี่รถจักรยานไปเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งบ้านแต้นั้นคือ บ้านหนองแต้ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยเริ่มจัดเมื่อเดือนกันยายน ปีพุ.ศ.2559 ซึ่งเป็นงานเทศกาลใหม่ของจังหวัดชัยภูมิ == สถาบันการศึกษา == === ระดับอุดมศึกษา === สถาบันอุดมศึกษารัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (วิทยาเขตชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ (ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ (วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ) สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ศูนย์ภูเขียว) === ระดับอาชีวศึกษา === ประเภทรัฐบาล วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ วิทยาลัยการอาชีพแก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ประเภทเอกชน วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ อำเภอเมืองชัยภูมิ วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเขียว อำเภอภูเขียว วิทยาลัยศิขรินทร์บริหารธุรกิจ อำเภอภูเขียว วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกอก อำเภอหนองบัวแดง วิทยาลัยอาชีวศึกษาไทเฉลิมราช ชัยภูมิ อำเภอหนองบัวแดง วิทยาลัยเทคโนโลยีคอนสาร อำเภอคอนสาร วิทยาลัยบ้านแท่นเทคโนโลยี อำเภอบ้านแท่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ === ระดับมัธยมศึกษา === โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนชายประจำจังหวัด โรงเรียนสตรีชัยภูมิ โรงเรียนหญิงประจำจังหวัด โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา โรงเรียนสหศึกษา == สถานที่สำคัญ == === ศาสนสถานที่สำคัญ === วัดทรงศิลา พระอารามหลวง วัดชัยภูมิพิทักษ์ (วัดผาเกิ้ง,สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชัยภูมิพิทักษ์พระพุทธรูปประจำจังหวัดชัยภูมิ ) วัดไพรีพินาศ (กลางเมืองเก่า) วัดป่าสุคะโต วัดดาวเรือง บ.ช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง วัดภูแฝด วัดศิลาอาสน์ วัดสระหงษ์ วัดอินทรีย์สังวรวนาราม พระปรางค์กู่ === สนามกีฬาสำคัญ === สนามกีฬากลางจังหวัดชัยภูมิ สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ ศูนย์กีฬาครบวงจร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โรงยิมสิริวัณวรี สนามกีฬาเทศบาลเมืองชัยภูมิ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลตำบลจัตุรัส == บุคคลที่มีชื่อเสียง == พระเถระ พระเทพมงคลเมธี (ประจักษ์ โชติโก) – เจ้าอาวาสวัดชัยสามหมอ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ พระเทพภาวนาวิกรม วิ. (บุญมา ปุญฺญาภิรโต ป.ธ.6) – เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิพิทักษ์ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ พระสุวีรญาณ (ป.ธ.7) เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ (ธ) – เจ้าอาวาสวัดศรีแก้งคร้อ สมปอง นครไธสง (ตาลปุตฺโต) วัดสร้อยทอง (ป.ธ.7) หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก ข้าราชการ เข็มเพชร จันทร์โอชา พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ชวน ศิรินันท์พร (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง) วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ จรกฤตย์ ชำนาญศรี ร้อยตำรวจตรี พิเศษ ดาวเรือง (ผู้หมวดพิเศษ) (อดีตรองสารวัตรจราจร สถานีตำรวจภูธรบางบ่อ) นักแสดง ชายเด่น ณ ชัยภูมิ อรวรรษา ฐานวิเศษ ชาติ ชัยภูมิ อติรุจ สิงหอำพล โกวิท วัฒนกุล รมิดา ประภาสโนบล ขวัญนภา เรืองศรี (ลาล่า โปงลางสะออน) วิศวะ งามสมบัติ (เน็ตไอดอล) นพัตฏ์ธร มัททวีวงศ์ (โจ๊กเกอร์) ตลก ใหญ่ หน้ายาน นางงาม น้ำอ้อย ชนะพาล (Miss Grand Thailand 2018) นักมวย ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ ไผ่ผารบ พ.นอบน้อม พรชัย ศิษย์พระพรหม พิชิต ช.ศิริวัฒน์ พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์ แหวนเพชร ชูวัฒนะ ทัพทอง ต.บัวมาศ ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์ อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม หยกเพชร ทก.ยิมส์ นักร้อง การะเกด (นักร้อง) โชคชัย โชคอนันต์ ประทีป ขจัดพาล รุจิรา พญาแล สายัณห์ นิรันดร พิมพา พรศิริ เสี่ยวอี้ ประสานชาติ เบียร์ พร้อมพงษ์ คำมอส พรขุนเดช นิกรน้อย เสียงสวรรค์ ยุทธนา เปื้องกลาง (บิดาเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ) ชดาธาร ด่านกุล (ม่านมุก สเว็ตซิกซ์ทีน และ Last Idol) วชิราพร พัฒนพานิช (เอิร์น BNK48) รุ่นที่ 3 นักแสดงหมอลำ แมน จักรพันธ์ (เจ้าของ วงหมอลำขวัญใจแฟน อดีตเคยอยู่ วงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์) นนท์ ชัยนันท์ (หมอลำขวัญใจแฟน อดีตเคยอยู่ วงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์) ยูกิ เพ็ญผกา (ยูกิ ไหทองคำ) นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์และสื่อ ฟองสนาน จามรจันทร์ ยุทธนา บุญอ้อม อภิรดี ตรีโมกข์ ธนธรณ์ ไชยวงศ์ สุเมธ พิมพ์สราญ (บ่าวทองก้อน) นักเขียน กาญจนา นาคนันทน์ นักกีฬา ชูเกียรติธน ยศภัทร์หนูสลุง รณชัย สยมชัย สุทิน ไชยกิตติ สุรัก ไชยกิตติ เสน่ห์ ลังแก้ว ไวพจน์ มือชัยภูมิ เชิดศักดิ์ ชัยบุตร ประกิต ด่านขุนทด นัสตพล มาลาพันธ์ ไพฑูรย์ นนทะดี หัตถยา บำรุงสุข ชิตพร กำลังมาก สิทธิพงษ์ มะนาวหวาน นันทโชติ โพธิ์นา รัศมิ์ธศิลป์ คำจันทร์ ประสิทธิ์ ผดุงโชค เดชา สอาดโฉม ทรงศักดิ์ เฮมเขียว ธีระพงศ์ ดีหามแห บรรลือศักดิ์ ยอดยิ่งยงค์ ถวิล บุตรสมบัติ วิสิทธิ์ ดอนอาจ ธีระวุฒิ สันพันธ์ ดนุสรณ์ ผุยแสงพันธ์ ประดิษฐ์ ทวีไชย ศุภชัย ศรีภูมิ แหวนเพชร ชูวัฒนะ อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์ ฤทธิเดช ว.วรรณทวี พิชิต ช.ศิริวัฒน์ พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์ ไผ่ผารบ ก่อเกียรติยิม พรชัย ศิษย์พระพรหม สุริยน กุลพิมล (นักตะกร้อทีมชาติไทย) ขวัญชัย ขอสินกลาง (นักปัญจกีฬาทีมชาติไทย) นักการเมือง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีคนที่ 23) สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีต ส.ส. ชัยภูมิ 7 สมัย ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สุนทรีย์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย มานะ โลหะวณิชย์ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 2 พรรคเพื่อไทย ปาริชาติ ชาลีเครือ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 3 พรรคเพื่อไทย อนันต์ ลิมปคุปตถาวร อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคเพื่อไทย พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 6 พรรคเพื่อไทย มนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดชัยภูมิ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดชัยภูมิ รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดชัยภูมิ == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด จังหวัดชัยภูมิ - อีสานร้อยแปด
thaiwikipedia
1,254
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือ เนคเทค (NECTEC) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการวิจัย ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ == ประวัติ == ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลง สถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 === รายชื่อผู้บริหาร === ทำเนียบผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (ก่อตั้ง - พ.ศ. 2541) ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2549) ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ (พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) == ภารกิจหลัก == การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ การดำเนินการวิจัยเอง ทั้งการวิจัยเชิงเทคนิค และวิจัยเชิงนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเร่งให้ผลงานวิจัยเกิดผลจริงในภาคอุตสาหกรรม การให้บริการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ การทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ภาระหน้าที่เดิมก่อนเกิดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) == ผลงาน == ลินุกซ์ทะเล ลินุกซ์ซิส ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด ซอฟต์แวร์รู้จำตัวอักษร เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เครือข่ายไทยสารอินเทอร์เน็ต เครือข่ายกาญจนาภิเษก แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT2020) NETPIE : แพลตฟอร์ม IoT เพื่อนักพัฒนาและอุตสาหกรรมไทย DSRMS : ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน KidBright : บอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่ง Open-D : Open Data Service Platform TPMAP : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า == ดูเพิ่ม == เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (ThaiCERT) [./Https://www.nectec.or.th/news/news-purchase/news-postdoctoral.html ข้อมูลการให้ทุนวิจัยระดับหลังปริญญาเอก] ฝ่ายวิจัยกลยุทธ์และดัชนีอุตสาหกรรม เนคเทค องค์การเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
thaiwikipedia
1,255
IT
IT สามารถหมายถึง คอร์เทกซ์กลีบขมับด้านล่าง (Inferior temporal cortex) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง (Inferior temporal gyrus) IT รหัสประเทศของประเทศอิตาลี * .it โดเมนเนมระดับบนสุดของประเทศอิตาลี it รหัสภาษาของภาษาอิตาลี
thaiwikipedia
1,256
รัฐบาล
รัฐบาล (Government) คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่ง ๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใด ๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง ระบอบการปกครอง (form of government) หมายถึง สถาบันทางการเมืองซึ่งรัฐบาลของรัฐได้จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศ คำนี้ยังนิยามรวมไปถึงรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้อำนาจปกครองประเทศด้วย ==เจตจำนงหรือวัตถุประสงค์ของรัฐ== เจตจำนงแห่งรัฐ (Will of the state) เป็นเกณฑ์หนึ่งในทางรัฐศาสตร์ที่อธิบายถึงเป้าหมายของระบอบการปกครองในแต่ละรูปแบบ นับตั้งแต่การเป็นชุมชนทางการเมืองที่เป็นระบบจนพัฒนามาสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการของรัฐสมัยใหม่นับตั้งแต่สมัยกลางเป็นต้นมา เจตจำนงหรือวัตถุประสงค์ของรัฐในแต่ละยุคเกิดขึ้นจากบริบททางสังคม ปรัชญา อุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา ตลอดจนโลกทัศน์ของคนแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละแนวคิดจะเน้นความสำคัญของปัจเจกบุคคลในระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน ในยุคคลาสสิค และยุคกลางเจตจำนงแห่งรัฐจะมีความมีเสถียรภาพอันมีเป้าหมายในการสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ และสถาบันศาสนา ส่วนในยุคสมัยใหม่เจตจำนงแห่งรัฐจะมีความเป็นพลวัตรและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านการแสดงเจตจำนงผ่านการเลือกตั้งของประชาชน โดยกระบวนการสร้างรัฐสมัยใหม่นี้ต้องใช้ระบบกฎหมายสนับสนุนจึงจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวคิดความสูงสุดแห่งอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนที่ทำให้รัฐสามารถบัญญัติกฎหมายได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด อันเป็นการสามารถสะท้อนเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน และมีความเป็นพลวัตรต่อเนื่องไปอยู่เสมอ == คุณสมบัติของรัฐบาล == นอกเหนือจากการจัดแบ่งประเภทอย่างเป็นทางการแล้ว ระบอบการปกครองยังสามารถแบ่งได้ตามรูปแบบโดยทั่วไปของรัฐบาล อย่างเช่น: เอกาธิปไตย คณาธิปไตย หรือประชาธิปไตย ประมุขมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากเชื้อสายของบรรพบุรุษ การเลือกตั้งโดยตรง หรือการเลือกตั้งโดยอ้อม รัฐบาลเสียงข้างมาก หรือรัฐบาลผสม สาธารณรัฐ หรือราชาธิปไตย (สมบูรณาญาสิทธิราช หรือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี หรือระบบกึ่งประธานาธิบดี รัฐเดี่ยว หรือรัฐสหพันธ์ (สหพันธรัฐ หรือสมาพันธรัฐ) รัฐเอกราช รัฐกึ่งเอกราช หรือรัฐไม่มีเอกราช == อ้างอิง == == หนังสืออ่านเพิ่มเติม == Bunce, Valerie. 2003. “Rethinking Recent Democratization: Lessons from the Postcommunist Experience.” World Politics 55(2):167-192. Dahl, Robert Polyarchy Yale University Press (1971 Heritage, Andrew, Editor-in-Chief. 2000. World Desk Reference Linz, Juan. 2000. Totalitarian and Authoritarian Regimes. Boulder: Lynne Rienner. Linz, Juan, and Stepan, Alfred. 1996. Problems of Democratic Transition and Consolidation: Southernn Europe, South America, and Post-Communist Europe. Baltimore: Johns Hopkins Press. Lichbach, Mark and Alan Zukerman, eds. 1997. Comparative Politics: Rationality, Culture, and Structure, Cambridge: Cambridge University Press, 1997. Luebbert, Gregory M. 1987. “Social Foundations of Political Order in Interwar Europe,” World Politics 39, 4. Moore, Barrington, Jr. 1966. Social Origins of Dictatorship and Democracy: Lord and Peasant in the Making of the Modern World. Cambridge: Beacon Press, ch. 7-9. Comparative politics : interests, identities, and institutions in a changing global order/edited by Jeffrey Kopstein, Mark Lichbach, 2nd ed, Cambridge University Press, 2005. O’Donnell, Guillermo. 1970. Modernization and Bureaucratic-Authoritarianism. Berkeley: University of California. O’Donnell, Guillermo, Schmitter, Philippe C., and Whitehead, Laurence, eds., Transitions from Authoritarian Rule: comparative Perspectives. Baltimore: Johns Hopkins University Press. Przeworski, Adam. 1992. Democracy and the Market: Political and Economic Reforms in Eastern Europe and Latin America, New York: Cambridge University Press. Przeworski, Adam, Alvarez, Michael, Cheibub, Jose, and Limongi, Fernando. 2000. Democracy and Development: Political Institutions and Well Being in the World, 1950-1990. New York: Cambridge University Press. Shugart, Mathhew and John M. Carey, Presidents and Assemblies: Constitutional Design and Electoral Dynamics, New York, Cambridge Univ. Press, 1992. Taagepera, Rein and Matthew Shugart. 1989. Seats and votes: The effects and determinants of electoral systems, Yale Univ. Press.jimmy == แหล่งข้อมูลอื่น == Electronic interuniversity journal Federalism-e'' Types of Governments from Historical Atlas of the 20th Century Other classifications examples from Historical Atlas of the 20th Century http://stutzfamily.com/mrstutz/WorldAffairs/typesofgovt.html ระบอบการปกครอง
thaiwikipedia
1,257
7 เมษายน
วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่ 97 ของปี (วันที่ 98 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 268 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 994 (ค.ศ. 451) - อัตติลา ยึดครอง เม็ตซ์ ใน ฝรั่งเศส สังหารชาวเมืองส่วนใหญ่และทำการเผาเมือง พ.ศ. 1072 (ค.ศ. 529) - ประชุมกฎหมายแพ่ง ฉบับแรกเป็นกฎหมายที่ออกโดย จักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 แห่ง จักรวรรดิโรมันตะวันออก พ.ศ. 1684 (ค.ศ. 1141) - จักรพรรดินีมาทิลดา พระองค์เป็นผู้ปกครองหญิงพระองค์แรกของอังกฤษ มีพระอิสริยยศเป็น "เลดีออฟดิอิงลิช" พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) - เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันมาถึงเกาะเซบู พ.ศ. 2084 (ค.ศ. 1541) - ฟรันซิสโก ฆาบิเอร์ออกจากลิสบอนไปปฏิบัติภารกิจที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของโปรตุเกส พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) - การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 : เวลาบ่ายถึงพลบค่ำ กองทัพพม่าใช้ปืนใหญ่ระดมยิงและเข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) - ผู้ตั้งถิ่นฐานตั้งเมืองมารีเอตตา รัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวรแห่งแรกที่สร้างขึ้นโดยพลเมืองสหรัฐฯ ในดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยประเทศ รวมเวลา 7 เดือน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - กองกำลังอเมริกันจมเรือรบยามาโตะของญี่ปุ่น เรือประจัญบานใหญ่ที่สุดในโลก ระหว่างปฏิบัติการเท็งโง จมลง 200 กิโลเมตร ทางเหนือของโอกินาวา พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - องค์การสหประชาชาติก่อตั้งองค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - การตีพิมพ์เอกสารขอความเห็นหมายเลข 1 (RFC 1) เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอินเทอร์เน็ต พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เริ่มต้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546: กองทัพสหรัฐเข้ายึดกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก == วันเกิด == พ.ศ. 2049 (ค.ศ. 1506) - นักบุญฟรานซิสโก ซาเวียร์ (เสียชีวิต 3 ธันวาคม พ.ศ. 2095) พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) - วิลเลียม อาร์. คิง รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 13 (ถึงแก่กรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2396) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - บิลลี ฮอลิเดย์ นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2502) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - คลาร์ก ปีเตอร์ส นักแสดง, นักร้อง, นักเขียน และผู้กำกับชาวอเมริกัน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - เฉินหลง นักแสดงชายชาวฮ่องกง พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - อะกิระ นิชิโนะ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - ปัสกาล ออลเมตา ผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - รัสเซล โครว์ นักแสดงชาวนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ นักแสดงตลกชาวไทย พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - โบโด อิกเนอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ดังคัน เจมส์ นักร้อง นักแสดง และผู้จัดรายการโทรทัศน์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - ฟร็องก์ รีเบรี นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * คริสทีอัน ฟุคส์ นักฟุตบอลชาวออสเตรีย * จอนโซมิน นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - เอ็ดเวิร์ด สเพลเลียร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ลูคา มิลิวอเยวิช นักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - * ฌาราร์ต มูแรนู นักฟุตบอลชาวสเปน * วีลียัม การ์วัลยู นักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - โลรีนา โรดิเกซ นางแบบ และนางงามชาวบราซิล == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) - สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - เฮนรี ฟอร์ด นักธุรกิจชาวอเมริกัน (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2406) พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - โทะโมะยุกิ ทะนะกะ ผู้ผลิตภาพยนตร์ พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - ฟูจิโกะ เอ. ฟูจิโอะ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2477) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันอนามัยโลก (ค.ศ. 1948) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: April 7 มเมษายน 07 เมษายน
thaiwikipedia
1,258
8 เมษายน
วันที่ 8 เมษายน เป็นวันที่ 98 ของปี (วันที่ 99 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 267 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน และตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ภายหลังยกฐานะเป็นกระทรวงและเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ลงนาม ความตกลงฉันทไมตรี เพื่อยุติสงครามแย่งอาณานิคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - อาร์เทอร์ แอช นักเทนนิสชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ประกาศว่าเขาติดเชื้อเอดส์จากการถ่ายเลือดระหว่างทำศัลยกรรมหัวใจ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) *พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมระหว่างจังหวัดหนองคายกับเวียงจันทน์ *พบศพของเคิร์ท โคเบน นักดนตรีวงเนอร์วานา ในบ้านของเขาที่วอชิงตัน หลังเสียชีวิต 3 วัน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - พิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 == วันเกิด == พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) - พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (สวรรคต 29 มกราคม พ.ศ. 2449) พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เจ้าเมืองระนอง (เสียชีวิต 10 เมษายน 2456) พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) - เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล นักปรัชญาชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 27 เมษายน พ.ศ. 2481) พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) - สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม (สวรรคต 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477) พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - แมรี พิกฟอร์ด นักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์ชาวแคนาดา (ถึงแก่กรรม 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2522) พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1928) - หยุด แสงอุทัย นักนิติศาสตร์ชาวไทย (อนิจกรรม 30 ธันวาคม พ.ศ. 2522) พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เบ็ตตี ฟอร์ด สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา (เสียชีวิต 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - เมลวิน คาลวิน นักเคมีชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 8 มกราคม พ.ศ. 2540) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ ยังดี เปอร์ตวน อากง พระองค์ที่ 9 แห่งมาเลเซีย (สวรรคต 22 มกราคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - แครอล มอร์ริส นักแสดง นางแบบ นางงามชาวอเมริกัน พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติชาวกานา (เสียชีวิต 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1938) - วิเวียน เวสต์วูด ดีไซน์เนอร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - ไกวัล วัฒนไกร นักพากย์ชาวไทย พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - อดุลย์ แสงสิงแก้ว ตำรวจชาวไทยและนักกการเมืองไทย พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) - ไบรอัน แม็กเดอมอตต์ นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) * สุภรณ์ อัตถาวงศ์ - นักการเมืองชาวไทย * วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ นักร้องหมอลำ และคณะศิลปินภูไท พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - หม่อมหลวงสราลี กิติยากร นักแสดง พิธีกรหญิงชาวไทย และพระขนิษฐาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - จันทนี สิงห์สุวรรณ ขวัญใจช่างภาพนางสาวไทยปี 2529 พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ศตวรรษ ดุลยวิจิตร นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ฉัฏฐพงศ์ พันธนะอังกูร นักแสดงชายชาวไทยและนักต่อสู้ป้องกันตัวชายชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - เอ็มมา คอลฟิลด์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ไดโงะ ไนโต นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง และนักพากย์เสียงชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - * เกนนาดี โกลอฟกิน นักมวยสากลชาวคาซัคสถาน * สุจิรา อรุณพิพัฒน์ นางงาม นักแสดง และพิธีกรชาวไทย * อรรถวดี จิรมณีกุล นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - * ณัฐพนธ์ วงษ์สนิท นักร้องชาวไทย * อีกอร์ อะคินเฟเยฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย * เอะริกะ ซะวะจิริ นักแสดง นางแบบ และนักร้องชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - โรยส์โตน แดร็นเตอ นักฟุตบอลชาวดัตช์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - คิม จง-ฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - * กมลเนตร เรืองศรี นักแสดงหญิงชาวไทย * ศิริขวัญ ชินโชติ พิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - * เจตสุภา เครือแตง ศิลปินชาวไทย * ซอนญ่า สิงหะ นักแสดง และนักร้องชาวไทย พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - รินรดา แก้วบัวสาย นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - มิณทร์ ยงสุวิมล นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ลีอาห์ อีซาดอรา เบห์น พระธิดาคนรองใน เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1811) - ซูอันไทเฮา พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (ประสูติ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425) พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1961) - พระอาจารย์ดี ฉนฺโน (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2435) พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - พาโบล ปิกัสโซ จิตรกรและประติมากรชาวสเปน (เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2424) พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ไรอัน ไวต์ เด็กชายวัยรุ่นชาวอเมริกันผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีจากการถ่ายเลือด (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2514) พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ทวีป วรดิลก นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2471) พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - พิชัย วาศนาส่ง สถาปนิก นักเขียน (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2472) พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) - มาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2468) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day NY Times: On This Day Today in History: April 8 มเมษายน 08 เมษายน
thaiwikipedia
1,259
9 เมษายน
วันที่ 9 เมษายน เป็นวันที่ 99 ของปี (วันที่ 100 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 266 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) – การซื้ออะแลสกา: สภาสูงของสหรัฐอเมริกาตกลงที่จะซื้ออะแลสกาจากประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ปฏิบัติการเวเซอร์อือบุง (Operation Weserübung) เยอรมนีรุกรานเดนมาร์ก และนอร์เวย์ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – วอร์เนอร์ บราเธอร์สได้ฉายภาพยนตร์สามมิติเป็นครั้งแรก โดยหนังที่ฉายมีชื่อว่า House of Wax พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – องค์การนาซาประกาศการคัดเลือกคณะนักบินอวกาศชุดแรก ในโครงการเมอร์คิวรี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – เครื่องบิน โบอิง 737 ได้ออกบินเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – จอร์เจียประกาศอิสรภาพหลังตกเป็นอาณานิคมของสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – เจ้าฟ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ อภิเษกสมรสกับ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ == วันเกิด == พ.ศ. 2318 (ค.ศ. 1775) -- พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) เจ้าเมืองชุมพร พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) – ราฟาเอล เดล เรียโก นายพลและนักการเมืองชาวสเปน (เสียชีวิต พ.ศ. 2366) พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) – สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม (สวรรคต 17 ธันวาคม พ.ศ. 2452) พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) – หม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ (สิ้นชีพิตักษัย 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) – อเล็กซ์ โมลตัน วิศวกร นักออกแบบและนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) – เอตโตเร โรโมลี นักการเมืองชาวอิตาลี (เสียชีวิต 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561) พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – เดนนิส เควด นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – * เจ้าหญิงโนบูโกะ พระชายาในเจ้าชายโทโมฮิโตะ เจ้าหญิงแห่งญี่ปุ่น * อัสนี โชติกุล นักร้อง นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – อีริค ชาเวซ นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – ร็อบบี ฟาวเลอร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – ยามาชิตะ โทโมฮิสะ นักร้อง–นักแสดงญี่ปุ่น พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – เลห์ตัน มีสเตอร์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – * เจ้าหญิงซาระห์ มกุฎราชกุมารีแห่งบรูไน * เจสซี แม็กคาร์ตนีย์ นักร้อง–นักเขียนเพลงชาวอเมริกัน * แบลซ มาตุยดี นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – เบบี้ จาง นักร้อง,นักแสดงชาวจีน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – คริสเตน สจ๊วต นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ไมเคิล ฟาลเคสการ์ด นักฟุตบอลชาวเดนมาร์กเชื้อสายฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – ไจ้ย คอร์เตซ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวเปอร์โตริโก พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – คิม ดา-มี นักแสดงชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล อดีตสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – แอลล์ แฟนนิง นักแสดงและนางแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – ลิลนาสเอ็กซ์ แร็ปเปอร์ นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) – เฉิน เฟยอวี่ นักแสดงชาวจีน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – * ยันเน ฟัน ดัม นางแบบและนางงามชาวแอฟริกาใต้ * แอมีร์ โฮเซย์น ทูฆเทฮ์ นักวอลเลย์บอลชายชาวอิหร่าน == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) – ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาและรัฐบุรุษชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1561) พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2410) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) – เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (ประสูติ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == วันกองทัพอากาศ – ประเทศไทย (เมื่อ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480) วันทหารหาญหรือวันอาเรา นางกากีตีงัน – ฟิลิปปินส์ == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: April 9 มเมษายน 09 เมษายน
thaiwikipedia
1,260
กฎผลคูณ
ในคณิตศาสตร์ กฎผลคูณของแคลคูลัส หรือเรียกว่า กฎของไลบ์นิซ เป็นสูตรสำหรับหาอนุพันธ์ของผลคูณของฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้สองฟังก์ชันหรือมากกว่า ซึ่งอาจเขียนในสัญกรณ์ของลากร็องฌ์ได้ดังนี้ \,\! (fg) '=f'g+fg' หรือด้วยสัญกรณ์ไลบ์นิซดังนี้ {d\over dx} (uv) =u{dv\over dx}+v{du\over dx} กฎผลคูณสามารถขยายไปยังผลคูณของฟังก์ชันสามจัวหรือมากกว่าก็ได้ หรือในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การหาอนุพันธ์โดยตรง == การค้นพบโดยไลบ์นิซ == ไลบ์นิซได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบกฎนี้ ซึ่งพิสูจน์โดยใช้คณิตศาสตร์ดิฟเฟอเรนเชียล แต่ J. M. Child ผู้แปลผลงานของไลบ์นิซ์เสนอว่า ไอแซค บาร์โรว์ เป็นผู้ค้นพบกฎผลคูณก่อน การพิสูจน์ของไลบ์นิซ์เริ่มต้นโดยสมมติให้ u(x) และ v(x) เป็นฟังก์ชันซึ่งหาอนุพันธ์ได้ของ x ดิฟเฟอเรนเชียลของ uv คือ {| |- | d (uv) \, | = (u + du) (v + dv) - uv\, |- | | = u (dv) + v (du) + (du) (dv) \, |} แต่เนื่องจากเทอม (du) (dv) มีค่าน้อย ไลบ์นิซสรุปว่า d (uv) = (du) v + u (dv) \, และนี่คือกฎผลคูณในรูปของดิฟเฟอเรนเชียล ถ้าเราหารตลอดด้วยดิฟเฟอเรนเชียล dx เราจะได้ \frac{d}{dx} (uv) = \left ( \frac{du}{dx} \right) v + u \left ( \frac{dv}{dx} \right) ซึ่งสามารถเขียนอีกรูปหนึ่งได้เป็น (uv) ' = u' v + u v' \, == ตัวอย่าง == สมมุติว่าคุณต้องการหาอนุพันธ์ของ f(x) = x2sin(x) โดยการใช้กฎผลคูณจะได้คำตอบ f'(x) = 2x sin(x) + x2cos(x) (เนื่องจากอนุพันธ์ของ x2 คือ 2x และอนุพันธ์ของ sin(x) คือ cos(x)). กฎการคูณด้วยค่าคงที่ (Constant Multiple Rule) ซึ่งเป็นกรณีพิเศษของกฎผลคูณ กล่าวไว้ว่า: ถ้า c เป็น จำนวนจริง และ f (x) เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ จะได้ว่า cf (x) ก็หาอนุพันธ์ได้เช่นกัน และมีอนุพันธ์เป็น (c × f)' (x) = c × f'(x). (นี่เป็นผลจากกฎการคูณ เนื่องจากอนุพันธ์ของค่าคงที่ มีค่าเป็นศูนย์) เมื่อนำผลที่ได้นี้รวมเข้ากับกฎผลบวกจะได้ว่า การหาอนุพันธ์เป็นกระบวนการเชิงเส้น กฎผลคูณสามารถใช้พิสูจน์การหาปริพันธ์ทีละส่วน และกฎผลหารแบบ"อ่อน" (เพราะกฎผลคูณไม่ได้พิสูจน์ว่าผลหารของฟังก์ชันสองฟังก์ชันจะหาอนุพันธ์ได้ แต่พิสูจน์ว่าหากอนุพันธ์หาได้ จะมีค่าเท่าใดเท่านั้น) == การพิสูจน์กฎผลคูณ == กฎผลคูณสามารถพิสูจน์ได้โดยอาศัยคุณสมบัติของลิมิต นิยามของอนุพันธ์ และทฤษฎีบทที่ว่าฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง: == นัยทั่วไป == === ผลคูณมากกว่าสองฟังก์ชัน === กฏผลคูณสามารถวางนัยทั่วไปให้กับกรณีที่มีตัวประกอบคูณกันมากกว่าสองตัวได้ อย่างเช่น หากมีตัวประกอบสามตัวจะได้ \frac{d(uvw)}{dx} = \frac{du}{dx}vw + u\frac{dv}{dx}w + uv\frac{dw}{dx} และสำหรับเซตของฟังก์ชัน f_1, \dots, f_k จะได้ว่า \frac{d}{dx} \left [ \prod_{i=1}^k f_i(x) \right ] = \sum_{i=1}^k \left(\left(\frac{d}{dx} f_i(x) \right) \prod_{j=1,j\ne i}^k f_j(x) \right) = \left( \prod_{i=1}^k f_i(x) \right) \left( \sum_{i=1}^k \frac{f'_i(x)}{f_i(x)} \right) === พีชคณิตนามธรรม === ในพีชคณิตนามธรรม กฎผลคูณใช้เป็นนิยามของการดำเนินการอนุพันธ์ === แคลคูลัสเวกเตอร์ === กฎผลคูณขยายไปยังการคูณด้วยสเกลาร์ ผลคูณจุด และผลคูณไขว้ของฟังก์ชันเวกเตอร์ดังต่อไปนี้ สำหรับการคูณด้วยสเกลาร์: (f \cdot \mathbf g)' = f'\cdot \mathbf g + f \cdot \mathbf g' สำหรับผลคูณจุด: (\mathbf f \cdot \mathbf g)' = \mathbf f' \cdot \mathbf g + \mathbf f \cdot \mathbf g' สำหรับผลคูณไขว้: (\mathbf f \times \mathbf g)' = \mathbf f' \times \mathbf g + \mathbf f \times \mathbf g' นอกจากนี้ยังมีกฎผลคูณสำหรับกระบวนการอื่นที่คล้ายคลึงกับการหาอนุพันธ์: ถ้า f และ g เป็นฟีลด์สเกลาร์แล้วเกรเดียนต์จะสอดคล้องกับกฎผลคูณ \nabla (f \cdot g) = \nabla f \cdot g + f \cdot \nabla g == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == กฎผลหาร การหาปริพันธ์เป็นส่วน ดิฟเฟอเรนเชียล แคลคูลัส
thaiwikipedia
1,261
กฎผลหาร
กฎผลหาร (Quotient rule) เป็นกฎในแคลคูลัส คือวิธีการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน ซึ่งเป็นผลหาร ของอีกสองฟังก์ชัน ซึ่งหาอนุพันธ์ได้ ถ้าฟังก์ชันที่เราต้องการหาอนุพันธ์ f(x) สามารถเขียนในรูป f(x) = \frac{g(x)}{h(x)} และ h(x) ≠ 0; ดังนั้น กฎนี้กล่าวว่า อนุพันธ์ของ g(x) / h(x) เท่ากับ ตัวส่วน คูณกับ อนุพันธ์ของ ตัวเศษ ลบกับ ตัวเศษ คูณกับอนุพันธ์ของ ตัวส่วน ทั้งหมดหารด้วยกำลังสองของตัวส่วน ดังนี้ f'(x)=\frac{g'(x)h(x) - g(x)h'(x)}. หรือโดยละเอียดกว่านี้แล้ว สำหรับ x ใดๆ ในเซตเปิด ที่มีจำนวน a และ h(a) ≠ 0 และทั้ง g '(a) และ h '(a) หาค่าได้ ดังนั้น f '(a) จะหาค่าได้ดังนี้ f'(a)=\frac{g'(a)h(a) - g(a)h'(a)}{h(a)^2} == ตัวอย่าง == อนุพันธ์ของ (4x - 2)/(x^2 + 1) คือ: {| |- | \frac{d}{dx} \frac{(4x - 2)}{x^2 + 1} | =\frac{(x^2 + 1)(4) - (4x - 2)(2x)}{(x^2 + 1)^2} |- | | =\frac{(4x^2 + 4) - (8x^2 - 4x)}{(x^2 + 1)^2} |- | | =\frac{-4x^2 + 4x + 4}{(x^2 + 1)^2} |} อนุพันธ์ของ \sin(x)/x^2 (เมื่อ x ≠ 0) คือ: \frac{\cos(x) x^2 - \sin(x)2x}{x^4} == บทพิสูจน์ == === จากผลหารผลต่างของนิวตัน === สมมุติให้ f(x) = g(x)/h(x) : โดยที่ h(x)≠ 0 และ g และ h เป็นฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ f'(x) = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{f(x + \Delta x) - f(x)}{\Delta x} = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{\frac{g(x + \Delta x)}{h(x + \Delta x)} - \frac{g(x)}{h(x)}}{\Delta x} = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{1}{\Delta x} \left( \frac{g(x+\Delta x)h(x)-g(x)h(x+\Delta x)}{h(x)h(x+\Delta x)} \right) = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{1}{\Delta x} \left( \frac{(g(x+\Delta x)h(x)-g(x)h(x))-(g(x)h(x+\Delta x)-g(x)h(x))}{h(x)h(x+\Delta x)} \right) = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{1}{\Delta x} \left( \frac{h(x)(g(x+\Delta x)-g(x))-g(x)(h(x+\Delta x)-h(x))}{h(x)h(x+\Delta x)} \right) = \lim_{\Delta x \to 0} \frac{\frac{g(x+\Delta x)-g(x)}{\Delta x}h(x)-g(x)\frac{h(x+\Delta x)-h(x)}{\Delta x}}{h(x)h(x+\Delta x)} = \frac{\lim_{\Delta x \to 0} \left(\frac{g(x+\Delta x)-g(x)}{\Delta x}\right)h(x) - g(x) \lim_{\Delta x \to 0} \left(\frac{h(x+\Delta x)-h(x)}{\Delta x}\right)}{h(x)h(\lim_{\Delta x \to 0} (x+\Delta x))} = \frac{g'(x)h(x) - g(x)h'(x)}{[h(x)]^2} === จากกฎผลคูณ === สมมุติให้ f(x) = g(x)/h(x) g(x)=f(x)h(x)\mbox{ } \, g'(x)=f'(x)h(x) + f(x)h'(x)\mbox{ } \, ที่เหลือก็มีเพียงจัดรูปของสมการให้เทอม f'(x) เป็นเทอมเดียวด้านซ้าย และกำจัดเทอม f(x) ออกจากด้านขวาของสมการ f'(x)=\frac{g'(x) - f(x)h'(x)}{h(x)} = \frac{g'(x) - \frac{g(x)}{h(x)}\cdot h'(x)}{h(x)} f'(x)=\frac{g'(x)h(x) - g(x)h'(x)}{\left(h(x)\right)^2} == ดูเพิ่ม == กฎผลคูณ แคลคูลัส
thaiwikipedia
1,262
การปกครอง
การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น == ดูเพิ่ม == รัฐ รัฐบาล การเมือง ประวัติการเมืองการปกครองไทย การปกครอง
thaiwikipedia
1,263
การขนส่ง
การขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การขนส่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ดังนี้ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ อื่น ๆ == การพิจารณาการขนส่ง == เราสามารถพิจารณาการขนส่งได้จากหลายมุมมอง โดยคร่าว ๆ แล้ว เราจะพิจารณาในสามมุมคือ มุมของโครงสร้างพื้นฐาน, ยานพาหนะ, และการดำเนินการ โครงสร้างพื้นฐาน พิจารณาโครงข่ายการขนส่งที่ใช้ เช่น ถนน ทางรถไฟ เส้นทางการบิน คลอง หรือ ท่อส่ง รวมไปถึงสถานีการขนส่ง เช่น ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ ท่ารถ และ ท่าเรือ ยานพาหนะ คือสิ่งที่เคลื่อนที่ไปบนโครงข่ายนั้น เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ การดำเนินการ สนใจเกี่ยวกับการควบคุมระบบ เช่น ระบบจราจร ระบบควบคุมการบิน และนโยบาย เช่นวิธีการจัดการเงินของระบบ เช่นการเก็บค่าผ่านทาง หรือการเก็บภาษีน้ำมัน เป็นต้น กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่า การออกแบบโครงข่ายการขนส่งเป็นงานของสาขาวิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering) และสาขาผังเมือง การออกแบบยานพาหนะเป็นงานของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาเฉพาะทางเช่นวิศวกรรมเรือและวิศวกรรมอวกาศยาน และสำหรับในส่วนของการดำเนินงานนั้นมักเป็นสาขาเฉพาะทาง แต่ก็ไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่าอยู่ในสาขาการวิจัยดำเนินงาน (Operation Management) หรือวิศวกรรมระบบ ทั้งนี้รวมไปถึงวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์อีกด้วย เพราะการขนส่งจัดเป็น 1 ใน 13 กิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์ == ดูเพิ่ม == การสื่อสาร == แหล่งข้อมูลอื่น == ไทยทรานสปอร์ต-โฟโด้ดอตเน็ต การขนส่ง
thaiwikipedia
1,264
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (Manifesto of the Communist Party หรือ The Communist Manifesto) หรือ คำแถลงนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ (Manifest der Kommunistischen Partei) เป็นหนังสือการเมืองเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลสูงต่อประวัติศาสตร์โลก เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดริช เองเงิลส์ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์คอมมิวนิสต์ จัดพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2390) เนื้อหาสาระเป็นการวางเป้าหมายของสหพันธ์และแผนดำเนินการ กับทั้งยังได้แถลงนโยบายในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการปฏิวัติของชนกรรมาชีพในอันที่จะโค่นล้มระบบทุนนิยมและสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น อารัมภบทของหนังสือมีเนื้อหาเป็นเชิงปลุกใจให้ลุกขึ้นมาชุมนุมกัน ดังนี้ ปีศาจตนหนึ่ง ปีศาจแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป อิทธิพลทั้งปวงของยุโรปเก่าทั้งสันตะปาปาและพระเจ้าซาร์ทั้งเมตเตอร์นิชและกุยซอท ทั้งชาวพรรคหัวรุนแรงของฝรั่งเศสและสายลับตำรวจของเยอรมัน ได้รวมกันเข้าเป็นพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อกำจัดปีศาจตนนี้ มีพรรคฝ่ายค้านพรรคไหนบ้างที่ไม่ถูกฝ่ายศัตรูของตนซึ่งเป็นผู้กุมอำนาจตราหน้าว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ และมีพรรคฝ่ายค้านพรรคไหนบ้างที่ไม่เอาข้อหาลัทธิคอมมิวนิสต์โยนไปให้พวกพรรคฝ่ายค้านที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าและพวกศัตรูที่เป็นปฏิกิริยากับตนเอง เนื้อหาในหนังสือยังได้สร้างความรู้สึกถึงความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ เช่นในประโยค: "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมา ล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น" == ดูเพิ่ม == พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย == แหล่งข้อมูลอื่น == แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ในภาษาไทย คำประกาศแห่งความเสมอภาค จาก บ้านจอมยุทธ การเมือง หนังสือที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง หนังสือปรัชญา หนังสือโดยคาร์ล มาคส์ สังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์
thaiwikipedia
1,265
การบันเทิง
การบันเทิง คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี ละครเวที สวนสนุก กีฬา โทรทัศน์ วิทยุ การอ่าน * วรรณกรรม * นิตยสาร เกมและการละเล่น * หมากรุก * เกมคอมพิวเตอร์ การบันเทิง
thaiwikipedia
1,266
ดอกกัลปพฤกษ์
redirect กัลปพฤกษ์
thaiwikipedia
1,267
ประสบการณ์
ประสบการณ์ หมายถึง ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา และประสบการณ์ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน ประสบการณ์ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เราได้ปะทะหรือสัมผัสด้วยตัวเองได้พบเอง กระทำเอง ได้ยินได้ฟังเอง ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประสบการณ์ทางอ้อม" เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับรู้มาอีกทอดหนึ่ง ปรัชญา
thaiwikipedia
1,268
จังหวัดราชบุรี
ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการปศุสัตว์ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก == ประวัติ == ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218 โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า "ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ห่างจากกรุงเทพมหานครเบื้องทิศตะวันตกราว 110 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของจังหวัดราชบุรี ดินแดนอันเป็นที่มาของโอ่งเคลือบลายมังกรและผ้าทอบ้านไร่หรือผ้าขาวม้าอันลือชื่อ สำหรับผู้ไม่ใช่ชาวบ้านพื้นถิ่นน้อยคนนักจะเข้าใจว่าอุตสาหกรรมเครื่องปั่นดินเผาและหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมืองเป็นเป็นเพียงผลงานบางส่วนที่สะท้อนความหลากหลายของราชบุรีที่ฝากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม == ภูมิศาสตร์ == === อาณาเขต === ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่ถูกจัดให้อยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย แต่หากการแบ่งแบบการปกครอง กรมทางหลวง กรมอุตุนิยมวิทยาและการท่องเที่ยว จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงได้ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง และอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกำแพงแสน อำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม; อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร; อำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาย้อยและอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า === ภูมิประเทศ === พื้นที่ภูเขาสูง อยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า และด้านใต้ติดกับจังหวัดเพชรบุรี มีสภาพเป็นเทือกเขาสูง อุดมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ ในระดับความสูง ตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,400 เมตร ในเขตอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอปากท่อด้านตะวันตก พื้นที่ราบสูง ได้แก่บริเวณถัดจากเทือกเขามาทางด้านตะวันออก กลางของพื้นที่จังหวัดป็นที่ราบสูงและที่เนินลอนลาด มีแม่น้ำภาชี และลำห้วยสาขา เป็นสายน้ำหลัก สภาพเนื้อดิน เป็นดินปนทรายมีการชะล้างพังทลายของหน้าดินค่อนข้างสูงถึงปานกลาง อยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา อำเภอจอมบึง และด้านตะวันตกของอำเภอปากท่อ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง ที่ราบลุ่ม ได้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด เนื้อดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทานแม่กลอง ที่เป็นระบบชลประทานขนาดใหญ่มากด้วย ที่ราบลุ่มต่ำ ได้แก่ตอนปลายของแม่น้ำแม่กลองที่ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกลางเพียง 1-2 เมตร ดินจะมีความสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำสวนผักผลไม้ === ภูมิอากาศ === จังหวัดราชบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย แต่การที่มีเทือกเขาตะนาวศรีบังไว้อยู่ ทำให้เป็นที่อบฝน คือ อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอจอมบึง มีฝนตกน้อยและเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีฝนตกน้อยที่สุดในประเทศ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-1,250 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ27 องศาเซลเซียส สูงสุดเดือนเมษายน-พฤษภาคมประมาณ 36 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนธันวาคม-มกราคม ประมาณ 18 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน โดยตกหนักที่สุดในเดือนกันยายน และทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและสิงหาคมฝนส่วนใหญ่จะถูกพัดเลยไปตกในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัดอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13-38 องศาเซลเซียส แต่ในฤดูหนาวบริเวณเชิงเขาหรือหุบเขาในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคาจะมีสภาพอากาศหนาวมาก เฉลี่ย 8-15 องศาเซลเซียส และเป็นจังหวัดที่มีปริมาณโอโซนมากที่สุดติดอันดับของโลก === ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ === ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณ 1,239,236 ไร่ หรือ 38.16% ของพื้นที่จังหวัด ป่าไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เขาและเทือกเขาตะนาวศรี แหล่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแม่กลองไหลผ่านจังหวัดราชบุรี มีความยาวในเขตจังหวัดราชบุรี 67 กิโลเมตร และแม่น้ำสาขา ได้แก่ แม่น้ำภาชีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีในเขตอำเภอบ้านคา ไหลผ่านอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรียังมีคลองสำคัญได้แก่ คลองดำเนินสะดวกที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง โดยเริ่มจากตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง ที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวตลอดลำคลอง 35 กิโลเมตร และลำคลองสาขาอีกกว่า 200 คลอง และมีอ่างเก็บน้ำ ดังต่อไปนี้ อ่างเก็บน้ำโป่งกระทิง หมู่บ้านโป่งกระทิง ต.บ้านบึง อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย หมู่บ้านบ้านบึง ต.บ้านบึง อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด หมู่บ้านซ้ายแดง ต.หนองพันจันทร์ อ่างเก็บน้ำชัฎป่าหวาย หมู่บ้านท่าเคย ต.ท่าเคย อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง หมู่บ้านน้ำพุ ต.น้ำพุ เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี == การเมืองการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === จังหวัดราชบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 104 ตำบล และ 975 หมู่บ้าน อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอจอมบึง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง อำเภอบางแพ อำเภอโพธาราม อำเภอปากท่อ อำเภอวัดเพลง อำเภอบ้านคา === การปกครองส่วนท้องถิ่น === ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จังหวัดราชบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 112 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เทศบาล 36 แห่ง แบ่งเป็นเทศบาลเมือง 5 แห่ง ได้แก่ จอมพล ท่าผา บ้านโป่ง โพธาราม และราชบุรี เป็นเทศบาลตำบล 31 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 75 แห่ง === ทำเนียบรายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด === == ตราประจำจังหวัด == ความหมายของตราประจำจังหวัด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่ ทั้งนี้ก็เพราะชื่อจังหวัดราชบุรีแปลว่า เมืองของพระราชา == การเดินทาง == รถยนต์ ใช้เส้นทาง สายเก่าสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านบางแค- อ้อมน้อย - อ้อมใหญ่ - นครชัยศรี - นครปฐม - ราชบุรี หรือใช้เส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข 338 จากกรุงเทพ - พุทธมณฑล - นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ 16 กิโลเมตรจากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่งจำกัดมีบริการเดินรถจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน วันละหลายเที่ยวใช้เวลา รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวันใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 00.50-21.50 น.) === ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ === อำเภอวัดเพลง 18 กิโลเมตร อำเภอปากท่อ 21 กิโลเมตร อำเภอโพธาราม 23 กิโลเมตร อำเภอดำเนินสะดวก 25 กิโลเมตร อำเภอบางแพ 29 กิโลเมตร อำเภอจอมบึง 30 กิโลเมตร อำเภอบ้านโป่ง 43 กิโลเมตร อำเภอสวนผึ้ง 56 กิโลเมตร อำเภอบ้านคา 59 กิโลเมตร == ประชากร == ชาวไทยที่เป็นประชากรของราชบุรีตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ มีอยู่เป็นหย่อมย่าน ถ้ามีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดการแสดงออกทางประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ถ้าชุมชนที่มีกลุ่มคนตามวัฒนธรรมนั้นอยู่เบาบาง ก็ไม่สามารถแสดงออกทางวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ บางครั้งก็ถูกกลุ่มวัฒนธรรมหลักชักนำหรือถูกกลืนกลายให้เสื่อมสูญไปจากสังคมก็มี ข้อมูลต่อไปนี้แสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนตามวัฒนธรรมต่างๆ ไทยพื้นถิ่นราชบุรี ไทยเชื้อสายจีน ไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) มอญ เขมร ลาวเวียง กะเหรี่ยง ไทดำ (ไทยทรงดำ หรือชาวโซ่ง) === การศึกษา === ==== สถาบันอุดมศึกษา ==== มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และ ศูนย์การเรียนรู้ในเมือง ต.ดอนตะโก อ.เมือง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี วิทยาลัยพยาลบาลบรมราชชนนีจักรีรัช บ้านโป่ง ==== สถาบันอาชีวศึกษา ==== วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แห่งที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านโป่งบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง ==== โรงเรียน ==== ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดราชบุรี == เศรษฐกิจ == จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จากการประกาศของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ราชบุรีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2562 คิดเป็นมูลค่า 201,571 ล้านบาท เป็นอันดับ 18 ของประเทศ และมีรายได้ต่อประชากรต่อปี (GPP PER CAPITA) 248,028 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของประเทศ จังหวัดราชบุรี มีธุรกิจการค้าประเภทสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร เป็นโครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจ โดยมีตลาดกลางผักผลไม้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก โดยเป็นหนึ่งในตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เช่น สุกร โคเนื้อโคนม ไก่ เป็นต้น มีมากในเขตอำเภอปากท่อ และอำเภอโพธาราม เป็นศูนย์กลางด้านพลังงาน มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแห่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากเป็นลำดับต้นๆของประเทศ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ปัจจุบันมีโรงงานทั้งสิ้น 1,923 โรงงาน (2562) เงินลงทุนรวมประมาณ 117,025 ล้านบาท จ้างแรงงาน 71,308 คน พื้นที่อุตสาหกรรมหลักอยู่ที่ อำเภอบ้านโป่ง และจังหวัดราชบุรีเป็น 1 ใน 18 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรม ของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธาราม ศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญจะกระจายอยู่ใน พื้นที่ชุมชนเมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองราชบุรี เมืองบ้านโป่ง เมืองโพธาราม เป็นต้น โดยเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค สำนักงานเขต ของหน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชนชั้นนำหลายๆ แห่ง เช่น ปตท. โตโยต้า เป็นต้น == แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ == === สถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละอำเภอ === อำเภอเมืองราชบุรี ศูนย์สืบทอดศิลปผ้าจก : สถานที่อนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าจกของชาวไท-ยวน เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไท-ยวน ในราชบุรี ค่ายภาณุรังษี : เป็นที่ตั้งของกรมทหารช่าง ริมแม่น้ำแม่กลอง ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง : เป็นหลักเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ย้ายเมืองเดิมไปตั้งทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่กลอง พิธภัณฑ์ทหารช่าง : เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมทหารช่างรวมทั้งยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี : เป็นสถานที่แสดงแหล่งประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของชาวจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบัน ความเป็นมาของการสร้างบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยรวมถึงการจัดแสดงโบราณวัตถุร่องรอยของอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร : ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระปรางค์เก่าแก่ที่สร้างด้วยอิฐฉาบปูนและมีฐานเป็นศิลาแลงจำลองแบบมาจากนครวัด ตลาดโคยกี๊ : เป็นถนนคนเดินอยู่บริเวณถนนริมแม่น้ำแม่กลอง เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ และ อาทิตย์ เมืองโบราณคูบัว : ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นอาคารพุทธศาสนาเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง วัดหนองหอย : เป็นที่ตั้งของพระวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กวนอิม หรือ พระแม่กวนอิมบนยอดเขา ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร ไปทางถนนสายเขางู - เบิกไพร วัดอรัญญิกาวาส : จากนครปฐมถนนเพชรเกษมถึงแยกเขางูเลี้ยวขวาประมาณ 3 กิโลเมตรอยู่ทางขวามือ เขาแก่นจันทร์ : ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 บนยอดเขาสูงประมาณ 141 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศเป็น 1 ใน 4 องค์ของพระสี่มุมเมือง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นแล้วนำไปประดิษฐาน ณ เมืองรอบพระนครได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดลำปาง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดพัทลุง เขาวัง : อยู่ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีเดิมเรียกเขาสัตตนาถ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ครั้งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้สร้างพระราชวังขึ้นบนภูเขาแห่งนี้ เพื่อให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2414 เขาหลวง : อยู่ในเขตตำบลอ่างทอง บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เขาน้อย : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดเขาน้อยเทียมสวรรค์เป็นวัดเก่าแก่ พระอุโบสถหลังเก่าสร้างด้วยศิลา-แลงทั้งหลัง ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป 2 องค์ ประทับนั่งหันหลังให้กัน เป็นพระที่สร้างด้วยศิลาแลง ถ้ำเขางู : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 8 กิโลเมตร ในตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง บริเวณเทือกเขาเป็นที่ตั้งของปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ที่สุดของจังหวัด ถ้ำระฆัง : เป็นถ้ำหินปูน ตั้งอยู่บนเขาพญาปราบที่อยู่ในเทือกเขางูเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสยัมภูและศาลเจ้าพ่อพญาปราบ ภายในถ้ำมีหินย้อยเป็นรูประฆัง มีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก ถ้ำสาริกา : เป็นวัดสำคัญ ได้รับสถาปนาเป็นวัดของหลวง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2525 เขางู แอดเวนเจอร์ปาร์ค : เปิดตัวขึ้นเพี่อรองรับนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนุกสนานตื่นเต้น อำเภอดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก : อยู่ติดกับถนนสุขาภิบาล 1 มีอาณาบริเวณตลอดคลองต้นเข็ม ปากคลองด้านที่บรรจบกับคลองเฮียกุ่ยจะมีร้านขายของที่ระลึกตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำเป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านที่ค้าขายกันทางน้ำ โดยใช้เรือพายเล็กๆเป็นพาหนะติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่เช้ามืดจนใกล้เที่ยงวัน ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเก่า หรือ ตลาดน้ำคลองลัดพลี : อยู่ในเขตตำบลดำเนินสะดวก หน้าวัดราษฎร์เจริญธรรม บริเวณนี้เคยเป็นตลาดน้ำดั้งเดิมซึ่งได้สูญหายไปเมื่อหลายปีก่อน กระทั่งทางจังหวัดราชบุรีได้ร่วมมือร่วมใจกับประชาชน รื้อฟื้นคืนชีวิตให้กับตลาดน้ำแห่งนี้อีกครั้ง วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม : อยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก เป็นสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ที่สำคัญ อำเภอโพธาราม วัดขนอนหนังใหญ่ : ตั้งอยู่ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม เป็นวัดที่มีการจัดแสดงหนังใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ของโบราณ ค่ายหลวงบ้านไร่ : ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร อยู่ในตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม เคยเป็นที่ตั้งของค่ายลูกเสือในรัชกาลที่ 6 วัดคงคารามและจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม : ตั้งอยู่ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม เป็นวัดมอญ ภายในอุโบสถวัดคงคารามมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ละเอียดอ่อนสวยงาม ถ่ายทอดตามต้นแบบที่มีชีวิตจริงและภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ วัดเขาช่องพรานและค้างคาวเขาช่องพราน : ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม มีถ้ำที่เกิดจากหินปูน สูงจากพื้นประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 2 เมตรสิ่งสำคัญคือมีค้างคาวตัว เล็กๆเข้าไปอยู่อาศัยจำนวนนับร้อยล้านตัวจนพลบค่ำประมาณ 18.00 น. ของทุกวัน จะเห็นภาพค้างคาวนับล้านๆตัว บินออกจากถ้ำนานนับชั่วโมง สุนทรีแลนด์ แดนตุ๊กตา : เป็นแหล่งรวมตุ๊กตาขนาดใหญ่ อุโบสถทองคำร้อยล้านวัดพระศรีอาร์ย : แสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพลังศรัทธาของชาวราชบุรีที่มีต่อ พระพุทธศาสนาในการก่อสร้างอุโบสถทองคำมูลค่าร้อยล้าน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 37 ปี นาตึก เป็นอาคารเก่าที่พักริมท่าน้ำ : อยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคล รอพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ชื่อว่าหลวงพ่อยวน : อยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคล รอพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว อำเภอบ้านโป่ง สระน้ำโกสินารายณ์ : จากหลักฐานการค้นคว้าทางโบราณคดีแสดงว่าเคยเป็นเมืองโบราณมาแต่สมัยเก่า ซึ่งได้ขุดพบพระกรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทำด้วยหินทรายแดง 5 พระกรถือคัมภีร์ ลูกประคำและดอกบัวกับพระบาทของพระโพธิสัตว์คู่หนึ่งปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี รวมถึงการจัดแสดงโบราณวัตถุร่องรอยอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง บึงกระจับ : เป็นบึงน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก วัดม่วงและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง : ตั้งอยู่ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง เป็นวัดที่มีหน้าบันพระอุโบสถเป็นปูนปั้นลวดลายเรขาคณิตระบายสีคล้ายรูปมังกร พระอุโบสถวัดม่วงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ภายในมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น จัดแสดงโบราณวัตถุคัมภีร์ใบลาน เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อุทยานบ้านปลา และสวนผีเสื้อมนชิดา : เป็นแหล่งรวมปลาทุกพันธุ์ ทั้งปลาที่มีในประเทศ และปลาต่างประเทศ (ปัจจุบัน ปิดให้บริการแล้ว) ศาลากลางน้ำวัดหนองปลาหมอ เป็นศาลากลางน้ำของวัดหนองปลาหมอ ต.หนองปลาหมอ ที่พึ่งสร้างเสร็จเมื่อพ.ศ. 2556และจะผลักดันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ทางพุทธศาสนาของจังหวัดราชบุรีต่อไป อำเภอจอมบึง ถ้ำเขาบิน : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามและมีบ่อน้ำแร่ลึกประมาณ 1 เมตรที่ไม่เคยเหือดแห้งชาวบ้านเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคกลางและสวนสัตว์เปิดเขาประทับช้าง : ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีต้นไม้พรรณไม้ต่างๆตามเรื่องราวในวรรณคดีไทย สภาพทั่วไปเป็นป่าไม้ร่มรื่นปลูกเป็นสัดส่วนและตกแต่งไว้อย่างสวยงามมีสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงแพร่พันธุ์สัตว์ป่าต่างๆโดย เฉพาะเสือโคร่งเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ถ้ำจอมพลและสวนรุกขชาติ : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เดิมชื่อถ้ำมุจลินทร์ สภาพเป็นป่าธรรมชาติมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกรมป่าไม้ได้จัดเป็นสวนรุกขชาติเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อำเภอสวนผึ้ง เขากระโจม : ตั้งอยู่ในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 80 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ที่สูงที่สุดในจังหวัดราชบุรีประมาณ 1,045 เมตรจากระดับน้ำทะเล การเดินทางสู่ยอดเขาต้องใช้พาหนะขับเคลื่อน 4 ล้อ สองข้างทางยังเป็นป่าเขาที่สภาพสมบูรณ์ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและพบกล้วยไม้ป่าหลากหลายอยู่ทั่วไป ทัศนียภาพโดยรวมคล้ายป่าทางภาคเหนือ บนจุดสูงสุดเป็นเส้นแบ่งเขตแดนประเทศไทยกับประเทศพม่า มีลานกว้างสำหรับกางเต็นท์พักแรมสามารถชมวิวทิวทัศน์ได้รอบบริเวณ ระหว่างทางมีน้ำตกผาแดงจุดพักชมวิวและทางเดินศึกษาธรรมชาติที่สวยงาม โป่งยุบ : อยู่ในท้องที่ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หาชมยากในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่แผ่นดินยุบตัวลงและถูกน้ำกัดเซาะดิน ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชันเป็นหลุมเป็นบ่อ ลักษณะคล้ายกับแพะเมืองผีที่จังหวัดแพร่ น้ำตกบ่อหวี : ตั้งอยู่บริเวณตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงานและความเป็นธรรมชาติอยู่มาก แก่งส้มแมว (สวนป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์) : เป็นแหล่งรวมพรรณไม้นานาชนิด มีสัตว์ป่าและลำธาร น้ำตกผาชลแดน : ตั้งอยู่ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ที่ยังคงสภาพธรรมชาติอยู่มากและน้ำตกในแต่ละชั้นมีความสวยงามไม่เหมือนกันเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบธรรมชาติ น้ำตกห้วยผาก : อยู่ก่อนธารน้ำร้อนบ่อคลึงประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าไปทางวัดห้วยผาก ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกสายเล็กๆเชิงเทือกเขาตะนาวศรีความสูงของชั้นน้ำตกสามารถเดินเที่ยวชมได้ ธารน้ำร้อนบ่อคลึง : ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง เลยที่ว่าการอำเภอสวนผึ้งไปประมาณ 15 กิโลเมตร ในที่ดินของเอกชน เป็นธารน้ำร้อนที่ไหลออกจากซอกหินเชิงเขาตะนาวศรีมีความร้อนประมาณ 50 – 57 องศาเซลเซียส นับเป็นธารน้ำร้อนที่อยู่ใกล้กรุงเทพมากที่สุด น้ำตกเก้าโจน : ตั้งอยู่ที่บ้านผาปก อยู่ถัดจากธารน้ำร้อนบ่อคลึงไป 3 กิโลเมตร จากลานจอดรถซึ่งอยู่ด้านล่าง เดินด้วยเท้าอีกประมาณ 500 เมตรถึงบริเวณตัวน้ำตกตอนล่างของลำห้วยบ่อคลึง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่สูง 9 ชั้น ระยะทางเดินจากชั้นล่างถึงชั้นบนประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ฟาร์มกล้วยไม้ - ลันดา : เป็นสวนกล้วยไม้เอกชน มีพันธุ์กล้วยไม้จำพวกแวนด้าไว้จำหน่าย พิพิธภัณฑ์ภโวทัย : รวบรวมวัตถุโบราณสยามในอดีตรวมทั้งมีรถม้า พันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับของไทยชนิดต่างๆเช่น ดอกมณโฑ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ จุดชมวิวห้วยคอกหมู : อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 เมตร สามารถมองเห็นภูมิประเทศของชายแดนพม่าอย่างสวยงาม สามารถมองเห็นต้นไม้ใหญ่ ป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งนกนานาชนิดอีกมากมาย ธรรมสถาน วิโมกสิวาลัย : เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้มาเยือนสวนผึ้ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางใจ ในการทบทวนจิตเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ ไร่กุหลาบอุษาวดี : พื้นที่ไร่แห่งนี้ปกคลุมไปด้วยกลิ่นอายธรรมชาติ ภูเขา ทะเลหมอก และแมกไม้นานาพันธุ์ ให้ได้สัมผัสกับอากาศที่สดชื่นบริสุทธิ์ สวนผึ้งออร์คิด : เป็นสวนเพาะพันธุ์และจำหน่ายกล้วยไม้ขนาด ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของสวนผึ้ง บ้านหอมเทียน : ภายในบ้านหอมเทียนตกแต่งด้วยของเก่าสะสมหายาก ภาชนะสังกะสี ตะเกียงโบราณ ของเล่นเก่า ฯลฯ กลมกลืนไปกับป่าธรรมชาติ เหมาะกับการถ่ายภาพในมุมต่าง ๆ ฟาร์มแกะสวนผึ้ง : เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีกิจกรรมหลากหลายให้ทำ เช่น การให้อาหารแกะ อำเภอปากท่อ อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน : ภูมิประเทศเป็นหุบเขาตะนาวศรีสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าต้นน้ำของห้วยแม่ประจัน จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด อำเภอบางแพ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม : ตั้งอยู่ในตำบลบางแพ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2549 ภายในบริเวณอุทยานจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งบุคคลสำคัญที่ประกอบคุณงานความดีรวมทั้งงานศิลปะเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ที่ทรงคุณค่าของไทยโดยการนำเสนอแบบผสมผสานกลมกลืนกับลักษณะที่เป็นธรรมชาติและบรรยากาศแบบไทย อำเภอวัดเพลง วัดเกาะศาลพระ : ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ วัดเก่าแก่แห่งนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่พอสันนิษฐานได้จากศิลปะลวดลายไทยที่ซุ้ม ประตูและหน้าบันอุโบสถหลังเก่าว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือต้นรัตนโกสินทร์ โบราณสถานโคกวิหาร : ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะศาลพระ มีลักษณะเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นรูปใบหน้าบุคคลและเศียรพระพุทธรูปและเทวดา โบสถ์คริสต์พระหฤทัยวัดเพลง : ตั้งอยู่ริมคลองแควอ้อมมีอายุกว่า 100 ปี อำเภอบ้านคา บ่อพุน้ำร้อนโป่งกระทิง : เป็นบ่อน้ำอุ่น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง == วัฒนธรรม == === ประเพณีและเทศกาล === งานท่องเที่ยวราชบุรีของดีเมืองโอ่งและงานกาชาด : มีการจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมบริเวณพื้นที่ของศาลากลางจังหวัด งานองุ่นหวานและของดีดำเนินสะดวก : จัดที่บริเวณเวทีกลางวัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน) อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้า และผลผลิตทางการเกษตร ประเพณีกินข้าวห่อมีการจัดพิธีขวัญข้อมือ กินข้าวห่อ ชมการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน พิธียกเสาหงส์ และผูกผ้าสีให้เสาหลักบ้าน สถานที่จัด บ้านโป่งกระทิงบน อ.บ้านคา งานสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ไททรงดำ : ชมการแสดง รำวง ฟ้อนแคน นักร้องลูกทุ่งรับเชิญ : เดือนเมษายนของทุกปี (เฉพาะตำบลคอนคา) สถานที่จัดงาน : วัดตากแดด 5 เมษายน : วัดดอนคา 9เมษายน : วัดดอนพรหม 17 เมษายน === ของฝากจังหวัดราชบุรี === สัปปะรดหวาน บ้านคา ผ้าจกไทยวน เค้กมะพร้าวอ่อน โอ่งมังกร หัวไชโป๊วเค็ม,หวาน มะขามเทศมัน ผลิตภัณฑ์ประเภทนมสด องุ่นหวานดำเนินสะดวก ตุ๊กตาผ้า ตะโกดัดและไม้แคระ เขียงไม้มะขามและตุ๊กตา เครื่องทองเหลือง แคนลายและขลุ่ย ย่ามกะเหรี่ยง ผ้าขาวม้า == บุคคลที่มีชื่อเสียง == ขรรค์ชัย บุนปาน นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช พระพรหมมงคลวัชราจารย์ (ไสว วฑฺฒโน) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดราชบุรี รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดราชบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดราชบุรี == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
thaiwikipedia
1,269
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World War; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม == ภูมิหลัง == สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างใหญ่หลวงในยุโรป ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง รวมทั้งการล่มสลายของรัฐจักรวรรดิที่สำคัญ ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ตลอดจนจักรวรรดิรัสเซีย ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เซอร์เบียและโรมาเนีย รวมไปถึงการก่อตั้งรัฐใหม่หลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมันล่มสลาย หลังสงคราม ชาตินิยมอุดมการณ์เรียกร้องดินแดน (irredentism) และลัทธิแก้แค้น (revanchism) กลายมามีความสำคัญในหลายประเทศยุโรป อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนและลัทธิแก้แค้นแรงกล้ามากในเยอรมนี เพราะเยอรมนีบังคับตามสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นผลให้เยอรมนีเสียดินแดนของประเทศไปร้อยละ 13 รวมทั้งอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด การรวมเยอรมนีเข้ากับประเทศอื่นถูกห้าม ซ้ำต้องแบกภาระชำระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล และถูกจำกัดขนาดและขีดความสามารถของกองทัพอย่างมาก ขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองรัสเซียได้นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำโดยพรรคบอลเชวิค ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ จักรวรรดิเยอรมันสิ้นสภาพไปจากการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919 และรัฐบาลประชาธิปไตยถูกตั้งขึ้น ซึ่งภายหลังรู้จักกันว่า สาธารณรัฐไวมาร์ ในเยอรมนีระหว่างสงครามโลกได้เกิดความขัดแย้งภายในขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนสาธารณรัฐใหม่และผู้คัดค้านที่ยึดมั่นทางฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย พรรคนาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เจริญรอยตามการจัดตั้งรัฐบาลฟาสซิสต์ตามอย่างอิตาลีในเยอรมนี ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้การสนับสนุนพรรคนาซีภายในประเทศเพิ่มขึ้น และใน ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ฮิตเลอร์สถาปนารัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จพรรคการเมืองเดียวนำโดยพรรคนาซี สถานการณ์คล้ายกันนี้ยังได้เกิดขึ้นในอิตาลี แม้ว่าอิตาลีจะเป็นพันธมิตรฝ่ายไตรภาคีและได้รับดินแดนอยู่บ้าง แต่พวกชาตินิยมอิตาลีรู้สึกโกรธแค้นที่คำมั่นสัญญาของอังกฤษและฝรั่งเศสให้ไว้เพื่อให้อิตาลีเข้าสู่สงครามในสนธิสัญญาลอนดอน ไม่เป็นไปตามการตกลงสันติภาพ นับจาก ค.ศ. 1922 ถึง 1925 ขบวนการฟาสซิสต์ นำโดยเบนิโต มุสโสลินี ยึดอำนาจในอิตาลีด้วยวาระชาตินิยม เผด็จการเบ็ดเสร็จและความร่วมมือระหว่างชนชั้น ซึ่งยกเลิกระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน สังคมนิยมใช้อำนาจบังคับ กำลังฝ่ายซ้ายและเสรีนิยม และดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบก้าวร้าวโดยมีเป้าหมายเพื่อสถาปนาอิตาลีเป็นมหาอำนาจของโลกโดยใช้กำลัง คือ "จักรวรรดิโรมันใหม่" ส่วนทางด้านประเทศจีน รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งได้เริ่มการทัพรวมชาติขึ้นต่อต้านเหล่าขุนศึกอิสระ จนนำไปสู่การรวมชาติในนามราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลจีนกลับต้องเข้าไปพัวพันในสงครามกลางเมืองกับพันธมิตรเก่า พรรคคอมมิวนิสต์จีน ใน ค.ศ. 1931 จักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งมีความต้องการจะมีอิทธิพลเหนือประเทศจีนมาเป็นเวลานานแล้ว กำลังเพิ่มกำลังทหารในจีนอย่างขนานใหญ่ เพื่อเป็นแผนการขั้นแรกในการเข้าปกครองทั้งทวีปเอเชีย โดยใช้กรณีมุกเดนเป็นข้ออ้างในการบุกครองแมนจูเรีย และจัดตั้งรัฐหุ่นเชิด แมนจูกัว จีนได้ขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตชาติ ญี่ปุ่นจึงลาออกจากองค์การหลังมีการประณามการบุกครองดังกล่าว หลังจากนั้น ทั้งสองชาติได้เกิดการปะทะกันประปรายขึ้นอีกหลายครั้ง จนกระทั่งนำไปสู่การพักรบตางกู ในปี ค.ศ. 1933 แต่ถึงกระนั้น กองกำลังอาสาจีนก็ยังคงต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นต่อไปในอีกหลายพื้นที่ ทั้งในแมนจูเรียและมองโกเลียใน ต่อมา ฮิตเลอร์สนับสนุนนโยบายการจัดระเบียบโลกใหม่โดยอาศัยปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ และเริ่มเสริมสร้างกำลังทหารครั้งใหญ่ เพื่อรักษาพันธมิตรของตน ฝรั่งเศสจึงยินยอมให้อิตาลียึดครองเอธิโอเปีย ซึ่งอิตาลีต้องการยึดเป็นอาณานิคมอยู่แล้ว เหตุการณ์เริ่มเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อถึงช่วงต้น ค.ศ. 1935 ซาร์ลันท์ได้รวมเข้ากับเยอรมนีตามกฎหมาย และฮิตเลอร์ได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย พร้อมกับเร่งการฟื้นฟูกองทัพและเริ่มให้มีการเกณฑ์ทหารอย่างรวดเร็ว ในความพยายามที่จะจำกัดวงเยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิตาลีจึงก่อตั้งแนวสเตรซาขึ้น ด้านสหภาพโซเวียตเองก็กังวลต่อเป้าหมายยึดครองดินแดนยุโรปตะวันออกอันกว้างใหญ่ของเยอรมนีเช่นกัน จึงได้ทำสนธิสัญญาช่วยเหลือทวิภาคีกับฝรั่งเศส แต่สนธิสัญญาฝรั่งเศส-โซเวียตต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนของสันนิบาตชาติเสียก่อน ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวไม่มีผลเลย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1935 สหราชอาณาจักรได้ทำสนธิสัญญาการเดินเรือแยกต่างหากกับเยอรมนี โดยผ่อนปรนต่อข้อบังคับต่าง ๆ ที่เคยกำหนดมาก่อนหน้านี้ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็กังวลต่อสถานการณ์ซึ่งอุบัติขึ้นในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย จึงได้ผ่านรัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลางในเดือนสิงหาคม ในเดือนตุลาคม อิตาลีบุกครองเอธิโอเปีย โดยมีเพียงเยอรมนีเป็นมหาอำนาจชาติเดียวในยุโรปที่สนับสนุนการบุกครองดังกล่าว อิตาลีจึงยกเลิกข้อคัดค้านต่อเป้าหมายการผนวกออสเตรียของเยอรมนี เดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 ฮิตเลอร์ส่งทหารกลับเข้าคืนสู่ไรน์ลันท์ อันเป็นการฝ่าฝืนสนธิสัญญาโลคาร์โน แต่ก็ได้รับการตอบสนองน้อยมากจากชาติยุโรปอื่น ๆ ครั้นเมื่อสงครามกลางเมืองสเปนปะทุขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีได้ให้ความสนับสนุนแก่จอมทัพฟาสซิสต์ ฟรันซิสโก ฟรังโก และฝ่ายชาตินิยมสเปน เพื่อต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐสเปนที่สอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สงครามครั้งนี้เป็นสนามทดสอบอาวุธและยุทธวิธีในการทำสงครามที่คิดค้นขึ้นใหม่ด้วย จนกระทั่งฝ่ายชาตินิยมสเปนได้รับชัยชนะเมื่อต้น ค.ศ. 1939 จากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น ได้นำไปสู่ความพยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งหรือการรวมกลุ่มระหว่างประเทศขึ้น เยอรมนีได้ร่วมมือกับอิตาลีก่อตั้งแกนโรม-เบอร์ลินขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 และทำกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกับญี่ปุ่นในเดือนถัดมา ซึ่งอิตาลีก็ได้เข้าร่วมด้วยใน ค.ศ. 1937 ส่วนในประเทศจีน หลังจากกรณีซีอาน กองทัพพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพคอมมิวนิสต์ได้ตกลงหยุดยิงเพื่อร่วมกันสร้างแนวร่วมต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น กลาง ค.ศ. 1937 หลังเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ญี่ปุ่นเริ่มการบุกครองจีนอย่างเต็มตัว ซึ่งลงเอยด้วยการทัพที่มีเป้าหมายจะบุกครองจีนทั้งหมด สหภาพโซเวียตเร่งลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันกับจีนและให้ความช่วยเหลือด้านวัตถุดิบแก่จีน เป็นการยุติความร่วมมือกับเยอรมนีของจีนที่มีอยู่ก่อนหน้า จอมทัพเจียง ไคเช็คได้วางกำลังพลที่ดีที่สุดของเขาเพื่อป้องกันเซี่ยงไฮ้ แต่ก็เสียเมืองไปหลังการสู้รบนานสามเดือน กองทัพญี่ปุ่นยังผลักดันกองทัพจีนให้ล่าถอยต่อไป และสามารถยึดนานกิงได้ในเดือนธันวาคม และกระทำการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยม เมื่อถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1938 กองทัพจีนสามารถหยุดการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่นได้โดยเหตุอุทกภัยแม่น้ำหวง ในช่วงนี้ จีนได้เตรียมการป้องกันที่เมืองอู่ฮั่น แต่ก็ยังถูกตีแตกในเดือนตุลาคม แม้ว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะได้รับชัยชนะทางทหาร แต่กลับไม่สามารถทำลายการต้านทานของจีนลงได้อย่างที่หวัง โดยรัฐบาลจีนย้ายลึกเข้าไปในแผ่นดินถึงฉงชิ่งแล้วทำสงครามต่อ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1938 กองทัพญี่ปุ่นและกองทัพโซเวียตปะทะกันอย่างประปรายที่ทะเลสาบคาซัน แม้ว่าโซเวียตจะเป็นฝ่ายชนะ แต่ญี่ปุ่นกลับมองว่าเป็นการเสมอที่ยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นตัดสินใจขยายพรมแดนญี่ปุ่น-มองโกเลียขึ้นไปถึงแม่น้ำคัลคินกอลด้วยกำลัง แม้ว่าญี่ปุ่นจะประสบความสำเร็จในระยะแรก แต่กองทัพคันโตในมองโกเลียได้ถูกขัดขวางอีกครั้ง และสงครามยุติลงด้วยสัญญาหยุดยิงเมื่อวันที่ 15 กันยายน โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงดินแดนใด ๆ นับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญครั้งแรกกองทัพคันโต ความพ่ายแพ้ดังกล่าวได้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นควรมุ่งปรองดองกับรัฐบาลโซเวียตเพื่อมิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสงครามในจีน และหันเหความสนใจทางทหารไปทางใต้ ไปยังดินแดนในครอบครองของสหรัฐอเมริกาและยุโรปในแปซิฟิกแทน ด้านทวีปยุโรป บทบาทของเยอรมนีและอิตาลีเริ่มก้าวร้าวมากขึ้น ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 เยอรมนีผนวกออสเตรีย โดยมีปฏิกิริยาจากชาติตะวันตกอื่น ๆ เพียงเล็กน้อยเช่นเดิม ด้วยความฮึกเหิม ฮิตเลอร์จึงอ้างสิทธิครอบครองซูเดเทินลันด์ ดินแดนของเชโกสโลวาเกียซึ่งมีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน โดยขัดต่อความต้องการของรัฐบาลเชโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศสและอังกฤษยินยอมให้เยอรมนียึดครองซูเดนเตแลนด์ เพื่อแลกกับการหยุดแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม ทว่าหลังจากนั้น เยอรมนีและอิตาลีได้บังคับให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนให้กับฮังการีและโปแลนด์อีก และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีบุกครองเชโกสโลวาเกียส่วนที่เหลือ และแบ่งประเทศออกเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและโมราเวียของเยอรมนี และรัฐหุ่นเชิดอิสระนิยมเยอรมนี สาธารณรัฐสโลวัก ด้วยความตื่นตัวจากเหตุที่ฮิตเลอร์ต้องการนครเสรีดานซิกเพิ่มเติม ฝรั่งเศสและอังกฤษจึงรับประกันว่าจะให้การสนับสนุนเอกราชของโปแลนด์ และเมื่ออิตาลียึดครองแอลเบเนียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ให้คำมั่นเช่นเดียวกันนี้แก่โรมาเนียและกรีซ ไม่นานหลังจากการให้คำมั่นดังนี้ ทางด้านเยอรมนีและอิตาลีก็ร่วมมือกันและลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาเหล็ก เดิมสหภาพโซเวียตพยายามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อพยายามจำกัดวงเยอรมนี แต่ทั้งสองชาติปฏิเสธ ด้วยแคลงใจในเจตนาและความสามารถของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตเกรงว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสไม่ปรารถนาจะให้ความร่วมมือทางทหารแก่ตน และวิตกว่าอาจเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอาจเอนเอียงเข้ากับฮิตเลอร์ ทำให้สหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียต ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงลับระหว่างทั้งสองที่จะแบ่งกันครอบครองยุโรปตะวันออก โดยยกโปแลนด์ตะวันตกและลิทัวเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของเยอรมนี และยกโปแลนด์ตะวันออก ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และแคว้นเบสซาราเบียของโรมาเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งคำถามถึงการมีเอกราชของโปแลนด์ต่อไปด้วย == การนับเวลา == สงครามโลกครั้งที่สองไม่สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นอย่างชี้ชัดแน่นอนได้ เพราะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง นักประวัติศาสตร์จึงเลือกหลายช่วงเวลาว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งนี้แตกต่างกันไปตามแนวคิดของตน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931 อิตาลีบุกครองเอธิโอเปีย ในปี ค.ศ. 1935 ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาติชาติ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937 เยอรมนีบุกครองโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม ญี่ปุ่นโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมนีบุกครองสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1941 และยังมีนักเขียนบางคนให้ความเห็นว่า สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามครั้งเดียวกันกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป (ใช้คำว่า "สงครามกลางเมืองยุโรป" หรือ "สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง") อย่างไรก็ตาม ในตำราส่วนใหญ่มักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 และยุติเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 นอกเหนือจากนั้น สงครามโลกครั้งที่สองยังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดแตกต่างกันเช่นกัน บ้างก็นับที่การประกาศสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มากกว่าการยอมจำนนอย่างเป็นทางการเมือ่วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945; บางประเทศในทวีปยุโรปยึดเอาวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นสำคัญ แต่ว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้มีการลงนามจนกระทั่งปี ค.ศ. 1951 และสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศเยอรมนีมีการลงนามใน ค.ศ. 1990 == เส้นทางของสงคราม == === สงครามปะทุ === เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีและรัฐบริวารสโลวาเกียบุกครองโปแลนด์ วันที่ 3 กันยายน ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับเยอรมนี ตามมาด้วยบรรดาประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ แต่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่โปแลนด์เพียงเล็กน้อยเฉพาะการโจมตีขนาดเล็กของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันท์เท่านั้น แม้ว่าอีกทางหนึ่ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจะเริ่มต้นการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำลายเศรษฐกิจและความพยายามสงครามของเยอรมนี วันที่ 17 กันยายน หลังจากสงบศึกชั่วคราวกับญี่ปุ่นแล้ว สหภาพโซเวียตก็ได้เริ่มการบุกครองโปแลนด์ของตน ท้ายสุด โปแลนด์ได้ถูกแบ่งออกระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต ส่วนลิทัวเนียกับสโลวาเกียได้รับส่วนแบ่งบ้าง ชาวโปแลนด์มิได้ยอมจำนนและสถาปนารัฐใต้ดินโปแลนด์ กองทัพป้องกันประเทศ (Home Army) ใต้ดิน และยังสู้อิงฝ่ายสัมพันธมิตรในทุกแนวรบนอกประเทศ และในเวลาเดียวกับการรบในโปแลนด์ กองทัพญี่ปุ่นก็เปิดฉากโจมตีเมืองฉางซาเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ของจีน แต่ก็ถูกขับไล่กลับมาเมื่อปลายเดือนกันยายน ภายหลังการบุกครองโปแลนด์และการลงนามในสนธิสัญญากำหนดสิทธิปกครองลิทัวเนีย สหภาพโซเวียตได้บีบบังคับรัฐบอลติกเพื่อยินยอมให้สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้าไปประจำการภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างกัน ฟินแลนด์ปฏิเสธการเรียกร้องดินแดนและถูกสหภาพโซเวียตบุกครอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 และจบลงด้วยการยินยอมยกดินแดนบางส่วนให้กับสหภาพโซเวียต ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรมองว่าสหภาพโซเวียตพยายามจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้างเยอรมนี และได้ตอบสนองต่อการบุกครองโดยการขับสหภาพโซเวียตออกจากสันนิบาตชาติ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตบุกครองและยึดครองรัฐบอลติก ในยุโรปตะวันตก อังกฤษได้วางกำลังบนยุโรปภาคพื้นทวีป แต่ในช่วงที่เรียกว่า สงครามลวง ไม่มีปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ระหว่างทั้งสองฝ่ายอีกกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 ทางด้านสหภาพโซเวียตและเยอรมนีได้บรรลุสนธิสัญญาการค้าระหว่างกัน ซึ่งสหภาพโซเวียตได้รับเครื่องประกอบทางทหารและทางอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยแลกกับการส่งวัตถุดิบให้กับเยอรมนี ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบจากการถูกปิดล้อมเมืองท่าโดยราชนาวีสหราชอาณาจักร เดือนเมษายน ค.ศ. 1940 เยอรมนีบุกครองเดนมาร์กและนอร์เวย์ เพื่อควบคุมการขนส่งแร่เหล็กจากสวีเดน ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังจะขัดขวาง เดนมาร์กได้ยอมจำนนอย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่านอร์เวย์จะได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรแล้วก็ตาม แต่เยอรมนีก็ยังสามารถพิชิตนอร์เวย์ได้ในเวลาเพียงสองเดือน ความไม่พอใจต่อผลของการทัพนอร์เวย์ของชาวอังกฤษได้นำไปสู่การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรจากเนวิล เชมเบอร์ลิน เป็นวินสตัน เชอร์ชิลล์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 === ฝ่ายอักษะเคลื่อนทัพ === ในวันเดียวกัน เยอรมนีบุกครองฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมพ่ายแพ้จากผลของยุทธวิธีบลิทซครีกติดต่อกันในเวลาเพียงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ตามลำดับ ฝ่ายเยอรมนีใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งมีป่าปกคลุมหนาแน่น เพื่อโอบล้อมแนวป้องกันแมกิโนต์ของฝรั่งเศส ความผิดพลาดดังกล่าวเป็นเพราะนักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์ผิดว่าเทือกเขานี้เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติที่เชื่อกันว่า ยานยนต์หุ้มเกราะไม่อาจโจมตีผ่านได้ เมื่อถึงปลายเดือนพฤษภาคม ทหารอังกฤษถูกบีบให้ล่าถอยจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปในยุทธการดันเคิร์ก และทิ้งยุทโธปกรณ์หนักไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน อิตาลีเริ่มการบุกครองฝรั่งเศส และประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส สิบสองวันหลังจากนั้น ฝรั่งเศสยอมจำนน และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองของเยอรมนีและอิตาลีในเวลาไม่นานนัก และรัฐซึ่งไม่อยู่ภายใต้การยึดครองภายใต้ระบอบวีชี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพเรืออังกฤษก็ทำลายกองทัพเรือฝรั่งเศสในแอลจีเรีย เพื่อป้องกันมิให้กองทัพเยอรมนีนำไปใช้ในกรณีที่เป็นไปได้ ในเดือนมิถุนายน ช่วงปลายยุทธการฝรั่งเศส สหภาพโซเวียตเริ่มจัดการเลือกตั้งที่ถูกจัดฉากขึ้นในรัฐบอลติกและผนวกดินแดนเหล่านี้ด้วยกำลังอย่างผิดกฎหมาย ตามด้วยการผนวกแคว้นเบสซาราเบียในโรมาเนีย แม้ว่าความร่วมมือระหว่างสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะมีเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งในด้านเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ด้านการทหารเล็กน้อย การแลกเปลี่ยนประชากรและความตกลงเกี่ยวกับชายแดน จนอาจกล่าวได้ว่าสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยของเยอรมนีแล้วก็ตาม การยึดครองรัฐบอลติก เบสซาราเบียและนอร์ทบูโควิน่าได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่เยอรมนี พฤติการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นจากความไม่สามารถบรรลุความความร่วมมือระหว่างนาซี-โซเวียตได้เพิ่มเติม ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองเสื่อมทรามลง เหลือแต่รอเวลาทำสงคราม เมื่อฝรั่งเศสหลุดจากสงคราม ฝ่ายอักษะก็มีกำลังยิ่งขึ้น กองทัพอากาศเยอรมันเริ่มการรบในยุทธการบริเตน เพื่อครองแสงยานุภาพเหนือน่านฟ้าและเตรียมการรบภาคพื้นดินบนเกาะอังกฤษ แต่การทัพดังกล่าวประสบความล้มเหลว และแผนการบุกครองภาคพื้นดินได้ถูกยกเลิกในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือเยอรมันประสบความสำเร็จในการจมเรือรบราชนาวีอังกฤษด้วยเรืออู ในมหาสมุทรแอตแลนติก ฝ่ายอิตาลีก็เริ่มการปฏิบัติการทางทะเลของตนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยการปิดล้อมมอลตา ในเดือนมิถุนายน ครอบครองบริติชโซมาลิแลนด์ในเดือนสิงหาคม และเปิดส่งกองทัพเข้าสู่อียิปต์ของสหราชอาณาจักรในตอนต้นเดือนกันยายน ส่วนทางด้านญี่ปุ่นก็เพิ่มการปิดล้อมจีนด้วยการโจมตีฐานทัพหลายแห่ง ทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งถูกโดดเดี่ยว ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นกลางได้ออกมาตรการในการช่วยเหลือจีนและสัมพันธมิตรตะวันตก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลางของสหรัฐอเมริกามีผลตามกฎหมาย การแปรบัญญัติดังกล่าวส่งผลเปิดโอกาสให้ฝ่ายสัมพันธมิตรซื้อสินค้าแบบ "จ่ายเป็นเงินสด" ได้ ระหว่างปี ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่เยอรมนียึดกรุงปารีส สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มเติมขนาดกองทัพเรือของตนขนานใหญ่ และหลังจากการรุกล้ำเข้าไปยังอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนการห้ามขนส่งเหล็ก เหล็กกล้า และชิ้นส่วนเครื่องจักรแก่ญี่ปุ่น และในเดือนกันยายน สหรัฐอเมริกาก็ตกลงแลกเปลี่ยนเรือประจัญบานอเมริกันกับฐานทัพอังกฤษเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม สาธารณชนชาวอเมริกันส่วนใหญ่ก็ยังคงต่อต้านการเข้าแทรกแซงความขัดแย้งทางทหารโดยตรง จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1941 ปลายเดือนกันยายน กติกาสัญญาไตรภาคีระหว่างเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ได้เป็นรวมตัวกันก่อตั้งฝ่ายอักษะอย่างเป็นทางการ สัญญาดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขว่าทุกประเทศ ยกเว้นสหภาพโซเวียต ซึ่งยังไม่อยู่ในภาวะสงครามและโจมตีรัฐสมาชิกฝ่ายอักษะรัฐใดรัฐหนึ่งจะนำไปสู่สภาวะสงครามกับรัฐสมาชิกทั้งหมด ในช่วงเวลาดังกล่าว สหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนสหราชอาณาจักรและจีนโดยนโยบายให้ยืม-เช่าต่อไป ซึ่งรับหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสงครามและสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการสร้างพื้นที่ปลอดภัยแบบหยาบ ๆ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราวครึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจะคอยคุ้มกันกองเรือสินค้าของอังกฤษ ผลจากการตัดสินใจดังกล่าว ทำให้เยอรมนีและสหรัฐอเมริกาเผชิญหน้ากันในการทำสงครามทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและตอนกลาง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะยังคงดำรงตนเป็นกลางอย่างเป็นทางการอยู่ก็ตาม ฝ่ายอักษะได้ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เมื่อฮังการี สโลวาเกีย และโรมาเนียเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ซึ่งในเวลาต่อมา ประเทศเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียต แต่โรมาเนียถูกพิจารณาว่ามีบทบาทมากที่สุด เนื่องจากต้องการทวงดินแดนที่ถูกสหภาพโซเวียตยึดครองก่อนหน้า และยังเป็นความปรารถนาส่วนตัวของเอียน อันโตเนสคูที่ต้องการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ในเดือนตุลาคม อิตาลีบุกครองกรีซ แต่ภายในไม่กี่วันก็ถูกขับไล่และถูกตีจนต้องถอยร่นเข้าไปในอัลแบเนีย ซึ่งสถานการณ์การรบยังคงคุมเชิงกันอยู่ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940 ในทวีปแอฟริกา กองทัพเครือจักรภพอังกฤษก็ได้ตีโต้ตอบกองทัพอิตาลีในอียิปต์และดินแดนแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี ในตอนต้นของปี ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพอิตาลีนั้นถูกผลักดันกลับไปยังลิเบียโดยกองทัพเครือจักรภพ เชอร์ชิลล์ก็ได้ออกคำสั่งให้ส่งกำลังจากแอฟริกาเข้าไปเสริมในกรีซ ในขณะเดียวกัน กองทัพเรืออิตาลีก็ประสบกับความปราชัยครั้งสำคัญ เมื่อราชนาวีอังกฤษสามารถทำลายเรือประจัญบานปลดประจำการของอิตาลีไปได้ถึงสามลำในยุทธนาวีตารันโต และสร้างความเสียหายให้กับเรือรบอิตาลีอีกหลายลำในยุทธนาวีที่แหลมมาตาปัน ไม่นานนัก เยอรมนีก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออิตาลี ฮิตเลอร์ได้ส่งกองทัพเยอรมันเข้าสู่ลิเบีย ในเดือนกุมภาพันธ์ และภายในปลายเดือนมีนาคม กองทัพฝ่ายอักษะก็ทำการรุกหนักกับกองทัพของกลุ่มเครือจักรภพที่ลดจำนวนลงไป และภายในหนึ่งเดือน กองทัพเครือจักรภพก็ถูกตีถอยร่นกลับสู่อียิปต์ เว้นแต่เพียงเมืองท่าโทบรุคซึ่งถูกล้อมเอาไว้เท่านั้น กองทัพเครือจักรภพพยายามจะขับไล่กองทัพอักษะออกไปในเดือนพฤษภาคม และอีกครั้งในเดือนมิถุนายน แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองครั้ง ตอนต้นของเดือนเมษายน หลังจากบัลแกเรียเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ กองทัพเยอรมันก็เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรบอลข่าน โดยโจมตีกรีซและยูโกสลาเวียภายหลังรัฐประหาร ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว จนในท้ายที่สุด กองทัพสัมพันธมิตรก็ต้องถอนกำลังออกไปหลังจากที่เยอรมนีสามารถยึดเกาะครีตได้เมื่อถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็ประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้เช่นเดียวกัน ในตะวันออกกลาง กองทัพเครือจักรภพก็ได้รับชัยชนะในการปราบปรามรัฐประหารในอิรัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพอากาศเยอรมันจากฐานทัพในซีเรียในอาณัติฝรั่งเศส จากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศสเสรี ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ประสบความสำเร็จในการทัพซีเรียและเลบานอน เพื่อจัดการกับทหารอักษะในพื้นที่ อีกทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก ประชาชนชาวอังกฤษมีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นจากการจมจมเรือธง บิสมาร์ค ของเยอรมนี ลงสู่ก้นทะเลได้สำเร็จ และที่อาจสำคัญสุด กองทัพอากาศอังกฤษสามารถต้านทานการโจมตีของลุควาฟเฟได้ในยุทธการแห่งบริเตน และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ต้องยกเลิกการทิ้งระเบิดเหนือเกาะอังกฤษไป ในทวีปเอเซีย หลังจากการรุกของทั้งสองฝ่าย สงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นยังคงคุมเชิงกันอยู่ในปี ค.ศ. 1940 ด้วยความพยายามที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อจีนโดยการกีดขวางเส้นทางเสบียง และเพิ่มเสริมสร้างฐานะที่เหนือกว่า กองกำลังญี่ปุ่นได้อาศัยจังหวะที่มหาอำนาจตะวันตกยังคงทำสงครามกันอยู่ ยึดครองอินโดจีนทางตอนใต้ด้วยกำลังทหาร และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน คอมมิวนิสต์จีนก็ได้โจมตีตอนกลางของจีน และเพื่อเป็นการแก้แค้น ญี่ปุ่นก็มีมาตรการรุนแรงออกมาเพื่อลดกำลังคนและปัจจัยการผลิตของกองกำลังคอมมิวนิสต์จีน และความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพชาตินิยมจีน ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 อันทำให้ปฏิบัติการทางทหารที่เคยกระทำร่วมกันก็ยุติลงตามไปด้วย ขณะที่สถานการณ์ในยุโรปและเอเชียนั้นค่อนข้างมั่นคง เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหภาพโซเวียตก็ได้ตระเตรียมการตามนโยบายของตน ทางด้านสหภาพโซเวียตเผชิญกับความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นจากเยอรมนี ส่วนญี่ปุ่นนั้นพยายามที่ใช้ประโยชน์จากสงครามในทวีปยุโรป โดยการยึดเอาอาณานิคมอันอุดมสมบูรณ์ของยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตก็ได้ตกลงทำสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ตรงกันข้ามกับเยอรมนีซึ่งตั้งใจอย่างไม่ลดละที่จะวางแผนทำสงครามในสหภาพโซเวียต ได้มีการระดมพลประชิดชายแดนสหภาพโซเวียตเพิ่มมากขึ้น === สงครามลุกลามทั่วโลก === เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีรวมถึงกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรปและฟินแลนด์ ได้บุกครองสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ซึ่งเป็นการโจมตีที่เหนือความคาดหมาย โดยมีเป้าหมายคือการยึดครองรัฐบอลติก มอสโก และยูเครน และกำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้ใกล้กับแนวเอ-เอ เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นแนวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับทะเลขาว ส่วนวัตถุประสงค์ของฮิตเลอร์ คือ การทำลายล้างแสนยานุภาพทางทหารของสหภาพโซเวียต กวาดล้างระบอบคอมมิวนิสต์ และสร้าง "พื้นที่อยู่อาศัย" โดยการใช้กำลังแย่งชิงดินแดนมาจากชนพื้นเมืองเดิม และเป็นการรับประกันการสร้างหนทางซึ่งนำไปสู่การยึดครองทรัพยากรที่จำเป็นต่อทำลายคู่แข่งของเยอรมนีที่ยังเหลืออยู่ แม้ฝ่ายกองทัพแดงจะมีการเตรียมการตีโต้ตอบทางยุทธศาสตร์ไว้ก่อนสงครามก็ตาม แต่ปฏิบัติการบาร์บารอสซาบีบให้กองบัญชาการทหารสูงสุดของโซเวียตปรับใช้แผนตั้งรับทางยุทธศาสตร์แทน ช่วงฤดูร้อน กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะมาตลอด สามารถยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่ และสร้างความเสียหายทั้งทางด้านทรัพยากรและกำลังพลให้แก่สหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ทว่าในช่วงกลางเดือนสิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมนีตัดสินใจที่จะพักการรบของหมู่กองทัพกลางเอาไว้ หลังจากที่กำลังพลมีจำนวนลดลง และแบ่งกลุ่มแพนเซอร์ที่สองไปสมทบกับกองทัพที่กำลังมุ่งหน้าไปยังตอนกลางของยูเครนและเลนินกราด ยุทธการเคียฟประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ส่งผลทำให้กองทัพโซเวียตถูกทำลายไปถึงสี่กองทัพ และทำให้การมุ่งหน้าต่อไปยังคาบสมุทรไครเมียและเขตอุตสาหกรรมพัฒนาแล้วในยูเครนตะวันออกเป็นไปได้ ในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพกว่าสามในสี่ของฝ่ายอักษะ และกองทัพอากาศส่วนใหญ่ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากฝรั่งเศสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังแนวรบด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรได้รีบทำการพิจารณายุทธศาสตร์หลักใหม่ทันที ในเดือนกรกฎาคม สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตก็ได้รวมตัวกันจัดตั้งพันธมิตรทางทหารเพื่อต่อต้านเยอรมนี ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันบุกครองอิหร่านเพื่อรักษาฉนวนเปอร์เซียและแหล่งน้ำมันในอิหร่าน ในเดือนสิงหาคม สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันตั้งกฎบัตรแอตแลนติก ต้นเดือนตุลาคม หลังจากที่กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะในยูเครนและแถบทะเลบอลติก โดยมีเพียงเลนินกราดและเซวัสโตปอลทื่ยังคงรบต้านทานอยู่เท่านั้น ยุทธการมอสโกก็ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่ หลังจากผ่านการรบอย่างหนักเป็นเวลาสองเดือน กองทัพฝ่ายอักษะเกือบจะถึงชานกรุงมอสโกแล้ว กองทัพของฝ่ายอักษะที่อ่อนเปลี้ย ทำให้การบุกนั้นต้องหยุดชะงักไป และถึงแม้ว่าเยอรมนีจะได้ดินแดนมาจำนวนมหาศาล แต่ว่าประสบความล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ สองนครที่สำคัญของโซเวียตยังไม่แตก ขีดความสามารถของกองทัพแดงในการต้านทานการบุกของฝ่ายอักษะยังคงไม่ถูกทำลาย และศักยภาพทางทหารยังคงเหลืออยู่มาก หลังจากนี้ ระยะบลิทซครีกในทวีปยุโรปจึงได้ยุติลงอย่างสมบูรณ์ เมื่อถึงต้นเดือนธันวาคม สหภาพโซเวียตได้รับกองหนุนที่ระดมมาจากพรมแดนด้านตะวันออกซึ่งติดกับเขตแมนจูกัวของญี่ปุ่น ทำให้กองทัพโซเวียตมีปริมาณกำลังพลที่เทียบได้กับกองทัพฝ่ายอักษะ ซึ่งเมื่อประกอบกับการยืนยันจากข้อมูลข่าวกรองแล้วว่า กองทัพโซเวียตในภาคพื้นตะวันออกไกลมีปริมาณเพียงพอที่จะสามารถต้านทานกองทัพคันโตของญี่ปุ่นได้ ในวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพโซเวียตได้ตีโต้ตอบขนานใหญ่ตามแนวรบที่ยาวต่อเนื่องกันกว่า 1,000 กิโลเมตร และสามารถผลักดันกองทัพอักษะได้เป็นระยะทางถึง 100-250 กิโลเมตร ความสำเร็จของเยอรมนีในทวีปยุโรปได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นเพิ่มการกดดันต่อรัฐบาลยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลดัตช์ยินยอมที่จะส่งมอบทรัพยากรน้ำมันจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ แต่ปฏิเสธที่จะยินยอมให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเมืองภายในอาณานิคม ตรงกันข้ามกับฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งยินยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและประเทศตะวันตกตอบโต้การยึดครองดังกล่าวด้วยการอายัดทรัพย์สินของญี่ปุ่น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา (ซึ่งญี่ปุ่นอาศัยนำเข้าน้ำมันเป็นปริมาณกว่าร้อยละ 80) ตอบสนองโดยการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์ ญี่ปุ่นถูกบีบให้เลือกว่าจะล้มเลิกความทะเยอทะยานในการยึดครองทวีปเอเชียและหันกลับไปดำเนินการรบในจีนต่อไป หรือเข้ายึดแหล่งทรัพยากรที่ต้องการด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นไม่พิจารณาถึงทางเลือกแรก และนายทหารระดับสูงจำนวนมากพิจารณาว่าการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นเป็นการประกาศสงครามโดยนัย ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก ในวันที่ 7 ธันวาคม ญี่ปุ่นได้โจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และยกพลขึ้นบกในไทยและมาลายา จากการโจมตีครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน และฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ส่วนทางด้านเยอรมนี อิตาลี และกลุ่มประเทศตามสนธิสัญญาสามฝ่ายก็ได้ตอบสนองโดยการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต และจีน ร่วมด้วยยี่สิบสองรัฐบาลซึ่งเป็นประเทศเล็กหรือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ร่วมกันออกปฏิญญาสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการรับรองกฎบัตรแอตแลนติก แต่สหภาพโซเวียตมิได้ปฏิบัติตามแถลงการณ์ดังกล่าว และคงความตกลงเป็นกลางกับญี่ปุ่น และดำเนินการตัดสินใจตามหลักการพิจารณาของตนเพียงฝ่ายเดียว นับตั้งแต่ ค.ศ. 1941 สตาลินได้ร้องขอเชอร์ชิลล์และโรสเวลต์อย่างต่อเนื่องให้เปิด "แนวรบที่สอง" ขึ้นในฝรั่งเศส แนวรบด้านตะวันออกจะกลายเป็นเขตสงครามหลักของสงครามในยุโรปและสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตของชาวโซเวียตหลายล้านคน ซึ่งทำให้การสูญเสียหลายแสนคนของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเป็นเรื่องเล็กน้อย เชอร์ชิลล์และโรสเวลต์กล่าวว่าพวกเขาต้องการเวลาเตรียมการมากกว่านี้ จึงนำไปสู่การบอกเล่าที่ว่าพวกเขาชะลอเพื่อช่วยชีวิตชาวตะวันตกด้วยราคาของชีวิตชาวโซเวียต เมื่อถึงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นเกือบจะสามารถครอบครองพม่า มาลายา หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ สิงคโปร์ และราบูล โดยสามารถสร้างความเสียหายกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรและจับกุมเชลยศึกได้เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะทำการรบต้านทานอย่างหนัก แต่ฟิลิปปินส์ก็ถูกยึดครองในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องพลัดถิ่น กองทัพญี่ปุ่นยังได้รับชัยชนะในยุทธนาวีหลายครั้งในทะเลจีนใต้ ทะเลจาวาและมหาสมุทรอินเดีย ต่อมา ได้เคลื่อนมาทิ้งระเบิดดาร์วิน และได้รับชัยชนะในการรบทางทะเลในทะเลจีนใต้ ทะเลชวาและมหาสมุทรอินเดีย แต่ความสำเร็จที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรเกิดขึ้นในยุทธการชิงชาครั้งที่สองในตอนต้นของเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เท่านั้น การเอาชนะข้าศึกที่ไม่ทันตั้งตัวนี้ ทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป ทางด้านเยอรมนีก็สามารถทำการรุกต่อได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการบังคับบัญชากองทัพเรือที่ไม่แน่นอนของสหรัฐ กองทัพเรือเยอรมันสามารถทำลายทรัพยากรฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกาได้ ถึงแม้ว่าจะประสบความสูญเสียเป็นจำนวนมาก แต่กองทัพฝ่ายอักษะก็สามารถหยุดยั้งการรุกครั้งใหญ่ของโซเวียตได้ทางตอนกลางและตอนใต้ และยังคงถือครองดินแดนเพิ่มเติมที่ได้รับเข้ามาเมื่อปีที่แล้วอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนในแอฟริกาเหนือ ฝ่ายอักษะได้ทำการบุกอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 เป็นการผลักดันให้กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพกลับไปยังแนวกาซาลาในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก การตีโต้ตอบของกองทัพโซเวียตได้ยุติลงเมื่อเดือนมีนาคม ตามด้วยการยุติการรบชั่วคราวของเยอรมนี ซึ่งใช้เวลาเพื่อวางแผนในการโจมตีในครั้งหน้าต่อไป === จุดเปลี่ยนของสงคราม === ต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้เริ่มวางแผนยึดพอร์ตมอร์สบีในปฏิบัติการโม โดยการโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อเป็นการตัดเส้นทางเสบียงระหว่างสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้าขัดขวางและทำให้ทัพเรือญี่ปุ่นต้องล่าถอยไปได้ในยุทธนาวีทะเลคอรัล และสามารถขัดขวางการบุกครองปาปัวนิวกินีได้สำเร็จ ส่วนแผนการขั้นต่อไปของญี่ปุ่น อันเกิดจากการกระตุ้นหลังกรุงโตเกียวถูกทิ้งระเบิด คือ การยึดครองหมู่เกาะมิดเวย์ รวมไปถึงการล่อเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกมาทำลายในการรบด้วยและในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้ส่งอีกกองทัพหนึ่งไปยึดหมู่เกาะอะลูเชียนในอะแลสกา ในต้นเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นก็ได้งัดเอาแผนของตัวเองออกมาปฏิบัติ แต่ก็ถูกสกัดกั้น เนื่องจากกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจึงได้เตรียมตัวรับมือกับการบุกของญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงใช้ข่าวกรองดังกล่าวกระทั่งได้รับชัยชนะเด็ดขาดในยุทธนาวีมิดเวย์เหนือกองทัพเรือญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นเสียทรัพยากรในการรุกรานไปมากที่มิดเวย์ ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนเป้าหมายไปทำการรบที่การทัพโคโคดะบนดินแดนปาปัว ในความพยายามอีกครั้งหนึ่งในการยึดพอร์ตมอร์สบี สำหรับฝ่ายสหรัฐก็ได้วางแผนที่จะตีโต้ตอบครั้งต่อไปในหมู่เกาะโซโลมอน โดยเริ่มต้นจากเกาะกัวดัลคะแนล อันเป็นก้าวแรกของการเข้ายึดราบูล ซึ่งเป็นฐานทัพเรือหลักของกองทัพญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ แผนการทั้งสองเริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่เมื่อถึงกลางเดือนกันยายน ญี่ปุ่นจำต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทัพกัวดัลคะแนลมากขึ้น และกองทัพญี่ปุ่นในเกาะนิวกินีนั้นได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่เขตพอร์ตมอร์สบีไปยังทางตอนเหนือของเกาะ ที่ซึ่งกองทัพนี้ต้องเผชิญกับกำลังผสมระหว่างสหรัฐกับออสเตรเลีย กัวดัลคะแนลได้กลายเป็นจุดยุทธศาตร์สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดการทุ่มทรัพยากรคนและเรือรบมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการรบ จนกระทั่งในตอนต้นของปี ค.ศ. 1943 กองทัพญี่ปุ่นก็พ่ายแพ้บนเกาะกัวดัลคะแนลและถอยทัพกลับ ในประเทศพม่า กองทัพเครือจักรภพได้รบในสองปฏิบัติการ หนึ่งคือการรุกเข้าไปในแคว้นอาระกันระหว่างการทัพพม่า ในปลายปี ค.ศ. 1942 แต่ก็ประสบความหายนะอย่างร้ายแรง และจำเป็นต้องถอยทัพกลับเข้าสู่อินเดีย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 และปฏิบัติการที่สอง ก็คือ การส่งกองกำลังนอกแบบเข้าทางด้านหลังแนวรบของญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ก็ได้รับผลที่ไม่แน่นอนเท่าใดนัก ขณะที่เหตุการณ์ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันและพันธมิตรฝ่ายอักษะ ยังคงเอาชนะกองทัพโซเวียตที่ยุทธการที่คาบสมุทรเคียร์ชและยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 2 ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้เปิดฉากรุกหนักในฤดูร้อนในกรณีสีน้ำเงินในแถบสหภาพโซเวียตตอนใต้ ระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 เพื่อยึดครองแหล่งขุดเจาะน้ำมันทุกแห่งในแถบคอเคซัสและทุ่งหญ้าสเตปป์คูบานอันกว้างใหญ่ เยอรมนีแบ่งหมู่กองทัพใต้ออกเป็นสองส่วน หมู่กองทัพเอถูกส่งไปโจมตีแม่น้ำดอนตอนล่าง ขณะที่หมู่กองทัพบีถูกส่งไปโจมตีทางตะวันตกเฉียงใต้โดยมุ่งหน้าไปยังคอเคซัสและแม่น้ำวอลกา กองทัพโซเวียตได้ตัดสินใจที่จะตั้งรับที่สตาลินกราด ซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของฝ่ายอักษะ ตอนกลางเดือนพฤศจิกายน กองทัพอักษะเกือบจะพิชิตสตาลินกราดในการสงครามเมืองอันขมขื่นแล้ว แต่กองทัพโซเวียตก็ทำการตีโต้ตอบในฤดูหนาวเป็นครั้งที่สอง โดยเริ่มจากการโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่สตาลินกราด ตามด้วยการโจมตีสันเขารเจฟ ใกล้กรุงมอสโก แม้ว่าจะปราชัยย่อยยับในภายหลังก็ตาม ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันประสบกับความสูญเสียมหาศาล และกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดถูกบีบบังคับให้ยอมจำนน แนวรบด้านตะวันออกถูกผลักดันไปยังจุดก่อนการรุกในฤดูร้อน กลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่การตีโต้ตอบของโซเวียตหยุดชะงัก กองทัพเยอรมันได้โจมตีฮาร์คอฟอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นแนวรบที่ยื่นเข้าไปในดินแดนของโซเวียตรอบเคิสก์ ทางด้านตะวันตก ด้วยความวิตกกังวลว่าญี่ปุ่นอาจใช้เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นฐานทัพของฝรั่งเศสเขตวีชี กองทัพอังกฤษจึงสั่งดำเนินการโจมตีเกาะมาดากัสการ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 และทางด้านการทัพแอฟริกาเหนือ การโจมตีครั้งล่าสุดของฝ่ายอักษะที่ยุทธการที่กาซาลา ได้ผลักดันให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรให้กลับเข้าสู่อียิปต์ จนกระทั่งการบุกต้องหยุดชะงักที่เอล อาลาเมน ระหว่างการรบในช่วงนี้ บนยุโรปภาคพื้นทวีป หน่วยคอมมานโดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตีโฉบฉวยเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ และจบลงด้วยการตีโฉบฉวยดีแยป ซึ่งผลเป็นความหายนะ แสดงให้เห็นถึงความไม่สามารถของฝ่ายพันธมิตรตะวันตกในการออกปฏิบัติการบุกครองยุโรปภาคพื้นทวีปโดยปราศจากการเตรียมการยุทโธปกรณ์และความมั่นคงทางปฏิบัติการมากกว่านี้ ในเดือนสิงหาคม กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถผลักดันแนวรบฝ่ายอักษะให้ถอยไปในยุทธการเอลแอละเมนครั้งที่สอง และด้วยการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างสูงลิบ ก็สามารถขนทรัพยากรที่ต้องการไปให้เมืองมอลต้าที่ถูกปิดล้อมเอาไว้ได้ในปฏิบัติการฐานเสาหิน จากนั้น ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการเอลแอละเมนครั้งที่สองในอียิปต์ ทางด้านอังกฤษและประเทศเครือจักรภพก็เริ่มเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกสู่ประเทศลิเบีย ไม่นานหลังจากที่การบุกครองแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสของสหรัฐอเมริกา-สหราชอาณาจักร ซึ่งก็ได้ชัยชนะ และเป็นผลให้ดินแดนดังกล่าวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์ได้ตอบสนองต่อการเอาใจออกห่างของอาณานิคมฝรั่งเศสโดยการออกคำสั่งยึดครองฝรั่งเศสเขตวีชี ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสเขตวีชีจะไม่ละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลงหยุดยิง แต่กระทรวงทหารเรือของฝรั่งเศสเขตวีชีได้จัดการจมกองทัพเรือของตนเพื่อมิให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายเยอรมนี เมื่อถูกบีบจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้กองทัพฝ่ายอักษะต้องถอยร่นไปตั้งรับในตูนิเซีย ซึ่งนำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 === ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งหลักได้ === ภายหลังจากการทัพเกาะกัวดัลคะแนล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารมากมายต่อกองทัพญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 กองทัพอเมริกันถูกส่งออกไปโจมตีกองทัพญี่ปุ่นจากหมู่เกาะอะลูเชียน และเริ่มต้นปฏิบัติการหลักในการโดดเดี่ยวเมืองราบูล โดยการยึดครองเกาะรอบ เพื่อตัดขาดกำลังสนับสนุน และการฝ่าช่องโหว่ในแนวป้องกันในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็สามารถประสบความสำเร็จทั้งในสองปฏิบัตการ และยังสามารถทำลายฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ในบริเวณหมู่เกาะแคโรไลน์ เมื่อถึงเดือนเมษายน กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้เริ่มปฏิบัติการที่จะยึดครองเกาะนิวกินีตะวันตก ในสหภาพโซเวียต ทั้งเยอรมนีและโซเวียตต่างตระเตรียมแผนการสำหรับการรุกครั้งใหญ่ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ค.ศ. 1943 แถบรัสเซียตอนกลาง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันเริ่มเข้าตีกำลังโซเวียตรอบแนวยื่นที่เคิสก์ แต่ฮิตเลอร์กลับต้องยกเลิกแผนการนี้แม้ว่าจะผ่านไปเพียงสัปดาห์เดียว เนื่องจากสูญเสียต่อการวางระบบป้องกันเป็นขั้น ๆ อย่างลึกและการป้องกันที่สร้างไว้อย่างดี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ฮิตเลอร์มีพฤติการณ์ดังกล่าว แม้ว่าปฏิบัติการดังกล่าวจะยังไม่บรรลุผลทางยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีเลยก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวบางส่วนเป็นผลมาจากการบุกครองเกาะซิซิลีของสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ประกอบกับความล้มเหลวของอิตาลีที่ผ่านมา ส่งผลให้มุสโสลินีถูกขับออกจากตำแหน่งและถูกจับกุมหลังจากนั้น วันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 สหภาพโซเวียตได้ทำการตีโต้ตอบของตน และดับความหวังใด ๆ ของกองทัพเยอรมันที่จะชนะหรือกระทั่งรักษาสถานการณ์คุมเชิงไว้ได้อีกในทางตะวันออก ชัยชนะที่เคิสก์ของโซเวียตนำพาให้ความเหนือกว่าของเยอรมนีเสื่อมลง และให้สหภาพโซเวียตกลับเป็นฝ่ายริเริ่มในแนวรบด้านตะวันออก ทหารเยอรมันพยายามสร้างความมั่นคงแก่แนวรบด้านตะวันออกของตนตามแนวพันเทอร์-โวทันที่มีการเสริมอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี ฝ่ายโซเวียตสามารถตีผ่านแนวดังกล่าวได้ที่สโมเลนสก์และโดยการรุกโลวเออร์นีเปอร์ เดือนกันยายน ค.ศ. 1943 สัมพันธมิตรตะวันตกเริ่มการบุกครองแผ่นดินใหญ่อิตาลี ตามด้วยการสงบศึกกับสัมพันธมิตรของอิตาลี เยอรมนีสนองโดยการปลดอาวุธกองทัพอิตาลี ยึดการควบคุมทางทหารในพื้นที่อิตาลีทั้งหมด และสร้างแนวป้องกันขึ้นมาหลายชั้นด้วยกัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน กองกำลังพิเศษเยอรมันช่วยเหลือตัวมุสโสลินี และสถาปนารัฐบริวารในอิตาลีส่วนที่ถูกเยอรมนียึดครอง ชื่อว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ฝ่ายกองทัพสัมพันธมิตรทะลวงผ่านแนวป้องกันเยอรมันได้หลายแนว จนถึงแนวป้องกันหลักของเยอรมนีเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ทางด้านการรบทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติก กองทัพเรือเยอรมันประสบความสูญเสียอย่างหนักในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 จนถูกเรียกว่า "พฤษภาอนธการ" ความสูญเสียกองเรือดำน้ำของฝ่ายเยอรมนีเป็นจำนวนมาก ทำให้การดักทำลายกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรต้องหยุดชะงัก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 แฟรงกลิน โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้เดินทางไปพบกับเจียง ไคเช็ค ระหว่างการประชุมกรุงไคโร และอีกครั้งกับโจเซฟ สตาลินระหว่างการประชุมเตหะราน และผลจากการประชุมทั้งสองครั้งได้ข้อตกลงว่า สัมพันธมิตรตะวันตกจะบุกครองยุโรปภายในปี ค.ศ. 1944 และสหภาพโซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นภายในสามเดือนหลังเยอรมนียอมแพ้ เดือนมกราคม ค.ศ. 1944 กองทัพสัมพันธมิตรได้เข้าตีหลายครั้งที่มอนเตกัสซีโน และพยายามตีโอบด้วยการยกพลขึ้นบกที่อันซิโอ เมื่อถึงปลายเดือนมกราคม กองทัพโซเวียตก็สามารถขับไล่กองทัพเยอรมันออกจากมณฑลเลนินกราด ยุติการล้อมที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ปฏิบัติการรุกในเวลาต่อมาของโซเวียตถูกหยุดตรงพรมแดนเอสโตเนียก่อนสงคราม ซึ่งกองทัพกลุ่มเหนือของเยอรมนีได้รับความช่วยเหลือจากชาวเอสโตเนีย ด้วยหวังจะสถาปนาเอกราชของชาติใหม่ ความล่าช้านี้ได้ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการในแถบทะเลบอลติก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 กองทัพโซเวียตปลดปล่อยคาบสมุทรไครเมีย โดยสามารถขับไล่กองทัพอักษะออกจากยูเครนขนานใหญ่ และเริ่มทำการรุกเข้าไปยังโรมาเนีย ซึ่งถูกขับไล่โดยกองทัพอักษะ พร้อมกับที่การรุกอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จ และบังคับให้กองทัพเยอรมันต้องล่าถอยไป และในวันที่ 4 มิถุนายน โรมก็ตกอยู่ในมือของฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการบุกครองหนึ่งในสองครั้ง คือ ปฏิบัติการต่อที่ตั้งของอังกฤษในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย และสามารถล้อมที่ตั้งของเครือจักรภพได้ที่อิมผาลและโกหิมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 กำลังอังกฤษรุกโต้ตอบกองทัพญี่ปุ่นกลับไปยังพม่า และกองทัพจีนซึ่งบุกครองพม่าตอนเหนือเมื่อปลาย ค.ศ. 1943 ได้ล้อมกองทัพญี่ปุ่นไว้ที่มิตจีนา การบุกครองครั้งที่สองของญี่ปุ่นเป็นความพยายามที่จะทำลายกำลังรบหลักของจีน สร้างความปลอดภัยแก่ทางรถไฟระหว่างดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดไว้และยึดสนามบินของสัมพันธมิตร เมื่อถึงเดือนมิถุนายน กองทัพญี่ปุ่นสามารถพิชิตมณฑลเหอหนานและเริ่มต้นการเข้าตีฉางชาใหม่ในมณฑลหูหนาน === ฝ่ายสัมพันธมิตรรุกคืบ === 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกได้ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์ม็องดีในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด และหลังจากการมอบหมายหน้าที่ให้กับกองทัพสัมพันธมิตรหลายกองพลในอิตาลีแล้ว จึงเริ่มการรุกเข้าสู่ฝรั่งเศสตอนใต้ในเดือนสิงหาคม จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสได้ในวันที่ 25 สิงหาคม และในช่วงเวลาต่อมากระทั่งสิ้นปี กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันกำลังเยอรมันในยุโรปตะวันตกกลับไปถึงแม่น้ำไรน์ แต่ความพยายามที่จะรุกเข้าสู่เยอรมนีตอนเหนือ ซึ่งนำโดยปฏิบัติการพลร่มครั้งใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ จบลงด้วยความล้มเหลว จากนั้น สัมพันธมิตรตะวันตกผลักเข้าสู่เยอรมนีอย่างช้า ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการข้ามแม่น้ำรูร์อีกครั้งในการรุกครั้งใหญ่ ในอิตาลี การรุกของสัมพันธมิตรก็ช้าลงเช่นกัน เมื่อถึงแนวป้องกันหลักสุดท้ายของเยอรมนี ส่วนทางด้านแนวรบด้านตะวันออก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน กองทัพโซเวียตได้กระหน่ำโจมตีเป็นชุดอย่างหนักต่อเยอรมนี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไล่ตั้งแต่ปฏิบัติการบากราติออนในเบลารุส ซึ่งสามารถทำลายกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีลงเกือบทั้งหมด ตามด้วยปฏิบัติการในการขับไล่ทหารเยอรมันออกจากยูเครนตะวันตกและโปแลนด์ตะวันออก ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ขบวนการกู้ชาติโปแลนด์ได้เริ่มต้นก่อการจลาจล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงวอร์ซอ และในสโลวาเกียทางตอนใต้ แต่จลาจลทั้งสองครั้งไม่ได้รับการสนับสนุนจากกำลังโซเวียตเลย และถูกกองทัพเยอรมันปราบปราม ส่วนการโจมตีโรมาเนียได้ทำลายกองทัพเยอรมันไปเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดการรัฐประการในโรมาเนียและบัลแกเรีย ส่งผลให้ประเทศทั้งสองเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรแทน ในเดือนกันยายน 1944 กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพไปยังยูโกสลาเวีย ทำให้กองทัพกลุ่มอีและกองทัพกลุ่มเอฟในกรีซ แอลเบเนีย และยูโกสลาเวียต้องถอยร่นอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้ถูกตัดออกจากกำลังส่วนอื่น ๆ เมื่อถึงจุดนี้ พลพรรคชาวยูโกสลาฟภายใต้การนำของจอมพล ยอซีป บรอซ ตีโต ซึ่งได้ครอบครองดินแดนจำนวนมากในยูโกสลาเวียและโจมตีกองทัพเยอรมันต่อไปทางทิศใต้ ในเซอร์เบีย กองทัพแดงได้มีส่วนช่วยเหลือพลพรรคในการปลดปล่อยกรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ไม่กี่วันหลังจากนั้น กองทัพแดงได้โจมตีฮังการีครั้งใหญ่ในการรุกบูดาเปสต์ ซึ่งกินเวลานานก่อนที่กรุงบูดาเปสต์จะแตกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะประสบความสำเร็จในคาบสมุทรบอลข่าน แต่การต่อต้านของฟินแลนด์ต่อปฏิบัติการของโซเวียตบนคอคอดแครีเลียน ได้ปฏิเสธการยึดครองของสหภาพโซเวียต ก่อนจะมีการนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกด้วยเงื่อนไขที่เสียเปรียบเพียงเล็กน้อย และทำให้ฟินแลนด์เปลี่ยนมาอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรแทน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม กองทัพเครือจักรภพ ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถคลายวงล้อมของกองทัพญี่ป่นที่รัฐอัสลัมลงได้ และสามารถผลักดันให้กองทัพญี่ปุ่นถอยไปได้จนถึงแม่น้ำชินด์วินด์ ขณะที่กองทัพจีนสามารถยึดเมืองมยิตคยินาในประเทศพม่าได้ ส่วนทางด้านประเทศจีน กองทัพญี่ปุ่นเริ่มได้รับชัยชนะอย่างมาก จากการยึดเมืองฉางชาไว้ได้ในที่สุดในตอนกลางเดือนมิถุนายน และยึดเมืองเหิงหยางได้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม จากนั้นจึงได้เคลื่อนทัพต่อไปยังมณฑลกวางสี สามารถเอาชนะกองกำลังจีนได้ที่กุ้ยหลินและหลิวโจว เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน และประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกองทัพญี่ปุ่นในจีนและในคาบสมุทรอินโดจีนในกลางเดือนธันวาคม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพอเมริกันยังคงกดดันแนวป้องกันของญี่ปุ่นตามหมู่เกาะต่าง ๆ ต่อไป ราวกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 กองทัพอเมริกันเริ่มการโจมตีหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา และได้รับชัยชนะเด็ดขาดต่อกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินส์ภายในเวลาไม่กี่วัน ผลของความปราชัยนี้นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของพลเอกโตโจ และทำให้สหรัฐอเมริกามีฐานทัพอากาศซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักเพื่อโจมตีแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่นได้ ปลายเดือนตุลาคม กองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือของสัมพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ต่อกองทัพญี่ปุ่นอีกครั้งในยุทธนาวีอ่าวเลย์เต ซึ่งถือได้ว่ายุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ === อักษะล่มสลาย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัย === วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันได้พยายามอย่างเข้าตาจนเพื่อความสำเร็จโดยการเรียกระดมกองหนุนเยอรมัน และตีโต้ตอบครั้งใหญ่ที่ป่าอาร์เดินเนส เพื่อที่จะแบ่งแยกฝ่ายพันธมิตรตะวันตก โอบล้อมกองกำลังฝ่ายพันธมิตรตะวันตกขนาดใหญ่และยึดครองเมืองท่าเสบียงที่สำคัญที่อันท์เวิร์พ เพื่อที่จะรักษาความสงบทางการเมือง ซึ่งกินเวลาจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 โดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์แต่อย่างใดเลย ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตโจมตีถึงฮังการี และกองทัพเยอรมันจำเป็นต้องทิ้งกรีซและยูโกสลาเวีย ขณะที่ในอิตาลี กองทัพสัมพันธมิตรยังคงไม่สามารถโจมตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมันได้ และกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตโจมตีโปแลนด์ สามารถผลักดันกองทัพเยอรมันจากแม่น้ำวิสตูลาถึงแม่น้ำโอเดอร์ในเยอรมนี และยึดครองปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมการประชุมที่ยัลตา ซึ่งได้ข้อสรุปถึงการแบ่งปันดินแดนของเยอรมนีภายหลังสงคราม และกำหนดเวลาที่สหภาพโซเวียตจะเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เข้าสู่แผ่นดินของเยอรมนีและเข้าประชิดแม่น้ำไรน์ ขณะที่กองทัพโซเวียตโจมตีพอเมอเรเนียตะวันออกและไซลีเซีย เมื่อถึงเดือนมีนาคม กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้ามแม่น้ำไรน์ทั้งทางเหนือและทางใต้ของแคว้นไรน์-รูร์ และสามารถล้อมกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่เอาไว้ ส่วนด้านกองทัพโซเวียตสามารถรุกเข้าถึงกรุงเวียนนา ในที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรตะวันดกก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันได้ในอิตาลี และสามารถโจมตีได้ทางตะวันตกของเยอรมนี เมื่อต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ขณะที่ปลายเดือนเดียวกัน กองทัพโซเวียตเข้าถล่มกรุงเบอร์ลิน กองทัพฝ่ายพันธมิตรตะวันตกและกองทัพโซเวียตได้มาบรรจบกันที่แม่น้ำเอลเบอ เมื่อวันที่ 25 เมษายน เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 อาคารรัฐสภาไรชส์ทาคถูกยึดครอง แสดงถึงความพ่ายแพ้ทางการทหารของนาซีเยอรมนี ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน โรสเวลต์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือรองประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ขณะที่เบนิโต มุสโสลินีถูกสังหารโดยขบวนการกู้ชาติอิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน และอีกสองวันให้หลัง ฮิตเลอร์ทำพินัยกรรมมอบอำนาจให้กับจอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ และยิงตัวตายในฟือเรอร์บุงเคอร์ หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันในอิตาลีได้ยอมแพ้ในวันที่ 29 เมษายน ส่วนเยอรมนีได้ยอมแพ้ในยุโรปตะวันตกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ทว่ากองทัพเยอรมันยังรบกับกองทัพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออกต่อไปถึงวันที่ 8-9 พฤษภาคม ส่วนกองทัพเยอรมันที่เหลือเพียงเล็กน้อยได้ทำการสู้รบต้านทานกับกองทัพโซเวียตในกรุงปรากกระทั่งยอมจำนนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพสหรัฐอเมริกาได้รุกเข้าสู่ฟิลิปปินส์ หลังจากได้ชัยในเกาะเลเตเมื่อปลายปี ค.ศ. 1944 จากนั้นก็ยกพลขึ้นบกที่ลูซอน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 และสามารถยึดกรุงมะนิลาคืนได้ในเดือนมีนาคม; การรบบนเกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และเกาะอื่น ๆ ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม ในเดือนพฤษภาคม กองกำลังออสเตรเลียยกพลขึ้นบกบนเกาะบอร์เนียว และสามารถยึดครองบ่อน้ำมันที่นั่นได้ กองกำลังอังกฤษ อเมริกัน และจีนก็สามารถเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในพม่าตอนเหนือเมื่อเดือนพฤษภาคม และกองทัพอังกฤษรุดหน้าไปถึงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม กองทัพอเมริกันยังคงมุ่งหน้าเข้าสู่ญี่ปุ่น สามารถยึดเกาะอิโวะจิมะได้ในเดือนมีนาคม และยึดเกาะโอะกินะวะได้ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ของญี่ปุ่น และเรือดำน้ำอเมริกันก็เข้าปิดล้อมเกาะญี่ปุ่น ตัดขาดการนำเข้าจากภายนอก วันที่ 11 กรกฎาคม บรรดาผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมที่พ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี ได้ข้อสรุปว่า ที่ประชุมให้การรับรองเกี่ยวกับข้อตกลงต่าง ๆ กับเยอรมนีก่อนหน้านี้ และย้ำถึงความจำเป็นของญี่ปุ่นที่จะต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวที่ว่า "ทางเลือกสำหรับญี่ปุ่นคือการทำลายล้างฉับพลันสิ้นซาก" ระหว่างการประชุมนี้ สหราชอาณาจักรจัดการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1945 และคลีเมนต์ แอตลีย์ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรแทนวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีคนเดิม เมื่อญี่ปุ่นได้ปฏิเสธข้อเสนอที่พ็อทซ์ดัม สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกบนแผ่นดินญี่ปุ่นที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูก สหภาพโซเวียตก็ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และโจมตีแมนจูเรียของญี่ปุ่น ตามข้อตกลงยัลตา ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้ลงนามในตราสารยอมจำนนอย่างเป็นทางการ และเป็นจุดจบของสงครามด้วยเช่นกัน == หลังสงคราม == ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สถาปนาการบริหารยึดครองในออสเตรียและเยอรมนี ออสเตรียนั้นได้กลายมาเป็นรัฐที่เป็นกลางทางการเมือง โดยไม่อิงกับกลุ่มการเมืองใด ๆ ส่วนเยอรมนีนั้นถูกแบ่งออกเป็นเขตยึดครองฝั่งตะวันตกและตะวันออกซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียตตามลำดับ โครงการขจัดความเป็นนาซี (Denazification) ในเยอรมนีได้นำไปสู่การฟ้องอาชญากรสงครามนาซีและการปลดอดีตผู้นำนาซีลงจากอำนาจ แต่ต่อมานโยบายนี้ได้เปลี่ยนไปเป็นการนิรโทษกรรมและการยอมรับอดีตนาซีเข้ากับสังคมเยอรมนีตะวันตกอีกครั้ง เยอรมนีสูญเสียพื้นที่ไปหนึ่งในสี่จากพื้นที่เมื่อ ค.ศ. 1937 พื้นที่ทางตะวันออก ได้แก่ ไซลีเซีย นอยมาร์ค และส่วนใหญ่ของพอเมอเรเนียถูกผนวกเข้ากับโปแลนด์ ปรัสเซียตะวันออกถูกแบ่งระหว่างโปแลนด์กับสหภาพโซเวียต ตามด้วยการขับไล่ชาวเยอรมัน 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ เช่นเดียวกับชาวเยอรมัน 3 ล้านคนออกจากซูเดเตนแลนด์ในเชโกสโลวาเกียไปยังเยอรมนี ภายในคริสต์ทศวรรษ 1950 ชาวเยอรมันตะวันตกหนึ่งในห้าคนเป็นผู้ลี้ภัยมาจากทางตะวันออก สหภาพโซเวียตยังได้ยึดครองจังหวัดของโปแลนด์ที่อยู่ทางตะวันออกของเส้นเคอร์ซอน ซึ่งชาวโปแลนด์กว่า 2 ล้านคนถูกขับไล่ออกมาด้วย การยึดครองนี้รวมไปถึงโรมาเนียตะวันออก บางส่วนของฟินแลนด์ตะวันออก และรัฐบอลติกทั้งสาม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น ด้วยความพยายามที่จะรักษาสันติภาพทั่วโลก โดยมีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 และปรับใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในปี ค.ศ. 1948 อันเป็นมาตรฐานสามัญซึ่งทุกชาติสมาชิกจะต้องบรรลุ ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียตได้เสื่อมลงตั้งแต่ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะจบลงแล้ว และชาติอภิมหาอำนาจแต่ละฝ่ายต่างก็เริ่มสร้างเขตอิทธิพลของตนเองอย่างรวดเร็ว ทวีปยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้วยอิทธิพลของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ม่านเหล็ก" ซึ่งได้ลากผ่านประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรีย สหภาพโซเวียตได้สร้างค่ายตะวันออกขึ้น โดยการผนวกดินแดนหลายประเทศซึ่งถูกยึดครองอยู่ในลักษณะของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ซึ่งเดิมจะต้องผนวกรวมเข้ากับเยอรมนี ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ อย่างเช่น โปแลนด์ตะวันออก รัฐบอลติกทั้งสาม บางส่วนของฟินแลนด์ตะวันออก และโรมาเนียตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนรัฐอื่นที่สหภาพโซเวียตยึดครองในระหว่างสงครามก็ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต อย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก สาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย สาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย และเยอรมนีตะวันออกภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต ในทวีปเอเชีย สหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดครองญี่ปุ่น และดำเนินการปกครองหมู่เกาะต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ขณะที่สหภาพโซเวียตก็เข้ายึดครองเกาะซาฮาลินและหมู่เกาะคูริล ส่วนเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้น ก็ถูกแบ่งแยกและถูกยึดครองโดยสองขั้วอำนาจ จากความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งพันธมิตรเนโท และทางสหภาพโซเวียตก็ได้ก่อตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้น ทั้งสององค์การทางทหารนี้อาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นไม่นาน เกิดเหตุการณ์เกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้ขึ้น ระหว่างเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยจีนและสหภาพโซเวียต กับเกาหลีใต้ภายใต้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติ ซึ่งทึ่สุดแล้วจบลงด้วยการเสมอกันและสัญญาหยุดยิง หลังจากนั้น ผู้นำเกาเหลีเหนือ คิม อิลซอง ได้สร้างรูปแบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก รวมทั้งก่อให้เกิดลัทธิบูชาบุคคลอันน่าเกรงขาม หลายประเทศซึ่งถูกชาติตะวันตกยึดครองเป็นอาณานิคม ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกมาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความสูญเสียทรัพยากรของชาติตะวันตก ทำให้อิทธิพลจากภายนอกอ่อนแอลง โดยการแยกตัวดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างสันติในหลายประเทศ ยกเว้นในเวียดนาม มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย และแอลจีเรีย ในอีกหลายพื้นที่ในโลก ทำให้เกิดเป็นประเทศใหม่ขึ้นมามากมาย ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมและศาสนา การประกาศเอกราชที่โดดเด่นมาก คือ ปาเลสไตน์ในอาณัติอังกฤษ อันนำไปสู่การก่อตั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ และในอินเดียก็เกิดการแตกออกเป็นสองประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองมีความแตกต่างกันในหลากหลายภูมิภาคของโลก และพบว่าในหลายประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในทางบวก เช่น เยอรมนีตะวันตก ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนอยู่ในสถานะก่อนสงครามได้ในคริสต์ทศวรรษ 1950 อิตาลี ซึ่งออกจากสงครามด้วยสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เศรษฐกิจของอิตาลีก็มีอัตราการเติบโตสูงและมีเสถียรภาพ สหราชอาณาจักรออกจากสงครามด้วยเศรษฐกิจตกต่ำเช่นกัน แต่สภาพทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงถดถอยอีกเป็นเวลากว่าทศวรรษ ฝรั่งเศสก็มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างรวดเร็วเช่นกัน และมีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีการดำเนินตามสมัยนิยม สหภาพโซเวียตก็มีอัตราการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังสงคราม และญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราการเติบโจทางเศรษฐกิจสูงมาก จนกระทั่งก้าวขึ้นเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จีน ซึ่งเป็นประเทศล้มละลายจากผลของสงครามกลางเมือง แต่ในปี ค.ศ. 1953 เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว และมีอัตราการผลิตกลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาที่มีผลผลิตทางอุตสาหกรรมคิดเป็นครึ่งหนึ่งของโลก แต่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็ถดถอยอย่างหนัก == ผลกระทบของสงคราม == === ความสูญเสียและอาชญากรรมสงคราม === ได้มีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สองไว้อย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ได้เสนอว่าคิดเป็นจำนวนมากกว่า 60 ล้านคน ประกอบไปด้วยทหารอย่างน้อย 22 ล้านคน และพลเรือนอย่างน้อย 40 ล้านคน สาเหตุเสียชีวิตของพลเรือนส่วนใหญ่นั้นมาจากโรคระบาด การอดอาหาร การฆ่าฟัน และการทำลายพืชพันธุ์ ด้านสหภาพโซเวียตสูญเสียประชากรราว 27 ล้านคนระหว่างช่วงสงคราม คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความสูญเสียทั้งหมดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จากความสูญเสียร้อยละ 85 เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวโซเวียต) และร้อยละ 15 เป็นของฝ่ายอักษะ มีการประมาณว่ามีพลเรือนราว 12 ล้านคนเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี 1.5 ล้านคนจากการทิ้งระเบิด และสาเหตุอื่นๆ ในยุโรปอีก 7 ล้านคน รวมไปถึงอีก 7.5 ล้านคนในจีน โดยเหตุการณ์ที่โด่งดัง ได้แก่ การสังหารหมู่ที่นานกิง โดยสาเหตุที่ตัวเลขความสูญเสียมีความแตกต่างกันมากนั้นมีสาเหตุมาจากว่าการตายส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ จำนวนการเสียชีวิตจำนวนมากเป็นผลมาจากการล้างชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ และอาชญากรรมสงครามอื่น ๆ ซึ่งถูกกระทำโดยชาวเยอรมันและชาวญี่ปุ่น โดยเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของอาชญากรรมสงครามชาวเยอรมัน ได้แก่ ฮอโลคอสต์ ซึ่งเป็นการล้างชาติอย่างเป็นระบบในเขตยึดครองของเยอรมนีและพันธมิตร โดยนอกจากชาวยิวแล้ว ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มความคิดอื่น ๆ ถูกสังหารอีกเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านคน และด้านทหารญี่ปุ่นก็ได้สังหารพลเรือนราว 3 - 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ระหว่างสงครามโลกครั้งทีสอง ส่วนญี่ปุ่นได้ใช้อาวุธดังกล่าวใน
thaiwikipedia
1,270
คาร์ฟูร์
คาร์ฟูร์ (Carrefour) เป็นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส มีสาขาอยู่ทั่วโลก ถ้าคิดจากรายได้แล้ว คาร์ฟูร์จะเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงวอลมาร์ต ==ประวัติ== คาร์ฟูร์เปิดร้านสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ซึ่งเป็นเพียงแค่ร้านแค่เล็กๆตั้งอยู่ย่านปริมณฑลของเมืองอานซี (Annecy) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทางแยก (คำว่า "ทางแยก" ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Carrefour) โดย มาร์เซล โฟร์เนียร์ , เดนิส ดอฟเฟรี่ และ จัสเคย์ ดอฟเฟรี่ ซึ่งในปัจจุบันสาขานี้เป็นสาขาที่เล็กที่สุดในโลกของคาร์ฟูร์ ปี ค.ศ. 1970 คาร์ฟูร์มีสาขารวม 7 แห่งและคาร์ฟูร์ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ในปี ค.ศ. 1972 เปิดได้เปิดสาขาที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ 24,000 ตารางเมตรขึ้นที่เมืองตูลูส และปี ค.ศ. 1985 คาร์ฟูร์ก็ได้ผลิตสินค้าในตราสัญลักษณ์ของคาร์ฟูร์ ออกสู่ตลาด จนในปี ค.ศ. 1992 คาร์ฟูร์มีสาขาทั้งหมด 120 สาขา == คาร์ฟูร์ในต่างประเทศ == ===เอเชีย=== คาร์ฟูร์ในอิหร่านและปากีสถาน อนู่ภายใต้การดำเนินการของ MAF ภายใต้ชื่อไฮเปอร์สตาร์ ===แอฟริกา=== คาร์ฟูร์ขายกิจการในแอลจีเรียและเปิดสาขาที่โมร็อกโกในปีเดียวกัน นอกจากนี้ในตูนิเซีย ยังมี "คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต" 37 สาขา และ 32 สาขา ในรูปแบบ คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส ===ยุโรป=== ใน วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2008 คาร์ฟูร์ขายธุรกิจในรัสเซียโดยอ้างถึง "การขาดโอกาสในการเติบโตและการเติบโตทางชีวภาพที่เพียงพอ" ===อเมริกา=== คาร์ฟูร์มีสำนักงานอยู่ใน 3 ประเทศในอเมริกา ได้แก่ บราซิล (ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดนอกประเทศฝรั่งเศส) อาร์เจนตินาและสาธารณรัฐโดมินิกัน คาร์ฟูร์มีบทบาทในการกระจายสินค้าปลีก 3 ประเภทคือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์มาร์เก็ต และ hard discounters คาร์ฟูร์ยังเคยเปิดในเม็กซิโกระหว่างปี พ. ศ. 2538 ถึง 2548 และยังเคยเปิดสาขาในโคลอมเบียและปิดกิจการสาขาทั้งหมดในปี ค.ศ. 2012 และ ร้านค้าปลีกสัญชาติชิลี Cencosud ยังซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศชิลีทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น "จัมโบ้" ==รูปแบบร้าน== ไฮเปอร์มาร์เก็ต: คาร์ฟูร์, Atacadão, ซูเปอร์มาร์เก็ต: คาร์ฟูร์ ไบอาโร่, คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต แชมป์เปี้ยน, โกบิ, จีบี ซูเปอร์มาร์เก็ต, จีเอส, คาร์ฟูร์ มินิ, จีม่า, ซูเปโก ร้านสะดวกซื้อ: คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส, คาร์ฟูร์ ซิตี้, คาร์ฟูร์ คอนแทค, Carrefour Montagne, 5 minutes, 8 à Huit, มาร์เช่ พลัส, Proxi, Sherpa, Dìperdì, สไมล์ มาร์เก็ต, เอ็กซ์เพลส, โชปี ร้านขายส่ง (Cash & carry): Promocash, ดอช มาร์เก็ต, Gross IPer == คาร์ฟูร์ในประเทศไทย == บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด เป็นชื่อของคาร์ฟูร์ เมื่อเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยชื่อมาจาก central + carrefour เนื่องด้วยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น (ซีอาร์ซี) และ คาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ในอัตราส่วน 60:40 ในปีพ.ศ. 2539 แต่ภายหลัง ซีอาร์ซี ได้จำนองหุ้นระยะยาวให้กับคาร์ฟูร์ เนื่องด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 แต่ตามพรบ.ค้าปลีกฯ ไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด หุ้นจำนวนดังกล่าวจึงอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทนและดำเนินธุรกิจเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2553 ทางคาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ได้ตัดสินใจถอนการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่สามารถสร้างผลกำไรได้มากเป็นปีที่ 5 โดยเบื้องต้นมีผู้เสนอเข้าประมูลกิจการถึง 4 ราย คือ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), Casino Guichard-Perrachon หรือกลุ่มคาสิโน จากประเทศฝรั่งเศส (ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BJC) และ ปตท. จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 กลุ่มคาสิโนได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร (ประมาณ 25,044,000,000 บาท) โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทจะร่วมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขาทันที จาก 60 สาขา คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท และยังส่งผลให้ตลาดค้าปลีกในประเทศไทยเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่เท่านั้น ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งกิจการก็ได้ควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2554 และบิ๊กซีได้บูรณะห้างคาร์ฟูร์จำนวนทั้งหมด 41 สาขาให้กลายเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 25 สาขา, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 15 สาขา, บิ๊กซี จัมโบ้ 1 สาขาซึ่งเป็นสาขาทดลองตลาด โดยบิ๊กซีได้กำหนดแบรนด์ใหม่ที่จะมาใช้แทนคาร์ฟูร์คือ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า เป็นการนำเอาจุดเด่นในด้านการคัดสรรสินค้าจากทุกมุมโลกและการบริการที่เป็นเลิศของคาร์ฟูร์ มารวมกับราคาคุณภาพของบิ๊กซี เพื่อจับกลุ่มลูกค้าในระดับ A+ โดยเฉพาะ ทั้งนี้เป็นผลการศึกษาการให้บริการของ Extra ที่เป็นแบรนด์ไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศบราซิลของกลุ่มคาสิโน ==ข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อถกเถียง== เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พนักงานกว่า 30 คนของคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง หลังจากได้รับผลกระทบจาก CO2 ซึ่งตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้าซึ่งมีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 บริษัท ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาปลอมแปลงโฆษณา โดยคาร์ฟูร์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาไว้ไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัท ยังถูกตัดสินลงโทษในการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนและรับสินบนจากผู้ค้าส่ง คาร์ฟูร์ได้รับคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวน 2 ล้านยูโร ในคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีชั้นวางของโลหะสูง 5 เมตรวางทับอยู่บนเด็กชายอายุ 3 ปีโดยเสียชีวิตทันทีเนื่องจากมีเลือดออกภายใน หลังจากนั้นครอบครัวของเหยื่ออ้างว่าคาร์ฟูร์ ได้ปฏิเสธที่จะพบกับพวกเขาเพื่อยุติคดี อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการองค์กรของคาร์ฟูร์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == บิ๊กซี == แหล่งข้อมูลอื่น == คาร์ฟูร์ประเทศไทย Carrefour ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยในอดีต ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศฝรั่งเศส ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศจีน ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศอินเดีย ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศไทยในอดีต ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศมาเลเซีย บริษัทข้ามชาติ บริษัทของฝรั่งเศส บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 บริษัทจดทะเบียนในยูโรเน็กซต์ کارفور#هایپراستار
thaiwikipedia
1,271
โลตัส (ห้างสรรพสินค้า)
โลตัส (Lotus’s) เป็นศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อสัญชาติไทย ดำเนินกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการสาขาแรกในศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ในนามโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2537 โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส ในปี พ.ศ. 2541 หลังจากกลุ่มเทสโก้เข้าซื้อกิจการ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์อีกครั้ง หลังจากเทสโก้ขายกิจการในปี พ.ศ. 2563 == ประวัติ == ===ธุรกิจช่วงแรก-ขายหุ้นให้เทสโก้=== โลตัส เกิดจากความต้องการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี ในนามของ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด โดยได้จดทะเบียนบริษัทในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 มีทุนจดทะเบียน สตางค์ โดยได้เปิดบริการสาขาทดลองรูปแบบสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ในนาม โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ก่อนที่ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จะเปิดสาขาที่ 2 ในนาม โลตัส ดิสเตาน์สโตร์ ที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนกลายเป็นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ใน พ.ศ. 2563 กลุ่มซีพีตัดสินใจขายหุ้นร้อยละ 75 ของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทมให้กับกลุ่มเทสโก้ ผู้ประกอบการค้าปลีกประเทศอังกฤษ เพื่อสิ้นสุดการเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเป็นแนวทางที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ กล่าวว่า ต้องเลือกสละบางอย่างเพื่อรักษาเรือและเอาชีวิตให้รอด ภายหลังการควบรวมธุรกิจจึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในช่วงแรกแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส นับตั้งแต่นั้น โดยใช้ สีน้ำเงิน เป็นโทนสีของห้าง ซึ่งในช่วงแรกกลุ่มซีพียังคงถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ภายหลังก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปจนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 กลุ่มซีพีถือหุ้นอยู่ไม่ถึงร้อยละ 1 จึงตัดสินใจขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดออกไปในปีนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้สามารถให้ความเห็นเรื่องค้าปลีกได้อย่างมีจุดยืน ===เทสโก้ โลตัส-ขยายรูปแบบสาขา=== ในปี พ.ศ. 2544 เทสโก้ โลตัส ได้เริ่มขยายรูปแบบสาขาในรูปแบบร้านสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขาแรกในสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ ย่านรามอินทรา โดยเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไปสู่การมองหาความสะดวกสบายในการจับจ่ายสินค้าใกล้บ้าน ก่อนที่ใน พ.ศ. 2546 จะเปิดบริการ "เทสโก้ โลตัส คุ้มค่า" สาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด และ "เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต" สาขาแรกที่พงษ์เพชร ในวันที่ 3 มกราคม นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เทสโก้ โลตัส ยังมีรูปแบบสาขา "ดีพาร์ทเมนต์สโตร์" อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2554 หลังจากที่เทสโก้ โลตัส แพ้การประมูลกิจการคาร์ฟูร์ให้กับกลุ่มคาสิโน เจ้าของบิ๊กซีในประเทศไทยในขณะนั้น และทางบิ๊กซีได้ประกาศใช้แบรนด์ "เอ็กซ์ตร้า" ในการปรับปรุงสาขาคาร์ฟูร์ที่เหลือเกือบทั้งหมด เทสโก้ โลตัส ได้พัฒนารูปแบบสาขา เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์ตร้า ขึ้นมาแข่งอีกหนึ่งรูปแบบ และตั้งเป้าหมายเป็น "พารากอน ของตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต" โดยเริ่มจากการปรับปรุงใหญ่ของสาขาพระรามที่ 4 ที่มี บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนน เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายในระดับ A+ เน้นสินค้านำเข้า เพิ่มสินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่เคยจำหน่ายมาก่อนในเทสโก้ มีความพิเศษด้านความสะดวกสบาย รวมถึงบรรยากาศที่ปลอดโปร่ง === การขายกิจการให้กับกลุ่มซีพี === เมื่อ พ.ศ. 2557 กลุ่มเทสโก้ ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการจาก Serious Fraud Office ฐานแสดงบัญชีไม่ตรงกับการดำเนินการจริงของบริษัทฯ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มเทสโก้ลดลงจนขาดทุน 3.1 แสนล้านบาทในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังเกิดเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มเทสโก้จึงตัดสินใจขายกิจการในหลายประเทศรวมถึงประเทศมาเลเซียและเทสโก้ โลตัสในประเทศไทย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินและพยุงสถานะทางการเงินของกลุ่มบริษัท อย่างไรก็ตาม กลุ่มเทสโก้ กลับปฏิเสธการขายกิจการในไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเป็นฐานรายได้หลักนอกประเทศอังกฤษของกลุ่มเทสโก้ และกลุ่มยังไม่มีความจำเป็นต้องขายออกไปเพื่อพยุงสถานะทางการเงิน ต่อมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ข่าวว่ากำลังปรึกษากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อขอกู้เงินซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสกลับคืนมา คาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 2 แสนล้านบาทในการซื้อกิจการกลับมาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ธนินท์ ได้เปิดเผยภายหลังว่าตนได้เจรจาขอซื้อคืนหลายครั้งแล้ว แต่กลับถูกปฏิเสธเนื่องจากกลุ่มเทสโก้ไม่ยอมขาย ตนจึงเคารพการตัดสินใจของกลุ่มเทสโก้และหยุดแผนการซื้อกิจการทั้งหมดลง ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน ได้เปิดเผยว่ากลุ่มเทสโก้ กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจขายกิจการในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังมีเอกชนในไทยเสนอซื้อกิจการ ซึ่งต่อมาสำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยว่ากลุ่มที่สนใจเข้าซื้อกิจการมีทั้งหมดสามรายคือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มทีซีซี และบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งบลูมเบิร์กคาดว่ามูลค่าซื้อขายอาจสูงถึงหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณสามแสนล้านบาท และอาจกลายเป็นดีลใหญ่มากที่ส่งผลถึงตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เนื่องมาจากปัจจุบันเทสโก้ โลตัสมีสาขากว่า 2,000 สาขา หลัก ๆ เป็นสาขาในรูปแบบเอ็กซ์เพรส และตลาดโลตัส หากหนึ่งในสามกลุ่มเป็นผู้ชนะการประมูลกิจการ จะทำให้กลุ่มนั้นพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกทันที ซึ่งต่อมา คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ออกมาแถลงเป็นกรณีพิเศษว่า การประมูลกิจการเทสโก้ โลตัส ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน เนื่องจากจะส่อการผูกขาดทางการค้า และยังได้สั่งการให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เฝ้าระวังดีลนี้เป็นพิเศษ และติดตามการรวมธุรกิจอย่างใกล้ชิด ต่อมากลุ่มเทสโก้ได้เปิดรับข้อเสนอจากเอกชนทั้งสามราย คือ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ผลปรากฏว่า บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นกิจการร่วมค้าเฉพาะกิจที่ถือหุ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลสูงสุดที่ 338,445 ล้านบาท โดย ซี.พี. รีเทล ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 กระบวนการซื้อขายทั้งหมดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมนักกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ 37 องค์กรผู้บริโภคและผู้บริโภคทั่วประเทศ ยื่นฟ้องคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติ 4 ต่อ 3 อนุญาตให้กลุ่มซีพีเข้าควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยได้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มซีพีมีส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มโมเดิร์นเทรดสูงถึง 83.97% ถือเป็นการผูกขาดทางการค้าอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจรายย่อย และส่งผลต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากกลุ่มซีพีเป็นบริษัทด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ มีธุรกิจครอบคลุมการดำรงชีวิตของประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยคดีดังกล่าวมีสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินรับฟ้องเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 และศาลปกครองกลางมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ศาลปกครอง ได้ยกคำรองทั้งหมดโดยให้เหตุผลว่าไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 กำหนด จึงยังไม่มีเหตุที่จะรับฟังได้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ซีพี ออลล์ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่ามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ร่วมกับที่ประชุมของกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีมติให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) รับโอนกิจการของ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมด อันประกอบด้วย บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (บริษัท เทสโก้ สโตร์ (เอเชีย) จำกัด เดิม), บริษัท โลตัส สโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โลตัส สโตร์ (มาเลเซีย) จำกัด และบริษัท เอก-ชัย ดิสทิบิวชัน ซิสเท็ม จำกัด ซึ่งจะช่วยให้แม็คโครและโลตัสสามารถบริหารงานกันเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น เป็นการลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มซีพี และยังเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องคุณสมบัติการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยของสยามแม็คโคร ซึ่งเกิดจากการเข้าซื้อหุ้นของซีพี ออลล์ พร้อม ๆ กันในคราวเดียว ==="โลตัสส์" ภายใต้กลุ่มซีพี=== ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โลตัสได้มีงานเปิดตัวการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ โดยเปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น Lotus’s โดยตัดคำว่า Tesco ออกและเติม ’s เข้าไป พร้อมปรับใช้สีโทนพาสเทลให้ทันสมัยขึ้น โดยนำร่องการเปลี่ยนแปลงนี้ที่สาขาเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เป็นแห่งแรก และในโอกาสเดียวกัน โลตัส ได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส และเทสโก้ โลตัส ตลาด บางสาขา ให้เป็น โลตัส โก เฟรช โดยเริ่มที่สาขาเอกชัย 99 เป็นสาขาแรก ก่อนจะปรับปรุงให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2565 และในปี พ.ศ. 2566 โลตัสได้เปิดตัว "โลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์ และโลตัสพรีเว่ ที่เน้นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าโมเดลอื่น ๆ โดยเปิดสาขาแรกที่ย่านถนนราชพฤกษ์และโครงการไอซีเอสไอคอนสยาม เมื่อในวันที่ 13 กันยายน 2566 ทางซีพี แอ็กซ์ตร้า บริษัทแม่ของ แม็คโคร และ โลตัส ประกาศเปิดโมเดลธุรกิจค้าส่งรูปแบบใหม่ในชื่อ "Hybrid Wholesale"หรือ"2 in 1" การรวมระหว่างสินค้าส่งของแม็คโครและศูนย์การค้าของโลตัส ในพื้นที่เดียวกันใช้ชื่อแบรนด์นี้เป็น แม็คโคร โลตัสมอลล์ เปิดสาขาแรกที่สมุทรปราการ ซึ่งเป็นการเข้ามาแทนที่โลตัสเดิม == รูปแบบสาขา == ===ในอดีต=== == นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ == เอ็นจีโอสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (อังกฤษ: World Animal Protection) ได้รายงานว่าโลตัสใช้กรงสำหรับการตั้งครรภ์ (อังกฤษ: sow stalls) ในกระบวนการผลิตเนื้อหมู กระบวนการนี้ขอบเขตสุกรตัวเมียในกรงที่มันขนาดเท่ากับตู้เย็นเพื่อที่จะใช้สุกรต้วเมียเป็นเครื่องเพาะพันธุ์ (อังกฤษ: "breeding machines") กระบวนการแบบนี้ก็ผิดกฎหมายที่หลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี 2542 เอ็นจีโอสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้ประสบความสำเร็จในการชักชวนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ว่าเขาจะต้องปล่อยสุกรตัวเมียให้อ่อกกรงภายในปี 2568 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 เทสโก้โลตัสได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าจะสั่งซื้อไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรง (cage-free) เท่านั้นสำหรับทั้งห่วงโซ่อุปทาน นายคริส โคเมอร์ฟอร์ด ประธานกรรมการฝ่ายพาณิชย์ เทสโก้ โลตัส “ภายใน พ.ศ. 2571 ไข่ไก่ทุกฟองที่จำหน่ายในเทสโก้ โลตัส จะมาจากแม่ไก่ที่ไม่ถูกขังกรง (cage-free) เราเริ่มต้นการเปลี่ยนไปสู่ระบบการเลี้ยงแม่ไก่แบบไม่ขังกรงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรคู่ค้าหลักของเราคือแสงทองสหฟาร์ม ในการพัฒนาไข่ไก่ออร์แกนิกที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ และไข่ไก่ cage-free ที่เลี้ยงในโรงเรือน นอกจากไข่ไก่สดแล้ว เทสโก้ โลตัส ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่ไก่พร้อมรับประทานที่มาจากไข่ cage-free เช่นกัน อาทิ ไข่ต้มและไข่ตุ๋น ซึ่งปัจจุบันจำหน่ายในเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าและผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์เพื่อพัฒนาโรดแมปร่วมกันในการเดินทางไปสู่จุดหมายที่วางไว้เพื่อให้ไข่ไก่ทุกฟองที่เราจำหน่ายมาจากแม่ไก่ที่ไม่ขังกรงภายในปี พ.ศ. 2571 ภายใต้โรดแมปนั้น เทสโก้ โลตัส จะเปลี่ยนไข่ไก่ที่บรรจุแพ็คขนาด 10 ฟองทั้งหมดให้มาจากแม่ไก่ที่ไม่ขังกรงภายในปี พ.ศ. 2566” == โลโก้ == คำว่า โลตัส แปลว่า ดอกบัว เริ่มใช้ตราสัญลักษณ์ดอกบัวแบบสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2551 == ดูเพิ่ม == โลตัส (ประเทศจีน) - ห้างสรรพสินค้าโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทแยกเฉพาะในประเทศจีน เทสโก้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพี ออลล์ แม็คโคร (ประเทศไทย) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == โลตัส เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541 เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทค้าปลีกของประเทศไทย เทสโก้ ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศไทย ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศมาเลเซีย
thaiwikipedia
1,272
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ: Naresuan University; อักษรย่อ: มน. – NU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ก่อนที่จะแยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อปี พ.ศ. 2533 มาเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยชื่อ "นเรศวร" นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก และทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกมาก่อน มหาวิทยาลัยนเรศวรนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของภาคเหนือ ถัดจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 17 ของประเทศไทย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า ปี ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 184 หลักสูตร มีจำนวนนิสิตประมาณ 25,000 คน และมีอาจารย์ประจำกว่า 1,500 คน === ยุควิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก === วงการการศึกษาได้ประสบปัญหาเข้ามาอีกทั้งภาวะการขาดแคลนครูเป็นอันมากและวุฒิการศึกษาครูสูงที่สุดคือ วุฒิ ป.ม. (ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุปริญญาเท่านั้น ทำให้เกิดความล้าหลังในอาชีพครู อีกทั้งครู ป.ม. บางคนเมื่อศึกษาเพิ่มเติมสูงขึ้นได้ปริญญาทางด้านอื่นแล้วต่างลาออกไปประกอบอาชีพใหม่ที่เข้าใจว่ามีความก้าวหน้ามากกว่า ผู้บริหารในวงการศึกษาจึงได้มีการปรึกษาหารือและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตามลำดับ แต่ความเข้าใจในเวลานั้นของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคคลในพรรครัฐบาล จึงต้องใช้ความพยามยามอย่างมาก ดร. สาโรช บัวศรี เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เข้าชี้แจงให้คณะรัฐบาลเข้าใจถึงเหตุและผลที่จะดำเนินการและสิ่งที่เกิดขึ้น หากให้สามารถเปิดสอนครูถึงระดับปริญญา และสามารถชี้แจงจนเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมจึงได้มีมติยอมรับ และในที่สุดก็ผ่านพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ในปี พ.ศ. 2497 แต่กว่าที่จะได้มีการยอมรับนั้นค่อนข้างพบอุปสรรคพอสมควร อย่างไรก็ตามในที่สุดก็สามารถตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497 ในระหว่างนั้น อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 –2513) และเป็นคณะกรรมการร่วมของโครงการพัฒนาการศึกษาด้วย ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญกับงานฝึกหัดครูอย่างมาก จากแนวคิดในการดำเนินการขยายการฝึกหัดครูระดับปริญญาไปสู่ส่วนภูมิภาคนั้น จึงได้มีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งขณะนั้นยังสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีความคล้ายคลึงทั้งในที่มา จุดประสงค์และการดำเนินการเพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพครู เหมือนกับกรมการฝึกหัดครู โดยแนวคิดของอาจารย์บุญถิ่น อัตถากรนั้น คือ หลังจากนั้นจึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปสู่ภาคต่าง ๆ ทุกภาค โดยได้เปิดสอนแห่งเดียวในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือเปิดที่พิษณุโลก (25 มกราคม 2510) ภาคใต้ที่สงขลา (1 ตุลาคม 2511) ภาคตะวันออกที่ชลบุรี (8 กรกฎาคม 2498) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาสารคาม และกรุงเทพมหานครที่บางเขน (27 มีนาคม 2512) === ยุคมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก === ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา ซึงเป็นการรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโอนสถานะไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป ท่านจึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ออกเอกสารที่เรียกว่า 'เอกสารปกขาว' เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบว่า เมื่อได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามลำดับ โดยเป็นการดำเนินการตามวิธีที่ถูกต้องและขั้นตอนระเบียบแบบแผนของทางราชการ เริ่มตั้งแต่สภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สภาการศึกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จากนั้นเรื่องได้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศที่ไม่เอื้อในเวลานั้น การดำเนินการจึงได้มายุติโดยการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 จากการที่วิทยาลัยโดยความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิตได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับอย่างสม่ำเสมอและด้วยความจริงจัง กระทั่งในวันที่ 16 มกราคม 2517 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยให้เป็นมงคลนามและพระราชทานความหมายว่า " มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร " โดย ' วิโรฒ ' มาจาก ' วิรูฒ ' (ภาษาสันสกฤต) ' วิรุฬห์ ' (ภาษาบาลี) ซึ่งแปลว่า " เจริญ , งอกงาม " ภายหลังทางวิทยาลัยโดยความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิต ได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับ ทั้งนี้โดยตระหนักจากการพิจารณาองค์ ประกอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัยและประโยชน์อันจะเกิดขึ้นต่อ วิทยาลัยและในวงกว้างทางการศึกษาและประเทศชาติต่อไป ทางวิทยาลัย จึงได้มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้ดังนี้ วิทยาลัยวิชาการศึกษามีความพร้อมโดยสมบูรณ์ที่จะเติบโต เป็นมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทางวิทยาลัยมีความพร้อมของอุปกรณ์ประกอบการสอน อาจารย์ และอาคารสถานที่เพียงพอที่จะเปิดสอนสาขาอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ความคล่องตัวในการบริหารงาน ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการความหลากหลายทางการศึกษาที่ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯได้นำวิธีสอบคัดเลือกนิสิต เข้าศึกษาใน 2 ระดับ คือชั้นปีที่ 1 และ 3 ซึ่งในปีการศึกษานี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลกยังคงรับนิสิตภาคปกติที่จบป.กศ. สูงเข้าศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยวิธีการสอบคัดเลือกเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีดังนี้ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา และการประถมศึกษาซึ่งได้ใช้วิธีการสอบแข่งขันในการคัดเลือกผู้มาเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 แล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับวิทยาลัยวิชาการการศึกษาอื่น ๆ อีก 8 แห่ง การจัดการเรียนการสอนในสมัยนั้นเปิดสอนเพียง 5 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย โดยสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกยังคงใช้สถานที่เดิมของวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2524) ที่กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลก เป็นเมืองศูนย์กลางและเมืองหลักของภาคเหนือตอนล่าง ทางวิทยาเขตจึงขออนุญาตกระทรวงมหาดไทย ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับอนุญาตในปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นช่วงเดียวกับที่ทางทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นประกาศโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ของรัฐในส่วนภูมิภาคอีก 5 แห่ง โดยที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่นี้อยู่บริเวณทุ่งหนองอ้อ – ปากคลองจิก ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน === ยุคมหาวิทยาลัยนเรศวร === ช่วงปี พ.ศ. 2527–2531 ทางวิทยาเขตได้เตรียมแผนสำหรับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รัฐบาลในสมัยของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ทางมหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งวิทยาเขตที่จังหวัดพะเยา โดยปัจจุบันได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา และในปี พ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมให้กับนักเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง == การศึกษา == มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกครอบคลุมทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และหลักสูตรนานาชาติรวมทั้งสิ้น 184 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับระดับประกาศนียบัตร 2 หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี 76 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 62 หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง 1 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 43 หลักสูตร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรมีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 16 คณะ 6 วิทยาลัย (ไม่รวมบัณฑิตวิทยาลัย) ดังต่อไปนี้ === กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ === Law_Naresuan_University.svg|คณะนิติศาสตร์ NU_BEC_Logo.png|คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร Human_Naresuan_University_Logo.svg|คณะมนุษยศาสตร์ EDUNU.jpg|คณะศึกษาศาสตร์ NU_SOC_Logo.png|คณะสังคมศาสตร์ === กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี === AG_Naresuan_University.svg|คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Naresuan_University_Logo.svg|คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน SC_Naresuan.png|คณะวิทยาศาสตร์ NU_ENG_2015_Logo.png|คณะวิศวกรรมศาสตร์ Archnu.jpg|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ === กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ === Dentistry_Naresuan.svg|คณะทันตแพทยศาสตร์ ์logo-nurse_NU.png|คณะพยาบาลศาสตร์ Medicine_Naresuan.png|คณะแพทยศาสตร์ Pharmacy_Naresuan.png|คณะเภสัชศาสตร์ MED_SCI_NU_Logo.svg|คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ Sahavet.png|คณะสหเวชศาสตร์ PH_Naresuan.png|คณะสาธารณสุขศาสตร์ === วิทยาลัย === วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน === การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา === บัณฑิตวิทยาลัย === สถาบันสมทบ === วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี === การก่อตั้งคณะ === === ศูนย์วิทยบริการ === แต่เดิมมหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดตั้งศูนย์วิทยบริการเพื่อขยายเครือข่ายการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ประกอบด้วย เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ตาก สุโขทัย อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ และให้บัณฑิตวิทยาลัย กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยทั้งหมด ต่อมาจึงได้จัดตั้งสถานการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์วิทยบริการโดยเฉพาะ ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้มีมติให้ปิดศูนย์วิทยบริการ และปิดหลักสูตรการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการทั้งหมดเมื่อนิสิตในปัจจุบันสำเร็จการศึกษาแล้ว และให้ดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งเพียง 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรเภสัชศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชน (จัดการเรียนการสอนโดยคณะเภสัชศาสตร์ ณ เภสัชสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคลังและการบริหารหลักประกันสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) (จัดการเรียนการสอนโดยคณะแพทยศาสตร์ ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)) และในการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ได้มีมติปิดสถานที่จัดการเรียนการสอน ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกแห่งหนึ่ง คงเหลือแต่เภสัชสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์เพียงแห่งเดียว == การวิจัย == จากการที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยเป็น "มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) " จึงได้มีการจัดตั้งกองบริหารการวิจัย โดยเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี เพื่อบริหารจัดการ ประสานงานและรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ ของคณาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัย ในแต่ละปี กองบริหารการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัด "การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย (Naresuan Research Conference)" ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจนำเสนอผลงานวิจัยและการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 นี้ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 9 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ โดยมีหัวข้อการประชุม เรื่อง "ความรู้สู่เชิงพาณิชย์ นำเศรษฐกิจไทยก้าวไกลอาเซียน (Research-Based Commercialization for ASEAN Economic Development)" ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2548 มีทั้งสิ้น 112 เรื่อง ส่วนในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น 280 โครงการ โดยแบ่งตามสาขาดังนี้ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวม 87 โครงการ สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวม 159 โครงการ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รวม 30 โครงการ หน่วยงานอื่น ๆ รวม 4 โครงการ == การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย == === ระดับปริญญาตรี === มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ความถนัดทั่วไป (GAT) และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) [ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2553 เป็นต้นไป] โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบบรับตรง (โควตา) มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี และ 1 จังหวัดภาคกลาง คือ ชัยนาท โครงการพิเศษ ดังนี้ * โครงการรับนิสิตแพทย์ในระบบคัดเลือกส่วนกลางร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) * โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ * โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ (สอวน.) * โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน * โครงการที่รับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากการประกวดโครงงานวิทยานิพนธ์รุ่นเยาว์ (YSC) * โครงการผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา * โครงการผู้มีความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรม (ลูกพระฆเนศ) * โครงการผู้ที่มีความสามารถทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ * โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านทัศนศิลป์ * โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี ดูเพิ่มเติม การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา === ระดับปริญญาโท === มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท ดังนี้ การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง การคัดเลือก เป็นการคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน === ระดับปริญญาเอก === มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่าง ๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้ == อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย == === การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย === ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย === อันดับมหาวิทยาลัย === นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่ ==== การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Rankings ==== อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Rankings หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ โดยผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษา Scimago Institutions Rankings 2021 ประเภทภาพรวม (Overall Rank) ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ นั้น ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 27 แห่ง สำหรับมหาวิทยาลัยนเรศวรติดอันดับที่ 10 ของประเทศไทย และอันดับที่ 760 ของโลก ซึ่งมีรายละเอียดในมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านการวิจัย ติดอันดับที่ 8 ของประเทศไทย อันดับที่ 420 ของโลก 2. ด้านนวัตกรรม ติดอันดับที่ 12 ของประเทศไทย อันดับที่ 501 ของโลก 3. ด้านสังคม ติดอันดับที่ 8 ของประเทศไทย อันดับที่ 241 ของโลก Scimago Institutions Rankings เป็นการจัดอันดับจากองค์การในประเทศสเปน ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการวิจัย อ้างอิงผลข้อมูลจาก Scopus 2. ด้านนวัตกรรม พิจารณาข้อมูลมาจาก PATSTAT 3. ด้านสังคม ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ==== การจัดอันดับโดย Times Higher Education ==== เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกโดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชัน (Times Higher Education (THE)) ซึ่งมีการจัดอันดับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ใน 5 มิติ คือ การเรียนการสอน ความเป็นสากล นวัตกรรม งานวิจัย และการอ้างอิงผลงานวิจัย สำหรับในภาพรวม (Overall) ของปี พ.ศ. 2565 นั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรติดอันดับ 6 ร่วมของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยอยู่ในอันดับ 1,201+ ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก เมื่อพิจารณาในแต่ละมิติแล้ว มหาวิทยาลัยนเรศวรติดอันดับของประเทศไทยดังนี้ 1. ด้านการเรียนการสอน ติดอันดับที่ 6 ของประเทศไทย 2. ด้านความเป็นสากล ติดอันดับที่ 7 ของประเทศไทย 3. ด้านนวัตกรรม ติดอันดับที่ 14 ของประเทศไทย 4. ด้านวิจัย ติดอันดับที่ 14 ของประเทศไทย 5. ด้านการอ้างอิงผลงานวิจัย ติดอันดับที่ 11 ของประเทศไทย นอกจากนี้ Times Higher Education ยังได้มีการจัดอันดับในสาขาวิชาต่างๆ อีกด้วย โดยในปี พ.ศ. 2565 มีสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับดังต่อไปนี้ 1. วิศวกรรมศาสตร์ ติดอันดับ 4 ร่วมของประเทศไทย อันดับที่ 801-1,000 ของโลก 2. วิทยาศาสตร์สุขภาพ (แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์) ติดอันดับ 4 ร่วมของประเทศไทย อันดับที่ 601+ ของโลก 3. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (เกษตรศาสตร์ ชีววิทยา) ติดอันดับ 7 ร่วมของประเทศไทย อันดับที่ 801+ ของโลก 4. วิทยาศาสตร์กายภาพ (คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี) ติดอันดับ 7 ร่วมของประเทศไทย อันดับที่ 1,001+ ของโลก ==== การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking ==== เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 16 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 278 ของโลก ==== การจัดอันดับโดย uniRank ==== uniRank เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานไม่แสวงหากำไร IREG Observatory ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษาจากหลายสถาบัน และจดทะเบียนหน่วยงานอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อันดับของ uniRank จะอาศัยการรวบรวมข้อมูลตัววัดเว็บ (web metrics) 5 ฐานข้อมูลได้แก่ 1. Moz Domain Authority 2. Alexa Global Rank 3. SimilarWeb Global Rank 4. Majestic Referring Domains 5. Majestic Trust Flow โดยการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ในอันดับที่ 8 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 1,605 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ==== การจัดอันดับโดย Webometrics ==== การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ในอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค โดยเป็นอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับ 32 ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 1,318 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก == พื้นที่มหาวิทยาลัย == === พื้นที่การศึกษา === มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ==== มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน ==== หรือที่เรียกว่า "มน.ใน" ส่วนนี้เป็นสถานที่ตั้งแรกเดิมของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก ณ เลขที่ 1 ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุบันคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "ไภษัชยศาลา" คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (สนามบิน) คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่เพื่อเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ==== มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ ==== หรือที่เรียกว่า "มน.นอก" ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ ณ เลขที่ 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก แต่เดิมนั้นที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินสาธารณะโดยชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งหนองอ้อ - ปากคลองจิก" เนื่องจากเคยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยต้นอ้อ และมีต้นจิกปกคลุมไปทั่ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าใช้พื้นที่และทำการปรับรูปที่ดินและถมหนองน้ำต่าง ๆ ซึ่งการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นอาศัยแผนแม่บท (Master Plan) ที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2527 การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้นคำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลัก โดยมีถนนนเรศวร และถนนเอกาทศรถเป็นถนนสายหลักล้อมรอบมหาวิทยาลัย เชื่อมกันด้วยถนนสุพรรณกัลยา นอกจากนี้มีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่าง ๆ และมีประตูเข้า-ออกโดยรอบมหาวิทยาลัย 6 ประตู ซึ่งกลุ่มอาคารในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 6 กลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย กลุ่มอาคารคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร # อาคารสิรินธร # อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา 1 # อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา 2 # อาคารที่จอดรถ อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มอาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ - คณะพยาบาลศาสตร์ - คณะสหเวชศาสตร์ อาคารโรงพยาบาลทันตกรรม กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์ กลุ่มอาคารสาธารณสุข (อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ - อาคารเรียนรวมวิทยาศาสตร์สุขภาพ - อาคารที่จอดรถ) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคารวิทยาลัยพลังงานทดแทน กลุ่มอาคารคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาคารคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย อาคารคณะศึกษาศาสตร์ อาคารวิทยาลัยนานาชาติ (อาคารสำนักหอสมุดเดิม) กลุ่มอาคารคณะศึกษาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์ กลุ่มอาคารอุตสาหกรรมบริการ (อาคารคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร - อาคารคณะสังคมศาสตร์ - อาคารคณะนิติศาสตร์ - อาคารปราบไตรจักร 2 (อาคารเรียนรวม) - อาคารที่จอดรถ) อาคารส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารมิ่งขวัญ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ (สำนักงานอธิการบดี) อาคารเอกาทศรถ อาคารมหาธรรมราชา อาคารปราบไตรจักร 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินินาถ (อาคารเรียนรวมและโรงละคร) อาคารอเนกประสงค์ อาคารสำนักหอสมุด อาคารแสงเทียน (อาคารหลังเดิม) อาคารสำนักหอสมุด อาคารเรียนรู้ (อาคารหลังใหม่) อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาคารวิสุทธิกษัตริย์ อาคารเพราพิลาส อาคารบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ชีวิต อาคารสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยนเรศวร อาคารหอพักอาจารย์และนิสิต หอพักอาจารย์มีทั้งหมด 8 หลัง โดยมน.นิเวศ 1 - 4 และ มน.นิเวศ 5,6 อยู่บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักอาจารย์ มน.นิเวศ 7,8 จะอยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัย ส่วนหอพักนิสิตซึ่งประกอบด้วยอาคารขวัญเมือง และหอพักนิสิต 1 - 16 อยู่บริเวณด้านหลังของมหาวิทยาลัยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีหอพักนิสิตแพทย์ซึ่งตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร บริเวณข้าง มน.นิเวศ 6 อีกด้วย ศูนย์กีฬา ประกอบด้วย สนามกีฬากลาง สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามตะกร้อ สนามเปตอง สนามฟุตบอล สนามซอฟต์บอล สนามกีฬาในร่ม โรงละครศิลป์ศาลา (โรงละครกลางแจ้ง) อาคารกิจกรรม และสระว่ายน้ำสุพรรณกัลยา ดูเพิ่มเติม แผนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยนเรศวร === สถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัย === อาคารและสถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร มีดังนี้ อาคารมหาธรรมราชา เป็นอาคารกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซน A ประกอบไปด้วยหน่วยงาน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน โซน C ประกอบไปด้วยหน่วยงาน กองบริหารการวิจัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง และโซน B กำลังก่อสร้าง อาคารมิ่งขวัญ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานส่วนใหญ่ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี แต่ตัวสำนักงานอธิการบดีอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานอธิการบดีหลังใหม่ โดยตั้งอยู่ตรงข้ามกับอาคารมิ่งขวัญ ลานสมเด็จฯ คือลานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของนิสิตและบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัย หอพระเทพรัตน์ หอประดิษฐานพระพุทธรูป ภปร. ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระราชานุญาตให้เป็นศิลปสถานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมทั้งโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "หอพระเทพรัตน์" ซึ่งรูปแบบของหอพระเทพรัตน์นี้ออกแบบโดย อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ โดยมีเอกลักษณ์ให้สะท้อนรูปลักษณะศิลปสถานเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะร่วมกันของสถาปัตยกรรมสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา การจัดวางอาคารนั้นอยู่กลางสระน้ำระหว่างลานสมเด็จฯ สำนักงานอธิการบดี และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับลานสมเด็จฯ และถนนหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดม เป็นชื่อเรียกของอาคารอเนกประสงค์โดยมีหลังคาคล้ายโดม ซึ่งภายในเป็นห้องอเนกประสงค์และลานกีฬาในร่มสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้อาคารอเนกประสงค์ยังเป็นที่ตั้งของห้องพระราชทานปริญญาบัตร พิพิธภัณฑ์ผ้า กองกิจการนิสิต รวมทั้งชมรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย พิพิธภัณฑ์ผ้า โครงการพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก โดยประกอบด้วย 2 หน่วยงานคือ * พิพิธภัณฑ์ผ้า ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารอเนกประสงค์ โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของผ้าจากชนชาติต่าง ๆ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมและนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและของประดับเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปี และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าชนิดต่าง ๆ และของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย * พิพิธภัณฑ์ชีวิต ประกอบด้วยกลุ่มอาคารทรงไทยที่อยู่ข้างสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งภายในจะให้ความรู้ในด้านความเป็นมาของผ้าและการทอผ้า โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ โดยเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง นอกจากเป็นสถานพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรยังเป็นศูนย์ประชุม ศูนย์การวิจัยและสถานที่ทำการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น ศูนย์วิจัย หรือสถาบันวิจัย ตึก CITCOMS เป็นชื่อเรียกของอาคารสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือตอนล่าง สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษา ตึก QS เป็นชื่อเรียกของอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบไปด้วยอาคารเรียนรวมและอาคารโรงละคร นอกจากนี้ สำนักงานกองบริการการศึกษาและสำนักงานไปรษณีย์ยังตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารเรียนรวมอีกด้วย สวนเทเลทับบี้ เป็นสวนสาธารณะกลางมหาวิทยาลัยโดยตั้งอยู่ระหว่างอาคารสำนักหอสมุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ โดยชื่ออย่างเป็นทางการของสวนนี้คือ "กรีน แอเรีย" (Green Area) หรือ "โอเอซิส" (Oasis) จนกระทั่งมีภาพยนตร์สำหรับเด็กเรื่อง "เทเลทับบี้" เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งลักษณะของสวนมีความคล้ายคลึงกับสวนในภาพยนตร์ นิสิตจึงเรียกกันเล่น ๆ ว่าสวนเทเลทับบี้จนติดปาก สวนพลังงาน ตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทน โดยเป็นสวนตัวอย่างที่เป็นแหล่งสาธิตการใช้งานจริงของระบบพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ชีวมวล และมีศูนย์ธุรกิจที่เป็นแหล่งของความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการดำเนินการส่งเสริมธุรกิจทางด้านพลังงานทดแทน == ชีวิตในมหาวิทยาลัย == การเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ สาขาทัศนมาตรศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี ส่วนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และหลักสูตรคู่ขนานของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักนิสิตในคณะอื่น ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี === กิจกรรมและประเพณีของมหาวิทยาลัย === พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมหรือเดือนมีนาคม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร รับน้องเฟรชชี่และบีกินนิ่งแคมป์ (Beginning Camp) กิจกรรมรับน้องใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อให้นิสิตใหม่รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้นและให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างน้อง-พี่ กิจกรรมประชุมเชียร์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีของนิสิตชั้นปีที่ 1 และเป็นการสอนร้องเพลงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ซึ่งภายหลังกิจกรรมประชุมเชียร์แล้ว แต่ละคณะมักจะให้มีการซ้อมการแสดงสแตนเชียร์ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมประชุมเชียร์นี้จะจัดขึ้นในห้องเชียร์ ของแต่ละคณะ หนองอ้อเกมส์ กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตคณะต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์ของแต่ละคณะ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี งานเปิดโลกกิจกรรมและเฟรชชี่ ไนท์ (Freshy Night) กิจกรรมที่ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 เลือกเข้าชมรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการแสดงดนตรี การแสดงของนิสิตแต่ละคณะ และการประกวดดาวและเดือนของมหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้น ณ อาคารเอนกประสงค์ "Power Cheer" งานร้องเพลงมหาวิทยาลัย ภาคภูมิใจนเรศวร เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตรุ่นพี่และรุ่นน้อง ให้นิสิตใหม่เกิดความรักและภาคภูมิใจในสถาบัน โดยมีกิจกรรมการแสดงละครกลางแจ้ง ประกอบแสง สี เสียง เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช การแสดงประกอบจินตลีลา จากนั้นเป็นการร่วมกันร้องเพลงมหาวิทยาลัยประกอบการแปรอักษรอันแสดงถึงความสามัคคี และความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัยนเรศวร งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ของทุกปีในคณะต่าง ๆ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภายในงานจะมีนิทรรศการความรู้และกิจกรรมเสริมสร้างความรู้มากมาย งานลอยกระทง เทิดไท้องค์ราชันย์ มิ่งขวัญนเรศวร งานประเพณีลอยกระทงของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปีในวันลอยกระทง โดยภายในงานจะมีขบวนแห่กระทงยักษ์ของแต่ละคณะ งานจัดร้านขายของและซุ้มเกมส์ของนิสิตแต่ละคณะ รวมทั้งงานแสดงมหรสพอีกมากมาย งานกีฬาเฮลธ์ไซนซ์ (Health Sciences Games) เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 7 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ของทุกปี เอ็นยู วอยซ์ มิวสิก คอนเทสต์ (NU. Voice Music Contest) งานประกวดการขับร้องเพลงไทยสากลและเพลงสากลประจำปีของมหาวิทยาลัย โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมหรือมกราคม ของทุกปี วงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร NU Band การแสดงความสามารถด้านการร้อง การเต้น และการเล่นดนตรี ของนิสิต/นักศึกษา จากระดับปริญญาตรีคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาจากผู้มีความสามารถในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยจะพิจารณาจากด้านความสามารถพิเศษ ภายใต้ "โครงการผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปวัฒนธรรม (โครงการลูกพระฆเนศ)" และชมรมส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าร่วมวงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร NU Band โดยวงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร NU Band ได้รับงานแสดงจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือการแข่งขันระดับอุดมศึกษาเวทีต่าง ๆ ดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวร เป็นการแข่งขันประกวดวงดนตรีลูกทุ่งพร้อมหางเครื่อง ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งทีมที่ชนะการแข่งขันจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมภายในของแต่ละคณะ และกิจกรรมระหว่างคณะของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัย ดูเพิ่มเติม กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย == ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย == รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร นับแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ == ทำเนียบผู้บริหารและอธิการบดี == รายนามผู้บริหารและอธิการบดีตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้ == การพักอาศัยของนิสิต == เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่นอกเขตตัวเมือง ทำให้นิสิตส่วนใหญ่ทั้งที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดพิษณุโลก และนิสิตที่มาจากจังหวัดอื่น ๆ มีความจำเป็นในการพักอาศัยในหอพักบริเวณมหาวิทยาลัย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้สร้างหอพักนิสิตภายในมหาวิทยาลัย โดยมีนโยบายให้นิสิตชั้นปี 1 ทุกคณะ พักอาศัยอยู่ภายในหอพักนิสิตของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนนิสิตคณะอื่น ๆ ซึ่งหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยบริเวณข้างอ่างเก็บน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีทั้งสิ้น 15 อาคาร โดยมี "อาคารขวัญเมือง" เป็นอาคารบริการและอาคารอเนกประสงค์ของหอพักนิสิต การพักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัยนั้นจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายรายปี และในส่วนของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทางคณะมีหอพักให้สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 2 - 6 โดยเก็บค่าใช้จ่ายรายปี สำหรับนิสิตชั้นปีอื่น ๆ สามารถเช่าหอพักเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย == พิธีพระราชทานปริญญาบัตร == นับแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประจำทุกปี เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรสืบมาจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้น ณ ห้องประชุมมหาราช ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร === ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง === มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กำหนดครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ไว้เป็นชุดพิธีการสำหรับสำหรับใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ดังนี้ ครุยวิทยฐานะ * ครุยดุษฎีบัณฑิต เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมาเป็นแถบสีประจำมหาวิทยาลัย กว้าง 2 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้างและถัดมาอีกเป็นแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดเป็นพื้นสักหลาดสีดำ กว้าง 2 เซนติเมตร ที่ต้นแขนมีสำรดรอบต้นแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมาเป็นแถบสีเทา กว้าง 1 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง ตอนกลางมีแถบทับสีแสด กว้าง 1 เซนติเมตร จำนวน 3 แถบ โดยห่างจากแถบสีเทา 1 เซนติเมตร และระหว่างแถบสีแสดห่างกัน 0.5 เซนติเมตร * ครุยมหาบัณฑิต มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่สำรดรอบต้นแขนพื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมาเป็นแถบสีเทา กว้าง 1 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง ตอนกลางมีแถบทับสีแสด กว้าง 1.5 เซนติเมตร จำนวน 2 แถบ โดยห่างจากแถบสีเทา 1 เซนติเมตร และระหว่างแถบสีแสดห่างกัน 1 เซนติเมตร * ครุยบัณฑิต มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่สำรดรอบต้นแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมาเป็นแถบสีเทา กว้าง 1 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง ตอนกลางมีแถบทับสีแสด กว้าง 2 เซนติเมตร จำนวน 2 แถบ โดยห่างจากแถบสีเทา 2 เซนติเมตร เข็มวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นตรามหาวิทยาลัยซึ่งมีลักษณะเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคารหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ภายในป้ายชายธง และมีอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ทำด้วยโลหะสีเงิน สูง 5 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง ครุยประจำตำแหน่ง * นายกสภามหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้างถัดมาเป็นแถบสีเทา กว้าง 2 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง และถัดมาอีกเป็นแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับทั้งสองข้าง ตอนกลางสำรดมีแถบทับสีแสด กว้าง 2 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยซึ่งมีลักษณะเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคารหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ภายในป้ายชายธง ทำด้วยโลหะสีทองสูง 5 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสายสร้อยทำด้วยโลหะสีทอง พร้อมด้วยเครื่องหมายประจำคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดประดับระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง * กรรมการสภามหาวิทยาลัย มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี แต่ไม่มีสายสร้อยประดับ * คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีดำ กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง ถัดมาเป็นแถบทอง กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 2 แถบ ทับทั้งสองข้าง ระหว่างแถบทองห่างกัน 0.5 เซนติเมตร ตอนกลางสำรดเป็นแถบสีประจำมหาวิทยาลัย ด้านในเป็นแถบทับสีเทา กว้าง 1 เซนติเมตร ด้านนอกเป็นแถบทับสีแสด กว้าง 1 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยซึ่งมีลักษณะเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคารหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพ ตอนล่างพระแท่นมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ภายในป้ายชายธง ทำด้วยโลหะสีทอง สูง 5 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนแถบสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง image:President's Felt Strip NU.jpg| แถบสำรดครุยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี image:Faculty's Felt Strip NU.jpg| แถบสำรดครุยคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย image:Felt Strip for NU.jpg| แถบสำรดครุยวิทยฐานะ image:Felt Strip for Doctor NU.jpg| แถบสำรดรอบต้นแขนครุยดุษฎีบัณฑิต image:Felt Strip for Master NU.jpg| แถบสำรดรอบต้นแขนครุยมหาบัณฑิต image:Felt Strip for Bachelor NU.jpg| แถบสำรดรอบต้นแขนครุยบัณฑิต == งานเทางามสัมพันธ์ == กิจกรรมเทางามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือเทางามอย่างเป็นทางการ เป็นมหาวิทยาลัยที่ 6 ของกลุ่ม และปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในเครือทั้งสิ้น 6 แห่งด้วยกัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยพะเยา (อนึ่ง มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่ได้ใช้สีเทาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย และเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยตรงเหมือนอีก 4 แห่ง แต่แยกตัวมาจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวร) == การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย == หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์ - พิษณุโลก) มหาวิทยาลัยนเรศวรจะตั้งอยู่ทางขวามือช่วงกิโลเมตรที่ 117 - 118 สำหรับการเดินทางจากภายในตัวเมืองพิษณุโลกมาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น สามารถทำได้โดย รถโดยสารประจำทาง สาย 12 (สองแถวป้ายสีฟ้าและสีแดง) ซึ่งจะมีจุดจอดอยู่ที่ สถานีรถไฟและสถานีขนส่งพิษณุโลก รถสามล้อรับจ้าง รถแท๊กซี่รับจ้าง ส่วนจุดจอดรถโดยสารประจำทาง สาย 12 ในมหาวิทยาลัยนั้นจะจอดที่ป้ายรถโดยสารประจำทางเยื้องหอพักอาจารย์ มน.นิเวศ 7,8 สำหรับการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยจะมี "โครงการขนส่งมวลชนมหาวิทยาลัยนเรศวร (ขสมน.) " ซึ่งเป็นรถประหยัดพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าบริการรอบมหาวิทยาลัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตั้งแต่เวลา 7.00 น. ถึง 21.00 น. ดูเพิ่มเติม แผนที่เส้นทางเดินรถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร จากเว็บไซต์โครงการขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร == บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร == ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวร บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นคณาจารย์และผู้บริหารทั้งในอดีต และปัจจุบัน รวมทั้งศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก จนกระทั่งถึงสมัยมหาวิทยาลัยนเรศวร มีหลากหลายตั้งแต่บุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง นักวิชาการ ศิลปิน ข้าราชการและคณาจารย์ เช่น ศ.ดร.สมยศ พลับเที่ยง นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2530 ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รศ.ดร.ลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ไกลก้อง ไวทยการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนสมาชิกพรรคพรรคอนาคตใหม่ ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ == การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล == การออกนอกระบบเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลของมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น มีที่มาตั้งแต่การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ต่อสภามหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2542 และผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อปี พ.ศ. 2547 ต่อมาคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้มีมติเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ฉบับออกไป แต่ต่อมาภายหลังจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรียบร้อยแล้ว ทางศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้เสนอนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อพิจารณาให้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับข้างต้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และต่อมาได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้สอบถามมายังสภามหาวิทยาลัยเพื่อยืนยันการเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้ง ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยได้ทำการประชุมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีมติเห็นชอบและให้การสนับสนุนด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 7 รัฐบาลจึงได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าบรรจุเป็นวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฉบับ ส่วนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ให้ชะลอเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้งในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้มีกลุ่มนิสิตของมหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์แสดงความเคลือบแคลงสงสัยในขั้นตอนการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยอ้างว่าทางมหาวิทยาลัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยน้อยเกินไป ทำให้นิสิตไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังขาดกระบวนการทำประชาพิจารณ์ที่ถูกต้อง โดยนิสิตที่เข้าร่วมเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนน้อยเกินไป ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตในการประชุมเสนอความเห็น เพียงแต่บอกข้อดี ข้อเสีย และความไม่โปร่งใสเนื่องจากมีการเข้าวาระการพิจารณาอย่างเร่งด่วน และในวันเดียวกันนั้นได้มีนิสิตประมาณ 500 คนเดินขบวนประท้วงรอบมหาวิทยาลัยเพื่อต่อต้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วย วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มายื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วาระประชุมในสภา เพื่อขอให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยให้เหตุผลว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้นิสิตมีส่วนร่วมในร่างนี้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมาทำความเข้าใจตกลงร่วมกันกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ใหม่อีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้เหตุผลว่าการทำความเข้าใจกับบุคลากรและนิสิตอย่างทั่วถึง จะต้องใช้เวลาพอสมควรหากจะดำเนินการในระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาดังเช่นที่ผ่านมาขึ้นอีกได้ จึงเห็นควรชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ไปจนกว่าจะทำความเข้าใจกับประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีความเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่ายจึงจะดำเนินการนำเสนอต่อไป จากนั้นในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอถอนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากได้เลื่อนการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการบรรจุร่างพระราชบัญญัติปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ ไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในแผนนิติบัญญัติ โดยเป็นไปตามความสมัครใจของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554 มีมติไม่ประสงค์เสนอร่างพระราชบัญญัติการปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยดังกล่าว == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยพะเยา (อดีตวิทยาเขต) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ทุกเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร การรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนเรศวร สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร นเรศวร สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นเรศวร สถานศึกษาในอำเภอเมืองพิษณุโลก
thaiwikipedia
1,273
จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นจำนวน 8 จังหวัด โดยวนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และ นครสวรรค์ ลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเพาะปลูก ลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โดยมีการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุและการตั้งถิ่นฐานของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์และในอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของอาณาจักรละโว้ == ประวัติศาสตร์ == พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน คำว่า "ละโว้" นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศ ได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดาให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16–18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรี === ตำนานเมือง === เมืองลพบุรีเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยละโว้ ได้มีตำนานที่กล่าวถึงไว้อยู่มาก และมีชื่อสถานที่ที่ตั้งตามตำนานด้วย เมืองลิง เล่ากันว่าจากเรื่อง รามเกียรติ์ สมัยที่พระรามไปรบกับทศกัณฐ์จนชนะแล้ว เนื่องจากการช่วยเหลือหลายครั้งของหนุมาน พระรามจึงคิดจะให้รางวัลกับหนุมาน จึงให้มาดูแลเมืองละโว้ธานี หนุมานก็นำทหารลิงมาด้วยจำนวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ที่ลพบุรีมีลิง ซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานทหารของหนุมาน และนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ในสมัยก่อนลพบุรีมักถูกไฟไหม้ต่อกันเป็นแนวยาว ๆ เนื่องจากหนุมานได้เหาะมาตรวจเมืองของตนเอง แต่ด้วยความเร็วในการบินที่เร็วมาก และหางอันยาวของหนุมานก็ได้ลากที่พื้นจนเกิดไฟไหม้ดังกล่าว เรื่องของควายทรพี และทรพา ที่ลพบุรีจะมีภูเขาที่ชื่อว่าเขาทับควาย ซึ่งจะมีแร่เหล็กจำนวนมาก และแร่เหล็กนี้จะทำให้ดินเป็นสีออกแดงคล้ายกับเลือด จึงมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนมีฝูงควายฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ หัวหน้าฝูงชื่อ ทรพา เป็นควายที่แข็งแรงมาก และควายในฝูงก็จะเป็นตัวเมียเท่านั้น ทรพาจะฆ่าลูกที่เป็นตัวผู้ทิ้งหมด เพื่อกันไม่ให้มาแย่งตำแหน่งหัวหน้าของตน จนมีแม่ควายตัวหนึ่งตกลูกเป็นตัวผู้ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าจึงนำลูกไปซ่อนไว้ และตั้งชื่อลูกว่า ทรพี ให้คล้ายกับชื่อพ่อ ลูกควายรู้ว่าทำไมแม่ต้องซ่อนตนไว้ จึงเกิดความแค้นพ่ออย่างมาก และพยายามวัดเท้าตนกับรอยเท้าของพ่อตลอดมา จนทรพีโตเป็นหนุ่ม พอได้วัดรอยเท้าแล้วเท่ากับพ่อ จึงออกไปท้าสู้กับพ่อ และด้วยความที่ยังหนุ่มกว่า เรี่ยวแรงมากกว่า จึงเอาชนะพ่อที่แก่ชราได้ และฆ่าพ่อตาย ต่อมาทรพีจึงเป็นหัวหน้าฝูงแทน เขาวงพระจันทร์ ดูจาก วัดเขาวงพระจันทร์ ขันหมากเจ้ากรุงจีน มีพ่อค้าจีนชื่อ กงจีน หรือ เจ้ากรุงจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภา พ่อค้าคนนี้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี และได้มาพบสาวงามชื่อนางนงประจันทร์ เกิดรักใคร่ขึ้น จึงมาสู่ขอกับพ่อของนาง ตอนที่ขบวนเรือขันหมากแล่นมาใกล้เมืองลพบุรี (ต่อมาสถานที่นั้นกลายเป็นคลองชื่อ คลองบางขันหมาก) เมื่อชายหนุ่มที่เป็นคนรักของนางนงประจันทร์ทราบเรื่อง ก็แปลงกายเป็นจรเข้ตัวใหญ่มากไปขวางขบวนเรือ และทำลายเรือขันหมาก ลูกเรือก็กระโดดน้ำหนี (บริเวณตรงนั้นปัจจุบันกลายเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ชื่อเขาจีนโจน) มีลูกเรือบางส่วนขึ้นฝั่งได้ก็พากันมามองหาเรือและตามเก็บของที่ลอยน้ำมา (บริเวณนี้กลายเป็นภูเขาชื่อเขาจีนแล) ส่วนเรือสำเภาที่ล่มกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเภา ข้าวของที่พ่อค้านำมาเป็นสินสอดมีผ้าแพรที่พับไว้อย่างดีซึ่งจมน้ำ ต่อมากลายเป็นภูเขามีลักษณะเป็นชั้น ๆ ชื่อเขาพับผ้า หรือเขาหนีบ ส่วนแก้วแหวนเงินทองงมาจมลงที่เดียวกันกลายเป็นภูเขาชื่อเขาแก้ว มีตะกร้าที่นำมาด้วยจมอยู่กลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะกร้า และมีพวกขนมที่นำมารวมกองกันอยู่กลายเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายขนมเข่งขึ้นรา ชื่อเขาขนมบูด ส่วนนางนงประจันทร์ระหว่างรอขบวนขันหมากและเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดตกใจตกลงไปในน้ำ นางจึงจมน้ำตายและกลายเป็นภูเขาชื่อเขานงประจันทร์ หรือเขานางพระจันทร์ (ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นเขาวงพระจันทร์ แต่เรื่องนี้เป็นคนละตำนานกับตำนานเขาวงพระจันทร์) สำหรับจรเข้หนุ่มเมื่อล่มเรือขันหมากแล้วเห็นคนรักตกน้ำพยายามจะว่ายไปช่วยแต่หมดแรงก่อนจึงจมน้ำตายกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเข้ หรือเขาจรเข้ == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้งและอาณาเขต === จังหวัดลพบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 48 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 25 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 155 กิโลเมตร หรือทางรถไฟสายเหนือประมาณ 133 กิโลเมตร มีพื้นที่ 6,586.67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,116,668 ไร่ จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ 8 จังหวัดดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดสิงห์บุรี === ภูมิประเทศ === จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำ 3 ส่วน ดังนี้ ลุ่มแม่น้ำชี ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 1,170 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของอำเภอท่าวุ้งทั้งหมด ตอนกลางและตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี ตอนกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโคกสำโรง และส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ พื้นที่ราบตอนกลางของอำเภอเมืองลพบุรี บริเวณหมู่บ้านสะพานอิฐและหมู่บ้านหินสองก้อนจะมีดินสีขาวที่สามารถนำมาทำดินสอพองได้ และดินสอพองของจังหวัดลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นดินสอพองที่ดีที่สุดของเมืองไทย ที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีเนื้อที่ 4,816.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านหมี่บางส่วน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของอำเภอโคกสำโรงและอำเภอท่าหลวง มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำป่าสัก โดยมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรี และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมี แม่น้ำลพบุรีผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดด้วย รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรมอีกด้วย === ภูมิอากาศ === สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1,147.6 มิลลิเมตร สำหรับมีฤดูกาลต่าง ๆ มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะร้อน และแห้งแล้ง ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน === ทรัพยากรธรรมชาติ === จังหวัดลพบุรีเคยปกคลุมด้วยป่าไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นป่าดิบแล้งผืนใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ป่าเบญจพรรณ และป่าแดง หรือป่าเต็งรังในเขตเชิงเขา ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลพบุรีนับว่ามีสภาพเสื่อมโทรม และปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ของจังหวัด มีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมปี พ.ศ. 2525 พบว่าสภาพป่าไม้มีเนื้อที่ร้อยละ 4.69 ของเนื้อที่จังหวัด ต่างกับภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมีเนื้อที่ป่าร้อยละ 33.95 จะเห็นว่าในช่วงเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ลดลงร้อยละ 29.26 และมีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายใน 2528 จังหวัดลพบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ 174,375 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 4.50 ของเนื้อที่จังหวัด และในปี 2540 มีการสำรวจพบว่าพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลายไป จนเหลือป่าที่สมบูรณ์เพียง 123,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.18 ของพื้นที่จังหวัดจากการที่ป่าไม้ในจังหวัดมีสภาพลดลง กรมป่าไม้จึงได้อนุรักษ์ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ไว้ ปัจจุบันมีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 4 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,110,108.25 ไร่ (1,776.17 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ ป่าซับลังกา ป่าวังเพลิง ป่าชัยบาดาล และป่าเขาเพนียด ป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าซับลังกา มีพื้นที่ (248,987.50 ไร่), ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังเพลิงม่วงค่อมลำนารายณ์ มีพื้นที่ 447,081.25 ไร่, ป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยบาดาล มีพื้นที่ 396,562.50 ไร่, และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเพนียด มีพื้นที่ 17,477 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดลพบุรีนับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพด้านการจัดการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชท่านทรงเป็นผู้สร้างเมืองลพบุรีและได้มีการนำท่อดินเผาสูบน้ำจาก "อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก" มาใช้ในกิจการต่าง ๆ ภายในวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีการปล่อยน้ำไปสู่แหล่งการเกษตรและอุตสาหกรรม การอนุรักษ์น้ำของคลองชลประธาน แม่น้ำและคลองที่สำคัญ เช่น แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำบางขาม และคลองอนุศาสนนันท์ == หน่วยการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === จังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ, 124 ตำบล, 1,122 หมู่บ้าน {| | width = "250" valign="top" | อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ | width = "250" valign="top" | อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง |} === การปกครองส่วนท้องถิ่น === ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรีประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด และเทศบาลเมืองบ้านหมี่, เทศบาลตำบล 19 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 103 แห่ง โดยรายชื่อเทศบาลจำแนกตามอำเภอในจังหวัดลพบุรี มีดังนี้ {| | width = "250" valign="top" | อำเภอเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด เทศบาลตำบลโคกตูม เทศบาลตำบลเขาพระงาม เทศบาลตำบลท่าศาลา เทศบาลตำบลถนนใหญ่ เทศบาลตำบลกกโก อำเภอพัฒนานิคม เทศบาลตำบลแก่งเสือเต้น เทศบาลตำบลพัฒนานิคม เทศบาลตำบลดีลัง เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง | width = "250" valign="top" | อำเภอโคกสำโรง เทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล เทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอท่าวุ้ง เทศบาลตำบลท่าวุ้ง เทศบาลตำบลท่าโขลง เทศบาลตำบลโคกสลุด เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว เทศบาลตำบลบางงา อำเภอบ้านหมี่ เทศบาลเมืองบ้านหมี่ | width = "250" valign="top" | อำเภอท่าหลวง เทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ เทศบาลตำบลสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ ไม่มีเทศบาล อำเภอลำสนธิ ไม่มีเทศบาล อำเภอหนองม่วง เทศบาลตำบลหนองม่วง |} == ประชากร == ประชากรในจังหวัดลพบุรีมีด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น ไทยภาคกลาง ไทยพวน (เดิมเรียก ลาวพวน) และไทยเบิ้ง (หรือไทยเดิ้ง) ไทยอีสาน (พูดภาษาอีสาน) ไทยมอญ นอกจากนี้ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายอินเดียจำนวนไม่น้อยอีกด้วย ประชากรของจังหวัดลพบุรีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว แต่ปัจจุบันมีหลายกลุ่มที่มีความเป็นไทย ชาวไทยภาคกลางนั้นจะหนาแน่นแถบอำเภอเมืองใกล้รอยต่อระหว่างจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง รอบนอกเมืองลพบุรีส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายลาวทุกอำเภอ ซึ่งแต่เดิมปรากฏว่ามีการใช้ภาษาลาวด้วย แต่ปัจจุบันหลายชุมชนในอำเภอเมืองมีแนวโน้มในการใช้ภาษาลาวลดลง และมีชนเชื้อสายจีนปะปนอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีชนเชื้อสายลาวพวนส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ มีบ้างในตำบลถนนใหญ่ และโคกกระเทียมในอำเภอเมือง ชนเชื้อสายมอญอาศัยอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางขันหมากส่วนล่าง (ส่วนบนส่วนใหญ่เป็นชาวไทย) อำเภอเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทเบิ้ง ซึ่งเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช ที่ส่วนใหญ่อาศัยในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนชาวอีสานนั้นเข้ามาทางตะวันออกซึ่งติดกับจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดชัยภูมิ และอาศัยทางโคกเจริญ ชัยบาดาล ฯลฯ ชาวไทยเชื้อสายปากีสถานและอินเดียก็อาศัยในอำเภอเมืองและชัยบาดาล ซึ่งชนเชื้อสายต่าง ๆ นี้ยังคงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะนิสัยต่าง ๆ จึงแตกต่างกัน แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับประชากรส่วนใหญ่ได้ดี จำนวนประชากรทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี จากรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ช่วงปี พ.ศ. 2540-2550 มีประชากรนับถึงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 มีจำนวนทั้งสิ้น 787,768 คน แยกเป็นเพศชาย 410,775 คน เพศหญิง 376,993 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 127 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากจังหวัดลพบุรีเป็นเมืองยุทธศาสตร์การทหารจึงทำให้มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย แนวโน้มจำนวนประชากรในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2540-2550) คาดว่าในปี พ.ศ. 2550 ประชากรจังหวัดลพบุรีจะมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 906,149 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อยน้ำตาล ถั่วเขียว ถั่วเหลือง รายได้เฉลี่ยของประชากรในปี พ.ศ. 2537 คือ 34,301 บาทต่อคนต่อปี พ.ศ. 2540 จำนวน 47,335 บาทต่อคนต่อปี และคาดว่าในปี พ.ศ. 2550 จะเท่ากับ 76,446 บาทต่อคนต่อปี == เศรษฐกิจ == จังหวัดลพบุรี เมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาวนานกว่า 3,000 ปี นับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุครุ่งเรืองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อยมาจนถึงเมืองแห่งศูนย์กลางการทหารในยุคเปลี่ยนผ่านการปกครอง และในปัจจุบัน ด้วยศักยภาพจากภูมิศาสตร์อันเหมาะสมทำให้จังหวัดลพบุรี กำลังก้าวไปสู่ "เมืองแห่งพลังงานทดแทน" ปัจจุบัน จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ประมาณ 6,199.753 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ ในปี พ.ศ. 2557 มีประชากรประมาณ 758,627 คน และปี พ.ศ. 2555 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 86,602 ล้านบาท รายได้ต่อหัว 112,119 บาทต่อคนต่อปี โดยรายได้ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50 มาจากภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือสาขาเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว บริการ ในบรรดา 4 จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรีถือเป็นหัวขบวนทางเศรษฐกิจ และจัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 3 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมถึง 776 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเครื่องจักรกล มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมกว่า 50,000 คน ซึ่งแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดได้ถึง 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี จังหวัดลพบุรีมีสินค้าหัตถกรรมมากมาย เช่น ปลาส้มฟัก ดินสอพอง (มีการทำไข่เค็มจากดินสอพองด้วย) ผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวัน ผ้ามัดหมี่ และผ้าขาวม้าลายไส้ปลาไหล เป็นต้น == วัฒนธรรม == === ระบำลพบุรี === ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา พระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง (ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฏศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ผู้ประพันธ์ทำนองเพลง คือ ครูมนตรี ตราโมท === เพลง === บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดลพบุรี เช่น "ลพบุรีแดนทองของไทย" "ความหนาวที่ลพบุรี" "เข็ดแล้วลพบุรี" เป็นต้น === เทศกาลงานประจำปี === งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อจังหวัดลพบุรี ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน ที่ลพบุรี ช่วงเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม งานเทศกาลลอยกระทง ย้อนยุคไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จัด ณ วงเวียนสระแก้ว ลพบุรี งานเทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี ช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลผลิตกระท้อนของอำเภอเมืองลพบุรี เทศกาลโต๊ะจีนลิง เป็นหนึ่งใน 10 เทศกาลแปลกที่สุดในโลก งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมไปถึงสื่อต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย เทศกาลกินเจลพบุรี งานฤดูหนาวลพบุรี จัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ของทุกปี ณ สนามโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย งานกาชาดลพบุรี เทศกาลงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดลพบุรี ในเดือนตุลาคมของทุกปี ประเพณีชักพระศรีอาริย์ 14 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ประเพณีกำฟ้า ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 == การขนส่ง == === ทางถนน === ทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดลพบุรีมีดังนี้ {| | width = "500" valign="top" | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 (ถนนคชเสนีย์) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ถนนนารายณ์มหาราช, ถนนลพบุรี–ชัยนาท) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 (สายมวกเหล็ก–ลำนารายณ์) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 (ทางเข้าลำนารายณ์) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (สายถนนโค้ง–กุดม่วง) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321 (สายบ้านใหม่สามัคคี–สระโบสถ์) | width = "500" valign="top" | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3015 (สายสถานีรถไฟท่าแค-รพ.อานันทมหิดล) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3016 (สายค่ายเอราวัณ-สถานีรถไฟป่าหวาย) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017 (สายสามแยกนิคม–วังม่วง) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3019 (สายสถานีรถไฟโคกกะเทียม-สามแยกโคกกะเทียม) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3024 (สายถนนพหลโยธิน-ถนนเทศบาล อำเภอบ้านหมี่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3027 (สายท่าวุ้ง–บ้านเบิก อำเภอไชโย) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 (สายดงพลับ อำเภอตาคลี – เจ้าปลุก อำเภอมหาราช) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3562 (สายลพบุรี–ป่าหวาย) บ้านป่าหวาย–วงเวียนพลร่ม–วงเวียนสระแก้ว–สี่แยกสะพาน 7 |} {| | width = "500" valign="top" | ระยะทางจากอำเภอเมืองลพบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ อำเภอท่าวุ้ง ระยะทาง 15 กิโลเมตร อำเภอบ้านหมี่ ระยะทาง 32 กิโลเมตร อำเภอโคกสำโรง ระยะทาง 35 กิโลเมตร อำเภอพัฒนานิคม ระยะทาง 51 กิโลเมตร อำเภอหนองม่วง ระยะทาง 54 กิโลเมตร อำเภอสระโบสถ์ ระยะทาง 65 กิโลเมตร อำเภอโคกเจริญ ระยะทาง 77 กิโลเมตร อำเภอท่าหลวง ระยะทาง 83 กิโลเมตร อำเภอชัยบาดาล ระยะทาง 97 กิโลเมตร อำเภอลำสนธิ ระยะทาง 120 กิโลเมตร | width = "500" valign="top" | ระยะทางจากจังหวัดลพบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 153 กิโลเมตร จังหวัดสิงห์บุรี ระยะทาง 33 กิโลเมตร จังหวัดอ่างทอง ระยะทาง 45 กิโลเมตร จังหวัดสระบุรี ระยะทาง 46 กิโลเมตร จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 86 กิโลเมตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 91 กิโลเมตร จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 129 กิโลเมตร จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 195 กิโลเมตร จังหวัดชัยภูมิ ระยะทาง 230 กิโลเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะทาง 236 กิโลเมตร |} === ทางราง === มีทางรถไฟที่ผ่านจังหวัดลพบุรีจำนวนสองสาย สายแรกคือทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพมหานคร–เชียงใหม่) โดยผ่านสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟตามเส้นทางเที่ยวขึ้น ได้แก่ สถานีรถไฟบ้านป่าหวาย, สถานีรถไฟลพบุรี, สถานีรถไฟท่าแค, สถานีรถไฟโคกกระเทียม, สถานีรถไฟหนองเต่า, สถานีรถไฟหนองทรายขาว, สถานีรถไฟบ้านหมี่, สถานีรถไฟห้วยแก้วและที่หยุดรถไฟไผ่ใหญ่ สายที่สองคือทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ช่วง ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่) โดยผ่านสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟตามเส้นทางเที่ยวขึ้น ได้แก่ สถานีรถไฟแก่งเสือเต้น, ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์, ที่หยุดรถไฟบ้านหนองบัว, สถานีรถไฟโคกสลุง, สถานีรถไฟสุรนารายณ์, ที่หยุดรถไฟโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์, ที่หยุดรถไฟเขายายกะตา, ที่หยุดรถไฟตลาดลำนารายณ์, สถานีรถไฟลำนารายณ์, ที่หยุดรถไฟบ้านเกาะรัง, สถานีรถไฟแผ่นดินทอง, ที่หยุดรถไฟบ้านจงโกและสถานีรถไฟโคกคลี ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี–ปากน้ำโพ สำหรับจังหวัดลพบุรีนั้นมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่เป็นเส้นทางรถไฟเลี่ยงเมืองลพบุรี ช่วง บ้านกลับ–โคกกระเทียม ระยะทาง 29 กม. และทางคู่ช่วง ท่าแค–ไผ่ใหญ่ โดยโครงการคาดว่าจะเสร็จในปี พ.ศ. 2566 ในอดีตจังหวัดลพบุรีเคยมีระบบรถราง เส้นทางช่วง ท่าโพธิ์–เอราวัณ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498–2505 === ทางอากาศ === จังหวัดลพบุรีไม่มีท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ให้บริการ แต่มีท่าอากาศยานที่อยู่ในสังกัดของกองทัพบก และกองทัพอากาศ สนามบินโคกกระเทียม หรือ ฐานทัพอากาศโคกกะเทียม กองบิน 2 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ สังกัด กองทัพอากาศ สนามบินทหารอากาศ ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าหลวง สนามบินทหารอากาศ ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าวุ้ง สนามบินสระพรานนาค โรงเรียนการบิน ศูนย์การบินทหารบก ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา สังกัด กองทัพบก สนามบิน ค่ายวชิราลงกรณ์ สังกัด กองทัพบก สนามบินบ้านหมี่ ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่ ภายใต้การกำกับ ดูแลของมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนามบินฝึกใช้อาวุธทางอากาศ สังกัด กองทัพอากาศ สนามบินโคกสลุง == การทหาร == ปัจจุบัน ลพบุรีเป็นเมืองยุทธศาสตร์การทหารของไทย (Lopburi : The Military Strategic City of Thailand) เป็นที่ตั้งของกองกำลังทั้งทหารบกและทหารอากาศหลายหน่วย เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร กองกำลังทางการรบ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนั้นมีภูมิประเทศที่เหมาะสม คืออยู่บริเวณจุดกึ่งกลางของประเทศ จึงทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหารซึ่งสามารถที่กระจายหรือแจกจ่ายกำลังพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนอกจากนั้นได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี ซึ่งมีหน่วยทหารที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารบก, หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร, หน่วยรบพิเศษ เป็นต้น ดังนั้นเมืองลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารที่สำคัญตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็นเมืองเศรษฐกิจ เมืองท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษาของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองทหารอีกด้วย จังหวัดลพบุรี เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นจึงถูกเลือกให้เป็นที่มั่นแห่งที่ 2 ของประเทศมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การพัฒนาด้านการทหารของจังหวัดลพบุรี ปรากฏว่าเด่นชัดในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่อจริงคือ แปลก พิบูลสงคราม ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีทำให้กิจการด้านการทหารของลพบุรีมีความสำคัญมากเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ราว พ.ศ. 2480 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พัฒนาเมืองลพบุรี ให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยแยกชุมชนและสถานที่ราชการออกจากเมืองเก่า ทำให้ดูสง่างามกว่าเดิมและได้สร้างสิ่งก่อสร้างศิลปะแบบอาร์ตเดโก ขึ้นหลายแห่ง เช่น ตึกชาโต้ ตึกเอราวัณ โรงภาพยนตร์ ทหารบก เป็นต้น ลพบุรีจึงเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ที่อุดมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและมีความเป็นอมตะนคร ไม่หายไปจากความทรงจำของทุกยุคทุกสมัย และมีการวางผังเมืองใหม่ โดยย้ายศาลากลางจังหวัดจากบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์มายังสถานที่ตั้งในปัจจุบัน นอกจากได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหาร ซึ่งมีทหารบกหลายเหล่าได้แก่ เหล่าทหารราบ เหล่าปืนใหญ่ หน่วยรบพิเศษ และทหารอากาศ ได้แก่ กองบิน 2 และสนามฝึกซ้อมใช้อาวุธม่วงค่อมแล้ว นอกจากนี้ลพบุรียังมีสนามบินของกองทัพบกและกองทัพอากาศอยู่หลายที่ ลพบุรียังชื่อได้ว่าเป็นศูนย์กลางการบินเฮลิคอปเตอร์ของไทยอีกด้วย เพราะศูนย์กลางการบินเฮลิคอปเตอร์ทั้งทหารบกและทหารอากาศ ต่างตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี ==ดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2562 == ตั้งแต่ปี 2546 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (หรือ ยูเอนดีพี) ในประเทศไทยได้ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ในระดับจังหวัดโดยใช้ ดัชนีความก้าวหน้าของคน (หรือ เอชเอไอ) ดัชนีรวมที่ครอบคลุมขอบเขตสำคัญทั้งหมดแปดด้านของการพัฒนามนุษย์ ต่อมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้ามาทำหน้าที่นี้แทนตั้งแต่ปี 2560 {|---valign=top ||อันดับ||ตัวชี้วัด |- ||  1 - 15||"สูง" |- ||16 - 30||"ค่อนข้างสูง" |- ||31 - 45||"ทั่วไป" |- ||45 - 60||"ค่อนข้างต่ำ" |- ||61 - 77||"ต่ำ" |} == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี รายชื่อวัดในจังหวัดลพบุรี สโมสรฟุตบอลลพบุรี ซิตี้ อาณาจักรละโว้ อำเภอเมืองลพบุรี รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดลพบุรี == แหล่งข้อมูลอื่น == มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เว็บไซต์ของเทศบาลเมืองลพบุรี เว็บไซต์สังคมออนไลน์ของคนจังหวัดลพบุรี
thaiwikipedia
1,274
ซีปัง
ซีปัง (Zipang) เป็นผลงานของไคจิ คาวางูจิ ผู้เขียนยุทธการใต้สมุทร ตีพิมพ์ในประเทศไทย โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจปัจจุบันวางขายถึงเล่มที่ 43 (จบ) และที่ประเทศญี่ปุ่นได้พิมพ์ถึงเล่มที่ 43 (จบ) == เนื้อเรื่อง == เรือลาดตระเวณชั้นเอจิส (AEGIS) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของประเทศญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน ชื่อ "มิไร" (DDG-182 Mirai, มิไร แปลว่า "อนาคต") ได้บังเอิญย้อนเวลากลับไปยังสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และต้องเผชิญหน้าทั้งกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และกองทัพของสหรัฐอเมริกา โดยมีตัวละครหลักคือนายทหารเรือของจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น คุซากะ ทาคุมิ ได้รู้ถึงอนาคตของประเทศญี่ปุ่นจากฐานข้อมูลในเรือมิไร จึงได้พยายามเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์โดยพยายามให้ญี่ปุ่นเร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ให้ได้ก่อนอเมริกา เพื่อให้ญี่ปุ่นรอดจากการแพ้สงคราม ให้ญี่ปุ่นใหม่กลายเป็นประเทศในฝันตามชื่อ "Zipang" == ตัวละคร == === ลูกเรือ DDG-182 Mirai (สังกัด JMSDF) === โยสุเกะ คาโดมัตสึ (角松 洋介, Kadomatsu Yōsuke) ตัวละครเอกของเรื่องนี้ คาโดมัตสึมียศเป็นนาวาโทแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ตำแหน่งต้นเรือและรองผู้บังคับการเรือมิไร (ต่อมาเมื่อนาวาเอกอุเมสึซึ่งเป็นผู้บังคับการเรือได้รับบาดเจ็บจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บังคับการเรือแทน) มาซายุกิ คิคุจิ (菊池 雅行, Kikuchi Masayuki) ต้นปืนประจำเรือมิไร ยศนาวาตรีแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ในช่วงแรกของเรื่องเป็นนายทหารที่ไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอดีต แต่ด้วยคำหว่านล้อมของคุซากะทำให้มาซายุกิเปลี่ยนใจไปเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้คาโตมัตสึจะห้ามแล้วก็ตามแต่มาซายูกิก็เชื่อความคิดตัวเองและยึดอำนาจไปจากเรือทำให้คาโตมัตสึต้องยอมลงจากเรือเพื่อรักษาความสงบไว้ โคเฮ โองุริ (尾栗 康平, Oguri Kouhei) ต้นหนประจำเรือมิไร ยศนาวาตรีแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ซาบุโระ อุเมสึ (梅津 三郎, Umezu Saburo) นาวาเอกแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล ผู้บังคับการเรือ (กัปตัน) และเป็นผู้มีอำนาจสั่งการสูงสุดของเรือมิไร เขาให้ความเอาใจใส่ต่อลูกเรือและให้ความสำคัญสูงสุดต่อการรักษาชีวิตกำลังพลของตนเองได้ คนที่เคยทำงานกับอุเมสึต่างเรียกเขาว่า "ตะเกียงที่จุดในเวลากลางวัน" (昼行灯, ฮิรุอันดง) จากนิสัยของเขาที่เป็นคนเรียบง่ายและไม่ใคร่จะระวังสิ่งรอบข้างตนเองนัก หลังจากเรือมิไรได้ย้อนอดีตกลับมาสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างลึกลับ อุเมสึได้เสนอต่อลูกเรือของตนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสงครามครั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ อุเมสึชาญฉลาดในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่ว่าเมื่อเรือมิไรจะถูกโจมตีหรือลูกเรือของตนจะตัดสินใจเข้าร่วมรบกับจักรพรรดินาวีญึ่ปุ่นก็ตาม ระหว่างที่เรือมิไรปฏิบัติการถอนกำลังทหารญี่ปุ่นในหมู่เกาะอะลูชัน (Aleutian Islands) อุเมสึได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างหนักระหว่างที่เรือมิไรสู้กับเรือรบชั้นแอตแลนตาของสหรัฐอเมริกา เขาจึงต้องเข้ารับการรักษาตัวที่เมืองโยโกสึกะและมอบอำนาจตำแหน่งผู้บังคับการเรือให้แก่คาโดมัตสึ ต่อมาเมื่ออุเมสึทราบข่าวว่าคุซากะมีแผนการสร้างระเบิดปรมาณูจึงเดินทางไปยังเมืองนานกิงพร้อมกับเรือโทคิซารากิแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่นเพื่อหยุดยั้งแผนการของคุซากะแต่ไม่สำเร็จและเสียชีวิตระหว่างพยายามขัดขวางการเคลื่อนย้ายยูเรเนียมความเข้มข้นสูงของคุซากะ ซาจิโกะ โมโมอิ (桃井 佐知子, Momoi Sachiko) เรือเอกแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลและแพทย์ประจำเรือมิไร เธอเป็นลูกเรือหญิงเพียงคนเดียวบนเรือลำนี้ เธอมีทัศนคติที่เป็นกลางและไม่สนใจในการร่วมถกเถียงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเพราะเธอเห็นว่าการรักษาพยาบาลผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่เธอให้ความสำคัญมากที่สุด มาโมรุ ซาตาเกะ (佐竹 守, Satake Mamoru) เรือเอกแห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล นักบินประจำเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง "อุมิโดริ" (MVSA-32J Umidori) ของเรือมิไร เขาเป็นคนที่มีนิสัยจริงจังและบางครั้งก็ขาดความอดทนต่อการอยู่ในระเบียบวินัย หลังการย้อนอดีตมาสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ไม่กี่วัน ซาดาเกะและโมริ พลปืนประจำเครื่องอุมิโดริ ได้รับคำสั่งจากคาโดมัตสึให้ทำการลาดตระเวนในแถบโองาสะวาระเพื่อพิสูจน์ว่าตนอยู่ในยุคสงครามโลกจริงหรือไม่ เขาได้ตัดสินใจบินลาดตระเวนเหนือพื้นที่ดังกล่าวเพียง 500 ฟุต ทำให้ซาตาเกะและโมริถูกโจมตีจากเครื่องบินทะเลขับไล่แบบ 2 ของกองทัพจักรวรรดิ 2 ลำ และเป็นเหตุในโมริเสียชีวิต ซาตาเกะจึงโทษตัวเองว่าเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของตนจึงทำให้โมริต้องเสียชีวิต ภายหลังเมื่อเรือมิไรปฏิบัติการร่วมกับจักรพรรดินาวีในการถอนกำลังทหารในน่านน้ำนิวกินี กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทุ่มกำลังฝูงบินขนาดใหญ่ทำลายเรือมิไร ซาตาเกะจึงนำเครื่องบินอุมิโดริขึ้นรบเพื่อคุ้มกันเรือจากการถูกทิ้งระเบิดและได้นำเครื่องบินของตนเข้าขวางลูกระเบิดที่กำลังจะพุ่งเข้าใส่เรือมิไรเนื่องจากปืนกลประจำเครื่องบินไม่สามารถใช้งานได้ หลังการรบปรากฏว่าซาตาเกะหายสาบสูญ === จักรพรรดินาวีญี่ปุ่น === ทาคุมิ คุซากะ (Takumi Kusaka) นาวาตรีเหล่าทหารสื่อสารแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ได้รับความช่วยเหลือจากนาวาโทคาโดมัตสึแห่งเรือมิไรหลังจากที่เครื่องบินทะเลที่ตนนั่งมาถูกยิงตกทะเลระหว่างเดินทางจากมิดเวย์เพื่อส่งมอบบันทึกการรบในยุทธนาวีมิดให้แก่กองบัญชาการกองทัพเรือผสม การที่เขาได้รับความช่วยเหลือจากคาโดมัตสึทำให้เขาได้รับรู้ถึงอนาคตของญี่ปุ่นในอนาคต ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามและฟื้นตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งด้วยอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา คุซากะจึงเกิดความรู้สึกปฏิเสธต่ออนาคตของญี่ปุ่นยุคหลังสงครามที่เขาได้เห็น และต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์อนาคตใหม่ให้ญี่ปุ่นยุคหลังสงครามยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้โดยไม่พบกับความพ่ายแพ้ และปราศจากอิทธิพลของการปกครองของทหาร โดยเขาเรียกชื่อญี่ปุ่นใหม่ในความคิดของตนว่า "ซีปัง" คุซากะจึงเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ ทั้งโดยการลงมือด้วยตัวเองและยืมมือคนอื่นให้ช่วย เพื่อให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เขาได้รับรู้มาถึงเร็วกว่าที่บันทึกไว้ พร้อมทั้งยังคิดที่จะสร้างระเบิดปรมาณูให้สำเร็จก่อนสหรัฐอเมริกา โดยเป้าหมายคือการใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาสันติภาพกับสหรัฐอเมริกาด้วย คาซึมะ สึดะ (Kazuma Tsuda) เรือเอกแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น เขาเป็นนายทหารสื่อสารฝีมือดี และเป็นนักเรียนนายเรือรุ่นน้องของคุซากะและนับถือในตัวคุซากะมาก หลังการหายสาบสูญของนาวาตรีคุซากะที่มิดเวย์และมีข่าวเกี่ยวกับการปรากฏตัวของเรือลึกลับ ทำให้เขาเกิดความสงสัยว่าเรื่องทั้งสองจะมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ จึงทำการตรวจสอบจนกระทั่งพบกับคุซากะและคาโดมัตสึที่สิงคโปร์ และนำไปสู่การพบกับเรือมิไร ในระยะที่เขาได้อยู่ในเรือมิไรนั้น เขาเกือบจะคว้านท้องตัวเองเพราะถือว่าตัวเองเป็นเชลยจากการที่เรือมิไรทำการยิงปืนเรือขัดขวางการยิงถล่มกองทัพสหรัฐอเมริกาที่กัวดาคาแนลของเรือประจัญบานยามาโตะ เขารับปากที่จะเดินทางไปยังเยอรมนีเพื่อลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมนี ตามคำขอของคุซากะซึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ แต่ไม่สำเร็จ เขาสามารถหลบหนีฝ่ายเยอรมนีออกมาได้แต่ถูกยิงบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา เออิจิโร ทาคิ (Eiichirō Taki) อิโซโรคุ ยามาโมโตะ นายพลเรือเอกแห่งจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือผสมของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขามีความสนใจในเรือมิไรเป็นอย่างมากนับตั้งแต่พบเห็นเรือลำนี้โผล่ขึ้นมาอยู่กลางกองเรือที่เดินทางไปร่วมยุทธนาวีที่มิดเวย์และสามารถเอาตัวรอดจากการสกัดกั้นของเรือรบจักรวรรดิได้ ศักยภาพของเรือมิไรจึงทำให้ยามาโมโตะต้องการจะให้เรือลำนี้เข้าร่วมรบในกองทัพเรือผสมเพื่อให้ญี่ปุ่นเอาชนะกองทัพสหรัฐอเมริกาและหาทางเปิดการเจรจาสันติภาพได้ == รายชื่อตอน == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ที่ Tokyo Broadcasting System รายละเอียดที่ animenewsnetwork.com หนังสือการ์ตูนเรื่องอื่นๆของ Kaiji Kawaguchi ผู้วาด Zipang การ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซเน็ง‎ ตัวละครที่เป็นกำลังพลกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ตัวละครที่เป็นกำลังพลกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น การทหารในอนิเมะและมังงะ
thaiwikipedia
1,275
ประเทศโรมาเนีย
โรมาเนีย (Romania; România, ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยกระหว่างยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมอลโดวาทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศยูเครนทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศเซอร์เบียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศบัลแกเรียทางทิศใต้ และจรดทะเลดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศภาคพื้นทวีปเขตอบอุ่นเป็นหลัก มีเนื้อที่ 238,397 ตารางกิโลเมตร (92,046 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 19 ล้านคน โรมาเนียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ในยุโรปและเป็นรัฐสมาชิกที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือบูคาเรสต์ เขตเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ยัช, กลุฌ-นาปอกา, ตีมีชออารา, กอนสตันซา, กรายอวา, บราชอฟ และกาลัตส์ แม่น้ำดานูบซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของยุโรป มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดำของประเทศเยอรมนีและไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 2,857 กิโลเมตร (1,775 ไมล์) ก่อนไหลลงสู่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบของโรมาเนีย เทือกเขาคาร์เพเทียนซึ่งพาดผ่านโรมาเนียจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของยอดเขามอลดอเวอานูซึ่งมีระดับความสูง 2,544 เมตร (8,346 ฟุต) โรมาเนียได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1859 ผ่านการรวมกันระหว่างราชรัฐมอลเดเวียกับราชรัฐวอลเลเกียแห่งลุ่มน้ำดานูบ รัฐใหม่ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโรมาเนียตั้งแต่ ค.ศ. 1866 ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1877 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากประกาศความเป็นกลางใน ค.ศ. 1914 โรมาเนียได้ต่อสู้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ. 1916 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ภูมิภาคบูโควีนา, เบสซาเรเบีย, ทรานซิลเวเนีย และบางส่วนของภูมิภาคบานัต, กรีชานา และมารามูเรชกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโรมาเนีย ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ค.ศ. 1940 ด้วยผลของกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพและรางวัลเวียนนาครั้งที่ 2 โรมาเนียจำต้องยกเบสซาเรเบียและตอนเหนือของบูโควีนาให้แก่สหภาพโซเวียต และยกตอนเหนือของทรานซิลเวเนียให้แก่ฮังการี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 โรมาเนียลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี และด้วยเหตุนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับฝ่ายอักษะ โดยต่อสู้กับสหภาพโซเวียตจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 จากนั้นก็เปลี่ยนมาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้ครอบครองตอนเหนือของทรานซิลเวเนีย หลังสงครามและการยึดครองของกองทัพแดง โรมาเนียได้กลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมและเป็นสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอ หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1989 โรมาเนียเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี โรมาเนียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจรายได้สูง อยู่ในอันดับที่ 49 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 47 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) โรมาเนียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยเศรษฐกิจในปัจจุบันขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสุทธิของเครื่องจักรและพลังงานไฟฟ้าผ่านบริษัทอย่างอาวูตอมอบีเลดาชียาและออเอมเว เปตรอม เป็นต้น โรมาเนียเป็นสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1955 เป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือตั้งแต่ ค.ศ. 2004 และเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ประชากรส่วนใหญ่ของโรมาเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์โรมาเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และพูดภาษาโรมาเนียซึ่งเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ == ศัพทมูลวิทยา == ชื่อ "โรมาเนีย" แผลงมาจากคำว่า รอมึน (român) ซึ่งเป็นชื่อในท้องถิ่นที่ใช้เรียกชาวโรมาเนีย โดยแผลงมาจากคำว่า โรมานุส (romanus) ซึ่งแปลว่า "ชาวโรมัน" หรือ "จากโรม" ในภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง ชื่อชาติพันธุ์โรมาเนียดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ยืนยันเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยนักมนุษยนิยมชาวอิตาลีที่เดินทางอยู่ในทรานซิลเวเนีย, มอลเดเวีย และวอลเลเกีย เอกสารที่เขียนเป็นภาษาโรมาเนียที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1521 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "จดหมายของเนอักชูจากกึมปูลุงก์" (Scrisoarea lui Neacșu din Câmpulung) มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นเอกสารที่ปรากฏการใช้ศัพท์ โรมาเนีย ในชื่อประเทศเป็นครั้งแรก โดยผู้เขียนจดหมายฉบับนี้เรียกภูมิภาควอลเลเกียเป็นภาษาโรมาเนียว่า เซอารารูมือเนอัสเกอ (Țeara Rumânească) == ภูมิศาสตร์ == โรมาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และมีเทือกเขาคาร์เพเทียนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีที่ราบทางตอนใต้ของเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์เป็นที่ทางการเกษตรเรียกว่า วอลเลเกีย โรมาเนียจัดเป็นประเทศที่ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติอยู่มาก โดยทางเมืองแถบทรานซิลเวเนียแอลป์ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมีสีน้ำตาล หมาป่าสีเทา แมวป่าบางชนิด และละมั่งอยู่ในปริมาณที่เยอะมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบยุโรป ซึ่งลดจำนวนลงเรื่อย ๆ == ประวัติศาสตร์ == ดินแดนโรมาเนียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาได้ประกาศเอกราชและสถาปนาเป็นราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2421 ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโรมาเนียถูกกองทัพไรช์ที่สาม เวร์มัคท์เข้ายึดครอง กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยและมีอำนาจเหนือโรมาเนียแทนเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในปี 2490 ในเดือนธันวาคม 2532 ประชาชนได้ก่อการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่เป็นรัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม (Democratic and Social State) มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข ภายหลังจากการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ == การเมืองการปกครอง == === สถานการณ์สำคัญ === เดิมรัฐบาลโรมาเนียเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Liberal Party (NLP) พรรค Democratic Party (DP) และพรรค Hungarian Democratic Union of Romania (HDUR) อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรค NLP (ของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu) และพรรค DP (ของประธานาธิบดี Basescu) เริ่มไม่ลงรอยกัน อันมีสาเหตุมาจากการที่ประธานาธิบดี Basescu ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 การประกาศตนเป็นคู่แข่งดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดี Basescu และนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu เริ่มมีความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบศาลให้มีอิสระอย่างแท้จริง การเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน การเสริมสร้างบรรยากาศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านพรมแดนกับยูเครน รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์กับมอลโดวา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 นาย Mihai Razvan Ungureanu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดนาย Basescu ประธานาธิบดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมิได้รายงานให้นาย Popescu-Tariceanu นายกรัฐมนตรี ทราบถึงกรณีคนงานชาวโรมาเนีย 2 รายถูกจับกุม เนื่องจากถ่ายภาพในฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า การลาออกของ นาย Ungureanu เป็นการตอกย้ำความไม่ลงรอยกันระหว่างประธานาธิบดี Basescu กับนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลโรมาเนียก็ประสบวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวหาประธานาธิบดีว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสร้างสาธารณูปโภค นอกจากนี้การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และการที่ประธานาธิบดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าโกหกในเรื่องการผลักดัน การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้คาดการณ์ว่า หากรัฐบาลสามารถคงอยู่ต่อไป ก็จะเป็นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ หรือหากมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นกว่ากำหนด การที่หัวหน้าพรรคใหญ่ที่ทรงอิทธิพล 2 พรรค ได้แก่ พรรค PNL ของนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และพรรค PD ของประธานาธิบดี Basescu มีความขัดแย้งกันเช่นนี้ นำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรค PD ออก 8 ตำแหน่ง ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยพรรค PNL และพรรค Democratic Union of Hungarians in Romania (UDMR) แทน โดยคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมาเนียแล้วเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2550 การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการรวมตัวของยุโรป กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของ โรมาเนีย และแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย (ร้อยละ 26) แต่ก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรค PNL คู่ปรับ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น (ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนีย หากรัฐสภาปฏิเสธที่จะให้การรับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง ประธานาธิบดีสามารถยุบสภาได้) ความตึงเครียดทางความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550 รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี Basescu ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 108 ด้วย 19 ข้อหา อาทิ ประธานาธิบดี Basescu พยายามเข้าครอบงำหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง และวิพากษ์วิจารณ์ศาล ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดี Basescu ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการลงประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับการถอดถอนดังกล่าวหรือไม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติประมาณ 5.8 ล้านคน (หรือประมาณร้อยละ 44 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด) และปรากฏว่า มีผู้ลงมติสนับสนุนประธานาธิบดี (คัดค้านมติของรัฐสภา) ถึงประมาณร้อยละ 75 และมีผู้ลงมติไม่สนับสนุนประธานาธิบดีประมาณร้อยละ 25 ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของประธานาธิบดี Basescu ที่มีต่อรัฐสภาและรัฐบาล และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อประธานาธิบดี Basescu พร้อมกันนี้ นาย Jose Manuel Barosso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวแสดงความหวังว่า ผลการลงประชามติดังกล่าว จะมีส่วนสนับสนุนให้โรมาเนียดำเนินการปฏิรูปสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการยุติธรรม ต่อไป == การแบ่งเขตการปกครอง == โรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 41 เทศมณฑล (județ) กับ 1 เทศบาลนคร (municipiu) การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะ {| |- ! เขตการปกครอง || เมืองหลัก ! เขตการปกครอง || เมืองหลัก |- | เทศมณฑลกลุฌ || กลุฌ-นาปอกา | เทศมณฑลบิสตริตซา-เนอเซอวุด || บิสตริตซา |- | เทศมณฑลกอนสตันซา || กอนสตันซา | เทศมณฑลบีฮอร์ || ออราเดอา |- | เทศมณฑลกอร์ฌ || ตือร์กูฌิว | เทศมณฑลบูเซิว || บูเซิว |- | เทศมณฑลกอวัสนา || สฟึนตูกียอร์กีเย | เทศมณฑลเบรอยีลา || เบรอยีลา |- | เทศมณฑลการัช-เซเวริน || เรชิตซา | เทศมณฑลปราฮอวา || ปลอเยชต์ |- | เทศมณฑลกาลัตส์ || กาลัตส์ | เทศมณฑลมารามูเรช || บายามาเร |- | เทศมณฑลเกอเลอรัช || เกอเลอรัช | เทศมณฑลมูเรช || ตือร์กูมูเรช |- | เทศมณฑลจูร์จู || จูร์จู | เทศมณฑลเมเฮดินตส์ || ดรอเบตา-ตูร์นูเซเวริน |- | เทศมณฑลซาตูมาเร || ซาตูมาเร | เทศมณฑลยัช || ยัช |- | เทศมณฑลซีบิว || ซีบิว | เทศมณฑลยาลอมิตซา || สลอบอซียา |- | เทศมณฑลซูชาวา || ซูชาวา | เทศมณฑลวรันชา || ฟอกชัน |- | เทศมณฑลเซอลัฌ || ซาเลิว | เทศมณฑลวัสลุย || วัสลุย |- | เทศมณฑลดอลฌ์ || กรายอวา | เทศมณฑลวึลชา || รึมนีกูวึลชา |- | เทศมณฑลดึมบอวิตซา || ตือร์กอวิชเต | เทศมณฑลออลต์ || สลาตีนา |- | เทศมณฑลตีมิช || ตีมีชออารา | เทศมณฑลอัลบา || อัลบายูลียา |- | เทศมณฑลตุลชา || ตุลชา | เทศมณฑลอาร์เจช || ปีเตชต์ |- | เทศมณฑลเตเลออร์มัน || อาเลกซันดรียา | เทศมณฑลอารัด || อารัด |- | เทศมณฑลเนอัมตส์ || ปียาตราเนอัมตส์ | เทศมณฑลอิลฟอฟ || บูคาเรสต์ |- | เทศมณฑลบราชอฟ || บราชอฟ | เทศมณฑลฮาร์กีตา || มีเยร์กูเรอาชุก |- | เทศมณฑลบอตอชัน || บอตอชัน | เทศมณฑลฮูเนดออารา | เดวา |- | เทศมณฑลบาเกิว || บาเกิว | เทศบาลนครบูคาเรสต์||– |} == เศรษฐกิจ == โรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543 จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ ในปี 2545 เศรษฐกิจของโรมาเนียเริ่มมีสภาวะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การสร้างทางรถไฟและท่าเรือ และโครงการด้านการพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มในศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ประกันภัย การท่องเที่ยว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร ในการปฏิรูประบบโครงสร้าง รัฐบาลมีโครงการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ ธนาคาร Banca Coerciala Romana (BCR) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และบริษัทน้ำมันแห่งชาติ PETROM และยังมีโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เหมืองแร่ และอาวุธ รัฐบาลโรมาเนียจึงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาชำระหนี้สิน โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ระยะ 2 ปี จำนวน 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรมาเนีย โรมาเนียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้พร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้โรมาเนียได้รับเงินช่วยเหลือทางการเกษตรหลายร้อยล้านยูโร ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบขนส่งและสาธารณูปโภค รวมทั้ง เงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากค่างจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป == ประชากรศาสตร์ == === เชื้อชาติ === ประชากร 22.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549) ประกอบด้วยชาวโรมาเนีย (ร้อยละ 89.5) ชาวฮังการี (ร้อยละ 6.6) ชาวโรมานี (ร้อยละ 2.5) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 0.3) ชาวยูเครน (ร้อยละ 0.3) === ศาสนา === ประเทศโรมาเนียไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 81.0% ของผู้ที่ตอบสำมะโนประชากรของประเทศในปี ค.ศ. 2011 ถือนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจัดอยู่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งโรมาเนีย อีก 6.2% เป็นโปรเตสแตนต์ 4.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 0.8% เป็นออร์ทอดอกซ์แบบกรีก จากประชากรที่เหลือ 195,569 คน นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือนับถือศาสนาอื่น โดย 64,337 คนนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งโดยมากเป็นชาวโรมาเซียเชื้อสายเติร์กและตาร์ตาร์ ส่วนอีก 3,519 คนเป็นชาวยิว นอกจากนี้ ประชากรจำนวน 39,660 คน ไม่นับถือศาสนาใดเลย หรือถืออเทวนิยม ในขณะที่ที่เหลือไม่มีข้อมูลว่านับถืออะไร === ภาษา === ภาษาทางการของโรมาเนียคือภาษาโรมาเนีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ตัวอักษรละติน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ บางส่วนของประเทศมีการใช้ภาษาโรมาเนียควบคู่ไปกับภาษาฮังการี ในขณะที่บางแห่งของประเทศยังมีการพูดภาษาเยอรมันเล็กน้อย โดยทั่วไป ชาวโรมาเนียหลายคนพูดภาษาอังกฤษและหรือภาษาฝรั่งเศสได้ดีพอใช้ ซึ่ง ทั้งสองภาษานั้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะใช้บ่อยในวงการธุรกิจ == วัฒนธรรม == === อาหาร === อาหารโรมาเนีย ประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยอิทธิพลที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารออตโตมัน ในขณะที่ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจากประเทศยุโรปอื่น คือ อาหารเยอรมัน อาหารเซอร์เบีย อาหารบัลแกเรีย และอาหารฮังการี ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ ทำให้อาหารโรมาเนียมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประเทศโรมาเนีย ร รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2421
thaiwikipedia
1,276
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator) บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร เทคโนโลยีล้าสมัย สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ การคุยออนไลน์
thaiwikipedia
1,277
พรอลวนคนอลเวง
พรอลวนคนอลเวง เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีเนื้อหาในลักษณะแฟนตาซีและกีฬา ที่ได้รับความนิยม แต่งโดย อาดาจิ มิซึรุ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ถูกตีพิมพ์ในญี่ปุ่นโดยโชงะกุกัง ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ โซเน็นซันเดย์ ตั้งแต่ฉบับที่ 22/23 ของ พ.ศ. 2543 ถึงฉบับที่ 24 ของปี พ.ศ. 2544 พรอลวนคนอลเวง ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ด้วยความยาว 5 เล่มจบ == เนื้อเรื่อง == เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก 6 คนที่สร้างวีรกรรมช่วยดับไฟที่จะไหม้วัดเอาไว้ได้ พระเจ้าแห่งวัดนั้นได้ให้พลังที่แตกต่างกันกับทั้งหกในวันที่พวกเขาอายุ 13 ปี เมื่อพวกเขาเข้าเรียนในชั้นจูเนียร์ไฮสคูลด้วยกัน ได้ร่วมกันสร้างชมรมกีฬาที่รวมเอาผู้มีความสามารถในกีฬาทุกประเภทมาให้ชมรมอื่นได้ยืมตัว ในกรณีที่สมาชิกปกติของเหล่าชมรมเหล่าไม่สามารถลงแข่งด้วยเหตุผลต่าง ๆ พรอลวนคนอลเวง เป็นการ์ตูนของอาดาจิที่ตัวละครเอกมีอายุน้อยที่สุดที่เคยมี คือ 13 ปี == ตัวละคร == == รายชื่อตอน == == แหล่งข้อมูลอื่น == พรอลวนคนอลเวง ใน Anime News Network การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง‎ อนิเมะและมังงะเกี่ยวกับเบสบอล‎
thaiwikipedia
1,278
ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส
ซี-คิดส์ เอ๊กซ์เพรส (C-Kids Express) หรือชื่อเดิมว่า ซี-คิดส์ (C-Kids) เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ ของ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในเครือสยามกีฬา การ์ตูนในเล่มเป็นการ์ตูนที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ จากประเทศญี่ปุ่น วางตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โดยช่วงแรกของการวางจำหน่ายนั้นจะเป็นแบบเปิด ซ้ายไปขวา แต่พอมาถึงฉบับของวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนรูปโฉมมาเป็นอ่านแบบ ขวาไปซ้าย ตามต้นฉบับญี่ปุ่น โดยปกของเล่มที่เปิดจาก ขวาไปซ้าย อย่างสมบูรณ์เล่มแรกคือเรื่อง นักรบเหล็กเทวะ และในปัจจุบัน C-Kids Express ได้ปิดตัวลงในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 หลังจากที่ได้ออกหนังสือ C-Kids รายสัปดาห์เล่มสุดท้าย == รายชื่อการ์ตูนที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือ == === การ์ตูนที่ยังตีพิมพ์ลงในซีคิดส์อยู่ === ==== การ์ตูนญี่ปุ่น ==== วันพีซ กินทามะ โทริโกะ รักลวงป่วนใจ ยอดนักปรุงโซมะ มายฮีโร่ อคาเดเมีย ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน ==== การ์ตูนไทย ==== แว่วกริ่งกังสดาล เจ้าหนูข้าวจี่ สาวนักวาดxนายพ่อครัว === การ์ตูนที่เคยตีพิมพ์ลงในซีคิดส์ === ==== การ์ตูนญี่ปุ่น ==== กัปตันซึบาสะ กัปตันซึบาสะ ภาคเยาวชนโลก กัปตันซึบาสะ ภาค Road to 2002 กัปตันซึบาสะ ภาค Golden 23 เกมกลคนอัจฉริยะ เกมกลคนอัจฉริยะ R จอมเกบลูส์ Shaman King - ราชันแห่งภูติ ซามูไรพเนจร ดาวตลกฟ้าประทาน ดี.เกรย์แมน ไดตะลุยแดนเวทมนตร์ มืออสูรล่าปีศาจ ลุยแหลกเกินหลักสูตร แรช, หมอสาวจอมดีเดือด บีต นักล่าอสูร Rookies มือใหม่ไฟแรง ตำนานเทพประยุทธ์ ชิบะอินุ เมียวจิน ทูตส่งวิญญาน โค เทพอสูรพิชิตมาร หนุ่มน้อยปริศนา เกโด ฟิชชิ่งบอย พินทาโร่ เรื่องวุ่นๆของนายซากุระ นักรบเหล็กเทวะ ไอส์ แบล็คแคท สำนักงานไขคดีสารพัดปิศาจ ของ มุเฮียว & โรซี่ ไกเซอร์ สไปค์ ซอร์ด เบรเกอร์ แทตทู ฮาร์ทส Santa! อาคิโตะ หัตถ์เทวดา Wāqwāq เซนจู เทวฤทธิ์พันมือ Gun Blaze West ปืนประกาศิต ฮาเดส มัจจุราชชุดขาว นูเบ มืออสูรล่าปีศาจ Magico ศึกอภินิหารเจ้าสาวจอมเวทย์ PSYREN ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น! เด็กพันธุ์นรกสั่งลุย (Beelzebub) อัสแซสซิเนชันคลาสรูม ==== การ์ตูนไทย ==== เอ็กซีคิวชั่นแนล Breezing on you ไพรดิบ สิงหไกรภพ GetSome! รึนายจะเอา สงครามดาบล้างโลก Gaiety Fantasy School/Runs! Rise ผจญภัยสุดขอบโลก Kiririn (การ์ตูนสี่ช่อง) อหังการ์ราชันย์ยักษ์ Holliday Howl == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == บูม นีออซ KC.Weekly หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ นิตยสารการ์ตูนในประเทศไทย
thaiwikipedia
1,279
บูม (หนังสือการ์ตูน)
บูม (Boom) เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เจ้าของคือสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ (NED) ในเครือเนชั่นกรุ๊ป การ์ตูนในเล่มเป็นการ์ตูนที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ประเทศญี่ปุ่นวางตลาดเมื่อ พ.ศ.2537 ในปัจจุบันทางเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ได้ยุติการวางจำหน่ายแล้ว โดยฉบับสุดท้ายได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 == รายชื่อการ์ตูนที่เคยตีพิมพ์ == ดราก้อนบอล (Dragon Ball) * ดราก้อนบอล (ภาคแรก) * ดราก้อนบอล Z นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ (Naruto) * นารูโตะ นินจาจอมคาถา * นารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน Bleach เทพมรณะ เดธโน้ต (Death Note) สตีล บอล รัน (Steel Ball Run) ทาร์จังเจ้าป่าฮาเฮ พริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส (Prince of tennis) ลักกี้แมน จริง ๆ นะจะบอกให้ (Luckyman) คุโรโกะ นายจืดพลิกสังเวียนบาส สแลมดังก์ (Slam Dunk) อายชีลด์ 21 ไอ้หนูไต้ฝุ่นมะกันบอล (Eyeshield 21) ฮิคารุเซียนโกะ (Hikaru no go) เอ็มxซีโร่ (Mx 0) บลูดราก้อน ราลΩกราด คอนแทร็คเตอร์ เอ็มแอนด์วาย ไวลด์ฮาล์ฟ (Wildhalf) วัยซนคนการ์ตูน อักขระสยบมรณะ เก๋าโจ๋ โก๋พันธุ์สวย ชมรมแฮนด์บอล หัวใจสะออน โกโต้ ประธานเลือดเดือด นักรบคู่บัลลังก์ รีเทิร์น คนเก่าในร่างใหม่ (Return) หนุ่มเฮี้ยวพันธุ์ระห่ำ BOY แซนด์แลนด์ (Sand Land) ไอ้หนูแข้งทอง (Whistle) มากิบาโอ Joker The search ชิงุ มังกรน้อยหมัดสั่ง เนโกะ มาจินZ (Nekomajin Z) ลิลิมุ Kiss สเก็ต ดานซ์ (Sket Dance) เคนโด้ ดวล เดือด (Kurogane) Hungry Joker == รายชื่อการ์ตูนที่ตีพิมพ์อยู่ในปัจจุบัน== โบรูโตะ (Boruto) โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ (HunterXHunter) เครยอนชินจัง เรียล (Real) เอ็กซอร์ซิสต์พันธุ์ปีศาจ (Blue Exorcist) โซลแคชเชอร์ส ไซคิหนุ่มพลังจิตอลเวง เวิลด์ ทริกเกอร์ แพลตตินัม เอนด์ มีดที่สิบสาม อภัยมณี ซาก้า Joe The Sea-Cret Agent == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ C-Kids หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ KC.Weekly หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ นีออซ หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ นิตยสารการ์ตูนในประเทศไทย
thaiwikipedia
1,280
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; อักษรย่อ: MU) เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และมีที่ตั้งอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่มาจากโรงเรียนแพทยากร (โรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์สี่คณะ มาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน และ 3 วิทยาเขต และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยจากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2552 และยังเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) == ประวัติ == พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง ต่อมาใน พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง โรงเรียนแพทยากร โดยจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อววันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" ซึ่งได้รับการพัฒนาวิชาการจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตร ซึ่งอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ หลายคณะ ต่อมาได้โอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ และใน พ.ศ. 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558–2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน == สัญลักษณ์ == ตราสัญลักษณ์ *สมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตราสัญลักษณ์เป็นตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" *ต่อมาเมื่อมีการพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" ได้เปลี่ยนเป็นตราวงกลม 2 ชั้น วงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำราชสกุลมหิดลสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง ตรานี้ร่างและออกแบบโดยนายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน และกอง สมิงชัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฎของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานสีนี้ซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512 ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 == ทำเนียบอธิการบดี == == พื้นที่มหาวิทยาลัย == มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่ตั้งในหลายพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ศาลายา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยคณะและวิทยาลัยส่วนใหญ่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอประชุมมหิดลสิทธาคารและอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พื้นที่บางกอกน้อย ตั้งอยู่ที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กายภาพบำบัดของคณะกายภาพบำบัด ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด พื้นที่พญาไท ตั้งอยู่ที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มี 3 บริเวณย่อย ได้แก่ บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์ บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยการจัดการ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท พื้นที่ต่างจังหวัด สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ วิทยาเขตอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ == การศึกษา == มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย 17 คณะ 10 สถาบัน 6 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายสถาบัน ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ === คณะ === คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ไฟล์:คณะ 003.jpg|คณะวิทยาศาสตร์ ไฟล์:สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม ) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (10).jpg|คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ไฟล์:โรงพยาบาลรามาธิบดี.JPG|คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี === วิทยาลัย === วิทยาลัยการจัดการ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยราชสุดา ยุบ 1 มิถุนายน 2566 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยศาสนศึกษา === สถาบัน === สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา สถาบันโภชนาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม === ศูนย์และกลุ่มภารกิจ === ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ กลุ่มภารกิจสุขภาพโลกมหิดล กลุ่มภารกิจการป้องกันและแก้ไขปัญหาแม่วัยรุ่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ กลุ่มภารกิจศูนย์ปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ === วิทยาเขต === วิทยาเขตกาญจนบุรี โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ === สถาบันสมทบ === วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ * สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ * สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ * สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สถาบันสมทบและสถาบันร่วมผลิตในอดีต วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล (จัดตั้งเป็นคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (จัดตั้งเป็นคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) สถาบันพระบรมราชชนก (จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข * ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (โอนไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) * ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก) * ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก) * ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี (โอนไปสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก) == การจัดระเบียบ == === โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ === เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์หลายแห่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยบริจาคให้ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ศูนย์การแพทย์ทั้งสามแห่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกันในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย นอกจากนี้ คณะยังมีศูนย์การแพทย์อีกหนึ่งแห่ง นั่นคือ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่ศาลายาโดยมีถนนบรมราชชนนีคั่นกลาง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 ในเขตราชเทวี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ นอกเหนือจากคณะแพทยศาสตร์แล้ว คณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เช่นเดียวกันกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ภายในคณะ คณะสัตวแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรและโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าปศุปาลันในพื้นที่ศาลายา และวิทยาเขตนครสวรรค์ ก็มีศูนย์การแพทย์มหิดลเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน === สื่อ === มหาวิทยาลัยมหิดลมีสถานีโทรทัศน์ มหิดลแชนเนล ซึ่งนำเสนอเนื้อหาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ ยังมีช่องบนยูทูบสองช่องหลัก ชื่อว่า มหิดลแชนเนล และ วีมหิดล == โพรไฟล์วิชาการ == === หอสมุด === ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานเดิมจาก "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงเรียนราชแพทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้ก่อตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" และใน พ.ศ. 2499 กฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ยกฐานะห้องสมุดเป็น "แผนกห้องสมุด" สังกัดสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นห้องสมุดของทั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลด้วย ห้องสมุดยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 ต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนาเป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ มหาวิทยาลัยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบที่หลากหลาย ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อสำนักหอสมุดเป็น "หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยเป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ === พิพิธภัณฑ์ === ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุที่เปิดให้บริการหลายแห่ง ทั้งในพื้นที่ศาลายา พื้นที่บางกอกน้อย พื้นที่พญาไท และวิทยาเขตกาญจนบุรี พื้นที่ศาลายา ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ห้องจดหมายเหตุแผนที่และผังแม่บท เรือนไทยมหาวิทยาลัยมหิดล พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์คนหูหนวกไทย ราชสุดาแกลลอรี ห้องนิทรรศการถาวรประวัติและผลงานของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ พิพิธสาระประชากรและสังคม พื้นที่บางกอกน้อย (ศิริราช) พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ห้องมหิดลอดุลเดช หอสมุดศิริราช หอจดหมายเหตุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน พื้นที่พญาไท พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น หอเกียรติยศอาจารย์ดีเด่น พิพิธภัณฑ์ยุงและคลังตัวอย่างแมลงและสัตว์ขาข้อ เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์ พิพิธภัณฑ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์หอย หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี สิรินธรทันตพิพิธ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร วิทยาเขตกาญจนบุรี พิพิธภัณฑ์พืชแห่งภาคตะวันตก === งานวิจัย === มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2542–2549 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นในประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ === การประเมินคุณภาพและการจัดอันดับ === ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ทั้งในด้านการเรียนการสอน ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 61.11 จากคะแนนเต็มร้อยละ 80 และด้านการวิจัย ซึ่งได้คะแนนเต็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน SCImago Institutions Ranking, Academic Performance, และ U.S. News & World Report จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในด้านวิชาการ ส่วนในด้านอื่น ๆ อย่างด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศด้วยเช่นกัน == ชีวิตนักศึกษา == นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษาที่พื้นที่ศาลายาร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี จากนั้นจะแยกย้ายกันไปตามคณะในพื้นที่ต่าง ๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษามาจากต่างคณะกัน มีกิจกรรมมากมาย เช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เล่นตามความต้องการ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งจากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร === การพักอาศัย === ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะเรียกว่า บ้านมหิดล โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลังศูนย์การเรียนรู้มหิดล บ้านมหิดลประกอบไปด้วยอาคารหอพัก 6 หลัง ได้แก่ หอพักหญิง บ้านพุทธรักษา (หอ 1-2) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง บ้านอินทนิล (หอ 3-4) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง บ้านลีลาวดี (หอ 10) เป็นอาคารเดียวสูง 4 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง บ้านศรีตรัง (หอ 11) เป็นอาคารเดียวสูง 14 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง หอพักชาย บ้านชัยพฤกษ์ (หอ 6-7) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง บ้านกันภัยมหิดล (หอ 8-9) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง นอกจากบ้านมหิดลแล้ว ยังมีหอพักแห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศาลายา ได้แก่ หอพักพยาบาลรามาธิบดี หอพักสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน หอพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล หอพักวิทยาลัยนานาชาติ หอพักน้ำทองสิกขาลัยของวิทยาลัยศาสนศึกษา อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม 4 อาคาร และโรงแรมศาลายาพาวิลเลียน สำหรับพื้นที่บางกอกน้อย มีหอพักสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ หอมหิตลาธิเบศ หอหญิงเตี้ย หอหญิงสูง หอแปดไร่ และหอเจ้าพระยา พื้นที่พญาไทมีหอพักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหอพักคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และพื้นที่ต่างจังหวัด อันได้แก่ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ต่างก็มีหอพักประจำวิทยาเขตด้วยกันทั้งสิ้น === พิธีพระราชทานปริญญาบัตร === ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัยในโรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำทุกปีจนถึง พ.ศ. 2520 ซึ่งเมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพรแทน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล == การเดินทาง == === ระบบขนส่งมวลชน === การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ รถโดยสารประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัยทั้งฝั่งถนนบรมราชชนนี ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และทางหลวงชนบท นฐ.4006 มีหลายสาย ทั้งรถประจำทางสายที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด, บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และผู้ให้บริการเอกชนรายอื่น ๆ นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถโดยสารที่ให้บริการโดยมหาวิทยาลัย ได้แก่ ชัตเทิลบัส ที่ให้บริการรับส่งระหว่างพื้นที่ศาลายา บางกอกน้อย และพญาไท และศาลายาลิงก์ ที่ให้บริการรับส่งระหว่างวิทยาลัยดุริยางคศิลป์กับสถานีบางหว้า มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟศาลายาบนทางรถไฟสายใต้ มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว สำหรับพื้นที่พญาไท มีรถโดยสายประจำทางผ่านทางฝั่งถนนพระรามที่ 6 และถนนราชวิถี หลายสาย และมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่ที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี หลังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดียังมีรถโดยสารรับส่งระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พื้นที่บางกอกน้อย มีรถโดยสารประจำทางให้บริการฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ โดยถนนสายนี้มีสะพานข้ามแยกศิริราชที่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถสองแถวที่ให้บริการในหลายเส้นทาง และมีรถโดยสารของคณะ ได้แก่ ชัตเทิลบัสที่ให้บริการระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีไฟฉาย, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า และหอพักนักศึกษาแพทย์ ทางรางมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่สถานีรถไฟธนบุรี ในอนาคตมีโครงการสถานีร่วมศิริราชบนเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทางน้ำมีเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ ให้บริการที่ท่าพรานนกและท่ารถไฟ และมีเรือข้ามฟากให้บริการจากท่าวังหลังไปยังท่าพระจันทร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ท่ามหาราช และท่าช้าง === ระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย === ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีรถรางวิ่งให้บริการทั้งหมด 4 สาย เรียงตามหมายเลข ได้แก่ สายสีเขียว, สายสีน้ำเงิน, สายสีแดง และสายสีเหลือง นอกจากนี้ ยังมีจักรยานสาธารณะซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถยืมใช้ฟรีได้ที่ จักก้าเซ็นเตอร์ หน้าหอพักนักศึกษา โดยต้องแลกบัตรนักศึกษาหรือบัตรประชาชน == บุคคลสำคัญ == คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงบุกเบิกการแพทย์แผนใหม่ในประเทศไทย ผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม "มหาวิทยาลัยมหิดล" ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ ปี 2524 และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2526 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสพ รัตนากร ปรมาจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ประธานคณะที่ปรึกษามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงพยาบาลประสาททั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล == แหล่งข้อมูลอื่น == มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล สถานที่ตั้งหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2486 สถานศึกษาในอำเภอพุทธมณฑล
thaiwikipedia
1,281
เดอะบลูมาร์เบิล
เดอะบลูมาร์เบิล (The Blue Marble) เป็นภาพถ่ายโลกที่ถ่ายโดยลูกเรือของยานอวกาศอะพอลโล 17 ขณะเดินทางไปดวงจันทร์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ระยะห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ ถือเป็นหนึ่งในภาพที่มีการทำซ้ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ภาพนี้แสดงโลกจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนถึงแอนตาร์กติกา ถือเป็นครั้งแรกที่เส้นโคจรของอะพอลโลทำให้สามารถถ่ายภาพครอบน้ำแข็งขั้วโลกตอนใต้ แม้ว่าซีกโลกใต้ถูกปกคลุมด้วยก้อนเมฆจำนวนมากก็ตาม นอกจากคาบสมุทรอาหรับและเกาะมาดากัสการ์ ชายฝั่งทวีปแอฟริกาเกือบทั้งหมดและมหาสมุทรอินเดียส่วนใหญ่สามารถมองเห็นได้ == ภาพถ่าย == ภายถ่ายนี้ที่ถ่ายไว้ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 เป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่มีมา ตอนถ่ายภาพ นักบินอวกาศทำมุมให้ดวงอาทิตย์อยู่ข้างบน โดยในมุมมองของนักบินอวกาศ โลกที่ค่อนข้างนูนมีรูปร่างและขนาดคล้ายกับลูกแก้ว (glas marble) จึงเป็นที่มาของชื่อภาพนี้ อพอลโล 17 เป็นปฏิบัติการดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายที่มีมนุษย์ไปด้วย หลังจากนั้นไม่เคยมีมนุษย์คนไหนได้ไปอยู่ในระยะที่จะสามารถถ่ายภาพโลกทั้งใบอย่างเดอะบลูมาร์เบิลได้อีกเลย == ดูเพิ่ม == เอิร์ธไรซ์ ภาพดาวเคราะห์โลกที่สำคัญอีกหนึ่งภาพ ถ่ายจากยานอพอลโล 8 == เชิงอรรถ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == NASA history of Blue Marble image releases === ภาพถ่ายใน ค.ศ. 1972 === Apollo Image Atlas – Photos from magazine NN of the 70 mm Hasselblad camera used on Apollo 17 (includes the Blue Marble photo and similar photographs) Apollo 17 in Real-time – The moment the Blue Marble photo was taken in the context of the rest of the Apollo 17 mission A short list of places in which the image has been used === ภาพคอมโพสิตของนาซาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 === Blue Marble (2002) * Blue Marble Mapserver – Web interface for viewing small sections of the above Blue Marble: Next Generation (2005; one picture per month) * Blue Marble Navigator – Web interface for viewing local sections of the above, incl. links to other such interfaces, download sites, etc. * Blue Marble: Next Generation in NASA World Wind Wired: "New Satellite Takes Spectacular High-Res Image of Earth", with link to 2012 Composite in Super High Resolution "Earth at Night: It's the end of the night as you know it; you'll see fine." – NASA Earth Observatory site with various links around the 2012 and 2017 Black Marble images โครงการอะพอลโล ผลงานในปี พ.ศ. 2515
thaiwikipedia
1,282
หมีเท็ดดี้
หมีเท็ดดี บางแห่งสะกด เท็ดดี้ (Teddy bear) คือ ตุ๊กตาหรือของเล่นรูปหมีสำหรับเด็ก ซึ่งมักเป็นของขวัญโดยแฝงนัยให้เด็กมีความอดทนและเข้มแข็ง โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่กำลังเจ็บป่วย ไม่สบาย ในปัจจุบันมีการจัดจำหน่ายเป็นคอลเล็กชันของหมีเท็ดดี และมักมีราคาแพง พิพิธภัณฑ์หมีเท็ดดีแห่งแรกของโลกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ณ เมืองแฮมป์เชอร์ แคว้นอังกฤษ สหราชอาณาจักร == ที่มาของชื่อ == ชื่อของหมีเท็ดดีตั้งขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวของทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (ชื่อเล่นคือ "เท็ดดี") ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา และชอบการล่าสัตว์มาก เรื่องเกิดขึ้นเมื่อรูสเวลท์ออกล่าสัตว์ที่มิสซิสซิปปีในปี ค.ศ. 1902 โดยขณะนั้นมีจุดประสงค์เพื่อล่าหมีดำพันธ์ลุยเซียนา ในการล่าสัตว์ครั้งนั้นกลุ่มผู้ติดตามของ "เท็ดดี" สามารถจับลูกหมีดำพันธุ์ลุยเซียนาได้ตัวหนึ่ง และได้นำไปให้เท็ดดี อย่างไรก็ตามเท็ดดีได้ปฏิเสธที่จะฆ่าหมีที่น่าสงสารตัวนั้น และกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่สิ่งที่นักกีฬาเขาทำกัน" จากเหตุการณ์นั้นทำให้ลูกหมีตัวนั้นได้รับชื่อว่า "หมีของเท็ดดี" (Teddy's Bear) และนักวาดการ์ตูนชื่อ คลิฟฟอร์ด แบร์รีแมน แห่งหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ได้นำภาพการ์ตูนนี้ลงตีพิมพ์ในวันต่อมา ซึ่งก็คือวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1902 อนึ่ง ในประเทศอังกฤษ ใครที่มีชื่อว่าเท็ดดี มักจะถูกล้อเลียนว่าเป็นหมี เช่น เทดดี เชริงงัม อดีตผู้เล่นในฟุตบอลทีมชาติอังกฤษของทอตนัมฮอตสเปอร์ และแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก็มักถูกนักข่าวเรียกว่าเป็น "น้าหมี" เป็นต้น == บ้านหมี == บ้านหมีเท็ดดี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า บ้านหมี (Teddy House) หมายถึงร้านค้าที่ขายคอลเล็กชั่นหมีเท็ดดีอย่างเป็นทางการ นอกจากจะขายหมีเท็ดดีแล้ว ยังขายเสื้อผ้าสำหรับหมีเท็ดดีอีกด้วย ==ในประเทศไทย== ขณะนี้ความนิยมตุ๊กตาหมีในประเทศไทยมีมากขึ้น จึงมีผู้หันมาทำธุรกิจเกี่ยวกับตุ๊กตาหมี ซึ่งมีเว็บไซต์ที่เปิดจำหน่ายสินค้าตุ๊กตาหมีเพิ่มขึ้นหลายแห่ง และมีผู้ประกอบการอิสระที่จำหน่ายตุ๊กตาหมีโดยเฉพาะ ที่ไม่ได้มีแต่ในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ของขวัญรับปริญญาที่เป็นตุ๊กตาหมีก็เป็นที่นิยม นอกเหนือจากการให้ช่อดอกไม้ == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == บทความเกี่ยวกับหมีดำพันธุ์ลุยเซียนา โดย National Geographic โฮมเพจหมีเท็ดดี ของเยอรมนี มีกระดานสนทนาด้วย โฮมเพจหมีเท็ดดี โดย เกรกอรี นอวิช ความเป็นมาของ ตุ๊กตาหมี เทดดี้แบร์ เอลวิส เพรสลีย์กับเพลงเท็ดดีแบร์ เกร็ดน่ารู้ เพลง เทดดี้แบร์ ปิกนิก ประวัติหมีเท็ดดี ตุ๊กตา ของเล่น สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ
thaiwikipedia
1,283
จังหวัดสิงห์บุรี
สำหรับความหมายอื่นของ สิงห์บุรี ดูที่ สิงห์บุรี (แก้ความกำกวม) สิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย == ภูมิศาสตร์ == จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือ 514,049 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง) ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง (จังหวัดลพบุรี) ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี) ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเป็นอย่างมาก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่น ๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่สำคัญ ลักษณะของภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 34.30-37.34 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,047.27 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 27-18 องศาเซลเซียส == ประวัติศาสตร์ == สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ในสาสน์สมเด็จว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียรแบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่าง ๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้..." ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย === ยุคก่อนประวัติศาสตร์ === พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด ค้นพบโดยพระเจ้าแสนภูมิ === สมัยทวารวดี === พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอยกำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ที่ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง 5 เมตร === สมัยสุโขทัย === มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้นได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา === สมัยอยุธยา === ปรากฏเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง และทรงตั้งเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้ว เมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองหน้าด่านรายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็นเมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไปสืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกันก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2127 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพะสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพะสิมถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี) พ.ศ. 2308 สมัยพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้กับพม่าที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฏชื่อ คือ {| |--- valign=top || พระอาจารย์ธรรมโชติ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายทองแก้ว || นายดอก นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายทองเหม็น ขุนสรรค์ พันเรือง |} โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วีรชนบ้านบางระจัน) === สมัยธนบุรี === เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครกรุงธนบุรี === สมัยรัตนโกสินทร์ === มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรีเข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภออินทร์บุรีและอำเภอพรหมบุรีขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็น "อำเภอสิงห์" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบัน == สัญลักษณ์ประจำจังหวัด == คำขวัญประจำจังหวัด: ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นมะกล่ำตาช้างหรือมะกล่ำต้น (Adenanthera pavonina) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาช่อน (Channa striata) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองอุไร (Tecoma stans (L.) Kunth) ไฟล์:Seal Sing Buri 2545.png|ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรี ไฟล์:Adenanthera pavonina.jpg| ต้นมะกล่ำตาช้าง ต้นไม้ประจำจังหวัด ไฟล์:Gabus 070909 0074 rwg.jpg| ปลาช่อน สัตว์น้ำประจำจังหวัด == การเมืองการปกครอง == === หน่วยการปกครอง === ==== การปกครองส่วนภูมิภาค ==== การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภออินทร์บุรี ==== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==== พื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 42 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 33 แห่ง {|class="wikitable" style="line-height:137%" |+ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสิงห์บุรี |- ! rowspan=2 | ลำดับ !! rowspan=2|ชื่อเทศบาล !! rowspan=2 |พื้นที่ (ตร.กม.) !! rowspan=2 |ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) !! rowspan=2 |อำเภอ !! colspan=3 |ครอบคลุมตำบล !! rowspan=2|ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2555) |- ! width="9%"|ทั้งตำบล !! width="9%"|บางส่วน !! width="9%"|รวม |-align="center" ! colspan="9" | เทศบาลเมือง |-align="center" | 1 ||  เทศบาลเมืองสิงห์บุรี|| 7.81 ||2478 || เมืองฯ || 1 || 4 || 5 || 18,102 |-align="center" | 2 ||  เทศบาลเมืองบางระจัน|| 22.80 || 2556 || บางระจัน || || || || 14,772 |-align="center" ! colspan="9" | เทศบาลตำบล |-align="center" | 3 (1) ||  เทศบาลตำบลโพสังโฆ|| ||2542 || ค่ายบางระจัน || - || 1 || 1 || 2,217 |-align="center" | 4 (2) ||  เทศบาลตำบลปากบาง|| || 2542 || พรหมบุรี || 1 || -|| 1 || 3,345 |-align="center" | 5 (3) ||  เทศบาลตำบลบางน้ำเชี่ยว|| || 2542 ||พรหมบุรี ||1 ||- ||1 || 3,528 |-align="center" | 6 (4) ||  เทศบาลตำบลถอนสมอ|| || 2542 ||ท่าช้าง || 2 || - || 1 || 9,306 |-align="center" | 7 (5) ||  เทศบาลตำบลอินทร์บุรี|||| 2542 || อินทร์บุรี || -|| 1 || 1 || 5,247 |-align="center" | 8 (6) ||  เทศบาลตำบลทับยา||24.27 || 2552 || อินทร์บุรี|| 1|| - || 1 || |-align="center" |} === รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด === จมื่นสมุห์พิมาน (เจิม) หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์รักษา (โดม) พระราชพินิจจัย (เหม) พ.ศ. 2448 หลวงเสนานนท์ (อรุณ) หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) พ.ศ. 2448 หลวงบาทศุภกิจ พระทรงสุรเดช (เตน) หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2452 พระพรหมประสาทศิลป์ (ลี) พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455 พระพิศาลสงคราม (ผล) พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2458 พระสิงห์บุรีตรีนัทยเขตร (หม่อมราชวงศ์กมล นพวงษ์) พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2461 พระยาสิงห์บุรานุรักษ์ (สะอาด บูรณะสมภพ) พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2472 พระประชากรบริรักษ์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476 พระยาประเสริฐสุนทราศรัย 18 ม.ค. 2476 - พ.ศ. 2476 พระกำแพงพราหม พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2476 หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ มี.ค. 2476 - พ.ศ. 2478 หลวงอรรถสิทธิสุนทร พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2480 หลวงสรรคประศาสน์ 27 ม.ค. 2480 - พ.ศ. 2486 ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 1 พ.ย. 2486 - 15 ส.ค. 2490 นายเวช เพชรานนท์ 15 ส.ค. 2490 - ธ.ค. 2490 นายสนิท วิไลจิตต์ ม.ค. 2491 - เม.ย. 2493 ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ 17 เม.ย. 2493 - ก.ย. 2500 นายพุก ฤกษ์เกษม 21 ก.ย. 2500 - 27 พ.ย. 2506 ร.ต.ท.ปิ่น สหัสโชติ 30 พ.ย. 2506 - 6 พ.ย. 2507 นายพัฒน์ พินทุโยธิน 7 พ.ย. 2507 - 1 มี.ค. 2509 นายเกษม จียะพันธ์ 8 มี.ค.2509 - 22 พ.ค. 2512 นายเอี่ยม เกรียงศิริ 26 พ.ค. 2512 - 30 ก.ย. 2518 นายบรรโลม ภุชงคกุล 14 ต.ค. 2518 - 1 ธ.ค. 2521 นายชิต นิลพานิช 1 ธ.ค. 2521 - 1 ต.ค. 2523 นายชำนาญ เรืองเผ่าพันธุ์ 1 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2526 นายวิชิต แสงทอง 1 ต.ค. 2526 - 15 ม.ค. 2528 นายจำนงค์ อยู่โพธิ์ 16 ม.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2530 นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2533 นายปรีดี ตันติพงศ์ 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2534 ร.ต.สมพร กุลวานิช 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2535 ร.ต.อุทัย ใจหงษ์ 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2538 นายวิพัฒน์ คงมาลัย 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2541 นายนิคม บูรณพันธ์ศรี 16 เม.ย. 2541 - 30 ก.ย. 2542 นายพยูณ มีทองคำ 1 ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2544 นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546 นายพระนาย สุวรรณรัฐ 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547 นางจุฑามาศ ประทีปะวณิช 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2549 นายประภาศ บุญยินดี 16 ต.ค. 2549 - 19 ต.ค. 2551 นายวิชัย ไพรสงบ 20 ต.ค. 2551 - 15 มี.ค. 2552 นายชุมพร พลรักษ์ 16 มี.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2552 นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ 1ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553 นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ 1 ต.ค. 2553 - 7 ต.ค. 2555 นายสุรพล แสวงศักดิ์ 19 พ.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2557 นายชโลธร ผาโคตร 1ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558 นายอัครเดช เจิมศิริ 1ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 นายพศิน โกมลวิชญ์ 1 ต.ค. 2559 - 4 เม.ย. 2560 นายสุทธา สายวาณิชย์ 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561 นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2564 นายชัยชาญ สิทธิวิรัชธรรม 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565 นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566 == ประชากร == จังหวัดสิงห์บุรีมีประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 รวมทั้งสิ้น 214,661 คน แยกเป็นชาย 102,606 คน หญิง 112,055 คน สำหรับอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี มีจำนวน 60,030 คน รองลงมาได้แก่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จำนวน 56,657 คน และอำเภอบางระจัน จำนวน 36,894 คน สำหรับอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี 504.16 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาได้แก่ อำเภอท่าช้าง 456.40 คนต่อตารางกิโลเมตร และอำเภอค่ายบางระจัน 329.02 คนต่อตารางกิโลเมตร == ศาสนา == จังหวัดสิงห์บุรีมีวัดในศาสนาพุทธ จำนวน 178 แห่ง โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง วัดคริสต์ 1 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.80 จำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.02 จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.18 พระอารามหลวง วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร) ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี วัดพิกุลทอง (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง วัดโบสถ์ (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี (ธรรมยุติกนิกาย) สำนักปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน (สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑) ตำบลบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี == การขนส่ง == การคมนาคมของจังหวัดสิงห์บุรี มี 2 ทาง คือ ทางบก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (บางปะอิน-พยุหะคีรี) จากกรุงเทพมหานครถึงสิงห์บุรี ระยะทาง 142 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 (วังน้อย-สิงห์บุรี) ผ่านจังหวัดอ่างทอง ระยะทาง 144 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ลพบุรี-ชัยนาท) เชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 ไปยังจังหวัดชัยนาท ทางน้ำ ใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางเดินเรือ เพื่อขนส่งผลผลิตทางการเกษตรจากกรุงเทพมหานครถึงสิงห์บุรี ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร หรือมาทางแม่น้ำน้อย แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ผ่านอำเภอสรรคบุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอท่าช้าง ถึงจังหวัดสิงห์บุรี === ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ === อำเภอบางระจัน 10 กิโลเมตร อำเภอพรหมบุรี 15 กิโลเมตร อำเภอค่ายบางระจัน 18 กิโลเมตร อำเภออินทร์บุรี 19 กิโลเมตร อำเภอท่าช้าง 20 กิโลเมตร == สถานที่ท่องเที่ยว == วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร วัดอัมพวัน พระเจดีย์ธรรมสิงหบุราจริยานุสรณ์ พระพรหมเทวาลัย อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย อุทยานแม่ลามหาราชานุสรณ์ คูค่ายพม่า อำเภอพรหมบุรี เมืองโบราณบ้านคูเมือง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และหอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี วัดพิกุลทอง หลวงพ่อแพ เขมังกโร อำเภอท่าช้าง เมืองสิงห์บุรี ลำแม่ลา วัดหน้าพระธาตุ หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี พระสิงห์ใหญ่ วัดม่วงชุม อำเภอบางระจัน วัดดาวเรือง โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริหนองลาด ศาลหลักเมืองสิงห์บุรีและศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีและศาลจังหวัดสิงห์บุรีหลังเก่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี ไกรสรราชสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี หลวงพ่อทรัพย์ หลวงพ่อสิน วัดประโชติการาม พระพุทธฉาย วัดสิงห์ อำเภอพรหมบุรี หลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว อำเภอพรหมบุรี วัดโคกงู วัดไทร อำเภออินทร์บุรี วัดพระแก้ว เจดีย์กลางทุ่ง ตลาดบ้านแป้ง อำเภอพรหมบุรี ตลาดปากบาง อำเภอพรหมบุรี ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน ตลาดเกษตร (วันอาทิตย์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี ตลาดนัดคลองถมสอง (วันเสาร์และวันอาทิตย์ช่วงเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี ตลาดผ้า (วันจันทร์ช่วงเช้า) อำเภอเมืองสิงห์บุรี เทศกาลกินปลาและงานกาชาดจังหวัดสิงห์บุรี (ช่วงปลายเดือน ธ.ค.) อำเภอเมืองสิงห์บุรี แนวเขื่อนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (เหมาะสำหรับออกกำลังกายช่วงเช้าและเย็น) อำเภอเมืองสิงห์บุรี หลวงพ่อทองคำ วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ (วัดท่าควาย) อำเภอเมืองสิงห์บุรี โรงเจฮั้วเอียะตั้ว ศาลเจ้าแม่ทับทิม และศาลบุญเถ้ากงม่า อำเภอเมืองสิงห์บุรี ==บุคคลที่มีชื่อเสียง== ด้านศาสนา พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระธรรมมุนี (แพ เขมงฺกโร) - พระราชาคณะชั้นธรรม อดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) – พระราชาคณะชั้นธรรม อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี หลวงปู่บุดดา ถาวโร – วัดกลางชูศรีเจริญสุข อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อซวง อภโย – วัดชีปะขาว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อพูน สาคโร – วัดสังฆราชาวาส อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี การเมืองการปกครอง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช – นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง นายกรัฐมนตรีไทย และศิลปินแห่งชาติ วงการบันเทิง ชาย เมืองสิงห์ – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี – ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล ชายธง ทรงพล – นักร้องเพลงลูกทุ่ง นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (น้าต๋อย เซมเบ้) – นักพากษ์ สันติสุข พรหมศิริ – นักแสดง นักพากษ์ และพิธีกร ภูภูมิ พงศ์ภาณุ – นักแสดง นายแบบ มิลิน ดอกเทียน – นักร้อง เจตสุภา เครือแตง – นักร้อง อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ – นักแสดง นางแบบ พัดชาพลอย เรือนดาหลวง – นักแสดง หนู คลองเตย – นักแสดงตลก ภูษิต ไล้ทอง – นักดนตรี สมาชิกวงเฉลียง ภาณุพรรณ จันทนะวงษ์ (เจแปน หกฉากครับจารย์) – นักแสดงและพิธีกร ด้านกีฬา ไกรสร ปั้นเจริญ – นักฟุตบอลชาวไทย หนึ่งในผู้เล่นทีมชาติไทย ชุดอะกรีแบงก์คัพ ด้านทั่วไป ชม้อย ทิพย์โส – ผู้ต้องหาคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนเมื่อปี พ.ศ. 2527 == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดสิงห์บุรี รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสิงห์บุรี รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดสิงห์บุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสิงห์บุรี == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์ทางการจังหวัดสิงห์บุรี
thaiwikipedia
1,284
ตุ๊กตา
ตุ๊กตา เป็นของเล่นสำหรับเด็ก ซึ่งอาจเป็นรูปร่างของคน สัตว์ หรือตัวละครในนิยายที่ไม่มีอยู่จริง มักทำจากผ้าหรือพลาสติก โดยส่วนใหญ่นิยมทำมาในรูปแบบของเล่นมากกว่าหรือของตกแต่งสถานที่ เชื่อว่า ตุ๊กตามีที่มาจากเทวรูปหรือรูปเคารพตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตุ๊กตาในยุคแรกจะเป็นมนุษย์ขนาดเล็ก ไม่มีความน่ารักเหมือนเช่นปัจจุบัน ต่อมายุคอียิปต์โบราณ เด็ก ๆ ได้นำเอารูปเคารพเหล่านี้มาเล่น จึงหวั่นว่าเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นตุ๊กตาแทน ในราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคกรีกโบราณและโรมัน จึงมีตุ๊กตาที่แขนขาขยับได้ และมีผมที่ทำมาจากเส้นผมมนุษย์จริง ๆ โดยตุ๊กตาที่มีรูปลักษณ์เหมือนเด็กเล็กหรือเด็กทารกมีขึ้นในราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคกรีกโบราณ == ตุ๊กตาที่มีชื่อเสียง == บาร์บี้ บลายธ์ แบรตซ์ หมีเท็ดดี้ ตุ๊กตาไล่ฝน ตุ๊กตารัสเซีย ตุ๊กตาลูกเทพ ตุ๊กตาญี่ปุ่น ตุ๊กตากระดาษ ตุ๊กตายาง ตุ๊กตาไทย == อ้างอิง == ของเล่น
thaiwikipedia
1,285
นิเสธ
นิเสธ มีความหมายพื้นฐานคือผลที่ได้จากการเปลี่ยนค่าความจริงของประโยค ไปเป็นตรงกันข้าม การทำให้เป็นนิเสธคือการดำเนินการสำคัญที่ใช้ในตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และไวยากรณ์ == ตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ == ในตรรกศาสตร์ ตัวดำเนินการนิเสธ คือตัวดำเนินการเอกภาคทางตรรกศาสตร์ ที่กลับค่าความจริงของตัวถูกดำเนินการ นิเสธของประโยค p สามารถเขียนได้หลายแบบ อาทิ ¬p, −p, ~p, Np, p′, p̅, !p ทั้งหมดนี้อ่านว่า "เป็นไปไม่ได้ที่ p" หรือ "p ไม่จริง" ~p จะจริง ก็ต่อเมื่อ p เป็นเท็จ ตัวอย่างเช่น ถ้า p แทนประโยคว่า "วันนี้เป็นวันเสาร์" นิเสธของ p หรือ ~p คือประโยคที่ว่า "วันนี้ไม่เป็นวันเสาร์" ในตรรกศาสตร์แบบฉบับ นิเสธซ้อนหมายถึงการยืนยัน นั่นคือ p สมมูลกับ ~(~p) แต่ในตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม ~~p เป็นประโยคที่มีน้ำหนักอ่อนกว่า p อย่างไรก็ตาม ~~~p และ ~p นั้นสมมูลกัน การทำให้เป็นนิเสธเชิงตรรกศาสตร์สามารถนิยามได้ด้วยตัวดำเนินการอื่นๆ เช่น ~p สามารถนิยามได้ว่าเป็น p → F เมื่อ → คือแทนตัวดำเนินการเงื่อนไข และ F แทนค่าความจริง "เท็จ" ในทางกลับกัน เราสามารถนิยาม F ว่าเป็น p & ~p เมื่อ p เป็นประพจน์ใดๆ และ & คือการเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (logical conjunction) ทั้งนี้เนื่องจากเราจัดว่าข้อขัดแย้งใดๆ จะเป็นเท็จ แม้ว่าแนวคิดนี้จะใช้ได้กับตรรกศาสตร์แบบฉบับและตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม แต่ใช้ไม่ได้กับตรรกศาสตร์บราซิลที่ข้อขัดแย้งไม่จำเป็นต้องเป็นเท็จเสมอไป ในตรรกศาสตร์แบบฉบับเรายังมีอีกหนึ่งเอกลักษณ์: p → q สามารถนิยามได้เป็น ~p ∨ q เมื่อ ∨ เป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ ในเชิงพีชคณิต การนิเสธทางตรรกศาสตร์นั้น เทียบเท่ากับ ส่วนเติมเต็ม ในพีชคณิตแบบบูล (สำหรับตรรกศาสตร์แบบฉบับ) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (สำหรับตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม) == ไวยากรณ์ == ในด้านไวยากรณ์ นิเสธ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนประโยคบอกเล่าให้กลายเป็นประโยคปฏิเสธ คำนามและคำกริยาสามารถถูกทำให้เป็นปฏิเสธได้โดยการเติมคำคุณศัพท์ (There is no walrus) คำสรรพนาม (Nobody is the walrus) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (I never was the walrus) ที่มีความหมายเชิงปฏิเสธเข้าไปในประโยค ในภาษาอังกฤษ คำกริยาส่วนใหญ่ยกเว้น be, have หรือคำกริยาที่ประกอบด้วย be, have, do อยู่ในตัวเองแล้ว ต้องอาศัยกริยาช่วย do มาใช้เพื่อเติมนิเสธ not เข้าไป และสามารถย่อเป็น n't ได้ ตัวอย่างเช่น I have a walrus. I haven't a walrus. (ปัจจุบันพบการเขียนลักษณะนี้น้อยมาก แต่ถือว่ายังสามารถใช้ได้) I don't have a walrus. ในภาษาอังกฤษกลาง not สามารถเติมท้ายกริยาได้ทุกคำ I see not the walrus. แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบัน ไม่ได้มีการใช้เช่นนั้นอีกแล้ว จะใช้กริยาช่วย do หรือ be เข้ามา I do not see the walrus. I am not seeing the walrus. I have not seen the walrus. ส่วนคำกริยา do จะต้องใช้กริยาช่วย do เช่นกัน คือ ใช้ The walrus doesn't do tricks แทนที่ The walrus doesn't tricks. ตรรกศาสตร์ ไวยากรณ์
thaiwikipedia
1,286
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ เป็นรางวัลมอบให้กับสมาชิกของสมาคมนักเตะอาชีพของอังกฤษที่ดีที่สุดของฤดูกาลนั้น ๆ รางวัลนี้นับเป็นรางวัลที่น่าภาคภูมิใจสำหรับนักฟุตบอลอาชีพมาก เนื่องจากเป็นรางวัลที่คัดเลือกโดยเหล่าผู้เล่นอาชีพด้วยกันเอง จึงหมายความเป็นนัยว่าเป็นนักเตะที่ดีที่สุดในรอบปีในสายตาของเพื่อนร่วมอาชีพที่แข่งขันกันมาตลอดปี รางวัลนี้มีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 เป็นหนึ่งในสองรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมที่ทรงคุณค่าที่สุดของอังกฤษ เคียบคู่ไปกับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ == รายชื่อผู้ได้รับรางวัล == === คริสต์ทศวรรษ 1970 === 1974 - นอร์มัน ฮันเตอร์ (ลีดส์ ยูไนเต็ด) 1975 - โคลิน ทอดด์ (ดาร์บี้ เคาน์ตี้) 1976 - แพท เจนนิ่งส์ (ทอตนัม ฮอตสเปอร์) 1977 - แอนดี้ เกรย์ (แอสตันวิลลา) 1978 - ปีเตอร์ ชิลตัน (น็อตติ้งแฮม ฟอร์เรสต์) 1979 - เลียม เบรดี้ (อาร์เซนอล) === คริสต์ทศวรรษ 1980 === 1980 - เทอร์รี แม็คเดอร์มอตต์ (ลิเวอร์พูล) 1981 - จอห์น วอร์ก (อิปสวิชทาวน์) 1982 - เควิน คีแกน (เซาแธมป์ตัน) 1983 - เคนนี ดัลกลิช (ลิเวอร์พูล) 1984 - เอียน รัช (ลิเวอร์พูล) 1985 - ปีเตอร์ รีด (เอฟเวอร์ตัน) 1986 - แกรี่ ลินนิเกอร์ (เอฟเวอร์ตัน) 1987 - ไคลฟ์ อัลเลน (ทอตนัม ฮอตสเปอร์) 1988 - จอห์น บาร์นส์ (ลิเวอร์พูล) 1989 - มาร์ค ฮิวจ์ส (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) === คริสต์ทศวรรษ 1990 === 1990 - เดวิด แพลตต์ (แอสตันวิลลา) 1991 - มาร์ค ฮิวจ์ส (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 1992 - แกรี พัลลิสเตอร์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 1993 - พอล แม็คกรัธ (แอสตันวิลลา) 1994 - อีริค คันโตนา (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 1995 - อลัน เชียเรอร์ (แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส) 1996 - เลส เฟอร์ดินานด์ (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด) 1997 - อลัน เชียเรอร์ (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด) 1998 - แด็นนิส แบร์คกัมป์ (อาร์เซนอล) 1999 - ดาวิด ฌีโนลา (ทอตนัม ฮอตสเปอร์} === คริสต์ทศวรรษ 2000 === 2000 - รอย คีน (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2001 - เทดดี เชริงงัม (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2002 - รืด ฟัน นิสเติลโรย (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2003 - ตีแยรี อ็องรี (อาร์เซนอล) 2004 - ตีแยรี อ็องรี (อาร์เซนอล) 2005 - จอห์น เทร์รี (เชลซี) 2006 - สตีเวน เจอร์ราร์ด (ลิเวอร์พูล) 2007 - คริสเตียโน โรนัลโด (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2008 - คริสเตียโน โรนัลโด (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2009 - ไรอัน กิกส์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) === คริสต์ทศวรรษ 2010 === 2010 - เวย์น รูนีย์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) 2011 - แกเร็ธ เบล (ทอตนัม ฮอตสเปอร์) 2012 - โรบิน ฟาน เพอร์ซี (อาร์เซนอล) 2013 - แกเร็ธ เบล (ทอตนัม ฮอตสเปอร์) 2014 - ลุยส์ ซัวเรซ (ลิเวอร์พูล) 2015 - เอแดน อาซาร์ (เชลซี) 2016 - ริยาด มาห์เรซ (เลสเตอร์ซิตี) 2017 - เอนโกโล ก็องเต (เชลซี) 2018 - มุฮัมมัด เศาะลาห์ (ลิเวอร์พูล) 2019 - เฟอร์จิล ฟัน ไดค์ (ลิเวอร์พูล) === คริสต์ทศวรรษ 2020 === 2020 - เกฟิน เดอ เบรยเนอ (แมนเชสเตอร์ซิตี) 2021 - เกฟิน เดอ เบรยเนอ (แมนเชสเตอร์ซิตี) 2022 - มุฮัมมัด เศาะลาห์ (ลิเวอร์พูล) == สถิติผู้ชนะเลิศ == === ตามประเทศ === === ตามสโมสร === == ดูเพิ่ม == นักฟุตบอลดาวรุ่งแห่งปีของพีเอฟเอ นักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก นักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลในประเทศอังกฤษ รางวัลฟุตบอล
thaiwikipedia
1,287
นักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอล
รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่นักฟุตบอลที่ถูกตัดสินว่าดีที่สุดของฤดูกาลในฟุตบอลอังกฤษ รางวัลนี้เริ่มมอบตั้งแต่ฤดูกาล 1947-48 ผู้ได้รับรางวัลคนแรกคือ สแตนลีย์ แมตทิวส์ ปีกของแบล็กพูล ผู้ได้รับรางวัลคนล่าสุด (ฤดูกาล 2019-20) คือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล มีผู้เล่นแปดคนที่ได้รับรางวัลมากกว่าหนึ่งครั้ง คนล่าสุดคือคริสเตียโน โรนัลโด ที่ได้รับรางวัลครั้งที่สองของเขาในฤดูกาล 2007-08 ผู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดคือเธียร์รี อองรี โดยได้รางวัลสามครั้งในสี่ฤดูกาล รางวัลนี้มอบโดย สมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลอังกฤษ (Football Writers' Association: FWA) ซึ่งเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ มีสมาชิกเป็นนักข่าวฟุตบอล ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 400 คน == ผู้ได้รับรางวัล == === คริสต์ทศวรรษ 1940 === ค.ศ. 1948:: สแตนลีย์ แมตทิวส์ (แบล็กพูล) ค.ศ. 1949:: จอห์นนี แครีย์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) === คริสต์ทศวรรษ 1950 === ค.ศ. 1950:: โจ เมอร์เซอร์ (อาร์เซนอล) ค.ศ. 1951:: แฮร์รี จอห์นสตัน (แบล็กพูล) ค.ศ. 1952:: บิลลี ไรต์ (วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์) ค.ศ. 1953:: แนต ลอฟเฮาส์ (โบลตันวอนเดอเรอส์) ค.ศ. 1954:: ทอม ฟินนีย์ (เพรสตันนอร์ทเอนด์) ค.ศ. 1955:: ดอน เรวี่ (แมนเชสเตอร์ซิตี) ค.ศ. 1956:: แบร์ต เทราต์มันน์ (แมนเชสเตอร์ซิตี) ค.ศ. 1957:: ทอม ฟินนีย์ (เพรสตันนอร์ทเอนด์) ค.ศ. 1958:: แดนนี บลานช์ฟลาวเวอร์ (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1959:: ซิด โอเวน (ลูตันทาวน์) === คริสต์ทศวรรษ 1960 === ค.ศ. 1960:: บิลล์ สเลเตอร์ (วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์) ค.ศ. 1961: : แดนนี บลานช์ฟลาวเวอร์ (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1962:: จิมมี อดัมสัน (เบิร์นลีย์) ค.ศ. 1963:: สแตนลีย์ แมตทิวส์ (สโตกซิตี) ค.ศ. 1964:: บ็อบบี มัวร์ (เวสต์แฮมยูไนเต็ด) ค.ศ. 1965:: บ๊อบบี้ คอลลินส์ (ลีดส์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1966:: บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1967:: แจ๊ค ชาร์ลตัน (ลีดส์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1968:: จอร์จ เบสต์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1969:: โทนี่ บุค (แมนเชสเตอร์ซิตี) และเดฟ แมคเคย์ (ดาร์บีเคาน์ตี) === คริสต์ทศวรรษ 1970 === ค.ศ. 1970:: บิลลี เบรมเนอร์ (ลีดส์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1971:: แฟรงค์ แมคคลินทอค (อาร์เซนอล) ค.ศ. 1972:: กอร์ดอน แบงคส์ (สโตกซิตี ) ค.ศ. 1973:: แพท เจนนิ่งส์ (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1974:: เอียน คัลลาแกน (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1975:: อลัน มัลเลอรี (ฟูแลม) ค.ศ. 1976:: เควิน คีแกน (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1977:: เอมลีน ฮิวจ์ส (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1978:: เคนนี เบินส์ (นอตติงงัมฟอริสต์) ค.ศ. 1979:: เคนนี แดลกลีช (ลิเวอร์พูล) === คริสต์ทศวรรษ 1980 === ค.ศ. 1980:: เทอร์รี่ แม็คเดอร์มอตต์ (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1981:: ฟรานส์ ไทส์เซน (อิปสวิช ทาวน์) ค.ศ. 1982:: สตีฟ เพอร์รีแมน (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1983:: เคนนี แดลกลีช (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1984:: เอียน รัช (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1985:: เนวิลล์ ซัททอลล์ (เอฟเวอร์ตัน) ค.ศ. 1986:: แกรี ลินิเกอร์ (เอฟเวอร์ตัน) ค.ศ. 1987:: ไคฟ์ อัลเลน (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1988:: จอห์น บาร์นส์ (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1989:: สตีฟ นิโคล (ลิเวอร์พูล) === คริสต์ทศวรรษ 1990 === ค.ศ. 1990:: จอห์น บาร์นส์ (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 1991:: กอร์ดอน สตรัคคัน (ลีดส์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1992:: แกรี ลินิเกอร์ (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1993:: คริส วอดเดิล (เชฟฟีลด์เวนส์เดย์) ค.ศ. 1994:: แอลัน เชียเรอร์ (แบล็กเบิร์นโรเวอส์) ค.ศ. 1995:: เยือร์เกิน คลินส์มันน์ (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 1996:: เอริค คันโตนา (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 1997:: จันฟรังโก โซลา (เชลซี) ค.ศ. 1998:: แด็นนิส แบร์คกัมป์ (อาร์เซนอล) ค.ศ. 1999:: ดาวิด ชิโนล่า (ทอตนัมฮอตสเปอร์) === คริสต์ทศวรรษ 2000 === ค.ศ. 2000:: รอย คีน (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 2001:: เทดดี เชริงงัม (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 2002:: รอแบร์ ปีแร็ส (อาร์เซนอล) ค.ศ. 2003:: ตีแยรี อ็องรี (อาร์เซนอล) ค.ศ. 2004:: ตีแยรี อ็องรี (อาร์เซนอล) ค.ศ. 2005:: แฟรงก์ แลมพาร์ด (เชลซี) ค.ศ. 2006:: ตีแยรี อ็องรี (อาร์เซนอล) ค.ศ. 2007:: คริสเตียโน โรนัลโด (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 2008:: คริสเตียโน โรนัลโด (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 2009:: สตีเวน เจอร์ราร์ด (ลิเวอร์พูล) === คริสต์ทศวรรษ 2010 === ค.ศ. 2010:: เวย์น รูนีย์ (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด) ค.ศ. 2011:: สก็อต พาร์กเกอร์ (เวสต์แฮมยูไนเต็ด) ค.ศ. 2012:: โรบิน ฟัน แปร์ซี (อาร์เซนอล) ค.ศ. 2013:: แกเร็ธ เบล (ทอตนัมฮอตสเปอร์) ค.ศ. 2014:: ลุยส์ ซัวเรซ (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 2015:: เอแดน อาซาร์ (เชลซี) ค.ศ. 2016:: เจมี วาร์ดี (เลสเตอร์ซิตี) ค.ศ. 2017:: เอ็นโกโล ก็องเต (เชลซี) ค.ศ. 2018:: มุฮัมมัด เศาะลาห์ (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 2019:: ราฮีม สเตอร์ลิง (แมนเชสเตอร์ซิตี) === คริสต์ทศวรรษ 2020 === ค.ศ. 2020:: จอร์แดน เฮนเดอร์สัน (ลิเวอร์พูล) ค.ศ. 2021:: รูแบน ดียัช (แมนเชสเตอร์ซิตี) ค.ศ. 2022:: มุฮัมมัด เศาะลาห์ (ลิเวอร์พูล) == สถิติผู้ชนะเลิศ == === ตามประเทศ === ‡ — two winners === ตามสโมสร === == ดูเพิ่ม == นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ นักฟุตบอลดาวรุ่งแห่งปีของพีเอฟเอ นักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก นักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก == อ้างอิง == ฟุตบอลในประเทศอังกฤษ รางวัลฟุตบอล
thaiwikipedia
1,288
การเข้ารหัสฮัฟฟ์แมน
รหัสฮัฟแมน (Huffman code) เป็นการเข้ารหัสประเภทเอนโทรปี เพื่อใช้ในการบีบอัดข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูล == รหัสไร้ส่วนนำ == โดยปกติแล้ว การเข้ารหัสนั้นจะเป็นการแปลงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสร้างข้อมูลจากแหล่งกำเนิดให้เป็นสายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสร้างรหัส ตัวอย่างเช่น ถ้าแหล่งกำเนิดข้อมูลเป็นข้อความหนังสือ สัญลักษณ์ที่ใช้ในแหล่งกำเนิดก็จะเป็นตัวอักษรต่าง ๆ เช่น ก, ข, A, B, C สระ และอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบกันเป็นตัวแทนข้อมูล ในกรณีของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการเข้ารหัสก็จะเป็นบิต คือ 0 และ 1 แต่ละสัญลักษณ์นี้จะแทนด้วยสายบิตที่แตกต่างกัน สามารถถอดรหัสกลับได้โดยไม่สับสนแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติเป็นรหัสไร้ส่วนนำ (prefix code, prefix-free code หรือ comma-free code) ลองพิจารณตัวอย่าง ถ้าเราเข้ารหัสอักษร A, B และ C โดย "10" เป็นรหัสแทน A, "01" เป็นรหัสแทน B, และ "0" เป็นรหัสแทน C จะเห็นว่ารหัสของ A, B, C นั้นแตกต่างกัน แต่หากเราต้องการเข้ารหัสข้อความ "ABC" ด้วยรหัสข้างต้นจะได้ "10010" ในลักษณะเดียวกันถ้ารหัสของข้อความ "ACA" จะเป็น "10010" ซึ่งรหัสทั้งสองนั้นเหมือนกันทำให้การถอดรหัสนั้นสับสน การแก้ปัญหาข้างตันนี้อาจทำได้โดยการใช้สัญลักษณ์เฉพาะในการแยกรหัสของสัญลักษณ์ออกจากกัน หรือทำได้โดยการใช้รหัสไร้ส่วนนำ (prefix-free code) หรือเรียกในอีกชื่อว่า instantaneous code ซึ่งหมายถึงสามารถถอดรหัสได้ทันทีโดยไม่ต้องรอดูรหัสที่จะตามมา รหัสไร้ส่วนนำนี้คือรหัสที่ไม่มีรหัสใดเป็นส่วนนำของรหัสอื่น ในตัวอย่างข้างต้นรหัสของ C ("0") เป็นส่วนนำของรหัส B ("01") === วิธีการสร้างรหัสไร้ส่วนนำ === เราสามารถสร้างรหัสไร้ส่วนนำได้โดยการใช้แผนภูมิต้นไม้สองทาง (binary tree) โดยมีสัญลักษณ์ที่ต้องการเข้ารหัสอยู่ที่บัพปลายสุดของกิ่ง (leaf node) เท่านั้น รหัสของแต่ละสัญลักษณ์จะหาได้โดยการระบุค่า "0" และ "1" ให้แก่กิ่งทั้งสองที่แตกออกจากแต่ละบัพ ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าเราให้กิ่งด้านซ้ายที่แตกออกจากทุกบัพมีค่า "0" และ กิ่งขวามีค่า "1" เราจะได้รหัส (1) 0 1 (2) (3) 0 1 0 1 A B (4) E "00" "01" 0 1 "11" C D "100" "101" A B C D E 00 01 100 101 11 เราอาจจะระบุค่า "0", "1" ให้กับกิ่งซ้ายและขวาในลักษณะที่แตกต่างออกไป ซึ่งจะได้รหัสที่แตกต่างไปเช่น A B C D E 10 11 000 001 01 11 10 010 011 00 11 10 001 000 01 การเข้ารหัสข้อความก็เพียงนำรหัสของสัญลักษณ์หรืออักษรมาเรียงต่อกัน เข่น ถ้าเราใช้รหัสในตารางแรกเพื่อเข้ารหัสข้อความ "ACDC" เราก็จะได้สายบิต "00100101100" การถอดรหัสจากสายบิตก็เพียงไล่ตามต้นไม้โดยเริ่มจากรากของต้นไม้ แล้วเลือกเดินไปกิ่งซ้ายหรือขวาตามแต่ละบิตที่อ่านเข้ามาจากบิตแรกไปเรื่อย ๆ จนถึงบัพปลายก็จะได้สัญลักษณ์ของรหัสที่ถอดออก แล้วก็ไปเริ่มจากรากใหม่เพื่อถอดรหัสถัดไป จากตัวอย่างด้านบน เริ่มจากรากบัพ 1 บิตแรกคือ "0" ก็เดินตามกิ่งด้านซ้ายไปยังบัพ 2 บิตที่ 2 เป็น "0" ก็เดินตามกิ่งซ้ายไปถึงบัพปลาย ซึ่งถอดรหัสออกเป็น A แล้วก็ไปเริ่มจากราก บิตถัดมาคือ "1" ก็เดินตามกิ่งขวาไปยังบัพ 3 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนสุดสายบิต === การออกแบบ === การออกแบบแผนภูมิต้นไม้นี้เพื่อให้ได้รหัสที่มีความยาวโดยเฉลี่ยสั้นที่สุด หมายถึง ค่าความยาวคาดหมายของรหัสต่อหนึ่งสัญลักษณ์ (expected length) มีค่าน้อยที่สุด และเข้าใกล้ค่าเอนโทรปี ถ้าเราพิจารณาข้อมูลจากแหล่งกำเนิด อยู่ในรูปของการเอาสัญลักษณ์มาเรียงต่อกันในรูปแบบต่าง ๆ ทีไม่แน่นอน และจากสถิติสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นถูกใช้ด้วยความถี่ต่าง ๆ กันไป ด้วยหลักเหตุผลง่าย ๆ เราจะเห็นว่าถ้าเราใช้รหัสที่สั้นกับสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อย โดยเฉลี่ยเราก็จะได้รหัสของข้อความที่สั้น วิธีการเข้ารหัสฮัฟแมนและการเข้ารหัสแชนนอน-ฟาโนเป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้สร้างแผนภูมิต้นไม้รหัสที่ดีที่สุด หรือใกล้เคียง == รหัสฮัฟแมน == ในปี ค.ศ. 1951 เดวิด ฮัฟแมน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่วิชาทฤษฎีข้อมูลที่ MIT โดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ็ม ฟาโน ให้นักเรียนในชั้นเลือกทำรายงานส่ง หรือสอบปลายภาค หัวข้อรายงานคือให้หารหัสไบนารีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในขณะที่ฮัฟแมนเกือบจะล้มเลิกทำรายงานไปเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบนั้น เขามีความคิดที่จะใช้แผนภูมิต้นไม้สองทางแบบเรียงความถี่ (frequency-sorted binary tree) ขึ้นมาได้ และเขาก็ได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของรหัสที่เขาคิดขึ้นมา วิธีการของฮัฟแมนนั้น สร้างต้นไม้โดยเริ่มจากบัพปลายของต้นไม้ไปหาราก จึงเป็นวิธีการสร้างจากล่างขึ้นบน (bottom up) ซึ่งสวนทางกับวิธีของแชนนอน-ฟาโน รหัสที่สร้างโดยวิธีของฮัฟแมนนั้นจะเป็นรหัสที่ดีที่สุดเสมอ ในขณะที่วิธีของแชนนอน-ฟาโนนั้นจะให้รหัสที่ดีที่สุดในบางกรณีเท่านั้น รายละเอียดวิธีการของฮัฟแมนมีดังต่อไปนี้ เริ่มจากสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นบัพปลาย แล้วต่อกิ่งขึ้นไปหาราก โดยเริ่มจาก 2 บัพที่มีความถี่ต่ำที่สุด เราจะเห็นว่าแต่ละองค์ประกอบที่ไม่ต่อกันนั้น ก็จะเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง ทั้งหมดจึงเรียกว่า "ป่า" ในแต่ละขั้น เราก็จะเลือกต่อกิ่งจากรากของต้นไม้ 2 ต้น ที่มีความถี่ต่ำที่สุด (ความถี่ของต้นไม้แต่ละต้นคือ ความถี่รวมของสัญลักษณ์ที่ต่อเป็นต้นไม้นั้น) เป็นต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนป่ารวมตัวกันเป็นต้นไม้รหัสเพียง 1 ต้น === ตัวอย่าง === ใช้ตัวอย่างเดียวกับ รหัสแชนนอน-ฟาโน ด้านบน เริ่มจากขั้นแรก เราจะเลือกต่อกิ่ง D, E ซึ่งเป็น 2 บัพที่มีความถี่น้อยที่สุด ในรูป b. ในขั้นตอนนี้เรามีป่าของต้นไม้ {A}(15), {B}(7), {C}(6), {D,E}(11) ซึ่งต้นไม้ {D,E} นั้นมีความถี่ = 5+6 = 11 ดังนั้นเราจะต้องเลือกต่อกิ่ง {B}(7) และ {C}(6) ซึ่งเป็นต้นไม้ 2 ต้นที่มีความถี่น้อยที่สุด ดังรูป c. เช่นเดียวกัน ต้นไม้ {B,C}(13) และต้นไม้ {D,E}(11) มีน้ำหนักน้อยกว่า {A}(15) ในขั้นนี้จึงเลือกต่อกิ่งต้นไม้ {B,C} และ {D,E} ดังในรูป d. และสุดท้ายเมื่อตอกิ่งทุกส่วนเป็นต้นไม้รหัสดังในรูป e. ความยาวเฉลี่ยของรหัส เราจะเห็นว่ารหัสของ A นั้นยาว 1 บิต และ B, C, D, E นั้นยาว 3 บิต ความยาวรหัสเฉลี่ยคือ \frac{1Bit*15 + 3Bit*(7+6+6+5)}{39} \approx 2.23 บิต ต่อสัญลักษณ์ สังเกตว่า วิธีของฮัฟแมนนั้นให้รหัสที่มีความยาวโดยเฉลี่ยสั้นกว่า รหัสแชนนอน-ฟาโน ขั้นตอนวิธีการบีบอัดข้อมูลแบบไม่สูญเสีย ต้นไม้แบบทวิภาค
thaiwikipedia
1,289
เอ็มเพก
Moving Picture Experts Group หรือ MPEG (นิยมอ่าน เอ็มเพก) เป็นชื่อกลุ่มนักพัฒนา ระบบมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอและออดิโอ ของ ISO/IEC โดยมีการเริ่มพัฒนาร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ที่ประเทศแคนาดา โดยสมาชิกของเอ็มเพก ประกอบด้วยบุคคลจากบริษัทพัฒนา นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีมาตรฐานหลักที่พัฒนาออกมาได้แก่ MPEG-1, MPEG-2, MPEG-3 และ MPEG-4 ซึ่งยังมีมาตรฐานเสริมคือ MPEG-7 และ MPEG-21 มาตรฐานในแวดวงมัลติมีเดียปัจจุบันถูกกำหนดโดยสององค์กรหลักๆ คือ MPEG (Moving Picture Expert Group) ITU-T (The ITU Telecommunication Standardization Sector) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ออกมาตรฐานทางโทรคมนาคม ของ ITU (International Telecom Union) มาตรฐานที่ออกโดย MPEG กับ ITU-T มีบางอย่างซ้อนทับกัน แต่จะยึดตาม MPEG เป็นหลัก ดังนี้ == MPEG-2 == ปี ค.ศ. 1994 มาตรฐาน MPEG-2 ถูกใช้กับดีวีดี ความแตกต่างกับ MPEG-1 ก็มีไม่มากนัก ยกเว้นเรื่องการเข้ารหัส/ถอดรหัสที่ใช้วิธีทันสมัยมากขึ้น == MPEG-3 == เป็นมาตรฐานที่เตรียมใช้กับ HDTV (High Definition Television หรือโทรทัศน์ความละเอียดสูง) แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะพบว่าแค่เทคโนโลยี MPEG-2 ที่มีอยู่เดิมเพียงพอสำหรับ HDTV แล้ว == MPEG-4 == เป็นส่วนขยายของ MPEG-1 เพื่อรับรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ เช่น 3D หรือการเข้ารหัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น MPEG-4 แบ่งออกเป็นหลายส่วนตามหน้าที่แต่ละส่วน และทาง MPEG จะปล่อยให้ผู้ผลิตซอพท์แวร์เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้จริงๆ เอง ไม่จำเป็นต้องตาม MPEG-4 เต็มชุดก็ได้ พัฒนาได้เป็นบางส่วนก็พอ (แบบเดียวกับ MP3 ที่หยิบแต่ส่วนออดิโอไปทำ) เทคโนโลยีสำคัญใน MPEG-4 === MPEG-4 part 2 === รับผิดชอบกับการจัดการด้านภาพ ฟอร์แมตวิดีโอสำคัญๆ หลายตัวอิมพลีเมนต์ตาม part 2 นี้ DivX XviD === MPEG-4 part 3 === รับผิดชอบการจัดการกับเสียง AAC (Advance Audio Coding) เป็นการอิมพลีเมนต์ตาม MPEG-4 part 3 โดยแอปเปิล ซึ่งอ้างว่า AAC ที่บิทเรต 96 kbps มีคุณภาพเทียบเท่ากับ MP3 ที่ 128 kbps เทคโนโลยีนี้นำไปใช้กับเพลงที่ขายในร้านจำหน่ายเพลงออนไลน์ iTunes Music Store นามสกุลไฟล์ในฟอร์ตแมตนี้จะเป็น .aac, .mp4 และ .m4a === MPEG-4 part 10 === จัดการกับการเข้ารหัสวิดีโอระดับสูง (Advance Video Coding) H.264 * เป็นมาตรฐานที่ซ้อนกับ AVC โดย H.264 เป็นชื่อของ ITU-T และ AVC เป็นชื่อของทาง MPEG เท่านั้นเอง มีความสามารถในการเข้ารหัสวิดีโอที่สูงกว่า MPEG-4 part 2 มาก ปัจจุบันเพิ่งเริ่มนำมาใช้งาน โดยแอปเปิลจะนำไปใช้ใน QuickTime 7 และ MacOSX 10.4 Tiger นอกจากแอปเปิลแล้ว H.264 เริ่มถูกนำไปใช้ในระบบทีวีแบบใหม่ของญี่ปุ่นและยุโรป และฟอร์แมตแผ่นดิสก์ในยุคหน้าทั้ง Bluray กับ HD-DVD นอกจากนั้นยังมีการนำมาตรฐาน H.264 ไปใช้กับงานด้านกล้องวงจรปิด CCTV โดยเครื่องบันทึกภาพ DVR ใช้คุณสมบัติที่ดีกว่าของมาตรฐานนี้ซึ่งสามารถบีบอัดข้อมูลทั้งภาพและเสียงได้สูงกว่า Mpeg-4 เกือบเท่าตัว ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกซึ่งก็เท่ากับว่าสามารถบันทึกข้อมูลภาพและเสียงได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมในขณะที่ใช้เนื้อที่เท่ากันนั่นเอง และยังทำให้อัตราการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย == MPEG-21 == เป็นมาตรฐานมัลติมีเดียในอนาคต มุ่งเน้นการใช้งานมัลติมีเดียผ่านเครือข่าย ปัจจุบันอยู่ในสถานะร่าง == อ้างอิง == หนังสือและผลงานวิจัยเกี่ยวกับเอ็มเพก == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการเอ็มเพก MPEG.org MPGIF เทคโนโลยีภาพยนตร์และวิดีโอ รูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์
thaiwikipedia
1,290
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) (อักษรย่อ: NYSE) เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา อาคารของตลาดหลักทรัพย์ตั้งอยู่มุมถนนวอลล์สตรีท (Wall Street) จึงมักเรียกกันว่าตลาดหุ้นวอลล์สตรีท อักษรย่อของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก คือ NYSE == ดูเพิ่ม == แนสแด็ก (NASDAQ) ตลาดหลักทรัพย์อเมริกัน (American Stock Exchange, AMEX) ดัชนี S&P 500 == อ้างอิง == นิวยอร์ก สิ่งก่อสร้างในนครนิวยอร์ก แมนแฮตตัน
thaiwikipedia
1,291
แนสแด็ก
ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก (Nasdaq Stock Market, ; Nasdaq ย่อมาจากวลี National Association of Securities Dealers Automated Quotations) เป็นตลาดหลักทรัพย์อเมริกันที่มีฐานในนครนิวยอร์ก ถือเป็นสถานที่ซื้อขายหุ้นที่มีการซื้อขายมากที่สุดในสหรัฐ และอยู่ในอันดับ 2 ของรายการตลาดหลักทรัพย์ตามมูลค่าตามราคาตลาดของการซื้อขายหุ้น เป็นรองเพียงตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนนี้ถือครองโดยบริษัทแนสแด็ก ที่ถือครองเครือข่ายตลาดหุ้นแนสแด็กนอร์ดิกและหุ้นในสหรัฐบางส่วน กับc]dgujpoตราสารสิทธิ]] โพลของ Gallup ที่มีการสำรวจความคิดเห็นใน ค.ศ. 2022 รายงานว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันประมาณ 58% นำเงินของตนไปลงทุนในตลาดหุ้นต่าง ๆ ทั้งหุ้นส่วนบุคคล กองทุนรวม หรือบัญชีวัยเกษียณ ==เวลาทำการ== ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็กเปิดทำการในเขตเวลาตะวันออกของสหรัฐ 07.00 ถึง 09.30 : การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ (premarket) 09.30 ถึง 16.00 : เวลาทำการปกติ 16.00 ถึง 20.00 : การซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการ (postmarket) == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีฐานในนครนิวยอร์ก เศรษฐกิจของนครนิวยอร์ก
thaiwikipedia
1,292
ยูโร
ยูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 20 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ == ประวัติ == เงินยูโร (ใช้สัญลักษณ์ว่า € รหัสธนาคาร EUR) คือสกุลเงินของ 19 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยรวมกันเรียกว่ายูโรโซน (Eurozone - เขตยูโร) เงินยูโรเป็นผลมาจากความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนาในยุโรปมาตั้งแต่ยุคสมัยโรมัน แม้กระนั้นเงินยูโรก็ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเหมือนกับเป็นการค้าขายสำหรับตลาดของยุโรป อำนวยความสะดวกในการค้าขายแลกเปลี่ยนอย่างอิสระภายในยูโรโซน โดยเงินสกุลนี้ยังได้รับการดูแลจากผู้ก่อตั้ง ให้เป็นส่วนสำคัญของโครงการของการการรวมอำนาจทางการเมืองของยุโรป เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม นอกจากนี้แล้วยังมีประเทศอันดอร์รา มอนเตเนโกร และดินแดนคอซอวอในประเทศเซอร์เบียที่สามารถใช้เงินยูโรได้ == เหรียญและธนบัตร == 1 ยูโร สามารถแบ่งได้เป็น 100 เซนต์ (เหมือน 1 บาทไทย แบ่งได้ 100 สตางค์) ซึ่งมีเหรียญและธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบในปัจจุบันดังนี้ === เหรียญ === ในเหรียญนั้น ด้านหัว ใน 13 ประเทศที่ใช้จะมีด้านหัวที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบของประเทศตน แต่ด้านก้อยในทุกประเทศที่ใช้หน่วยเงินยูโรจะเหมือนกัน โดยเหรียญที่ใช้หมุนเวียนทั่วไปมีดังนี้ {|class="wikitable" style="font-size:90%" |- !colspan="7"|เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน |- !colspan="2"| ภาพ !!rowspan="2"| มูลค่า !!colspan="3"| ข้อมูล !!rowspan="2"| ปีที่ประกาศใช้ |- ! ด้านหน้า !! ด้านหลัง !! เส้นผ่านศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) !!   น้ำหนัก (กรัม)   !! ส่วนประกอบ |- bgcolor = "F9F9F9" ||||| 1 เซนต์ || 16.25 || 2.30 ||rowspan="3"|เหล็กกล้า 94.35%ทองแดง 5.65% ||rowspan="3"|ค.ศ. 2002 |- | |||| 2 เซนต์ || 18.75|| 3.06 |- | |||| 5 เซนต์ || 21.25|| 3.92 |- | |||| 10 เซนต์ || 19.75|| 4.10 ||rowspan="3"|ทองแดง 89%อะลูมิเนียม 5%สังกะสี 5%ดีบุก 1% ||rowspan="5"|ค.ศ. 2007 |- | |||| 20 เซนต์ || 22.25 || 5.74 |- | |||| 50 เซนต์ || 24.25 || 7.80 |- | |||| 1 ยูโร || 23.25 || 7.50 ||rowspan="2"|วงแหวนเหรียญ 1 ยูโร และส่วนกลางเหรียญ 2 ยูโรทองแดง 75%สังกะสี 20%นิกเกิล 5%ส่วนกลางเหรียญ 1 ยูโร และวงแหวนเหรียญ 2 ยูโรทองแดง 75%นิกเกิล 25% |- | |||| 2 ยูโร || 25.75 || 8.50 |} === ธนบัตร === ธนบัตรในหน่วยยูโรจะผลิตจากใยฝ้ายบริสุทธิ์ ธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบันมี 7 ชนิด คือ ธนบัตรรุ่นแรก (First series) {|class="wikitable" |- |ด้านหน้า || ด้านหลัง || มูลค่า || ขนาด (มม.) || สีหลักของธนบัตร |- |100px || 100px || 5 ยูโร || 120 X 62 || เทา |- |100px || 100px || 10 ยูโร || 127 X 67 || แดง |- |100px || 100px || 20 ยูโร || 133 X 72 || น้ำเงิน |- |100px || 100px || 50 ยูโร || 140 X 77 || ส้ม |- |100px || 100px || 100 ยูโร || 147 X 82 || เขียว |- |100px || 100px || 200 ยูโร || 153 X 82 || เหลือง |- |100px || 100px || 500 ยูโร || 160 X 82 || ม่วง |} ธนบัตรรุ่นที่สอง (Second series) == ประเทศที่ใช้เงินยูโร == === ประเทศที่ใช้ยูโรเป็นสกุลเงินประจำชาติ === ฝรั่งเศส (ยกเว้นอาณานิคมในมหาสมุทรแปซิฟิก) FRF 6.55957 XEU 1 = FRF 1.332904624 เยอรมนี DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 ไอร์แลนด์ IEP 0.787564 XEU 1 = IEP 0.0085844476 อิตาลี ITL 1,936.27 XEU 1 = ITL 151.803568 ลักเซมเบิร์ก BEF 40.3399 XEU 1 = BEF 0.12908768 เนเธอร์แลนด์ NLG 2.20371 XEU 1 = NLG 0.219930258 โปรตุเกส PTE 200.482 XEU 1 = PTE 1.403374 สเปน ESP 166.386 XEU 1 = ESP 6.8883804 ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ กรีซ (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544) GRD 340.750 XEU 1 = GRD 1.4993 สโลวีเนีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550) SIT 239.640 XEU 1 = SIT 35.946 ไซปรัส (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551) CYP 0.585274 XEU 1 = CYP 0.0877911 มอลตา (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551) MTL 0.429300 XEU 1 = MTL 0.064395 สโลวาเกีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552) SKK 30.1260 XEU 1 = SKK 4.5189 เอสโตเนีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554) EEK 15.6466 ลัตเวีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557) ใช้เงินสกุลลัตส์ LVL 0.702854 ลิทัวเนีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ใช้เงินสกุลลีตัส LTL 3.45280 โครเอเชีย (เริ่มวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565) ใช้เงินสกุลคูนา HRK 7.53450 === ประเทศนอกสหภาพยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร === โมนาโก FRF 6.55957 XEU 1 = FRF 1.332904624 ซานมารีโน ITL 1,936.27 XEU 1 = ITL 151.803568 นครรัฐวาติกัน ITL 1,936.27 XEU 1 = ITL 151.803568 อันดอร์รา ADD 1.3 XEU 1 = ADD 0.31798 FRF 6.55957 XEU 1 = FRF 1.332904624 ESP 166.386 XEU 1 = ESP 6.8883804 มอนเตเนโกร DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 คอซอวอ DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 === ประเทศในสหภาพยุโรปที่ยังไม่ใช้สกุลเงินยูโร === สวีเดน ใช้เงินสกุลโครนสวีเดน เดนมาร์ก ใช้เงินสกุลโครนเดนมาร์ก DKK 7.46038 XEU 1 = DKK 0.19770007 บัลแกเรีย ใช้เงินสกุลเลฟ DEM 1.95583 XEU 1 = DEM 0.625083268 โรมาเนีย ใช้เงินสกุลเลอู ฮังการี ใช้เงินสกุลโฟรินต์ สาธารณรัฐเช็ก ใช้เงินสกุลโครูนาเช็ก โปแลนด์ ใช้เงินสกุลซวอตี == หมายเหตุ == == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == ประเด็นการคลังยูโรโซน สกุลเงินยุโรป สหภาพการเงิน เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
thaiwikipedia
1,293
โครงการจีโนมมนุษย์
โครงการจีโนมมนุษย์ (The Human Genome Project; ตัวย่อ: HGP) เป็นอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้ศึกษาจัดทำแผนที่ของจีโนมของมนุษย์ ซึ่งมีความละเอียดระดับนิวคลีโอไทด์ หรือ คู่เบส เพื่อที่จะวิเคราะตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีนของมนุษย์ == ประวัติ == อภิมหาโครงการนี้เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยการสนับสนุนของ กรมพลังงาน และ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนวิจัย 3 พันล้านเหรียญ ซึ่งเคยคาดว่าจะใช้เวลาทั้งหมด 15 ปี แต่เนื่องจากความร่วมมือจากนานาประเทศ อีกทั้งความก้าวทางเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับเบสและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทำให้ร่างของแผนที่จีโนมเสร็จก่อนเวลาในปี พ.ศ. 2543 (โดยการประกาศอย่างเป็นทางการของนายบิล คลินตัน (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น) และ นายโทนี่ แบลร์ (นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ประเทศที่ร่วมโครงการ: ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา == แหล่งข้อมูลอื่น == ข่าว Human Genome. Published from 1989 to 2002 by the US Department of Energy, this newsletter was a major communications method for coordination of the Human Genome Project. Complete online archives are available. Project Gutenberg hosts e-texts for Human Genome Project, titled Human Genome Project, Chromosome Number # (# denotes 01-22, X and Y). This information is raw sequence, released in November 2002; access to entry pages with download links is available through http://www.gutenberg.org/etext/3501 for Chromosome 1 sequentially to http://www.gutenberg.org/etext/3524 for the Y Chromosome. Note that this sequence might not be considered definitive due to ongoing revisions and refinements. In addition to the chromosome files, there is a supplementary information file dated March 2004 which contains additional sequence information. The HGP information pages Ensembl project, an automated annotation system and browser for the human genome [http://genome.ucsc.edu] UCSC genome browser Nature magazine's human genome gateway, including the HGP's paper on the draft genome sequence Wellcome charitable trust description of HGP "Your Genes, your health, your future". ศึกษาเรื่อง Human Genome. ภาค 1: Challenge to Science Educators. ERIC Digest. ศึกษาเรื่อง Human Genome. ภาค 2: Resources for Science Educators. ERIC Digest. Clinton Tries To Take Credit For Celera's Achievement by David Holcberg เทคโนโลยีชีวภาพ คโครงการจีโนมมนุษย์ คโครงการจีโนมมนุษย์
thaiwikipedia
1,294
จังหวัดชลบุรี
ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน == ประวัติศาสตร์ == === สมัยก่อนประวัติศาสตร์ === จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันยาวนานของจังหวัดชลบุรี === สมัยประวัติศาสตร์ === ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรีประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว จึงรวมเมืองพนัสนิคมและเมืองบางละมุงขึ้นต่อเมืองชลบุรี อยู่ในสังกัดมณฑลปราจีน ดังมีบันทึกว่า ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด อนึ่งเมืองพนัสนิคมยุบเป็นอำเภอพนัสนิคมก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอเกาะจันทร์และบางตำบลของอำเภอบ้านบึง เมืองบางละมุงยุบเป็นอำเภอบางละมุง ก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอศรีราชา, อำเภอสัตหีบ และเมืองชลบุรีเป็นเมืองศูนย์กลางจังหวัดและได้แยกออกเป็นอำเภอบ้านบึง == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้งและอาณาเขต === จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดา ถึง 13 องศา 43 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 45 ลิปดา ถึง 101 องศา 45 ลิปดาตะวันออก และมีอาณาเขตจรดจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศใต้ ติดกับจังหวัดระยอง ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย === ภูมิประเทศ === จังหวัดชลบุรีมีภูเขาทอดอยู่เกือบกลางของจังหวัดเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล ตอนเหนือเป็นที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม ทิศตะวันออกและทิศใต้เดิมเป็นป่าเขาพื้นที่ลุ่มดอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากป่าไม้เป็นที่โล่งเตียนใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว สับปะรด ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะพบแหล่งเพาะปลูกเกือบทุกอำเภอ มีชายฝั่งทะเลและหาดสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง เช่น ชายหาดบางแสน พัทยา เป็นต้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพนัสนิคม และส่วนใหญ่ของอำเภอพานทองจะเป็นดินเหนียว และดินตะกอน แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยจึงมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำประกอบกับมีการบุกรุกแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย === ภูมิอากาศ === สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาลแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างอบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตกหนักในเขตป่าและภูเขา ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด ทว่าเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตร ในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน == หน่วยการปกครอง == === การปกครองส่วนภูมิภาค === จังหวัดชลบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้ {|class="wikitable sortable" |+ข้อมูลอำเภอในจังหวัดชลบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2564) |- ! width="3%" |ลำดับ !! width="18%"|ชื่ออำเภอ ! อักษรโรมัน !! width="6%" | ชั้น !! width="11%"|พื้นที่ (ตร.กม.) !! width="11%"|ห่างจากศาลากลาง (กม.) !! width="10%"|ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) !! width="7%"|ตำบล !! width="7%"|หมู่บ้าน !! width="10%"|ประชากร (คน) !! class="unsortable" |แผนที่ |-align="center" | 1 ||  เมืองชลบุรี |Mueang Chonburi|| พิเศษ ||228.8 || – || 2481 || 18 || 107 || 342,951 || rowspan=11 | |-align="center" | 2 ||  บ้านบึง | Ban Bueng|| ||646.3||17|| 2481 || 8 || 52 || 110,194  |-align="center" | 3 ||  หนองใหญ่ | Nong Yai|| ||397.5 ||53|| 2524 || 5 || 24 || 23,974  |-align="center" | 4 ||  บางละมุง | Bang Lamung|| ||727 ||48|| 2444 || 8 || 72 || 328,958  |-align="center" | 5 ||  พานทอง | Phanthong|| ||173||24|| 2481 || 11 || 76 || 75,508  |-align="center" | 6 ||  พนัสนิคม | Phanat Nikhom|| ||450.9||26|| 2495 || 20 || 185 || 124,905  |-align="center" | 7 ||  ศรีราชา | Sriracha|| || 643.558 ||24|| 2437 || 8 || 73 || 319,100  |-align="center" | 8 ||  เกาะสีชัง | Koh Sichang|| ||17.3 ||37|| 2437 || 1|| 7 || 4,535  |-align="center" | 9 ||  สัตหีบ | Sattahip|| ||348.122||86|| 2496 || 5 || 40|| 164,273  |-align="center" | 10 ||  บ่อทอง | Bo Thong|| ||781.6 ||59|| 2528 || 6|| 47 || 49,835  |-align="center" | 11 ||  เกาะจันทร์ | Koh Chan|| ||248.8 ||54|| 2550 || 2 || 27 || 39,400  |} === การปกครองส่วนท้องถิ่น === จังหวัดชลบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีเทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง และเทศบาลตำบล 36 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 49 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) มีดังนี้ อำเภอเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านสวน เทศบาลเมืองอ่างศิลา เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เทศบาลตำบลบางทราย เทศบาลตำบลนาป่า เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ เทศบาลตำบลหนองไม้แดง เทศบาลตำบลห้วยกะปิ เทศบาลตำบลเสม็ด เทศบาลตำบลเหมือง อำเภอบ้านบึง เทศบาลเมืองบ้านบึง เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว เทศบาลตำบลหัวกุญแจ เทศบาลตำบลหนองชาก เทศบาลตำบลหนองซ้ำซาก เทศบาลตำบลบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ เทศบาลตำบลหนองใหญ่ อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลเมืองหนองปรือ เทศบาลตำบลบางละมุง เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ เทศบาลตำบลโป่ง เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย เทศบาลตำบลหนองปลาไหล อำเภอพานทอง เทศบาลตำบลพานทอง เทศบาลตำบลหนองตำลึง อำเภอพนัสนิคม เทศบาลเมืองพนัสนิคม เทศบาลตำบลหมอนนาง เทศบาลตำบลกุฎโง้ง เทศบาลตำบลหัวถนน อำเภอศรีราชา เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เทศบาลเมืองศรีราชา เทศบาลตำบลบางพระ อำเภอเกาะสีชัง เทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอสัตหีบ เทศบาลเมืองสัตหีบ เทศบาลตำบลนาจอมเทียน เทศบาลตำบลบางเสร่ เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ อำเภอบ่อทอง เทศบาลตำบลบ่อทอง เทศบาลตำบลธาตุทอง เทศบาลตำบลบ่อกวางทอง อำเภอเกาะจันทร์ เทศบาลเมืองปรกฟ้า เทศบาลตำบลเกาะจันทร์ เทศบาลตำบลท่าบุญมี หมายเหตุ เมืองพัทยาไม่เป็นเทศบาล แต่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ทั้งในอำเภอบางละมุงและในอำเภอศรีราชา == เศรษฐกิจ == จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน (GPP; Gross Provincial Product at Current Market Prices) 892,062 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2563 เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2562 จังหวัดชลบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรม 5,347 แห่ง แบ่งตามประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต อาหาร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ พลาสติก เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ เหล็กและโลหะ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ภาคบริการ ได้แก่ การขายส่งและการขายปลีกฯ การไฟฟ้า แก๊ส การขนส่ง ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า จังหวัดชลบุรีมีท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ ท่าเรือสยามคอมเมอร์เชียลซีพอร์ต ท่าเรือเคอรี่สยามซีพอร์ต ส่วนภาคเกษตรมูลค่า คิดเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาเกษตร ได้แก่ มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา สาขาประมงพาณิชย์ สาขาป่าไม้ สาขาปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ และสุกร == ประชากร == ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จังหวัดชลบุรีมีประชากร 1,583,672 คน คิดเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 772,463 คน และประชากรเพศหญิง 811,209 คน มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 362.98 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ อำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีความหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรอาศัยอยู่ 330,156 คน มีความหนาแน่น 1,442.98 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอเกาะสีชัง มีประชากรอาศัยอยู่ 4,580 คน ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอหนองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 59.44 คนต่อตารางกิโลเมตร จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2558 ประชากรจังหวัดชลบุรีประมาณร้อยละ 97.87 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นศาสนาอิสลามร้อยละ 1.56 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.60 {|Class="wikitable" border="1" cellpadding="2" cellspacing="0" align="right" !bgcolor="efefef"|ศาสนา !bgcolor="efefef"|จำนวน (คน) !bgcolor="efefef"|ร้อยละ |- |style="background:#FFFFC0;"|พุทธ||1,256,081||97.87 |- |style="background:#E0FFC0;"|อิสลาม||20,000||1.56 |- |style="background:#E0F0FF;"|คริสต์||7,707||0.60 |- |style="background:#F0E0F0;"|อื่น ๆ||800||0.06% |} == การขนส่ง == จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมที่ดีจังหวัดหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบการขนส่งทั่วถึงและสะดวกทั้งการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ รวมทั้งมีการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมันและสารเคมี การขนส่งของจังหวัดชลบุรีในปัจจุบันอาศัยทางบกเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จังหวัดชลบุรีมีท่าอากาศยานขนาดเล็ก 1 แห่งคือ สนามบินบางพระ ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา เป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับเครื่องบินลำเล็ก จึงไม่ได้เปิดให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการขนส่งทางทะเล กล่าวคือด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นชายฝั่งที่มีแนวยาวระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยหลายแห่งเป็นชายหาดที่งดงาม และบางแห่งเหมาะจะเป็นท่าจอดเรือ ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของจังหวัดมีท่าเทียบเรือประมงและท่าเทียบเรือสินค้า ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนและท่าเทียบเรือพาณิชย์สำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าเลียบตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ การขนส่งทางรถไฟของจังหวัดชลบุรีอาศัยเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร–ฉะเชิงเทรา–ศรีราชา เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบการคมนาคมสำคัญที่สุดของจังหวัดชลบุรี และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โครงข่ายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยจังหวัดชลบุรีมีถนนที่สร้างเสร็จแล้วเป็นระยะทาง 745.497 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินรวมระยะทาง 745.497 กิโลเมตร และระยะทางต่อ 2 ช่องจราจรคิดเป็นระยะทาง 1,191.408 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของจังหวัดชลบุรี เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7, ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) เป็นต้น == การศึกษา == จังหวัดชลบุรีมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาชลบุรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มหาวิทยาลัยเอเชียน นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี วิทยาลัยมหาดไทย วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง) วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคบางแสน (เดิมชื่อ วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี) วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์เมืองพัทยา วิทยาลัยเทคโนโลยีดาราสมุทรบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจ (CAT) วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา วิทยาลัยวิศวกรรมแหลมฉบัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา โรงเรียน == วัฒนธรรม == == กีฬา == === ฟุตบอล === จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตบอลอาชีพซึ่งเล่นอยู่ในไทยลีกเพียงทีมเดียว คือ สโมสรฟุตบอลชลบุรี ซึ่งเป็นทีมในอำเภอเมืองชลบุรี มีผลงานได้เป็นแชมป์ไทยลีกหนึ่งสมัยในปี พ.ศ. 2550 และเป็นตัวแทนได้ไปแข่งขันในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ส่วนสโมสรฟุตบอลอาชีพอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ พัทยา ยูไนเต็ด (พ.ศ.2566) ลงแข่งขันในไทยลีก 2 ส่วน ราชนาวี, นาวิกโยธิน, กองเรือรบ, สอ.รฝ. เอฟซี และ บีเอฟบี พัทยา ลงแข่งขันในไทยลีก 3 === ฟุตซอล === จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตซอลที่สร้างชื่อเสียง คือ ทีมชลบุรี บลูเวฟ ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลไทยลีก 11 สมัย === วอลเลย์บอล === สโมสรวอลเลย์บอลชลบุรี เป็นสโมสรวอลเลย์บอลชายในจังหวัดชลบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก 2 สมัย ส่วนสโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ชลบุรี เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงในจังหวัดชลบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 3 สมัย == สถานที่สำคัญ == พัทยา สวนน้ำรามายณะ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนเสือศรีราชา อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา เขาสามมุข แหลมแท่น ศาลเจ้านาจาไทจื้อ เกาะล้าน วัดเครือวัลย์ หาดบางเสร่ สวนนงนุช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วัดญาณสังวราราม วิหารเซียน ปราสาทสัจธรรม เมืองจำลอง วัดสัตหีบ วัดเทพพุทธาราม วัดใหญ่อินทาราม วัดอุทกเขปสีมาราม ตลาดหนองมน บางแสน เกาะสีชัง หาดสัตหีบ วัดเกาะลอย วัดศรีมหาราชา จักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พนัสนิคม) หอพนัสบดี วัดหน้าพระธาตุ วัดโบสถ์ (พนัสนิคม) == บุคคลที่มีชื่อเสียง == ก้องเกียรติ โขมศิริ จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต คำรณ หว่างหวังศรี จอห์น ดีแลน จันทนีย์ อูนากูล จรัสรวี เทียมรัตน์ ชลธิชา อิ่มจรรยา ชลาทิศ ตันติวุฒิ ชัญษร สาครจันทร์ ชาตรี ศรีชล ชุติมา นัยนา ณภศศิ สุรวรรณ ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ ตัน ภาสกรนที ธนา สินประสาธน์ ธนิน มนูญศิลป์ ธรรมนูญ ทัศโน ธีระศักดิ์ โพธิ์อ้น นาตาลี เดวิส บรรจบ เจริญพร บารมิตา สาครจันทร์ บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง บุปผา สายชล ผอูน จันทรศิริ ฝันดี-ฝันเด่น พนม นพพร พฤกษ์ พีระนันท์ ภัครมัย โปตระนันท์ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย เมธัส ตรีรัตนวารีสิน รังสิต ศิรนานนท์ ลลิตา สิงห์โตทอง ลือชัย งามสม วิวัฒน์ ผสมทรัพย์ วีรยา จาง สุกัญญา มิเกล อธิป ทองจินดา อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ อลิษา ขจรไชยกุล อังคณา วรรัตนาชัย อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ อุดม แต้พานิช อุเทน บุญยงค์ แอนดรูว์ โคนินทร์ == ดูเพิ่ม == รายชื่อวัดในจังหวัดชลบุรี รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดชลบุรี รายชื่อโรงภาพยนตร์ในจังหวัดชลบุรี == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย อ่าวกรุงเทพ
thaiwikipedia
1,295
จังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลก เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 866,891 คน มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นจังหวัดเดียวของภาคกลางที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว == ศัพทมูลวิทยา == ชื่อของจังหวัดมาจากคำว่า พิษณุ หมายถึง "พระวิษณุ" เทพตามความเชื่อของชาวฮินดู รวมกับคำว่า โลก ทำให้มีความหมายเป็น "โลกแห่งพระวิษณุ" ในสมัยที่ยังปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล ชื่อของจังหวัดนั้นสะกดว่า พิศณุโลก ส่วนชื่อ สรลวงสองแคว โดยคำ "สรลวง" (ไม่ใช่สระหลวง) มาจากคำเขมรว่า "ชฺรลวง" แปลว่า "ลำน้ำ" รวมกันจึงมีความหมายว่า "ลำน้ำสองแคว" หรือ "ลำน้ำสองกระแส" สอดคล้องกับชื่อในภาษาบาลีว่า "ไทวยนทีศรียมนา" แปลว่า "ลำน้ำอันเป็นสิริที่มีสองสาย" ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ เข้าใจว่า "สรลวง" คือคำว่า "สรวง" ที่แปลว่าสวรรค์ ในพระราชพงศาวดารพม่าและพงศาวดารไทยใหญ่ พระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปรากฏชื่อเมืองพิษณุโลกว่า เมืองสองคญี และพระอิสริยยศ เจ้าฟ้าสรวงคญี คำว่า "คญี" พม่าแปลว่า "มหา" จึงเขียนว่า "เจ้าฟ้ามหาสรวง" กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดำริอีกว่า "สหายข้าพเจ้าแนะว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้าสองแคว เพราะสองแควเป็นนามเมืองพิศณุโลก ดังปรากฏในตำนานพระแก่นจันทร์" หมายถึง พระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก == ประวัติศาสตร์ == พบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ภาพสลักบนหินที่ถ้ำกาและผาขีดเขาภูขัด อำเภอนครไทย และภาพสลักหินที่ผากระดานเลข อำเภอชาติตระการ ซึ่งภาพสลักหินเหล่านี้อยู่ในยุคโลหะมีอายุประมาณสี่พันปีก่อน จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึงพระเจ้าพนมไชยศิริอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นครไทย อาจหมายถึงพระเจ้าชัยศิริแห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสนซึ่งเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรสุธรรมวดีอพยพลงมาทางใต้ (ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าอพยพไปกำแพงเพชร) แหล่งโบราณคดีนครไทยเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ในสมัยขอมโบราณมีชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิษณุโลกในปัจจุบันบริเวณวัดจุฬามณีคือเมืองสองแควเดิม พระปรางค์วัดจุฬามณีสร้างขึ้นในสมัยขอม ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวแห่งเมืองบางยางร่วมมือกับพ่อขุนผาเมืองแห่งเมืองราดขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากภูมิภาคนำไปสู่การกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าเมืองบางยางคือเมืองนครไทย บันทึกของปีแยร์ บรีโก มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงเมืองพิษณุโลก ต่อมาฟร็องซัว-อ็องรี ตูร์แป็งได้นำมาเผยแพร่ ความว่า :- เมืองพิษณุโลก (Porcelon) ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกเพี้ยนว่า ปอร์ซาลุก (Porsalouc) นั้น แต่ก่อนขึ้นแก่พวกเจ้าที่เป็นทายาทสืบต่อกันมา และในปัจจุบันเราก็ยังชำระคดีในนามเจ้านายเก่าของเมืองนี้และในวังของเขาอันว่า เมืองนี้ ซึ่งมั่นคงด้วยป้อมสิบสี่ป้อมที่สร้างโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสนั้นเป็นเมืองที่ร่ำรวยและค้าขาย เป็นต้นว่า งาช้าง นอแรด หนังสัตว์ป่า น้ำตาล ยาสูบ หัวหอม ขี้ผึ้งและน้ำผึ้ง ที่จังหวัดพิษณุโลก มีคนทำไต้ที่ทำด้วยน้ำมันดินกับน้ำมัน และมีคนทำยางแดง (Gomme rouge) ที่ใช้ทำครั่งประทับตรา (cire d' Eapagne) นอกจากนั้นยังมีคนทำไม้สำหรับสร้างบ้านและย้อมสีมาก พื้นดินเมืองพิษณุโลกผลิตดีบุก และอำพันสีเทาด้วย === สมัยสุโขทัย === เมืองพิษณุโลกเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน ปรากฏชื่อเมือง "สองแคว" ในจารึกวัดศรีชุม "พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีเกิดในนครสรลวงสองแคว" ชื่อเมืองสองแควหมายถึงเมืองซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ในช่วงต้นสมัยสุโขทัยเมืองสองแควอยู่ในการปกครองของพระยาคำแหงพระรามแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม จนกระทั่งรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเมืองสองแควเข้ามาอยู่ในการปกครองของสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงดังที่ระบุไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในพงศาวดารเหนือระบุว่า "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก"หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน พระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างวัดต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดเจดีย์ยอดทอง วัดอรัญญิก และบูรณะวัดวัดราชบูรณะ ทรงให้หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดาขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ พระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทยังทรงสร้างพระราชวังจันทน์ เมืองสองแควพัฒนาขึ้นกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก นอกจากนี้เมืองสองแควยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองชัยนาท"หมายถึงเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านบริเวณพระราชวังจันทน์ ขุนหลวงพะงั่วยกทัพอยุธยาขึ้นมายึดเมืองชัยนาทได้สำเร็จ จนพระมหาธรรมราชาลิไทจำต้องเจรจากับพระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพื่อขอเมืองชัยนาทคืน ทำให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องเสด็จย้ายมาประทับที่เมืองสองแควหรือเมืองชัยนาทอยู่เป็นเวลาเจ็ดปี พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสองแคว ทำให้เมืองสองแควกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) สวรรคตในพ.ศ. 1962 เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามและพระยาบาลเมือง สมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอยุธยาเสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ย ให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยในขณะที่พระยาบาลเมืองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสองแคว ทำให้เมืองสองแควแยกตัวจากสุโขทัยและเป็นประเทศราชของอยุธยา เมืองสองแควทวีความสำคัญขึ้นมามากกว่าสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สวรรคตในพ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระโอรสคือพระราเมศวรซึ่งมีพระราชมารดาเป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปครองเมืองสองแควประทับที่พระราชวังจันทน์ เมื่อพระราเมศวรต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองสองแควจึงได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา === สมัยอยุธยา === สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เป็น "พระยาสองแคว" เป็นเจ้าเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา แต่พระยายุทธิษเฐียรคิดตั้งตนขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาจึงหันไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา นำไปสู่สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถย้ายมาประทับที่เมืองสองแควในพ.ศ. 2006 เมื่อตั้งรับศึกกับล้านนาและทรงผนวชที่วัดจุฬามณีในพ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรวมเมืองฝั่งตะวันออกและเมืองชัยนาทฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้าด้วยกันแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว ปรากฏชื่อเมือง "พิษณุโลก" ขึ้นครั้งแรกในลิลิตยวนพ่าย หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองของอยุธยาในหัวเมืองเหนือ โดยมีพระมหาอุปราชซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงครองเมืองและประทับอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตพระเชษฐาพระโอรสเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระเชษฐาได้ราชสมบัติอยุธยาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสคือพระไชยราชาให้ครองเมืองพิษณุโลก พระไชยราชายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จากนั้นไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อขุนพิเรนทรเทพยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชในพ.ศ. 2091 และเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพให้เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชปกครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เมืองพิษณุโลกมี "พระมหาธรรมราชา" มาปกครองอีกครั้ง พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงสร้างวัดนางพญา เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2106 พระมหาธรรมราชายอมจำนนต่อพระเจ้าบุเรงนองทำให้พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดกลายเป็นประเทศราชของพม่า สมเด็จพระมหินทราธิราชแห่งอยุธยาทรงร่วมมือกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างร่วมกันยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระนเรศวรขึ้นเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกอีกครั้งในพ.ศ. 2114 ประทับที่พระราชวังจันทน์ ตามข้อสันนิษฐานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในปีพ.ศ. 2127 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกทำให้ "เกิดเหตุอัศจรรย์แม่น้ำซายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนั้นสามศอก" เมืองพิษณุโลกอาจเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้วจึงมีพระราชโองการให้ "เทครัว" กวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองเหนือทั้งหมดรวมถึงพิษณุโลกลงมายังภาคกลางตอนล่างเพื่อเตรียมการรับศึกกับพม่า ทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งหลังจากเสร็จสิ้นสงครามยุทธหัตถีแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงฟื้นฟูเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2136 โดยการแต่งตั้งให้พระชัยบุรี หรือพระยาชัยบูรณ์ เป็นพระยาสุรสีห์ฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนฐานะจากเมืองของพระมหาอุปราชมาเป็นเมืองชั้นเอกมีขุนนางเป็นเจ้าเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาธิราช ชาติพัทยาธิเบศราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ หรือ "เจ้าพระยาพิษณุโลกเอกอุ" ศักดินา 10,000 ไร่ เมืองพิษณุโลกหัวเมืองชั้นเอกฝ่ายเหนือของอยุธยาคู่กับเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองเอกฝ่ายใต้ สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชในพ.ศ. 2146 พร้อมทั้งโปรดฯให้นำทองนพคุณมาปิดทองพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปสำริด เป็นการปิดทององค์พระพุทธชินราชครั้งแรก ในพ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลังจากเสร็จสิ้นศึกเชียงใหม่ทรงนมัสการพระพุทธชินราช และโปรดฯให้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อพ.ศ. 2222 ประดิษฐานไว้ ที่วัดจุฬามณี ในรัชสมัยพระเพทราชามีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมถึงเมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของสมุหนายก ในพ.ศ. 2309 เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำทัพพิษณุโลกเข้ากอบกู้เมืองสุโขทัย เจ้าฟ้าจีดเสด็จหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยามายึดอำนาจที่เมืองพิษณุโลก ทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเลิกทัพจากสุโขทัยกลับไปยึดอำนาจคืนจากเจ้าฟ้าจีด และทัพพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาได้โดยไม่ยึดเมืองพิษณุโลก === สมัยธนบุรี === หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าชุมนุมพิษณุโลกมีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพ ในพ.ศ. 2311 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าพิษณุโลกพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากนั้นอีกเจ็ดวันหรือหกเดือนจึงถึงแก่พิราลัย พระอินทร์อากรน้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นเป็นผู้นำชุมนุมพิษณุโลกต่อมา แต่ชุมนุมเจ้าพระฝางเข้ายึดชุมนุมพิษณุโลกประหารชีวิตพระอินทร์อากรและกวาดต้อนทรัพย์สินผู้คนไปยังเมืองสวางคบุรี เมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของชุมนุมเจ้าพระฝางจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยายมราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในพ.ศ. 2313 ทำให้พิษณุโลกเข้ามาอยู่การปกครองของธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราช (บุญมา) เป็น "เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ" ปกครองเมืองพิษณุโลก ในพ.ศ. 2318 ในขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กำลังทำศึกที่เมืองเชียงแสนนั้น แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ยกทัพเข้ามาผ่านด่านแม่ละเมาแขวงเมืองตากเข้ารุกรานเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เร่งทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานสี่เดือนและตัดเส้นทางเสบียงทำให้เมืองพิษณุโลกขาดแคลนอาหาร อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระเจ้าพระยาจักรีที่เนินดินซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันอยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกเดิมซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์พิจารณาว่าศึกครั้งนี้ไม่สามารถต้านได้จึงฝ่าวงล้อมของศัตรูออกไปตั้งมั่นที่เพชรบูรณ์ อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าปล้นสะดมเผาทำลายเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงโดยส่วนใหญ่ ทำลายพระราชวังจันทน์ เหลือเพียงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งไม่ถูกทำลาย === สมัยรัตนโกสินทร์ === เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา" เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แม่ทัพพม่าเนเมียวสีหซุยยกทัพจากลำปางลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า ทัพพม่าจึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยังนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลงเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในพ.ศ. 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง (ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของวัดเบญจมบพิตร ปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว จึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงคนแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก == ภูมิศาสตร์ == === ที่ตั้งและอาณาเขต === จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 377 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์, แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย, อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร === ภูมิประเทศ === ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการจุดสูงสุดคือภูสอยดาว2,102 เมตร เป็นยอดเขาปันเขตแดนไทย-ลาว พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง === ภูมิอากาศ === จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซีย == สัญลักษณ์ประจำจังหวัด == ตราประจำจังหวัด: พระพุทธชินราช ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีม่วง กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระพุทธชินราชในวงกลม คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา ต้นไม้ประจำจังหวัด: ปีบ (Millingtonia hortensis) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum) ไฟล์:Pitsanulok flag.svg|ธงประจำจังหวัดพิษณุโลก ไฟล์:Seal Phitsanulok.png|ตราประจำจังหวัดพิษณุโลก ไฟล์:Millingtonia hortensis (Akash Neem) in Hyderabad, AP W2 IMG 1482.jpg|ต้นปีบ ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ไฟล์:Starr 030514-0025 Peltophorum pterocarpum.jpg|ดอกนนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ไฟล์:Prov-scout-Phitsanulok.png|ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัดพิษณุโลก == การเมืองการปกครอง == === หน่วยการปกครอง === ==== การปกครองส่วนภูมิภาค ==== จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง ==== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==== จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ {| | width = "250" valign="top" | อำเภอเมืองพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมืองอรัญญิก เทศบาลตำบลบ้านใหม่ เทศบาลตำบลพลายชุมพล เทศบาลตำบลหัวรอ เทศบาลตำบลท่าทอง เทศบาลตำบลบ้านคลอง อำเภอนครไทย เทศบาลตำบลนครไทย เทศบาลตำบลบ้านแยง อำเภอชาติตระการ เทศบาลตำบลป่าแดง อำเภอบางระกำ เทศบาลตำบลบางระกำ เทศบาลตำบลปลักแรด เทศบาลตำบลพันเสา เทศบาลตำบลบึงระมาณ เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ | width = "250" valign="top" | อำเภอบางกระทุ่ม เทศบาลตำบลเนินกุ่ม เทศบาลตำบลบางกระทุ่ม เทศบาลตำบลห้วยแก้ว เทศบาลตำบลสนามคลี อำเภอพรหมพิราม เทศบาลตำบลพรหมพิราม เทศบาลตำบลวงฆ้อง อำเภอวัดโบสถ์ เทศบาลตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง เทศบาลตำบลวังทอง อำเภอเนินมะปราง เทศบาลตำบลเนินมะปราง เทศบาลตำบลไทรย้อย เทศบาลตำบลบ้านมุง |} === รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด === ==== สมัยสุโขทัย ==== ทำเนียบเจ้าเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 1781–2006 ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองหลวง ==== สมัยกรุงศรีอยุธยา ==== ทำเนียบเจ้าเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 1894–2310 ขึ้นกับอาณาจักรอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นเอกอุและหัวเมืองชั้นเอก) ==== สมัยกรุงธนบุรี ==== ทำเนียบเจ้าเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2310–2325 มีฐานะเป็นเมืองอิสระและหัวเมืองชั้นเอกอุ ==== สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ==== ทำเนียบผู้สำเร็จราชการเมือง สมุหเทศาภิบาล และผู้ว่าราชการจังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน ===== ทำเนียบผู้สำเร็จราชการเมือง ===== มีฐานะเป็นหัวเมือง ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325–2437 ===== ทำเนียบสมุหเทศาภิบาลมลฑล ===== มีฐานะเป็นมณฑลพิษณุโลก ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2437–2476 ===== ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด ===== มีฐานะเป็นจังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2476–ปัจจุบัน == ประชากรศาสตร์ == {|class="wikitable sortable" style="line-height:145%" ! อันดับ (ปีล่าสุด) !! อำเภอ ! พ.ศ. 2557 ! พ.ศ. 2556 ! พ.ศ. 2555 ! พ.ศ. 2554 ! พ.ศ. 2553 ! พ.ศ. 2552 ! พ.ศ. 2551 |- | align = center |1 || เมืองพิษณุโลก | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 283,419 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 281,762 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 280,922 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 280,457 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 279,292 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 276,293 | align = right | 274,415 |- | align = center |2 || วังทอง | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 120,824 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 120,535 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 120,513 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 119,878 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 119,485 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 119,103 | align = right | 119,213 |- | align = center |3 || บางระกำ | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 94,980 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 94,832 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 94,578 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 94,020 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 93,841 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 93,725 | align = right | 93,673 |- | align = center |4 || พรหมพิราม | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 87,864 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 87,853 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 87,739 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 87,629 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 87,869 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 87,868 | align = right | 87,962 |- | align = center |5 || นครไทย | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 87,042 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 86,684 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 86,163 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 85,534 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 85,213 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 84,911 | align = right | 85,202 |- | align = center |6 || เนินมะปราง | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 58,208 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 58,043 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 58,062 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 57,916 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 57,873 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 57,906 | align = right | 58,015 |- | align = center |7 || บางกระทุ่ม | style = "background-color:#f96;" align="right"| 48,152 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 48,307 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 48,390 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 48,313 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 48,605 | style = "background-color:#f96;" align="right"| 48,667 | align = right | 48,849 |- | align = center |8 || ชาติตระการ | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 40,801 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 40,633 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 40,432 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 40,144 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 40,121 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 39,759 | align = right | 39,483 |- | align = center |9 || วัดโบสถ์ | style = "background-color:#f96;" align="right"| 37,698 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 37,727 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 37,573 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 37,466 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 37,393 | style = "background-color:#cfc;" align="right"| 37,329 | align = right | 37,183 |- class="sortbottom" | align = center style="background:#cccccc;" | — ||style="background:#cccccc;"| รวม || align=right style="background:#cccccc;" | 858,988 || align=right style="background:#cccccc;" | 856,376 || align=right style="background:#cccccc;" | 854,372 || align=right style="background:#cccccc;" | 851,357 || align=right style="background:#cccccc;" | 849,692 || align=right style="background:#cccccc;" | 845,561 || align=right style="background:#cccccc;" |843,995| |} == การศึกษา == จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล และเอกชนดังนี้ อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก วิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาพิษณุโลก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์จังหวัดพิษณุโลก อาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคสองแคว วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก วิทยาลัยการอาชีพนครไทย วิทยาลัยบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก มัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ (เฉพาะในจังหวัดพิษณุโลก) ประถมศึกษา == สาธารณสุข == จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงพยาบาลกองบิน 46 และมีโรงพยาบาลประจำอำเภอดังต่อไปนี้ โรงพยาบาลสมเด็จพยุพราชนครไทย อำเภอนครไทย โรงพยาบาลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ โรงพยาบาลบางระกำ อำเภอบางระกำ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม โรงพยาบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม โรงพยาบาลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ โรงพยาบาลวังทอง อำเภอวังทอง โรงพยาบาลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง == การขนส่ง == ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก) โดยทั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่งด้วยกัน สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่ภายในตัวเมือง สำหรับรถโดยสารที่วิ่งบริเวณจังหวัดที่ใกล้เคียง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอินโดจีน เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ก่อสร้างบนเนื้อที่ 10 ไร 12 ตารางวา รองรับรถโดยสารที่มีเส้นทางผ่านจังหวัดพิษณุโลก รวม 20 เส้นทาง มีชานชาลาสำหรับจอดรถโดยสารทั้งหมด 40 ช่อง แบ่งเป็นอาคารสถานีฯหลังใหญ่ จำนวน 20 ช่อง อาคารสถานีฯหลังเล็ก จำนวน 20 ช่อง มีช่องจำหน่ายตั๋ว 27 ช่อง มีสถานที่จอดรถสำหรับประชาชนจำนวน 100 ช่อง มีการจัดสถานที่นั่งรอรถ สำหรับพระภิกษุและประชาชนอย่างเพียงพอ นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้วยังสามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีรถไฟพิษณุโลก หรือทางอากาศที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แก่ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชียและสายการบินไทยไลออนแอร์ โดยให้บริการทุกวัน การเดินทางภายในตัวจังหวัด มีรถโดยสารสองแถวสีม่วงและรถโดยสารประจำทางมินิบัสสีม่วงให้บริการหลายสาย และยังมีรถแท็กซี่มิตเตอร์ให้บริการอีกด้วย === ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ === อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร อำเภอบางระกำ 20 กิโลเมตร อำเภอวัดโบสถ์ 28 กิโลเมตร อำเภอพรหมพิราม 32 กิโลเมตร อำเภอบางกระทุ่ม 36 กิโลเมตร อำเภอเนินมะปราง 68 กิโลเมตร อำเภอนครไทย 99 กิโลเมตร อำเภอชาติตระการ 109 กิโลเมตร == สถานที่ท่องเที่ยว == อำเภอเมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ (ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม (วัดจันทร์ตะวันตก) พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) โรงหล่อพระบูรณะไทย สวนนกไทยศึกษา วัดนางพญา สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณแยกเรือนแพ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลก อำเภอบางระกำ สวนน้ำสแปลชฟันปาร์ค (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) อำเภอวังทอง สวนสาธารณะบึงราชนก (ส่องนกชมดาว) สวนรุกขชาติสกุโณทยาน (น้ำตกวังนกแอ่น) น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซอง น้ำตกแก่งโสภา อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง วนอุทยานเขาพนมทอง ตำบลพันชาลี วัดราชคีรีหิรัญยาราม อุทยานแห่งชาติภูแดงร้อน วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง โรงเจไซทีฮุกตึ้ง พระมหาธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ วัดวังทองวราราม สถูปพระยาสาลีรัฐวิภาค อำเภอนครไทย อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด เขาโปกโล้น ต.นครชุม บ่อเกลือพันปี ต.บ่อโพธิ์ อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางท่าว (หาว) อำเภอวัดโบสถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ อำเภอชาติตระการ อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ น้ำตกนาจาน สวนพฤกษศาสตร์ บ้านร่มเกล้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงภูทอง อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว น้ำตกตาดปลากั้ง อำเภอเนินมะปราง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล บ้านมุง บ้านรักไทย ทุ่งโนนสน อช.ทุ่งแสลงหลวง ถ้ำเดือน ถ้ำดาว ถ้ำพระวังแดง (ถ้ำที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย 13,761 เมตร) อำเภอพรหมพิราม สวนนํ้าพรหมพิรามรีสอร์ท วัดวังมะสระ วัดกระบังมังคลาราม เขื่อนนเรศวร == บุคคลที่มีชื่อเสียง == เกจิคณาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลก •พระพรหมวชิรเจดีย์(บำรุง ฐานุตโร)ปธ.7 อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองพิษณุโลก พระวรญาณมุนี (หลวงตาละมัย (แจ่ม สุธัมโม) วัดอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก พระมงคลสุธี (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก หลวงพ่อทรัพย์ วัดปลักแรด อำเภอบางระกำ พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพันธ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะอำเภอวังทองชั้นเอก พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อวาว) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะตำบลวังทองชั้นเอกกิตติมศักดิ์ พระครูศีลสารสัมบัน (หลวงปู่อ่อน พุทธสโก) วัดเนินมะเกลือวนาราม อำเภอวังทอง พระครูไพโรจน์คุณาธาร (หลวงปู่หล้า คุณาธโร) วัดหนองบัว อำเภอวังทอง พระครูขันติธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อเชื่อม) วัดหนองทอง อำเภอวังทอง หลวงพ่อยี ปญญภาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) อำเภอบางกระทุ่ม หลวงพ่อแห วัดหนองบัว อ.เมือง นักการเมือง ดิเรก ชัยนาม ทินกร พันธุ์กระวี โกศล ไกรฤกษ์ ยิ่งพันธ์ มนะสิการ นิยม ช่างพินิจ สุชน ชามพูนท จุติ ไกรฤกษ์ นพพล เหลืองทองนารา ประจิน จั่นตอง พิษณุ พลไวย์ มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ นักเขียน/ศิลปิน สุวรรณี สุคนธา สื่อมวลชน/ดารา/นักแสดง ภรภัทร นีลพัธน์ รุ่ง สุริยา สีหนุ่ม เชิญยิ้ม เจี๊ยบ เชิญยิ้ม กรภพ จันทร์เจริญ ภูผา รัตนรุ่งเรืองชัย โย่ง เชิญยิ้ม มีสุข คุณดิลกชัยพัฒน์ อรสา พรหมประทาน ตุ้ม จ่านกร้อง มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล เกวลิน พูลภีไกร (เกรซ เดอะสตาร์11) พรชนก เลี่ยนกัตวา (ปิ่น เดอะสตาร์12) มานิตา จันทร์ฉาย (ไข่หวาน CGM48) อธิวัฒน์ ธีรนิธิศนันท์ สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ นักกีฬา ไทรโยค พุ่มพันธ์ม่วง เดชา ก่อเกียรติยิม ปัณณ์พันธุ์พงษ์ ปิ่นกอง พุธิตา สุภจิรกุล ธีรศักดิ์ นาคประสงค์ นิโคลัส มิคเกลสัน เก่งเกตกิจ นางงาม/นางแบบ จันจิรา จันทร์โฉม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ประจำปี 2002 กีรติกา จารุรัตน์จามร มิสอินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ 2018 == ของดีจังหวัดพิษณุโลก == พระพุทธชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) หนึ่งในเบญจภาคีพระเครื่อง พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา หนึ่งในเบญจภาคีพระเครื่อง หมี่ซั่ว สุนัขพันธุ์บางแก้ว ไก่ชนพันธุ์ไทยพันธุ์เหลืองหางขาว แหนมและหมูยอ น้ำปลาปลาสร้อยอำเภอบางระกำ ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก อำเภอบางกระทุ่ม ไม้กวาดบ้านนาจาน อำเภอชาติตระการ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทอดกรอบ (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 5 ดาว) ผ้าไหมทอมือ อำเภอเนินมะปราง มะม่วงกวนหรือส้มแผ่น อำเภอวังทอง == หมายเหตุ == == อ้างอิง == เชิงอรรถ บรรณานุกรม จิตร ภูมิศักดิ์. ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย (โครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์). กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน , 2548. == แหล่งข้อมูลอื่น == จังหวัดพิษณุโลก ทันข่าวรอบจังหวัดพิษณุโลก
thaiwikipedia
1,296
ตีแยรี อ็องรี
ตีแยรี ดานีแยล อ็องรี (Thierry Daniel Henry ; เกิด 17 สิงหาคม ค.ศ. 1977) เป็นผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมชาติเบลเยียม เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าที่ดีที่สุดตลอดกาล รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันพรีเมียร์ลีก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรอาร์เซนอล เขาได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2021 อ็องรีเกิดที่เมืองเลซูว์ลิส จังหวัดเอซอน (ชานเมืองของปารีส) เขาเล่นให้กับทีมท้องถิ่น เป็นเด็กหนุ่มที่มีความมั่นใจในฐานะดาวยิงประตู จนสโมสรฟุตบอลโมนาโกได้เห็นแววใน ค.ศ. 1990 และได้เซ็นสัญญาโดยทันที เขาลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลอาชีพใน ค.ศ. 1994 มีฟอร์มการเล่นที่ดีจนทำให้ติดทีมชาติใน ค.ศ. 1998 หลังจากที่เขาเซ็นสัญญากับทีมสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ในเซเรียอา ในฤดูกาลป้องกันตำแหน่งแชมป์ แต่ก็ผิดหวังไปในการเล่นตำแหน่งปีก ก่อนที่เขาจะเซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ ใน ค.ศ. 1999 ในการอยู่กับอาร์เซนอลทำให้อ็องรีมีชื่อเป็นนักฟุตบอลระดับโลก ถึงแม้ช่วงแรกยังคงต้องดิ้นรนในพรีเมียร์ลีก เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของอาร์เซนอลในแทบทุกฤดูกาลที่เขาอยู่ ภายใต้การเป็นผู้จัดการทีมอันยาวนานของอาร์แซน แวงแกร์ อ็องรีเป็นกองหน้าตัวเป้าที่ทำประตูมากมาย และเป็นผู้นำในการทำประตูสูงสุดตลอดกาลของอาร์เซนอลกับจำนวนประตู 227 ในทุกการแข่งขัน เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง และถ้วยเอฟเอคัพ 3 ครั้ง เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2 ครั้ง และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ 2 ครั้ง และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ครั้ง อ็องรีเป็นกัปตันทีมอาร์เซนอลใน 2 ฤดูกาลสุดท้ายของเขา นำทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2005–06 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หลังจากใช้เวลา 8 ปีกับอาร์เซนอล เขาย้ายมาอยู่สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร เกียรติประวัติแรกกับสโมสรเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2009 เมื่อสโมสรได้ 3 แชมป์ โดยชนะเลิศลาลิกา โกปาเดลเรย์ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และทีมยังได้รางวัลเป็น 6 ถ้วยรางวัลโดยรวมจากการชนะเลิศอีก 3 ถ้วยในปีนั้นคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ โดยรวมแล้วอ็องรีได้รับการเสนอชื่อทีมแห่งปีของยูฟ่า 5 ครั้ง ต่อมาใน ค.ศ. 2010 เขาย้ายมาอยู่กับสโมสรฟุตบอลนิวยอร์กเรดบูลส์ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ นำทีมชนะเลิศในอีสเทิร์นคอนฟีเรนซ์ใน ค.ศ. 2010 ก่อนที่อาร์เซนอลได้ยืมตัวเขาใน ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 2 เดือน ความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส เขานำทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998, ยูโร 2000, คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 เขาทำลายสถิติของมีแชล ปลาตีนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 กับสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส อ็องรีเกษียณตัวเองจากทีมชาติหลังฟุตบอลโลก 2010 ส่วนเรื่องนอกสนามเขาเป็นโฆษกเรื่องการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติในกีฬาฟุตบอล อันเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถูกเหยียดสีผิวมาก่อน เขาแต่งงานกับนางแบบชาวอังกฤษ นิโคล เมอร์รี ใน ค.ศ. 2003 มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน แต่หย่าร้างใน ค.ศ. 2007 == ชีวิตช่วงแรก == อ็องรีมีเชื้อสายชาวเลสเซอร์แอนทิลลีส โดยบิดา อ็องตวน มาจากกัวเดอลุป เกาะลาเดซีราด ส่วนมารดา มารีเซ มาจากมาร์ตีนิก เขาเกิดและโตในเมืองเลซูว์ลิส ชานเมืองของปารีส ถึงแม้ว่าจะเป็นย่านที่มีสังคมที่ไม่ดีนัก แต่ก็มีอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลที่ดี ในวัย 7 ปี อ็องรีได้แสดงศักยภาพที่ดีเยี่ยม สะดุดตาโกลด เชแซล ได้ชวนเขาร่วมกับสโมสรท้องถิ่น เซโอเลซูว์ลิส (CO Les Ulis) พ่อของเขาได้บังคับให้เขาร่วมฝึก เหตุด้วยในวัยเด็กของเขาจะยังไม่สนใจกีฬาฟุตบอลนี้นัก เขาร่วมกับสโมสรอูว์แอ็สปาแลโซ (US Palaiseau) ใน ค.ศ. 1989 แต่หลังจากนั้น 1 ปี พ่อของเขาก็มีความขัดแย้งกับสโมสร อ็องรีจึงย้ายมาอยู่ เออแอ็สวีรี-ชาตียง (ES Viry-Châtillon) อยู่กับสโมสรนี้นาน 2 ปี โดยมีผู้ฝึกสอนของอูว์แอ็สปาแลโซที่ชื่อ ฌ็อง-มารี ปันซา ได้ตามเขามาอยู่กับสโมสรนี้ด้วย == ฟุตบอลสโมสร == === โมนาโก (1992–1999) และยูเวนตุส (1999) === ใน ค.ศ. 1990 โมนาโกได้ส่งแมวมอง อาร์โนลด์ แคทาลาโน มาดูอ็องรี ซึ่งขณะนั้นอายุ 13 ปี มาดูการเล่นของเขา อ็องรียิงได้ทั้งหมด 6 ประตู ทำให้ทีมชนะ 6–0 แคทาลาโนชวนเขามาอยู่โมนาโก โดยยังไม่ได้ทดลองการเล่นเลย แคทาลาโนร้องขอทางสถาบันแกร์ฟงแตนในการเรียนของอ็องรีให้ครบหลักสูตรการเรียน ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะไม่เต็มใจนัก เพราะอ็องรีมีผลการเรียนไม่ดี แต่ท้ายสุดก็อนุญาตให้เขาจบหลักสูตรการเรียนและร่วมทีมเยาวชนของโมนาโกของอาร์แซน แวงแกร์ หลังจากนั้น อ็องรีเซ็นสัญญาอาชีพกับโมนาโก และเปิดตัวในฐานะนักฟุตบอลอาชีพเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ในนัดที่แพ้นิส 2–0 ถึงแม้ว่าแวงแกร์จะคาดคะเนว่าอ็องรีอาจเป็นตัวนำทัพในฐานะกองหน้าตัวรุก แต่เขาก็ให้อ็องรีเล่นตำแหน่งปีกซ้าย เพราะเชื่อว่าฝีเท้าของเขา กับการควบคุมลูกบอลอย่างเป็นธรรมชาติและทักษะ จะทำให้มีประสิทธิภาพ ในตำแหน่งฟูลแบ็ก มากกว่าตำแหน่งเซนเตอร์แบ็ก หลังจากเริ่มทดลองอาชีพในโมนาโก อ็องรีได้รับตำแหน่งนักฟุตบอลดาวรุ่งฝรั่งเศสยอดเยี่ยมใน ค.ศ. 1996 และในฤดูกาล 1996–97 ผลงานอันแสดงความแข็งแกร่งของเขาทำให้สโมสรชนะเลิศฟุตบอลลีกเอิง ในระหว่างฤดูกาล 1997–98 เขาเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สร้างสถิติใหม่ของฟุตบอลฝรั่งเศส โดยยิง 7 ประตูในการแข่งขันนี้ ในฤดูกาลที่ 3 ของเขา เขาได้ลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาตินัดแรก และเป็นส่วนหนึ่งของทีมในชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998 เขายังคงสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่องในระหว่างอยู่กับโมนาโก หลังจากอยู่กับสโมสรนี้ 5 ฤดูกาล ปีกวัยรุ่นคนนี้ยิงประตูในลีกได้ 20 ประตูจากการลงสนาม 105 นัด อ็องรีออกจากโมนาโกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 ย้ายไปอยู่กับสโมสรอิตาลีในเซเรียอา สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ด้วยค่าตัว 10.5 ล้านปอนด์ เขาเล่นในตำแหน่งปีก แต่เขาก็ไม่สามารถฝ่าด่านกองหลังทีมเซเรียอา ในตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นบุคลิกลักษณะสำหรับเขา โดยยิงได้เพียง 3 ประตู ในการลงสนาม 16 นัด === อาร์เซนอล (1999–2007) === หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอิตาลีนัก อ็องรีย้ายออกจากยูเวนตุส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999 มาอยู่กับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ด้วยค่าตัวราว 11 ล้านปอนด์ กลับมาอยู่กับอดีตผู้จัดการทีมของเขาอีกครั้ง อาร์แซน แวงแกร์ เมื่ออยู่กับอาร์เซนอลทำให้ชื่อเขาติดอยู่ในนักฟุตบอลระดับโลก และถึงแม้ว่าการย้ายมาจะไม่ปราศจากข้อพิพาทซะทีเดียว เพราะแวงแกร์โน้มน้าวว่าอ็องรีคุ้มค่าแก่การมีค่าตัว และได้แทนที่เขากับศูนย์หน้าชาวฝรั่งเศส เพื่อนร่วมชาติ นีกอลา อาแนลกา โดยแวงแกร์ให้อ็องรีเป็นฝึกในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าโดยทันที การลงทุนของทีมก็เห็นผลในเวลาต่อมา แต่ก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเร็วและลักษณะโดยธรรมชาติของฟุตบอลอังกฤษ เมื่อเขายิงประตูไม่ได้ใน 8 นัดแรก หลังจากความยากลำบากในหลายเกมในอังกฤษ อ็องรียอมรับว่า "เขาต้องเรียนใหม่เกี่ยวกับศิลปะการเป็นศูนย์หน้าตัวเป้า" ข้อสงสัยเริ่มคลายลงไปเมื่อจบฤดูกาลแรกที่อาร์เซนอล โดยเขายิงประตูสร้างความประทับใจได้ 26 ประตู อาร์เซนอลอยู่อันดับ 2 ในฤดูกาลนั้นเป็นรองแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และแพ้ในยูฟ่าคัพ ต่อสโมสรตุรกี กาลาทาซาไร หลังจากกลับมาพร้อมชัยชนะในยูโร 2000 กับทีมชาติฝรั่งเศส อ็องรีก็พร้อมที่จะสร้างผลกระทบในฤดูกาล 2000–2001 ถึงแม้ว่าสถิติประตูและการช่วยส่งลูกยิงประตูจะน้อยกว่าในฤดูกาลแรก แต่ผลงานอ็องรีในฤดูกาลที่สองกับอาร์เซนอลก็พิสูจน์การแจ้งเกิดของเขา ทำให้เขากลายเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของสโมสร ติดอันดับหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่ดีที่สุดในลีก ทำให้อาร์เซนอลเข้าใกล้คู่แข่งอันยาวนานอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อย่างรวดเร็ว ในการเป็นผู้ชนะเลิศในลีก แต่อ็องรีก็ยังผิดหวัง เพราะจริง ๆ แล้ว เขายังไม่ได้นำทีมชนะในการแข่งขันในลีกนี้ และมักจะแสดงอารมณ์ความปรารถนาสร้างให้อาร์เซนอลเป็นมหาอำนาจ ในที่สุดความสำเร็จก็มาถึงในฤดูกาล 2001–2002 อาร์เซนอลเป็นแชมป์ในลีกโดยมีคะแนนเหนือลิเวอร์พูล 7 คะแนน และชนะเชลซี 2–0 ในเอฟเอคัพนัดชิงชนะเลิศ อ็องรีเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในลีก และยิงได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน ทำให้อาร์เซนอลชนะเลิศได้ทั้งในลีกและฟุตบอลถ้วย และเป็นถ้วยแรกของเขากับสโมสร มีความคาดหวังอย่างมากที่เขาจะมีฟอร์มการเล่นอย่างที่เล่นกับสโมสร ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 กับทีมชาติฝรั่งเศส แต่แล้วการป้องกันตำแหน่งแชมป์นี้ก็สร้างความตกตะลึงเมื่อฝรั่งเศสตกรอบตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม ฤดูกาล 2002–2003 ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่รุ่งเรืองของอ็องรี เขายิงประตูได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน และจ่ายลูกยิงประตู 23 ประตู เป็นการกลับมาเล่นตำแหน่งศูนย์หน้าตัวเป้า อันโดดเด่น เขานำอาร์เซนอลชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง (ซึ่งเขาได้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดชิงชนะเลิศ) ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ได้เป็นแชมป์ในพรีเมียร์ลีก แต่ตลอดทั้งฤดูกาล เขามีสถิติยิงประตูในลีกสูสีกับรืด ฟัน นิสเติลโรย ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จบด้วยการยิงประตูน้อยกว่าฟัน นิสเติลโรย อย่างไรก็ตาม อ็องรีก็ได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษแห่งปี ความเฉิดฉายของเขาในฐานะหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก สามารถยืนยันได้จากการที่เขาเป็นรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี ในค.ศ. 2003 เมื่อเข้าสู่ฤดูกาล 2003–2004 อาร์เซนอลมีความตั้งใจที่จะครองแชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นอีกครั้งที่อ็องรีเป็นเครื่องมือในความสำเร็จอันดีเยี่ยมของอาร์เซนอล ร่วมด้วยกับเพื่อนร่วมทีมอย่างแด็นนิส แบร์คกัมป์, ปาทริค วิเอร่า และรอแบร์ ปีแร็ส อ็องรีทำให้แฟนปืนใหญ่มีความมั่นใจ โดยกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ที่แข่งในลีกในฤดูกาลโดยไม่แพ้ทีมใดเลย (เรียกทีมชุดนี้ว่า ทีมไร้พ่าย) และครองแชมป์ลีกได้ นอกจากนั้นเขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ เป็นปีที่สอง อ็องรียังได้ที่ 2 ของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2004 เขายิงประตู 39 ประตูในทุกการแข่งขัน เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในลีกและได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรป อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2002 อ็องรีไม่สามารถนำทีมชาติชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ได้ ความสำเร็จก็ลดลงไปเมื่ออาร์เซนอลไม่สามารถป้องกันแชมป์ โดยเสียแชมป์ให้กับเชลซีในฤดูกาล 2004–05 ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะชนะเลิศเอฟเอคัพ (โดยในนัดชิงชนะเลิศอ็องรีไม่ได้ลงแข่งเนื่องจากบาดเจ็บ) อ็องรียังครองชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่น่ากลัวที่สุดในยุโรป โดยยิงประตูสูงสุดในลีก กับจำนวนประตู 31 ประตูในทุกการแข่งขัน เขาได้รับรางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรปร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน โดยเป็นนักฟุตบอลคนเดียวอย่างเป็นทางการที่ได้รางวัลนี้ 2 ครั้งติดต่อกัน (แอลลี แม็กคอยต์ได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำ 2 ครั้งติดต่อกัน แต่ทั้งสองครั้งไม่ถือเป็นรางวัลอย่างเป็นทางการ) หลังจากนั้นปาทริก วีเยรา เพื่อนร่วมชาติก็ออกจากทีมอย่างไม่คาดฝันในกลาง ค.ศ. 2005 ทำให้อ็องรีได้เป็นกัปตันทีม ตำแหน่งที่หลายคนรู้สึกว่าไม่เหมาะกับเขา ซึ่งกัปตันทีมส่วนมากมักจะให้กับกองหลังหรือกองกลาง ที่มีตำแหน่งบนสนามดีกว่า ในการอ่านเกม เขาได้รับหน้าที่รับผิดชอบในการนำทีมวัยรุ่นที่ยังไม่ประสานกันดี ฤดูกาล 2005–06 พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดดเด่น ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2005 อ็องรีทำลายสถิติสโมสรโดยเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล โดย 2 ประตูในนัดแข่งกับสปาร์ตาปรากในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทำลายสถิติของเอียน ไรต์ ที่ทำไว้ 185 ประตู เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เขายิง 1 ประตูในนัดพบกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูในลีกสูงสุดของอาร์เซนอล ทำลายสถิตินักฟุตบอลตำนานอย่างคลิฟฟ์ แบสติน อ็องรียิงประตูที่ 100 ในลีกที่สนามไฮเบอรี เป็นสถิติที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ของสโมสร และมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกของสโมสร โดยเมื่อจบฤดูกาล เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของลีก และเป็นครั้งที่ 3 ที่เขาได้รับลงคะแนนเป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ ถึงอย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลไม่สามารถชนะเลิศพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้ง แต่ก็มีความหวังในการคว้าถ้วยเมื่ออาร์เซนอลสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2006 แต่ท้ายสุดอาร์เซนอลก็แพ้ 2–1 ให้กับบาร์เซโลนา และอาร์เซนอลก็ไม่สามารถชนะเลิศลีกได้เป็นฤดูกาลที่ 2 ติดต่อกัน ประกอบกับผู้เล่นอ่อนประสบการณ์ของอาร์เซนอล เป็นเหตุพิจารณาให้อ็องรีย้ายออกสโมสร แต่อย่างไรก็ตามเขาออกมาประกาศว่าเขารักสโมสรและรับสัญญา 4 ปี และพูดว่าจะอยู่กับอาร์เซนอลตลอดชีพ ในเวลาต่อมา เดวิด ดีน รองประธานของอาร์เซนอล กล่าวว่าสโมสรได้ปฏิเสธการยื่นประมูลตัวอ็องรีจากสโมสรในสเปน เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านปอนด์ ก่อนที่จะเซ็นสัญญาใหม่กับเขา ซึ่งหากสโมสรตกลงจะเป็นการทำลายสถิติค่าตัวของซีเนดีน ซีดาน กับจำนวนเงิน 47 ล้านปอนด์ ในฤดูกาล 2006–2007 อ็องรีบาดเจ็บ แต่ก็ยังสามารถยิงประตู 10 ประตูในการลงแข่ง 17 นัดให้กับอาร์เซนอล แต่ฤดูกาลของเขาก็จบลงในเดือนกุมภาพันธ์ เขาไม่สามารถลงแข่งได้เนื่องจากปัญหาการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ส่วนเท้าและหลัง และคาดว่าจะฟิตพอที่จะลงเป็นตัวสำรองได้ในการแข่งกับเพยัสเฟไอนด์โฮเวน (PSV Eindhoven) ในการแข่งแชมเปียนส์ลีก แต่ก็ต้องเดินโขยกเขยกหลังลงเล่นได้ไม่นาน ผลการสแกนพบว่าเขาต้องพักอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อรักษาบริเวณขาหนีบและท้อง ทำให้เขาต้องพักในเวลาที่เหลือของฤดูกาล 2006–2007 แวงแกร์ กล่าวเมื่อเขาบาดเจ็บว่า อ็องรียังมีความสนใจที่จะอยู่กับอาร์เซนอลเพื่อสร้างทีมใหม่ในฤดูกาล 2007–2008 === บาร์เซโลนา (2007–2010) === เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น อ็องรีย้ายไปอยู่กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร โดยเซ็นสัญญา 4 ปี ได้รับค่าเหนื่อย 6.8 ล้านยูโร (4.6 ล้านปอนด์) ต่อฤดูกาล ในสัญญาระบุค่าฉีกสัญญาเก่า 125 ล้านยูโร (84.9 ล้านปอนด์) อ็องรีอ้างเหตุผล หลังจากที่ดีนได้ออกจากอาร์เซนอลและความไม่แน่นอนของอนาคตแวงแกร์ที่จะคุมทีม แต่พูดต่อว่า "ผมพูดอยู่เสมอว่าถ้าผมจะออกจากอาร์เซนอล จะเล่นให้กับบาร์เซโลนา" ถึงแม้ว่ากัปตันคนนี้จะออกจากทีมไป แต่อาร์เซนอลก็ยังคงสร้างความประทับใจได้ในฤดูกาล 2007–2008 อ็องรีก็ยอมรับว่า การอยู่ร่วมทีมของเขาอาจเป็นสิ่งกีดขวางการช่วยเหลือทีม เขากล่าวว่า "เพราะความอาวุโสของผม กับความเป็นจริงที่ผมเป็นกัปตันทีมและงานที่ต้องไล่ลูกบอล พวกเขาก็มักจะให้ตำแหน่งนี้ที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีที่สุดของผม จะเป็นการดีสำหรับทีมถ้าผมออกไป" อ็องรีออกจากอาร์เซนอลในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร กับจำนวนประตู 174 ประตู และเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป โดยยิงได้ 42 ประตู ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 แฟนอาร์เซนอลลงคะแนนให้เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่มีมาของอาร์เซนอล ในแบบสำรวจผู้เล่นที่ดีที่สุดของชาวกันเนอส์ ในเว็บไซต์ อาร์เซนอล.คอม กับบาร์เซโลนา อ็องรีสวมเสื้อหมายเลข 14 หมายเลขเดียวกับครั้งเมื่ออยู่กับอาร์เซนอล เขายิงประตูแรกให้กับสโมสรใหม่เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2007 นัดชนะลียง 3–0 ในแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม หลังจากนั้น 10 วัน เขายิงแฮตทริกแรกให้กับบาร์ซาในลีก นัดแข่งกับเลบันเต แต่อ็องรีก็เปลี่ยนมาเล่นปีกตลอดทั้งฤดูกาล เขาไม่สามารถยิงประตูได้เหมือนที่ประสบความสำเร็จกับอาร์เซนอล เขาแสดงความผิดหวังในการย้ายมาบาร์เซโลนาในปีแรก ๆ ท่ามกลางข่าวที่แพร่สะพัดว่าเขาจะกลับมาเล่นพรีเมียร์ลีก แต่ท้ายสุดเมื่อจบฤดูกาลแรกของเขา เขาก็เป็นผู้ยิงประตูสูงสุด จำนวน 19 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตู 9 ประตูในลีก อ็องรียิงประตูมากขึ้นในฤดูกาล 2008–2009 ได้ถ้วยแรกกับบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เมื่อบาร์เซโลนาชนะอัตเลติกเดบิลบาโอในนัดชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ บาร์เซโลนายังเป็นผู้ชนะเลิศลาลิกาและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังจากนั้น ได้ 3 ถ้วยในฤดูกาลเดียว เมื่อรวมกับผลงานยิงประตูของเขากับลิโอเนล เมสซิ และ ซามูแอล เอโต แล้ว มีประตูรวมถึง 100 ประตูในฤดูกาลนั้น ทั้ง 3 คนสามารถทำสถิติยิงประตูในลีก 72 ประตู แซงหน้าสถิติเดิมของเรอัลมาดริด 66 ประตูของเฟเรนส์ ปุชคัช, อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน และลุยส์ เดล ซอล ในฤดูกาล 1960–1961 และต่อมาใน ค.ศ. 2009 อ็องรีช่วยให้บาร์เซโลนาชนะถ้วยรางวัลเพิ่มเป็น 6 ถ้วย รวมกับถ้วยที่กล่าวมาตอนต้นกับ โดยชนะเลิศ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ ในฤดูกาลถัดมาเมื่อเปโดร โรดรีเกซแจ้งเกิด ทำให้อ็องรีได้ลงสนามในลีกเพียง 15 นัด ก่อนฤดูกาลในลาลิกาจะจบลง และอีกไม่ถึงปีก่อนสัญญาจะหมด ประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา กล่าวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ว่า "อ็องรีอาจออกจากสโมสรในช่วงการซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อน ถ้าหากเป็นสิ่งที่อ็องรีต้องการ" หลังอ็องรีกลับมาจากการแข่งฟุตบอลโลก 2010 บาร์เซโลนายืนยันในการขายอ็องรีให้กับสโมสรแห่งหนึ่ง ซึ่งอ็องรียอมรับเงื่อนไขของสโมสรใหม่นี้ === นิวยอร์ก เรดบูลส์ (2010–2014) === ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 อ็องรีเซ็นสัญญาหลายปีกับสโมสรนิวยอร์ก เรดบูลส์ ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ในฤดูกาล 2010 เป็นนักฟุตบอลคนที่ 2 เมื่อเริ่มมีกฎผู้เล่นแต่งตั้ง เขาลงแข่งครั้งแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ในการแข่งขันเสมอกับฮิวสตัน ไดนาโม 2–2 โดยเป็นผู้ช่วยส่งลูกทำประตูให้ควน ปาโบล อังเคล ทั้ง 2 ลูก ส่วนประตูลูกแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในชัยชนะเหนือแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ 2–0 ท้ายสุดเรดบูลส์ ติดอันดับ 1 ของฝั่งตะวันออก โดยมีคะแนนนำโคลัมบัส ครูว์ 1 คะแนน แต่พ่ายให้กับแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ ในผลรวมคะแนน 3–2 รอบก่อนชิงชนะเลิศของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2010 ฤดูกาลถัดมาเรดบูลส์ ติดอันดับ 10 ในลีก และเข้ารอบรองชนะเลิศ ของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2011 === อาร์เซนอลยืมตัว === หลังจากได้ร่วมฝึกซ้อมกับอาร์เซนอลในระหว่างปิดฤดูกาลของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ อ็องรีได้เซ็นสัญญาอีกครั้งในสัญญายืมตัวกับอาร์เซนอลเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2012 เพื่อทดแทนในช่วงที่แฌร์วินโยและมารูยาน ชามัคห์ ที่ต้องไปแข่งขันในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2012 อ็องรีลงแข่งนัดแรกเป็นครั้งที่ 2 กับอาร์เซนอลในการเปลี่ยนตัวของการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบที่ 3 แข่งขันกับลีดส์ยูไนเต็ด โดยเขายิงประตูในนัดที่ทีมชนะเพียงประตูเดียวนี้ ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขายิงประตูแรกในลีกหลังจากการกลับมา ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลแบล็กแบร์นโรเวอส์ ทีมชนะ 7–1 ในสัปดาห์ต่อมา ในนัดสุดท้ายในลีก เขายิงประตู ทำให้ทีมชนะซันเดอร์แลนด์ 2–1 สัญญายืมตัวหมดลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และอ็องรีกลับสู่เรดบูลส์ == ทีมชาติ == อ็องรีประสบความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส โดยลงแข่ง 123 นัด เริ่มลงนัดแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 เมื่อเขามีฟอร์มการเล่นดีให้กับโมนาโก ทำให้เขาถูกเรียกตัวเล่นให้กับทีมชาติฝรั่งเศสรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เขาลงแข่งในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997 ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมในอนาคตของเขาอย่างวีลียาม กาลัส และดาวิด เตรเซแก และภายใน 4 เดือน หัวหน้าโค้ชชาวฝรั่งเศส แอเม ฌาเก เรียกตัวอ็องรีเข้าเล่นกับทีมรุ่นใหญ่ เขาลงแข่งเปิดตัวนัดแรกในฐานะทีมรุ่นใหญ่เมื่ออายุ 20 ปี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1997 โดยชนะแอฟริกาใต้ 2–1 ฌาเกประทับใจในตัวอ็องรี โดยยังให้เขาลงเล่นในฟุตบอลโลก 1998 ถึงแม้ว่า ณ ตอนนั้นอ็องรียังไม่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อจบการแข่งขัน เขาเป็นผู้เล่นฝรั่งเศสที่ทำประตูสูงสุด คือยิงได้ 3 ประตู ในนัดชิงชนะเลิศที่ฝรั่งเศสชนะบราซิล 3–0 ทีมมีแผนว่าจะให้เขาลงในฐานะตัวสำรอง แต่เนื่องจากมาร์แซล เดอซาลีถูกใบแดง จึงจำเป็นต้องเสริมเกมรับแทน ในปี ค.ศ. 1998 อ็องรีได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นสูงสุดของฝรั่งเศส อ็องรียังติดอยู่ในทีมชุดยูโร 2000 ของฝรั่งเศส เป็นอีกครั้งที่เขายิงได้ 3 ประตูในการแข่งขัน เมื่อจบแล้วเขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของทีมชาติฝรั่งเศส รวมถึงประตูที่เขายิงประตูเสมอในนัดแข่งกับโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ ท้ายสุดฝรั่งเศสชนะโปรตุเกสในการต่อเวลาพิเศษ โดยซีเนดีน ซีดานยิงจุดโทษ ฝรั่งเศสแข่งนัดตัดสินกับอิตาลี และสามารถชนะได้ในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้อ็องรีได้เหรียญทองเป็นเหรียญที่สองในฐานะทีมชาติ ในระหว่างการแข่งขันครั้งนี้ อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงเป็น ผู้เล่นแห่งนัด 3 นัด รวมถึงในนัดตัดสินที่แข่งกับอิตาลีด้วย ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ฝรั่งเศสตกรอบไปอย่างรวดเร็วในรอบแบ่งกลุ่ม อ็องรีไม่สามารถยิงประตูได้ในการแข่งทั้ง 3 นัด ฝรั่งเศสแพ้ในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม และอ็องรีก็ได้ใบแดงไปในการไถลตัวอันตราย ในอีกนัดที่แข่งกับอุรุกวัย ในเกมนี้ฝรั่งเศสเสมอ 0–0 ทำให้อ็องรีไม่สามารถลงแข่งในนัดสุดท้าย ที่ฝรั่งเศสแพ้เดนมาร์ก 2–0 อ็องรีเรียกฟอร์มกลับคืนให้กับทีมชาติได้อีกครั้งในคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ถึงแม้ว่าทีมจะไม่มีผู้นำทีมอย่าง ซีดานและปาทริก วีเยรา ฝรั่งเศสก็สามารถชนะการแข่งขันนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเล่นอันโดดเด่นของอ็องรี เขาได้เป็นผู้เล่นแห่งนัดจากกลุ่มการศึกษาทางเทคนิคของฟีฟ่า จาก 3 ใน 5 นัด ในนัดตัดสินเขายิงประตูชัยในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้ทีมเจ้าภาพนี้ชนะเหนือแคเมอรูน อ็องรีได้รับรางวัลลูกบอลทองคำ ในฐานะผู้เล่นที่โดดเด่นของการแข่งขันและได้รางวัลรองเท้าทองคำในฐานะผู้เล่นที่ยิงประตูสูงสุด คือยิงได้ 4 ประตู ในฟุตบอลยูโร 2004 อ็องรีได้ลงเล่นทุกนัดให้กับฝรั่งเศส เขายิงได้ 2 ประตู ฝรั่งเศสชนะอังกฤษในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ท้ายสุด แพ้ด้วยประตู 1–0 ให้กับกรีซ ทีมแชมป์ของการแข่งขันนี้ ในรอบก่อนชิงชนะเลิศ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อ็องรียังคงเป็นหนึ่งในทีม เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าเพียงผู้เดียว แต่ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะเริ่มต้นไม่ค่อยดีนัก แต่ท้ายสุดเขาก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เขายิงได้ 3 ประตู รวมถึงประตูชัยจากลูกฟรีคิกของซีดานในการแข่งกับแชมป์เก่า บราซิล อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสก็แพ้ให้กับอิตาลีในการดวลจุดโทษ (5–3) ในนัดชิงชนะเลิศ อ็องรีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ยิงจุดโทษนี้ เขาถูกเปลี่ยนตัวในการต่อเวลาพิเศษ หลังจากที่เป็นตะคริวที่ขา อ็องรีติดอยู่ใน 1 ใน 10 ของรางวัลลูกบอลทองคำสาขาผู้เล่นแห่งการแข่งขันครั้งนี้ แต่ผู้ได้รางวัลคือเพื่อนร่วมทีม ซีดาน และเขาติดอยู่ในผู้เล่นกองหน้าตัวเป้าของทีมฟิฟโปรเวิลด์ XI ปี 2006 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2007 อ็องรียิงประตูที่ 41 ในนัดแข่งกับหมู่เกาะแฟโร ทำให้เขามีสถิติร่วมกับมีแชล ปลาตีนีในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส หลังจากนั้น 4 วันที่สนามสตาดเดอลาโบฌัวร์ เขายิงอีก 2 ประตูในท้ายนัดที่แข่งกับลิทัวเนีย และสร้างสถิติใหม่ในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008 อ็องรีลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติเป็นนัดที่ 100 ในนัดแข่งกับโคลอมเบีย ถือเป็นนักฟุตบอลฝรั่งเศสคนที่ 6 ที่ลงเล่นทีมชาติผ่าน 100 นัด ทีมชาติฝรั่งเศสพยายามดิ้นรนต่อสู้ในการแข่งขันขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 และจบลงด้วยการเป็นที่ 2 ของกลุ่มตามหลังเซอร์เบีย และในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับไอร์แลนด์ อ็องรีมีส่วนเกี่ยวข้อกับกรณีพิพาทในนัดที่ 2 ของเกมที่แข่งขันที่สตาดเดอฟร็องส์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในขณะที่นั้นผลประตูรวมเสมอ 1–1 เมื่อมาถึงการต่อเวลาพิเศษ เขาใช้มือปัดเพื่อควบคุมลูกบอลก่อนที่จะส่งลูกข้ามผ่านไปยังวีลียาม กาลัส ยิงลูกเข้าประตูจนได้ชัยชนะ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ต่อต้านอ็องรี ขณะที่ผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศส แรมง ดอแมแน็ก และผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ ออกมาปกป้องเขา สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์แสดงความไม่พอใจกับฟีฟ่า โดยร้องขอให้มีการแข่งขันใหม่ แต่ฟีฟ่าปฏิเสธไป อ็องรีออกมาพูดว่า เขาได้พิจารณาการเกษียณตัวเองออกจากการเล่นทีมชาติหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่ยังคงแสดงเจตนารมณ์ว่าเขาไม่ได้โกง โดยกล่าวหลังจากที่ฟีฟ่าปฏิเสธการแข่งขันใหม่ไม่กี่ชั่วโมง และเขากล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาที่ยุติธรรมที่สุดควรเป็นการแข่งขันใหม่ ประธานฟีฟ่า เซปป์ บลัตแตร์ (Sepp Blatter) กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า "เป็นการเล่นที่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด" และประกาศว่าจะมีการสอบสวนว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคตได้อย่างไร และยังกล่าวต่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะตรวจสอบโดยคณะกรรมการด้านวินัย บลัตแตร์ยังบอกว่าอ็องรีบอกเขาว่า ครอบครัวของเขาถูกคุกคามหลังจากเกิดเหตุครั้งนี้ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ฟีฟ่าประกาศว่า อ็องรีไม่มีความผิดใด อ็องรีไม่ได้ลงแข่งในชุดทีมชาติฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2010 แต่เริ่มแรก ฝรั่งเศสแข่งขันนัดแรกโดยเสมอกับอุรุกวัย แต่พ่าย 2–0 ให้กับเม็กซิโกในนัดที่ 2 และทีมอยู่ในความสับสนวุ่นวายเมื่อนีกอลา อาแนลกาถูกไล่ออกจากทีม และกัปตันทีม ปาทริส เอวรา นำทีมต่อต้านโดยปฏิเสธการขึ้นรถไฟ ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ อ็องรีลงแข่งในฐานะตัวสำรองในครึ่งหลัง ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ 2–1 และตกรอบไป ไม่นานนักเขาก็ประกาศเกษียณจากการเล่นฟุตบอลทีมชาติ โดยเขาลงแข่งขึ้นให้กับทีมชาติ 123 นัด และยิงประตู 51 ประตู == รูปแบบการเล่น == ถึงแม้ว่าอ็องรีจะเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าตั้งแต่ครั้งอยู่ในชุดเยาวชน แต่เมื่อเขาอยู่กับโมนาโกและยูเวนตุส เขาก็ได้เล่นในตำแหน่งปีก จนเมื่ออ็องรีเข้ามาอยู่กับอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 1999 แวงแกร์ก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งการเล่นเขาทันที โดยเปลี่ยนมาเล่นในตำแหน่งที่เขาเคยเล่นสมัยเยาวชน โดยจะเล่นคู่กับเพื่อนร่วมทีมชาวดัตช์ที่มากประสบการณ์อย่าง แด็นนิส แบร์คกัมป์ ในฤดูกาล 2004–05 แวงแกร์เปลี่ยนรูปแบบการเล่นของอาร์เซนอลมาเป็น 4–5–1 การเปลี่ยนรูปแบบการเล่นนี้ทำให้อ็องรีต้องปรับตัวอีกครั้ง มีหลายเกมที่เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าคนเดียว อ็องรียังคงเป็นผู้เล่นแนวรุกที่สำคัญของอาร์เซนอล มีหลายครั้งสามารถยิงประตูได้น่าตื่นเต้นดุจดั่งเวทมนตร์ แวรแกร์เคยพูดถึงเขาไว้ว่า "ตีแยรี อ็องรี สามารถที่จะนำพอลได้จากกลางสนามและสามารถยิงประตูที่ไม่มีใครในโลกสามารถยิงได้" หนึ่งในเหตุผลที่เขาได้รับการชมเชยในการเล่นอันน่าประทับใจในการเล่นกองหน้านั้น คือความสามารถที่ยิงประตูแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้อย่างใจเย็น นี่รวมถึงความยอดเยี่ยมของฝีเท้า ที่เขาสามารถเลี้ยงลูกฝ่ากองหลังเข้าทำประตูได้เป็นประจำ เมื่อเริ่มเล่น เขาเป็นที่รู้จักในด้านการเคลื่อนตัวไปทางแนวกว้างไปในตำแหน่งปีกซ้าย จากนั้นเขาก็สามารถเป็นผู้จ่ายบอลได้มากมาย โดยในระหว่างฤดูกาล 2002–2003 และ 2004–2005 เขาเป็นผู้จ่ายบอลยิงประตูได้ 50 ลูก แสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเขา อีกรูปแบบการเล่นของเขา อ็องรีดันตัวเองมาอยู่ ณ ตำแหน่งล้ำหน้าเพื่อหลอกกองหลัง จากนั้นก็วิ่งถอยไปให้อยู่ในตำแหน่งไม่ล้ำหน้า ก่อนที่จะเล่นลูก และทำลายกับดักล้ำหน้าของทีมคู่แข่ง ความหลากหลายในการเล่นทั้งในตำแหน่งปีกและกองหน้าตัวเป้า เขาไม่ใช่นักฟุตบอลที่เดาทางถูกได้ง่าย เขาเป็นกองหน้าตัวเป้าอย่างแท้จริง เขายังเป็นกองหน้าที่ยิงลูกได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างสม่ำเสมอของยุโรป อ็องรีเป็นตัวเลือกแรกในการยิงลูกโทษ การเตะลูกเซตพีซ และการเตะลูกฟรีคิกของอาร์เซนอลเสมอ โดยเขายังสามารถยิงประตูได้อย่างสม่ำเสมออีกด้วย ==รางวัลและเกียรติยศ== ===สโมสร=== โมนาโก ลีกเอิง (1): 1996–97 โตรเฟเดช็องปียง (1): 1997 อาร์เซนอล พรีเมียร์ลีก (2): 2001–2002, 2003–2004 เอฟเอคัพ (3): 2002, 2003, 2005 เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ (2): 2002, 2004 บาร์เซโลนา ลาลิกา (2): 2008–2009, 2009–2010 โกปาเดลเรย์ (1): 2008-2009 ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา (1): 2009 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (1): 2008-2009 ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (1): 2009 ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก (1): 2009 นิวยอร์ก เรดบูลส์ เมเจอร์ลีกซอกเกอร์ฝั่งตะวันออก (1): 2010 ===ทีมชาติ=== ฝรั่งเศส ฟุตบอลโลก :ชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 1998 :รองชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 2006 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป :ชนะเลิศ: ยูโร 2000 คอนเฟเดอเรชันส์คัพ :ชนะเลิศ: คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ถ้วยฮัสซานที่ 2 :ชนะเลิศ: ถ้วยฮัสซานที่ 2 ปี ค.ศ. 2000 === เกียรติยศส่วนตัว === อ็องรีได้รับการยกย่องและรางวัลในอาชีพการเล่นฟุตบอลหลากหลายรางวัล เขาได้ตำแหน่งรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2003 และ 2004 ใน 2 ฤดูกาลนี้เขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ อ็องรียังเป็นนักฟุตบอลคนเดียวที่เคยได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ปี (2003, 2004, 2006) และยังถือสถิติได้รางวัลนักฟุตบอลฝรั่งเศสแห่งปี 4 ครั้ง เขายังได้รับลงคะแนนเสียงทีมแห่งทศวรรษประเภททีมโพ้นทะเล ในการสำรวจจาก 10 ฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 2003 และใน ค.ศ. 2004 เขายังติดรายชื่อนักฟุตบอล 125 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ดีที่สุดของเปเล่ ในด้านรางวัลการยิงประตู อ็องรีได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำยุโรปใน ค.ศ. 2004 และ 2005 (ได้รางวัลร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน แห่งสโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล ใน ค.ศ. 2005) อ็องรียังถือสถิติ เป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในพรีเมียร์ลีก 4 ฤดูกาล (2002, 2004, 2005, 2006) ใน ค.ศ. 2006 เขาเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูได้มากกว่า 20 ประตูใน 5 ฤดูกาลติดต่อกัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2006) เขายังคงถือสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก อันดับที่ 3 เป็นรองเพียงอลัน เชียเรอร์และแอนดี โคล เขาเป็นชาวฝรั่งเศสที่ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก จากโค้ช นักฟุตบอล และผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอล ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เขาติดอยู่อันดับ 33 ของการจัดอันดับนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยมีมา โดยสถาบันนักสถิติฟุตบอล แฟนฟุตบอลอาร์เซนอลยกย่องเขาใน ค.ศ. 2008 โดยประกาศให้เป็นนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดของอาร์เซนอล นอกจากนี้ในการสำรวจใน ค.ศ. 2008 เขาติดอยู่ในรายชื่อผู้เล่นที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดในพรีเมียร์ลีกตลอดกาล จากการสำรวจคน 32,000 คน ในปี ค.ศ. 2009 อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีกในคริสต์ทศวรรษ 2000 และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2011 อาร์เซนอลเปิดตัวรูปปั้นทำจากบรอนซ์ ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปีของอาร์เซนอล รายชื่อรางวัลที่อ็องรีได้รับ: รางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งลีกเอิงของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพฝรั่งเศส (1): 1996–1997 นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (2): 2002–03, 2003–2004 ทีมยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (6): 2000-2001, 2001-2002, 2002-2003, 2003-2004, 2004-2005, 2005-2006 นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ (3): 2002–2003, 2003–2004, 2005–2006 รางวัลรองเท้าบูตทองคำพรีเมียร์ลีก (4): 2001–2002, 2003–2004, 2004–2005, 2005–2006. รางวัลรองเท้าบูตทองคำ แลนด์มาร์ก 10 (1): 2004–2005 รางวัลรองเท้าบูตทองคำ แลนด์มาร์ก 20 (1): 2004–2005 รางวัลผู้เล่นแห่งเดือนของพรีเมียร์ลีก (4): เมษายน 2000, กันยายน 2002, มกราคม 2004, เมษายน 2004 ประตูแห่งฤดูกาล (1): 2002–2003 ทีมแห่งปีของยูฟ่า (5): 2001, 2002, 2003, 2004, 2006 ผู้เล่นที่ดีที่สุด 11 คนของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (1): 2011 ผู้เล่นแห่งเดือนของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (1): มีนาคม 2012 อ็องซ์ดอร์ (2): 2003, 2006 รองเท้าบูตทองคำยุโรป (2): 2003-2004, 2004-2005 นักฟุตบอลฝรั่งเศสแห่งปี (5): 2000, 2003, 2004, 2005, 2006 ผู้เล่นยิงประตูสูงสุดแห่งปีของสหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ (1): 2003 ฟีฟ่าฟิฟโปรเวิลด์ XI (1): 2006 รางวัลฟุตบอลโลก ทีมรวมดารา (1): ฟุตบอลโลก 2006 รางวัลลูกบอลทองคำคอนเฟเดอเรชันส์คัพ (1): คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 รางวัลรองเท้าทองคำคอนเฟเดอเรชันส์คัพ (1): คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 รางวัลทีมยอดเยี่ยมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (1): 2000 ฟีฟ่า 100 : 2004 ไทม์ 100 วีรบุรุษและนักบุกเบิก อันดับ 16 : 2007 หอเกียรติยศแห่งฟุตบอลอังกฤษ : 2008 หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีก : 2021 รางวัลพรีเมียร์ลีก 10 ฤดูกาล (1992–2093 – 2001–2002) * ทีมแห่งทศวรรษประเภททีมโพ้นทะเล เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ : 1998 == สถิติ == === สโมสร === === ทีมชาติ === หมายเหตุ รวมถึงการลงแข่งในนัดฟีฟ่า XI เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ที่ฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลฝรั่งเศสนับว่าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรอย่างเป็นทางการ ==== ประตูทีมชาติ ==== ===== ยู–20 ===== ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะยู 20 ===== รุ่นใหญ่ ===== ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะทีมชุดใหญ่ === สถิติรวม === ==ยุติการเล่นฟุตบอล== ตีแยรี อ็องรี ได้ประกาศยุติการเล่นฟุตบอลเป็นการถาวรเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ด้วยวัย 37 ปี โดยจะผันตัวเองไปเป็นผู้บรรยายและวิเคราะห์ฟุตบอลทางสถานีโทรทัศน์สกายสปอร์ตส์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แทน โดยเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16 เป็นต้นไป โดยทำสถิติยิงประตูให้กับอาร์เซนอลไปทั้งสิ้น 175 ประตู เฉพาะในพรีเมียร์ลีก นับเป็นสถิติอันดับหนึ่งของสโมสร และเป็นอันดับที่ 4 ของพรีเมียร์ลีก == ด้านอื่น == === ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว === อ็องรีสมรสกับนางแบบชาวอังกฤษ นิโคล เมร์รี หรือชื่อจริงคือ แคลร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 พิธีสมรสจัดขึ้นที่ปราสาทไฮแคลร์ และในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทั้งคู่มีบุตรคนแรก ชื่อ ตีอา อ็องรีอุทิศการยิงประตูแรกหลังที่ตีอาเกิดโดยการทำนิ้วรูปตัว "ที" และจูบนิ้วนั้น หลังจากที่ยิงในนัดที่แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เมื่อตอนที่อ็องรีอยู่กับอาร์เซนอล เขาได้ซื้อบ้านที่แฮมป์สเตด ในนอร์ทลอนดอน อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากย้ายไปบาร์เซโลนา เขาประกาศหย่ากับภรรยา โดยมีคำสั่งศาลให้หย่าเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 การแยกทางจบลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 เมื่ออ็องรีจ่ายเงินสำหรับการหย่าที่เมอร์รีเรียกร้อง รวมเป็นเงิน 10 ล้านปอนด์ อ็องรียังเป็นแฟนบาสเกตบอลในเอ็นบีเอ เขากับเพื่อน โทนี พาร์กเกอร์มักไปดูการแข่งขันในยามที่เขาไม่ได้แข่งขันฟุตบอล อ็องรีให้สัมภาษณ์ว่าเขาชื่นชอบบาสเกตบอล ที่คล้ายกับฟุตบอลเรื่องการวิ่งและความตื่นเต้น ที่ผ่านมาเขามักไปดูเอ็นบีเอนัดตัดสินเป็นประจำ โดยเคยไปดูพาร์กเกอร์แข่งให้กับทีมซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ ในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2007 และในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2001 เขาเดินทางไปฟิลาเดลเฟียเพื่อช่วยรายการโทรทัศน์ฝรั่งเศสทำรายการนัดตัดสิน และเพื่อดูอัลเลน ไอเวอร์สัน ที่เขาเคยบอกว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่เขาชื่นชอบ === งานด้านสังคม === ==== ยูนิเซฟ ==== อ็องรีเป็นสมาชิกของยูนิเซฟ-ฟีฟ่า ที่เป็นการรวมนักฟุตบอลอาชีพ เขาปรากฏตัวในโฆษณาทางโทรทัศน์หลายตัว มีผู้ชมมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 และ 2006 โดยในโฆษณา ผู้เล่นจะประชาสัมพันธ์การเล่นฟุตบอลให้กับเด็ก ๆ ==== สแตนด์อัป สปีกอัป ==== เขาเกี่ยวข้องกับประเด็นการเหยียดสีผิวตั้งแต่ในอดีต อ็องรีเป็นโฆษกต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล กรณีอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับอ็องรีเช่น ในระหว่างการฝึกซ้อมกับฟุตบอลทีมชาติสเปนในปี ค.ศ. 2004 เมื่อทีมงานโทรทัศน์ของสเปนจับภาพของโค้ช ลุยส์ อาราโกเนส ที่พูดถึงอ็องรีกับโคเซ อันโตเนียว เรเยส ว่าเป็น "สวะคนดำ" (black shit) ซึ่งเรเยสเป็นเพื่อนร่วมทีมของอ็องรีที่อาร์เซนอล เหตุการณ์ครั้งนี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายกับสื่ออังกฤษ และเรียกร้องให้ไล่อาราโกเนสออก อ็องรีได้ร่วมกับไนกี้ ในโครงการสแตนด์อัป สปีกอัป เพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 นิตยสาร ไทม์ ให้เขาเป็นหนึ่งใน ไทม์ 100 วีรบุรุษและนักบุกเบิก === งานอื่น === เขาร่วมกับนักฟุตบอลอีก 45 คนเพื่อร้องเพลง "Live for Love United" ที่จัดขึ้นโดยฟีฟ่า ในปี ค.ศ. 2002 ออกขายเป็นซิงเกิ้ลในช่วงฟุตบอลโลก 2002 เป็นซิงเกิ้ลการกุศลที่รายได้เข้าสู่การวิจัยโรคเอดส์ อ็องรียังสนับสนุนมูลนิธิโรคซีสติกไฟโบรซีส และซีสติกไฟโบรซีสทรัส อีกด้วย === โฆษณา === ในปี ค.ศ. 2006 อ็องรีติดอยู่ในอันดับ 9 ของนักฟุตบอล ผู้ทำรายได้จากสินค้ามากที่สุดในโลก และยังเป็นผู้ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 8 ในพรีเมียร์ลีก กับรายได้ 21 ล้านปอนด์ ==== เรโนลต์ ==== อ็องรีแสดงในภาพยนตร์โฆษณาเรโนลต์ คลิโอ เขาได้สร้างคำที่มีชื่อเสียงอย่าง วา-วา-วูม (va-va-voom) ที่มีความหมายว่า "ชีวิต" หรือ "ความหลงใหล" นางแบบในโฆษณานั้นต่อมาเป็นภรรยาของเขา (หย่า) แคลร์เมอร์รี ต่อมาคำว่า วา-วา-วูม ได้รับการบันทึกไว้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษคอนไซส์ออกซฟอร์ด ==== ไนกี้ ==== ในปี ค.ศ. 2004 อ็องรีเซ็นสัญญากับบริษัทผลิตเครื่องกีฬาไนกี้ หนึ่งในโฆษณาที่เขาได้เลี้ยงลูกฟุตบอลหลบดาราฟุตบอลคนอื่นอย่าง โกลด มาเกเลเล, เอ็ดการ์ ดาวิดส์ และเฟรดริก ยุงแบร์ (Fredrik Ljungberg) ในสถานที่อย่างเช่นห้องนอนและห้องรับแขก ในโฆษณาชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากชีวิตของเขาเอง ที่เขามักจะเล่นฟุตบอลในสถานที่แบบนั้น อย่างเช่นในบ้าน อ็องรียังเล่นในโฆษณาที่ชื่อ "ซีเครตทัวร์นาเมนต์" (Secret Tournament) ที่มีดาราฟุตบอลอีก 24 คนอย่างเช่น ยุงแบร์, รอนัลดีนโย และฟรันเชสโก ตอตตี ต่อจากนั้นในฟุตบอลโลก 2006 เขาแสดงในโฆษณาที่ใช้ชื่อในภาษาโปรตุเกสว่า Joga Bonito มีความหมายว่า "เกมที่สวยงาม" ==== รีบ็อก ==== หลังฟุตบอลโลก 2006 เขาหมดสัญญากับไนกี้ จากนั้นได้เซ็นสัญญากับรีบ็อก ได้แสดงในโฆษณาที่ชื่อว่า "ไอแอมวอตไอแอม" (I Am What I Am) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์โฆษณาที่ชื่อ "เฟรมด์" (Framed) อ็องรีได้แสดงในตอนนี้ที่มีความยาวครึ่งชั่วโมง ที่แสดงรายละเอียดในการถ่ายทำโฆษณา กำกับโดยนักแสดงชาวสเปน ปัซ เบกา ==== พูมา ==== ในปี ค.ศ. 2011 อ็องรีเปลี่ยนมาเซ็นสัญญากับรองเท้าพูมา เขาสวมรองเท้านี้ครั้งแรกในนัดรวมดาวเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ 2011 ที่แข่งขันกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก่อนที่จะประกาศเซ็นสัญญาหลายปีกับพูมา ส่วนนัดแรกที่เขาใส่พูมาในการเล่นคือในการแข่งขันเอมิเรตส์คัป ที่แข่งกับทีมเก่าอาร์เซนอล ==== ยิลเลตต์ ==== ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 อ็องรีได้เป็นหนึ่งใน 3 ของทูตแห่งแบรนด์ของยิลเลตต์ ที่ใช้ชื่อว่า "แชมเปียนส์โปรแกรม" (Champions Program) ที่มีนักกีฬาที่เป็นที่รู้จัก ที่ได้รับความเคารพ และประสบความสำเร็จที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเขาได้แสดงร่วมกับโรเจอร์ เฟเดอเรอร์และไทเกอร์ วูดส์ ในซีรีส์ของภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ แต่ด้วยเหตุผลด้านความเป็นที่รู้จัก จึงได้มีการใช้เดเรก เจเตอร์แทนอ็องรี ในโฆษณาที่ออกอากาศในอเมริกาเหนือ และหลังจากกรณีที่เขาทำแฮนด์บอลในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 ที่ฝรั่งเศสแข่งกับไอร์แลนด์ ยิลเลตต์ได้ยกเลิกและกล่าวขออภัย และได้เปลี่ยนแปลงโปสเตอร์โฆษณาในฝรั่งเศส แต่ต่อมาทางยิลเลตต์ก็ได้ออกมากล่าวสนับสนุนอ็องรี ==== เป๊ปซี่ ==== อ็องรีเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา "แดร์ฟอร์มอร์" (Dare For More) ในปี ค.ศ. 2005 แสดงร่วมโฆษณากับนักฟุตบอลอย่างเดวิด เบคแคมและรอนัลดีนโย == อ้างอิง == == แหล่งข้อมูลอื่น == MLS player profile Thierry Henry profile ที่ fcbarcelona.cat Thiery Henry biography ที่ jockbio.com Thierry Henry ที่ Internet Movie Database นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส นักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวฝรั่งเศส ผู้จัดการทีมอาแอ็ส มอนาโก ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา ผู้เล่นนิวยอร์กเร็ดบุลส์ ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก ผู้เล่นในลาลิกา ผู้เล่นในเซเรียอา ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2002 ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2006 ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010 ผู้เล่นในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 บุคคลจากเลซูว์ลิส ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 1998 ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 กองหน้าฟุตบอล ชาวฝรั่งเศสในสหรัฐ ชาวฝรั่งเศสในสหราชอาณาจักร ชาวฝรั่งเศสในประเทศสเปน ฟีฟ่า 100 ผู้เข้าหอเกียรติยศพรีเมียร์ลีก
thaiwikipedia
1,297
10 เมษายน
วันที่ 10 เมษายน เป็นวันที่ 100 ของปี (วันที่ 101 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 265 วันในปีนั้น == เหตุการณ์ == พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - เรือเดินสมุทร ไททานิก ออกเดินทางปฐมฤกษ์จากเซาแทมป์ตันไปควีนส์ทาวน์ ก่อนจะเดินทางมุ่งหน้าสู่นครนิวยอร์ก พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - เอมิเลียโน ซาปาตา ผู้นำการปฏิวัติเม็กซิโก ถูกยิง พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: ฝ่ายอักษะสถาปนารัฐอิสระโครเอเชีย พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะอภิเษกกับเจ้าหญิงมิจิโกะ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - มีการลงนามในข้อตกลงเบลฟาสต์ หนึ่งในกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - มีการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ บริเวณแยกผ่านฟ้าฯ ส่งผลให้มีทหารและพลเรือนบาดเจ็บ 863 ราย เสียชีวิตรวม 24 ราย กลุ่มนปช. 18 ราย ทหาร 5 นาย รวมทั้งผู้สื่อข่าวชาวต่างขาติ 1 คน == วันเกิด == พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1829) - หลวงปู่สี ฉันทสิริ พระสงฆ์ชาวไทย (มรณภาพ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - จอร์จ อาร์ลิสส์ นักแสดง นักเขียน นักเขียนบทละคร ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489) พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก นักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 มกราคม พ.ศ. 2553) พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) - แคล้ว ธนิกุล อดีตนายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (ถึงแก่กรรม 5 เมษายน พ.ศ. 2534) พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1953) - สุชีลา ศรีสมบูรณ์ นางสาวไทยปี ๒๔๙๗ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เตือนใจ บุญพระรักษา นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533) พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - สตีเวน ซีกัล นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - เบบีเฟส นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - แต อิล ชาง นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - แบร์นาร์ ปัสกุอาล อดีตนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - ฟ้าลั่น ลูกมิ่งขวัญ นักมวยสากลชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - โรแบร์ตู การ์ลุส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - เดวิด ฮาร์เบอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - บัณฑิต สาวแก้ว นักแสดงลูกครึ่งไทย-นิวซีแลนด์ พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ชาร์ลี ฮันแนม นักแสดงชาวอังกฤษ พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - การ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา หัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวบราซิล พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - แมนดี มัวร์ นักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง และนักออกแบบชาวอเมริกัน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เฆซุส กาเมซ นักฟุตบอลชาวสเปน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - * วรรณรท สนธิไชย (วิว) นักแสดงหญิงชาวไทย * ฐกฤต ตวันพงค์ นักแสดงชายชาวไทย * กฤตกร ทองแสง (ต๊อบ) นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - * เบน เอมอส ผู้เล่นชาวอังกฤษ * อเล็กซ์ เพตตีเฟอร์ นักแสดง นายแบบ ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ภัทรวี ศรีสันติสุข นักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทย พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - โซเฟีย คาร์สัน นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ฟีฟี่ เบลค นักร้องชาวไทย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - แอนเทรแอส เครสเตินเซิน นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - เจ้าหญิงอารียานแห่งเนเธอร์แลนด์ == วันถึงแก่กรรม == พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) - Joseph Lagrange (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2280) พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2400) พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) - ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน กวี นักเขียน และศิลปินชาวเลบานอน (เกิด 6 มกราคม พ.ศ. 2426) พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - เลกซ์ คัชชินสกี อดีตประธานาธิบดีโปแลนด์ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) - เจริญใจ สุนทรวาทิน นักร้อง/นักดนตรีชาวไทย (เกิด 16 กันยายน พ.ศ. 2458) == วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล == == แหล่งข้อมูลอื่น == BBC: On This Day Today in History: April 10 มเมษายน 10 เมษายน
thaiwikipedia
1,298
ทวีปยูเรเชีย
ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่แล้วทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่าง ๆ ที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู่ == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == โลก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ไดโนเสาร์ == แหล่งข้อมูลอื่น == EurasiaNet Eurasia Group Smile Europe Eurasia Researchers Virtual Meeting ทวีป ภูมิภาคในทวีปเอเชีย ภูมิภาคในทวีปยุโรป มหาทวีป
thaiwikipedia
1,299
จักรวรรดิรัสเซีย
จักรวรรดิรัสเซีย เป็นจักรวรรดิและสมัยแห่งราชาธิปไตยรัสเซียสมัยสุดท้าย ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1917 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยูเรเชีย โดยจักรวรรดิสืบทอดจากอาณาจักรซาร์รัสเซียภายหลังสนธิสัญญานีชตัดซึ่งยุติมหาสงครามเหนือ การผงาดขึ้นของจักรวรรดิรัสเซียเกิดขึ้นพร้อมกับการเสื่อมอำนาจของมหาอำนาจข้างเคียงที่เป็นคู่แข่ง เช่น จักรวรรดิสวีเดน เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย อิหร่านกอญัร จักรวรรดิออตโตมัน และจีนสมัยราชวงศ์ชิง เป็นต้น นอกจากนี้จักรวรรดิยังถือครองอาณานิคมในอเมริกาเหนือ (แคลิฟอร์เนียและอะแลสกา) ระหว่าง ค.ศ. 1799 จนถึง ค.ศ. 1867 ด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ทำให้จักรวรรดิรัสเซียเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์ เป็นรองเพียงจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิมองโกลเท่านั้น จักรวรรดิรัสเซียมีประชากรประมาณ 125.6 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนประชากรรัสเซียใน ค.ศ. 1897 ซึ่งเป็นการสำรวจสำมะโนประชากรเพียงครั้งเดียวที่ดำเนินการในช่วงระยะเวลาดำรงอยู่ของจักรวรรดิ เนื่องจากขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมดินแดนถึงสามทวีปในช่วงที่แผ่ไพศาลที่สุด ทำให้จักรวรรดิมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดินแดนรัสเซียถูกปกครองโดยชนชั้นขุนนางหรือที่รู้จักกันว่าโบยาร์ แต่ผู้ซึ่งเหนือกว่านั้นคือซาร์ (ซึ่งต่อมาจะแปรเปลี่ยนเป็น "จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง") รากฐานที่นำไปสู่การสถาปนาจักรวรรดิรัสเซียนั้นถูกวางขึ้นโดยซาร์อีวานที่ 3 (ค.ศ. 1462–1505) โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตของรัสเซียออกไปเป็นสามเท่า พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับจักรวรรดิที่จะปรากฏขึ้นในอนาคต ปรับปรุงเครมลินแห่งมอสโก และยุติการครอบงำของโกลเดนฮอร์ด จักรวรรดิรัสเซียถูกปกครองโดยราชวงศ์โรมานอฟตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จนถึง ค.ศ. 1762 ต่อมาราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ ซึ่งเป็นสาขาฝั่งมารดาของเชื้อสายเยอรมันที่สืบทอดทางบิดา ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1762 จนถึง ค.ศ. 1917 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิรัสเซียมีอาณาเขตที่กว้างขวาง โดยจากมหาสมุทรอาร์กติกในทางเหนือ จรดทะเลดำในทางใต้ และจากทะเลบอลติกทางตะวันตก จรดอะแลสกา ฮาวาย และแคลิฟอร์เนียทางตะวันออก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิได้ขยายอำนาจสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลางและส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงนี้เองที่จักรวรรดิประสบปัญหามากมาย ทั้งความอดอยากในช่วง ค.ศ. 1891–1892 การเติบโตขึ้นของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบอลเชวิคและเมนเชวิค และความพ่ายแพ้ในสงครามถึงสองครั้ง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสู่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นสองครั้ง (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1905) และการปฏิวัติครั้งที่สอง ซึ่งปะทุขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 นำไปสู่การยุติลงของจักรวรรดิที่ปกครองรัสเซียเกือบสองศตวรรษ พร้อมกับหนึ่งในสี่จักรวรรดิในภาคพื้นทวีปที่ล่มสลายภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกีด้วย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 (ค.ศ. 1682–1725) ทรงบัญชาการรบในสงครามหลายครั้งและนำอาณาจักรที่กว้างใหญ่สู่การเป็นมหาอำนาจที่สำคัญในทวีปยุโรป ระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของรัสเซียจากมอสโกมาเป็นเมืองแห่งใหม่อย่างเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามการออกแบบของโลกตะวันตก นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้นำในการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยการแทนที่จารีตประเพณีดั้งเดิมและการเมืองแบบอนุรักษนิยมยุคกลางด้วยระบบที่ทันสมัย หลักตรรกะทางวิทยาศาสตร์ และระบบที่เอนเอียงไปทางตะวันตก เยกาเจรีนามหาราชินี (ค.ศ. 1762–1796) ทรงปกครองในสมัยยุคทองของจักรวรรดิ โดยพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัฐรัสเซียออกไปจากการพิชิตดินแดน การล่าอาณานิคม และการทูต ในขณะเดียวกันนั้นพระองค์ยังคงดำเนินนโยบายของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 เพื่อทำให้ประเทศทันสมัยตามแบบตะวันตก จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 (ค.ศ. 1801–1825) ทรงมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะความทะเยอทะยานทางทหารของนโปเลียน และต่อมาได้ก่อตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อยับยั้งการเติบโตขึ้นของลัทธิฆราวาสนิยมและเสรีนิยมทั่วยุโรป จักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก ทางใต้ และทางตะวันออก พร้อมกับการตั้งตนเองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจที่ทรงพลังที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม ชัยชนะในสงครามรัสเซีย-ตุรกีได้ถูกทำลายลงภายหลังความพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853–1856) ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปและการขยายอิทธิพลอย่างเข้มข้นสู่เอเชียกลาง จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855–1881) ทรงริเริ่มการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดปล่อยทาสทั้งหมด 23 ล้านคนใน ค.ศ. 1861 นอกจากนี้นโยบายของพระองค์ยังมีความเกี่ยวพันกับความรับผิดชอบต่อการคุ้มครองชาวคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในดินแดนยุโรปภายใต้การปกครองของออตโตมันด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เองที่ทำให้รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝั่งสัมพันธมิตรที่ต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง กระทั่งการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 จักรวรรดิรัสเซียที่ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นกึ่งราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ในนาม อย่างไรก็ตาม การปกครองนี้เป็นไปอย่างยากลำบากในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ใน ค.ศ. 1917 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยเป็นอันยุติลง ผลที่ตามมาภายหลังการเดือนปฏิวัติกุมภาพันธ์ ได้เกิดการประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียที่มีอายุสั้น และต่อมาได้ก่อตั้งสาธารณรัฐรัสเซีย การปฏิวัติเดือนตุลาคมที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจสาธารณรัฐรัสเซียโดยบอลเชวิค ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองรัสเซีย ใน ค.ศ. 1918 บอลเชวิคกระทำการปลงพระชนม์สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟ และหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองเมื่อ ค.ศ. 1922–1923 บอลเชวิคจึงก่อตั้งสหภาพโซเวียตขึ้นทั่วดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย == ประวัติศาสตร์ == แม้ว่าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 จะไม่ได้ก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งหลังเกิดสนธิสัญญานีสตาด (ค.ศ. 1721) โดยนักประวัติศาสตร์บางคนได้โต้แย้งว่าซาร์อีวานที่ 3 แห่งรัสเซียได้พิชิตเวลีคีนอฟโกรอด ใน ค.ศ. 1478 จากมุมมองอื่นนั้น คำว่าอาณาจักรซาร์ ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้หลังจากการราชาภิเษกของซาร์อีวานที่ 4 ใน ค.ศ. 1547 ก็เป็นคำในภาษารัสเซียร่วมสมัยสำหรับความหมายคำว่า "จักรวรรดิ" แล้ว === ศตวรรษที่ 18 === จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชทรงรวบรวมอำนาจในรัสเซียให้มีความเป็นปึกแผ่นแล้วนำพาจักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้นไปสู่ระบบรัฐของยุโรปพระองค์ทรงเปลี่ยนจากอาณาจักรเล็กๆเริ่มแรกในศตวรรษที่ 14 ให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัชสมัยของพระองค์ ทรงขยายดินแดนเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย ตั้งแต่ทะเลบอลติกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ขยายออกไปมากในช่วงศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตามนี้คือแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล และมีประชากรเพียง 14 ล้านคน ส่วนใหญ่ที่อยู่ตามชนบทและทำกสิกรรมทางตะวันตกของประเทศ ส่วนน้อยที่อยู่ในเมือง ปีเตอร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การปกครอง และการทำศึกสงครามเสียใหม่ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าโดยรับแนวคิดมาจากตะวันตกมาโดยทั้งสิ้น พระองค์ทรงเรียนรู้กลยุทธ์และการป้องกันมากมายจากตะวันตก แล้วยังสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหาร พระองค์ยังเป็นจักรพรรดิซาร์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสยุโรปด้วย พระองค์ทรงทำสงครามกับสวีเดนเพื่อชิงแผ่นดินส่วนที่ติดกับทะเลบอลติกให้มีทางออกสู่ทะเลอีกทั้งยังให้เป็นประตูสู่ยุโรปด้วย และสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อว่า เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก และเมื่อนโปเลียนบุกรัสเซีย รัสเซียก็มีชัยเหนือกองทัพของเขา นั้นเป็นการแสดงให้โลกรู้ว่าจักรวรรดิรัสเซียนั้นยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไม่อาจโค่นล้มได้ง่าย ๆ === ศตวรรษที่ 19 === เมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอยู่ภายใต้การนำของจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 ซึ่งทรงทำสงครามพิชิตแหลมไครเมียกับจักรวรรดิออตโตมันเมื่อล่วงเข้ารัชสมัยของ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย รัสเซียก็พิชิตแหลมไครเมียได้สำเร็จซึ่งในขณะนั้นเองจักรวรรดิก็ก้าวเข้าสูการปฏิรูปประเทศอีกครั้ง ทาสเริ่มได้รับสิทธิมากขึ้น เริ่มมีการเผยแพร่ความรู้ และเริ่มมีแผนที่จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน === สิ้นสุดจักรวรรดิรัสเซีย === เมื่อเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีกระแสการปฏิวัติไปทั่วโลก ในขณะนั้นเองจักรวรรดิรัสเซียก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดยากทั่วรัสเซีย ฤดูหนาวที่โหดร้าย และการพ่ายแพ้สงคราม ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 เริ่มมีชนกลุ่มเล็กภายในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเริ่มคิดก่อการปฏิวัติ เมื่อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ในปี 1905 ประชาชนได้รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ จัตุรัสแดง ที่พระราชวังฤดูหนาว ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อจักรพรรดิซาร์ และเมื่อจักรพรรดิซาร์เสด็จออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้ารัสเซียก็ระดมยิงใส่ผู้ชุมนุมประท้วง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) หรือ อาทิตย์ทมิฬ ต่อมาเมื่อรัสเซียแพ้สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1917 เกิดการปฏิวัติขึ้นชื่อว่า (การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์) นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน ซึ่งจักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 ก็ต้องทรงสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้ หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ก็ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็กซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี 1918 ก็ทรงถูกย้ายจากพระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 1:30 นีโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดา ถูกหลอกให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมื่อทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหารกลุ่มบอลเชวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป้าหมู่ ภายหลังได้มีการฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซีย == หมายเหตุ == == อ้างอิง == === เชิงอรรถ === === อ้างอิง === == หนังสืออ่านเพิ่ม == === การสำรวจ === Ascher, Abraham. Russia: A Short History (2011) excerpt and text search Bushkovitch, Paul. A Concise History of Russia (2011) excerpt and text search Hosking, Geoffrey. Russia and the Russians: A History (2nd ed. 2011) Lincoln, W. Bruce. The Romanovs: Autocrats of All the Russias (1983) excerpt and text search, sweeping narrative history McKenzie, David & Michael W. Curran. A History of Russia, the Soviet Union, and Beyond. 6th ed. Belmont, CA: Wadsworth Publishing, 2001. ISBN 0-534-58698-8. Moss, Walter G. A History of Russia. Vol. 1: To 1917. 2d ed. Anthem Press, 2002. Perrie, Maureen, et al. The Cambridge History of Russia. (3 vol. Cambridge University Press, 2006). excerpt and text search Riasanovsky, Nicholas V. and Mark D. Steinberg. A History of Russia. 7th ed. New York: Oxford University Press, 2004, 800 pages. ISBN 0-19-515394-4 Ziegler; Charles E. The History of Russia (Greenwood Press, 1999) online edition ===1801–1917=== Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974) Manning, Roberta. The Crisis of the Old Order in Russia: Gentry and Government. Princeton University Press, 1982. Pipes, Richard. Russia under the Old Regime (2nd ed. 1997) Seton-Watson, Hugh. The Russian Empire 1801–1917 (Oxford History of Modern Europe) excerpt and text search === การทหาร และ การต่างประะเทศ === Fuller, William C. Strategy and Power in Russia 1600–1914 (1998) excerpts; military strategy Jelavich, Barbara. St. Petersburg and Moscow: Tsarist and Soviet Foreign Policy, 1814–1974 (1974) Saul, Norman E. Historical Dictionary of Russian and Soviet Foreign Policy (2014)excerpt and text search Stone, David. A Military History of Russia: From Ivan the Terrible to the War in Chechnya excerpts === เศรษฐกิจ สังคม และ ความเชื่อ === Christian, David. A History of Russia, Central Asia and Mongolia. Vol. 1: Inner Eurasia from Prehistory to the Mongol Empire. (Blackwell, 1998). ISBN 0-631-20814-3. Etkind, Alexander. Internal Colonization: Russia's Imperial Experience (Polity Press, 2011) 289 pages; discussion of serfdom, the peasant commune, etc. Freeze, Gregory L. From Supplication to Revolution: A Documentary Social History of Imperial Russia (1988) Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe: 1850–1914 (1977) pp 365–425 Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Economic Development of Continental Europe 1780–1870 (2nd ed. 1979), 552pp Mironov, Boris N., and Ben Eklof. The Social History of Imperial Russia, 1700–1917 (2 vol Westview Press, 2000) vol 1 online ; vol 2 online Mironov, Boris N. (2012) The Standard of Living and Revolutions in Imperial Russia, 1700–1917 (2012) excerpt and text search Mironov, Boris N. (2010) "Wages and Prices in Imperial Russia, 1703–1913," Russian Review (Jan 2010) 69#1 pp 47–72, with 13 tables and 3 charts online Stolberg, Eva-Maria. (2004) "The Siberian Frontier and Russia's Position in World History," Review: A Journal of the Fernand Braudel Center 27#3 pp 243–267 Wirtschafter, Elise Kimerling. Russia's age of serfdom 1649–1861 (2008) === ประวัติศาสตร์ และ ความทรงจำ === Burbank, Jane, and David L. Ransel, eds. Imperial Russia: new histories for the Empire (Indiana University Press, 1998) Cracraft, James. ed. Major Problems in the History of Imperial Russia (1993) Kuzio, Taras. "Historiography and national identity among the Eastern Slavs: towards a new framework." National Identities (2001) 3#2 pp: 109–132. Olson, Gust, and Aleksei I. Miller. "Between Local and Inter-Imperial: Russian Imperial History in Search of Scope and Paradigm." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2004) 5#1 pp: 7–26. Sanders, Thomas, ed. Historiography of imperial Russia: The profession and writing of history in a multinational state (ME Sharpe, 1999) Smith, Steve. "Writing the History of the Russian Revolution after the Fall of Communism." Europe‐Asia Studies (1994) 46#4 pp: 563–578. Suny, Ronald Grigor. "The empire strikes out: Imperial Russia,‘national’identity, and theories of empire." in A state of nations: Empire and nation-making in the age of Lenin and Stalin ed. by Peter Holquist, Ronald Grigor Suny, and Terry Martin. (2001) pp: 23–66. == แหล่งข้อมูลอื่น == The Empire that was Russia: color photographs from Library of Congress General armorial of noble families in the Russian Empire (Gerbovnik) จักรวรรดิ รัฐคริสต์ ประวัติศาสตร์รัสเซีย รัฐสิ้นสภาพในประเทศรัสเซีย รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2264 สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2460 จักรวรรดิรัสเซีย
thaiwikipedia
1,300
ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต
ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต หรือ ทฤษฎีบทการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว (fundamental theorem of arithmetic หรือ unique factorization theorem) ในคณิตศาสตร์และทฤษฎีจำนวน คือประโยคซึ่งกล่าวว่า จำนวนเต็มบวกทุกจำนวนที่มากกว่า 1 สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้วิธีเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เราสามารถเขียน 6936 = 23 · 3 · 172   หรือ   1200 = 24 · 3 · 52 และไม่มีทางที่จะแยกตัวประกอบของ 6936 หรือ 1200 ได้เป็นอย่างอื่น ถ้าเราไม่สนใจลำดับของตัวประกอบ เพื่อที่จะให้ทฤษฏีบทนี้ใช้ได้กับจำนวน 1 เราจะถือว่า 1 เป็นผลคูณของของจำนวนเฉพาะศูนย์จำนวน (ดูใน ผลคูณว่าง) == การประยุกต์ == == การพิสูจน์ == การพิสูจน์จะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าจำนวนทุกจำนวน สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ จากนั้นจะพิสูจน์ว่าการเขียน 2 แบบใด ๆ จะเหมือนกันเสมอ สมมติว่ามีจำนวนเต็มบวก ที่ไม่สามารถเขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ ดังนั้น จะต้องมีจำนวนที่น้อยสุดในจำนวนพวกนั้น ให้จำนวนนั้นคือ n ดังนั้น n ไม่สามารถเป็น 1 ได้เพราะว่าจะขัดแย้งกับสมมติฐานข้างต้น และ n ไม่สามารถเป็นจำนวนเฉพาะได้เพราะจำนวนเฉพาะคือผลคูณของจำนวนเฉพาะตัวเดียว ดังนั้น n จะต้องเป็นจำนวนประกอบ จะได้ n = ab เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า n แต่ n เป็นจำนวนที่น้อยที่สุดที่ทำให้ทฤษฎีบทผิด ดังนั้น a และ b ต้องเขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ ทำให้ n = ab เขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ เกิดข้อขัดแย้ง ในส่วนของการพิสูจน์ว่า จำนวนทุกจำนวนสามารถเขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้แบบเดียว เราจะใช้ข้อเท็จจริงว่า ถ้าจำนวนเฉพาะ p หารผลคูณ ab ลงตัวแล้ว มันจะหาร a ลงตัว หรือหาร b ลงตัว เป็นบทตั้งในการพิสูจน์ ถ้า p หาร a ไม่ลงตัวแล้ว p และ a จะเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ จากเอกลักษณ์ของเบซู (Bézout's identity) จะได้ว่ามีจำนวนเต็ม x และ y ที่ทำให้ px + ay = 1 คูณทั้งสองข้างด้วย b จะได้ pbx + aby = b เนื่องจากฝั่งซ้ายมือหารด้วย p ลงตัว ดังนั้นฝั่งขวามือจึงหารด้วย p ลงตัวด้วย เป็นการพิสูจน์บทตั้ง จากนั้น นำผลคูณของจำนวนเฉพาะที่เท่ากันมา 2 ผลคูณ ให้ p เป็นจำนวนเฉพาะในผลคูณแรก p จะหารผลคูณแรกลงตัว และจะหารผลคูณที่สองลงตัวด้วย จากข้อเท็จจริงข้างต้น p จะต้องหารตัวประกอบในผลคูณที่สองลงตัวอย่างน้อย 1 ตัว แต่ตัวประกอบเป็นจำนวนเฉพาะทั้งหมด ดังนั้น p จะต้องเท่ากับตัวประกอบตัวใดตัวหนึ่งของผลคูณที่สอง ดังนั้น เราจึงตัด p ออกจากทั้งสองผลคูณได้ และทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าตัวประกอบเฉพาะของผลคูณสองผลคูณจะจับคู่กันเสมอ == ดูเพิ่ม == การแยกตัวประกอบ ทฤษฎีจำนวน ทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์
thaiwikipedia
1,301